ข่าวปลอม! ยา 6 ชนิด “ยารักษาโควิด” ที่ควรมีติดบ้าน
 
ข่าวปลอม อย่าแชร์! รายชื่อ “ยารักษาโควิด” ทั้ง 6 ชนิด ที่ควรซื้อติดบ้านไว้รักษาด้วยตัวเอง ล่าสุด กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงแล้วว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ตามที่ได้มีการส่งต่อข้อมูลในประเด็นเรื่อง รายชื่อยาทั้ง 6 ชนิด ที่ควรซื้อติดบ้านไว้รักษาโควิด-19 ด้วยตัวเอง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีการส่งต่อข้อมูลเรื่อง “ยารักษาโควิด” ที่ต้องเตรียมไว้เพื่อรักษาตนเองที่บ้าน 6 ชนิด คือ

  1. ยาพาราเซตามอล
  2. แอมบรอกซอล
  3. เดกซ์โทรเมทอร์แฟน
  4. คลอเฟนิรามีน
  5. วิตามินซี
  6. ฟ้าทะลายโจร

นั้นทาง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่าผู้ป่วยโควิด-19 ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ home isolation ต้องได้รับการอนุญาตจากแพทย์เท่านั้น โดยการจ่ายยารักษาผู้ป่วยที่กักตัวที่บ้านเป็นไปตามที่แพทย์ประเมินอาการรายบุคคล เพราะการรับประทานยาเอง อาจทำให้เกิดอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนของยาได้

 
 

ซึ่งกรมการแพทย์เผยแพร่แนวทาง Home isolation (การแยกกักตัวที่บ้าน) เป็นแนวทางสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ระหว่างรอ admit โรงพยาบาล แพทย์พิจารณาว่ารักษาที่บ้านได้ และรักษาที่โรงพยาบาลหรือสถานที่รัฐจัดให้อย่างน้อย 10 วันและจำหน่ายกลับบ้านเพื่อรักษาต่อเนื่องที่บ้านโดยวิธี Home isolation

ส่วนผู้ที่เข้าเกณฑ์การทำ Home isolation ประกอบด้วย 

1.เป็นผู้ติดเชื้อที่สบายดีหรือ ไม่มีอาการ (asymptomatic cases) 

2.มีอายุน้อยกว่า 60 ปี 

3.มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง 

4.อยู่คนเดียว หรือ มีผู้อยู่ร่วมที่พักไม่เกิน 1 คน

5.ไม่มีภาวะอ้วน (ภาวะอ้วน หมายถึง ดัชนีมวลกาย > 3030 กก./ม.2 หรือ น้ำหนักตัว > 90 กก.) 

6.ไม่มีโรคร่วม ดังต่อไปนี้ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคไตเรื้อรัง (CKD Stage 3,4 ) โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ หรือโรคอื่นๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์ 

7.ยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเอง

ข่าวปลอม! ยา 6 ชนิด “ยารักษาโควิด” ที่ควรมีติดบ้าน

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์ สามารถติดตามได้ที่นี่ หรือโทร 0-2590-6000

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ home isolation ต้องได้รับการอนุญาตจากแพทย์เท่านั้น โดยการจ่ายยารักษาผู้ป่วยที่กักตัวที่บ้านเป็นไปตามที่แพทย์ประเมินอาการรายบุคคล เพราะการรับประทานยาเอง อาจทำให้เกิดอันตราย จากภาวะแทรกซ้อนของยาได้

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/1024304

 

สธ. เตือน "มิจฉาชีพ" อ้างให้เงินช่วยโควิด ลวงกรอกข้อมูล 
 
โฆษกกระทรวงสาธารณสุข เตือนอย่าหลงเชื่อกลุ่ม "มิจฉาชีพ" ทำเว็บไซต์ปลอมส่งลิงก์ทางไลน์  อ้างกระทรวงสาธารณสุข มีกิจกรรมให้เงินช่วยเหลือโควิด 19 ลวงเหยื่อให้กรอกข้อมูลส่วนตัว ย้ำกระทรวงมีภารกิจดูแลรักษาป้องกันควบคุมโรค ไม่มีภารกิจเกี่ยวกับเงินช่วยเหลือเยียวยา

วันนี้ (10 กันยายน 2565) นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง (นพ.ทรงคุณวุฒิ 11) และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้มีกลุ่มมิจฉาชีพทำเว็บไซต์ปลอมมีโลโก้กระทรวงสาธารณสุข และส่งลิงก์เว็บไซต์ให้ประชาชนทางไลน์และโซเชียลมีเดีย โดยหลอกว่ากระทรวงสาธารณสุข มีกิจกรรมให้เงินช่วยเหลือโควิด 19 เพื่อให้เหยื่อกรอกข้อมูลสำคัญส่วนตัว ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้มักใช้ในการยืนยันตัวตนเพื่อความปลอดภัยในการเข้าใช้ระบบต่างๆ หรือทำธุรกรรมออนไลน์ เมื่อมิจฉาชีพได้ไปอาจถูกนำไปใช้ในเรื่องที่ผิดกฎหมาย ทำให้เราตกเป็นเหยื่อหรือผู้ประสบภัยทางออนไลน์ได้ จึงขอเตือนภัยว่าอย่าหลงเชื่อให้ข้อมูลส่วนตัวอย่างเด็ดขาด

ทั้งนี้ ภารกิจของ กระทรวงสาธารณสุข คือ การดูแลป้องกันรักษาควบคุมโรค ไม่ได้มีภารกิจเกี่ยวกับเงินช่วยเหลือประชาชน และไม่ได้มีโครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการให้เงินช่วยเหลือโควิด 19 หรือโรคระบาดแต่อย่างใด

นพ.รุ่งเรือง กล่าวต่อว่า กลุ่มมิจฉาชีพมีการปรับเปลี่ยนวิธีการใหม่ๆ ตลอดเวลา เพื่อหลอกลวงข้อมูลจากเหยื่อ และมักแอบอ้างหน่วยงานของรัฐ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ จึงขอให้พิจารณาตรวจสอบข้อมูลอย่างถี่ถ้วนก่อนทุกครั้ง

หากไม่แน่ใจแนะนำให้สอบถามกับหน่วยงานโดยตรง โดยเว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข คือ moph.go.th สามารถเข้ามาตรวจสอบข้อมูลภายในเว็บไซต์ทางการได้ ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขจะดำเนินการคดีกลุ่มมิจฉาชีพตามกฏหมายอย่างถึงที่สุด

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/health/1026035

 

 
ไขข้อสงสัย "แพ้วัคซีนโควิด-19" ตั้งแต่ 4 ก.ค. 65 ได้รับเยียวยาหรือไม่
 
สปสช.แจ้งประชาชนฉีด "วัคซีนโควิด-19" ที่เกิดภาวะไม่พึงประสงค์ ตั้งแต่ 4 ก.ค. 65 สปสช.ช่วยเหลือเบื้องต้นเฉพาะผู้มี "สิทธิบัตรทอง" ขณะที่ประชาชนที่มีสิทธิอื่น ให้ยื่นหน่วยงานดูแลสิทธิการรักษา

ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในฐานะโฆษก สปสช. กล่าวว่า ตามที่ สปสช.ได้ดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้ที่เกิดภาวะไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สำหรับวัคซีนที่ประชาชนได้รับการฉีดฟรีทุกสิทธิการรักษา ตามนโยบายรัฐบาลเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน โดย สปสช.ได้ออกประกาศเรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 และมีผลย้อนหลังถึงวันที่ 5 เมษายน 2564 นั้น   

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ลดความรุนแรงลง และเตรียมเข้าสู่โรคประจำถิ่น ในการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2565 ได้ปรับหลักเกณฑ์ แนวทางการจ่ายชดเชยบริการโควิด-19 ตามแผนปรับโรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น พร้อมกำหนดให้บริการกรณีโควิด-19 ซึ่งรวมถึง “กรณีการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้ที่เกิดภาวะไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีนโควิด-19” ให้เบิกจ่ายจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในหมวดรายการที่เกี่ยวข้อง จากเดิม

เป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณ พ.ร.ก.กู้เงินฯ และจำกัดการดูแลเฉพาะผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรทอง จากเดิมที่เป็นการดูแลครอบคลุมประชาชนทุกสิทธิการรักษา

“ผู้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2565 ในกรณีที่แพ้วัคซีน สปสช.จะดูแลเฉพาะผู้ใช้สิทธิบัตรทองเท่านั้น สำหรับผู้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่เป็นสิทธิรักษาพยาบาลอื่น ให้ยื่นเรื่องกับหน่วยงานตามสิทธิรักษาพยาบาลของตนเอง เช่น กรณีผู้ประกันตน ให้ยื่นเรื่องที่สำนักงานประกันสังคม ฯลฯ ซึ่งจะได้รับการดูแลช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์สิทธินั้นๆ”  

ทพ.อรรถพร กล่าวว่า ในกรณีที่มีผู้ที่เกิดภาวะไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ซึ่งฉีดวัคซีนโควิดตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นมา และได้ยื่นคำร้องมายัง สปสช. ก่อนหน้านี้แล้ว ทาง สปสช.จะรวมรวมคำร้องทั้งหมดนี้ และส่งต่อให้กับหน่วยงานที่ดูแลสิทธิการรักษาพยาบาลของท่าน อย่างไรก็ตามขอย้ำว่า การดำเนินการนี้ สปสช. ได้เปลี่ยนแปลงการดำเนินการที่เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ในการปรับเป็นโรคประจำถิ่น 

ไขข้อสงสัย "แพ้วัคซีนโควิด-19" ตั้งแต่ 4 ก.ค. 65 ได้รับเยียวยาหรือไม่

ทั้งนี้ จากข้อมูลถึงปัจจุบัน (9 ก.ย. 65) มีประชาชนยื่นคำร้องขอรับการช่วยเหลือฯ ทั่วประเทศจำนวน 21,139 ราย

  • เป็นผู้มีสิทธิบัตรทองมากที่สุด 12,065 ราย
  • รองลงมาสิทธิประกันสังคม 4,691 ราย
  • สิทธิสวัสดิการข้าราชการ 3,910 ราย
  • สิทธิข้าราชการท้องถิ่น 330 ราย
  • ยังมีคำร้องที่เป็นสิทธิรักษาพยาบาลอื่น ทั้งนี้มีจำนวนผู้ที่เข้าหลักเกณฑ์รับการช่วยเหลือฯ 17,559 ราย
  • อยู่ระหว่างรอการพิจารณา 406 ราย

ในจำนวนผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือฯ แยกเป็น

  • กรณีเสียชีวิตทุพพลภาพ 4,441 ราย
  • พิการหรือสูญเสียอวัยวะ 505 ราย
  • บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง 11,331 ราย
  • รวมเป็นเงินช่วยเหลือทั้งสิ้น 2,083,680,900 บาท 

“ในช่วง 17 เดือนที่ผ่านมา ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้กับประชาชน โดยข้อมูลล่าสุด (8 ก.ย. 65) ประเทศไทยฉีดวัคซีนโควิดแล้วจำนวน 142.93 ล้านโดส ให้กับประชาชนจำนวน 31.9 ล้านคน ในจำนวนนี้ผู้มีแพ้วัคซีนโควิดและได้รับการช่วยเหลือจำนวน 17,559 คน คิดเป็นร้อยละ 0.05 ของผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน” โฆษก สปสช. กล่าว 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน สปสช. 1330 หรือช่องทางระบบออนไลน์ทั้งไลน์ สปสช. ไลน์ไอดี @nhso หรือ คลิก และ Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

 

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/health/1026015

 

4 กลุ่มโรคต้องรู้  "หน้าฝน" ดูแลตัวเองอย่างไร ให้ปลอดภัย ปลอดโรค
 
"หน้าฝน" สิ่งที่ต้องระวังนอกจากสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัด หรือ โรคที่มียุงลายเป็นพาหะแล้ว ยังต้องระวังเมื่อต้องเจอกับน้ำท่วมขัง และอันตรายอื่นๆ ที่จะตามมา ไม่ว่าจะเป็นสัตว์มีพิษ และเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ดังนั้น เราจะระวังตัวเองอย่างไรให้ปลอดภัยและปลอดโรค

เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ ฤดูฝน ทำให้มีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ การดูแลสุขภาพในช่วงนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญเพราะอาจเป็นหวัด ไอ เจ็บคอ ได้ง่าย อีกทั้ง น้ำท่วมขัง ในบางพื้นที่ ยังมีสิ่งที่พึงระวังโดยเฉพาะสัตว์มีพิษที่มากับน้ำ หรือเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค รวมถึงโรคอื่นๆ ที่มียุงลายเป็นพาหะ 

4 กลุ่มโรค ภัยสุขภาพ "หน้าฝน"

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แบ่งโรคและภัยสุขภาพที่มากับหน้าฝนเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 

กลุ่มที่ 1.โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ

โรคไข้หวัดใหญ่

  • ติดต่อจากการไอ จามรดกัน หรือสัมผัสสิ่งของที่มีเชื้อร่วมกัน
  • จะมีอาการไข้ ไอแห้งๆ ปวดศีรษะ เยื่อบุโพรงจมูกอักเสบและเจ็บคอ

โรคปอดอักเสบ

  • เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส จากการหายใจหรือสัมผัสละอองฝอยจากน้ำมูกเข้าไป จะมีไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย
  • พบได้ในทุกกลุ่มอายุ แต่จะมีอาการรุนแรงในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องและมีโรคประจำตัว

“โดยทั้งสองโรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น และสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกนอกบ้าน ซึ่งวิธีดังกล่าวสามารถป้องกันโรคโควิด 19 ได้อีกด้วย”

กลุ่มที่ 2 โรคติดต่อจากการสัมผัส

โรคมือ เท้า ปาก

  • พบมากในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
  • จากการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย ผื่น ตุ่มน้ำใสของผู้ป่วย
  • จะมีไข้ มีตุ่มพองใสหรือแผลในปาก ฝ่ามือ ฝ่าเท้าหรือก้น
  • ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรงและหายเองได้

ขอให้ผู้ปกครองและครูสังเกตอาการป่วยของเด็ก หากมีอาการสงสัยป่วย ให้แยกเด็กป่วยออกจากเด็กปกติและรีบไปพบแพทย์ พร้อมทั้งให้หยุดเรียนจนกว่าจะหายดี

โรคเลปโตสไปโรซิสหรือโรคไข้ฉี่หนู

  • พบบ่อยในผู้มีอาชีพเกษตรกรที่ต้องสัมผัสกับดินหรือน้ำอยู่เป็นประจำ
  • จะมีไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง หนาวสั่น ตาแดง และปวดกล้ามเนื้อน่อง
  • การป้องกัน คือ หลีกเลี่ยงการทำงานในน้ำหรือต้องลุยน้ำลุยโคลนเป็นเวลานาน หากจำเป็นควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสมทุกครั้ง

กลุ่มที่ 3 โรคติดต่อนำโดยยุงลาย

โรคไข้เลือดออก

  • มียุงลายเป็นพาหะนำโรค
  • จะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ มีจุดแดงที่ผิวหนัง
  • หากอาการรุนแรงอาจช็อกได้

โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ โรคชิคุนกุนยา

  • มียุงลายสวนและยุงลายบ้านเป็นพาหะนำโรค
  • อาการคล้ายไข้เลือดออก แต่ต่างกันที่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงขั้นช็อกและเสียชีวิต

โรคติดเชื้อไวรัสซิกา

  • มียุงลายเป็นพาหะ
  • อาการโรคจะไม่รุนแรง
  • แต่หากติดเชื้อในสตรีมีครรภ์ อาจทำให้เกิดภาวะศีรษะเล็กในเด็กแรกเกิด
  • เด็กมีพัฒนาการช้าและตัวเล็ก หรือมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์

"การป้องกัน ขอให้ประชาชนสำรวจพื้นที่ที่มีน้ำขังและร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบริเวณรอบๆ ตัวบ้านและในชุมชน โดยใช้มาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” เก็บบ้านให้สะอาด เก็บขยะที่อยู่บริเวณรอบบ้าน และเก็บน้ำ ปิดฝาภาชนะที่มีน้ำขังให้มิดชิด ป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่ ซึ่งสามารถป้องกันได้ทั้ง 3 โรค"

กลุ่มที่ 4 ภัยสุขภาพ

การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการถูกฟ้าผ่า

  • เมื่อมีฝนตกฟ้าคะนองให้หลบในที่ปลอดภัย เช่น ภายในบ้านหรืออาคาร และหลีกเลี่ยงอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่

อันตรายจากการกินเห็ดพิษ

  • หากไม่มั่นใจว่าเป็นเห็ดพิษหรือเห็ดที่รับประทานได้ ไม่ควรนำมารับประทาน
  • หรืออาจเลือกรับประทานเห็ดที่มาจากการเพาะขยายพันธุ์ เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง

อันตรายจากการถูกงูพิษกัด

  • เมื่อมีฝนตกน้ำท่วมขัง สัตว์เลื้อยคลานและงูมีพิษ อาจมาอาศัยอยู่ในมุมอับของบ้าน
  • ควรจัดบ้านให้สะอาด
  • หากถูกงูพิษกัด ต้องรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที
  • ลดการเคลื่อนไหวอวัยวะที่ถูกงูกัด
  • ควรขันชะเนาะ อาจทำให้เนื้อเยื่อขาดเลือดเกิดเนื้อตายได้
  • พร้อมทั้งจดจำลักษณะชนิดของงูที่กัด เพื่อการรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็ว

พกร่ม - หลีกเลี่ยงน้ำท่วมขัง

สำหรับในช่วงนี้ที่มีฝนตกเป็นประจำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะนำให้พกร่ม เสื้อกันฝน เพื่อป้องกันไม่ให้เปียกชื้น

หากร่างกายเปียกฝน

  • ควรเตรียมเสื้อผ้าไว้ผลัดเปลี่ยน จะช่วยให้ไม่ต้องอยู่ในสภาพเปียกชื้นนาน ๆ เพราะอาจทำให้ร่างกายหนาว สั่น เป็นตะคริว หรือเป็นหวัด ไอ จาม และมีไข้ได้

พื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง และจำเป็นต้องลุยน้ำ

  • ไม่ควรย่ำน้ำที่ท่วมขังด้วยเท้าเปล่า
  • ควรสวมรองเท้าบูทเพื่อป้องกันอันตรายจากของมีคม สัตว์มีพิษ หรือเชื้อโรคที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำนั้นได้ นำมาซึ่งอหิวาตกโรค โรคมือเท้าเปื่อย
  • อีกทั้ง ควรล้างมือและเท้าให้สะอาดทุกครั้งเมื่อเข้าบ้าน
  • หากพบว่าตนเองมีบาดแผล ให้ปิดแผลด้วยพาสเตอร์ยากันน้ำ

น้ำท่วมขังกระเด็นเข้าตาทำอย่างไร

  • อย่าขยี้ตา แต่ให้รีบล้างตา
  • ล้างมือด้วยน้ำสะอาด
  • หากสัมผัสน้ำท่วมขัง ไม่นำมือสัมผัสดวงตาโดยเด็ดขาด

ผักผลไม้เสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย

สำหรับ ผักผลไม้ สมุนไพร ที่กรมอนามัย แนะนำ เช่น พริกหวาน บรอคโคลี กะเพรา กระเทียม หอมแดง หอมใหญ่ ตะไคร้ มะนาว ขิง ขมิ้น เป็นต้น พืชผักสมุนไพรเหล่านี้มีสารอาหารมากมายที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย

ให้กินผลไม้เป็นประจำ โดยเฉพาะผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซี เช่น มะละกอ ส้มเขียวหวาน ส้มโอ สตรอว์เบอร์รี ฝรั่ง เงาะ ลิ้นจี่ เป็นต้น จะช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ

ช่วงฤดูฝนจะมีทั้งฝนและความชื้น แต่อากาศก็ยังร้อน ทำให้ร่างกายเสียเหงื่อไปไม่น้อยเช่นกัน ดังนั้น ควรดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ การดื่มน้ำเยอะ ๆ จะรักษาอุณหภูมิในร่างกายให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ และเพื่อป้องกันร่างกายสูญเสียน้ำจากการที่เหงื่อออกมากจนเกินไป

เพราะโดยปกติแล้วร่างกายของเราจะสูญเสียน้ำประมาณร้อยละ 4 ของน้ำหนักร่างกาย ทั้งจากการที่เหงื่อออกและการขับปัสสาวะ อีกทั้งร่างกายจะมีภาวะขาดน้ำต่อเมื่อร่างกายสูญเสียน้ำไปประมาณร้อยละ 1 ของน้ำหนักตัว ซึ่งหากเหงื่อออกมากและรู้สึกไม่อยากดื่มน้ำ ให้ค่อย ๆ จิบน้ำทีละนิดเพื่อช่วยลดปัญหาร่างกายขาดน้ำได้

ทั้งนี้ หากจะนำน้ำฝนไปใช้บริโภค ควรนำมากรองให้สะอาด และต้องผ่าน การต้มสุก เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่มากับความชื้นในหน้าฝน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหาร อุจจาระร่วง หรือท้องเสียอย่างรุนแรงได้

 

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/health/well-being/1025966?anf=

 

ไขข้อสงสัย "แพ้วัคซีนโควิด-19" ตั้งแต่ 4 ก.ค. 65 ได้รับเยียวยาหรือไม่
 
สปสช.แจ้งประชาชนฉีด "วัคซีนโควิด-19" ที่เกิดภาวะไม่พึงประสงค์ ตั้งแต่ 4 ก.ค. 65 สปสช.ช่วยเหลือเบื้องต้นเฉพาะผู้มี "สิทธิบัตรทอง" ขณะที่ประชาชนที่มีสิทธิอื่น ให้ยื่นหน่วยงานดูแลสิทธิการรักษา

ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในฐานะโฆษก สปสช. กล่าวว่า ตามที่ สปสช.ได้ดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้ที่เกิดภาวะไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สำหรับวัคซีนที่ประชาชนได้รับการฉีดฟรีทุกสิทธิการรักษา ตามนโยบายรัฐบาลเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน โดย สปสช.ได้ออกประกาศเรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 และมีผลย้อนหลังถึงวันที่ 5 เมษายน 2564 นั้น   

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ลดความรุนแรงลง และเตรียมเข้าสู่โรคประจำถิ่น ในการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2565 ได้ปรับหลักเกณฑ์ แนวทางการจ่ายชดเชยบริการโควิด-19 ตามแผนปรับโรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น พร้อมกำหนดให้บริการกรณีโควิด-19 ซึ่งรวมถึง “กรณีการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้ที่เกิดภาวะไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีนโควิด-19” ให้เบิกจ่ายจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในหมวดรายการที่เกี่ยวข้อง จากเดิม

เป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณ พ.ร.ก.กู้เงินฯ และจำกัดการดูแลเฉพาะผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรทอง จากเดิมที่เป็นการดูแลครอบคลุมประชาชนทุกสิทธิการรักษา

“ผู้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2565 ในกรณีที่แพ้วัคซีน สปสช.จะดูแลเฉพาะผู้ใช้สิทธิบัตรทองเท่านั้น สำหรับผู้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่เป็นสิทธิรักษาพยาบาลอื่น ให้ยื่นเรื่องกับหน่วยงานตามสิทธิรักษาพยาบาลของตนเอง เช่น กรณีผู้ประกันตน ให้ยื่นเรื่องที่สำนักงานประกันสังคม ฯลฯ ซึ่งจะได้รับการดูแลช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์สิทธินั้นๆ”  

ทพ.อรรถพร กล่าวว่า ในกรณีที่มีผู้ที่เกิดภาวะไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ซึ่งฉีดวัคซีนโควิดตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นมา และได้ยื่นคำร้องมายัง สปสช. ก่อนหน้านี้แล้ว ทาง สปสช.จะรวมรวมคำร้องทั้งหมดนี้ และส่งต่อให้กับหน่วยงานที่ดูแลสิทธิการรักษาพยาบาลของท่าน อย่างไรก็ตามขอย้ำว่า การดำเนินการนี้ สปสช. ได้เปลี่ยนแปลงการดำเนินการที่เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ในการปรับเป็นโรคประจำถิ่น 

ไขข้อสงสัย "แพ้วัคซีนโควิด-19" ตั้งแต่ 4 ก.ค. 65 ได้รับเยียวยาหรือไม่

ทั้งนี้ จากข้อมูลถึงปัจจุบัน (9 ก.ย. 65) มีประชาชนยื่นคำร้องขอรับการช่วยเหลือฯ ทั่วประเทศจำนวน 21,139 ราย

  • เป็นผู้มีสิทธิบัตรทองมากที่สุด 12,065 ราย
  • รองลงมาสิทธิประกันสังคม 4,691 ราย
  • สิทธิสวัสดิการข้าราชการ 3,910 ราย
  • สิทธิข้าราชการท้องถิ่น 330 ราย
  • ยังมีคำร้องที่เป็นสิทธิรักษาพยาบาลอื่น ทั้งนี้มีจำนวนผู้ที่เข้าหลักเกณฑ์รับการช่วยเหลือฯ 17,559 ราย
  • อยู่ระหว่างรอการพิจารณา 406 ราย

ในจำนวนผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือฯ แยกเป็น

  • กรณีเสียชีวิตทุพพลภาพ 4,441 ราย
  • พิการหรือสูญเสียอวัยวะ 505 ราย
  • บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง 11,331 ราย
  • รวมเป็นเงินช่วยเหลือทั้งสิ้น 2,083,680,900 บาท 

“ในช่วง 17 เดือนที่ผ่านมา ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้กับประชาชน โดยข้อมูลล่าสุด (8 ก.ย. 65) ประเทศไทยฉีดวัคซีนโควิดแล้วจำนวน 142.93 ล้านโดส ให้กับประชาชนจำนวน 31.9 ล้านคน ในจำนวนนี้ผู้มีแพ้วัคซีนโควิดและได้รับการช่วยเหลือจำนวน 17,559 คน คิดเป็นร้อยละ 0.05 ของผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน” โฆษก สปสช. กล่าว 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน สปสช. 1330 หรือช่องทางระบบออนไลน์ทั้งไลน์ สปสช. ไลน์ไอดี @nhso หรือ คลิก และ Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

 

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/health/public-health/1026015?anf=

 

เปิดผลข้างเคียง "ยาฟาวิพิราเวียร์" อันตราย ทำไม? ไม่ช่วย รักษาโควิด
 

ทำความรู้จัก "ยาฟาวิพิราเวียร์" ยาต้านหลักไวรัสโควิด-19 ข้อดีและข้อเสียของตัวยา เปิดผลข้างเคียงอันตรายที่หลายคนยังไม่เคยรู้

สำหรับ "ฟาวิพิราเวียร์" (Favipiravir) ถือเป็นยาตัวหลักที่สำคัญเพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส "โควิด-19" ในประเทศไทยเนื่องจากมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูง

โดย "ยาฟาวิพิราเวียร์" เป็นยาต้านไวรัส RNA ชนิดออกฤทธิ์กว้าง นอกจากออกฤทธิ์กับเชื้อไวรัส "โควิด-19" ได้แล้ว ยังออกฤทธิ์ต่อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ไวรัสชิคุนกุนยาที่มียุงลายเป็นพาหะได้อีกด้วย

ซึ่งยาชนิดนี้ไม่ได้จ่ายให้สำหรับผู้ป่วยทุกคน แต่จะจ่ายให้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้น

"ยาฟาวิพิราเวียร์" จัดเป็นยาควบคุมพิเศษ ที่ต้องสั่งจ่ายและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ จำเป็นต้องติดตามอาการข้างเคียงและผลการรักษาระหว่างการใช้ยา การใช้ยาในผู้ป่วยบางกลุ่มจำเป็นต้องคำนึงถึงประโยชน์และความเสี่ยงจากผลข้างเคียงที่จะตามมาโดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ 

ข้อดีของยาฟาวิพิราเวียร์ โดยยานี้ดูดซึมง่าย แบ่งหรือบดเม็ดยา และให้ทางท่อหลอดอาหารได้ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ไม่ต้องปรับขนาดยา อย่างไรก็ตามพบว่ายานี้เป็นยาอันตราย ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และยังมีผลข้างเคียงทั้งอันตรายและไม่อันตราย

ผลข้างเคียงไม่อันตราย มีดังนี้

  • ตาเปลี่ยนสีเป็นสีม่วงหรือสีน้ำเงิน บางรายตาเรืองแสง 

"ฟาวิพิราเวียร์" อีกชื่อนึงมันคือ 5-Fluoro-2-hydroxypyrazine-3-carboxamide ซึ่งประกอบไปด้วยสารเรืองแสง ทีนี้พอเรากินยาเข้าไปเพื่อรักษา "โควิด-19" แถมต้องกินวันละเป็น 10 เม็ด ยามันก็เลยกระจายไปทั่วร่าง ทั้งผิว เส้นผม เล็บ กระจกตา

บางคนจะเห็นชัดเลยว่าเรืองแสง บางคนก็มองด้วยตาเปล่าแล้วเห็นเป็นสีม่วงๆ อย่างไรก็ตาม มันไม่ได้ทำให้อวัยวะนั้นทำงานผิดปกติ หากหยุดยาร่างกายก็กำจัดยาออกไปเอง 

ผลข้างเคียงอันตราย มีดังนี้

  • อาการคลื่นไส้อาเจียน 
  • อาจทำให้ทารกในครรภ์มีความพิการ หากรับประทานยาในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก 
  • มีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ เมื่อรับประทานร่วมกับยาบางชนิด 
  • มีผลต่อการทำงานของตับ ดังนั้นไม่ควรรับประทานร่วมกับยาฟ้าทะลายโจร หรือยาที่มีผลต่อตับ จึงควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ 

ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยไม่ควรซื้อ "ยาฟาวิพิราเวียร์" นอกระบบ เช่น ทางออนไลน์ เพราะเป็นยาอันตราย เนื่องจากคุณภาพที่ได้ไม่เพียงพอต่อการรักษา และอาจทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ 

สิ่งที่ต้องระวัง เนื่องจากไวรัสปรับตัวเร็วมีหลายสายพันธุ์ที่เริ่มดื้อยา ถ้าใช้ยา "ฟาวิพิราเวียร์" ฟุ่มเฟือยโดยไม่มีข้อบ่งชี้อาจเกิดเชื้อดื้อยา ทำให้ไม่มียารักษาผู้ป่วยโควิดที่มีอาการรุนแรง จะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตมากขึ้นได้

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/506333?adz=

 

10ก.ย.2565- ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า โควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอนอาจไม่ได้เกิดจากธรรมชาติดังนี้

นักวิจัยชาวญี่ปุ่น 2 ท่าน ส่งงานเขียนเข้าตีพิมพ์เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จู่ๆไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนก็อุบัติขึ้นมาพร้อมกับการกลายพันธุ์แบบเยอะมาก อาจจะไม่ได้เกิดจากการที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา (ปัจจุบันยังไม่ทราบว่าด้วยกลไกใด) แต่อาจจะเป็นไวรัสที่ออกแบบสร้างมาจากไวรัสสายพันธุ์ก่อนหน้าโอมิครอนแล้วปรับการเปลี่ยนสไปค์ให้มีคุณสมบัติเป็นโอมิครอน ซึ่งแตกต่างจากสายพันธุ์รุ่นเก่าอย่างมีนัยสำคัญ

นักวิจัย 2 ท่าน ดูการกลายพันธุ์ของไวรัสโอมิครอนโดยเฉพาะตำแหน่งสไปค์ พบว่า มีถึง 29 คำแหน่งที่เป็น non-synonymous mutation คือ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนเป็นกรดอะมิโนตัวใหม่ และ มีแค่ตำแหน่งเดียวที่เป็น synonymous คือ เปลี่ยนเบสแต่กรดอะมิโนอ่านได้เป็นตัวเดิม ซึ่งเค้ามองว่าเกิดขึ้นได้ยากมาก ทั้งคู่ได้คำนวณด้วยสูตรคณิตศาสตร์แบบเชิงลึก ที่เกินความสามารถที่ผมจะเข้าใจ แต่ได้ตัวเลขออกมาว่า การเกิดปรากฏการณ์ของโอมิครอนได้ตามธรรมชาติจริงความน่าจะเป็นจะอยู่ที่ 0.0016 ซึ่งนักวิจัยเชื่อว่า มันเกิดขึ้นได้ยากมากๆ

ทีมวิจัยยังให้ความเห็นว่า ไวรัสที่มีการเปลี่ยนแปลงในผู้ป่วยที่ติดโควิดนานๆ แล้วบ่มเพาะในผู้ป่วยรายนั้น สูงสุดที่เคยค้นพบคือ การเกิดการเปลี่ยนเบสแบบ non-synonymous แบบ 8 ตำแหน่ง ถ้าลงในสูตรที่คำนวณได้จะมีความน่าจะเป็นที่ 0.095 ซึ่งยังสูงกว่าโอกาสการเกิดโอมิครอนมาก

 
 
 

แนวคิดนี้น่าสนใจถึงแม้ว่าจะไม่สามารถได้ข้อสรุปอะไรชัดเจนจากหลักฐานดังกล่าว ถ้ามองในมุมของนักไวรัสวิทยา ทางเทคนิคเห็นด้วยว่า เทคโนโลยีปัจจุบันสามารถสร้างไวรัสจากโควิดตัวเริ่มต้นให้เป็นแบบโอมิครอนได้จริงๆครับ ประเด็นคือ ถ้าเป็นจริง การอุบัติขึ้นของโอมิครอนอาจจะเกิดจากความตั้งใจ หรือ ไม่ตั้งใจ เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก การสรุปอะไรไปอาจส่งผลที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ การสื่อสารตามหลักฐานที่มีแบบไม่ใส่ความคิดเห็นเกินไป จึงสำคัญมากๆ
https://zenodo.org/record/6904363#.YxwAtHZByUk

 

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/covid-19-news/218736/
 

 

 

นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ เผยผลวิจัย "ยาฟาวิพิราเวียร์" ไม่ลดจำนวนเชื้อไวรัสในร่างกาย ไม่ช่วยให้อาการติด "โควิด-19" ดีขึ้น แต่คนที่กินกลับมีกรดยูริกสูงขึ้น พร้อมแนะไทยควรเลิกนำมาใช้รักษาผู้ป่วย

วันนี้ (9 ก.ย.) เฟซบุ๊ก "หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC" หรือ นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ข้อความระบุว่า "ทราบจากสื่อต่างประเทศตั้งแต่วันที่ 14 พ.ย. 2564 ผลการศึกษาแบบสุ่ม และมีกลุ่มควบคุมเปรียบเทียบยาฟาวิพิราเวียร์กับยาหลอก ที่ทำในสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก และบราซิล สร้างความผิดหวังให้กับบริษัทยาของญี่ปุ่นที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ยาตัวนี้

ในที่สุด ผลงานวิจัยนี้เพิ่งตีพิมพ์ลงในวารสาร Clinical Infectious Diseases เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2565 การศึกษาทำในช่วง พ.ย. 2563-ต.ค. 2564 เป็นการศึกษาขนาดใหญ่ในคนติดเชื้อไวรัสโควิด 1,187 ราย อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป (ชาวอเมริกัน 963 คน, เม็กซิกัน 163 คน, บราซิล 65 คน) โดยให้ยาภายใน 5 วันหลังเริ่มมีอาการ ให้ยาทั้งหมด 10 วัน 599 คน รับยาฟาวิพิราเวียร์ 588 คนรับยาหลอก

ผลการศึกษาพบว่า ยาฟาวิพิราเวียร์ไม่แตกต่างจากยาหลอก ไม่ช่วยทำให้อาการของโรคโควิดดีขึ้น ไม่ลดความรุนแรงของโรค ไม่ลดการป่วยหนักเข้านอนในโรงพยาบาล ไม่ลดจำนวนไวรัสในร่างกาย แต่คนที่กินยาฟาวิพิราเวียร์มีกรดยูริกสูงขึ้นถึง 19.9% เมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอก 2.8% ในการศึกษานี้พูดถึงประเทศที่ยังใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ มีประเทศรัสเซีย, อินโดนีเซีย, ดูไบ และประเทศไทยรวมอยู่ด้วย บทสรุปของการศึกษานี้ ไม่ควรนำยาฟาวิพิราเวียร์มาใช้ในการรักษาโรคโควิด-19 ถึงเวลาที่ประเทศไทยควรหยุดใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ในการรักษาโรคโควิด-19

 
ขณะที่ ยาโมลนูพิราเวียร์ ปัจจุบันราคาไม่แพงกว่ายาฟาวิพิราเวียร์ ประเทศเพื่อนบ้านของเราเลิกใช้ยาฟาวิพิราเวียร์นานแล้ว และเข้าถึงยาโมลนูพิราเวียร์ และแพ็กซ์โลวิดซึ่งมีหลักฐานพิสูจน์ลดความรุนแรงของโรค ลดการเข้านอนในโรงพยาบาล องค์การเภสัชกรรมควรเลิกผลิต นำเข้ายาฟาวิพิราเวียร์ และไม่ควรส่งยาฟาวิพิราเวียร์ให้ร้านขายยาและโรงพยาบาลอีกต่อไป
 
 
 

5 ก.ย. 2565 – รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 358,062 คน ตายเพิ่ม 859 คน รวมแล้วติดไป 610,172,672 คน เสียชีวิตรวม 6,503,423 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รัสเซีย ไต้หวัน และอิตาลี เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 16 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 94.12 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 84.16

…สถานการณ์ระบาดของไทย

 
 

จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 10 ของโลก และอันดับ 6 ของเอเชีย แม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม

…Long COVID ในไทย

จากเริ่มระบาด (สายพันธุ์ดั้งเดิม) ต้นปี 2563 มาระลอกสอง (D614G) ปลายปี 2563 สู่ระลอกสาม (อัลฟ่าและเดลต้า) ตั้งแต่กลางปีก่อน เข้าสู่ระลอกสี่ (Omicron BA.1/BA.2) ต้นปีนี้ และห้า (Omicron BA.5) มีคนที่ติดเชื้อจำนวนมากหลายล้านคน ตัวเลขทางการจาก RT-PCR ในระบบ 4,658,542 คน แต่หากรวม ATK และที่ตรวจเองและไม่รายงาน อาจพุ่งไปสูงถึง 10 ล้านคนหรือมากกว่า

มีทั้งที่ติดเชื้อแบบไม่มีอาการ อาการน้อย และอาการรุนแรง สัดส่วนของคนที่มีโอกาสประสบปัญหา Long COVID จากงานวิจัยทั่วโลกมีตั้งแต่ 5%-30%

ดังนั้นจำนวนคนที่ประสบปัญหา Long COVID จึงอาจมีจำนวนมากหลายแสนคนถึงหลักล้านคนได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบทั้งต่อตัวผู้ป่วย ครอบครัว และสังคม ทั้งเรื่องการใช้ชีวิต การทำงาน ค่าใช้จ่าย และความต้องการระบบสนับสนุนทางสังคม

ทั้งนี้ Long COVID เป็นภาวะที่อาจเกิดอาการผิดปกติทั้งทางกายและจิตใจ/อารมณ์ โดยเป็นกลุ่มอาการที่มีความหลากหลายมาก คนที่ประสบปัญหานั้นอาจไม่รู้ว่าตกอยู่ในภาวะดังกล่าว แม้จะกำลังมีความผิดปกติเกิดขึ้น กว่าจะเข้าสู่ระบบการดูแลรักษาก็อาจปล่อยไว้อยู่นาน

 
 

ช่วง BA.5 ขาลงนี้อาจเป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับประเทศไทย ที่หน่วยงานต่างๆ จะรณรงค์เรื่องสำคัญ ทั้งเรื่องการป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดโอกาสปะทุซ้ำเมื่อมีสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นในอนาคต และการให้ความรู้ประชาชนในการประเมินสุขภาพของตนเอง สังเกตอาการผิดปกติต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นและสัมพันธ์กับภาวะ Long COVID เพื่อที่จะเข้ารับคำปรึกษา รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที และสามารถทำให้เกิดระบบติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง พร้อมให้การสนับสนุนด้านการงาน สวัสดิการที่จำเป็น ให้ใช้ชีวิตไปได้โดยไม่สะดุด

ต่างประเทศที่มีการติดเชื้อมาก ปัญหา Long COVID ส่งผลชัดเจนต่อเรื่องคุณภาพชีวิต สมรรถนะการดำรงชีวิต และการทำงาน เกิดปัญหาการขาดแรงงานในระบบ รวมถึงการที่ผู้ป่วย Long COVID ได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมจากนายจ้าง ถูกให้ออกจากงาน เพราะเจ็บป่วย ลางานบ่อย ขาดงาน ฯลฯ จนนำมาสู่การเรียกร้องให้มีการพิจารณากฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้ป่วย Long COVID ด้วย

ปัญหา Long COVID จึงจัดเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อน ไม่ใช่แค่เรื่องสุขภาพส่วนบุคคลแต่เพียงอย่างเดียว และจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ วางแผนจัดการแบบบูรณาการ

Long COVID เปรียบเหมือนสึนามิหลังเกิดการระบาดใหญ่หลายระลอกในช่วงที่ผ่านมา การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีที่สุด ใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อแพร่เชื้อไปได้มากครับ.

ข้อมูลจาก https://www.bpl.co.th/pweb/administrator/index.php?option=com_content&view=article&layout=edit