ไม่ได้เขียนเรื่องสถานการณ์โควิด-19 มานาน แต่ตอนนี้สถานการณ์มันแย่มาก ๆ ไม่อยากพูดถึงสาเหตุหรือสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านมา แต่ขอรวบรวมสิ่งที่น้อง ๆ สมาชิกราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ที่ทำงานเป็นด่านหน้าดูแลผู้ป่วยโควิด-19 มาสื่อสารถึงทุก ๆ ท่านที่เกี่ยวข้องครับ
ตอนนี้เตียงที่โรงพยาบาลส่วนใหญ่เตรียมไว้สำหรับผู้ป่วยโรคโควิด-19 ล้นแล้ว ต้องปรับใช้เตียงสำหรับผู้ป่วยทั่วไปมาเป็นเตียงดูแลผู้ปวยโควิด-19 ทำให้ตอนนี้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ได้รับการดูแลในห้อง negative pressure บางครั้งผู้ป่วยชายหญิงอาจต้องอยู่รวมในห้องเดียวกัน
อาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อรอบนี้เกิดปอดบวมเร็วและมาก ทำให้ผู้ป่วยต้องใช้เครื่องช่วยหายใจจำนวนมาก เกินกว่าจำนวนเตียง ICU ที่มีอยู่ ผู้ปวยจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจใน ward ธรรมดา ซึ่งจะเป็นส่วนที่ทำให้อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ทั้งผู้ป่วยโควิด-19 และผู้ป่วยอาการหนักจากโรคอื่น ๆ
ในโรงพยาบาลที่มีอายุรแพทย์โรคติดเชื้อ อายุรแพทย์โรคปอดและเวชบำบัดวิกฤติซึ่งมีจำนวนน้อยอยู่แล้ว ตอนนี้งานล้นมือมาก ๆ เหนื่อยแทบจะหมดแรง ทำงานไม่มีวันหยุด ทุกคนพยายามดูแลผู้ป่วยอย่างเต็มที่ แต่ก็เริ่มจะไม่ไหว ต้องให้อายุรแพทย์ทั่วไปและอายุรแพทย์ด้านอื่น ๆ ดูแลผู้ป่วยโควิต-19 ด้วย แบบเดียวกับโรงพยาบาลที่ไม่มีอายุรแพทย์โรคติดเชื้อ อายุรแพทย์โรคปอดและเวชบำบัดวิกฤติ ที่อายุรแพทย์ทั่วไปดูแลผู้ป่วยโควิด-19
มีอายุรแพทย์และแพทย์ประจำบ้านอายุรศาสตร์ รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์จำนวนมากที่เป็นโควิด-19 ถึงแม้จะป้องกันเต็มที่ แต่ก็ยังเจอผู้ป่วยที่ปิดบังประวัติความเสี่ยงของตนเองอยู่เรื่อย ๆ ทำให้ผู้เกี่ยวข้องต้องถูกกักตัว อายุรแพทย์ที่เหลือต้องทำงานกันหนักขึ้น
รัฐบาลเพิ่งให้บุคลากรทางการแพทย์ได้รับการฉีดวัตซีนกันถ้วนหน้าเมื่อไม่กี่วันนี้ ทำให้ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับเพียงแค่เข็มแรก ซึ่งยังไม่มีผลในการป้องกันโรคได้ในขณะนี้ พวกเราจึงยังคงมีความเสี่ยงอยู่
การขยายเตียง เปิดโรงพยาบาลสนามเพิ่มเติม แต่จำนวนบุคลากรไม่เพิ่มขึ้นเลย ถ้าผู้ป่วยเพิ่มวันละ 1,000-2,000 แบบนี้อีกไม่นาน รพ.สนามก็จะเต็ม คงต้องยอมรับความจริงว่าเราอาจจะไม่สามารถรับผู้ป่วยโควิด-19 ไว้ในโรงพยาบาล รพ.สนาม หรือ hospitel ได้หมด คงต้องให้กักตัวที่บ้านเหมือนที่หลาย ๆ ประเทศทำกัน
ฝากข้อมูลนี้ให้ทุก ๆ คนทราบด้วยครับ บุคลากรทางการแพทย์ทุกคนทำงานอย่างหนัก ไม่ใช่เพียงรักษาผู้ป่วยโควิดเท่านั้น แต่ยังคงต้องรักษาผู้ป่วยโรคอื่น ๆ ด้วย ตอนนี้ถึงแม้รัฐบาลจะยังไม่ได้ประกาศ lock down แม้ว่าสถานการณ์จะย่ำแย่กว่าการระบาดระลอกแรกมาก ด้วยเหตุผลด้านเศรษฐกิจ จึงอยากให้ทุกคน lock down ตัวเอง ด้วยการอยู่บ้าน เว้นระยะห่าง ล้างมือ สวมหน้ากากอย่างถูกต้อง เพราะถ้าท่านป่วยด้วยโควิด-19 ท่านอาจจะไม่ได้รับการดูแลรักษาได้อย่างเต็มที่ เพราะตอนนี้การดูแลผู้ป่วยโควิด-19 เกินศักยภาพของบุคลากรของโรงพยาบาลต่าง ๆ ในการดูแลผู้ป่วยแล้วครับ
พล.อ.ท.อนุตตร จิตตินันทน์
ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร รพ.ศิริราช
🏵 คาดการณ์ timeline ของ COVID vaccine และ scenario ที่น่าจะเป็นไปได้ต่อจากนี้ 🤔
💉 ในตอนนี้โลกมี COVID vaccine ต้นแบบใน stage ต่าง ๆ รวมทั้งสิ้นราว 140 ชนิด เป็น vaccine ที่เข้าถึงรอบสุดท้าย Phase 3 แล้ว 11 ชนิด มีการประกาศผล interim ออกมาเป็นข่าวดีแล้ว 2 ชนิดคือ Pfizer x BioNTech และ Moderna 🧬
💉 วัคซีนที่เหลือในรอบสุดท้าย ตัวที่น่าจะรายงานผลตามกันมาคือ Oxford x AstraZeneca และ Johnson & Johnson ซึ่งน่าจะเห็นกันราวสิ้นปีหรือมกราคมปีหน้า ทั้งสองตัวเป็น adenoviral vector ของ Oxford เป็น Ad5 จากลิงชิมแปนซี ส่วน J&J เป็น human Ad26 🦠
💉 ข้อดีของวัคซีนสองตัวนี้คือ Oxford x AstraZeneca มีความตกลงกับ Siam Bioscience แล้ว เราอาจได้ใช้วัคซีนที่ผลิตในประเทศ ส่วน J&J ข้อดีคือฉีดเข็มเดียวพอ ต่างจากชนิดอื่นที่ต้องฉีดสองเข็ม
💉 ตัวถัดมาที่น่าสนใจคือ Novavax เป็นวัคซีนตัวแรกที่ใช้ spike protein ของเชื้อมาทำวัคซีนเลย ไม่ต้องใช้ mRNA หรือ viral vector ให้ยุ่งยาก จัดเก็บง่ายกว่า ที่สำคัญคือผลข้างเคียงน้อยมาก น้อยกว่าวัคซีนตัวอื่นมาก แต่เนื่องจากเพิ่งเริ่ม phase 3 เมื่อกันยายน/ตุลาคมใน UK และเริ่มใน US เมื่อต้นเดือนนี้เอง เลยอาจต้องรอผลซักสิ้นปี (จาก UK) หรือต้นปีหน้า (จาก US)
💉 วัคซีนของ Medicago x GSK นี่น่าสนใจคือ Medicago สนับสนุนโดย Philip Morris เจ้าพ่อบุหรี่โลก ใช้เทคนิคการผลิตโปรตีนไวรัสจากใบยาสูบ แล้วเอามาทำวัคซีน คล้ายทีมอาจารย์จุฬา แต่ของเขาได้ของดีคือ adjuvant จาก GSK ที่กระตุ้นภูมิได้ดีมาก และตอนนี้เริ่ม phase 3 เมื่อสัปดาห์ที่แล้วนี้เอง น่าจะได้ยินผลการวิจัยต้นปีหน้า 🌱
🏵 อ่านถึงตรงนี้หลายคนอาจสงสัยว่า ไม่เห็นพูดถึงวัคซีนจากรัสเซีย หรือจีนเลย จริง ๆ มีอีก 5 ตัวคือ จีน 4 (Sinovac, Sinopharm x2, CanSino) และรัสเซีย 1 (Gamaleya Sputnik V) ครับ แต่จนป่านนี้ไม่เห็นมีใครรายงานผล phase 3 กันซักราย มีแต่การประกาศใช้ไปแล้วโครม ๆ 😑
🏵 Sputnik V เพิ่งบอกว่าเริ่ม phase 3 ไปไม่นานนี้เอง ส่วน Sinovac, Sinopharm เคยบอกว่าทำ phase 3 ในประเทศแถบแอฟริกา อเมริกาใต้ และตะวันออกกลางในช่วงไล่เลี่ยกับวัคซีนของประเทศตะวันตก จนป่านนี้ควรจะได้เห็นผล interim บ้างแต่ก็ไม่ประกาศอะไรออกมา ชวนให้สงสัยว่าทำไปไกลแค่ไหนกันแน่
"In god we trust, All others must bring data" นะครับ 😏
🏵 ปีหน้าจะเป็นอย่างไร? ผมเดาว่าสมรภูมิ COVID vaccine จะเปลี่ยนจากการเร่งพัฒนาและทำ clinical trials มาเป็นการเร่งผลิตและขาย เพราะตอนนี้วัคซีนในรอบสุดท้ายนี้ ส่วนใหญ่มี back เป็นบริษัทยาขนาดใหญ่ทั้งสิ้น ซึ่งมีความได้เปรียบในการ scale up การผลิตเหนือบริษัททั่ว ๆ ไป แต่ละเจ้าคาดการณ์ว่าสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ถึงระดับ 500-1,000 ล้าน doses ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ปีหน้าเราควรจะเห็นการผลิต COVID vaccine รวมออกมาได้ไม่ต่ำกว่า 2,000-3,000 ล้าน doses
🎉 ข้อดีคือ เราจะเห็นการกระจายของวัคซีนเข้าสู่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกอย่างรวดเร็วและทั่วถึงกว่าในอดีตมาก และวัคซีนนี้จะมีราคาไม่แพง (ราว ๆ พันกว่าบาทต่อสองเข็ม) ซึ่งทำให้โรคระบาดหยุดได้ในเวลาไม่นาน
❌ ข้อเสีย ก็หนีไม่พ้นผลกระทบจากระบบตลาดเสรี บริษัทที่พัฒนาวัคซีนต้นแบบช้าเกินไป จะไม่ได้ไปต่อ ซึ่งน่าจะเกิดกับวัคซีนต้นแบบจำนวนมาก (ไม่น้อยกว่า 3 ใน 4) ที่กว่าจะเริ่ม phase 3 ได้ โรคระบาดนี้อาจจะหยุดไปเรียบร้อย เลยไม่มีเคสผู้ป่วยให้ทดสอบ หรือไม่มีเงินทุนสนับสนุนอีกต่อไป เพราะ COVID vaccine ไม่ใช่ priority อีกแล้ว รวมถึงภาวะตลาดที่ไม่เอื้ออำนวย เพราะ supply เข้าสู่ตลาดอย่างมาก และเพียงพอกับ demand จนราคาถูกลง รายใหญ่จะมี economy of scale มาก ทำให้รายใหม่ รายเล็กไม่คุ้มค่าต่อการพัฒนา COVID vaccine ต่ออีก
นี่แหละครับ ระบบ free market คนที่แพ้ก็ต้องดูแลตัวเอง 😆
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10160396500643448&id=609703447
คณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากมหาลัยไต้หวัน เตือนมาว่า ภายในปี 2563 นี้อย่าเข้าใกล้ พบปะ หรือ ทานอาหารร่วมกับคนที่เป็นโควิด-19 มาก่อน
(I) จากผลการผ่าศพผู้ป่วย
1. covid-19 มันคือการรวมกันของ ซาร์ กับ เอดส์ หมอหลายคนบอกว่า คนถึงแม้จะรักษาหายจากโควิด-19 แล้ว แต่มันจะมีผลเลือดเป็นบวกอยู่อีก นี้ไม่ใช่การกลับมาเป็นใหม่ แต่เป็นเพราะมันไม่สามารถรักษาหายขาดได้ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโควิด-19
2. ภูมิต้านทานโดนทำลายอย่างหมดสิ้น.. ทั้งนี้ซาร์จะทำร้ายแค่ปอด จะไม่กระทบกับภูมิต้านทาน.. ส่วนเอดส์จะทำลายภูมิต้านทาน.. ส่วนโควิด-19 นั้นทำลายอวัยวะของเราเหมือนกับ ซาร์+เอดส์
3. การล้มเหลวของปอดอย่างเฉียบพลันเป็นผลทำให้ตายของซาร์ แต่ covid-19 ทำให้ตายเพราะการล้มเหลวของอวัยวะหลายๆอย่าง
(II) โปรเซสเซ. Peng Zhi Yong จากมหาลัย อู่ฮั่น บอกผลจากการผ่าศพร่างกายว่า
1. คนที่หายจากโควิด-19 ผลตรวจเลือพบว่าระดับของดัชนี lymphocyte จะไม่กลับมาเหมือนเดิม ระบบภูมิต้านทานของร่างกายจะไม่เหมือนเดิม
2. แม้ผลตรวจของคนที่ให้กลับบ้านได้จะเป็นลบ แต่ภูมิต้านทานนั้นเสียหายไปแล้ว มันสามารถกลับมาเป็นโรคใหม่ได้ง่ายมาก
3. ลักษณะคล้ายๆกับไวรัสตับอักเสบบี ที่จะมีเชื้อโรคไวรัสอยู่ในร่างกาย เป็นพาหะแพร่เชื้อได้อย่างนาน
4. ทีนี้ก็ต้องมาดูกันว่าคนที่หายจากโควิด-19แล้วนั้นจะสามารถแพร่เชื้อต่อไปได้อีกไหม
(III) หมอที่ทำและการรักษาเสนอว่า
1. ตอนนี้เราเน้นรักษาคนไข้ ที่ติดเชื้อ แต่คนที่รักษาหายแล้วนั้นยังมีเชื้อไวรัสอยู่ในร่างกาย ต้องดูว่าจะแพร่เชื้อได้อีกไหม? มีภูมิต้านทานไหม?
2.หากเป็นอย่างนี้สงครามกับโควิด-19 ก็ยังไม่จบลงง่ายๆ
เลยแนะนำว่าภายในปีนี้หรือปีหน้าออกไปข้างนอกก็ยังต้องใส่หน้ากาก และอย่าไปอยู่ที่คนรวมกันเยอะๆ
ใช้หลัก stay home และ social distancing ต่อไป
ได้แถลงการออกมาว่า วุฒิสมาชิก เชื้อสายไทย จากรัฐอิลลินอยส์ TAMMY DUCKWORTH ได้รับพิจารณาให้เป็นผู้สมัครรองประธานาธิบดีของพรรคเดโมแครต เเละจะมีการแถลงการณ์อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 สิงหาคม นี้
รายงานข่าว TPM
ไมโครพลาสติก คือ ชิ้นส่วนขนาดเล็กของพลาสติก ที่มีขนาดตั้งแต่ 5 มิลลิเมตร ไปจนถึง นาโนเมตร หรือ พิโคเมตรหรือเล็กเท่ากับขนาดของ แบคทีเรียหรือไวรัส
ไมโครพลาสติก แบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่
(1) เป็นพลาสติกขนาดเล็กที่ผลิตขึ้นตามวัตถุประสงค์ เช่น พลาสติกที่ผสมอยู่ใน โฟมล้างหน้า เครื่องสำอาง ครีมขัดผิว รวมทั้งยาสีฟัน
(2) พลาสติกที่มีขนาดใหญ่แตกหักหรือผุกร่อนจนกลายเป็นชิ้นเล็กๆ ซึ่งหมายรวมทั้งพลาสติกที่ย่อยสลายได้ก็รวมอยู่ในพลาสติกชนิดนี้ด้วยเช่นกัน เนื่องจากพลาสติกชนิดนี้สามารถย่อยสลายได้เฉพาะเมื่ออยู่บนบก แต่เมื่อลงไปในทะเลจะไม่มีแบคทีเลียคอยช่วยย่อยสลายเนื่องจากน้ำทะเลมีอุณหภูมิต่ำกว่าบนบก
ไมโครพลาสติกใหลายชนิดทั้งที่มีอันตรายมากและน้อยมีต้นกำเนิดจากพลาสติกที่ผลิตเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ถุงพลาสติกใส่อาหารทั้งร้อนและเย็น ประกอบด้วยสารโพลีพรอพีลีน ขวดน้ำดื่มประกอบด้วยสารพอลิเอทิลีน เทเรฟธาเรต และ ฟิล์มห่ออาหาร ผลิตจาก โพลี่ไวนิลคลอไรด์ (PVC)
ปัจจุบัน ไมโครพลาสติกแพร่กระจายอยู่ในทะเล และมหาสมุทรทั่วโลก และสะสมอยู่ในสัตว์น้ำเกือบทุกชนิด ดังนั้นไมโครพลาสติกเหล่านี้จึงเข้าสู่คนโดยการกินอาหารทะเล แม้ว่าไมโครพลาสติกเหล่านี้ส่วนใหญ่จะถูกขับออกจากร่างกายทางอุจจาระ แต่ไมโครพลาสติกที่มีขนาดเล็กเท่าแบคทีเรีย หรือ ไวรัส อาจแทรกเข้าไปในเส้นเลือด นำไปสู่อวัยวะต่างๆ เช่นเข้าไปฝังอยู่ในเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายและก่อให้เกิดโรคมะเร็ง รวมทั้งไมโครพลาสติกอาจเข้าไปสะสมอยู่ในระบบหมุมเวียนโลหิต ทำให้เส้นเลือดอุดตัน เป็นต้น อาจพูดได้ว่า ไมโครพลาสติกเป็นอันตรายเงียบ ที่เราต้องตระหนักและหาทางป้องกันโดยเฉพาะการป้องกันไม่ให้มีการทิ้งขยะพลาสติกลงไปในทะเล
หน้าที่ 131 จาก 147