ได้มีโอกาสซักถามกับ อาจารย์ทวีในประเด็นนี้อย่างละเอียด จึงได้รับทราบของที่มาที่ไปของการเปลี่ยนจำนวนวันในการกักตัวดังต่อไปนี้นะคะ
จากหลักฐานงานวิจัย ดังรูป ที่เปรียบเทียบ ระยะเวลาของการพบเชื้อจะเห็นว่าเส้นสีแดงพบว่าเชื้อ b117 สามารถแพร่กระจายได้ตั้งแต่วันก่อนมามีอาการ ได้นานกว่าสายพันธุ์เดิม และแพร่กระจายได้หลังวันที่มีอาการได้นานกว่าเกินกว่า 10 วัน
นอกจากนั้นยังมีผลการศึกษาด้านการเพาะเชื้อของอาจารย์โอภาสที่ศูนย์โรคอุบัติใหม่คลินิกของจุฬาลงกรณ์ พบว่าสายพันธุ์ B 117 ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญถึงประมาณ 90% ของคนในกรุงเทพฯและประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ของทั่วประเทศ ยังสามารถเพาะเชื้อขึ้นได้ที่วันที่ 10
ดังนั้นจึงไม่สามารถให้อยู่โรงพยาบาลแค่ 10 วัน เหมือนใน CPG เดิมก่อน 17 เมษายน (ที่มีงานวิจัยพบว่าเพาะเชื้อขึ้นอยู่ได้ถึงแค่ 8 วัน) จึงเป็นเหตุให้ต้องขยายมาเป็น 14 วัน ตอนนี้อาจารย์กำลังเก็บข้อมูลดูว่าหลังวันที่ 10 ไปแล้วจะยังเพราะเชื่อขึ้นได้อยู่อีกถึงวันที่เท่าไหร่ และกำลังอยู่ในช่วงที่รอดูข้อมูลอยู่ จึงเป็นที่มาของการปรับเปลี่ยนแนวทางที่ เคยให้อยู่โรงพยาบาลแค่ 10 วันต้องกลับมาเป็น 14 วัน
แต่ต่อมาสถานการณ์พบว่า ปัญหาว่าเตียงไม่พอ โรงพยาบาลเองก็ไม่สามารถที่จะให้ผู้ป่วยอยู่นานจนถึง 14-28 วัน ก็เลยจำเป็นต้องขอลดไป 10 วันใหม่ ไม่งั้นจะไม่สามารถให้การดูแลคนไข้ที่ติดค้างอยู่ได้ และเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดเคสใหม่จากการที่แพร่กระจายได้ง่ายขึ้นเรื่อยๆ จึงแนะนำให้ผู้ป่วยกลับไปพักฟื้น แต่ความจริงหมายความว่าให้กักตัวในบ้านต่ออีกประมาณ 14 วัน
แต่ในเอกสารที่ท่านอธิบดีเปลี่ยนมาใช้คำว่าพักฟื้น เพราะเสียงต่อประเด็นปัญหาทางสังคมเพราะถ้าใช้คำว่ากักตัวที่บ้านอาจจะถูก discriminate ที่รุนแรงจากในชุมชนได้
จึงเป็นที่มาที่ไปของการปรับเปลี่ยน guideline ที่ทำให้เราสับสนกันคะ