Font Size
 
"โอไมครอน" ละอองเชื้อแห้ง ลอยไกลอยู่ได้นาน เปิดอีก 3 ข้อ ให้อยู่รอดปลอดภัย
 
 

เปิดอีก 3 ข้อ ให้อยู่รอดปลอดภัยจากโควิด "โอไมครอน" ที่คุณสมบัติไม่ธรรมดา ละอองเชื้อแห้ง ลอยไกลอยู่ได้นาน แม้คนติดเชื้อไม่อยู่แล้ว

การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ Covid-19 ระลอก 4 ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการระบาดของสายพันธุ์ "โอไมครอน" หรือ "โอมิครอน" ที่แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว แม้อาการจะไม่รุนแรง แต่ก็ไม่ควรประมาท คำถามที่ทุกคนต้องถามตัวเองอยู่เสมอ แทบทุกวัน และบ่อย ๆ ก็คือ "ติดหรือยัง" และจะระวังป้องกันตัวเองให้มากขึ้นกว่าเดิมได้อย่างไร

นพ.อดิศักดิ์ กิตติสาเรศ ผู้เชี่ยวชาญโรคสมองและระบบประสาท เคยให้ข้อมูลไว้ตั้งแต่โควิดระบาดหนักในรอบที่ 3 ว่า สถานการณ์ตอนนี้ไม่สำคัญแล้วว่า เราจะอยู่บริเวณไหนของการระบาด จะเป็นสีแดง สีเหลือง ให้คิดไว้ก่อนเลยว่าทุกคนมีโอกาสติดเชื้อได้ โดยไม่รู้ตัว และมีโอกาสแพร่เชื้อได้ทั้งหมด

ดังนั้น ให้ทำ 3 อย่างคือ   

  1. อยู่ห่างจากผู้คน 1.5 เมตร เป็นระยะที่ปลอดภัย  
  2. มีสติ  
  3. นึกเสมอว่าต้องระวังตัว 

3 สิ่งนี้ มือ,หน้ากาก,หน้าเรา ถ้า 3 สิ่งนี้ปลอดภัย เราจะปลอดภัย ไม่ว่าคนตรงหน้าจะเป็นโควิดไหม เพราะวัน ๆ หนึ่ง เราก็ไม่รู้ว่าเราเอามือไปแตะกับอะไรบ้าง ทุกครั้งก่อนเอามือไปแตะกับหน้ากาก ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม ให้รู้ว่าความเสี่ยงมันเกิดขึ้นจากจุดนั้น เช่น เจอคนรู้จัก สวัสดี เอามือไปจับหน้ากากถอดออก หรือรู้สึกว่าหน้ากากไม่แนบ จะเอามือไปขยับลวดที่หน้ากาก ไม่ได้นะครับ

ถ้าเมื่อไรที่เราต้องแตะหน้ากาก เราต้องล้างมือ (ที่ง่ายที่สุดคือแอลกอฮอลล์) ล้างให้ครบจนถึงปลายนิ้วมือ ถ้าให้ดีก็ครบ 7 ขั้นตอนเลย อย่างน้อยตรงที่เราจับควรจะสะอาด โบกมือให้แห้งก่อนถึงจะใช้ได้ เมื่อมือเราสะอาดแล้วก็จับหน้ากากบีบลวดให้แนบหน้าได้

คุณหมอบอกว่า วิธีทดสอบหน้ากากว่าป้องกันได้ดีไหม ด้วยการเป่าลมดู ถ้าเป่าแล้ว ไม่มีลมออกข้างบน ออกข้าง ๆ หรือออกข้างหน้า แปลว่าใช้ได้ นอกจากนี้
ก็ยังมีวิธีพับ "หน้ากากอนามัย" (Surgical Mask) ให้เป็นปม เพื่อให้ปิดหน้าแนบมากขึ้นไปอีก ซึ่งมีข้อมูลเผยแพร่ไว้มากมาย

"การใส่หรือการถอดหน้ากาก ให้จับแค่ตรงสายหน้ากาก สมมติฐานว่ามันมีเชื้อ ทุกครั้งที่ต้องแตะหน้ากาก ไม่ว่ากรณีใด ๆ ให้ล้างมือ ไม่ใช่เผลอ ๆ ก็แตะจมูก แตะหน้ากาก แตะหน้า หรือจับหน้ากากให้มันแนบ ๆ ที่เลอะคือ เลอะหน้ากาก เป็นพฤติกรรมที่ไม่ควร ถ้าจะแตะเราต้องล้างมือทุกครั้ง"

นพ.อดิศักดิ์ ระบุว่า หน้ากากอนามัย (Surgical Mask) เมื่อใช้เสร็จแล้วให้ทิ้งเลย ไม่ต้องเสียดาย ไม่ควรใช้ซ้ำไปเรื่อย ๆ มันไม่ใช่หน้ากากกันฝุ่น ให้เราคิดว่ามีเชื้อโรคเข้ามาเรียบร้อยแล้ว เพราะว่าตอนนี้คนแพร่เชื้อไม่มีอาการ ไม่ไอ ไม่มีไข้ ไม่มีอะไรเลย คนมีไข้ก็อยู่โรงพยาบาลแล้ว คนที่ไอก็รู้ตัวว่าเสี่ยง ส่วนคนที่ไม่รู้ตัวก็แพร่เชื้อไปเรื่อย ๆ ถ้าเธอเป็นโควิด ฉันก็ปลอดภัย เพราะฉันมีสติ กับมือ, กับหน้ากาก, กับหน้า 

นอกจากนี้ คุณสมบัติพิเศษของโควิด "โอไมครอน" คือ ไม่ต้องกัด แค่เปิดปาก ก็แพร่เชื้อได้ แม้เชื้อไม่ค่อยลงปอด แต่ไปเกาะเซลล์ผนังคอแทน เมื่อพูดคุย ตะโกน ไอ จาม เชื้อกระจายมากกว่า และง่ายกว่า แม้เชื้อโอไมครอนจะไม่ลงปอด ทำให้ความเสี่ยงในการป่วยหนักลดลง แต่เชื้อโอไมครอนกลับไปเกาะบริเวณเซลล์ผนังลำคอจำนวนมาก เมื่อผู้ติดเชื้อพูดคุยตะโกน ไอ จาม เชื้อจึงกระจายออกมาง่าย และมากกว่า ทำให้เกิดการแพร่เชื้อได้ง่าย

แถมยิ่งอยู่ในพื้นที่ปิด ละอองเชื้อที่แห้ง ลอยไกลอยู่ได้นาน แม้ผู้ติดเชื้อไม่อยู่แล้ว เชื้อโควิดถูกห่อหุ้มด้วยน้ำมูก หรือ น้ำลาย แต่เวลาอยู่ในพื้นที่ปิด เมื่อน้ำมูก หรือน้ำลายระเหยแห้งไป เชื้อโควิดที่มีขนาดเล็กลง จะสามารถล่องลอยไปไกล และตกค้างในอากาศได้นาน ไวรัส ซึ่งคือน้ำมูกหรือน้ำลาย (เส้นผ่านศูนย์กลาง มากกว่า 5 ไมครอน) ฝอยละอองขนาดใหญ่ น้ำหนักของน้ำมูกหรือน้ำลาย ทำให้ลอยตกทันที เมื่อระเหยเป็น "ไวรัส" (เส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 5 ไมครอน) ฝอยละอองขนาดเล็ก ลอยในอากาศได้นาน


พื้นที่ปิด หรือระบายอากาศไม่ดี เสี่ยงเจอเชื้อตกค้าง การเปิดประตูหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ มีส่วนช่วยในการลดการสะสมของเชื้อโรคได้ ทั้งนี้ การเปิดช่องระบายอากาศ ควรเปิดให้ทแยงด้านกัน เพื่อทำให้อากาศเกิดการถ่ายเทได้รอบบริเวณมากที่สุด ไม่เหลือการตกค้างของเชื้อโรค

  • ควรเปิดระบายอากาศด้านทแยงกัน ช่วยระบายอากาศได้ดีกว่า
  • ไม่ควรเปิดระบายอากาศฝั่งตรงข้ามกัน อาจมีเชื้อโรคตกค้าง

** ควรเปิดระบายอากาศครั้งละ 5-10 นาที ทุก 2 ชั่วโมง ถ้ามีข้อจำกัด อาจเปิดระบายก่อนเริ่มใช้ห้อง ระหว่างพัก และก่อนเลิกใช้


ในพื้นที่ปิด เชื้อแพร่ยกกำลัง 3

นอกจากการเว้นระยะห่างแล้ว การเลี่ยงไม่อยู่ในพื้นที่ปิดก็ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิดได้ เพราะภายในพื้นที่ปิด เชื้อจะสามารถแพร่ได้ถึง 3 ทางได้แก่

  • ระยะใกล้ ติดจากฝอยละอองขนาดใหญ่
  • ระยะไกลติดจากฝอยละอองขนาดเล็ก
  • ระยะประชิดติดจากการสัมผัส

วิธีเอาตัวรอด

เมื่ออยู่ในที่อากาศไม่ถ่ายเท ใช้หน้ากากที่มีประสิทธิภาพ สวมอย่างถูกวิธี กระชับใบหน้า เว้นระยะห่าง ล้างมือ และฉีดวัคซีน
 

การเลือกสวมหน้ากากที่มีประสิทธิภาพเหมาะสูง เช่น N95 หรือ KN95 โดยเฉพาะเมื่อต้องอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เช่น พื้นที่แออัด มีคนจำนวนมาก ช่วยลดความเสี่ยง
ในการติดเชื้อได้มาก แต่ทั้งนี้ต้องสวมให้ถูกวิธี และกระชับใบหน้า เพราะการสวมหน้ากากไม่กระชับอาจเกิดช่องโหว่ให้เชื้อโรดลอดเข้ามาได้ ได้แก่ ช่องเหนือจมูก ช่องข้างแก้ม และช่องใต้คาง

  • หน้ากากผ้า ลดความเสี่ยง 56%
  • หน้ากากอนามัย ลดความเสี่ยง 66%
  • หน้ากาก N95/KN95 ลดความเสี่ยง 83%

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/505963?adz=