Font Size

            CRISPR มีความหมายถึง “clustered regularly interspaced palindromic repeats” โดยทั่วไป CRISPR technology จะประกอบไปด้วย เอนไซม์ชนิดหนึ่งได้แก่ CAS9 ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่แทนมีดผ่าตัดเข้าไปตัด DNA โดยใช้RNA เป็นตัวทำหน้าที่นำเอนไซม์ไปตัด DNA ตรงจุดที่ต้องการให้ตัด เพื่อให้ได้ โมเลกุลของ DNA ที่ต้องการ

 

                การนำทางของ RNA มีความแม่นยำสูงมากทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถใส่ส่วนของ DNA ที่สร้างขึ้นเข้าไป แทนที่ DNA ที่ถูกตัดออกไปได้อย่างถูกต้องพร้อมๆกับเอนไซม์ CAS9 จะทำหน้าที่กำจัด DNA ที่ถูกตัดออกไป เทคโนโลยีนี้นับเป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์ สามารถทำการเปลี่ยนแปลง ขจัดออก หรือจัดระเบียบใหม่ของโมเลกุลของ DNA ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดได้อย่างรวดเร็วทำให้เป็นความหวังของการนำมาใช้ในการควบคุม หรือรักษาโรคได้หลายอย่างอาทิเช่น การควบคุมประชากรยุง ซึ่งเป็นพาหะของโรคหลายโรค อาทิเช่น ยุง Genus Anopheles นำเชื้อมาลาเรีย ยุง  GenusAedes นำเชื้อโรคหลายอย่างเช่นโรค yellow fever,โรค dengue fever,โรค chikungunya , โรค west nile virus และโรค Zika ซึ่งสามารถทำได้โดยการเปลี่ยนยีนของยุงเพื่อให้เสียความสามารถในการแพร่กระจายโรค เช่น การเปลี่ยนแปลงของยุงพ่อแม่ ให้ออกลูกที่เป็นหมัน เป็นต้น นอกจากนั้นยังได้มีความพยายามศึกษาที่จะใช้เทคโนโลยีนี้กำจัด HIV จาก DNA ของมนุษย์การวิจัยในการที่จะนำ CRISPR เทคนิคมาใช้ในทางการแพทย์มีความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว อาทิเช่น การวิจัยเพื่อค้นคว้าหายาที่มีประสิทธิภาพจำเพาะในการหยุดยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งแต่ละชนิด การวิจัยเพื่อเปลี่ยนแปลงยีนในเซลล์ต้นกำเนิด (stem cells) ของผู้ป่วยโรคเลือดออกไม่หยุด (hemofilia) ให้กลับมาเป็นเซลล์ปกติ หรือการวิจัยเพื่อหาวิธีการกำจัดไวรัส PERVs (porcine endogenous retrovirus) ซึ่งเป็นไวรัสที่มีอยู่ใน DNA ของหมูโดยทั้วไป เพื่อที่จะสามารถนำอวัยวะของหมูมาปลูกถ่ายให้แก่คนได้เป็นต้น รวมทั้งการสร้างสายพันธ์ของพืชที่มียีนที่สามารถต่อต้านศัตรูพืช หรือยีนที่ทำให้พืชไม่เป็นที่สนใจของแมลง เป็นต้น หรือการสอดใส่ยีนเข้าไปใน DNA ของพืชเพื่อให้สามารถสร้างสารที่ต้องการได้จำนวนมากขึ้น เทคโนโลยีนี้เรียกรวมๆว่าวิศวกรรมพันธุศาสตร genetics engineering

 

            สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม หรือ genetically modified organisms (GMOs) นี้แม้จะมีประโยชน์มากแต่ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบในทางเสียหายด้วยเช่นกัน เนื่องจากสิ่งมีชีวิตที่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมไปแล้ว การเปลี่ยนแปลงให้กลับสู่สภาวะเดิมทำได้ยาก สัตว์หรือพืช GMOs ที่ถูกสร้างขึ้นแล้วเมื่อมีการแพร่กระจายออกไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและภาวะแวดล้อมซึ่งเป็นสิ่งที่เรายังไม่รู้แน่ชัดจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อไป