ละเอียดยิบ เปิดตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 โยงตลาดสด-ตลาดนัด จังหวัดใดเจอเยอะสุด คนขาย คนซื้อใครติดเยอะกว่า ซึ่งเป็นข้อมูลสถานการณ์ระลอกใหม่ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2563 - 8 กุมภาพันธ์ 2564
สรุปข้อมูลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีประวัติเชื่อมโยงกับตลาด ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2563 - 8 กุมภาพันธ์ 2564 โดยพบผู้ติดเชื้อโควิดเชื่อมโยงกับตลาดจำนวน 1,815 ราย กระจายใน 36 จังหวัด
สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 เชื่อมโยงกับตลาดจำนวน 1,815 ราย โดยจำนวนผู้ติดเชื้อจำแนกตามประเภทการสัมผัส ดังนี้
- ผู้ขาย ร้อยละ 90.19%
- ผู้ซื้อ ร้อยละ 9.81%
แบ่งเป็นในตลาดสดถึง 96.86% และตลาดนัดอยู่ที่ 3.14%
จังหวัดที่พบผู้ป่วยมากที่สุด 5 อันดับแรกจำแนกตามประเภทตลาดและประเภทผู้ป่วย
1.สมุทรสาคร ติดเชื้อจากตลาดสด 1,496 ราย ติดเชื้อจากตลาดนัด 46 ราย แบ่งเป็นผู้ขาย 1,456 ราย ผู้ซื้อ 86 ราย
2.กทม. ติดเชื้อจากตลาดสด 71 ราย ติดเชื้อจากตลาดนัด 6 ราย แบ่งเป็นผู้ขาย 42 ราย ผู้ซื้อ 35 ราย
3.นนทบุรี ติดเชื้อจากตลาดสด 51 ราย ติดเชื้อจากตลาดนัด 1 ราย แบ่งเป็นผู้ขาย 37 ราย ผู้ซื้อ 15 ราย
4.ปทุมธานี ติดเชื้อจากตลาดสด 26 ราย ติดเชื้อจากตลาดนัด 1 ราย แบ่งเป็นผู้ขาย 17 ราย ผู้ซื้อ 10 ราย
5.สมุทรปราการ ติดเชื้อจากตลาดสด 23 ราย ติดเชื้อจากตลาดนัด 1 ราย แบ่งเป็นผู้ขาย 16 ราย ผู้ซื้อ 8 ราย
ทั้งนี้ผู้ติดเชื้อเป็นชาวสัญชาติเมียนมาร้อยละ 88.25% ส่วนใหญ่เป็นแผงขายของสด และมีลูกจ้างเมียนมา
ส่วนจังหวัดรองลงมา 6-10 ประกอบด้วย เพชรบุรี 15 ราย , ฉะเชิงเทรา 8 ราย , ชลบุรี-สมุทรสงคราม 7 ราย , นครปฐม 6 ราย , ชัยภูมิ-นครราชสีมา-ราชบุรี 4 ราย
โดยปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีประวัติเชื่อมโยงกับตลาด มีดังต่อไปนี้
- ไม่มีการดำเนินการ DMHTT อย่างเคร่งครัด คือ แผงขายแออัดไม่มีระยะห่าง , ไม่สวมหน้ากากอนามัย , สวมหน้ากากอนามัยเป็นบางครั้ง ผู้ขายตะโกนพูดคุยเสียงดัง , ไม่มีการวัดอุณหภูมิก่อนเข้าตลาด , แม่ค้าไม่ค่อยล้างมือ
- ขาดความสม่ำเสมอในการทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วม เช่น ลูกบิดประตู เป็นต้น
- ไม่มีที่กั้นระหว่างร้านค้าด้วยกันเอง (ติดเชื้อแผงข้างๆกัน) ระหว่างลูกค้า
- ตลาดนัด : มีการหมุนเวียนของแม่ค้า กระจายไปหลายตลาด
- ตลาดสด : แม่ค้าเดินทางไปซื้อของจากหลายแหล่ง
ข้อเสนอแนะ
1.ทุกตลาดต้องดำเนินมาตรการ DMHTT อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะเรื่องการใส่หน้ากากฯ อย่างถูกต้องตลอดเวลาในกลุ่มผู้ขาย ลูกค้า และลูกจ้างแรงงานต่างด้าว
2.ถ้าไม่สามารถเว้นระยะห่างแผงขายได้ ควรมีฉากกั้น โดยเฉพาะแผงขายของสด
3.งดการเคลื่อนย้ายของแรงงานต่างด้าวอย่างเคร่งครัด
ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/regional/457954?adz=