ภาพจาก www.cnn.com
ไวรัสอีโบลา มีการระบาดครั้งแรกเมื่อประมาณ 40 ปีมาแล้ว แต่ครั้งนั้นการระบาดไม่รุนแรง และไม่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางเหมือนการระบาดครั้งนี้ ซึ่งพบว่าเริ่มมีการระบาดครั้งแรกประมาณเดือน กรกฎาคมและแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว ในทวีป อาฟริกาตะวันตก และเริ่มมีการแพร่เข้าสู่ทวีปอื่นๆ ทั้งอเมริกา ออสเตรเลียและเอเซีย
โดยทั่วไปจุลินทรีย์ ที่ก่อให้เกิดโรคต่างๆจะมีความจำเพาะ และก่อให้เกิดโรคได้เฉพาะในสิ่งมีชีวิตที่มันสามารถเข้าไปอาศัยอยู่ได้เท่านั้น เช่นจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคในพืช ไม่สามารถเข้ามาเจริญและก่อให้เกิดโรคในสัตว์หรือในคนได้ หรือจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคในสัตว์ก็ไม่สามารถเข้ามาก่อโรคในคน และในพืชได้ ในทำนองเดียวกัน จุลินทรีย์ ที่ก่อให้เกิดโรคในคนส่วนใหญ่ ก็ไม่สามารถเข้าไปก่อให้เกิดโรคในสัตว์ และในพืชได้ แต่ก็มีข้อยกเว้น เนื่องจากมีจุลินทรีย์ หลายชนิดสามารถเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของตัวเองจนสามารถเข้าไปก่อโรคข้ามชนิดของสิ่งมีชีวิตได้ โดยเฉพาะที่พบบ่อยขึ้นในปัจจุบันคือ ปรสิต แบคทีเรีย และไวรัส หลายชนิด สามารถก่อโรคได้ทั้งในคนและในสัตว์เช่น เชื้อ แอนแทรกเป็นแบคทีเรียที่ก่อโรคได้ทั้งในคนและในสัตว์ ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าที่กินพืชเป็นอาหาร หรือ พยาธิใบไม้ในตับ เป็นปรสิตที่ก่อโรคได้ทั้งในคน และในสัตว์จำพวกสุนัขและแมว เป็นต้น แต่ในจำนวนสิ่งมีชีวิตก่อโรคเหล่านี้ ไวรัส เป็นจุลินทรีย์ ที่มีขนาดเล็กที่สุด มีความสามารถเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของตัวเองเพื่อเข้าสู่สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ๆ ได้รวดเร็วที่สุด ในช่วง 20 ปี ที่แล้วมา มีไวรัสที่อาศัยอยู่ในสัตว์ตามปกติได้มีการพัฒนาจนเข้ามาก่อให้เกิดโรคในคนได้หลายชนิด เช่น ไวรัสโรคเอดส์ ซึ่งปกติอาศัยอยู่ในสัตว์จำพวกลิง ไวรัสโรคซาร์ (SAR) ติดต่อสู่คนจากสัตว์จำพวกหมู ไวรัสโรคเมอร์ (MERS) ติดต่อสู่คนโดยผ่านสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงจำพวกค้างคาวและอูฐ และไวรัสโรคไข้หวัดนก นำโรคเข้าสู่คนโดยสัตว์ปีก เป็นต้น
ไวรัสอีโบลา เริ่มระบาดครั้งแรกในปีนี้ เมื่อประมาณเดือน กรกฎาคม 2557 ใน 3 ประเทศ คือ Guinea, Sierra Leone และ Liberia ซึ่งอยู่ในภาคตะวันออกของทวีป อาฟริกา ต่อมาการระบาดได้เข้าสู่ประเทศใกล้เคียง เช่น Nigeria และ Senegal และ Congo รวมทั้งเริ่มกระจายไปสู่นอกทวีปอาฟริกา โรคอีโบลา เป็นโรคระบาดร้ายแรงเนื่องจาก ผู้ติดเชื้อมีโอกาสเสียชีวิตสูงถึงประมาณร้อยละ 50
ตารางแสดงสถานการณ์ล่าสุดโรคอีโบลาในโลก
ประเทศ |
จำนวนผู้ติดเชื้อ |
จำนวนผู้เสียชีวิต |
จำนวนผู้สงสัยติดเชื้อ |
Liberia |
3,924 |
2,210 |
- |
Sierra Leone |
2,789 |
879 |
- |
Guinea |
1,298 |
768 |
- |
Congo |
70 |
43 |
- |
Senegal |
1 |
- |
- |
Nigeria |
20 |
8 |
- |
United States |
1* |
1 |
- |
Australia |
- |
- |
11 |
Taiwan |
- |
- |
1 |
Spain |
1 |
- |
- |
Czech Republic |
- |
- |
1 |
Macedonia |
- |
- |
1 |
รวม |
8,084 |
3,909 |
14 |
* ติดเชื้อมาจากนอกประเทศ
* ข้อมูลจาก Bangkok Post October 11, 2014
ข้อมูลปัจจุบันเชื่อว่าไวรัสอีโบลาติดต่อระหว่างมนุษย์จากการสัมผัสสิ่งคัดหลั่ง เช่นเลือด น้ำเหลือง น้ำมูก น้ำลาย ระยะฟักตัวของอีโบลา ประมาณ 21 วัน หลังการได้รับเชื้อผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง อาเจียน ปวดท้อง มีเลือดออก ที่อวัยวะภายใน ผู้ป่วยจะมีอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่ได้รับการดูแลที่ดี มากกว่า 50% ของผู้ป่วยจะเสียชีวิต สาเหตุที่เชื่อว่าโรคติดต่อโดยการสัมผัสเท่านั้น เนื่องจากการติดต่อมักเกิดขึ้น ภายในครอบครัวหรือผู้ที่ทำงานใกล้ชิดผู้ป่วย โดยเฉพาะกลุ่ม เจ้าหน้าที่ทางสาธารณสุข เช่นแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ที่ทำงานใกล้ชิดกับผู้ป่วยอื่นๆ ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าจำนวนผู้ติดเชื้อที่แท้จริงน่าจะมีมากกว่า ที่ได้รับรายงานไว้มาก และมีการคาดการณ์ว่า ถ้ายังไม่มีการควบคุมที่ดี เมื่อถึงเดือน มกราคม 2558 อาจมีผู้ติดเชื้อถึง 1.4 ล้านคน อาจก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษกิจ แก่ประเทศที่มีการระบาดมหาศาล
ข้อมูลล่าสุด (12 ตุลาคม 2557) มีผู้ป่วยในประเทศแถบอาฟริกาตะวันตกทั้งสิ้น 8,398 คน เสียชีวิตแล้ว 4,033 คน และพยาบาลผู้ดูแลผู้เสียชีวิตด้วยอีโบลาคนแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ติดเชื้อไวรัสอีโบลาด้วยแล้ว