VDO ย้อนหลังงานเสวนาออนไลน์ วันที่ 15 มิถุนายน 2565 หัวข้อ หยุดระแวงไม่ได้ ให้ระวัง...กับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA โดย บริษัท กรุงเทพ พยาธิ-แลป จำกัด
บทนำ
บริษัท กรุงเทพ พยาธิ-แลป จำกัด มุ่งมั่นที่จะปกป้องความเป็นส่วนตัวของคุณ ซึ่งข้อมูลต่อไปนี้คือแนวทางที่เราใช้ในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลที่คุณให้เราในระหว่างการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา หรือใช้แอพพลิเคชั่นของเรา หรือร้องขอการบริการจากเรา นโยบายความเป็นส่วนตัวนี้รวมถึงข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับตัวคุณโดยเป็นการส่งต่อมาจากบุคคลที่สาม
การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
- เราเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ ในกรณีที่คุณเป็นผู้ให้ข้อมูลกับเรา หรือร้องขอการบริการจากเรา ผ่านช่องทางเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่นบนมือถือ หรือช่องทางอื่นใดของเรา ตัวอย่างเช่น การนัดหมายการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การทำธุรกรรมแบบออนไลน์ การสมัครรับจดหมายข่าว การขอรับความช่วยเหลือพิเศษ รวมไปถึงการทำธุรกรรมแบบออฟไลน์ เช่น การลงทะเบียนผู้ป่วยที่เคาน์เตอร์ลงทะเบียนของห้องปฏิบัติการ
- เราอาจได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของคุณจากบุคคลที่สาม เช่น โรงพยาบาลในเครือข่าย ธุรกิจในเครือข่าย ตัวแทนจำหน่ายหรือผู้ให้บริการของเรา หน่วยงานภาครัฐ
ข้อมูลส่วนบุคคลที่เราเก็บรวบรวม
ประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่เราเก็บรวบรวมจากคุณจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของการเก็บรวบรวมและประเภทของบริการที่คุณร้องขอจากเรา ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณจะถูกนำมาใช้เพื่อให้การทำธุรกรรมออนไลน์หรือออฟไลน์ หรือบริการที่ได้รับการร้องขอเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่เราเก็บรวบรวมโดยตรงจากคุณ หรือจากบุคคลที่สาม มีดังนี้
- ข้อมูลระบุตัวตน เช่น ชื่อ ภาพถ่าย เพศ วันเดือนปีเกิด หนังสือเดินทาง หมายเลขบัตรประชาชน หรือหมายเลขที่สามารถระบุตัวตนอื่นๆ
- ข้อมูลสำหรับการติดต่อ เช่น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และอีเมล
- ข้อมูลการชำระเงิน เช่น ข้อมูลการเรียกเก็บเงิน ข้อมูลบัตรเครดิตหรือเดบิต และรายละเอียดบัญชีธนาคาร
- ข้อมูลการเข้ารับบริการ เช่น ข้อมูลการนัดหมายการตรวจวิเคราะห์ ข้อมูลส่วนบุคคลของญาติ ความต้องการเกี่ยวกับบริการเสริมอื่นๆ
- ข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาด เช่น ข้อมูลการลงทะเบียนเพื่อร่วมกิจกรรมกับเรา
- ข้อมูลสถิติ เช่น จำนวนผู้ป่วย และการเข้าชมเว็บไซต์
- ข้อมูลจากการเข้าใช้เว็บไซต์ของเรา เช่น IP Address, Cookies, Online Appointment System
- ข้อมูลด้านสุขภาพ ผลการทดสอบจากห้องทดลอง และการวินิจฉัย
- ข้อมูล Feedback และผลการรักษาที่ท่านให้ไว้
เราจะไม่เก็บและใช้ข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนของคุณ เช่น เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนา ประวัติอาชญากรรม เว้นแต่เป็นไปตามที่ข้อบังคับและกฎหมายกำหนด หรือโดยความยินยอมของคุณ
การใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
เราอาจใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ ตามวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
- จัดหาบริการ หรือส่งมอบบริการของเรา
- นัดหมายการตรวจ ส่งข่าวสาร แนะนำบริการของบริษัท
- การประสานงานและส่งต่อข้อมูลให้กับโรงพยาบาลเครือข่าย ซึ่งจะช่วยให้การส่งต่อผู้ป่วย มีความรวดเร็วขึ้น
- การยืนยันตัวตนของผู้ป่วย
- ส่งข้อความแจ้งเตือนการนัดหมาย หรือการเสนอความช่วยเหลือจากเรา
- จุดประสงค์ด้านการตลาด การส่งเสริมการขาย และการลูกค้าสัมพันธ์ เช่น การส่งข้อมูลเกี่ยวกับโปรโมชั่น ผลิตภัณฑ์และบริการ รายการส่งเสริมการขาย และธุรกิจพันธมิตร
- เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสาร ตอบคำถาม หรือตอบสนองข้อร้องเรียน เช่น การเรียกร้องสัมภาระหรือความสูญหายใดๆ
- สำรวจความพึงพอใจของลูกค้า วิจัยตลาด และวิเคราะห์ทางสถิติ เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ หรือสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ
- วัตถุประสงค์ทางบัญชีหรือทางการเงิน เช่น การตรวจสอบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต การเรียกเก็บเงินและการตรวจสอบความถูกต้อง การขอคืนเงิน
- รักษาความปลอดภัย รวมถึงความปลอดภัยขณะใช้บริการภายในบริษัท
- ปฏิบัติตามกฎของบริษัท
- ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนด ระเบียบ ข้อบังคับ หรือการร้องขอใดๆ จากหน่วยงานภาครัฐ เช่น การปฏิบัติตามหมายเรียกพยาน หรือคำสั่งศาล หรือการร้องขออื่นๆ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
- วัตถุประสงค์อื่นๆที่สนับสนุนการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ข้างต้น หรือที่ได้รับความยินยอมจากคุณเป็นครั้งคราว
การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
เราอาจเปิดเผยหรือถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลของคุณไปยังบุคคลที่สาม ซึ่งอาจตั้งอยู่ภายในหรือนอกประเทศไทย โดยเราจะดำเนินตามมาตรการที่จำเป็นและเหมาะสม หรือเป็นไปตามข้อบังคับและกฎหมาย เพื่อวัตถุประสงค์ที่ตามระบุไว้ข้างต้น ให้แก่
- โรงพยาบาลเครือข่าย ธุรกิจคู่ค้า และธุรกิจพันธมิตร
- บริษัทในเครือ ตัวแทน ผู้ให้บริการ หรือคู่ค้าที่ให้บริการแก่เรา หรือดำเนินการใดๆในฐานะตัวแทนของเรา เช่น ผู้ให้บริการด้าน IT
- หุ้นส่วนทางธุรกิจ เช่น โรงแรม บริษัทรถเช่า บริษัทประกัน พันธมิตรที่เข้าร่วมรายการโปรแกรมสะสมคะแนนและสิทธิประโยชน์ และบริษัทอื่นๆที่เกี่ยวข้องในการให้บริการลูกค้า หรือตอบสนองความต้องการของลูกค้า
- ธนาคาร และผู้ให้บริการชำระเงิน เช่น บริษัทบัตรเครดิต หรือเดบิต
- เจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงและความปลอดภัย
- หน่วยงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานศุลกากร
- หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานกำกับดูแล และหน่วยงานอื่นๆ ตามที่กฎหมายอนุญาต หรือกำหนดไว้
การเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์บุคคลที่สาม
เว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นบนมือถือของเรา อาจมีลิงก์เชื่อมไปยังเว็บไซต์บุคคลที่สาม หากคุณไปตามลิงก์เหล่านี้ นโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ไม่มีผลกับเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม โปรดทราบว่าเราไม่สามารถรับผิดชอบใดๆต่อการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณโดยบุคคลที่สามดังกล่าว เนื่องจากอยู่นอกการควบคุมของเรา กรุณาตรวจสอบว่าคุณพอใจกับนโยบายความเป็นส่วนตัวของแต่ละเว็บไซต์ที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ
การเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล และความปลอดภัย
- ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณจะถูกเก็บรักษาไว้นานเท่าที่จำเป็น เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆที่อธิบาย ไว้ในนโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ หรือภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย หรือเพื่อการดำเนินการทางกฎหมาย
- เราจะใช้มาตรการทางเทคนิค และการบริหารจัดการที่เหมาะสมเพื่อป้องกันและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของคุณที่เราเก็บรวบรวม เช่น เราใช้โปรโตคอลความปลอดภัย (Secure Sockets Layer: SSL) สำหรับการเข้ารหัสข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต
สิทธิตามกฎหมายในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
ในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล คุณมีสิทธิตามกฎหมายเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของคุณดังนี้
- สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล
- สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง
- สิทธิในการลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคล
- สิทธิในการระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
- สิทธิในการคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
- สิทธิในการเพิกถอนคำยินยอมการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
- สิทธิในการขอรับ ส่ง หรือโอนข้อมูลสาวนบุคคล
- สิทธิในการร้องเรียนในกรณีที่คุณเห็นว่าบริษัทกรุงเทพ พยาธิ-แลป จำกัดมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
โดยคุณสามารถแจ้งความประสงค์ในการใช้สิทธิดังกล่าว ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยกรอกข้อความในแบบฟอร์มการขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือติดต่อเจ้าหน้าทีคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer, DPO) Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Data Privacy Officer
คุณสิทธิชัย เลิศชัยเพชร
บริษัท กรุงเทพ พยาธิ-แลป จำกัด
เลขที่ 167 ซอยระนอง 1 ถนนพระรามหก แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 ประเทศไทย
การเปลี่ยนแปลงนโยบายความเป็นส่วนตัว
เราอาจทบทวนและเปลี่ยนแปลงนโยบายความเป็นส่วนตัวนี้เป็นครั้งคราวเพื่อให้สอดคล้องกับ การเปลี่ยนแปลงของการให้บริการและการดำเนินงานของเรา ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นจากคุณ รวมถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยนโยบายเวอร์ชั่นล่าสุดจะประกาศบนเว็บไซต์ของเราที่ www.bpl.co.th เพื่อให้คุณทราบแนวทางที่เราใช้ในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ
หากคุณมีคำถาม ข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียนเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ โปรดติดต่อเราได้ที่อีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
นโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 (ปรับปรุงประกาศ 8 มิถุนายน 2566)
กระทรวงสาธารณสุข เผย เตรียมขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 จากจีน ให้ได้ภายใน 14 กุมภาพันธ์ นี้ เปรียบเทียบประสิทธิผล ไทยเลือก ซิโนแวค - แอสตราเซนเนกา ถ่ายทอดการผลิต
10 มกราคม 2564 ที่ ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โรคโควิด-19 (COVID-19) กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์ เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์ โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค นายแพทย์ ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ นายแพทย์ นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ แถลงข่าวความคืบหน้าวัคซีน โควิด-19 ในประเทศไทย
นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า ประเทศไทยมีกระบวนการจัดหาวัคซีน โควิด-19 ผ่านการพิจารณาอย่างรอบคอบทุกขั้นตอน คำนึงถึงเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยเป็นหลัก ผ่านการขึ้นทะเบียนทั้งต่างประเทศและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของไทย ก่อนให้บริการประชาชน ส่วนการได้วัคซีนเร่งด่วน 2 ล้านโดส จาก ซิโนแวค ประเทศจีน เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตายแบบดั้งเดิม มีความปลอดภัยสูง หลังฉีดยังไม่พบผลข้างเคียงรุนแรง คาดว่าจะได้รับการขึ้นทะเบียนในประเทศจีนเร็วๆ นี้ เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน
“รัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณซื้อวัคซีน โควิด-19 จาก ซิโนแวค กรมควบคุมโรคได้แสดงความต้องการใช้ไปยังองค์การเภสัชกรรมให้ซื้อและเป็นตัวแทนจำหน่าย พร้อมทำเอกสารเพื่อยื่นขึ้นทะเบียน อย. ด้วย เนื่องจาก ซิโนแวค ไม่มีตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย โดยจะขึ้นทะเบียนให้ได้ภายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรมได้เห็นชอบสำรองงบประมาณในการสั่งซื้อไปก่อน 1 พันกว่าล้านบาท” นพ.เกียรติภูมิ กล่าว
ทั้งนี้ ประเทศจีนจะส่งวัคซีนมาถึงไทยภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ลอตแรก 2 แสนโดส เดือนมีนาคมอีก 8 แสนโดส และเมษายนอีก 1 ล้านโดส หลังจากนั้น ช่วงเดือนพฤษภาคมจะมีวัคซีนลอตใหญ่จาก แอสตราเซนเนกา อีก 26 ล้านโดส เพื่อกระจายให้ประชาชนต่อไป และเมื่อดำเนินการได้ดีจะเจรจาขอซื้อเพิ่มจาก แอสตราเซนเนกา อีก 35 ล้านโดส รวมเป็น 63 ล้านโดส จะครอบคลุมประชาชนประมาณ 30 กว่าล้านคน จะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันของประเทศไทยได้ เป็นเป้าหมายและแผนงานที่ดำเนินงานไว้ การดำเนินงานถือว่าก้าวหน้าเป็นไปตามแผน
นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า การฉีดวัคซีนเพื่อหยุดการระบาดของโรคในชุมชน ไม่จำเป็นต้องฉีดให้ทุกคนมีภูมิคุ้มกันทั้ง 100% หลักการ คือ ฉีดเพื่อให้สังคมและชุมชนมีภูมิคุ้มกันหมู่ขึ้นมาระดับหนึ่ง ประมาณ 60 - 70% จะลดอำนาจการแพร่กระจายเชื้อลง จนหยุดการแพร่ระบาดในชุมชนได้ แต่ในระดับบุคคลอาจพบผู้ป่วยบ้าง แต่จะไม่เกิดการระบาดในชุมชน ทั้งนี้ วัคซีน โควิด-19 ที่มีการฉีดในต่างประเทศ ยังไม่มีของบริษัทใดที่ทดลองในมนุษย์ระยะที่ 3 อย่างครบถ้วน แต่ที่ประเทศไทยต้องจัดหาวัคซีนเข้ามาก่อนนั้น เนื่องจากหากรอให้มีผลการทดลองครบถ้วนแล้วมาเจรจาจัดซื้ออาจสายเกินไป
อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานจัดหาวัคซีน โควิด-19 ของประเทศไทย จะพิจารณาจากคุณสมบัติของวัคซีน ราคา จำนวนที่จะขายให้ได้ และเวลาที่จะส่งมอบ ซึ่งการซื้ออาจต้องรอวัคซีนส่งมานาน 6 เดือน 8 เดือน หรือเป็นปี ซึ่งไทยได้หาทางเลือกเจรจาวัคซีนหลายชนิด แต่ไม่เกิน 3 ชนิด เพื่อไม่ให้เกิดความซับซ้อนในการขนส่งและการฉีด ซึ่งทั้งหมดผ่านกลไกการพิจารณาอย่างเป็นระบบ รอบคอบ และถี่ถ้วน เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนผ่านคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ คณะกรรมการขับเคลื่อนการจัดหาวัคซีนเพื่อคนไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พิจารณาเรื่องการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐาน และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจสอบก่อนนำมาฉีด
นพ.โอภาส กล่าวว่า องค์การยูนิเซฟประเมินว่าวัคซีน โควิด-19 ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 มีจำกัด ประเทศไทยได้กำหนดเป้าหมายการให้วัคซีน คือ การลดอัตราการป่วยและเสียชีวิต และปกป้องระบบสุขภาพประเทศ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายในการรับวัคซีน คือ 1. บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน 2. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง หัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง มะเร็ง เบาหวาน 3. ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และ 4. เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด-19 เช่น อสม. ทหาร ตำรวจ ที่จะต้องคัดกรองผู้ที่เข้ามาจากต่างประเทศ และในพื้นที่ที่มีการระบาด โดยเริ่มในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 5 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร ชลบุรี จันทบุรี ระยอง และ ตราด ฉีดคนละ 2 เข็ม ห่างกัน 1 เดือน ทั้งนี้ การพิจารณากลุ่มเป้าหมายและแผนการฉีดจะนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติในวันที่ 11 มกราคม 2564 หากเห็นชอบจะได้ดำเนินการหรือปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อมั่นใจว่าประชาชนจะได้รับวัคซีนที่มีประสิทธิภาพต่อไป นอกจากนี้ จะพิจารณาเรื่องสถานบริการ บุคลากร และระบบการกระจายวัคซีน รวมทั้งระบบการลงทะเบียนผู้ป่วยต่อไปด้วย
นอกจากนี้ นพ.โอภาส ยังกล่าวอีกว่า สำหรับการกระจายวัคซีนนั้น ประเทศไทยมีระบบคลังวัคซีนใหญ่ 2 แห่ง คือ กรมควบคุมโรค และ องค์การเภสัชกรรม ร่วมกันกระจายวัคซีนไปยังพื้นที่ต่างๆ โดยมีระบบควบคุมอุณหภูมิความเย็นอย่างต่อเนื่อง ไปยังโรงพยาบาลศูนย์ / โรงพยาบาลทั่วไป / โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประมาณ 11,000 แห่ง เพื่อให้ผู้ที่มีเกณฑ์ได้รับวัคซีนเข้ารับบริการใกล้บ้านมากที่สุด ส่วน กทม. จะมีศูนย์บริการสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลรัฐสังกัดอื่นๆ โรงเรียนแพทย์และภาคเอกชน โดยจะมีการอบรมเรื่องการฉีดวัคซีน การเก็บวัคซีน การเตรียมจุดบริการ ระบบการขึ้นทะเบียนโดยใช้แอปพลิเคชัน และให้เจ้าหน้าที่ รพ.สต. สำรวจประชาชนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้บริการได้อย่างครบถ้วน ติดตามให้มารับวัคซีนเข็มที่ 2 ได้อย่างแม่นยำ รวมถึงการติดตามอาการไม่พึงประสงค์ภายหลังรับวัคซีน ซึ่งจะติดตามผู้ได้รับวัคซีนทุกคนเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ตามหลักมาตรฐานสากล
นพ.นคร กล่าวว่า จากการศึกษาเปรียบเทียบวัคซีนโควิด-19 ที่มีผลการทดสอบประสิทธิภาพในมนุษย์ระยะที่ 3 ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนการขึ้นทะเบียนนั้น พบว่า วัคซีนของ ไฟเซอร์ มีประสิทธิผล 95% โดยฉีด 2 โดส ห่างกัน 21 วัน , วัคซีนของ โมเดอร์นา มีประสิทธิผล 94.5% ฉีด 2 โดส ห่างกัน 28 วัน , วัคซีนของ แอสตราเซนเนกา มีประสิทธิผล 62 - 90% ขึ้นกับปริมาณการฉีด โดยฉีด 2 โดส ห่างกัน 28 วัน , วัคซีนของ รัสเซีย มีประสิทธิผล 92% ฉีด 2 โดส ห่างกัน 14 - 21 วัน ส่วนวัคซีนของ ซิโนฟาร์ม ประเทศจีน มีประสิทธิผล 79% ฉีด 2 โดส ห่างกัน 21 วัน โดยวัคซีนทั้ง 5 ตัว ได้รับการขึ้นทะเบียนในประเทศต้นทางแล้ว นอกจากนี้ ยังมีวัคซีนของ ซิโนแวค ประเทศจีน มีประสิทธิผล 78% ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข โดยสถาบันวัคซีนแห่งชาติ และกรมควบคุมโรค ร่วมกันศึกษาวัคซีนเหล่านี้มาอย่างต่อเนื่อง จึงมีการพิจารณาจองซื้อและจัดหาแหล่งวัคซีน ซึ่งการจองซื้อกับบริษัทแอสตราเซนเนกา 26 ล้านโดสนั้น มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อผลิตในประเทศไทย โดยใช้ไทยเป็นฐานการผลิต 200 ล้านโดสต่อปี สามารถส่งต่อวัคซีนให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านได้ต่อไป
โดย นพ.นคร ยังกล่าวด้วยว่า ผลข้างเคียงของวัคซีนแต่ละชนิด อาจมีอาการทั่วไป เช่น ปวดเมื่อย ปวดศีรษะ มีไข้ ปวดบริเวณที่ฉีด ซึ่งยังไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรง ดังนั้น เป็นข้อสังเกตได้ว่าการใช้วัคซีนในช่วงเกิดการระบาดนี้เป็นการใช้ในภาวะเร่งด่วน และได้ทำการศึกษาไปพร้อมกัน ซึ่งหากมีการฉีดวัคซีนจำนวนมาก เช่น 1 ล้านโดส ผลข้างเคียงที่อาจพบได้ยากในรูปแบบอื่นๆ อาจปรากฏขึ้นได้ ดังนั้น วัคซีนทุกตัวต้องเก็บข้อมูลเพื่อดูความปลอดภัยไปพร้อมกัน จะทำให้ทราบข้อมูลและระมัดระวัง เพื่อการหยุดยั้งการระบาดของโรค ลดอัตราป่วย และเสียชีวิต ส่วนการเก็บรักษาวัคซีนมีความแตกต่างกันไปบ้าง เช่น อุณหภูมิ เป็นปัจจัยหนึ่งในการพิจารณาการนำวัคซีนมาใช้ในประเทศไทย
ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/regional/454728?adz=
บทความล่าสุดว่าด้วย Covid-19
Bonnie Henry เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำบริติชโคลัมเบียซึ่งเป็นผู้หญิงคนแรกในตำแหน่งนี้ เธอยังเป็นรองศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย เธอมีพื้นฐานความรู้ด้านระบาดวิทยาและเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขและเวชศาสตร์ป้องกัน เธอยังมาจาก PEI (เกาะปรินซ์เอ็ดเวิร์ด)
ภูมิปัญญาของดร. บอนนี่เฮนรี่
1. เราอาจต้องอยู่กับ COVID-19 เป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปี อย่าปฏิเสธหรือตื่นตระหนก อย่าทำให้ชีวิตของเราไร้ประโยชน์ มาเรียนรู้ที่จะอยู่กับข้อเท็จจริงนี้กันเถอะ
2. คุณไม่สามารถทำลายไวรัส COVID-19 ที่เจาะผนังเซลล์ได้โดยการดื่มน้ำร้อน 1 แกลลอน คุณจะเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น
3. การล้างมือและรักษาระยะห่างทางกายภาพสองเมตรเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการป้องกันของคุณ
4. หากคุณไม่มีผู้ป่วย COVID-19 ที่บ้านก็ไม่จำเป็นต้องฆ่าเชื้อพื้นผิวที่บ้านของคุณ
5. ตู้สินค้า ปั๊มน้ำมัน รถเข็นและตู้เอทีเอ็มไม่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ หากล้างมือให้ใช้ชีวิตตามปกติ
6. โควิด -19 ไม่ใช่การติดเชื้อในอาหาร มันอยู่ในหยดน้ำลาย น้ำมูก ที่ไอ จาม ออกมา droplets จึงติดเชื้อ เช่น 'ไข้หวัดใหญ่' ไม่มีความเสี่ยงที่แสดงให้เห็นว่า COVID-19 ติดต่อทางอาหาร
7. คุณสามารถสูญเสียความรู้สึกในการดมกลิ่นด้วยอาการแพ้และการติดเชื้อไวรัสจำนวนมาก นี่เป็นเพียงอาการไม่เฉพาะเจาะจงของ COVID-19
8. เมื่ออยู่บ้านคุณไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าอย่างเร่งด่วนแล้วไปอาบน้ำ! ความบริสุทธิ์เป็นคุณธรรม ความหวาดระแวงไม่ใช่!
9. ไวรัส COVID-19 ไม่ค้างอยู่ในอากาศเป็นเวลานาน นี่คือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่ต้องสัมผัสใกล้ชิด - no airborne!!!
10. อากาศสะอาดในที่โล่ง เช่น สวนสาธารณะ (เพียงแค่รักษาระยะป้องกันทางกายภาพของคุณ)
11. ควรใช้สบู่ธรรมดาเพื่อป้องกันไวรัสโควิด -19 ไม่ใช่สบู่ต้านเชื้อแบคทีเรีย นี่คือไวรัสไม่ใช่แบคทีเรีย
12. คุณไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการสั่งอาหารของคุณ แต่คุณสามารถอุ่นทั้งหมดในไมโครเวฟได้หากต้องการ
13. โอกาสที่จะนำ COVID-19 กลับบ้านพร้อมรองเท้าก็เหมือนกับการถูกฟ้าผ่า 2 ครั้งในหนึ่งวัน ฉันทำงานกับไวรัสมา 20 ปี - การติดเชื้อไม่แพร่กระจายแบบนั้น!
14. คุณไม่สามารถป้องกันไวรัสได้ด้วยน้ำส้มสายชู น้ำอ้อย หรือน้ำขิง! สิ่งเหล่านี้มีไว้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ไม่ใช่การรักษา
15. การสวมหน้ากากอนามัยเป็นเวลานานจะรบกวนการหายใจและระดับออกซิเจนของคุณ สวมใส่ในฝูงชนเท่านั้น
16. การสวมถุงมือก็เป็นความคิดที่ไม่ดีเช่นกัน ไวรัสสามารถสะสมเข้าไปในถุงมือและแพร่เชื้อได้ง่ายหากคุณสัมผัสใบหน้า ควรล้างมือเป็นประจำให้เป็นนิสัย
ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงโดยการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดเชื้อเสมอ แม้ว่าคุณจะกินอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน แต่โปรดออกจากบ้านไปที่สวนสาธารณะ / ชายหาดเป็นประจำ ภูมิคุ้มกันจะเพิ่มขึ้นตามการสัมผัสกับผู้ป่วย ไม่ใช่จากการนั่งอยู่บ้านและบริโภคอาหารทอด / เผ็ด / หวานและเครื่องดื่มเติมอากาศ
ฉลาดและรับทราบข้อมูล!
ใช้ชีวิตอย่างมีเหตุผลและเต็มที่
อย่าตื่นตระหนก แต่ให้ตระหนัก สงบนิ่ง และรักษาตนให้ปลอดภัย!
Doungchampa Spencer-Isenberg
Dec 29
เมื่อวานดิฉันเขียนและแปลบทความเกี่ยวกับ COVID-19 วัคซีน
.
(อ้างอิง: https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=3691648807544773&id=804632636246419)
.
และมีผู้สนใจเรื่องนี้หลายท่านได้ถามดิฉันหลังไมค์ เกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆ เมื่อตอนกลางวัน (เวลาท้องถิ่นที่นี่) ดิฉันก็เลยไปค้นหาข้อมูลให้ เพื่อการเปรียบเทียบ ซึ่งหลายๆ ท่านอาจจะเคยเห็นมาก่อนหน้าแล้ว ก็ถือว่า เป็นการอ่านเพื่อความรู้กันอีกหนหนึ่งก็แล้วกัน
.
.
เราคงจะได้เห็นข่าวว่า ประเทศไทยทำการสั่งซื้อวัคซีนจาก Oxford / AstraZeneca ซึ่งผู้คนทั่วไปอาจจะเริ่มได้รับกันตอนกลางปีหน้า (2021) ส่วนประเทศเพื่อนบ้านอย่างเช่นสิงคโปร์ ก็เพิ่งได้รับวัคซีนของบริษัท Pfizer กัน คำถามว่า ทำไมถึงมีความแตกต่าง และมันแตกต่างกันอย่างไร ดิฉันพยายามอธิบายให้เพื่อนๆ เข้าใจกันอย่างง่ายที่สุดก็แล้วกัน
.
.
-----------------------------------------
.
.
ในเวลานี้ เราเริ่มเห็นการฉีด COVID-19 วัคซีนกันในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อแจกจ่ายกับบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงก่อน อย่าลืมว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดของผู้ที่ได้รับวัคซีนคือ ตนเองต้องปราศจากไวรัส เพราะหากเป็นไข้ไปแล้ว การฉีดวัคซีนก็ไม่ได้ช่วยอะไรขึ้นมา (แถมอาการอาจจะแย่ลงด้วย) ดังนั้น พยายามรักษาสุขภาพและให้ตนเองปลอดไวรัสให้ได้ ก่อนที่จะไปรับวัคซีนกัน
.
.
บริษัทหรือองค์กรที่ผลิตวัคซีนที่อยู่แนวหน้า คือ บริษัท Pfizer, บริษัท Moderna และ Oxford / AstraZeneca ส่วนของจีนและรัสเซีย ดิฉันจะไม่ขอกล่าวถึงเพราะไม่มีข้อมูลใดๆ ออกมายืนยันเรื่องประสิทธิภาพ (แต่มีการกล่าวถึงประสิทธิภาพว่า เกิน 90 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปทั้งสองประเทศ)
.
.
-----------------------------------------
.
.
สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างวัคซีนเหล่านี้ มีดังต่อไปนี้:
.
.
1. Oxford / AstraZeneca ใช้เทคโนโลยีแบบเก่า คือ ตัว Spike Protein ของไวรัสถูกฉีดเข้ามาในร่างกาย ซึ่งทำให้ระบบภุมิต้านทานภายในร่างกายสร้างการตอบสนองขึ้นมา เมื่อไวรัสจริงๆ เดินทางเข้าสู่ร่างกาย (Genetically Modified Virus)
.
ส่วนของ Pfizer และ Moderna นั้น ใช้เทคโนโลยีใหม่ เรียกว่า mRNA หรือ Messenger RNA ซึ่งหมายความว่า มันสอนให้เซลล์ในร่างกายได้เรียนรู้ให้สร้างโปรตีนขึ้นมาเพื่อกระตุ้นการตอบสนองต่อภูมิต้านทาน จากนั้นเซลล์ก็สร้าง Antigen หรือสารภูมิต้านทานขึ้นมา และสร้างการตอบโต้กับไวรัส เทคโนโลยีนี้ ไม่เคยมีใครนำมาใช้กับวัคซีนมาก่อน ซึ่งมันสามารถกลายเป็นการแก้ไขปัญหาและเป็นตัวปัญหาได้พร้อมๆ กัน
.
.
2. ประสิทธิภาพของวัคซีน วัคซีนจะต้องฉีดกันสองเข็ม ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดๆ
.
ตามสถิติแล้ว วัคซีนของ Pfizer มีประสิทธิภาพสูงถึง 95 เปอร์เซ็นต์ในการต่อต้านไวรัสภายในระยะเวลา 21 วันหลังจากถูกฉีดจากเข็มแรก ยังมีสถิติที่ดีมากๆ สำหรับบุคคลสูงอายุเกิน 65 ปีขึ้นไป ซึ่งอยู่ในกลุ่มเสี่ยง
.
ส่วนวัคซีนของ Moderna ให้ประสิทธิภาพสูงถึง 94.5 เปอร์เซ็นต์ (ซึ่งใกล้เคียงกับของ Pfizer) ระยะเวลาระหว่างเข็มแรกกับเข็มที่สองอยู่ที่ 28 วัน
.
.
่เรื่องที่แปลกกลับเกิดขึ้นกับวัคซีนของ Oxford / AstraZeneca คือ ประสิทธิภาพจะอยู่ที่ 62 เปอร์เซ็นต์ หลังจากฉีดสองเข็ม "เต็ม" ไปแล้ว (Two Full Doses)
.
แต่เมื่อได้รับการฉีดครั้งแรกเป็นจำนวน “ครึ่งเข็ม” (Half Dose) และตามด้วยอีกหนึ่งเข็มเต็ม (Full Dose) ภายในระยะเวลาอย่างน้อยหนึ่งเดือนหลังจากนั้น ประสิทธิภาพของวัคซีนจะพุ่งขึ้นไปถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ผู้เชี่ยวชาญบางคนก็ยังไม่เข้าใจว่าทำไมตัวเลขถึงออกมาแบบนั้น
.
.
-----------------------------------------
.
.
3. การขนส่ง และ การเก็บรักษา
.
.
ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเกี่ยวกับวัคซีนคือ จะเก็บรักษากันอย่างไร?
.
วัคซีนของบริษัท Pfizer เก็บรักษายากที่สุด เพราะต้องเก็บในที่เย็นจัด ภายใต้อุณหภูมิ ลบ 70 องศาเซลเซียส ถึงจะรักษาประสิทธิภาพไว้ได้ และจะต้องผสมกับของเหลวอีกชิ้นหนึ่งก่อนที่จะทำการฉีดให้กับผู้คนได้ แต่บริษัท Pfizer ก็สร้างและออกแบบตู้แช่แข็งสำหรับวัคซีนของตนเอง ที่ต้องเก็บกับน้ำแข็งแห้ง (Dry Ice) ที่สามารถเก็บรักษาได้เป็นเวลา 10 วันโดยไม่ต้องใช้ตู้แช่แข็งแบบพิเศษ วัคซีนของ Pfizer ผลิตในประเทศเบลเยี่ยม เวลาขนส่งทางอากาศจะมีตัววัดอุณหภูมิพร้อมกับการติดตั้ง GPS เพื่อติดตามวัคซีนโดยตลอด
.
วัคซีนของบริษัท Moderna สามารถเก็บรักษาได้ในระยะเวลา 30 วันในตู้เย็นธรรมดา หากเก็บไว้ในตู้แช่แข็งพิเศษที่มีอุณหภูมิ ลบ 20 องศาเซลเซียส สามารถอยู่ได้นานถึง 6 เดือน หากเอาออกมาตั้งไว้ในห้องอุณหภูมิปกติ ประสิทธิภาพสามารถยืนหยัดอยู่ได้ประมาณ 12 ชั่วโมงเท่านั้น
.
ส่วนวัคซีนของ Oxford / AstraZeneca จะถูกส่งไปยังศูนย์วัคซีนในรถตู้เย็น หรือในกล่องแช่เย็น และเก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิประมาณ 2 ถึง 8 องศาเซลเซียส และปราศจากแสงแดด เพราะฉะนั้น ประเทศที่อยู่ในโซนร้อนหรือใกล้เส้นศูนย์สูตร จะเหมาะสำหรับวัคซีนตัวนี้ในเรื่องการเก็บรักษาเมื่อเทียบกับของวัคซีนตัวอื่นๆ
.
.
-----------------------------------------
.
.
4. ราคา
.
.
วัคซีนที่บริษัทและองค์กรเหล่านี้ขายให้กับรัฐบาล มีราคาแตกต่างกัน ส่วนใหญ่ประชาชนที่ได้รับการฉีดจะไม่เสียเงินและค่าใช้จ่ายใดๆ เพราะเป็นสวัสดิการของรัฐบาลนั้นๆ
.
วัคซีนของบริษัท Moderna มีราคาแพงที่สุดคือ เข็มละประมาณ $35 (1,000 บาท) ส่วนของ Pfizer ตกเข็มละ $20 (650 บาท) คาดกันว่า ราคาของ Oxford / AstraZeneca จะไม่เกิน $4 (130 บาท) ต่อเข็ม ไม่ว่าจะฉีดเข็มครึ่งหรือสองเข็มก็ตาม
.
สิ่งที่ควรคำนึงคือ บริษัท Moderna เป็นบริษัทเพื่อการค้ากำไร ในขณะที่นักวิจัยของบริษัท Pfizer ต้องการให้เป็นเรื่องของการปราศจากการค้ากำไรในขณะที่ยังคงมีโรคระบาดกันอยู่
.
.
-----------------------------------------
.
.
5. ปริมาณ
.
.
วัคซีนของ Moderna มีจำนวน mRMA ต่อเข็มสูงกว่าของ Pfizer (100 micrograms สำหรับ Moderna และ 30 micrograms สำหรับ Pfizer) ซึ่งหมายความว่า Pfizer สามารถผลิตปริมาณได้มากกว่า และให้ราคาถูกกว่าด้วย
.
.
-----------------------------------------
.
.
สิ่งที่น่าคิดคือ: หากใช้สถิติและข่าวที่เห็นในปัจจุบันเป็นหลัก สมมติว่าทางประเทศไทย ใช้วัคซีนของ Oxford / AstraZeneca เป็นจำนวน "ครึ่งเข็ม" ~(Half dose) ก่อน (แทนที่จะเป็นหนึ่งเข็มเต็ม - Full Dose) ก็หมายความว่า ประชาชนที่จะได้รับวัคซีนสามารถเพิ่มจำนวนได้ถึงหนึ่งเท่าตัว และสามารถยืดเวลาออกไปอีกอย่างน้อยหนึ่งเดือน ถึงมาฉีดเข็มที่สองกัน
.
.
ถ้าคำนวณระบบ Logistics กันให้ดีๆ หมายถึงว่า จำนวนวัคซีนมีมากพอหลังจากหนึ่งเดือนไปแล้ว เราจะมีประชาชนอีกมากทีเดียวที่จะได้รับวัคซีนหลังจากเข็มแรก แต่ต้องแน่ใจว่า มีจำนวนวัคซีนได้รับกันอย่างเพียงพอ ไม่อย่างนั้น จะต้องรอกันนานมากกว่าจะได้รับเข็มที่สองกัน
.
.
เราจึงเห็นแล้วว่า ทำไม Oxford / AstraZeneca ถึงเหมาะกับเขตประเทศร้อน เนื่องจากราคาและการเก็บรักษา หากจะเทียบกับสิงคโปร์ ดิฉันคิดว่า ทางสิงคโปร์อาจจะมีการเก็บรักษาได้ดีเยี่ยมและปลอดภัย ถึงสามารถสั่งวัคซีนของ Pfizer เข้ามาได้ก่อนประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน เพราะการเก็บรักษาต้องอยู่ในอุณหภูมิแบบเยือกแข็งเลยทีเดียว
.
.
่เรื่องที่อยากแนะนำคือ ในระยะเวลาอีก 3-4 เดือนข้างหน้า ทางการไทยควรจะสืบหาและเริ่มเก็บข้อมูล + สถิติต่างๆ เกี่ยวกับวัคซีน Oxford / AstraZeneca ให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ผลอาการข้างเคียง (Side Effects) ซึ่งผู้ได้รับวัคซีนอีกหลายคนจะต้องพบแน่ๆ
.
.
-----------------------------------------
.
.
และเรื่องที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือ ทุกๆ คน จะต้องมีประวัติการฉีดยาเก็บไว้ในฐานข้อมูลกลาง เพื่อจะได้ทราบว่าได้รับวัคซีนเมื่อไร ใช้จากลังไหน เพราะคิดว่า ประวัติการฉีดยานี้จะต้องนำมาใช้ในการเดินทางข้ามประเทศในอนาคตแน่ๆ ในรูปแบบของ Immunity Passport หรือ Digital Health Certificate
.
.
ประการสุดท้ายก่อนจบบทความคือ อย่าฉีดวัคซีน “ปนกัน” อย่างเด็ดขาด คือ เข็มแรก เป็นยี่ห้อหนึ่ง และเข็มที่สองเป็นอีกยี่ห้อหนึ่ง เพราะวัคซีนเป็นคนละชนิดและคนละแบบกัน หากฉีดแล้ว ก็ฉีดยี่ห้อเดียว ไม่อย่างนั้น ท่านอาจจะได้ผลข้างเคียงที่ยุ่งยากมากๆ เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ทำการช่วยเหลือ
.
.
Have a great and happy Tuesday. Stay safe ค่ะ
.
Doungchampa Spencer-Isenberg
.
.
(อ้างอิงจาก:
.
* https://www.acsh.org/.../comparing-covid-vaccines-pfizer...
.
* https://news.sky.com/.../covid-19-vaccines-how-do-the...
โควิด -19
นี่คือข้อมูล COVID ที่มีประโยชน์มากจากเอกสารข้อมูลของโรงพยาบาลจอห์นฮอปกินส์ที่เกี่ยวข้องกับ Coronavirus 19
เป็นข้อมูลที่ดีมากและดูเหมือนจะเป็นรุ่นล่าสุดของการจัดการปัญหาทางการแพทย์นี้ส่วนบุคคลและควรค่าแก่เวลาในการศึกษาข้อมูลที่ให้ไว้สำหรับการดูแลส่วนบุคคลของคุณอยู่อย่างปลอดภัยและอยู่อย่างดี
สิ่งนี้ทำให้เข้าใจวิธีการป้องกัน Covid-19 มากขึ้น:
* ไวรัสนี้ไม่ใช่สิ่งมีชีวิต เป็นโมเลกุลของโปรตีน (RNA หรือ DNA) ที่ปกคลุมด้วยชั้นป้องกันของไขมัน (ไขมัน) ซึ่งเมื่อดูดซึมโดยเซลล์ของตา (ตา) จมูก (จมูก) หรือเยื่อบุกระพุ้งแก้ม (ปาก) จะเปลี่ยนรหัสพันธุกรรม (กลายพันธุ์) และแปลงเป็นตัวรุกและเซลล์ตัวคูณ
* เนื่องจากไวรัสไม่ใช่สิ่งมีชีวิต แต่เป็นโมเลกุลของโปรตีนจึงไม่สามารถฆ่าได้
* มันต้องสลายไปเอง เวลาในการแตกตัวขึ้นอยู่กับอุณหภูมิความชื้นและประเภทของวัสดุที่อยู่
* ไวรัสมีความเปราะบางมาก สิ่งเดียวที่ปกป้องมันคือชั้นไขมันชั้นนอกบาง ๆ และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมสบู่หรือผงซักฟอกจึงเป็นอาวุธที่ดีที่สุด โฟมจะตัดไขมัน (นั่นคือเหตุผลที่คุณต้องขัดเป็นเวลา 20 วินาทีขึ้นไปเพื่อให้เกิดฟองจำนวนมาก) โดยการละลายชั้นไขมันโมเลกุลของโปรตีนจะกระจายตัวและแตกตัว
* HEAT ละลายไขมัน ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องใช้น้ำที่สูงกว่า 77 องศาในการซักมือซักผ้าและทำความสะอาดพื้นผิว นอกจากนี้น้ำร้อนทำให้เกิดฟองมากขึ้นทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
* แอลกอฮอล์หรือส่วนผสมใด ๆ ที่มีแอลกอฮอล์มากกว่า 65% ช่วยลดไขมันทั้งหมดโดยเฉพาะชั้นไขมันภายนอกของไวรัส
* สารละลายใด ๆ ที่มีสารฟอกขาว 1 ส่วนและน้ำ 5 ส่วนจะละลายโปรตีนโดยตรงโดยทำลายลงจากด้านใน
* น้ำที่เติมออกซิเจนจะเพิ่มประสิทธิภาพของสบู่แอลกอฮอล์และคลอรีนเนื่องจากเปอร์ออกไซด์จะละลายโปรตีนของไวรัส อย่างไรก็ตามเนื่องจากคุณต้องใช้มันในรูปแบบที่บริสุทธิ์จึงสามารถทำลายผิวของคุณได้
* ไม่ใช้แบคทีเรียหรือสารต้านอนุมูลอิสระใด ๆ เนื่องจากไวรัสไม่ใช่สิ่งมีชีวิตเช่นแบคทีเรีย แอนติบอดีไม่สามารถฆ่าสิ่งที่ไม่มีชีวิตได้
* โมเลกุลของไวรัสยังคงเสถียรมากที่อุณหภูมิที่เย็นกว่ารวมถึงเครื่องปรับอากาศในบ้านและในรถยนต์ พวกเขายังต้องการความชื้นและความมืดเพื่อให้คงที่ ดังนั้นสภาพแวดล้อมที่ลดความชื้นแห้งอบอุ่นและสว่างจะทำให้ไวรัสย่อยสลายได้เร็วขึ้น
* แสงยูวีบนวัตถุใด ๆ ที่อาจมีไวรัสทำลายโปรตีน ระวังคอลลาเจน (ซึ่งก็คือโปรตีน) ในผิวหนังด้วย
* ไวรัสไม่สามารถผ่านผิวหนังที่แข็งแรงได้
* น้ำส้มสายชูไม่มีประโยชน์เพราะไม่ได้สลายไขมันชั้นป้องกัน
* ไม่มีวิญญาณหรือวอดก้าให้บริการ วอดก้าที่แรงที่สุดคือแอลกอฮอล์ 40% เท่านั้นและคุณต้องมีอย่างน้อย 65%
* LISTERINE เป็นแอลกอฮอล์ 65%
* ยิ่งพื้นที่ จำกัด มากเท่าไหร่ความเข้มข้นของไวรัสก็จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น ยิ่งเปิดหรือระบายอากาศได้ตามธรรมชาติก็ยิ่งน้อยลง
* คุณต้องล้างมือก่อนและหลังสัมผัสพื้นผิวที่ใช้บ่อยเช่นเยื่อบุ (บริเวณปาก) อาหารล็อคลูกบิดสวิตช์รีโมทโทรศัพท์มือถือนาฬิกาคอมพิวเตอร์โต๊ะทำงาน ฯลฯ ... และอย่าลืมเมื่อ คุณใช้ห้องน้ำ
* คุณต้องทำความสะอาดมือของคุณเนื่องจากการซักบ่อยๆ มือที่แห้งมีรอยแตกและโมเลกุลสามารถซ่อนอยู่ในรอยแตกขนาดเล็ก มอยส์เจอร์ไรเซอร์ยิ่งหนายิ่งดี
* เก็บเล็บของคุณให้สั้นลงด้วยเพื่อไม่ให้ไวรัสซ่อนอยู่ที่นั่น
ตอนนี้สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมบางส่วน:
Bonnie Henry เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำจังหวัดบริติชโคลัมเบียซึ่งเป็นผู้หญิงคนแรกในตำแหน่งนี้ เธอยังเป็นรองศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย เธอมีพื้นฐานด้านระบาดวิทยาและเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขและเวชศาสตร์ป้องกัน เธอยังมาจาก PEI (เกาะปรินซ์เอ็ดเวิร์ด)
ภูมิปัญญาของดร. บอนนี่เฮนรี่
1. เราอาจต้องอยู่กับ COVID-19 เป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปี อย่าปฏิเสธหรือตื่นตระหนก อย่าทำให้ชีวิตของเราไร้ประโยชน์ มาเรียนรู้ที่จะอยู่กับข้อเท็จจริงนี้กันเถอะ
2. คุณไม่สามารถทำลายไวรัส COVID-19 ที่เจาะผนังเซลล์ได้โดยการดื่มน้ำร้อน 1 แกลลอนคุณจะเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น
3. การล้างมือและรักษาระยะห่างทางกายภาพสองเมตรเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการป้องกันของคุณ
4. หากคุณไม่มีผู้ป่วย COVID-19 ที่บ้านก็ไม่จำเป็นต้องฆ่าเชื้อพื้นผิวที่บ้านของคุณ
5. ตู้สินค้าปั๊มน้ำมันรถเข็นและตู้เอทีเอ็มไม่ก่อให้เกิดการติดเชื้อหากล้างมือให้ใช้ชีวิตตามปกติ
6. โควิด -19 ไม่ใช่การติดเชื้อในอาหาร มีความเกี่ยวข้องกับหยดของการติดเชื้อเช่น 'ไข้หวัดใหญ่' ไม่มีความเสี่ยงที่แสดงให้เห็นว่า COVID-19 ติดต่อทางอาหาร
7. คุณสามารถสูญเสียความรู้สึกในการดมกลิ่นด้วยอาการแพ้และการติดเชื้อไวรัสจำนวนมาก นี่เป็นเพียงอาการไม่เฉพาะเจาะจงของ COVID-19
8. เมื่ออยู่บ้านคุณไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าอย่างเร่งด่วนแล้วไปอาบน้ำ! ความบริสุทธิ์เป็นคุณธรรมความหวาดระแวงไม่ใช่!
9. ไวรัส COVID-19 ไม่ค้างอยู่ในอากาศเป็นเวลานาน นี่คือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่ต้องสัมผัสใกล้ชิด
10. อากาศสะอาด คุณสามารถเดินผ่านสวนและผ่านสวนสาธารณะ (เพียงแค่รักษาระยะป้องกันทางกายภาพของคุณ)
11. ควรใช้สบู่ธรรมดาเพื่อป้องกันไวรัสโควิด -19 ไม่ใช่สบู่ต้านเชื้อแบคทีเรีย นี่คือไวรัสไม่ใช่แบคทีเรีย
12. คุณไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการสั่งอาหารของคุณ แต่คุณสามารถอุ่นทั้งหมดในไมโครเวฟได้หากต้องการ
13. โอกาสที่จะนำ COVID-19 กลับบ้านพร้อมกับรองเท้าก็เหมือนกับการถูกฟ้าผ่า 2 ครั้งในหนึ่งวัน ฉันทำงานกับไวรัสมา 20 ปี - การติดเชื้อลดลงไม่แพร่กระจายแบบนั้น!
14. คุณไม่สามารถป้องกันไวรัสได้ด้วยน้ำส้มสายชูน้ำอ้อยและขิง! สิ่งเหล่านี้มีไว้เพื่อภูมิคุ้มกันไม่ใช่การรักษา
15. การสวมหน้ากากอนามัยเป็นเวลานานจะรบกวนการหายใจและระดับออกซิเจนของคุณ สวมใส่ในฝูงชนเท่านั้น
16. การสวมถุงมือก็เป็นความคิดที่ไม่ดีเช่นกัน ไวรัสสามารถสะสมเข้าไปในถุงมือและแพร่เชื้อได้ง่ายหากคุณสัมผัสใบหน้า ควรล้างมือเป็นประจำ
ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงโดยการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดเชื้อเสมอ แม้ว่าคุณจะกินอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน แต่โปรดออกจากบ้านไปที่สวนสาธารณะ / ชายหาดเป็นประจำ ภูมิคุ้มกันจะเพิ่มขึ้นตามการสัมผัสกับผู้ป่วยไม่ใช่โดยการนั่งอยู่บ้า
นและบริโภคอาหารทอด / เผ็ด / หวานและเครื่องดื่มเติมอากาศ
ฉลาดและรับทราบข้อมูล! ใช้ชีวิตอย่างมีเหตุผลและเต็มที่
กรุณาใจเย็นและปลอดภัย!
4 ม.ค.64 - นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเปิดเผยว่า มาตรการเยียวยาผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระลอกใหม่ โดยสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้ออก “กฎกระทรวงกําหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ.2563” กำหนดให้ลดเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่มกราคม-มีนาคมดังนี้ ผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 ลดเงินสมทบเหลือร้อยละ 3,ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ลดเงินสมทบเหลือ 278 บาทต่อเดือน ซึ่งจะช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของทุกฝ่ายได้ถึง 15,660 ล้านบาท โดยเตรียมระบบรองรับการชำระเงินสมทบตามอัตราใหม่ ผ่านช่องทางต่างๆ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.64 เช่น นายจ้างชำระเงินสมทบให้ผู้ประกันตน มาตรา 33 ผ่านเคาท์เตอร์ธนาคารหรือผ่านระบบอิเลคทรอนิกส์ของธนาคารและที่สำนักงานประกันสังคมทุกพื้นที่ ส่วนผู้ประกันตน มาตรา 39 สามารถหักบัญชีเงินฝากอัตโนมัติในรอบวันที่ 15 ก.พ.64,บริการตามเคาน์เตอร์เทสโก้โลตัสจะเริ่มให้บริการวันที่ 7 ม.ค.64,ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ให้บริการชำระได้ในวันที่ 15 ม.ค.64 และธนาคารธนชาตจะเริ่มในวันที่ 1 ก.พ.64
ทั้งนี้สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานมีมาตรการช่วยเหลือกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย (โรคระบาด) สำหรับลูกจ้างผู้ประกันตนที่มีเงินสมทบครบ 6 เดือนใน 15 เดือน แต่ไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน เนื่องจากต้องกักตัว หรือนายจ้างหยุดประกอบกิจการจนลูกจ้างไม่ได้รับค่าจ้าง จะได้รับสิทธิทดแทนในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวันตลอดระยะเวลากักตัวแล้วแต่กรณี แต่ไม่เกิน 90 วัน เช่น ผู้ที่มีฐานเงินเดือน 15,000 บาทจะได้รับเงินเยียวยา 7,500 บาท ซึ่งมาตรการนี้ครอบคลุมทั้งประเทศ ไม่ใช่เพียง 28 จังหวัดตามที่มีประกาศสั่งให้หยุดกิจการ
โดยสามารถขอรับสิทธิประโยชน์ กรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส.2-01/7 ผ่านเว็บไซต์ www.sso.go.th แล้วนำส่งนายจ้างได้ตั้งแต่วันนี้ (4 ม.ค.64 ) โดยจะต้องระบุเบอร์โทรศัพท์ติดต่อและเลขบัญชีธนาคารให้ชัดเจน สำหรับนายจ้าง ให้ยื่นขอรับสิทธิว่างงานผ่านเว็บไซต์เดียวกันและบันทึกข้อมูลในระบบอีเซอร์วิส โดยต้องบันทึกข้อมูลลูกจ้างตามแบบฟอร์มและหนังสือรับรองการหยุดงาน กรณีราชการสั่งปิดหรือกักตัว แล้วส่งทางไปรษณีย์ไปยังสำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ โดยที่ลูกจ้างผู้ประกันตนไม่ต้องเดินทางไปยังสำนักงานฯ เมื่อครบถ้วนทุกขั้นตอน หลังจากนั้นเงินจะโอนเข้าบัญชีภายใน 5 วันทำการ และรอบตัดจ่ายกำหนดทุกสิ้นเดือนถัดไป หรือจนกว่าจะครบวันที่สถานประกอบการมีกำหนดปิด
4 ม.ค. 64 นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊กส่วนตัว “Yong Poovorawan” ระบุว่า
โควิด 19 เมื่อมีการระบาดรอบใหม่
สิ่งที่สำคัญในการควบคุมการระบาด จะต้องเป็นไปตามลำดับ ดังนี้
1การป้องกัน
ทุกคนจะต้องช่วยกันป้องกันไม่ให้เกิดการระบาด กระจายออกไป ด้วยการสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เมื่อออกนอกบ้าน ล้างมือและใช้ alcohol กำหนดระยะห่างบุคคลไม่น้อยกว่า 2 เมตร หรืออยู่บ้านดีที่สุด หลีกเลี่ยงแหล่งอโคจร
2 การควบคุม
เป็นหน้าที่ของทุกคน รวมทั้งทางกระทรวงสาธารณสุขที่จะต้องควบคุมสถานการณ์การระบาดของโรคอยู่ในขอบเขต ที่ควบคุมได้ มีมาตรการต่างๆเบาไปหาหนัก สร้างกฎเกณฑ์ต่างๆขึ้นมา จนกระทั่งถึงปิดเมืองเด็ดขาด แบบอู่ฮั่น
3การลดปริมาณโรคให้น้อยลง
จัดการตรวจวินิจฉัยแยก คัดกรอง ให้ความรู้ โดยเฉพาะในแหล่งระบาดให้เกิดโรค หรือติดต่อแพร่กระจายให้น้อยที่สุด ไม่ให้เกิดการแพร่กระจายไปจุดอื่นๆ
4 การกวาดล้าง
เมื่อโรคเหลือจำนวนน้อยลง จะต้องยังคงมาตรการ เพื่อให้เหลือน้อยที่สุดหรือหมดไป
5 การทำให้โรคหมด
ด้วยกฎเกณฑ์จะต้อง ไม่พบผู้ป่วยในบริเวณนั้นอย่างน้อย 2 เท่าของระยะฟักตัว หรือ 28 วัน จึงจะสามารถกล่าวได้ว่า โรคนั้นหมดไป
6 การทำให้สูญพันธุ์
คงเป็นการยากมากแล้วที่จะทำให้โรค covid-19 สูญพันธุ์ไปจากโลกนี้
จากสถานการณ์ในปัจจุบันเป็นการยากมากที่จะทำให้โรคหมดภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว และยังมีความเชื่อว่า เราจะต้องอยู่กลับ covid-19 ไปอีกนาน
ขณะนี้สิ่งที่ต้องการที่สุดอยู่ในมาตรการการป้องกันและการควบคุมไม่ให้จำนวนโรคหรือผู้ป่วยมากไปกว่านี้ ถ้าเราไม่สามารถทำได้ในอนาคตอันใกล้เราอยากเห็นจำนวนผู้ป่วยเป็นหลักเลข 4 ตัวต่อวัน
ยอดผู้ป่วยที่เราเห็นอยู่ทุกวันขณะนี้ จะสะท้อนความเป็นจริงเมื่อ 1 อาทิตย์ที่ผ่านมา การติดโรคกว่าจะมีอาการและได้รับการตรวจวินิจฉัยยืนยันจะใช้เวลากว่า 1 อาทิตย์ การติดโรคนะวันนี้ อาจจะมากกว่านี้อีกหลายเท่า ถ้าเราไม่ช่วยกัน
ย้อนอดีตกลับไป ๒๕๓ ปี
สู่ห้วงเวลาไทยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ให้กับกองทัพพม่า เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐
"พระเจ้าตาก" รวบรวมผู้มีปณิธานกอบกู้ชาติได้จำนวนหนึ่ง ใช้เวลา ๗ เดือน ไล่ตีกองทัพพม่า กระเจิดกระเจิงพ้นราชอาณาจักรไป
กอบกู้เอกราชคืนแผ่นดินมาได้
ณ วันที่ ๒๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๓๑๐ ซึ่งตรงกับวันนี้ "๒๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๓"
คือ วันที่ "พระเจ้าตาก" ปราบดาภิเษกขึ้นเป็น "พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช"
หรือ "สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี" หรืออีกพระนาม "สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔"
สร้าง "กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร" เป็นราชธานีหรือเมืองหลวง แทน "กรุงศรีอยุธยา" ชาวบ้านเรียกวันนี้ ว่า
"วันพระเจ้าตากนั่งเมือง"
หมายถึง ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ ไม่มีเวลาได้นั่งเลย ต้องยืน เดิน นอน วิ่ง ในสมรภูมิ ท่ามกลางกลิ่นคาวเลือดและซากศพ กรำศึกตลอด
แต่เมื่อได้ทรงนั่ง พระองค์ทรงนั่งช่วงเวลาสั้นๆ แค่ ๑๕ ปีเท่านั้น ก็เสด็จสวรรคต
ด้วยพระชนมพรรษาเพียง ๔๘ พรรษา เมื่อ ๖ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณสุดจะกล่าว ต่อยอด ยืนยาววัฒนาถาวรเป็น "กรุงรัตนโกสินทร์" ปัจจุบันยันอนาคตกาลมิสิ้นสุดนี้........
ในทุกวันที่ ๒๘ ธันวาคม ของทุกปี คือ "วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช"
พูดกันจริงๆ แล้ว พระบรมราชานุสาวรีย์ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" มีแทบทุกหัวระแหงแผ่นดิน เรียกว่า "สุดเหนือ-สุดใต้"
นั่นแสดงถึง มีหยาดพระเสโทและหยดพระโลหิตของพระองค์ชโลมแลกแผ่นดินที่เราทั้งหลายอยู่สบายกันทุกวันนี้ ณ ที่ตรงนั้นด้วย
ปีนี้ โควิดระบาด......
ที่ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ วงเวียนใหญ่ งดจัดงาน แต่ให้ประชาชนผ่านการคัดกรองโรคเข้าไปกราบถวายสักการะได้
ปกติ ผมไปกราบถวายสักการะที่พระบรมราชานุสาวรีย์ "ค่ายบางกุ้ง" สมุทรสงคราม
ที่นี้ ทหารพม่าถูกทหาร "ภักดีอาสา" ของพระเจ้าตาก ประกอบด้วยคนจีนจาก ระยอง ชลบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี
ยกทัพเรือมาตั้ง "ค่ายบางกุ้ง" เพื่อยันศึก
พม่าเมื่อตีกรุงศรีฯ แตกแล้ว ก็ย่ามใจ นึกว่าทหารไทย กระจอก
พระเจ้าอังวะส่งทหารเข้ามา ๓-๔ พันนาย ทางทวาย หวังขยี้ให้ทหารไทยขี้หักคาไส้
แต่ที่ไหนได้ กองทัพพม่าถูกทหารภักดีอาสาของพระเจ้าตาก ฟันสั่งสอนซะเหมือนฟันหยวกเลี้ยงหมู
ศพเกลื่อนไปทั่ว หนีกันโสร่งหลุดกลับไปได้ไม่ถึงครึ่งจากที่มา จากนั้น พม่าก็ขยาด ไม่กล้าเข้ามาแหย็มอีกเลย
ศพเหล่านั้น ไม่ได้กลบ-ไม่ได้ฝัง ......
ทุกวันนี้ บางแห่ง ย่ำไป-ย่ำมา กะโหลกบ้าง กระดูกทหารพม่าบ้าง โผล่ขึ้นมาเรี่ยดิน ตามลานบ้าน พื้นสวน
ระยะหลัง ผมไม่ได้ไป เปลี่ยนเป็นถึงวันที่ ๒๘ ธันวา ก็ทำบุญอุทิศถวายเป็นพระราชกุศลถึงพระองค์ท่านแทน
ปีนี้ ทราบว่าที่ "วัดอินทาราม" แถวๆ ละแวกค่ายบางกุ้ง มีพระที่อาพาธหลายรูป ทางวัดต้องการปัจจัยดูแลรักษา และเปิดรับบริจาค
เมื่อตอนครบรอบไทยโพสต์ ๒๑ ตุลา ๖๓ มีบางท่านใส่ซองช่วยงานไว้ เช่นคุณชนิดา มหาดำรงค์กุล นพ.สวรรค์ กาญจนะ ผอ.รพ.ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ คุณภักดิพร-สุรบถ หลีกภัย และท่านอื่นๆ
ผมก็แกะจับจ่ายไปตามเรื่อง ยังเหลือ ๓๐,๐๐๐ บาท เมื่อวาน (๒๗ ธ.ค.) โอนเข้าบัญชีวัดอินทาราม ในนาม "ผู้อ่านไทยโพสต์" ๒๐,๐๐๐ บาท
อุทิศถวายเป็นพระราชกุศลเรียบร้อยแล้ว ขอทุกท่านน้อมอุทิศถวายเป็นราชสักการะด้วย
ยังอยู่อีก ๑๐,๐๐๐ บาท นำไปเพื่อการใด จะเรียนให้ทราบตอนนั้น
แล้วช่วงนี้ จะคุยอะไรกันดีล่ะครับ ใจคงไม่อยู่กับเนื้อกับตัวกันแล้ว ไปอยู่กับโควิดบ้าง อยู่กับปีใหม่บ้าง
และมากต่อมาก........
ใจโบยบินกลับไปบ้าน "ณ ถิ่นกำเนิด" กันหมดแล้ว เห็นถนนสายทางเหนือ-อีสานแน่นแบบแอบๆ แน่นมาตั้งแต่เย็นวันเสาร์
ถึงยุค แต่ละคนต้อง "มีความคิด" โตตามอายุแล้ว โควิดรอบนี้ รัฐบาลเขาเปิดมิติใหม่
ไม่ใช้มาตรการ "ควบคุมคน" แต่ให้สำนึกรับผิดชอบของผู้เจริญแล้วแต่ละคน "ควบคุมสังคม" กันเอง
ฉะนั้น ท่ามกลางข่าวเชื้อโควิดแพกุ้ง "จากคน-สู่คน" จากมหาชัย ขยายไป ๓๐-๔๐ จังหวัด ทีท่าจะครบ ๗๗ จังหวัด แต่รัฐบาล โดย ศบค.ไม่ล็อกดาวน์ทั้งประเทศ
คือ ไปกันได้ โควิดมันมีบางจุด-บางที่ และการสาธารณสุขเรา "เอาอยู่" ฉะนั้น ใครไปจุดไหน-ที่ไหน ก็ดูเอาละกัน พื้นที่นั้น เสี่ยงสูง-เสี่ยงต่ำ แล้วทำตัวให้ถูก
ตอนนี้ แต่ละพื้นที่ ผู้ว่าฯ มีอำนาจสั่งการได้เต็มที่ รัฐบาลยกให้เป็น "ประธาน ศปม." จังหวัด
มีอำนาจแล้ว รู้จักใช้อำนาจด้วยการตัดสินใจบนความรับผิดชอบตัวเองให้สมกับคำว่า "เจ้าเมือง" กันซะที
หลังจากชินระบบ "หุ่นยนต์" ของรัฐมนตรี ของปลัดฯ มานาน จนแต่ละผู้ว่าฯ ใหญ่แต่ตำแหน่ง แต่เล็ก-ลีบในภาวะผู้นำ
ท่านอนุพงษ์ ท่านฉัตรชัย เห็นด้วยกับผมไหม?
ทั้งรัฐบาล ครม.มีตั้ง ๓๐ กว่าคน ชาวบ้านบ่น เห็นมีแต่นายกฯ ทำงาน "คิดทุกเรื่อง-สั่งทุกเรื่อง" อยู่คนเดียว ดีมีคนรับหน้าสลอน
ซวย ลงที่นายกฯ คนเดียว!
โควิดรอบนี้ ผู้ว่าฯ คนไหน-จังหวัดไหน มีกึ๋นภาวะผู้นำขนาดไหน ได้วัดระดับกันละ
นึกๆ ไปก็ดี ที่เกิด "มินิระบาด" จะได้ใช้วัดศักยภาพข้าราชการแต่ละยูนิต ที่ย่อส่วนอยู่ในอำนาจบริหารของผู้ว่าฯ
บางคนสงสัย ผมก็สงสัย ว่าระบาดรอบนี้ ทำไมทีมอาจารย์หมอ "ศบค." จึงให้รัฐบาลไว้วางใจแต่ละจังหวัดไปบริหารสถานการณ์กันเอง?
ตอนระบาดรอบแรก ดูไม่ไว้ใจ และไม่มั่นใจเต็มร้อย แต่รอบนี้ ดูชิลๆ
ปะติด-ปะต่อเอาเองว่า เพราะรอบแรก "โควิด" มันใหม่ ชนิดไม่รู้หัวนอน-ปลายตีน จึงยากรับมือ ยากจะรู้ว่าต้องเอายาอะไรปราบ และฤทธิ์เดชมันจะขนาดไหน?
แต่รอบนี้.........
จากรอบแรก โควิดมันเป็น "อาจารย์ใหญ่" สอนให้เรารู้หัวนอน-ปลายตีนมันพอสมควรแล้ว รู้แล้วจะต้อนรับขับสู้มันยังไง มียาขนานไหนที่ปราบมันได้
มันไม่ต่างเชื้อไวรัสที่ระบาดแต่ละยุคสมัย
รอบแรก จะตายร่วงกราว อย่างก่อนปี ๒๕๐๐ มีแค่ไข้หวัด แต่ราวๆ ๒๕๐๑-๒๕๐๒ "ไข้หวัด" ใครก็เป็น โลกไม่จำ
"ไข้หวัดใหญ่" เป็นเชื้อใหม่ระบาด โรคจำเลย ผมเป็นเด็กๆ จะลุกจากที่นอนตอนเช้า ยกได้แต่ส่วนก้น แต่หัวหนักทิ่มเด่กับที่นอน
หวิดตาย.......
ได้สูตรเด็ด ก๋วยเตี๋ยวเนื้อเจ๊กโฮ้ว พายเรือขายในคลองหน้าวัด ใส่พริกน้ำส้มเผ็ดจี๋-เปรี้ยวจี๊ด ซดยังไม่ทันหมดชาม พริกน้ำส้ม "สูตรลับ" เจ๊กโฮ้ว เหงื่อแตกพลั่กตั้งแต่หัวยันทั้งตัว ขี้มูกไหลเป็นท่อแตก
หมดชาม โดดโครมลงคลองจนมิดหัว โผล่ขึ้นมา ขึ้นท่าน้ำ นุ่งกางเกง หวัดหย่ง-หวัดใหญ่ ไม่รู้มันโกยแน่บไปไหน!
ไข้หวัดใหญ่ จากโรคระบาดยุคนั้น ทุกวันนี้ ไข้หวัดใหญ่ สบม.แปลว่า สบายมาก จะให้เท่เป็นของใหม่ ต้อง "ไข้เลือดออก"
โควิดนี่เหมือนกัน ไปซีลประเทศมิดชิด วันนี้ ขณะทั่วโลกเขาเป็น เป็นคนมีภูมิต้านทาน แต่เราไม่มี เพราะไม่เคยเป็น
แล้วเรามาเป็นทีหลังอยู่ประเทศเดียว ในขณะที่ทั่วโลกเขาชิลๆ กันหมดแล้ว
ถึงตอนนั้น ไทยกลายเป็นประเทศ "โรคระบาด" อยู่ที่เดียว ทั่วโลกกลัว รังเกียจ เขาไม่มา ทั้งไม่ให้เราไป
ซวยละซีทีนี้!
นี่ผมคิดเล่นในมุมกลับนะ ฉะนั้น ที่ระบาดรอบใหม่ เมื่อการสาธารณสุขเห็นว่า รับมือได้ หมอพร้อม ยาพร้อม วิทยาการพร้อม สถานพยาบาลพร้อม
ก็ต้องให้มันเป็น "อาจารย์ใหญ่" ทั้งให้สาธารณสุข "สร้างสมประสบการณ์"
ทั้งให้ประชาชนเกิดภูมิต้านทาน ใครเป็น มั่นใจ-รักษาได้ ค่อยๆ ให้สังคมมนุษยชาติกับโรคมัน "ปรับสมดุล" ด้วยพลังธรรมชาติ จนโควิด ก็คือ "หมาน้อยธรรมดา" ในที่สุด
เห็นมั้ย...รอบนี้ ไม่มีใคร "ถึงตาย" ซักคน!
คิดบวกไว้บ้างเถอะครับ......
อย่าไปมองใครและอะไรด้านเลว-ด้านร้ายไปซะทั้งหมด โรค "ทัศนคติวิบัติ" มันจะฆ่าตัวเรา ยิ่งกว่าห่ากินปอดตอนนี้ซะอีก
เที่ยวแล้ว ทำบุญอุทิศให้โควิดบ้างเน้อ!
หน้าที่ 1 จาก 9