Font Size

โรคไลม์ (Lyme disease)

                โรคไลม์มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย genus borrelia ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม spirochetes มี flagellum ช่วยใน

การเคลื่อนไหว ชนิดที่พบทำให้เกิดโรคได้บ่อยคือ Borrelia burgdorferi และ ยังมีชนิดอื่นๆที่พบได้เช่นกัน อาทิเช่น

B.afzelii , B. garinii และ B.burgdorferi sensu stricto etc.

                สัตว์ที่ติดเชื้อโรคไลม์ และ เป็นแหล่งกักตุนโรคมีทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า จำพวก สุนัข ม้า วัว ควาย เป็นต้น

รวมทั้งเคยมีรายงานการติดเชื้อในหนูด้วย เห็บ (ticks) เป็นพาหะนำโรค ซึ่งมี 2 ชนิด ได้แก่ Ixodes scapularis และ

I.pacificus ซึ่งได้รับเชื้อจากการกินเลือดจากสัตว์ที่เป็นตัวกักตุนโรค และนำเชื้อโรคเข้าสู่คนโดยการมากัดกินเลือดคนจาก

การที่คนเข้าไปใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าที่ติดเชื้อ

                อาการของโรคไลม์ในคนจะแสดงขึ้นหลังได้รับเชื้อ 2-4 สับดาห์ โดยอาการที่พบได้บ่อยคือมีไข้ อ่อนเพลีย ปวดหัว

ปวดข้อ รวมทั้งอาการ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น การวินิจฉัยโรคเบื้องต้นทำได้โดย สังเกตอาการณ์มีผื่นบวมแดงบน

ผิวหนังบริเวณที่เห็บกัด ซึ่งมีลักษณะกลมและมีขอบนูนขึ้นโดยรอบคล้ายตาวัวเรียกว่า erythema migrans หรือ       

bull-eye rash สำหรับการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการทำโดยการตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ Borrelia ในเลือดหรือใน

น้ำไขสันหลัง ซึ่งทำได้หลายวิธีเช่น enzyme immunoassay (EIA) , immunofluorescent antibody (IFA) เป็นต้น

โรคนี้สามารถรักษาได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม