สธ.เปิดผลทดสอบประสิทธิภาพ "วัคซีนโควิด" ฉีดสูตรไหนเอาอยู่ และสูตรไหนป้องกันการติดเชื้อ-ป่วยหนัก-เสียชีวิตได้มากสุด สรุปมาให้แล้ว
นพ. โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข กล่าวระหว่างการแถลง สถานการณ์โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข ว่า สำหรับสถานการณ์การฉีด "วัคซีนโควิด" ให้แก่ประชาชนขณะนี้ สธ.ดำเนินการไปแล้วกว่า 108.59 ล้านโดส ซึ่งเป็นการฉีดวัคซีนเข็ม 1-4 และในเดือนมกราคมนี้ มีการตั้งเป้าการฉีดไว้ที่ 9 ล้านโดส ซึ่งสามารถดำเนินการได้มากกว่าครึ่งแล้ว อย่างไรก็ตามภายหลังจากการฉีดวัคซีน กรมควบคุมโรคได้มีการเก็บข้อมูล ทดสอบภูมิกัน เพื่อพิจารณาประสิทธิภาพของวัคซีนแต่ละชนิด แต่ละสูตรที่ได้ดำเนินการฉีดให้ประชาชน โดยเป็นการเก็บข้อมูลในพื้นที่จริงที่เกิดการระบาดของโควิด-19 ในแต่ละสายพันธุ์ ซึ่งสามารถสรุปประสิทธิภาพ โดยได้มีการแบ่งช่วงเวลา พื้นที่การระบาดของโควิด-19 แต่ละสายพันธุ์ ได้ดังนี้
ประสิทธิภาพของวัคซีน ซิโนแวค 2 เข็ม
- ศึกษาในพื้นที่ จ.ภูเก็ต ในเดือน สิงหาคม 2564 พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 27% ป้องกันป่วยหนัก/เสียชีวิตได้ 90%
- ศึกษาในพื้นที่ กรุงเทพฯ ในเดือนกันยายน-ตุลาคม 2564 พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 66 %
- ศึกษาในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ในเดือนธันวาคม 2564 พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 28 % ป้องกันป่วยหนัก/เสียชีวิตได้ 97 %
- ศึกษาในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ในเดือนธันวาคม 2564 พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 13 %
ประสิทธิภาพของวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม
- ศึกษาในพื้นที่ กรุงเทพฯ ในเดือนกันยายน-ตุลาคม 2564 พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 75%
- ศึกษาในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ในเดือนธันวาคม 2564 พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 93% ป้องกันการป่วยหนัก และเสียชีวิตได้ 97%
- ศึกษาในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ในเดือนธันวาคม 2564 พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 13 %
ประสิทธิภาพของวัคซีน ไฟเซอร์ 2 เข็ม
- ศึกษาในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ในเดือนธันวาคม 2564 พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 92% ป้องกันการป่วยหนัก และเสียชีวิตได้ 97%
- ศึกษาในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ในเดือนธันวาคม 2564 พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 13 %
ประสิทธิภาพวัคซีนสูตรไขว้ ซิโนแวค-แอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม
- ศึกษาในพื้นที่ กรุงเทพฯ ในเดือนกันยายน-ตุลาคม 2564 พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 75% ลดการป่วยหลักและเสียชีวิตได้ 93%
- ศึกษาในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ในเดือนธันวาคม 2564 พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 93% ป้องกันการป่วยหนัก และเสียชีวิตได้ 97%
- ศึกษาในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ในเดือนธันวาคม 2564 พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 13 %
ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่า เมื่อมีการฉีด "วัคซีนโควิด" เข็ม 3 หรือเข็มกระตุ้นตามสูตรต่าง ๆ แล้ว ประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อ ป่วยหนัก และเสียชีวิตสูงมากยิ่งขึ้น โดยได้ประสิทธิภาพ ดังนี้
ประสิทธิภาพวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม กระตุ้นด้วย แอสตร้าเซนเนก้า
- ศึกษาในพื้นที่ จ.ภูเก็ต ในเดือน สิงหาคม 2564 พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 94.2 % ป้องกันป่วยหนัก/เสียชีวิตได้ 100 %
- ศึกษาในพื้นที่ กรุงเทพฯ ในเดือนกันยายน-ตุลาคม 2564 พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 86 %
- ศึกษาในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ในเดือนธันวาคม 2564 พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 96 % ป้องกันป่วยหนัก/เสียชีวิตได้ 99 %
- ศึกษาในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ในเดือนธันวาคม 2564 พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 89 %
ประสิทธิภาพวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม กระตุ้นด้วย ไฟเซอร์
- ศึกษาในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ในเดือนธันวาคม 2564 พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 98 % ป้องกันป่วยหนัก/เสียชีวิตได้ 99 %
- ศึกษาในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ในเดือนธันวาคม 2564 พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 79 %
- ประสิทธิภาพวัคซีนซิโนฟาร์ม 2 เข็ม กระตุ้นด้วย ไฟเซอร์
- ศึกษาในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ในเดือนธันวาคม 2564 พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 98 % ป้องกันป่วยหนัก/เสียชีวิตได้ 99 %
สำหรับแนวทางการฉีดวัคซีนเข็ม 3 หรือเข็มกระตุ้นประชาชนที่เข้ารับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว สามารถรับวัคซีนเข็มที่ 3 ต่อ โดยทิ้งระยะ ห่างดังนี้
- ฉีดวัคซีนเข็ม 2 ในเดือนสิงหาคม-กันยายน 2564 เข้ารับเข็มกระตุ้นใน เดือนธันวาคม 2564
- ฉีดวัคซีนเข็ม 2 ในเดือนกันยายน -ตุลาคม 2564 เข้ารับเข็มกระตุ้นใน เดือนมกราคม 2565
- ฉีดวัคซีนเข็ม 2 ในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2564 เข้ารับเข็มกระตุ้นใน เดือนกุมภาพันธุ์ 2565
- ฉีดวัคซีนเข็ม 2 ในเดือนพฤศจิกายน -ธันวาคม 2564 เข้ารับเข็มกระตุ้นใน เดือนมีนาคม 2565
วัคซีนเข็มกระตุ้นของกระทรวงสาธารณสุข เดือนมกราคม 2565
ผ่านมติที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณี โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วันที่ 15 ธันวาคม 2564
1. ผู้ที่ถึงกำหนดรับวัคซีนเข็มกระตุ้น
- ผู้ที่ได้รับวัคซีน Sinovac-AstraZeneca ครบ ในเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2564 ให้พิจารณาฉีดเข็มกระตุ้น ด้วยวัคซีน AstraZeneca เป็นหลัก
- ผู้ที่ได้รับวัคซีน AstraZeneca ครบ 2 เข็ม ในเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2564 ให้พิจารณาฉีดเข็มกระตุ้น ด้วยวัคชีน Pfizer
- ผู้ที่ได้รับวัคซีนเชื้อตายครบ 2 เข็ม ตั้งแต่ 4 สัปดาห์ขึ้นไป ให้พิจารณาฉีดเข็มกระตุ้น ด้วยวัคซีน AstraZeneca เป็นหลัก
2. การให้วัคซีนเข็มกระตุ้นในผู้ที่มีประวัติการติดเชื้อ
- ให้ฉีดวัคซีน AstraZeneca กระตุ้น ในผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนไม่ครบเกณฑ์ หรือ ครบตามเกณฑ์ น้อยกว่า 2 สัปดาห์ก่อนการติดเชื้อ
ทั้งนี้สามารถใช้สูตรอื่นที่ผ่านการรับรองทางวิชาการได้ ภายใต้จำนวนวัคซีนที่มีในพื้นที่
นพ.โอภาส กล่าวเพิ่มเติม สำหรับประสิทธิภาพของวัคซีนแต่ละชนิดนั้นขึ้นอยู่กับระยะห่างในกับระยะห่างในการฉีดวัคซีน โดยจะเห็นได้ว่าช่วง 1-2 สัปดาห์แรกที่ได้รับวัคซีนภูมิคุ้มกันจะขึ้นสูงมาก แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปภูมิคุ้มกันจะลดลงตามลำดับ ดังนั้นหากประชาชนที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วให้เข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นตามระยะเวลาที่สธ.แนะนำได้เลย ทั้งนี้ ยืนยันว่า มีวัคซีนเพียงพอรองรับ โดยในปี 2565 รัฐบาลได้อนุมัติจัดซื้อแล้ว 90 ล้านโดส แบ่งเป็นไฟเซอร์ 30 ล้านโดส จึงขอให้ประชาชนฉีดตามสูตรที่กระทรวง สธ.กำหนด
ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/501130