โรคไข้เลือดออก Crimean-Congo
โรคนี้มีการระบาดรุนแรงตั้งแต่ช่วงปี 1944 – 1945 ที่คาบสมุทร Crimean ซึ่งมีผู้เสียชีวิตประมาณ 10 % ต่อมาจึงพบว่า เป็นไวรัสชนิดเดียวกับชนิดที่แยกได้จากประเทศ Congo จึงเป็นที่มาของชื่อ Crimean – Congo Hemorrhagic Fever (CCHFV) โรค CCHFV มีรายงานพบในหลายพื้นที่ของทวีปแอฟริกา ตะวันออกกลาง ยุโรป และ เอเชีย ปัจจุบัน มีรายงานโรค CCHFV ในหลายประเทศ อาทิเช่น ปากีสถาน อิหร่าน อินเดีย เป็นต้น รวมทั้งมีรายงานตรวจพบแอนตีบอดีต่อ CCHFV ในหลายประเทศ ในทวีปยุโรป
CCHFV เป็น Single standard RNA ไวรัส เป็นไวรัสที่อยู่ในสัตว์เลี้ยง และ สัตว์ป่า จำพวก โค กระบือ แพะ แกะ กระต่าย โดยสัตว์ไม่แสดงอาการเกิดโรค คนได้รับเชื้อไวรัสโดยการกัดของเห็บซึ่งติดเชื้อ (Tickborne) และ การได้รับเชื้อจากเลือดของสัตว์ที่ติดเชื้อโดยตรง อาการของโรคช่วงแรกจะมีอาการมีไข้ หนาวสั่น ปวดท้อง ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หลังอาการช่วงแรก 3 – 6 วัน จะมีอาการของเลือดออกเป็นจุดๆ ใต้ผิวหนัง เหงือก จมูก และ อวัยวะภายใน อัตราการเสียชีวิต อาจสูงถึง 50 %
การวินิจฉัยอาจทำได้หลายวิธี เช่น ตรวจหาแอนตี้บอดี้ต่อไวรัส ตรวจหาไวรัส RNA โดยวิธี RT – PCR รวมทั้งการแยกเชื้อของผู้ป่วยโดยตรง ที่สำคัญ คือ จะต้องวิเคราะห์ แยกโรค จากการติดเชื้อชนิดอื่น เช่น Leptospirosis, dengue hemorrhagic fever, typhoid fever, Ricket tsia infection etc .,
การป้องกันและการรักษา ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการที่ได้ผลดี การพัฒนาวัคซีนกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการสำหรับการรักษา ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการที่ชัดเจน โดยมีการพยายามใช้การรักษา โดยใช้ เซรั่มจากผู้ที่หายจากโรค รวมทั้งใช้ยาต้านไวรัสทั่วๆไป แต่ผลการรักษาปัจจุบันยังไม่มีความแน่นอน
ยังไม่เคยมีรายงานโรค CCHFV ในประเทศไทย แต่ควรจะมีการเฝ้าระวังที่เข้มงวด เพราะโรคนี้มีโอกาสแพร่กระจายเข้ามาในประเทศไทย ได้เช่นเดียวกับโรคติดต่อระหว่างสัตว์ และ คน ชนิดอื่นๆ