รายงานรอยเตอร์และแชนเนลนิวส์เอเชียเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม 2564 กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์รายงานในวันเดียวกันว่า จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รายใหม่ของวันพุธนับถึงช่วงเที่ยงวันพฤหัสบดี มีถึง 5,324 คน เสียชีวิตเพิ่ม 10 คน ทำให้จำนวนรวมผู้ติดเชื้อสะสมเพิ่มเป็น 184,419 คน เสียชีวิตรวม 349 คน

จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นมากจากตัวเลขรายวันของวันอังคารที่มี 3,277 คน และสถิติสูงสุดเดิมของวันที่ 19 ตุลาคม ซึ่งอยู่ที่ 3,994 คน

คำแถลงของกระทรวงกล่าวว่า จำนวนที่ "เพิ่มสูงขึ้นผิดปกติ" เมื่อวันพุธ ส่วนใหญ่เป็นเพราะการตรวจของห้องแล็บให้ผลบวกออกมาจำนวนมากภายในช่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมงของบ่ายวันอังคาร กระทรวงกำลังตรวจสอบการเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกตินี้ และกำลังติดตามแนวโน้มดังกล่าวอย่างใกล้ชิดในช่วง 2-3 วันข้างหน้า

ผู้ติดเชื้อเกือบ 98.7% ของผู้ติดเชื้อ 90,203 คนช่วงเดือนที่ผ่านมาเป็นผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย โดยอีกราว 0.2% เสียชีวิต และอีก 0.1% กำลังถูกเฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิดในแผนกผู้ป่วยหนัก (ไอซียู) หรือมีอาการวิกฤติและต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

แม้ว่าสิงคโปร์จะมีประชากรฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบโดสแล้วถึง 84% และ 14% ฉีดโดสบูสเตอร์แล้ว แต่จำนวนผู้ป่วยนอนไอซียูถึงวันพุธสูงถึง 79.8% โดยผู้ป่วยโควิด-19 คิดเป็นราวครึ่งหนึ่งหรือ 142 เตียง และยังเหลือเตียงในแผนกไอซียูอีกราว 72 เตียงเท่านั้น กระทรวงกล่าวว่า กำลังจัดเตรียมเตียงไอซียูเพิ่มเติม โดยสามารถจัดหาเตียงเพิ่ม 100 เตียงได้ในเวลากระชั้นชิด

สัปดาห์ที่ผ่านมา สิงคโปร์ขยายข้อจำกัดทางสังคมออกไปอีกราว 1 เดือน เพื่อควบคุมการแพร่เชื้อและลดแรงกดดันต่อระบบสาธารณสุขของประเทศ เช่นการจำกัดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและอนุญาตให้ร่วมโต๊ะรับประทานอาหารนอกบ้านได้ไม่เกิน 2 คน.

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/news-update/abroad-news/13973/

 
รัฐบาลสิงคโปร์เผยผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ๆ ในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นกลุ่มคนที่ได้รับวัคซีนแล้วถึง 3 ใน 4 โดยผู้ติดเชื้อกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการป่วย หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย

สิงคโปร์ฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็มครอบคลุมประชากรเกือบร้อยละ 75 ซึ่งเป็นอัตราการฉีดวัคซีนสูงสุดอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ข้อมูลรอยเตอร์) และเวลานี้มีชาวสิงคโปร์ราวครึ่งประเทศที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว

ในช่วง 28 วันที่ผ่านมา สิงคโปร์พบผู้ติดเชื้อในชุมชนรวมทั้งสิ้น 1,096 ราย ในจำนวนนี้มีอยู่ 484 ราย หรือ 44% ที่ติดเชื้อทั้งๆ ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม 30% ฉีดวัคซีนเพียง 1 เข็ม และอีก 25% เป็นคนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน

ทั้งนี้ มีผู้ติดเชื้อเพียง 7 รายที่อาการหนักถึงขั้นต้องใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนในปอด โดยเป็นคนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน 6 ราย และฉีด 1 เข็มอีก 1 ราย

“เราพบหลักฐานยืนยันอย่างต่อเนื่องว่า การฉีดวัคซีนช่วยป้องกันอาการป่วยที่รุนแรงได้จริง ในกรณีที่ติดเชื้อ” กระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์ระบุ พร้อมยืนยันว่าผู้ติดเชื้อที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วไม่มีอาการป่วยเลย หรือมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ออกมาย้ำว่า การติดเชื้อในคนที่ฉีดวัคซีนแล้วนั้น ไม่ได้แปลว่าวัคซีนไม่มีประสิทธิภาพ

“เนื่องจากคนสิงคโปร์ฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลังจากนี้เราจึงจะได้เห็นการติดเชื้อในกลุ่มคนที่ฉีดวัคซีนมากขึ้น” เตียว ยิกยิง (Teo Yik Ying) คณบดีวิทยาลัยสาธารณสุข Saw Swee Hock แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) ให้ความเห็น

“อย่าลืมว่าเราจะต้องคำนึงถึงสัดส่วนของคนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนด้วย สมมติว่าสิงคโปร์ฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากร 100% แล้ว ดังนั้นการติดเชื้อใหม่ทั้งหมดก็ย่อมจะต้องเกิดในกลุ่มคนที่ฉีดวัคซีน และไม่มีในกลุ่มคนที่ยังไม่ฉีด”

ข้อมูลจากสิงคโปร์ยังพบว่า ผู้ฉีดวัคซีนแล้วที่ติดเชื้อในช่วง 14 วันที่ผ่านมาเป็นกลุ่มคนอายุเกิน 61 ปีถึงร้อยละ 88

ลินฟา หวัง อาจารย์วิทยาลัยการแพทย์ Duke-NUS อธิบายว่า ร่างกายผู้สูงอายุจะตอบสนองต่อการฉีดวัคซีนได้ต่ำกว่าคนที่อายุยังน้อย

สิงคโปร์ใช้วัคซีนชนิด mRNA ของไฟเซอร์/ไบโอเอ็นเทค และโมเดอร์นา เป็นวัคซีนหลักในการสร้างภูมิคุ้มกันโควิด-19 แก่ประชาชน

เมื่อวานนี้ (22) สิงคโปร์มีรายงานผู้ติดเชื้อใหม่ 162 ราย ซึ่งใกล้เคียงกับสถิติสูงสุดในรอบ 11 เดือนที่เกิดขึ้นเมื่อต้นสัปดาห์ ขณะที่รัฐบาลสั่งยกระดับคุมเข้มและจำกัดการรวมตัวของประชาชน ควบคู่ไปกับการเร่งฉีดวัคซีน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงวัย

ที่มา : รอยเตอร์
 
 
สิ้นปี 63 ติด 'โควิด' 50 ล้านคน ตาย 1-5 ล้านคน
 

คาดสิ้นปี 63 ทั่วโลกติดโควิดทะลุ 50 ล้านคน ตาย1-5 ล้านคน “หมอยง”ยันไทยยังปลอดติดเชื้อในประเทศ ชี้กรณี 2 สาวพบซากไวรัสเป็นไปสูงติดจากต่างประเทศ ย้ำเศษซากชิ้นส่วนไวรัส ธรรมชาติไม่พัฒนาเป็นตัวจนแพร่เชื้อ

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2563 ที่กระทรวงสาธารณสุข ในการแถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโรคโควิด-19 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า แม้ประเทศไทยจะไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อภายในประเทศมานานเกือบ 90 วันแล้ว แต่การระบาดในต่างประเทศยังเกิดขึ้นอย่างหนัก ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อแล้วกว่า 22 ล้านคน เสียชีวิต 7.7 แสนคน อัตราเพิ่ม 4 วัน 1 ล้านคน และเมื่อดูจากอัตราเพิ่มเช่นนี้แล้ว
 
ในสิ้นปี 2563 ทั่วโลกจะมีผู้ติดโควิดราว 50 ล้านคน และเสียชีวิต 1-5ล้านคน สิ่งที่เป็นความหวังคือยารักษาที่จะลดความรุนแรงของโรค ที่ใครติดเชื้อก็ได้แต่ไม่เป็นปวดบวม และเสียชีวิต รวมถึง วัคซีน ซึ่งส่วนตัวมั่นใจว่าภายในสิ้นปี 2563 จะมีการศึกษาวิจัยพัฒนาวัคซีนสำเร็จ เพราะขณะนี้มีกว่า 6 บริษัทที่มีการทดลองในมนุษย์ระยะที่ 3แล้ว จึงน่าจะมีอย่างน้อย 1-2 บริษัทที่สำเร็จ

ศ.นพ.ยง กล่าวถึงกรณีการตรวจเจอเศษซากชิ้นส่วนไวรัสที่ก่อโรคโควิดและภูมิคุ้มกันในหญิงสาวชาวชัยภูมิและเลย หลังเดินทางกลับมาจากประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หรือยูเออีและเข้ากักตัวในสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้จนครบ 14 วันแล้วว่า รายแรกชาวจ.ชัยภูมิ ตรวจเจอซากไวรัสหลังวันเข้าไทยประมาณ 75 วัน และรายที่ 2 ตรวจเจอหลังเข้าไทย 50 วัน ส่วนตัวคิดว่าไม่ได้ติดภายในสถานที่กักกันและไม่ได้เป็นการติดเชื้อในประเทศไทย เพราะไทยไม่มีการติดเชื้อในประเทศมานานกว่า 80 วันแล้ว

อีกทั้ง ผลการตรวจเชื้อผู้ใกล้ชิดขณะนี้ก็ยังไม่มีใครติดเชื้อ จึงเป็นไปได้สูงที่จะติดเชื้อจากต่างประเทศแน่นอน ส่วนตอนที่เข้ามาอยู่ในสถานที่กักกันอาจจะหายแล้ว ไม่มีอาการและมีปริมาณเชื้อที่น้อยมากๆขณะอยู่ในสถานที่กักกันจึงตรวจไม่เจอ แต่เมื่ออกจากสถานที่กักกันตรวจพบก็เกิดขึ้นได้ เพราะการติดตามในผู้ที่หายป่วยและมาบริจาคพลาสม่าก็สามารถตรวจเจอชิ้นส่วนของไวรัสเช่นกัน แต่ไม่ใช่ตัวไวรัส และติดตามผู้ใกล้ชิดก็ไม่มีใครติดเชื้อ

ศ.นพ.ยง กล่าวอีกว่า วิธีการตรวจเชื้อไวรัสไวมาก แม้มีไวรัสเพียง 1-2 ตัวก็หาเจอ เพราะการตรวจในปัจจุบันใช้เทคโนโลยีสูง สามารถขยายไวรัสจาก 1 ตัว เป็นล้านๆเท่า เพราฉะนั้น หากหลงเหลืออยู่เพียงเศษซากชิ้นส่วนไวรัสก็สามารถตรวจเจอ แต่กรณีที่บางครั้งตรวจไม่เจอหากมีน้อยมากก็เกิดขึ้นได้ เพราะอาจไปหลบอยู่ตรงจุดที่ป้ายคอไม่โดนในครั้งหนึ่ง แต่เมื่อตรวจซ้ำป้ายคอจุดอื่นก็อาจเจอ จึงไม่แปลกที่หากมีปริมาณน้อยมากจะไม่เจออีกไม่กี่วันอาจตรวจเจอ แต่การเจอกจะเป็นปริมาณที่น้อยๆมากๆ และการเจอซากไวรัสก็ต้องนำไปเพาะเชื้อว่าสามารถแบ่งตัวได้หรือไม่ หากไม่ได้ก็กับแพร่เชื้อต่อไม่ได้ ซึ่งกรณีเป็นซากชิ้นส่วนใดส่วนหนึ่งของไวรัส โอกาสที่จะกลายเป็นตัวไวรัสเกิดได้ยาก อาจจะต้องใช้วิธีการโคลนนิ่ง และยังไม่ใช่การระบาดระลอก2

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/894655?anf=

สึนามิอุดมศึกษาไทยที่ก่อตัวมานานจากจำนวนประชากรวัยเรียน ถูกปัจจัยเร่งจาก KOVID-19 คือสภาพเศรษฐกิจที่ทรุดและถดถอยไปทั่วโลก ส่งผลให้สึนามิอุดมศึกษาไทยและทั่วโลกลูกใหญ่กว่าและรุนแรงรวดเร็วกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งปรากฎผลขึ้นแล้ว จากข้อมูลจำนวนนิสิตนักศึกษาที่สมัครเข้าเรียนปีการศึกษา 2563 ดังต่อไปนี้ (ดูรายละเอียดในตารางตามภาพประกอบ)

##ปีการศึกษา 2563 มีสถาบันอุดมศึกษาไทยสมัครใช้ ระบบTCAS (Thai University Central Admission System) คือระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 82 สถาบัน จากจำนวนทั้งหมด 310 สถาบัน ปัญหาจำนวนผู้สมัครซ้ำรอยเดิม ของปีที่ผ่านๆมา คือมีที่นั่งในสถาบันอุดมศึกษาในระบบ TCAS ว่างหลายแสนที่นั่ง จำแนกได้ตามกลุ่มสถาบันดังต่อไปนี้

1.กลุ่มมหาวิทยาลัยของรัฐเดิม(ทปอ.) จำนวน 29 สถาบัน (เข้าร่วม TCAS ทุกสถาบัน) จำนวนเรียกรับตามแผน มอค.2 จำนวน 168,996 คน จำนวนรับยืนยันสิทธิ์ 145,813 คน มีที่นั่งเหลือ 23,183 คน คิดเป็นร้อยละ 13.72 ดังข้อมูลต่อไปนี้
1.1 จำนวนหลักสูตร 2,348 หลักสูตร จำนวนรับทั้งสิ้น 168,996 คน เฉลี่ย 1 หลักสูตร 72 คน
1.2 ม. เกษตรศาสตร์ สูงสุด มี 236 หลักสูตร รับ 17,520 คน รับเข้าได้ 17,472 คน ร้อยละ 99.73
1.3 ม. นครพนม ต่ำสุด มี 61 หลักสูตร รับ 3,530 คน รับเข้าได้ 1,203 คน ร้อยละ 34.08
สรุป .กลุ่มมหาวิทยาลัยของรัฐเดิม(ทปอ.)มีสถาบันที่รับนิสิตได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 50 มี 3 สถาบันได้แก่ (1) ม แม่โจ้ รับเข้าได้ 2,624 คน ร้อยละ 46.36 (2) ม กาฬสินธุ์ รับเข้าได้ 727 คน ร้อยละ 40.17 และ (3) ม.นครพนม รับเข้าได้ 1,203 คน ร้อยละ 34.08
คำเตือน สถาบันที่รับนิสิตได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 50 จำนวน 3 สถาบัน เป็นกลุ่มมีความเสี่ยงสูง

2.กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฎ 16 สถาบัน จาก 38 สถาบัน (ไม่เข้าร่วม TCAS จำนวน 22 สถาบัน) จำนวนเรียกรับตามแผน มคอ.2 จำนวน 57,785 คน จำนวนรับยืนยันสิทธิ์ 38,246 คน มีที่นั่งเหลือ 19,539 คน คิดเป็นร้อยละ 33.81 ดังข้อมูลต่อไปนี้
2.1 จำนวนหลักสูตร 1.008 หลักสูตร จำนวนรับทั้งสิ้น 57,785 คน เฉลี่ย 1 หลักสูตร 58 คน
2.2 มรภ.สวนสุนันทา สูงสุด มี 107 หลักสูตร รับ 7,130 คน รับเข้าได้ 7,564 คน ร้อยละ 106.09
2.3 มรภ.จันทรเกษม ต่ำสุด มี 51 หลักสูตร รับ 3,500 คน รับเข้าได้ 886 คน ร้อยละ 25.31
สรุป .กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฎ 16 สถาบัน มีสถาบันที่รับนิสิตได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 50
จำนวน 4 สถาบัน ได้แก่ (1) มรภ.พระนคร รับเข้าได้ 1,162 คน ร้อยละ 39.26 (2) มรภ.ชัยภูมิ รับเข้าได้ 435 คน ร้อยละ 35.08 (3) มรภ.อุตรดิตถ์ รับเข้าได้ 936 คน ร้อยละ 27.37 และ (4) มรภ.จ้นทรเกษม รับเข้าได้ 886 คน ร้อยละ 25.31
คำเตือน สถาบันที่รับนิสิตได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 50 จำนวน 4 สถาบัน เป็น กลุ่มมีความเสี่ยงสูง

3.กลุ่มมหาวิทยาลัยราชมงคล 9 สถาบัน (เข้าร่วม TCAS ทุกสถาบัน) จำนวนเรียกรับตามแผน มคอ.2 จำนวน 34,588 คน จำนวนรับยืนยันสิทธิ์ 15,806 คน มีที่นั่งเหลือ 18,782 คน คิดเป็นร้อยละ 54.30 ดังข้อมูลต่อไปนี้
3.1 จำนวนหลักสูตร 714 หลักสูตร จำนวนรับทั้งสิ้น 34,588 คน เฉลี่ย 1 หลักสูตร 49 คน
3.2 มทร.ธัญบุรี สูงสุด มี 111 หลักสูตร รับ 6,290 คน รับเข้าได้ 4,495 คน ร้อยละ 71.46
3.3 มทร.สุวรรณภูมิ ต่ำสุด มี 111 หลักสูตร รับ 4,890 คน รับเข้าได้ 1,011 คน ร้อยละ 20.67
สรุป กลุ่มมหาวิทยาลัยราชมงคล 9 สถาบัน มีสถาบันที่รับนิสิตได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 50 จำนวน 6 สถาบัน ได้แก่ (1) มทร.อีสาน รับเข้าได้ 2,103 คน ร้อยละ 47.53 (2) มทร.ศรีวิชัย รับเข้าได้ 1,673 คน ร้อยละ 44.11 (3)มทร.ล้านนา รับเข้าได้ 1,393 คน ร้อยละ 36.95 (4) มทร.รัตนโกสินทร์ รับเข้าได้ 738 คน ร้อยละ 29.76 (5) มทร.ตะวันออก รับเข้าได้ 759 คน ร้อยละ 23.50 และ (6) มทร.สุวรรณภูมิ รับเข้าได้ 1,011 คน ร้อยละ 20.67
คำเตือน สถาบันที่รับนิสิตได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 50 จำนวน 6 สถาบัน เป็นกลุ่มมีความเสี่ยงสูง

4.กลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชน 23 สถาบัน จาก 75 สถาบัน (ไม่เข้าร่วม TCAS จำนวน 52 สถาบัน) จำนวนเรียกรับตามแผน มคอ.2 จำนวน 44,708 คน จำนวนรับยืนยันสิทธิ์ 1.423 คน มีที่นั่งเหลือ 43,285 คน คิดเป็นร้อยละ 96.82 ดังข้อมูลต่อไปนี้
4.1 จำนวนหลักสูตร 457 หลักสูตร จำนวนรับทั้งสิ้น 44,708 คน เฉลี่ย 1 หลักสูตร 98 คน
4.2.วิทยาลัยเซ็น์หลุยส์ สูงสุด มี 3 หลักสูตร รับ 250 คน รับเข้าได้ 119 คน ร้อยละ 47.60
4.3 มหาวิทยาลัยศรีปทุม ต่ำสุด มี 68 หลักสูตร รับ 10,855 คน รับเข้าได้ 174 คน ร้อยละ 1.60
4.4 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มี 45 หลักสูตร รับ 5,535 คน รับเข้าได้ 74 คน ร้อยละ 1.34
4.5 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มี 23 หลักสูตร รับ 2,490 คน รับเข้าได้ 4 คน ร้อยละ 0.16
หมายเหตุ
4.5 มี 3 สถาบันที่มีนักศึกษา 1,2,3 คน ตามลำดับ ได้แก่ วิทยาลัยสันตพล วิทยาลัยดุสิตธานี และมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเซีย
4.6 มี 5 สถาบัน ที่ไม่มีนักศึกษาสมัครเข้าศึกษา คือมีจำนวนรับ ร้อยละ 0.00 ได้แก่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี มหาวิทยาลัยนอร์ทเชียใหม่ มหาวิทยาลัยการจัดการแะเทคโนโลยีอิสเทิร์น วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์ และสถาบันเทคโนโลยียานยนต์มหาชัย
4.7 .กลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชน 23 สถาบัน มีสถาบันที่รับนิสิตได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 50 จำนวน ทั้ง 23 สถาบัน
คำเตือน สถาบันที่รับนิสิตได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 50 จำนวน 23 สถาบัน เป็นกลุ่มมีความเสี่ยงสูงมาก

5.กลุ่มสถาบันสมทบ 4 สถาบัน จำนวนเรียกรับตามแผน มคอ.2 จำนวน 7,727 คน จำนวนรับยืนยันสิทธิ์ 2,900 คน มีที่นั่งเหลือ 4,827 คน คิดเป็นร้อยละ 62.7 ดังข้อมูลต่อไปนี้
5.1 จำนวนหลักสูตร 122 หลักสูตร จำนวนรับทั้งสิ้น 7,727 คน เฉลี่ย 1 หลักสูตร 64 คน
5.1 กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย สูงสุด มี 54 หลักสูตร รับ 2,947 คน รับเข้าได้ 2,670 คน ร้อยละ 90.60
5.2 มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ต่ำสุด มี 66 หลักสูตร รับ 4,470 คน รับเข้าได้ 28 คน ร้อยละ 0.63
สรุป กลุ่มสถาบันสมทบ 4 สถาบัน มีสถาบันที่รับนิสิตได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 50 จำนวน 2 สถาบัน ได้แก่ (1) วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฏเกล้า รับเข้าได้ 6 คน ร้อยละ 6.00 (2) มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ รับเข้าได้ 28 คน ร้อยละ 0.63
คำเตือน สถาบันที่รับนิสิตได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 50 จำนวน 2 สถาบัน เป็นกลุ่มมีความเสี่ยงสูง

###สรุป กลุ่มสถาบันที่เข้าร่วมระบบ TCAS จำนวน 82 สถาบัน มีจำนวนเรียกรับตามแผน มคอ.2 จำนวน 313,804 คน จำนวนรับยืนยันสิทธิ์ 204,188 คน มีที่นั่งคงเหลือ 109,616 คน คิดเป็นร้อยละ 34.93

6.สถาบันอื่นในสังกัด อว. ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่ง และวิทยาเขต และสถาบันอุดมศึกษาและวิทยาเขตในสังกัดกระทรวงอื่นๆ 103 สถาบัน (ไม่มีข้อมูล เนื่องจากเป็นการรับตรงของแต่ละสถาบัน)

จากข้อมูลจำนวนนิสิตนักศึกษาข้างต้นจะเห็นว่า

1.กลุ่มมหาวิทยาลัยของรัฐเดิม(ทปอ.) จำนวน 29 สถาบัน ที่เข้าร่วม ระบบ TCAS ทุกสถาบัน
1.1 มีสถาบันที่รับได้เกินจำนวนรับตามแผน มคอ.2 เกิน 100% มีจำนวน 6 สถาบัน ได้แก่ (1)มหาวิทยาลัยนเรศวร (117.94%) (2)มหาวิทยาลัยทักษิณ (117.55%) (3)มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (116.78%) (4)มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (114.65%) (5)มหาวิทยาลัยบูรพา (110.43%) (6)มหาวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (109.05%) มหาวิทยาลัยลำดับที่ (1)-(5)เป็นมหาวิทยาลัยในต่างจังหวัดทั้งสิ้น สะท้อนถึงผู้เรียนที่นิยมเรียนในสถาบันตามภูมิลำเนามากขึ้น
2. กลุ่มมหาวิทยาลัยของรัฐเดิม(ทปอ.) จำนวน 2 มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำจาก World Ranking ได้แก่ (1)จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (80.44%) และ (2)มหาวิทยาลัยมหิดล (58.98%) นับนิสิตนักศึกษาได้ไม่เต็มจำนวนรับตาม มคอ.2 สะท้อนถึงคุณภาพของนักเรียนที่สมัครเข้ารับการคัดเลือก
3.กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฎ 16 สถาบัน จาก 38 สถาบัน (ไม่เข้าร่วม TCAS จำนวน 22 สถาบัน)
มีที่นั่งเหลือ 19,539 คน คิดเป็นร้อยละ 33.81. สะท้อนถึงความนิยมเรียนในสถาบันในท้องถิ่นลดลง และสภาพเศรษฐกิจที่ไม่เอื้อต่อการศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา
ข้อสังเกต มหาวิทยาลัยราชภัฎที่รับตรง โดยไม่เข้าร่วมรับระบบ TCAS ก็น่าจะอนุมานได้ว่า มีจำนวนผู้เข้าเรียนไม่แตกต่างกันกับสถาบันที่เข้าระบบ TCAS หากคิดเป็นค่าร้อยละตามสัดส่วน สถาบันที่รับได้เกินร้อยละ 50 จำนวน 12 สถาบัน (75%) และต่ำกว่าร้อยละ 50 จำนวน 4 สถาบัน (25%) มหาวิทยาลัยราชภัฎที่รับตรงอีก 22 สถาบัน มีความน่าจะเป็นคือรับได้เกินร้อยละ 50 จำนวน 16 สถาบัน (72.73%) และต่ำกว่าร้อยละ 50 จำนวน 6 สถาบัน (27.27%) รวมเป็นสัดส่วน 28:10 สถาบัน
4. กลุ่มมหาวิทยาลัยราชมงคล 9 สถาบัน (เข้าร่วม TCAS ทุกสถาบัน) มีจำนวนเรียกรับตามแผน มคอ.2 จำนวน 34,588 คน จำนวนรับยืนยันสิทธิ์ 15,806 คน มีที่นั่งเหลือ 18,782 คน คิดเป็นร้อยละ 54.30 สะท้อนถึงความนิยมการเรียนวิชาชีพทางและด้านสังคมศาสตร์ลดลงตามลำดับ
5.กลุ่มสถาบันสมทบ 4 สถาบัน จำนวนเรียกรับตามแผน มคอ.2 จำนวน 7,727 คน จำนวนรับยืนยันสิทธิ์ 2,900 คน มีที่นั่งเหลือ 4,827 คน คิดเป็นร้อยละ 62.7 มีสถาบันที่ทีจำนวนรับต่ำกว่าร้อยละ 50 จำนวน 2 สถาบัน สะท้อนถึงทั้งด้านคุณภาพและปริมาณในการผลิตแพทย์ ในขณะเดียวกันก็น่าเป็นห่วงด้านการพัฒนาสัขภาพโดยรวมที่ไม่มีผู้สนใจเรียนในมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติเท่าที่ควร
6.กลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชน 23 สถาบัน จาก 75 สถาบัน (ไม่เข้าร่วม TCAS จำนวน 52 สถาบัน) จำนวนเรียกรับตามแผน มคอ.2 จำนวน 44,708 คน จำนวนรับยืนยันสิทธิ์ 1.423 คน มีที่นั่งเหลือ 43,285 คน คิดเป็นร้อยละ 96.82 แม้ว่าสถาบันเอกชนอีกจำนวน 52 สถาบัน จะใช้ระบบรับตรง โดยไม่เข้าระบบ TCAS แต่จากสถานการณ์ด้านประชากรที่ลดลงและสภาพเศรษฐกิจจากพิษ KOVID-19 น่าจะอนุมานได้ว่า จำนวนนักศึกษาที่เข้าเรียนในสถาบันเอกชนน่าจะไม่แตกต่างกับการรับระบบ TCAS ของทั้ง 23 สถาบัน นั่นคือกลุ่มมหาวิทยาลััยเอกชนทั้ง 75 สถาบัน

###สึนามิอุดมศึกษาไทย:ใครรอด?ใครร่วง?
1.กลุ่มมหาวิทยาลัยของรัฐจากการวิเคราะห์ภาพรวม ได้แก่ (1)กลุ่มมหาวิทยาลัยของรัฐเดิม(ทปอ.) จำนวน 3 สถาบัน (2) กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฎ จำนวน 10 สถาบัน และ (3) กลุ่มมหาวิทยาลัยราชมงคล จำนวน 6 สถาบัน (4) กลุ่มสถาบันสมทบ 2 สถาบัน รวมทั้งสิ้น 21 สถาบัน เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่มีความเสี่ยงสูงมาก (จากจำนวน 80 สถาบัน)
2.กลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชน 75 สถาบัน ทุกสถาบันมีความเสี่ยงสูงมากทั้งสิ้น เนื่องจากไม่มีสถาบันใดมีจำนวนรับที่นักศึกษายืนยันสิทธิ์ถึง ร้อยละ 50 นอกจากนั้นหากอนุมานามสัดส่วนมหาวิทยาลัยที่น่าจะมีผู้เรีนน้อยต่ำกว่า 5 คนถึง 0 คน น่าจะมีจำนวนถึง 25 สถาบัน (จากจำนวน 75 สถาบัน)

#####อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยเอกชนเป็นธุรกิจประเภท “ธุรกิจการศึกษา (Business Education)ในเมื่อไม่มีสถาบันเอกชนใดรับนักศึกษาได้เกินกว่าร้อยละ50 จึงมีความน่าจะเป็นเป็นอย่างยิ่งว่า ภายใน 5 ปี ไม่เกิน 10 ปี คือ ภายใน พ.ศ.2573 คำว่า”มหาวิทยาลัยเอกชน”อาจจะเป็นเพียงสิ่งที่เล่าขานกันในประวัติอุดมศึกษาไทย เท่านั้น

“รออ่านตอนต่อไปอีกนานหน่อยครับ กับ สึนามิมหาวิทยาลัยของรัฐ”

##หลุมดำมหาวิทยาลัยของรัฐ?
“กระทรวงอุดมฯเป็นเป็ดง่อย
ผู้บริหารคอยครบวาระ
นักศึกษาสถานะตกงาน
อาจารย์ถูกลอยแพ”

สุดช็อค ดร.อนันต์ เผย "ไฟเซอร์" "โมเดอร์นา" 2 เข็ม เอา "โอไมครอน" ไม่อยู่
 

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา เผย ข้อมูลวิจัยจากเยอรมัน เผย ผู้ฉีดวัคซีน "ไฟเซอร์" "โมเดอร์นา" 2 เข็ม หลังจาก 6 เดือน ภูมิตก จนไม่สามารถป้องกัน "โอไมครอน"

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา เผย ข้อมูลวิจัยจากเยอรมัน เผย ผู้ฉีดวัคซีน "ไฟเซอร์" "โมเดอร์นา" 2 เข็ม หลังจาก 6 เดือน ภูมิตก จนไม่สามารถป้องกัน "โอไมครอน" 

วันนี้ 8 ธ.ค.64 เฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana หรือ ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้โพสต์ระบุข้อความว่า

ผลการตรวจภูมิคุ้มกันจากวัคซีนต่อไวรัส "โอไมครอน" ออกมาอีกชิ้นหนึ่งจากทีมวิจัยในเยอรมัน เปรียบเทียบภูมิคุ้มกันจากวัคซีนรูปแบบต่างๆ ทั้งแบบ 2 เข็มปกติ และ 3 เข็มกระตุ้น โดยผลสรุปจากการศึกษานี้ได้ดังนี้

1. ภูมิจาก PZ 2 เข็มสามารถจับและป้องกันเดลต้าได้ 48% แต่ได้ 0% เมื่อทดสอบกับโอมิครอน

2.เมื่อฉีด PZ 3 เข็ม ภูมิเมื่อเก็บหลังเข็มสามครึ่งเดือนยับยั้งเดลต้าได้ 100% และยับยั้งโอมิครอนได้ 58% แต่ถ้าเก็บหลังเข็มสาม 3 เดือน ภูมิตกจนยับยั้งโอมิครอนได้เพียง 25%

3.ภูมิผู้ที่เคยติดเชื้อและได้ PZ 2 เข็ม ยับยั้งเดลต้าได้ 85% และ โอไมครอน 25% (ไม่แน่ใจเก็บเลือดกี่เดือนหลังฉีด)

4.ภูมิจากคนที่ฉีด Moderna 2 เข็มมา 6 เดือน เหลือยับยั้งเดลต้าได้ 50% แต่ยับยั้งโอมิครอนไม่ได้เลย แต่ถ้า boost เข็มสาม จำนวนครึ่งโดส ภูมิที่เก็บ 2 สัปดาห์หลังกระตุ้นสามารถยับยั้งเดลต้าได้ 100% และเพียงพอต่อโอมิครอน 78% หลังจากนั้นไม่ชัดเจนจะตกลงไวแค่ไหน

5.เข็มไขว้ AZ-PZ หลังจากฉีด 6 เดือน ภูมินับยั้งเดลต้าได้ 21% และไม่เพียงพอยับยั้งโอมิครอน ถ้ากลุ่มนี้ได้เข็มกระตุ้นด้วย PZ ภูมิที่เก็บ 2 อาทิตย์จะพอยับยั้งเดลต้าได้ 88% และ ยับยั้งโอมิครอนได้ 38% หลังจาก 2 อาทิตย์ยังไม่ชัดว่าตกไวแค่ไหน

สุดช็อค ดร.อนันต์ เผย "ไฟเซอร์" "โมเดอร์นา" 2 เข็ม เอา "โอไมครอน" ไม่อยู่

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/hot-social/496082?adz=

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ