26 ก.ย. 64 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 วัคซีน บทเรียนจากต่างประเทศ

ประเทศชิลีมีประชากร 19 ล้านคน สามารถให้วัคซีนครอบคลุมได้ครบ 2 เข็มถึงจะ 73.7 เปอร์เซ็นต์ การใช้วัคซีนหลากหลาย โดยเริ่มวัคซีนหลักเป็นวัคซีนเชื้อตาย และมีวัคซีน virus Vector และ mRNA มาใช้ในภายหลัง  มีการกระตุ้นเข็ม 3  และเริ่มให้วัคซีนเชื้อตายกับเด็กอายุ 6 ขวบขึ้นไป ตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน เป็นประเทศแรกในลาตินอเมริกา ที่ให้วัคซีนกับเด็กอายุ 6 ขวบ

 
 

ประเทศสหรัฐอเมริกา มีประชากร 331 ล้านคน สามารถฉีดวัคซีนครอบคลุมได้ครบ 2 เข็ม 55.5 เปอร์เซ็นต์ วัคซีนหลักที่ใช้จะเป็น mRNA ส่วนน้อยจะเป็น virus vector  ของ Johnson & Johnson ขณะนี้ยังพบการระบาดมีผู้ป่วยวันละกว่าแสนราย และเสียชีวิตมากกว่า 1000 ราย.

 

12 ส.ค.2563 -  นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ในหัวข้อ “โควิด 19 ความหลากหลายทางพันธุกรรม กับ การกลายพันธุ์” ระบุว่า อยากจะทำความเข้าใจ เพื่อจะได้ไม่ต้องไปโหนกระแส 

ความหลากหลายทางพันธุกรรม (Polymorphism) ในส่วนของ DNA และ RNA เป็นการเปลี่ยนแปลงทางวิวัฒนาการ เช่นในมนุษย์ ทำให้เกิด สูง ต่ำ ดำขาว ผิวขาว ผิวสี ผิวแบบคนเอเชีย โดยที่ทุกคนก็ยังเป็นคน ทำนองเดียวกัน เชื้อโควิด ก็มีการวิวัฒนาการเกิดความหลากหลายทางพันธุกรรม เป็นสายพันธุ์ต่างๆ เป็นสายพันธุ์ S, L, V, G โดยบทบาทใหญ่ก็ยังเป็นเชื้อโควิด ทั้งด้านความรุนแรงและระบบภูมิต้านทานก็ยังคงเหมือนเดิม
การกลายพันธุ์ (Mutation) เป็นการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม หรือ DNA RNA ทำให้ มีลักษณะแตกต่างจากเดิม ทำให้การทำงาน การแสดงออก หรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป เช่นไข้หวัดนก H5 เดิมอยู่ในนก นกส่วนใหญ่ไม่มีอาการ แต่เมื่อมีการสอดแทรก RNA ในส่วน ของยีน H5 ทำให้เพิ่มการสร้างกรดอะมิโนที่เป็น Basic ในบริเวณจุดตัด cleavage site ทำให้ไวรัสคุกคามนกได้ง่าย และเกิดความรุนแรงในนก และยังมีโอกาสข้ามมายังคนได้ ดังในอดีตที่เราเจอปัญหา ไข้หวัดนก

 

ในทำนองเดียวกัน เชื้อโควิด-19 ขณะนี้ ยังเป็นความหลากหลายทางพันธุกรรม ตามวิวัฒนาการ เปลี่ยนแปลงจากบรรพบุรุษ เป็นสายพันธุ์ต่างๆ และมีการแพร่กระจายออกไปทั่วโลก สายพันธุ์ G ระบาดมากและแพร่กระจายได้ง่าย ในยุโรปและอเมริกาเข้าสู่ตะวันออกกลาง จึงเป็นสายพันธุ์เด่นในขณะนี้เส้นทางกลับสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทยก่อนหน้านี้พบๆสายพันธุ์เด่น เป็นสายพันธุ์ S 

นักวิทยาศาสตร์ที่ทำการศึกษาวิจัยจากหลายแห่ง ที่เผยแพร่ในวารสาร ศึกษาวิจัย พบว่า สายพันธุ์ G แพร่กระจายได้ง่าย (Korber B et al Cell, 2020, Yurkovetskiy L et al, bioRxiv 2020, Zhang L et al BioRxiv 2020,) แต่โรคไม่ได้ทำให้โรครุนแรงขึ้น เปลี่ยนแปลงระบบภูมิต้านทานแต่อย่างใด

ความหลากหลายทางพันธุกรรม ยังมีประโยชน์ในการติดตาม แยกแยะ หรือ หาแหล่งที่มา เช่นในการพิสูจน์เอกลักษณ์ของบุคคล ของสิ่งมีชีวิตรวมทั้งไวรัส

 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.thaipost.net/main/detail/74179

23 ก.พ.64-ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ว่า โควิด 19 วัคซีน  ทำไมวัคซีน Sinovacฉีดให้กับผู้มีอายุ 18 ถึง 59 ปี

จากการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย ข้อมูลของวัคซีน Sinovac ยังมีข้อมูลการฉีดวัคซีนในผู้ที่อายุเกิน 60 ปี มีจำนวนน้อย  

จากการศึกษาในระยะที่ 1 ถึงระยะที่ 3  มีผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี อยู่เกือบร้อยละ 4

ดังนั้นทางคณะกรรมการ จึงอนุญาตให้ฉีดในภาวะฉุกเฉิน กับผู้ที่มีอายุ 18 ถึง 59 ปี เช่นเดียวกัน ทำไมไม่ให้เด็กต่ำ
กว่าอายุ 18 ปี ก็เพราะยังไม่มีข้อมูลในการศึกษาในกลุ่มอายุดังกล่าว 

ในทางปฏิบัติจึงจะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ที่ถูกกำหนดไว้ และในอนาคตข้างหน้าเมื่อมีข้อมูลการฉีดในผู้สูงอายุมากเพียงพอ ก็จะขยับการฉีดวัคซีนในผู้สูงอายุต่อไป

ในวันข้างหน้า หรือในระยะเวลาอันใกล้ มีความเป็นไปได้สูงมาก ที่จะขยับอายุขึ้นไป เมื่อมีข้อมูลมากพอ

อย่างไรก็ตามถ้าผู้ที่มีอายุ 60 ปีหรือมากกว่า และมีความเสี่ยงสูง  ที่จะติดเชื้อหรือป่วยเป็นโรคโควิด 19 และเกิดอันตรายได้สูง อย่างเช่นคุณหมอจังหวัดมหาสารคาม ก็สามารถที่จะให้ได้ แต่จะต้องประเมิน ประโยชน์ที่จะได้จากวัคซีน มากกว่าอาการข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น โดยแพทย์ได้ให้ข้อมูลทั้งหมด และเจ้าตัวยินดีรับความเสี่ยง ก็สามารถทำได้ ด้วยความยินยอมของผู้นั้น 

โดยความเห็นส่วนตัว ในระยะเวลาอันใกล้ ข้อมูลการฉีดวัคซีนในผู้สูงอายุ ก็จะมีเพิ่มขึ้นและคงจะได้ฉีดกันทุกคน อดใจรอ.

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/main/detail/93923

 
 

3 พ.ค.2563 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะ แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ 'โควิด 19 กับความซื่อสัตย์'

เมื่อวานเล่าเรื่องคุณหมอโนกุจิ วันนี้ขอเล่าต่อ ในภาวะที่มีการระบาดของโรค โควิด 19 และในยามปกติ  

 

สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ “ความซื่อสัตย์” ผู้ป่วยไปหาหมอถ้าไม่บอกความจริงทั้งหมด ก็จะทำให้บุคลากรทางการแพทย์ติดโรคเป็นจำนวนมาก ที่ผ่านมามีโรงพยาบาล  แห่งหนึ่งติดโรค จากผู้ป่วยอยู่คนเดียว ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ ติดโรคไปร่วม 10 คน

ถ้าเราเป็นกลุ่มเสียงสัมผัสโรคมา หรือไม่สบายเจ็บป่วย ควรบอกความจริง กับแพทย์ผู้รักษา  ตั้งแต่การตรวจกรองเข้าโรงพยาบาลตามความเป็นจริง การบริจาคโลหิตก็เช่นเดียวกัน จะมีให้กรอกข้อมูล  ก็ขอให้บอกตามความเป็นจริง

คุณหมอโนกุจิ มีความคิดและเป็นนโยบายส่วนตัว เน้นถึงความซื่อสัตย์ ผมได้เห็นบันทึกของคุณหมอ และบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร American J Trop Med Hyg ในปี 1928  เชื่อเลยว่าคุณหมอเป็นคนซื่อสัตย์มาก ในบทความนี้ เขียนการทดลองที่ใช้เชื้อไข้เหลือง จากคนไข้ชื่อ อาชีบี้ ไปฉีดให้ลิง ลิงเสียชีวิตจากไข้เหลือง แต่คนไข้ อาชีบี้ ไม่ตาย และต่อมาไวรัสของคนไข้ ที่เอามาทำวัคซีน ไข้เหลือง จึงชื่อว่า อาชีบี้ ที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ 

ถ้าใครอ่านหนังสือการ์ตูนถึงตอนนี้ จะทราบว่าท่านได้ทำร่วมกับหมอหลายคน ในการหาเชื้อก่อโรคที่ทำให้เกิดไข้เหลือง และใช้ลิงเป็นสัตว์ทดลอง จุดอวสานของท่าน ท่านติดโรคไข้เหลือง ที่ได้รับจากลิงในการทดลอง และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ในหน้าที่การงาน 
ที่หลุมศพของคุณหมอโนกุจิ ถ้าใครไปมา จะได้เห็น ลายมือของคุณหมอ noguchi เขียนไว้ ว่า ความซื่อสัตย์เป็นนโยบายที่ดีที่สุดของเรา

จึงอยากสอนให้ทุกคนมีความซื่อสัตย์ไม่ว่าจะเป็นหมอหรือไม่ใช่เป็นหมอ

​ในการควบคุมโรคระบาด โควิด 19 นอกจากความซื่อสัตย์แล้วยังต้องอาศัยระเบียบวินัย ถ้าทุกคนช่วยกันมีระเบียบวินัย ปฏิบัติตามคำแนะนำ ให้มากที่สุด คงไม่ต้องใช้กฎหมายโรคติดต่ออันตรายมาบังคับ เราก็จะสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ หรือแม้แต่การระบาดก็จะทำให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด

ยังมีอีกหลายตอนที่คุณหมอโนกุจิ ได้พยายามต่อสู้กับโรคระบาด เช่นโรคกาฬโรคในจีน โรคซิฟิลิสในอเมริกา และไข้เหลืองในแอฟริกา จะได้นำมาเล่าต่อไป

ศาสตราจารย์นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thaipost.net

เนื้อหาต้นฉบับ http://www.thaipost.net/main/detail/64908

 


14 ส.ค.63 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความระบุว่า
เมื่อนักเรียนเปิดเทอม ในยุค โควิด-19
ขณะนี้ไข้หวัด ในเด็กนักเรียน พบได้บ่อยมากขึ้น
เด็กเริ่มเจ็บป่วยมากขึ้น เริ่มเห็นเป็นกลุ่มก้อน และจากการตรวจ ที่ศูนย์ไวรัส จุฬา จะพบเป็น Rhinovirus
Rhinovirus จะมี 3 กลุ่ม คือ A B และ C
Rhinovirus C จะมีอาการมากวาง A และ B
Rhinovirus C บางรายลงหลอดลมจะมีหายใจเร็วและหอบ คล้าย RSV
พบในเด็กอนุบาล เด็กประถมเป็นส่วนใหญ่
หลานที่บ้าน 3 คน เริ่มจากอนุบาลก่อน และเป็นไล่กันหมด ตามมา
อาการจะมีไข้ต่ำๆเท่านั้น แล้วตามมาด้วย หวัดและไอ
และจะติดกันเป็นกลุ่มก้อนในเด็กนักเรียน
น้องจะไปให้พี่ จึงพบได้บ่อยในขณะนี้

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.thaipost.net/main/detail/74382

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ