Covid 19 บาดแผลที่เหลือไว้ให้ชาวโลก ความโหดร้ายของ Covid 19 ภาคสอง
โดย นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม 10/09/2020
8 เดือนหลังจากที่ Covid 19 ระบาดมีคนเสียชีวิตทั่วโลกแล้วกว่า 900,000 คน ในบรรดาคนป่วย 27ล้านคนที่รอดชีวิตจาก Covid 19 คนเหล่านี้ยังต้องผจญกับปัณหาทางสุขภาพในระบบต่างๆของร่างกาย อันเป็นผลพวงจากความเสียหายที่ Covid 19 ได้กระทำไว้
คนที่ติดเชื้อ Covid 19 เคยคิดกันว่าจะมีอยู่สองชนิด คือกลุ่มที่มีอาการมากต้องอยู่โรงพยาบาล และอีกกลุ่มมีอาการน้อย หรือไม่มีอาการ
จากการติดตามคนไข้จำนวนมากในยุโรปและอเมริกาพบว่ามีคนป่วยในกลุ่มที่สาม ส่วนใหญ่ไม่ได้รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล มีอาการนานถึง 16 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น คนป่วยเหล่านี้เรียกว่ากลุ่ม long Covid หรือ long hauler
การศึกษาจาก US, UK และ Sweden จากคนนับล้านคน จาก Covid Symtom study group โดยวิธีใช่ app ตรวจสอบอาการ พบว่ามี 10-15% ที่มีอาการระยะยาว
จากการศึกษาใน 13 รัฐของอเมริกา 35% ของคนที่ test positive สำหรับ Covid 19 ยังมีอาการ เมื่อทำการสัมภาษณ์ 2-3 อาทิตย์ต่อมา
ในอังกฤษ ที่King college ได้ใช้ app : Covid symtom study ศึกษาติดตามคนที่เคยติดเชื้อ Covid 19 พบว่าจำนวนคนป่วย 300,000 คน ยังคงมีอาการมากกว่าหนึ่งเดือน
และพบว่า 60,000 คนมีอาการ long Covid ที่มากกว่า 3 เดือน มีอาการตั้งแต่เล็กๆน้อยๆ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก จนถึงปัณหาที่มากขึ้นเช่นต้องนั่งรถเข็น wheel chair
เชื้อ Covid 19 เข้าไปทำร้ายอวัยวะระบบต่างๆในร่างกาย และทิ้งความเสียหายไว้ ถึงแม้มันจะถูกขจัดไปแล้ว
ระบบหายใจ
คนไข้ส่วนหนึ่งหลังออกจากโรงพยาบาลแล้วยังมีปัณหา หายใจไม่เต็มอิ่ม เนื่องจากเนื้อปอดถูกทำลาย เหนื่อยง่าย บางคนต้องใช้ออกซิเจนกระป่องตลอดเวลา จากการศึกษาของ Mayo clinic ทำ CT scan ในกลุ่มคนที่ไม่มีอาการ พบว่าเนื้อปอดมีร่องรอยการถูกทำลาย มี scar ในเนื้อปอด
ระบบประสาท
คนไข้ส่วนหนึ่งหลังจากออกจากโรงพยาบาล ต้องพิการจาก stroke เป็นอัมพาตจากการที่ Covid ทำให้เส้นเลือดที่ไปที่สมองอุดตัน ปกติ stroke จะเกิดในคนอายุมากเฉลี่ย 70 ปีขึ้นไป แต่ Covid 19 ทำให้เกิด stroke ในคนอายุ 40-50 ปี
ในการศึกษาวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Lancet ได้ทำ MRI ของสมองของคนที่ตรวจพบ positive test for Covid 19 จำนวน 60 คน พบว่าเนื้อสมองมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับคนปกติเมื่อเวลาผ่านไป 3 เดือน อันเป็นสาเหตุให้ความจำเสื่อม เสียสมาธิง่าย บางครั้งสับสน
คนไข้จำนวนหนึ่งจะสูญเสียระบบประสาทการรับรสและการดมกลิ่นอย่างถาวร
ระบบหัวใจ
ไวรัส Covid 19 จะทำลายกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้การสูบฉีดโลหิตของหัวใจสูญเสียคุณภาพไป การศึกษาในเยอรมัน คนไข้ 78คน จาก 100 คนมีหัวใจที่ผิดปกติ การศึกษาที่ Wuhan ศึกษาในคนไข้ 416 คนที่เคยรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 20% มีกล้ามเนื้อหัวใจที่ผิดปกติ
ระบบการทำงานของไต
พบว่า COVID-19 ทำให้คนไข้ส่วนหนึ่งมีไตวายเรื้อรัง ทำให้คนป่วยต้องมาล้างไตอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลจากเนื้อไตถูกทำลายจากไวรัส หรือไวรัสทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดเล็กๆที่มาเลี้ยงไต
ระบบทางเดินอาหาร
จากการศึกษาของ university of Hong Kong พบว่าจะยังพบเชื้อ Covid 19 ในอุจจาระ หลังจากอาการป่วยทางระบบทางเดินหายใจหายดีขึ้นแล้ว จากจำนวนคนไข้ 7 คนใน 15 คน โดยคนไข้เหล่านี้ไม่มีอาการทางระบบทางเดินอาหารเลย และ ไวรัส Covid 19 จะทำให้รบกวน bacteria ดี ที่มีอยู่ในระบบทางเดินอาหาร
ปัณหาของคนที่ป่วยจาก Covid 19 ไม่เหมือนกับป่วยเป็นโรคหวัด ส่วนหนึ่งจะมีปัณหาระยะยาว และมี disables มีความพิการ และไม่สามารถกลับมาทำงานตามปกติ ต้องได้รับการรักษาต่อเนื่อง
สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่าการปล่อยให้มีภูมิคุ้มกันแบบ herd immunity จะคุ้มค่าหรือไม่ เพราะถ้าปล่อยให้คนติดเชื้อ ไม่ป่วย ไม่ตาย แต่อาจมีปัณหาระยะยาวตามมา แม้แต่ในคนหนุ่มสาว
คนป่วย long Covid เหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับการรักษาต่อเนื่อง ในอังกฤษมีปัณหาจากระบบสาธารณสุขและแพทย์ที่อ่อนล้า ทำให้มีปัณหาที่จะดูแลคนป่วยเหล่านี้ แพทย์ส่วนหนึ่งที่ติดเชื้อ Covid 19 ก็เป็น long Covid ไม่สามารถกลับไปทำงานได้
ปัณหาการ lockdowns เป็นเวลานาน เด็กๆไม่ได้ไปโรงเรียน สามในสี่ของเด็กอังกฤษเริ่มมีปัณหาทางจิตใจวิตกกังวล และหนึ่งในสี่ของพ่อแม่ไม่รู้ว่าจะจัดการอย่างไร ในการสำรวจเด็กอายุ 5- 18 ปีที่อังกฤษ 4ใน 10 ของเด็กรู้สึกโดดเดี่ยว
เมื่อการระบาดสิ้นสุดลง คงจะมีคนป่วยเป็น long Covid และปัณหาทางจิตใจนับล้านคน เหลือเป็นภาระให้ระบบสาธารณสุขทั่วโลก นี้คือความโหดร้ายต่อมนุษยชาติที่ Covid 19 ได้กระทำไว้ ยังไม่นับถึงการทำลายเศรษฐกิจและวิถีชีวิตของผู้คนที่ไม่อาจกลับมาเหมือนเดิมได้
แต่ในประวัติศาสตร์หลังวิกฤตและการทำร้ายล้างครั้งใหญ่ จะมีการฟื้นตัวและพลิกโฉมของโลก อย่างเช่นที่เกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง นักเศรษฐศาสตร์ผู้ปราชญ์เปรื่องได้ทำนายไว้ว่าเศรษฐกิจในปี 2021 จะกลับมา bloom รุ่งเรืองเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
Hope is the good thing, hope is the best thing in the time like this
เรียบเรียงและความเห็น โดย พลอากาศตรี นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
ผู้อำนวยการ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลกรุงเทพ
เป็นความเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวกับองค์กร