8ก.ย.64-นพ.อุดม คชินทร ที่ปรึกษาศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาด โควิด19 ให่สัมภาษณ์ในหัวข้อ "ใช้ชีวิตมีคุณภาพอย่างไร ...ถ้าโควิด19ยังแพร่ระบาดไปอีกนาน"ว่า ถ้าดูจากตัวเลข การติดเชื้่อตอนนี้วันละ 1.4-.1.5 หมื่นราย อาจน่าตกใจเมื่อไปเทียบกับ เม.ย.ปี 63 ที่เราติดเชื้ออยู่แค่หลักพัน อย่างไรก็ตาม แต่ขณะนี้ แนวโน้มโควิดทั้งโลกอยู่ในช่วงขาขึ้น เหตุผล 2ปัจจัย คือ 1. โควิดสายพันธุ์เดลต้า ได้กระจายทั่วโลก 80-90 % และไทยกระจาย 90% เชื้อนี้กระจายได้เร็วและรุนแรง อยากชี้ให้เห็นเชื้อได้ไปทุกที่ ทำให้เกิดการระบาดคนใกลช้ชิด คนในครอบครัว สถานที่ทำงาน ในชุมชน เพราะมีการศึกษาของกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)สุ่มตรวจข้อมูลสอดคล้องที่อู่ฮั่นระบาด ที่พบคนติดเชื้อไม่มีอาการ พอไปตรวจพบว่ามีการติดเชื้อ 5-6 เท่า ของผู้ติดเชื้อยืนยัน เช่นตอนนี้กรุงเทพฯ ติดเชื้อสะสม 2.5แสนราย แต่จริงๆ ต้องคูณเข้าไปอีก 5-6 เท่า เท่ากับคนกทม.ติดเชื้อประมาณ 1.2 ล้านคน และผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ ทั้งประเทศตัวเลขก็ประมาณนี้เช่นกัน โดยตัวเลขของเราสะสมยืนยันทั้งประะทเศอยู่ที่ 1.2 ล้านคน เมื่อคูณ 5-6 เท่า เท่ากับเรามีการติดเชื้อ6-7 ล้านคน โดยเป็นการติดเชื้อแฝงและสามารถแพร่เชื้่อให้เราได้ เป็นเหตุผลทำให้เกิดการติดในครอบครัว คนใกล้ชิด
และอีกเหตุผลเรื่องวัคซีน ชัดเจนว่าแม้แต่วัคซีนที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในโลกก็ยังติดเชื้อได้ อย่าง อิสราเอล และอเมริกาฉีด ครบ 2เข็ม ไป 60-70% แล้วแต่ตอนนี้ติดเชื้อใหม่เต็มไปหมด ประชาชนจึงต้องทำความเข้าใจว่าวัคซีนไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้หมด ป้องกันได้แค่ 50-60 % แต่วัคซีนทุกตัวสามารถป้องกันเจ็บป่วยรุนแรง ป้องกันตายได้ 80-90 % ซึ่งเป็นการปกป้องระบบสาธารณสุขของเราไม่ให้รับภาระเกินไป ซึ่งตอนนี้ ระบบสาธารณสุขของเราหลังแอ่นมาก เตียงไม่พอ ตายวันล2 -3 ร้อยคน และทั่วโลก เมื่อดูกราฟ ตอนนี้ติดเชื้่อ 5-6แสนรายต่อวัน แต่อัตราการตายน้อยลง เพราะส่วนใหญ่ฉีดวัคซีน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง อย่างในอังกฤษ ฉีดกลุ่มเสี่ยง 90% การตายก็น้อยลง
นพ.อุดม กล่าวอีกว่า สิ่งที่กล่าวมานี้่ เป็นภาพอยากให้คนไทยได้เห็น ว่าเราจะคิดแบบเดิมไม่ได้แล้ว จะให้ล็อกดาวน์ เศรษฐกิจก็คงไม่ไหว เดือนละแสนล้านที่เราเสียหาย เราต้องมาปรับใจใหม่ เป็นเหตุผล ทำให้เราต้องยอมให้มีการยอมผ่อนปรน แม้การติดเชื้อตัวเลขยังเป็นหมื่น แม้เราจะใช้มาตรการเต็มที่ก็ลงมานิดเดียว เราต้องชั่งน้ำหนัก ระหว่างสุขภาพกับเศรษฐกิจ ถ้าเข้มสุขภาพมากไป เศรษฐกิจก็จะเสียหาย ดังนั้น เราต้องดูองค์รวมภาพใหญ่ ให้เกิดความสมดุล จึงต้องมีการผ่อนปรน แต่มีเงื่อนไขว่าทุกองค์กรต้องปฎิบัติตาม กระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด เป็นเรื่องต้องแลกกัน
"ขณะนี้ เป้าหมายควบคุม โควิด เปลี่ยนไปจากเดิม จากเดิมเราต้องการให้ตัวเลขเป็น 0 ผมบอกได้เลยว่าไม่มีทางเป็น 0 แน่นนอ แต่เราจะต้องปรับเป้าหมาย คือ ต้องทำให้ตัวเลขน้อยลงและให้เราอยู่กับมันได้ และดำเนินชีวิตตามปกติวิถีใหม่ "
นพ.อุดมกล่าวอีกว่า การปรับกลยุทธิ์ของรัฐบาล มีเเป้าหมย 2 ประการ คือ 1 .ฟื้นฟูประเทศ 2. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และ 3. เปิดประเทศให้ได้ เป็นการเปิดในวงกว้าง ไมใช่แค่ให้คนต่างประเทศเข้ามาอย่างเดียว แต่ต้องให้คนไทยสามารถไปเที่ยว หรือไปโน่นไปนี่ได้ สามารถทำกิจกรรมร่วมกันได้ กลับไปเยี่ยมพ่อแม่ได้ อย่างไรก็ตาม แต่การจะไปสู่ 3เป้าหมายใหม่ เราจำเป็นต้องปรับใจใหม่
"กลยุทธ์ ของสาธารณสุข ต้องปรับไปจาก ปี 63 ที่เราต้องการหยุดการติดเชื้อ หรือทุเลา ใช้การล็อกดาวน์ เร่งคัดกรองใช้ตรวจแบบPCR มีการสืบค้นหาผู้เสี่ยงสัมผัส มากักกันหรือรักษา ซึ่งปี 63 เราทำได้ดี แต่ปี 64 เปลี่ยนไป กลยุทธิ์ใหม่คือ เน้นฉีดวัคซีน สร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อให้ป้องกันได้ 50-60 % เน้นลดการเจ็บป่วยรุนแรง เราเร่งหาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ เร่งฉีดประชาชนให้มาก 70 % ตอนนี้เรามาถึงครึ่งหนึ่งของเป้าในเข็ม 1 และได้ 30 %ในเข็ม 2 "นพ.อุดมกล่าว
ที่ปรึกษาศบค.กล่าวอีกว่า ขอยืนยันว่าไม่ได้มีการตรวจน้อยลง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจวันละ 5-6 หมื่น แต่คำว่าตรวจน้อยคือ ไปตรวจด้วย ATK มากขึ้น แต่องค์การอนามัยโลกกำหนดว่า ถ้ายืนยันติดเชื้อต้องตรวจจากPCR ส่วน ATK ไม่ยืนยัน ตอนนี้เราตรวจATK เพื่อแก้ปัญหาคอขวด ให้ประชาชนเข้าถึงการตรวจได้ง่าย ตรงนี้ ถ้ารวมผล ATK เฉลี่ยวันละ 3พัน บวกกับ ที่ยืนยันวันละ 1.5 หมื่นราย เท่ากับมีผู้ติดเชื้อเพิ่มวันละ 1.7 หมื่น ราย
ความคืบหน้าการฉีดวัคซีน นพ.อุดม กล่าวว่า ในเดือนก.ย.จะได้แอสตร้า 7.3 ล้านโดส และเดือนหน้า แอสตร้าฯ 11-13 ล้าน และไฟเซอร์ เข้ามา 29 ก.ย.อีก 2 ล้านโดส ดังนั้น 3เดือนข้างหน้า จนสิ้นปีเราจะมีวัคซีน เดือนละ20 ล้าน เราเร่งฉีด 8-9แสนต่อวัน หรือวันละล้านโดส ก็คาดว่าเราสามารถทำได้
"ผมยืนยันว่า ถ้าไม่มีอะไร เปลี่ยนแปลง ภายในธ.ค. เราฉีดวัค ได้ตามเป้า 2เข็ม และฉีดเข็ม3ได้อีกด้วย ซึ่งผลการศึกษา พบว่าหลังฉีดไป 3เดิอน วัคซีนทุกตัวภูมิจะลดลง ถ้าตกมากก็สู้เดลต้าไมไหว เราจึงต้องฉีดเข็ม 3 เราวางแผนเรียบร้อยแล้ว อย่างสัปดาห์ก่อนมีข้อมูลจากต่างประเทศว่า พอฉีดไฟเซอร์ ภูมิขึ้น 90 แอสตร้าขึ้น 80 พอไปเดือนที่ 4 ไฟเซอร์ ตกกว่า แอสตร้าฯ 20 % เป็นเหตุผลทำไมอิสราเอล และอเมริกา จึงกลับมาติดเชื้อใหม่ "
นพ.อุดมกล่าวย้ำ เรื่องการปรับกลยุทธิ์อีกว่า ขณะนี้ ศบค.อนุมัติหลักการเบื้องต้น จากนี้ ต่อไป เราต้องอยู่กับโควิด เน้นเรื่อง Universal Prevention มาตรการส่วนบุคคล และองค์กรเป็นสำคัญ เป็นการป้องกันครอบจักรวาล ครอบคลุม เบ็ดเสร็จทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา เป็นการระมัดระวังป้องกันตนเองแบบสูงสุด เดิมหลักการนี้ใช้ในรพ.อย่างเดียว แต่ตอนนี้ ต้องใช้กับคนไทยทุกคนเพื่อปกป้องตัวเอง แม้ไม่มีความเสี่ยง ปฎิบัติตัวในการป้องกันไว้คลอดเวลา ต้องคิดเสมอว่าอาจติดเชื้อไม่รู้ตัวและไม่มีอาการ และคนรอบข้างเรา อาจติดเชื้อ แฝงไม่มีอาการ อาจแพร่มาให้เรา เราจึงต้องป้องกันตัวเองสุดความสามารถตลอดเวลา
ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/main/detail/116051