ไวรัส HPV กับการติดเชื้อในผู้ชาย
จากข้อมูลที่ผ่านมาพบว่าไวรัส HPV เป็นสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งปากมดลูกในสตรี แต่ผลงานตีพิมพ์ใน
วารสารทางวิชาการหลายฉบับพบว่าในประเทศสหรัฐอเมริกา มีผู้ชาย 11ล้านคน และ ผู้หญิง 3.2ล้านคน ติดเชื้อไวรัส
HPV ที่บริเวณช่องปาก ในจำนวนนี้ ผู้ชาย 7 ล้านคน และ ผู้หญิง 1.4 ล้านคน ติดเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิด
โรคมะเร็งบริเวณลำคอ ลิ้น และบริเวณส่วนหัว และคอ ของผู้ติดเชื้อได้ อาทิเช่น ต่อมทอนซิล กล่องเสียง และด้านหลัง
ของลำคอ เป็นต้น รายงานยังระบุด้วยว่าโรคมะเร็งของช่องปากเพิ่มขึ้นมากจนกำลังจะพบมากกว่าโรคมะเร็งปากมดลูก
ในผู้หญิงแล้ว
รายงานยังพบว่าชายมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อ HPV บริเวณช่องปากโดยเฉพาะในกลุ่มรักร่วมเพศ ดังนั้น
ผู้ชายอาจต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV ด้วยเช่นเดียวกับผู้หญิง
ไวรัสตับอักเสบ ซี (Hepatitis C หรือ HCV) โรคมะเร็งตับและการวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการ
HCV เป็น single-stranded RNA Virus เป็นสาเหตุสำคัญของโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง โรคตับแข็ง และโรคมะเร็งของเนื้อตับ การวินิจฉัยโรคที่แม่นยำจำเป็นต้องใช้หลายวิธีร่วมกันปัจจุบันวิธีที่ถูกนำมาใช้และได้ผลดี คือ
ภาพประกอบจาก www.hepcni.net
1.วิธีทางวิทยาภูมิคุ้มกัน (Serological Assays)
เป็นวิธีการทดสอบเพื่อหาภูมิคุ้มกัน (antibodies) ต่อไวรัส หรือเพื่อวิเคราะห์หาแอนติเจน (antigens) ของไวรัสซึ่งประกอบด้วย2 วิธีหลักคือ enzyme immunoassay (EIA) และ chemiluminescence immunoassay (CIA) ปัจจุบันวิธี EIA และ CIA ได้มีการพัฒนาขึ้นมาถึงช่วงที่ 3 (third generation) ซึ่งสามารถตรวจพบแอนติบอดี้ต่อ HCV ได้ระหว่างช่วง 8-10 สัปดาห์ หลังจากการติดเชื้อและจะสามารถตรวจพบได้จนนานถึง 6 เดือน หรือถึงตลอดชีวิตผู้ป่วยหลังจากการติดเชื้อ วิธีนี้มีความจำเพาะสำหรับการวินิจฉัยการติดเชื้อ HCV สูงถึง 99% และมีความไววในการตรวจหา HCV สูงถึง 97%
ส่วนการนำวิธี EIA และ CIA มาใช้ในการตรวจหาแอนติเจน (HCV core antigen) นับเป็นการพัฒนาขึ้นมาอีกระดับหนึ่งเนื่องจากการตรวจวิเคราะห์แอนติเจนจะให้ผลที่มีความไวในการตรวจหาไวรัสได้ภายในเวลา 1-2 วัน หลังการตรวจพบเชื้อด้วยวิธีทางอณูชีววิทยา (molecular test) ซึ่งปกติจะตรวจพบเชื้อไวรัสได้ภายใน 1-3 สัปดาห์ หลังการติดเชื้อและวิธีตรวจหาแอนติเจนของไวรัสจะมีความจำเพาะในการวินิจฉัยการติดเชื้อสูงถึง 99.5%
การตรวจหาแอนติบอดี้ต่อ HCV แม้ว่าจะเป็นวิธีที่ทำได้ง่ายและรวดเร็ว แต่มีข้อเสียคือ กรณีที่ผลการตรวจออกมาเป็นบวก (reactive HCV antibody) ก็ไม่ได้แสดงว่าผู้ป่วยอยู่ในภาวการณ์ติดเชื้อในขณะตรวจเนื่องจากแอนติบอดี้ต่อ HCV จะคงอยู่ในกระแสเลือดของผู้ป่วยได้นานหลายปี จนถึงตลอดชีวิต ดังนั้นกรณีที่ผลการตรวจหาแอนติบอดี้ต่อ HCV เป็นบวกจึงจำเป็นต้องทำการตรวจยืนยันด้วยวิธีอื่น เช่นการตรวจหาแอนติเจนของ HCV รวมทั้งการตรวจด้วยวิธีทางอณูวิทยา ตามวิธี nucleic acid test (NAT) เพื่อวิเคราะห์หา HCV RNA เป็นต้น
2.วิธีทางอณูวิทยา (Molecular Technique)
เป็นวิธีการทดสอบระดับโมเลกุลของไวรัส ซึ่งรวมถึงวิธีการตรวจหา HCV RNA การตรวจเพื่อวิเคราะห์ปริมาณของ RNA ในกระแสโลหิต รวมทั้งการวิเคราะห์ยีนของไวรัส (HCV genotype) วิธีนี้เป็นวิธีที่ซับซ้อนและมีราคาแพงกว่าวิธีแรก แต่เป็นวิธีที่มีความไว และความแม่นยำสูงส่วนใหญ่จึงเป็นการประเมินภาวะการติดเชื้อเรื้อรัง การรักษาและการติดตามผลการรักษาของโรค
เทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์ทั้งด้านปริมาณและประเภทของ HCV RNA ได้แก่วิธี polymerase chain reaction (PCR) เป็นวิธีที่มีความไวและความแม่นยำสูงมาก น้ำยาที่มีขายในท้องตลาดบางชนิดให้ความไวของการติดเชื้อสูงถึง 98-99% และมีความแม่นยำสูงถึง 99.5% สามารถตรวจพบ HCV RNA ในเลือดของผู้ติดเชื้อภายใน 1-3 สัปดาห์หลังการได้รับเชื้อไวรัส และสามารถตรวจพบปริมาณ ไวรัส RNA ต่ำสุด 10 IU/ml ถึงสูงสุด 10 million IU/ml.
สำหรับการวิเคราะห์ยีนของ HCV ไวรัส มักใช้เป็นการทดสอบขั้นสุดท้าย เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อประโยชน์ในการหาวิธีการรักษาที่เหมาะสม ในกรณีที่การรักษาตามปกติไม่ได้ผลดี เป็นต้น
องค์การอนามัยโลกจัดไวรัสตับอักเสบบี (HepB) เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของโลกเนื่องจากผู้ได้รับเชื้อมีความเสี่ยงสูง จากการเสียชีวิตด้วยโรคตับแข็ง และ มะเร็งตับ ประมาณว่า ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีเรื้อรัง 240 ล้านคน และทุกปีมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคตับแข็งและมะเร็งตับไม่น้อยกว่า 686,000 คน
สำหรับประเทศไทยมีรายงานผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีประมาณ 3 ล้านคน ในจำนวนนั้น 90-95 % อยู่ในสภาวะ ติดเชื้อเฉียบพลัน สามารถรักษาได้ ส่วนอีก 5-10 % อยู่ในสภาวะติดเชื้อเรื้อรัง ซึ่งจะนำไปสู่โรคตับแข็ง และโรคมะเร็งตับ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้
ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีจะมีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด และในน้ำคัดหลั่งต่างๆของร่างกายดังนั้นการติดต่อจึงเกิดได้หลายช่องทาง เช่น การได้รับเลือดจากผู้ที่ติดเชื้อจากการรักษา การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การสัก การใช้มีดโกนร่วมกัน เป็นต้น นอกจากนั้นไวรัสยังสามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และ จากแม่ที่ติดเชื้อสู่ทารกขณะคลอด ด้วย
ข้อมูลของปี 2555 พบว่า ชายไทยเป็นมะเร็งตับ และ มะเร็งท่อน้ำดี เป็นอันดับ 3 รองจากมะเร็งปอดและมะเร็งลำไส้ใหญ่ ขณะที่หญิงไทยมะเร็งตับเป็นอันดับ 5 รองจากมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ และ มะเร็งปอด
วิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีทำได้หลายวิธี โดยเฉพาะ จะต้องลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อดังกล่าวแล้ว ผู้หญิงมีครรภ์ควรได้รับการตรวจสภาวะการติดเชื้อไวรัสเพื่อป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อทารกขณะคลอดและทารกที่คลอดจากแม่ที่ติดเชื้อไวรัสต้องได้รับการฉีกวัคซีนเพื่อได้รับ แอนติบกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ต้านไวรัสทันที่ที่คลอดเพื่อกำจัดไวรัส สำหรับผู้ใหญ่ทุกคนควรได้รับการฉีกวัคซีน ปัจจุบันการตรวจเลือด ทางห้องปฏิบัติการสามารถบอกได้ว่าควรได้รับการฉีดวัคซีนหรือไม่หรือควรได้รับการดูแลอย่างไรถ้ามีการติดเชื้อแล้ว เป็นต้น การฉีดวัคซีนอย่างน้อย 3 เข็ม ในช่วงเวลา 6 เดือน หรือ 4 เข็มในเวลา 1 ปี วัคซีนมีประสิทธิภาพสูงถึง 95 % และสามารถป้องกันการติดเชื้อได้นาน 5 ปี หลังจากนั้นจึงควรมีการฉีดกระตุ้นซ้ำทุก 5 ปี เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต้านการติดเชื้อไวรัสอย่างต่อเนื่อง
หน้าที่ 147 จาก 147