จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร เนเจอร์ เมดิซีน (Nature Medicine) เมื่อวันที่ 17 มีนาคมชี้ให้เห็นว่า โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ทำให้เกิดโรคระบาดโควิด-19 ( COVID-19 ) เป็นผลมาจากวิวัฒนาการตามธรรมชาติ
จากบทความชื่อ “จุดกำเนิดใกล้เคียงของซาร์ส-ซีโอวี-2 ( The proximal origin of SARS-CoV-2 )” นักวิทยาศาสตร์ได้วิเคราะห์ลำดับจีโนมของ ไวรัสโคโรนาายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรค โควิค-19 ( COVID-19 ) และไวรัสโคโรนาอีก 6 สายพันธุ์ โดยผลการวิเคราะห์ชี้ชัดว่า เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นในห้องปฏิบัติการ
จากการเปรียบเทียบลำดับพันธุกรรมเพื่อระบุสายพันธุ์ของโคโรนาไวรัส เรามั่นใจว่าเชื้อ SARS-CoV-2 มีจุดกำเนิดผ่านกระบวนการทางธรรมชาติ
คริสเตียน แอนเดอร์สัน (Kristian Andersen) ศาสตราจารย์ด้านภูมิคุ้มกันวิทยาและจุลชีววิทยาประจำสถาบันสคริปปส์ รีเสิร์ช (Scripps Research) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นผู้เขียนร่วมในงานวิจัยครั้งนี้ กล่าว
ซึ่งภายหลังการระบาดไม่นาน นักวิทยาศาสตร์ชาวจีนได้ถอดรหัสพันธุกรรมของเชื้อ SARS-CoV-2 ได้สำเร็จ โดยวิเคราะห์ลำดับสารพันธุกรรมบริเวณสไปก์โปรตีน (spike protein) ซึ่งเป็นโครงสร้างชั้นนอกของไวรัส ที่ใช้จับกับตัวรับบนเยื่อหุ้มเซลล์ของมนุษย์และสัตว์ที่เป็นโฮสต์ นักวิทยาศาสตร์พบว่าตำแหน่ง RBD บนสไปก์โปรตีนของ SARS-CoV-2 วิวัฒน์ขึ้นมาต่อการเข้าจับอย่างมีประสิทธิภาพกับเยื่อหุ้มเซลล์ของมนุษย์ จากข้อมูลส่วนนี้ นักวิทยาศาสตร์จึงสรุปว่า เชื้อโควิด-19 เป็นไปตามหลักการของการคัดเลือกโดยธรรมชาติมากกว่ากระบวนการทางพันธุวิศวกรรม
หลักฐานเรื่องการคัดเลือกโดยธรรมชาตินี้ มีข้อมูลสนับสนุนเรื่องโครงสร้างโมเลกุลทั้งหมดของ SARS-CoV-2 ซึ่งแตกต่างจากโคโรนาไวรัสชนิดอื่นๆ ที่ค้นพบก่อนหน้า แต่มีความคล้ายกับไวรัสที่พบในค้างคาวและตัวนิ่ม
จากหลักฐานสองข้อนี้ ทั้งเรื่องการกลายพันธุ์ในตำแหน่งของ RBD และความแตกต่างทางโครงสร้างโมเลกุล ทฤษฎีเรื่องการสร้างเชื้อไวรัสจากการทำพันธุวิศวกรรม จึงถูกตีตกไป
นักวิทยาศาสตร์ได้สรุปว่า “SARS-CoV-2 ไม่ได้ถูกดัดแปลงโดยมีวัตถุประสงค์ที่เฉพาะเจาะจงแต่อย่างใด” ดังนั้น “เราไม่เชื่อว่าจะมีเหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการ”
"จากการค้นพบเหล่านี้น่าจะยุติความสับสนเกี่ยวกับข่าวลือเรื่องต้นกำเนิดของ (SARS-CoV-2) ไวรัสต้นเหตุของ COVID-19 " Josie Golding เจ้าหน้าที่ควบคุมโรคของอังกฤษกล่าว
ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
https://www.sciencedaily.com/releases/2020/03/200317175442.htm
ขอบคุณข้อมูลจาก https://today.line.me
เนื้อหาต้นฉบับ https://today.line.me/TH/pc/article/kJgoJ1?utm_source=lineshare