Font Size

 "หมอศัล" รีวิวฉีด"Az"เข็ม 3 แบบเข้าชั้นผิวหนังเพียง 0.1 CC ได้ผล 99% ประหยัด-ผลข้างเคียงน้อย

 

"หมอศัล" รีวิวฉีด"แอสตราเซเนกา" กระตุ้นเข็ม 3 แบบเข้าชั้นผิวหนังเพียง 0.1 CC ได้ผล 99% ประหยัด และ ผลข้างเคียงน้อย

 

นพ. เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ แพทย์ศัลยกรรมประสาท โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ค Methee Wong ภายหลังฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม แล้ว"บูสเตอร์โดส" ด้วยวัคซีน แอสตราเซเนกา ฉีดเข้าผิวหนังชั้นนอกเพียง 0.1 ซีซี ว่า SV+SV + "AZ 0.1 ID" m-RNA ใหม่มากกกก แถมยังไม่รู้ว่า long term จะมีผลอะไรหรือไม่
Astra แม้จะไม่ใหม่มาก แต่ก็ไม่นานพอแบบวัคซีนเชื้อตาย ที่ทราบว่าปลอดภัยมาก ที่สำคัญเห็นหลายคนต้องลาป่วย 2-3 วันล่วงหน้าก่อนฉีด เพราะบางคนไข้ขึ้นสูง ปวดเมื่อยหนาวสั่น ต้องหยุดงานหลังฉีด
 

 

"หมอศัล" รีวิวฉีด"Az"เข็ม 3 แบบเข้าชั้นผิวหนังเพียง 0.1 CC ได้ผล 99% ประหยัด-ผลข้างเคียงน้อย

 

Sinovac ปลอดภัยที่สุด แต่ evidence based ปัจจุบัน คือรองรับ delta ไม่ได้ Evidence based จากการทำงานจริงล่าสุดคือ ฉีด vaccine ไม่ว่ายี่ห้ออะไรก็ตาม อาจติดเชื้อได้ แต่ยังไม่เห็นใครที่ฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์แล้วปวยหนัก เสียอย่างเดียวคือ ต้องหยุดงานรักษาตัว และกักตัว และอาจส่งผ่านเชื้อให้คนอื่นได้
ทางออกแบบครึ่งทาง  ฉีด Astra boost เข็มสาม แต่แทนที่จะฉีด Astra 0.5 ml IM ก็เปลี่ยนเป็น 0.1 ml ID  อย่างน้อยก็ลดสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้าร่างกายลงได้ 5 เท่า ทำใจไว้ล่วงหน้าว่า ..หากภูมิไม่ขึ้น...ก็ค่อยไปฉีดแบบเข้ากล้าม หรือไปฉีดพวก m-RNA เลย
 

หมายเหตุ
IM(ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ)  ปลายเข็มฝังลึกเข้าไปในชั้นกล้ามเนื้อ
ID(ฉีดเข้าในชั้นผิวหนัง)  ปลายเข็มฝังตื้น ๆ ที่ผิวหนังชั้นนอกลึกไม่เกิน 2-3 มม.(คล้าย ๆ เข็มสะกิด)   วิธีนี้มีใช้กันมานานแล้ว แต่ฉีดยากกว่าการฉีดเข้ากล้าม เพราะต้องปักเข็มตื้นมาก ๆ แต่ข้อดีคือ แทบไม่มีความรู้สึกเจ็บเลย  มักใช้กับการทดสอบภูมิแพ้ หรือวัณโรค 

 

"หมอศัล" รีวิวฉีด"Az"เข็ม 3 แบบเข้าชั้นผิวหนังเพียง 0.1 CC ได้ผล 99% ประหยัด-ผลข้างเคียงน้อย

 

เหตุที่แทบไม่รู้สึกเจ็บเลย เมื่อเทียบกับการฉีดเข้ากล้าม เพราะ
(1) เข็มที่ใช้จะขนาดเล็กกว่ามาก ปลายเข็มจะมีขนาดประมาณ 0.1 มม.
(2) ปักเข็มตื้นมากไม่เกิน 1-2 มม.  
(3) ความที่เข็มเล็ก และปักตื้น ทำให้ปริมาณที่ใช้จะน้อยกว่ามาก ผลคือยิ่งแทบไม่รู้สึกเจ็บขณะเดินยา

ส่วนเหตุที่ผลข้างเคียงหลังฉีดน้อยกว่ามากเพราะ
(1) ยาจะดูดซึมช้ามากที่สุด เมื่อเทียบกับการฉีดวิธีอื่น (ฉีดเข้าเส้นเลือด ฉีดใต้ผิวหน้ง ฉีดในกล้ามเนื้อ) จึงทำให้ยาค่อย ๆ ซึมเข้าร่างกายอย่างช้า ๆ
(2) ปริมาณยาใช้น้อยกว่าวิธีอื่นมาก
(3) ด้วยเหตุดังกล่าว หากเกิดการแพ้วัคซีน คนไข้จะค่อย ๆ มีอาการ เพราะยาดูดซึมช้ามาก แพทย์มีเวลาเหลือเฟือในการรับมือ

 

RESULT
วันแรกหลังฉีด ปกติดี ไม่นับมีปุ่มนูนแดงที่ไหล่ อันเป็นผลจากการฉีด ID
วันรุ่งขึ้นเช้า ปวดเมื่อยคล้ายนอนหลับไม่สนิท บ่ายตัวรุม ๆ  ตกเย็นปกติ
ผล neutralizing Ab (NTAb ภูมิต้านทานในเชิงคุณภาพ) ก่อนฉีด 47% (โอกาสที่ร่างกายจะกำจัดโควิดเมื่อหลุดรอดเข้าไปในตัวเรา อยุ่ที 47%)
หลังได้ 3rd Booster เป็น AZ 0.1 ID  2 สัปดาห์ 99%  (ร่างกายมีความสามารถกำจัดไวรัสได้ 99% พูดง่าย ๆ คือ โอกาสติดเชื้อ และป่วยแสดงอาการน้อยกว่า 1%  ซึ่งรวมถึงโอกาสการเป็นพาหะก็ลดลงด้วย)

 

ปล. ส่วนการตรวจแบบเชิงปริมาณ ที่โรงพยาบาลส่วนใหญ่ทำกันอยู่นั้น(ซึ่งบอกแต่ปริมาณ แต่อาจไม่ได้ผลจริงในการป้องกันตามตัวเลขที่สูง) คงไม่ต้องไปทำอีก เพราะ NTAb มีความน่าเชื่อถือกว่าอยู่แล้ว 

เท่าที่ทราบ หลายคนที่ฉีดวิธีนี้ ภูมิปกป้อง (Neurtralizing) สูงมากทุกคน อาการข้างเคียงหลังฉีดน้อยมาก

ถ้าผลวิจัยเป็นทางการออกมา รัฐจะมีวัคซีนสำหรับ booster เพิ่มขึ้น 5 เท่าทันที แถมไม่ต้องง้อ m-RNA อีกต่างหาก เพราะ AZ ผลิตได้ในบ้านเราแล้ว และน่าจะยืดระยะเวลาความเสี่ยงจากการได้รับวัคซีน m-RNA vaccine ได้อีกระยะ จนกว่าจะมั่นใจเรื่อง long term sequelae ซึ่งต้องใช้เวลาเป็นปี
การฉีดนี้เป็นการฉีดโดยสมัครใจ

ขณะเดียวกัน สอดรับกับที่ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา  หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้เคยแนะนำถึงการฉีดวัคซีนเข็ม 3 เข้าบริเวณใต้ชั้นผิวหนัง เพียง 1 ใน 4 หรือ 1 ใน 5 โดส จะสามารถประหยัดวัคซีนให้คนอื่นได้อีก 4 คน ถือเป็นทางรอดของคนไทย

ที่มา : Methee Wong 

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/regional/478401?adz=