ศูนย์วิจัยคลินิกศิริราช เผยผลวิจัยเบื้องต้น กระตุ้นเข็ม 3 ด้วยแอสตร้าฯหรือไฟเซอร์ ได้ภูมิคุ้มกันเท่าไหร่ ป้องกัน "เดลตา-โอมิครอน"ได้แค่ไหนมาดูกัน!
วันนี้( 10 ม.ค.65) ศูนย์วิจัยคลินิกศิริราช เผยผลการวิจัยเบื้องต้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันชนิด PVNT50 ต่อสายพันธุ์เดลตาและโอมิครอน ด้วยวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 แอสตร้าเซนเนก้า ไฟเซอร์ครึ่งโดส และไฟเซอร์เต็มโดส ที่ 2 สัปดาห์หลังกระตุ้นเข็มที่ 3 ในผู้ที่เคยได้รับวัคซีนซิโนแวค หรือ แอสตร้าเซนเนก้ามาแล้ว 2 เข็ม พบว่า
ซิโนแวค+ซิโนแวค+แอสตร้าเซเนก้า
-ให้ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดลตาได้ = 587 GMT
-ให้ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์สายพันธุ์โอมิครอนได้ระดับต่ำกว่าประมาณ 2-3 เท่า = 170 GMT
ซิโนแวค+ซิโนแวค+ไฟเซอร์ครึ่งโดส
-ให้ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดลตาได้ดี = 1,002 GMT
-ให้ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์โอมิครอนได้ระดับต่ำกว่าประมาณ 2 เท่า = 507 GMT
ซิโนแวค+ซิโนแวค+ไฟเซอร์เต็มโดส
-ให้ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดลตาได้ดี = 1,143 GMT
-ให้ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์โอมิครอนได้ระดับต่ำกว่าประมาณ 2 เท่า = 531 GMT
แอสตร้าเซนเนก้า+แอสตร้าเซนเนก้า+แอสตร้าเซนเนก้า
-ให้ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดลตาได้ดี = 121 GMT
-สายพันธุ์โอมิครอนได้ไม่ดีนัก = 22 GMT
แอสตร้าเซนเนก้า+แอสตร้าเซนเนก้า+ไฟเซอร์ครึ่งโดส
-ให้ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดลตาได้ดี = 674 GMT
-สายพันธุ์โอมิครอนได้ระดับต่ำกว่าประมาณ 2-3 เท่า = 232 GMT
แอสตร้าเซนเนก้า+แอสตร้าเซนเนก้า+ไฟเซอร์เต็มโดส
-ให้ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดลต้าไดดี = 917 GMT
-สายพันธุ์โอมิครอนได้ระดับต่ำกว่าประมาณ 2-3 เท่า = 521 GMT
คำแนะนำสำหรับผู้ที่ฉีดซิโนแวคมาแล้ว 2 เข็ม และแอสตร้าเซนเนก้ามาแล้ว 2 เข็ม ควรฉีดเข็มกระตุ้นเข็ม 3 ด้วยวัคซีนไฟเซอร์ จะได้ระดับภูมิคุ้มกันที่สูงสุดทั้งต่อเดลตาและโอมิครอน
(หน่วยวัดเป็นค่า GMT = Geometric Mean Titer)
ข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยคลินิกศิริราช
ภาพจาก AFP/รอยเตอร์