สปสช. แนะนำ 5 วิธีเอาตัวรอดจากโควิด-19 ในสถานที่ทำงาน หากท่านตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด ใช้สิทธิแบบไหน รักษาอย่างไร
ไวรัสโควิด-19 ก่อให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และสามารถติดต่อจากคนสู่คนโดยการคลุกคลี เข้าใกล้ชิดกับผู้ป่วย โดยติดเชื้อผ่านละอองฝอยของน้ำมูก น้ำลาย ของผู้ป่วยติดเชื้อ จากการจาม ไอ หรือการสัมผัส ซึ่งวิธีการป้องกันการแพร่เชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเราเอง คือ
– อย่าเอามือปิดปากเวลาไอหรือจาม เนื่องจากทำให้เชื้อโรคติดมือ และมือของเรานี่เองที่จะไปสัมผัสสิ่งต่าง ๆ เช่น ราวบันได ปุ่มกดลิฟต์ และทำให้ผู้อื่นที่มาสัมผัสต่อเสี่ยงที่จะติดเชื้อตามไปด้วย
– ใช้ทิชชู่ปิดปาก เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคกระจาย และควรนำทิชชูนั้นไปทิ้งถังขยะที่มีฝาปิด
– หากไม่มีทิชชู ให้ใช้ต้นแขนด้านในปิดปากและจมูก ด้วยการนำแขนข้างใดข้างหนึ่งมาจับไหล่ฝั่งตรงข้ามของตัวเอง
– เมื่อไอ จาม แล้วต้องรีบล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลทันที
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นำข้อมูลจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะนำ 5 วิธี อยู่ที่ทำงานอย่างไร ให้ปลอดภัยจากโควิด-19 ดังนี้
1. สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ที่ปฏิบัติงาน และล้างมือบ่อยๆ
2. หมั่นทำความสะอาดของใช้ส่วนตัว เช่น โทรศัพท์ โต๊ะทำงาน
3. ใช้รูปแบบออนไลน์ แทนการรวมกลุ่มพูดคุยหรือการประชุม
5. แยกกันกิน และเว้นระยะห่าง ระหว่างกันกับผู้ร่วมงาน
หน่วยงานควรพิจารณาใช้มาตรการ Work From Home ให้มากที่สุด โดยเฉพระกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ เป็นต้น กรณีสงสัยว่าเป็นกลุ่ม เสี่ยงแนะนำให้เร่งตรวจ ATK เพื่อยืนยัน หากตรวจ ATK แล้วขึ้น 2 ขีด ติดเชื้อโควิด-19 ให้ดำเนินการดังนี้
1.กลุ่มที่ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย (สีเขียว) รักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ แก้ไอ แก้เจ็บคอ หรือไปรับยาที่สถานพยาบาลตามสิทธิ-สถานพยาบาลรัฐใกล้บ้าน (เจอ แจก จบ) และกักตัวอยู่ที่บ้าน 10 วัน การใช้สิทธิรักษา มีดังนี้
- สิทธิบัตรทอง 30 บาท (สปสช.) ติดต่อไปที่สถานพยาบาลประจำที่ท่านลงทะเบียนไว้ หรือไปที่หน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศ
โรงพยาบาลเอกชน ที่ทำข้อตกลงรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มสีเขียวกับ สปสช.
- สิทธิประกันสังคม ไป รพ.ที่ลงทะเบียนไว้ รวมถึงสถานพยาบาลคู่สัญญาในระบบประกันสังคมทุกแห่ง และสถานพยาบาลรัฐทุกแห่ง (สายด่วน 1506)
- สิทธิข้าราชการ ไป สถานพยาบาลรัฐทุกแห่ง และ รพ.เอกชนที่ทำข้อตกลงรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มสีเขียวกับ สปสช. (สายด่วนกรมบัญชีกลาง 02-2706400 วัน-เวลาราชการ)
2.กลุ่มที่มีอาการปานกลางถึงอาการหนัก (กลุ่มสีเหลือง-สีแดง) ทุกสิทธิการรักษาใช้สิทธิ UCEP Plus เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิเข้ารับการรักษาได้ทุกที่ สถานพยาบาลรัฐ-เอกชน ที่อยู่ใกล้ได้
3.กลุ่มเปราะบาง 608 หญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็กอายุ 0-5 ขวบ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง ที่เป็นสิทธิบัตรทอง 30 บาท (สิทธิ สปสช.) และสิทธิองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โทร. 1330 ประเมินอาการเข้าระบบรักษาที่บ้าน
สำหรับหมายเลขโทรศัพท์ ที่ควรบันทึกไว้กรณีตนเองหรือคนใกล้ชิดติดเชื้อ ได้แก่
- เจ็บป่วยฉุกเฉิน โทร. 1669
- ประกันสังคม โทร. 1506
- บัตรทอง-อปท. โทร. 1330
- ข้าราชการ โทร. 02-270-6400
- สอบถามสิทธิ UCEP Plus 028721669
ภาพจาก แฟ้มภาพ AFP