สามีภรรยาสหรัฐ รู้ทั้งรู้ติดโควิดแต่ยังขึ้นเครื่องบินกลับฮาวายพร้อมเด็ก 4 ขวบ 

รู้ว่าติดโควิด-19 แต่สามีภรรยาคู่หนึ่งไม่สนคนอื่นจะตกอยู่ในความเสี่ยงขึ้นเครื่องบินกลับบ้านที่ฮาวายพร้อมเด็ก 4 ขวบ 

 

เวสลีย์ โมริเบ วัย 41 ปี และคอร์ทนีย์ ปีเตอร์สัน วัย 46 ปีสามีภรรยาจากรัฐฮาวาย ถูกแจ้งข้อหาประมาทเลินเล่อจนอาจเป็นอันตรายแก่ผู้อื่น หลังจากโดยสารเที่ยวบินจากซานฟรานซิสโก กลับฮาวายเมื่อวันที่ 29 พ.ย.  ทั้งที่รู้อยู่แก่ใจว่าติดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 ด้วยกันทั้งคู่ 

 

โฆษกตำรวจเมืองคาวายอิ กล่าวว่า สามีภรรยาคู่นี้กลับถึงสหรัฐด้วยเที่ยวบินระหว่างประเทศ และเข้ารับการตรวจเชื้อในซีแอตเทิลก่อนขึ้นเครื่องบินกลับฮาวาย ซึ่งเป็นมาตรการเดินทางปลอดภัยของรัฐฮาวาย  ขณะแวะต่อเครื่องที่ซานฟรานซิสโก ได้รับแจ้งว่าติดโควิด-19 ขอให้งดเดินทางและกักตัว แต่ทั้งคู่ไม่สนใจ ต่อเที่ยวบินยูไนเต็ด แอร์ไลนส์ กลับเมืองลิฮู รัฐฮาวายตามแผนเดิม 

เมื่อไปถึง ก็มีเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขกับตำรวจมารออยู่ เข้าประกบนำตัวไปห้องแยกกักและสอบสวน ส่วนเด็กวัย 4 ขวบที่บางสำนักข่าวระบุว่าเป็นลูกชายที่เดินทางมาด้วยกัน ให้ญาติมารับกลับบ้าน 

 

สามีภรรยาสหรัฐ รู้ทั้งรู้ติดโควิดแต่ยังขึ้นเครื่องบินกลับฮาวายพร้อมเด็ก 4 ขวบ 

 

ไม่ชัดเจนว่าใครเป็นคนแจ้งผลตรวจเชื้อให้กับทั้งสองได้รับทราบ ตอนแรก โฆษกตำรวจเมืองคาวายอิ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่กักกันของสนามบินนานาชาติซานฟรานซิสโก เป็นผู้แจ้ง แต่สนามบินระบุว่าไม่ได้พูดคุยกับทั้งสองเลย  และเป็นศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (ซีดีซี)  ที่ได้แจ้งไปยังเจ้าหน้าที่สนามบินลิฮู ให้เตรียมพร้อม หลังจากโมริเบกับปีเตอร์สันขึ้นเครื่องบินตามแผนการเดิม  ด้าน สายการบิน ยูไนเต็ด แอร์ไลนส์ ระบุว่า ก่อนเดินทาง ผู้โดยสารทุกคนจะต้องกรอกข้อมูล "Ready to Fly" หรือยืนยันว่ามีความพร้อมเดินทาง และไม่เคยถูกตรวจพบเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 ในช่วง 14 วันที่ผ่านมา สายการบินกำลังสอบสวนเรื่องนี้เพื่อประเมินมาตรการในอนาคต 

 

ตำรวจกล่าวว่า สามีภรรยาคู่นี้ ทำให้ผู้โดยสารบนเที่ยวบินตกอยู่ในความเสี่ยงถึงแก่ชีวิต จากการขึ้นเครื่องบินโดยรู้ผลตรวจโควิด-19 เป็นบวก  ทั้งสองวางเงินประกันคนละ 1,420 ดอลลาร์ และมีกำหนดไปขึ้นศาล 6 ม.ค. หากถูกตัดสินมีความผิด อาจถูกลงโทษจำคุก 1 ปี หรือปรับ 2,680 ดอลลาร์ (ประมาณ 8,100 บาท) 

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/foreign/450961?adz=

 

4 ก.ค. 2565 – ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับการระบาดระลอกใหม่ของโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยว่า

Q8: โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2.75, BA.2.38, BE.1, และ BF.1 มีการกลายพันธุ์ไปมากน้อยแค่ไหน มีการระบาดที่รวดเร็วและก่อโรคโควิด-19 ที่รุนแรงมากหรือน้อยกว่าเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ที่ระบาดมาก่อนหน้านี้ และสายพันธุ์ใดน่ากังวลที่สุด

 

A8: BA.2.75 และ BA.2.38 ส่วนใหญ่พบในอินเดีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า B.1.1.529.2.75 และ B.1.1.529.2.38

BA.2.75 ควรเฝ้าระวัง เนื่องจากกลายพันธุ์ไปเกือบ 100 ตำแหน่ง จึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะระบาดเข้ามาแทนที่ BA.5 ซึ่งกลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสดั้งเดิมอู๋ฮั่น เพียง 85

 
 

รองลงมาคือ 2.38 กลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสโคโรนาดั้งเดิมประมาณ 75-80 ตำแหน่ง

BE.1 มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า B.1.1.529.5.3.1.1 ส่วนใหญ่พบในประเทศแอฟริกาใต้ กลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสโคโรนาดั้งเดิมประมาณ 80-85 ตำแหน่ง

BF.1 ยังไม่มีข้อมูลมากนัก

ในขณะที่ BA.5 กลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสโคโรนาดั้งเดิมประมาณ 80-85 ตำแหน่ง

โอมิครอน 4 สายพันธุ์ย่อยที่อุบัติใหม่นี้ ยังไม่มีข้อมูลในด้านความรุนแรงก่อโรคโควิด-19 (disease severity) ต้องเฝ้าระวังกันต่อไป

ยังไม่พบ BA.2.75, BE.1, BF.1 ในประเทศไทย

ส่วน BA.2.38 พบในประเทศไทยแล้วอย่างน้อย 2 ราย.

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/covid-19-news/173997/

 

 
คณะกรรมการสุราและกัญชาของรัฐวอชิงตัน แถลงเมื่อวันจันทร์(7มิ.ย.) จะอนุญาตให้ประชาชนวัยผู้ใหญ่ทุกคนรับกัญชาแบบพันลำฟรี เมื่อพวกเขาเข้าฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ในแคมเปญที่ใช้ชื่อว่า "Joints for Jabs" ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงวันที่ 12 กรกฎาคม และเป็นส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์ของรัฐ ในการโน้มน้าวใจประชาชนเข้าฉีดวัคซีนสกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

รายงานข่าวระบุว่าคณะกรรมการสุราและกัญชาแห่งรัฐวอชิงตัน กำหนดให้ร้านค้าปลีกกัญชาที่เข้าร่วมแคมเปญดังกล่าว สามารถแจกกัญชาเฉพาะแบบมวนสูบ ไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆอย่างเช่นของกินที่มีส่วนผสมของกัญชา (edible) แก่ลูกค้าอายุ 21 ปีขึ้นไป หากพวกเขาเข้ารับวัคซีนโควิด-19 โดสแรกหรือครบ 2 โดสเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ตอนนี้รัฐวอชิงตัน มีประชาชนราว 4.4 ล้านคน ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 โดส และกว่า 3.7 ล้านคนได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว และมาตรการฉีดแลกกัญชานั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ของอเมริกา เพราะก่อนหน้านี้รัฐแอริโซนานำร่องโครงการแจกกัญชาแลกกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 มาแล้ว

มาตรการนี้ไม่ใช่ยุทธศาสตร์เดียวของคณะกรรมการรัฐวอชิงตัน ในความพยายามเพิ่มจำนวนผู้เข้ารับวัคซีน โดยมันเข้ามาเสริมมาตรการแจกฟรีเบียร์ ไวน์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่นๆ ที่รัฐวอชิงตันนำมาใช้กระตุ้นประชาชนไปรับวัคซีนในช่วงที่ผ่านมา โดยแคมเปญดื่มฟรีจะมีผลไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน

รัฐอื่นๆและบรรดาบริษัทเอกชน มีมาตรการมากมายมาชักชวนชาวอเมริกันให้เข้ารับวัคซีนตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมเป็นต้นมา อาทิ แจกทุนการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้กับเยาวชนที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 ในรัฐนิวยอร์ก รวมทั้งลุ้นเงินล้านดอลลาร์ที่รัฐโอไฮโอ เป็นต้น ขณะที่รัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน มีเป้าหมายฉีดวัคซีนอเมริกันชนวัยผู้ใหญ่อย่างน้อยๆ 1 โดสให้ได้ในระดับ 70% ภายในวันที่ 4 กรฏาคม

จากข้อมูลพบว่ามีประชากรวัยใหญ่ของสหรัฐฯเข้ารับวัคซีนอย่างน้อยๆ 1 โดส คิดเป็นราวๆ 62% เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และในสัปดาห์นี้จำนวนเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 64%

(ที่มา:ซีบีเอสนิวส์)

เป็นเรื่องราวที่ถูกแชร์ต่อๆกันในโลกออนไลน์อยู่ในขณะนี้ หลังมีหญิงสาวรายหนึ่ง ที่เจอกับปัญหาโรงงานหยุดยาวไม่มีกำหนด เพราะสถานการณ์ของโควิด อีกทั้งสามีของเธอยังเป็นผีพนันเล่นจนหมดตัว สุดท้ายเธอจึงตัดสินใจเลิกรา และขอกลับบ้านเพื่อไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ ทั้งนี้เธอได้โพสต์เรื่องราวดังกล่าวไว้ในกลุ่ม ชุมชนคนรักบ่อวิน ระบุว่า

#ลาแล้วบ่อวิน โควิดเป็นเหตุโรงงานหยุดยาวๆไม่มีกำหนดเปิด. อยู่มา4ปีมีรถยนต์หนึ่งคัน. แต่สุดท้ายเป็นของคนอื่น เพราะผีพนันทำให้เหลือแต่ตัว(มีผัวผิดคิดฮอดมื้อตายจิง) มาสองแต่กลับคนเดียวกลับไปเอากำลังใจคำว่าผัวเลิกกันไปก็แค่คนอื่น ขอบคุณมิตรภาพเหมือนบ้านหลังที่สองขอบคุณประสบการณ์ในหลายๆอย่างทำให้เข้มแข็งมากขึ้น สุดท้ายก็ทำให้รู้ไม่มีทีไหนอยู่แล้วสบายใจเหมือนบ้านเรา. คนอยู่ก็สู้ต่อไปค่ะ

#ปลายทางหนองบัวลำภู #คนเหลือแต่ตัว

h

ซึ่งหลังจากที่เธอได้โพสต์ข้อความและรูปภาพลงไป ก็มีชาวเน็ตจำนวนมากได้พากันเข้ามาแสดงความคิดเห็นเชิงให้กำลังใจกับเธอ

 


 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.springnews.co.th/

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.springnews.co.th/social/698176

 

สำหรับคนที่ไม่ฉีด หรือรอวัคซีนอื่นอยู่ต้องเข้มงวดกับตัวเองสุดๆ (คนที่ฉีดแล้วก็เช่นกัน) อย่าให้ติด covid-19 เพราะอาจจะเป็นปัญหาสุขภาพระยะยาวได้ ด้านล่างเป็นข้อคิดเห็นหนึ่ง

Long Covid ปัญหาสุขภาพระยะยาว
โดย นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
Published 5/10/20
Update 24/12/20
11/06/21

16 เดือนหลังจากที่ covid-19 ระบาด มีคนป่วยแล้วทั่วโลกมากกว่า 170 ล้านคน ในบรรดาคนป่วย มีจำนวน165 ล้านคนที่รอดชีวิตจาก covid-19 คนเหล่านี้ 10% ถึง 30 % ยังต้องผจญกับปัญหาทางสุขภาพในระบบต่างๆ ของร่างกาย อันเป็นผลพวงจากความเสียหายที่ covid-19 ได้ส่งผลเสียหายระยะยาวต่ออวัยวะและระบบต่างๆ ในร่างกาย

พบว่าคนไข้ covid-19 จำนวน 8 ใน 1000 คน จะเสียชีวิตภายใน 1 ปี จากปัญหาต่างๆ รวมทั้งติดยาแก้ปวดและฆ่าตัวตาย

จากการติดตามคนไข้จำนวนมากในยุโรปและอเมริกาพบว่า มีคนป่วยส่วนหนึ่งมีอาการนานถึง 16 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น อาจเป็นปี คนป่วยเหล่านี้เรียกว่ากลุ่ม long covid

ตามปกติหลังจากป่วยเป็น covid-19 จะใช้เวลา 2-4 สัปดาห์ในการฟื้นตัว

กลุ่มอาการที่พบบ่อยในพวก long covid คือ อ่อนเพลีย chronic fatigue หายใจไม่เต็มอิ่ม ความจำระยะสั้นไม่ดี brain fog

จากการศึกษาของ King ‘s College พบว่า คนที่มีความเสี่ยงที่จะเป็น long covid คือคนแก่ ผู้หญิง คนที่นำ้หนักมาก คนที่มีหอบหืด asthma

คนป่วยที่มีอาการมากมีโอกาสที่จะเป็น long covid สูง แต่คนติดเชื้อที่ไม่มีอาการก็เป็น long covid ได้ โดยเฉพาะคนหนุ่มสาว คนที่มีอาการเมื่อป่วย covid 19 เกิน 5 อย่าง ไอ ปวดหัว ท้องเสีย สูญเสียการดมกลิ่น etc

ในอังกฤษ ที่ King's College ได้ใช้ app : Covid symtom study ศึกษาติดตามคนที่เคยติดเชื้อ covid-19 พบว่ายังมีคนไข้ที่เป็น long covid นับหลายแสนคน

ผู้เชี่ยวชาญส่วนหนึ่งเชื่อว่า คนไข้ long covid ส่วนหนึ่งจะมีอาการไปตลอดชีวิตเหมือนคนไข้ที่ติดเชื้อไวรัสบางอย่างเช่นใน myalgia encephalitis

แต่ในอเมริกาผู้เชี่ยวชาญจาก Mayo Clinic คือ Dr. Greg Vanichkachorn บอกว่าเรายังไม่รู้จำนวนคนไข้ที่แน่นอนว่ามีเท่าไหร่ที่หายป่วยแล้วเป็น long covid แต่อาจจะมีอยู่ 10-30% ของคนเคยติดเชื้อ covid-19

แต่เชื่อกันว่าคนอเมริกันนับแสนคนรวมทั้งคนหนุ่มสาวเป็น long covid และ Dr. Greenspan จาก ศูนย์ปอดใน New York บอกว่าคนไข้ long covid ในอเมริกาส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาว

ในเยอรมนี พบว่ามีคนเป็น long covid 3.5 แสนราย ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อระบบสุขภาพ

เชื้อ covid-19 เข้าไปทำร้ายอวัยวะระบบต่างๆ ในร่างกาย และทิ้งความเสียหายไว้ ถึงแม้ตัวไวรัส covid-19 จะถูกขจัดไปแล้ว

จากผลสำรวจคนไข้ที่เป็น long covid 1,500 คนในเดือน กรกฎาคม 2020 ส่วนหนึ่งจะปรากฏความเสียหายในปอดและหัวใจให้เห็นในการตรวจ แต่คนไข้อีกส่วนหนึ่งถึงแม้จะมีอาการมากแต่ตรวจเลือดหรือตรวจวิเคราะห์ต่างจะไม่พบสิ่งผิดปกติถึงแม้จะมีอาการมาก และพบว่ามีอาการต่างๆ ถึง 100 ชนิด

การศึกษาทำ MRI ของคนไข้หนุ่มสาวในอังกฤษ 4 เดือนหลังจากป่วยเป็น covid-19 พบว่ามีความเสียหายของอวัยวะหลายระบบ

พบว่า 25 %ของคนไข้จะมีความเสียหายมากกว่าสองระบบ ส่วนหนึ่งจะสัมพันธ์กับอาการที่เหลืออยู่

อีกการศึกษาหนึ่งในอังกฤษ โครงการ Coverscan program ศึกษาในคนที่ป่วยด้วย covid-19 จำนวน 58 คนแล้วต้องอยู่โรงพยาบาล หลัง 3 เดือนทำ MRI พบว่า 60% มีความเสียหายที่ปอด 28%เสียหายที่ไต 26%เสียหายที่หัวใจ และคนไข้ 10% มีความเสียหายที่ตับ

ระบบหายใจ
เป็นระบบที่พบบ่อยที่สุดในความเสียหายจาก long covid อาจเกิดจากความเสียหายโดยตรงต่อเนื้อปอด หรือเกิดจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงเนื้อปอดเกิดอุดตันอันเป็นผลสืบเนื่องจากไวรัส covid-19

คนไข้ส่วนหนึ่งหลังออกจากโรงพยาบาลแล้วยังมีปัญหา หายใจไม่เต็มอิ่ม อาจมาจากเนื้อปอดถูกทำลาย ทำให้เหนื่อยง่าย บางคนต้องใช้ออกซิเจนกระป๋องตลอดเวลา ผลการศึกษาของ Mayo clinic ทำ CT scan ในกลุ่มคนที่ไม่มีอาการ ก็พบว่าเนื้อปอดมีร่องรอยการถูกทำลาย มี scar ในเนื้อปอด

การศึกษาของ Oxford ก็สนับสนุนว่ามีความเสียหายในเนื้อปอด โดย Professor Gleeson พบว่าในคนไข้ที่มีอาการหายใจไม่เต็มอิ่ม หลังจากป่วยจาก covid-19 พบว่า 8 ใน 10 คนมีความเสียหายของเนื้อปอด จากการศึกษาด้วย xenon scan คนไข้เหล่านี้ตอนป่วยไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ventilator การตรวจ scan ธรรมดาจะไม่พบสิ่งผิดปกติ

ระบบประสาท
คนไข้ส่วนหนึ่งหลังจากออกจากโรงพยาบาล ต้องพิการจาก stroke เป็นอัมพาตจากการที่ covid ทำให้เส้นเลือดที่ไปที่สมองอุดตัน ปกติ stroke จะเกิดในคนอายุมากเฉลี่ย 70 ปีขึ้นไป แต่ covid-19 อาจทำให้เกิด stroke ในคนอายุน้อยคือระหว่าง 40-50 ปี

ในการศึกษาวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Lancet ได้ทำ MRI ของสมองของคนที่ตรวจพบว่าเคยติดเชื้อ covid-19 จำนวน 60 คน พบว่าเนื้อสมองมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับคนปกติเมื่อเวลาผ่านไป 3 เดือน ซึ่งทำให้อธิบายได้ว่าทำไมคนไข้บางคนมีความจำเสื่อม เสียสมาธิง่าย เกิด brain fog

คนไข้จำนวนหนึ่งจะสูญเสียระบบประสาทการรับรสและการดมกลิ่นอย่างถาวร

พบว่าคนไข้ส่วนหนึ่งมีอาการปวดจากปลายประสาทอักเสบเรื้อรัง burning pain

ระบบหัวใจ
ไวรัส covid-19 จะทำลายกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง ทำให้การสูบฉีดโลหิตของหัวใจสูญเสียคุณภาพไป หรืออาจเกิดจากเส้นเลือดหัวใจอุดตันจาก blood clot

การศึกษาในเยอรมนี คนไข้ 78 คน จาก 100 คน มีหัวใจที่ผิดปกติ การศึกษาที่ Wuhan ศึกษาในคนไข้ 416 คนที่เคยรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 20% มีกล้ามเนื้อหัวใจที่ผิดปกติ

ระบบการทำงานของไต
พบว่า covid-19 ทำให้คนไข้ส่วนหนึ่งมีไตวายเรื้อรัง ทำให้คนป่วยต้องมาล้างไตอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลจากเนื้อไตถูกทำลายจากไวรัส หรือไวรัสทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดเล็กๆ ที่มาเลี้ยงไต ทำให้ไตเสียหาย

ที่อังกฤษ 28% ของคนป่วยใหม่อายุระหว่าง 20-29 ปี จะอ่อนเพลียเหนื่อยง่ายกลับไปทำงานหรือออกกำลังกายไม่ได้ เป็น long covid ที่เรียกว่า chronic fatigue syndrome นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า เกิดจากการแปรปรวนของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำให้ร่างกายคิดว่ายังมีไวรัสอยู่ ทำให้รบกวนระบบประสาทและ hypothalamus

การศึกษาจาก Emory university พบว่า ผู้ป่วย covid-19 ส่วนหนึ่งจะสร้าง antibody ที่มีผลต่ออวัยวะผู้ป่วยเอง คือ autoantibodies ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของ long covid

เมื่อเชื้อ covid-19 เข้าสู่ร่างกาย ส่วนหนึ่งของ gene ของ covid จะกระตุ้นให้ B cell สร้าง antibody แต่บางครั้งระบบแปรปรวน B cell จะสร้าง antibody ที่มาต่อต้าน gene ของคนไข้เอง

ทีมนักวิทยาศาสตร์ของ Emory ตรวจเลือดของคนไข้ที่เคยป่วยหนักที่ Atlanta 52 คน พบว่า 44% มี autoantibodies ภูมิคุ้มกันต่อตัวเองต่อ gene ของผู้ป่วย

ดังนั้น คนไข้ long covid อาจจัดเป็นโรคกลุ่มเดียวกันกับ SLE และโรค Rheumatoid ซึ่งเป็น autoimmune มีภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวเอง จะไม่สามารถรักษาให้หายขาด

Dr. Greg Vanichakorn จาก Mayo Clinic เมื่อดูจากประสบการณ์ของโรค Sars ปี 2003 ซึ่งเป็น coronavirus เหมือนกัน long covid อาจใช้เวลาประมาณหนึ่งปี อาการถึงจะดีขึ้น

คำอธิบายสำหรับการเกิด long covid มี 3 ทฤษฎี

ทฤษฎืที่หนึ่ง คือระบบภูมิคุ้มกันเกิดเรรวนหลังจากการติดเชื้อ covid-19 ทำให้ร่างกายสร้างระบบภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อตัวเอง autoimmunity

ทฤษฎีที่สอง หลังติดเชื้อ covid-19 แล้วยังมีเศษชิ้นส่วนของไวรัสอยู่ในร่างกายคนไข้ ทำให้มีการอักเสบเรื้อรังเกิดขึ้นอีก

ทฤษฎีที่สาม คือไวรัสยังซ่อนตัวอยู่ในร่างกาย รอจนร่างกายอ่อนแอแล้วจึงกลับมาปรากฏตัวเป็นปัญหากับร่างกายอีกครั้ง

Dr. Fedrico Cerrone จาก New Jersey รักษาคนไข้ long covid 500 ราย นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2020 บางคนอาการดีขึ้น บางคนยังมีอาการทางระบบหายใจเรื้อรังอยู่

แต่ในระยะหลังเป็นที่น่าแปลกใจที่คนไข้ long covid ส่วนหนึ่งมีอาการดีขึ้น โดยเฉพาะหลังจากฉีดวัคซีน covid-19

ซึ่งมีคำอธิบายว่า วัคซีนอาจกระตุ้นให้ร่างกายสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ไปต่อสู้กับระบบภูมิคุ้มกันที่ทำร้ายคนไข้จากผลของไวรัส autoimmunity

ยังมีหลายๆ สิ่งที่เรายังไม่เข้าใจธุรกิจ เกี่ยวกับ long covid ซึ่งคงต้องติดตามศึกษาต่อเไป

โดย นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
เป็นความเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวกับองค์กร

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ