แฟ้มภาพ วัคซีน ChulaCOV19 ที่นำมาทดสอบในมนุษย์เมื่อปี 2564
 
แฟ้มภาพ วัคซีน ChulaCOV19 ที่นำมาทดสอบในมนุษย์เมื่อปี 2564

จุฬาฯ เผยข่าวดี วัคซีนโควิด ChulaCov19 สัญชาติไทย ผลิตล็อตแรกในประเทศแล้ว ยื่นขอ อย.อนุมัติทดสอบในคน คาดเริ่มได้เร็วๆ นี้ หากผลดีจ่อขึ้นทะเบียน ระหว่างนี้พัฒนารุ่น 2 รับ“โอมิครอน” เพื่อให้เร็วขึ้น ย้ำ พัฒนาครบวงจร ช่วยพึ่งพาตนเองหากมีระบาดใหม่

เมื่อวันที่ 4 พ.ค. ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผอ.บริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการพัฒนาวัคซีนโควิด “ChulaCov19” ชนิด mRNA สัญชาติไทย ว่า ภาพรวมถือว่าเป็นข่าวดี ซึ่งการพัฒนาระยะแรกเป็นการออกแบบวัคซีน และให้โรงงานในสหรัฐอเมริกาผลิตล็อตแรก มีข่าวดีว่า ผ่านการพิสูจน์ในอาสาสมัครระยะที่ 1 และ 2 เรียบร้อยแล้ว มีความปลอดภัย กระตุ้นภูมิได้สูงเป็นที่น่าพอใจ ขนาดที่เราเลือกเมื่อเทียบกับวัคซีนไฟเซอร์ที่อนุมัติใช้ในไทย เราได้ภูมิที่สูงกว่าชัดเจน

ส่วนระยะที่ 2 คือ การผลิตวัคซีนในประเทศ โดยบริษัท ไบโอเน็ตเอเชีย จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานในไทย สามารถผลิตวัคซีนล็อตแรกเรียบร้อยแล้ว ผ่านการประกันคุณภาพแล้ว ทีมวิจัยได้ส่งเอกสาร ข้อมูลต่างๆ เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อขอทดสอบในอาสาสมัครระยะที่ 1 และ 2 อยู่ระหว่างรอการอนุมัติจาก อย. คาดว่า จะได้รับคำตอบเร็วๆ นี้ หากทดสอบได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ น่าจะขอขึ้นทะเบียนวัคซีนได้ภายในปลายปี 2565

 

“ขณะนี้สถานการณ์แพร่ระบาดในประเทศเริ่มดีขึ้น แต่การพัฒนาวัคซีนไม่ได้หยุด เราอยากเห็นวัคซีนรุ่นที่ 1 ที่ผลิตโดยคนไทยที่ตอนนี้พัฒนากันอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ วัคซีน mRNA ของจุฬาฯ วัคซีนใบยา และวัคซีนขององค์การเภสัชกรรม หากขึ้นทะเบียนได้ก่อน 1 ชนิด หรือทั้งหมดจะยิ่งดี โดยวัคซีนรุ่นที่ 1 ตามขั้นตอนควรได้รับการขึ้นทะเบียนก่อน ผ่านการพิสูจน์ว่าปลอดภัย ระหว่างขอขึ้นทะเบียนก็มีการพัฒนารุ่นที่ 2 เพื่อป้องกันเชื้อโอมิครอนไปพร้อมกัน เพื่อรอขึ้นทะเบียนลำดับต่อไป” ศ.นพ.เกียรติกล่าว

แฟ้มภาพ การฉีดวัคซีน ChulaCOV19 ในอาสาสมัครเมื่อปี 2564
 
แฟ้มภาพ การฉีดวัคซีน ChulaCOV19 ในอาสาสมัครเมื่อปี 2564


ศ.นพ.เกียรติ กล่าวว่า การที่ประเทศไทยมีเทคโนโลยีของเราเอง ตั้งแต่คิดค้น ออกแบบ ทดสอบ และผลิตได้ในโรงงานในประเทศ ทำให้เราพึ่งพาตัวเองได้ หากเกิดการระบาดของโควิดกลับมาใหม่ ไม่ว่าสายพันธุ์ไหน หรือเกิดโรคระบาดใหม่ๆ ขึ้น เราก็จะสามารถพัฒนาวัคซีนได้เองในระยะเวลาที่เร็วขึ้น เพราะเราพัฒนาได้ครบห่วงโซ่ด้วยตัวเราเอง

 

“ถ้าวัคซีนไทยขึ้นทะเบียนได้ภายในปีนี้ ก็ต้องอาศัยทุกภาคส่วนช่วยกันสนับสนุน แต่การผลิตวัคซีนต้องทำเป็นขั้นตอน พิสูจน์ให้เห็นถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย จุดประสงค์หลักของการพัฒนาวัคซีนของไทย เพื่อให้พึ่งพาตนเองได้ ช่วยกระจายวัคซีนให้ประเทศเพื่อนบ้านได้เร็วขึ้น หากเกิดโรคระบาดและการที่เรามีเทคโนโลยีตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ถึงปลายน้ำ เมื่อเกิดโรคระบาดขึ้น เราจะทำได้เร็วขึ้น ทั้งคิดค้น ออกแบบ ผลิตและทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 1 และ 2 ภายในไม่เกิน 6 เดือน ไม่ใช่ใช้เวลานานปีกว่าเหมือนตอนนี้ เพราะห่วงโซ่ยังไม่ครบวงจร” ศ.นพ.เกียรติ กล่าว

แฟ้มภาพ การฉีดวัคซีน ChulaCOV19 ในอาสาสมัครเมื่อปี 2564
 
แฟ้มภาพ การฉีดวัคซีน ChulaCOV19 ในอาสาสมัครเมื่อปี 2564

 

ข้อมูลจาก https://mgronline.com/qol/detail/9650000042337

 

(พญ.อวิกา รงค์ทอง แนะ 3 สาวคนดังอย่าง พรรษมน พิริยะเมธา, ปรัชญมน บุรณศิริ และภิพัชรา แก้วจินดา)

    ในช่วงที่ต้องรักษาระยะห่างทางสังคม เพื่อลดความเสี่ยงและยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 นั้น ควรระวังเรื่องการสัมผัสกับสิ่งของต่างๆ รอบตัว คำแนะนำสำคัญไม่พ้นเรื่องของการล้างมือให้สะอาดอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้เกิดปัญหาผิวมือแห้งตามมาสำหรับหลายๆ คน โดยเฉพาะผู้แพ้ง่ายกับเจลแอลกอฮอล์ชนิดต่างๆ แล้วก็ตามมาด้วยความเครียดอย่างไม่รู้ตัว
    เมื่อเร็วๆ นี้ แบรนด์ผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลสุขภาพผิวและเส้นผม ‘ธัญ’ (THANN) พร้อมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังและความงามอย่าง “แพทย์หญิงอวิกา รงค์ทอง” ได้แนะนำ “การดูแลตัวเองให้ห่างไกลจาก Covid-19 เช่น การล้างมือให้ถูกวิธีพร้อมเผยวิธีผ่อนคลายความเครียดกับผลิตภัณฑ์ ‘ธัญ แฮนด์ ครีม ซีรีส์’ (THANN Hand Cream Series) มาบอกกล่าว  

 

(พญ.อวิกา รงค์ทอง)

     แพทย์หญิงอวิกาแนะนำว่า การล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์มีความสำคัญมากที่จะช่วยชำระล้างสิ่งสกปรกและเชื้อไวรัสที่ติดบนฝ่ามือเราได้ โดยสามารถใช้เทคนิคการล้างมือ 7 ลำดับเพื่อช่วยป้องกันไวรัสโควิด-19 ดังนี้ เริ่มจากการถูฝ่ามือ ถัดมาถูหลังมือ ต่อมาประกบฝ่ามือแล้วถูซอกนิ้ว ขัดหลังนิ้ว ขัดถูนิ้วโป้ง ขัดฝ่ามือด้วยปลายนิ้ว และถูรอบข้อมือ ขั้นตอนการล้างมือดังกล่าวควรใช้เวลาล้างไม่ต่ำกว่า 20 วินาที หากใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ก็สามารถใช้วิธีเดียวกันแล้วรอให้แอลกอฮอล์แห้ง จึงจะถือว่าฆ่าเชื้อแล้ว ไม่ต้องเช็ดเจลออกขณะเปียก และแอลกอฮอล์ที่ใช้ต้องเป็นเอทิลแอลกอฮอล์ หรือไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ ที่มีความเข้มข้นมากกว่า 70% ขึ้นไป แต่ต้องระวัง ขณะใช้ไม่ควรอยู่ใกล้เปลวไฟ
     การล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ เป็นการป้องกันเชื้อโรคที่ดี แต่อาจส่งผลกระทบต่อผิวมือได้ เพราะเมื่อแอลกอฮอล์ระเหยจะดูดความชุ่มชื้นจากผิวมือไปด้วย ส่วนการล้างมือด้วยน้ำสบู่ก็สามารถชะล้างน้ำมันเคลือบผิวออกไปทำให้ผิวแห้งได้ หลังจากการใช้เจลแอลกอฮอล์หรือล้างมือด้วยสบู่ ควรเพิ่มขั้นตอนการบำรุงดูแลผิวมือด้วยแฮนด์ครีมหลังการล้างมือทุกครั้ง เพื่อเติมความชุ่มชื้น ป้องกันผิวมือไม่ให้แห้งกร้าน รวมถึงการนวดบริหารมือหลังทาแฮนด์ครีม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบำรุงผิวให้เนียนนุ่มชุ่มชื้น นอกจากนี้ยังสามารถช่วยลดความอ่อนล้าของกล้ามเนื้อและกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตด้วย

(‘ธัญ แฮนด์ ครีม ซีรีส์’ (THANN Hand Cream Series) อาทิ น้ำยาล้างมือ, ครีมบำรุงมือ จากน้ำมันหอมระเหยธรรมชาติ 100%)

     นอกจากนี้ การรับข้อมูลข่าวสารเรื่องการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อาจก่อให้เกิดความวิตกกังวลและความเครียดได้ ซึ่งส่งผลโดยตรงกับผิวหรืออาการ “ผิวเครียด” เป็นโรคทางจิตวิทยาผิวหนังชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Psychodermatology เกิดจากสภาวะของจิตใจหรือความเครียดที่ส่งผลโดยตรงต่อสภาพของผิวพรรณ หรืออธิบายอย่างง่ายๆ คือความเครียดไปกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนบางชนิดออกมามากกว่าปกติ ทำให้ร่างกายเสียสมดุล ส่งผลเสียต่อกระบวนการทำงานของร่างกายและผิวพรรณ อย่างเช่น มีการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายต่ำลง ส่งผลให้ผิวหนังเกิดเป็นผื่น ระคายเคือง เป็นสิว ติดเชื้อได้ง่าย และยังกระตุ้นเซลล์สร้างเม็ดสี (Melanin) ทำให้หน้าหมอง ฝ้า กระ เข้มขึ้นได้ อีกทั้งยังส่งผลยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนแห่งความหนุ่มสาว โกรตฮอร์โมน (Growth Hormone) ทำให้ผิวแห้งกร้าน เกิดริ้วรอย หย่อนคล้อยได้ง่ายอีกด้วย
     สำหรับวิธีรับมือกับความเครียดนั้น ควรเริ่มจากการสำรวจตัวเองก่อน แล้วลองวิเคราะห์หาสาเหตุของความเครียดนั้น เพื่อหาแนวทางจัดการอย่างเหมาะสม หาวิธีผ่อนคลายตามแบบที่ตัวเองชอบ อย่างเช่น การใช้กลิ่นหอมบำบัด (Aromatherapy) ดนตรีบำบัด นั่งสมาธิ สวดมนต์ ออกกำลังกายเบาๆ ดูหนัง ฟังเพลง ทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้เพียงพอ ส่วนวิธีการสังเกตตัวเองง่ายๆ ว่าเราติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือไม่นั้น สังเกตได้จากการมีไข้สูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ร่วมกับอาการไอแห้ง อ่อนเพลีย สูญเสียความสามารถในการรับรสและกลิ่น โดยเฉลี่ยแล้วผู้ที่ติดเชื้อจะแสดงอาการภายใน 5-6 วัน แต่ก็อาจใช้เวลานานถึง 14 วันจึงจะแสดงอาการก็ได้ แต่หากมีอาการไอเพียงอย่างเดียวจะมีสาเหตุมาจากฝุ่นและการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ”.

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/main/detail/93880

29 ก.ค. 2565 – ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ตากแดด เดินหมื่น อบร้อน เข้าใกล้มังสวิรัติ… ไม่เสียเงิน กลับแข็งแรง

การติดโควิดหลายครั้ง จะเพิ่มผลกระทบมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งปอด หัวใจ สมอง และส่วนอื่นๆ

การติดเชื้อไป และการฉีดวัคซีน เป็นการเสริมภูมิที่เจาะจง (adaptive immunity) เฉพาะกับโควิดก็จริง แต่โควิด ปัจจุบัน หนีห่างออกไปเรื่อยๆ เช่น โอมิครอน BA.4/5 จนวัคซีนไล่จับไม่ทัน ถ้าจะผลิตให้เจาะจงกับ โอมิครอน BA 4/5 กลับป้องกันได้ไม่ดีเท่ากับสายอื่นที่ผ่านมา แม้จะลดอาการหนักได้ ซี่งเป็นผลรวมจากวัคซีน และการติดเชื้อเก่าก่อนที่ผ่านมาด้วย

การลดอาการหนัก และตาย เป็นส่วนที่ได้ประโยชน์จากติดเชื้อเดิม และวัคซีน แต่ทั้งนี้ อาจอธิบายผ่านทาง อีกกลไกของ innate immunity ทั้งความฉับพลัน ของกลไกเซลล์นักฆ่า (NK natural killer cell) อินเตอร์เฟียรอน ระบบcomplement และ IP-10 เป็นต้น

 

ทางเสริมหรือทางที่ทำให้เราแข็งแรงขึ้น คือเรากระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน แบบรวดเร็วฉับพลัน ไม่เจาะจง ศัตรูหน้าไหนมา สู้หมด (innate immunity) ด้วย

เช่น ให้ถูกแดดเช้า หรือ บ่าย เย็น และอากาศร้อน อาบน้ำร้อน มีหลักฐานแล้ว ลด mitochondrial stress ลดอนุมูลอิสระ จนเพิ่ม innate immunity เดินวันละ 10,000 ก้าว

เราเดินทางตามหลังไวรัสมาตลอด ที่เพิ่ม adaptive อย่างเดียว ถึงเวลาสร้างความแข็งแกร่ง ทั้งทุกระบบของภูมิคุ้มกันแล้วครับ

ขยัน ไม่เสียสตางค์ กินผักผลไม้กากไยให้มาก เท่านี้เอง.

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/human-life-news/190071/

 

แนะวิธีสังเกตอาการ ‘หัวใจวาย’ เช็คความพร้อมก่อนออก ‘วิ่งมาราธอน'

 
ถอดบทเรียนกรณีรองอธิบดีกรมควบคุมโรคเสียชีวิตหัวใจวายกระทันหันขณะเข้าร่วมกิจกรรมวิ่ง และความรู้เกี่ยวกับข้อควรระวัง สำหรับนักวิ่ง เพื่อหลีกเลี่ยงความสูญเสีย

กรณีการเสียชีวิตของ นพ.อัษฎางค์ รวยอาจิน รองอธิบดี กรมควบคุมโรค ซึ่งเข้าร่วมกิจกรรมวิ่ง ถิ่นวีรชน. มินิฮาล์ฟ มาราธอน ณ อุทยานวีรชนค่ายบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี และหมดสติระหว่างวิ่ง แพทย์ได้ทำการปฐมพยาบาล ณ ที่เกิดเหตุและนำส่งถึงโรงพยาบาล และเสียชีวิต ด้วยหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เมื่อเวลา7.15น. วันที่ 29 พ.ย.63


ทั้งนี้ ที่ผ่านมาได้เกิดเหตุนักวิ่งเสียชีวิตระหว่างการวิ่งมาราธอนอยู่หลายเหตุการณ์ เช่น เมื่อเดือน ส.ค.62 ก็มีนักวิ่ง 2 ราย เสียชีวิตในการจัดการแข่งขัน "วังขนาย มาราธอน ครั้งที่ 9" ที่วัดวังขนายทายิการาม อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี

โดยจากเคสดังกล่าว เรืออากาศเอกนายแพทย์อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อควรระวัง สำหรับนักวิ่ง เพื่อหลีกเลี่ยงความสูญเสีย ดังนี้

160662514421

สำหรับกรณี “การวิ่งออกกำลังกายบนท้องถนนทั่วไป” ที่ไม่ใช่งานวิ่งตามเทศกาลที่เขาจัดขึ้นตามงานต่างๆ โดยทางด้านสภาพแวดล้อมในการวิ่งผู้วิ่งควรจะต้องประเมินความปลอดภัยของสภาพแวดล้อมเป็นอันดับแรกโดยไม่ควรใส่หูฟังเพื่อฟังเพลงในขณะวิ่ง เพราะจะทำให้เราไม่ได้ยินเสียงจากสภาพแวดล้อมรอบตัวเราที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้เช่นเสียแตรรถยนต์ เสียงรถที่อาจจะทำให้เราเกิดอุบัติเหตุ

และหากวิ่งตอนกลางคืนผู้วิ่งควรใส่เสื้อสะท้อนแสงหรือเสื้อสีสว่างที่จะทำให้รถยนต์หรือคนอื่นๆเห็นผู้วิ่งได้ชัดเจน และที่สำคัญคือควรพกบัตรประจำตัวประชาชนและบัตรผู้ป่วยที่บอกโรคประจำตัวของเราอย่างชัดเจนพร้อมทั้งพกโทรศัพท์และเบอร์คนที่ผู้พบเห็นสามารถติดต่อได้อย่างรวดเร็วหากเกิดเหตุไม่คาดฝันกับเราได้

ส่วนในกรณีของ “การวิ่งมาราธอน” หรือการวิ่งระยะยาวในสนามต่างๆ ซึ่งขณะนี้มีประชาชนจำนวนมากหันมาออกกำลังกายด้วยการวิ่งชนิดนี้

สำหรับการวิ่งมาราธอนนั้นเป็นการวิ่งที่ผู้วิ่งต้องใช้ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ รวมถึงระบบหัวใจและหลอดเลือด เพราะการวิ่งในลักษณะนี้จะต้องใช้พลังงานในการวิ่งอย่างมากและต้องเคลื่อนไหวร่างกายอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้นผู้ที่จะออกกำลังกายด้วยการวิ่งมาราธอนนั้นจะต้องมีการเตรียมตัวให้ดีโดยต้องประเมินสุขภาพของตนเองก่อนวิ่งเป็นอันดับแรก และหากเรายังไม่แน่ใจว่าร่างกายของเราพร้อมกับการวิ่งหรือไม่เราควรพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจสุขภาพว่าเราไม่ได้เป็นโรคที่เสี่ยงต่อการออกกำลังกายด้วยการวิ่ง

 

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/910155?anf=

 
แนะเฝ้าระวังไวรัสลูกผสมBA.1 กับ BA.2 (ตระกูลที่ขึ้นต้นด้วย X-)
 
"ดร.อนันต์" เผยในหลายประเทศพบไวรัสลูกผสมระหว่าง BA.1 กับ BA.2 (ตระกูลที่ขึ้นต้นด้วย X-) ระบุ XE เป็นไวรัสสายพันธุ์ที่แพร่ได้ไวที่สุด และต้องเฝ้าระวังไวรัสตระกูล X- ทั้งหลาย

วันนี้ (2 เม.ย.2565 ) ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) โพสผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว Anan Jongkaewwattana ระบุว่า

ไวรัสลูกผสมระหว่าง BA.1 กับ BA.2 (ตระกูลที่ขึ้นต้นด้วย X-) ตอนนี้พบเกิดขึ้นออกมาหลายรูปแบบในหลายประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นการนำชิ้นส่วนสารพันธุกรรมด้านหน้า

ซึ่งกำหนดการสร้างโปรตีนที่ไวรัสใช้เพิ่ม RNA สำหรับประกอบเป็นอนุภาคภายในเซลล์ ของไวรัส BA.1 ไปรวมกับชิ้นส่วนสารพันธุกรรมด้านหลัง ของ BA.2 ซึ่งกำหนดการสร้างโปรตีนโครงสร้าง

แนะเฝ้าระวังไวรัสลูกผสมBA.1 กับ BA.2 (ตระกูลที่ขึ้นต้นด้วย X-)

ไวรัสลูกผสม BA.1 กับ BA.2 (ตระกูลที่ขึ้นต้นด้วย X-)

เช่น โปรตีนหนามสไปค์ โปรตีนโครงสร้างสำหรับพยุงอนุภาค (Membrane) นิวคลีโอแคปซิด (Nucleocapsid) ที่ใช้ปกป้อง RNA ในอนุภาคไวรัสและเราใช้ตรวจ ATK

นอกจากนี้ยังมีโปรตีนตัวเล็กตัวน้อยๆต่างๆอีกหลายชนิดที่หน้าที่ส่วนใหญ่จะเป็นตัวต่อต้านภูมิคุ้มกันจากโฮสต์ ดังนั้นไวรัสลูกผสมเหล่านี้จะมีหน้าตาภายนอกเหมือน BA.2 ทุกประการ

แนะเฝ้าระวังไวรัสลูกผสมBA.1 กับ BA.2 (ตระกูลที่ขึ้นต้นด้วย X-)

แต่เมื่อติดเชื้อเข้าสู่เซลล์แล้ว กลไกอาจจะแตกต่าง เพราะคุณสมบัติของโปรตีนที่ใช้เพิ่มอนุภาคไปเหมือน BA.1 มากกว่า จะแตกต่างในกลไกไหน มากหรือน้อยจาก BA.2 ปกติอย่างไร ยังไม่มีข้อมูลอะไรมายืนยัน ณ ตอนนี้

แนะเฝ้าระวังไวรัสตระกูล X- ทั้งหลาย

ในบรรดา X- ทั้งหลาย มีอยู่หนึ่งรูปแบบที่ WHO ออกมาบอกว่าอาจมีประเด็นที่ต้องเฝ้าระวัง ชื่อว่า XE โดยไวรัสรูปแบบนี้มีส่วนด้านหน้ายาวไปถึง ตำแหน่งที่ 11537 หรือส่วนที่สร้างโปรตีน NSP6 มาจากไวรัส BA.1 และ หลังจากนั้น คือ NSP7 เป็นต้นไป จะมาจาก BA.2 โดยเอกสารจาก WHO ระบุว่าข้อมูลเบื้องต้นพบว่า XE จะมีความสามารถในการแพร่กระจายได้ไวกว่า BA.2 ปกติ ไปอีก 10%

เนื่องจาก BA.2 ถือเป็นสายพันธุ์ที่แพร่กระจายได้ไวที่สุดตอนนี้ พอไปพบสายพันธุ์ลูกผสมที่มีแนวโน้มที่แพร่ได้ไวกว่า การพาดหัวข่าวก็จะออกมาแนวที่ว่า XE เป็นไวรัสสายพันธุ์ที่แพร่ได้ไวที่สุด ซึ่งจริงๆแล้วข้อมูลจาก WHO ก็ยังมีน้อยเกินไปที่จะสรุปแบบนั้น แต่เห็นด้วยว่า ไวรัสตระกูล X- ทั้งหลายสมควรต้องเฝ้าระวังอย่างยิ่ง

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/social/997127?anf=

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ