หลังจากที่อังกฤษได้มีการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดอย่างเป็นทางการเมื่อวานนี้
ก็พบเหตุการณ์ที่ผู้ฉีดวัคซีนจำนวน 2 ราย
พบผลข้างเคียงรุนแรงมากระดับเรียกว่าช็อค (Anaphylactoid reaction)
โดยทั้งสองรายซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เป็นผู้ที่มีประวัติอาการแพ้สิ่งอื่นแบบรุนแรงอยู่แล้ว จนต้องพกยาฉีดป้องกันแพ้แบบติดตัวไว้ตลอดเวลา( Adrenaline injection หรือ Epi-pen)
จากการทดลองในเฟสสามของไฟเซอร์ พบว่าวัคซีนที่ฉีดระดับสี่หมื่นคน มีผู้ที่แพ้แบบไม่รุนแรงเป็นจำนวนพอสมควร
และแพ้ปานกลาง 137 ราย จากอาสาสมัคร 19,000 ราย แต่แพ้ถึงขั้นช็อคนั้นยังไม่พบ
แต่เมื่อวัคซีนดังกล่าวถูกนำไปฉีดให้กับประชาชนเป็นการทั่วไปในประเทศอังกฤษเมื่อวานนี้ ในจำนวนนับพันคนต่อวัน ตามที่เป็นข่าวไปแล้วนั้น
จากการติดตามภายใน 24 ชั่วโมงแรก มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของอังกฤษที่รับวัคซีน มีอาการแพ้แบบรุนแรงถึงสองราย(Anaphylactoid reaction )
อาการแพ้รุนแรง รวมถึง ผิวหนัง เกิดอาการคันและบวม หน้าและลิ้นบวม หายใจลำบาก ความดันตก และอาจเสียชีวิตได้
โชคดีที่ผู้มีอาการแพ้ สามารถแก้ไขได้สำเร็จเรียบร้อย ไม่ถึงขั้นเสียชีวิต
จึงมีข้อแนะนำเบื้องต้นจาก MHRA (ซึ่งเป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้ฉีดวัคซีนนี้ได้ในประเทศอังกฤษ) ว่า ห้ามฉีดวัคซีนให้กับผู้ที่มีประวัติการแพ้อาหาร แพ้ยา หรือเป็นโรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรง
โดยเฉพาะผู้ที่จำเป็นจะต้องมียาฉุกเฉิน
(Adrenaline injection) ติดตัวไว้แก้ไขตลอดเวลา
ขอให้งดเว้นการฉีดวัคซีนโควิดดังกล่าวไว้ก่อน
ทางการอังกฤษเอง ทั้งผอ.NHS และผอ.MHRA ได้ให้ความเห็นว่า เป็นเรื่องที่อาจจะเกิดขึ้นได้สำหรับการให้วัคซีนจำนวนมากกับคนทั่วไป
แต่โดยทั่วไปแล้วจะเกิดน้อยมาก เช่น 1ในล้าน
กรณีนี้ฉีดไปเพียงหลักพันคนก็เกิดแล้ว จึงน่าเป็นห่วง และต้องติดตามข้อมูลเมื่อมีผู้ฉีดเพิ่มมากขึ้นว่า จะมีผลข้างเคียงทำนองนี้ เกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด
ข่าวดังกล่าวนี้ จะทำให้ส่งผลกระทบต่อความหวังเรื่องวัคซีนของไฟเซอร์ จะเกิดการชะงักไม่มากก็น้อย
ทำให้วัคซีนของบริษัทไฟเซอร์มีจุดอ่อนเพิ่มขึ้นคือ นอกจากการเก็บรักษาที่ยุ่งยากคือ
ต้องเก็บที่อุณหภูมิ -70 องศาเซลเซียส
และมีราคาที่ค่อนข้างแพง
ตลอดจนเป็นเทคโนโลยีใหม่ แบบ mRNA ซึ่งยังไม่เคยใช้ในการผลิตวัคซีนชนิดใดในโลกมาก่อน
แล้วตอนนี้มาพบจุดอ่อนเพิ่มเติมที่สำคัญคือ ผลข้างเคียงที่เป็นการแพ้แบบชนิดรุนแรง
ทำให้ความหวังของวัคซีนด้วยเทคโนโลยีเดียวกันคือ mRNA ของบริษัทโมเดิร์นนาก็อาจจะประสบปัญหาเดียวกันด้วย
ทำให้วัคซีนที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีอื่น เช่น การใช้ไวรัสเป็นพาหะ(Viral Vector) ของบริษัท AstraZeneca
และการใช้เทคโนโลยีแบบวัคซีนเชื้อตายของประเทศจีน อาจจะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ ว่าจะมีผลข้างเคียงที่น้อยกว่า เพราะเป็นเทคโนโลยีที่เคยใช้มานานหลายปีแล้ว
ต้องติดตามข่าวคราวอย่างใกล้ชิดกันต่อไปครับ
Reference
https://www.bbc.com/news/health-55244122
https://www.dailymail.co.uk/news/article-9034115/Allergy-risk-Pfizer-jab-TWO-patients-fall-ill-V-Day-rollout.html