ในฐานะที่ผมทำงานด้านวิศวโยธา....
ขอยืนยันว่าเป็นเรื่องจริงกล่าวคือ
ความชื้นที่หยุดการเคลื่อนตัวในท่อดัทท์จะสะสมเมื่อเทียบอายุการหยุดการทำงานกระทันหันเป็นระยะเวลาเกือบ 2 เดือน
เชื้อราอันประกอบด้วยความแห้งของอากาศที่ไม่มีการหมุนเวียน(ปิดเครื่องการทำงานมานาน)
จะสะสมในแนวท่อดัทท์เป็นแผ่นยางๆตลอดความยาวของท่อในทุกๆชั้นของห้าง....(อันตรายอยู่ตรงจุดนี้)....เมื่อห้างเปิดใช้งาน
(ให้สังเกตุผนังภายในร้านทุกร้านเลือกดูจุดที่สูงๆจะเห็นคราบของเชื้อราเกาะติดในผนังและพื้นทั่วไป)
สินค้าทุกชนิดจะขึ้นราย้ำทุกชนิด...แต่ทางห้างจะทำความสะอาดไม่ให้เรามองเห็นเพื่อเปิดห้าง....
ในจุดที่อันตรายที่สุดเมื่อห้างเปิด ทางห้สงจะเปิดแอร์ในห้างทุกชั้น เมื่อเครื่องเดินระบบการถ่ายเทหมุนเวียนภายในห้าง
คอยร้อนและคอยเย็นของระบบทำงานหมุนเวียนถ่ายเทความเย็นลงสู่พื้น อากาศภายในห้างจะมีการหมุนเวียนผ่านท่อดัทท์(ท่อส่งความเย็น)....
จังหวะนี้แหละที่เชื้อราที่จับภายในผิวท่อดัทท์จะถูกแรงลมภายในท่อดันให้เชื้อราลอยออกมาพร้อมๆกับความเย็นและส่งผ่านช่องแอร์
ลงสู่พื้นอย่างต่อเนื่องการหมุนเวียนของความเย็นจะปะปนกับเชื้อราลอยอยู่ในห้าง เราจะหายใจเอาเชื้อราเข้าสู่ปอดโดยไม่รู้ตัวครับ
อธิบายง่ายๆคงเข้าใจในระดับหนึ่งนะครับ....ถ้าเป็นผม....ผมแนะนำให้ห้างเปิดสัก 7 วัน แล้วค่อยเข้าไปภายในห้าง...
เพื่อปล่อยให้เชื้อราที่ปลิวอยู่ในอากาศภายในห้างให้เหลือน้อยที่สุดและเจือจางน้อยที่สุด...หวังว่าคงเป็นประโยชน์แก่ทุกท่าน...
ขอบคุณบทความข้างต้นที่นำเสนอให้เห็นถึงภัยของเชื้อราหลังจากที่มีการสั่งปิดห้างฯกระทันหัน
(บทเรียนที่รัฐฯไม่ควรมองข้ามก่อนการสั่งการให้ยุติ....แบบกระทันหัน)