หมอมนูญตอกย้ำกลุ่มเสี่ยงทั้งผู้สูงอายุ-ผู้มีโรคประจำตัว-เด็กเล็ก-สตรีมีครรภ์รีบไปฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ หลังออสเตรเลียและสหรัฐเริ่มออกโรงเตือนแล้ว

15 มิ.ย.2565 - นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธโพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาไข้หวัดใหญ่ในทุกประเทศลดลงอย่างมาก แต่ในขณะนี้ทั่วโลกกำลังจับตาไข้หวัดใหญ่ในประเทศออสเตรเลียซึ่งเป็นประเทศแรกๆ ที่กลับมามีการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ ออสเตรเลียเผยสถิติไข้หวัดใหญ่มากเป็นประวัติการณ์ เหมือนยุคก่อนหน้าที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

 
 
 

รายงานจากประเทศออสเตรเลีย สถิติการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ปีนี้มีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่เกือบ 88,000 รายโดยมากกว่า 47,800 รายได้รับการวินิจฉัยยืนยันเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน

ผมได้เตือนให้คนไทยรีบไปรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2565 หลังจากที่ได้เห็นผู้ป่วยของผมเริ่มติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A หลายคน ก่อนหน้านี้ผมได้เห็นคนติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ครั้งสุดท้ายต้นปี 2563 การที่ไข้หวัดใหญ่หายไป 2 ปี ทำให้คนส่วนใหญ่มีภูมิคุ้มกันลดลงจากการที่ไม่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามธรรมชาติ และจากการที่คนจำนวนมากไม่ได้มารับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ขอให้คนกลุ่มเสี่ยง คนสูงอายุ คนที่มีโรคประจำตัว เด็กเล็ก และหญิงตั้งครรภ์ รีบไปรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่โดยเร็ว

ขณะนี้ประเทศสหรัฐอเมริกาก็เริ่มเตือนให้ประชาชนรีบไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่แล้ว (ดูรูป)

 

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/x-cite-news/161820/

ไข่ไก่ : กระทรวงสาธารณสุขสหรัฐฯ ตัด สารโคเลสเตอรอล ออกจากบัญชีสาร ที่ประชากรสหรัฐฯ ต้องระมัดระวังแล้ว โดยกล่าวว่า ผลการวิจัย ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่าง สารโคเลสเตอรอล ในอาหารที่เราบริโภค กับโคเลสเตอรอลในเลือดซึ่งร่างกายเราสร้างขึ้นมาเอง
สรุปกินไข่ได้มากกว่า 1 ฟองต่อวัน
สำหรับวัยไม่เกิน 50 กินได้วันละ 6 ฟอง
คนอายุ 80 กินวันละ 2 ฟอง ป้องกันอัลไซเมอร์

http://www.forbes.com/sites/fayeflam/2015/02/12/why-eggs-and-other-cholesterol-laden-foods-pose-little-or-no-health-risk/

คุณประโยชน์ 10 ประการของไข่ไก่:

1. ไข่เป็นอาหารที่ดี สำหรับดวงตา ผลการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า การรับประทานไข่วันละฟอง อาจจะช่วยป้องกัน โรคจอประสาทตาเสื่อม จากสารคาโรทีนอยด์ที่อยู่ในไข่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลูทีน (lutein) และซีแซนทีน (zeaxanthin) ซึ่งเป็นสารที่พบบริเวณตา โดยฉาบอยู่บนผิวของ เรตินา เพราะร่างกายจะได้รับ สารอาหารทั้งสองอย่างนี้โดยตรงจากไข่มากกว่าอาหารชนิดอื่น

2. ไข่ทำให้เป็นต้อกระจก น้อยลง จากคนที่กินไข่ทุกวัน มีความเสี่ยงที่จะเป็น ต้อกระจกน้อยลง อันเนื่องมาจาก ลูทีน และ ซีแซนทีน ในไข่ดังได้กล่าวมาแล้ว

3. ไข่อุดมไปด้วยโปรตีน โดย 1 ฟอง จะมีโปรตีนคุณภาพดี 6 กรัม และกรดอะมิโนสำคัญอีก 9 ชนิด

4. ผลการทำวิจัยโดย มหาวิทยาลัยแพทย์ฮาร์วาร์ด พบว่า การบริโภคไข่เป็นประจำยังช่วยป้องกัน เลือดจับตัวเป็นก้อน เส้นเลือดอุดตันในสมอง และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

5. ไข่เป็นแหล่งโคลีน ที่ดีในกลุ่มของ วิตามินบี ช่วยในการควบคุมการทำงานของสมอง ระบบประสาท และระบบไหลเวียนของเลือด โดยไข่ 1 ฟอง จะมีโคลีน มากถึง 300 ไมโครกรัม

6. ไขมันในไข่ มีคุณภาพดี ไข่ 1 ฟอง มีไขมันอยู่ 5 กรัม และมีเพียง 1.5 กรัมเท่านั้น ที่เป็นไขมันชนิดอิ่มตัว

7. แม้ว่าจะขัดแย้งกับความเชื่อเดิมๆ แต่งานวิจัยชิ้นใหม่ กลับพบว่า การบริโภคไข่วันละ 2 ฟอง เป็นประจำ ไม่มีผลกระทบต่อระดับไขมันในร่างกาย มิหนำซ้ำอาจจะช่วยทำให้ไขมันดีขึ้น

8. กินไข่ได้วิตามินดี เพราะไข่เป็นอาหารเพียงชนิดเดียว ที่เป็นแหล่งวิตามินดีตามธรรมชาติ

9. ไข่อาจจะช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม โดยผลการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า ผู้หญิงที่รับประทานไข่ 6 ฟองต่อสัปดาห์ ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมลง ร้อยละ 44

10. ไข่ทำให้ เส้นผม และ เล็บ มีสุขภาพดี เพราะว่าไข่มี ซัลเฟอร์ สูง รวมถึงยังมีวิตามิน และแร่ธาตุอีกหลายชนิด หลายคนจึงพบว่าผมยาวเร็วขึ้น หลังจากที่เพิ่มไข่เข้าไปในอาหารที่รับประทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่เคยขาดอาหารที่มี ซัลเฟอร์ หรือ วิตามินบี 12 มาก่อน

ไทยจ่อซื้อวัคซีนโควิด-19 จำนวน 66 ล้านโดส 2.93 พันล้าน ครอบคลุม 33 ล้านคน ภายในปีหน้า

 

สื่อนอกตีข่าวไทยจ่อซื้อวัคซีนโควิด-19 จำนวน 66 ล้านโดส 2.93 พันล้าน ครอบคลุม 33 ล้านคน ภายในปีหน้า รอ ครม.อนุมัติงบประมาณกลาง หรือ พ.ร.ก.เงินกู้เพื่อโควิด

สื่อจีนรายงาน (5 ตุลาคม 2563) กระทรวงสาธารณสุขของไทย เปิดเผยระหว่างการแถลงข่าวประจำวันว่า คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติวางแผนจัดสรรเงิน 2.93 พันล้านบาท เพื่อซื้อวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โรคโควิด-19 (COVID-19) จำนวน 66 ล้านโดส ภายในปีหน้า

พญ.พรรณประภา ยงค์ตระกูล ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (ศบค.) กล่าวว่า วัคซีน 66 ล้านโดสจะครอบคลุมถึงคนไทย 33 ล้านคน หรือราวร้อยละ 50 ของประชากรในประเทศ

พรรณประภา กล่าวว่า “คณะกรรมการฯ ซึ่งมีรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขฯ นายอนุทิน ชาญวีรกูล เป็นประธาน ตัดสินใจสำรองวัคซีนโดยใช้ 2 แนวทาง”

ผู้ช่วยโฆษก ระบุว่า “แนวทางแรก คือ การจองวัคซีนผ่านโคแวกซ์ (Covax) ซึ่งเป็นโครงการภายใต้การกำกับดูแลขององค์การอนามัยโลก (WHO) กลุ่มพันธมิตรความร่วมมือด้านนวัตกรรมเพื่อรับมือโรคระบาด (CEPI) และองค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีน (GAVI) ในสัดส่วนร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรไทย”

ด้านวัคซีนลอตที่สองจะได้จากการจองผ่านผู้ผลิต 10 รายในสหรัฐฯ จีน สหราชอาณาจักร และรัสเซีย โดยประเทศเหล่านี้กำลังอยู่ระหว่างการทดลองวัคซีนระยะที่ 3 ในมนุษย์แล้ว

ด้านสถาบันวัคซีนแห่งชาติของไทยเชื่อว่าวัคซีนโรคโควิด-19 จะพร้อมวางจำหน่ายภายในปีหน้า

อย่างไรก็ดี งบจัดซื้อวัคซีนจำนวน 2.93 พันล้านบาท ยังต้องได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะเป็นผู้ตัดสินใจว่างบดังกล่าวควรมาจากงบประมาณกลาง หรือ พ.ร.ก.เงินกู้เพื่อโควิด

ทั้งนี้ นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ เผยว่า วัคซีนจะถูกส่งมอบโดยแบ่งเป็นลอตๆ เพื่อที่จะสามารถชำระเงินในรูปแบบผ่อนชำระได้ โดยวัคซีนจะถูกจัดสรรให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในแนวหน้าก่อน เนื่องจากเป็นกลุ่มที่เผชิญความเสี่ยงจากโรคโควิด-19 มากที่สุด

 

ไทยขึ้นทะเบียน 'วัคซีนโควิด19' ตัวที่ 3 แล้ว

อย.ขึ้นทะเบียน “วัคซีนโควิด19”ในไทย ตัวที่ 3 ของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ต่อจากซิโนแวค-แอสตร้าเซนเนก้า ชนิดฉีดเข็มเดียว ย้ำยังต้องใช้สถานการณ์ฉุกเฉิน อายุทะเบียน 1 ปี

ทะเบียนอายุ 1 ปี      
 เมื่อเวลา16.45 น. วันที่ 25 มี.ค.2563 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า  ได้รับรายงานจากนพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)ว่า อย.ได้พิจารณาอนุมัติขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด19 ของจอนห์สันแอนด์จอห์สัน โดยบริษัท แจนเซนแล้ว เป็นวัคซีนรายที่ 3  ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนใช้ในประเทศไทย แต่ยังต้องใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน

 

         ขณะนี้ วัคซีนทั้ง 3 รายที่ขอขึ้นทะเบียนในประเทศไทย ได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ครบทั้ง 3 ราย คือ ซิโนแวค แอสตร้าเซนเนกา และ จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน เป็นการแสดงให้เห็นว่าประเทศไทย ไม่ได้ปิดกั้นการขึ้นทะเบียนและใช้วัคซีน ในประเทศไทย ขอเชิญชวนให้ผู้ผลิตวัคซีนรายอื่นๆ มาขึ้นทะเบียน เพื่อนำมาใช้ในประเทศไทย ให้คนไทยได้มีทางเลือกในการรับวัคซีน มากขึ้น

        นพ.ไพศาล กล่าวว่า ตนได้ลงนามขึ้นทะเบียนวัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน แล้วโดยมีบริษัทแจนเซน-ซีแลก จำกัด เป็นผู้ขึ้นทะเบียนขอนำเข้า วัคซีนนี้เป็นวัคซีนชนิดเข็มเดียว ทะเบียนมีอายุ 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค. 2564 – 24 มี.ค. 2565  

 ผชช.ชี้ไม่มีปัญหาเรื่องภูมิต้านทานเดิม

       ผู้สื่อข่าวถามว่า การขึ้นทะเบียนมีเงื่อนไขหรือไม่ เนื่องจากยังมีข้อห่วงใยเรื่องอะดิโนไวรัส ในคนไทย นพ.ไพศาล กล่าวว่า เรื่องนี้ผู้เชี่ยวชาญก็มีการถกเถียงกันอยู่ โดยผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่าไม่มีเงื่อนไขเรื่องแอนติบอดี้ที่มีอยู่ก่อน (preexisting antibody)ของอะดิโนไวรัส 26  จึงไม่มีผลต่อประสิทธิผลของวัคซีน โดยมีการเทียบข้อมูลจากการทำการทดลองทางคลินิกที่ประเทศบราซิล ซึ่งเป็นประเทศที่มีการติดเชื้ออะดิโนไวรัส 26 เท่าๆ กับประเทศไทย ตัวเลขประมาณ 30-40 % โดยวัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ที่นำไปทดลองก็มีประสิทธิผลเช่นเดียวกัน 66- 70% แต่เมื่อมีการนำมาใช้ในประเทศไทยต้องมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง

 

 รพ.เอกชนสนใจบริการได้

        นพ.ไพศาล กล่าวด้วยว่า สำหรับรพ.เอกชน ภาคเอกชน หากต้องการให้บริการเกี่ยวกับวัคซีนชนิดที่มีการขึ้นทะเบียนใช้ในภาวะฉุกเฉินในประเทศไทยแล้วนั้  สามารถมาขึ้นทะเบียนกับกรมควบคุมโรคได้ เพราะการฉีดในภาวะฉุกเฉินต้องให้กรมควบคุมโรคดูแล ฉีดตามหลักเกณฑ์ และมีมาตรการเรื่องการรายงานผล และการติดตามอาการข้างเคียง อย่างเช่น วัคซีนของจอห์นสันฯไม่ได้มีคำสั่งซื้อจากรัฐบาล หรือกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)แต่อย่างใด ซึ่งเอกชนสามารถไปเจรจาได้  เป็นสิ่งแสดงชัดเจนว่ารัฐไม่ได้ปิดกั้น

3 บริษัทหารือเตรียมยื่น

          นพ.ไพศาล กล่าวอีกว่า วัคซีนของบริษัท บารัต ไบโอเทค เทคโนโลยี ประเทศอินเดีย นำเข้าโดยบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด อยู่ระหว่างการยื่นเอกสารแบบต่อเนื่อง หรือ rolling submission และสำหรับวัคซีนอื่น ๆ ได้แก่ วัคซีนโมเดอร์นา ของประเทศสหรัฐอเมริกา วัคซีนสปุตนิก ไฟว์ ของประเทศรัสเซีย และวัคซีน ซิโนฟาร์ม ของประเทศจีน ได้มีการเข้าหารือกับ อย. เพื่อเตรียมการยื่นคำขอขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 แล้ว  

           ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  วัคซีนโควิด19ของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน เป็นวัคซีนชนิดไวรัล แว็กเตอร์ หรือไวรัสเป็นพาหะ โดยใช้อะดิโนไวรัสของคน ต่างจากวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า ที่เป็นชนิดไวรัล แว็กเตอร์เช่นกัน แต่ใช้อะดิโนไวรัสของลิงชิมแพนซี  โดยวัคซีนโควิด19 ของจอห์นสันแอนด์จอห์นสันนี้  สถาบันวัคซีนแห่งชาติระบุเมื่อวันที่ 18 มี.ค.264 ว่า เป็น 1 ใน 13 ชนิดที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน (Emergency Use Authorization : EUA) ซึ่งเป็นการอนุญาตให้ใช้วัคซีนในกรณีฉุกเฉิน โดยหน่วยงานควบคุมกำกับของแต่ลประเทL โดยพิจารณาจากผลการทดสอบวัคซีนในมนุษย์(อาจมีผลเฟส3แล้วหรือไม่ก็ได้) ให้สามารถใช้กับประชากรกลุ่มเป้าหมายในประเทศนั้นๆได้

       และเป็น 1 ใน 3 ชนิดที่ได้รับการรับรอง(Emergency Use Listing :EUL) จากองค์การอนามัยโลก(WHO) ซึ่งเป็นการประเมินวัคซีนในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข มีเป้าหมายเพื่อให้สามารถใช้วัคซีนได้ในวงกว้าง เนื่องจากระบบควบคุมกำกับของบางประเทศอาจไม่มีความพร้อมและไม่มีมาตรฐานเพียงพอ จึงให้ใช้การอ้างอิงจากEUL โดยการประเมินจะทำโดยผู้เชี่ยวชาญของWHO เช่นเดียวกับวัคซีนของไฟเซอร์/ไบออนเทค และวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า

 

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/929261?anf=

ไทยอันดับ 2 ประเทศที่มีการฟื้นตัวจากโควิด-19 ดีที่สุดของโลก

ประเทศไทยติดอันดับ 2 จาก 189 ประเทศที่ดีที่สุด (วันที่11 มิ.ย.63) ในการฟื้นตัวจากโควิด-19 จากข้อมูลดัชนีโควิด-19 ระดับโลก (Global COVID-19 Index) ซึ่งจัดทำโดยองค์กรระดับต้นๆ ของมาเลเซียและองค์การอนามัยโลก

องค์กร Global COVID-19 หรือ (GCI) พัฒนาโดย PEMADU Assciates โดยความร่วมมือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม (MOSTI) ประเทศมาเลเซีย และ กลุ่ม sunway ได้ใช้ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ได้จัดคะแนนดัชนีและจัดอันดับ 184 ประเทศว่าแต่ละประเทศได้รับมือกับโรคระบาด COVID-19 ได้ดีมากน้อยเพียงใด โดยคะแนน 70% คิดมาจาก 2 ส่วน ได้แก่

1.กรณีที่ได้รับการยืนยันต่อประชากร โดยพารามิเตอร์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเทียบกับขนาดของแต่ละประเทศในการคำนวนค่าคะแนน

2.สัดส่วนการเสียชีวิตตามสัดส่วนเนื่องจาก โควิด-19 โดยพารามิเตอร์นี้จะพิจารณาถึงอัตราการตายอย่างคร่าวๆของแต่ละประเทศและพิจารณาขนาดของประชากรแล้วเปรียบเทียบกับอัตราการตายเนื่องจาก COVID-19

นับตั้งแต่มีรายงานผู้ป่วยรายแรกในประเทศ โดยค่านี้จะให้ภาพสะท้อนที่แท้จริงว่าอัตราการเสียชีวิตได้รับผลกระทบจาก โควิด-19 ของแต่ละประเทศได้อย่างแม่นจำ

ส่วนที่เหลืออีก 30% ประกอบด้วยคะแนนคงที่ที่ได้มาจากดัชนีความมั่นคงด้านสุขภาพโลก (GHS) ซึ่งริเริ่มโดยมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกิ้นส์ซึ่งได้รับทุนจากมูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ GHS ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อประเมินความพร้อมของประเทศในการรับมือและรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19

 

ทั้งนี้ GCI ได้จัดอันดับประเทศที่มีการฟื้นตัวจากโควิด-19 (Ranking of Countries by Recovery Index) จากทั้งหมด 184 ประเทศ ปรากฏว่าประเทศไทยได้อยู่อันดับที่ 2 รองจากประเทศ ออสเตรเลีย

โดยประเทศ 20 อันดับแรกมีดังต่อไปนี้
1.ออสเตรเลีย

 

2.ไทย

3.เดนมาร์ก

4.ฮ่องกง

5.ไต้หวัน

6.นิวซีแลนด์

7.เกาหลีใต้

8.ลิโทเนีย

9.ไอซ์แลนด์

10.สโลวาเนีย

11.ลัตเวีย

12.สวิซเซอร์แลด์

13.เวียดนาม

14.มาเลเซีย

15.นอร์เวย์

16.สโลวาเกีย

17.เยอรมัน

18.ออสเตรีย

19.ลักต์แซมเบิก

20.ฟินแลนด์

ขอบคุณข้อมูลจาก  https://www.bangkokbiznews.com

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/884949

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ