HbAIC ที่ควรรู้
เม็ดเลือดแดงประกอบด้วยโมเลกุลของ hemoglobin เพื่อใช้ในการขนส่งออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย
น้ำตาลกลูโคส (glucose) ในเลือดจะจับตัวกับโมเลกุลของ hemoglobin เป็น “glycosylated hemoglobin” ที่เรียกว่า
HbAIC ถ้ามีน้ำตาล glucose ในเลือดมากจะมีปริมาณ HbAIC ปรากฏในเลือดมากเช่นกัน
เนื่องจากน้ำตาล glucose ในเลือดจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงในแต่ละชั่วโมง หรือแต่ละวันอยู่ตลอดเวลา เช่น
หลังกินอาหาร ปริมาณน้ำตาลในเลือดจะเพิ่มขึ้นขณะที่หลังออกกำลังกายน้ำตาลในเลือดจะลดลง ดังนั้นการวัดปริมาณ
น้ำตาลในเลือดเพื่อวินิจฉัยการเป็นโรคเบาหวานจึงจำเป็นต้องวัดขณะร่างกายไม่ได้รับอาหารมาแล้ว 8-12 ชั่วโมง หรือ
ที่เรียกว่า fasting blood sugar ในทางตรงข้ามเม็ดเลือดแดงมีอายุ 8-12 สัปดาห์ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของระดับ HbAIC
จึงเกิดขึ้นทุกระยะ ประมาณ 10 สัปดาห์ จึงมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงในแต่ละชั่วโมงหรือแต่ละวันน้อยมากส่งผลให้การวัดปริมาณ
HbAIC จึงใช้เป็นเครื่องมือในการวินิจฉัย และ ติดตามสภาวะของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ดีและแม่นยำกว่าการใช้การวัดปริมาณ
น้ำตาลในเลือดโดยตรง นอกเหนือจากนั้นการวัดปริมาณ HbAIC ยังสามารถทำได้ตลอดเวลาโดยไม่จำเป็นต้องวัดหลังการอดอาหาร
8-12 ชั่วโมง เช่นเดียวกับการวัดปริมาณน้ำตาลในเลือด
การวินิจฉัยโรคเบาหวานโดยการวัดปริมาณ HbAIC
1.HbAIC น้อยกว่า 6% = ไม่เป็นโรคเบาหวาน
2.HbAIC สูงกว่า 6.5% = เป็นโรคเบาหวาน
3.HbAIC อยู่ระหว่าง 6.0-6.5% = มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน (pre-diabetes)
4.กรณีที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน และต้องได้รับการควบคุมอย่างเหมาะสมปริมาณ HbAIC ในเลือดจะต้องอยู่ในระดับ
ต่ำกว่า7% ในการตรวจทุกๆ 3-6 เดือน