รายงานข่าวระบุว่าคณะกรรมการสุราและกัญชาแห่งรัฐวอชิงตัน กำหนดให้ร้านค้าปลีกกัญชาที่เข้าร่วมแคมเปญดังกล่าว สามารถแจกกัญชาเฉพาะแบบมวนสูบ ไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆอย่างเช่นของกินที่มีส่วนผสมของกัญชา (edible) แก่ลูกค้าอายุ 21 ปีขึ้นไป หากพวกเขาเข้ารับวัคซีนโควิด-19 โดสแรกหรือครบ 2 โดสเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ตอนนี้รัฐวอชิงตัน มีประชาชนราว 4.4 ล้านคน ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 โดส และกว่า 3.7 ล้านคนได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว และมาตรการฉีดแลกกัญชานั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ของอเมริกา เพราะก่อนหน้านี้รัฐแอริโซนานำร่องโครงการแจกกัญชาแลกกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 มาแล้ว
มาตรการนี้ไม่ใช่ยุทธศาสตร์เดียวของคณะกรรมการรัฐวอชิงตัน ในความพยายามเพิ่มจำนวนผู้เข้ารับวัคซีน โดยมันเข้ามาเสริมมาตรการแจกฟรีเบียร์ ไวน์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่นๆ ที่รัฐวอชิงตันนำมาใช้กระตุ้นประชาชนไปรับวัคซีนในช่วงที่ผ่านมา โดยแคมเปญดื่มฟรีจะมีผลไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน
รัฐอื่นๆและบรรดาบริษัทเอกชน มีมาตรการมากมายมาชักชวนชาวอเมริกันให้เข้ารับวัคซีนตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมเป็นต้นมา อาทิ แจกทุนการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้กับเยาวชนที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 ในรัฐนิวยอร์ก รวมทั้งลุ้นเงินล้านดอลลาร์ที่รัฐโอไฮโอ เป็นต้น ขณะที่รัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน มีเป้าหมายฉีดวัคซีนอเมริกันชนวัยผู้ใหญ่อย่างน้อยๆ 1 โดสให้ได้ในระดับ 70% ภายในวันที่ 4 กรฏาคม
จากข้อมูลพบว่ามีประชากรวัยใหญ่ของสหรัฐฯเข้ารับวัคซีนอย่างน้อยๆ 1 โดส คิดเป็นราวๆ 62% เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และในสัปดาห์นี้จำนวนเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 64%
(ที่มา:ซีบีเอสนิวส์)
สรุป "อาการหลังฉีดวัคซีน" ที่พบบ่อยที่สุด 11 อาการ พร้อมบอกสาเหตุของการแพ้วัคซีน และการดูแลเบื้องต้น
ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (ศบค.) แถลงข่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ประจำวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2564 พร้อมเปิดเผยถึงความคืบหน้าการ "ฉีดวัคซีน" ในประเทศไทย โดยสรุปสถานการณ์ฉีดวัคซีนคนไทยตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 7 มิถุนายน พ.ศ.2564 ดังนี้
- มียอดฉีดวัคซีนสะสมที่ 4,634,941 โดส ใน 77 จังหวัด
- จำนวนผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 3,243,913 โดส หรือคิดเป็น 4.90 เปอร์เซ็นต์
- จำนวนผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 จำนวน 1,391,028 โดส หรือคิดเป็น 2.10 เปอร์เซ็นต์
- อาการหลัง "ฉีดวัคซีน" ที่พบบ่อยคืออะไรบ้าง?
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช) ร่วมมือกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) รายงานอาการข้างเคียงหลังจากได้รับวัคซีนโควิด-19 ในคนไทย ข้อมูล ณ วันที่ 5 มิถุนายน 2564
สรุปจากผลสำรวจผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนทั้งหมด มีผู้ไม่พบผลข้างเคียง 90.27% และ พบผลข้างเคียง 9.73% แบ่งเป็นอาการดังนี้
ปวดกล้ามเนื้อ 2.34%
ปวดศีรษะ 1.73%
ปวด บวม แดง ร้อนบริเวณที่ฉีด 1.24%
เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง 1.14%
ไข้ 0.77%
คลื่นไส้ 0.53%
ท้องเสีย 0.35%
ผื่น 0.28%
ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง 0.23%
อาเจียน 0.14%
อื่นๆ 0.98%
ทั้งนี้ พบผู้ที่มีอาการไม่พึงประสงค์รุนแรง ที่ได้รับการยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญแล้วทั้งหมด 18 ราย (4.3 ในล้านราย) แบ่งเป็น
- อาการแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) (4 ในล้าน)
- อาการชา (polyneurophaty) (0.3 ในล้าน)
- อาการไม่พึงประสงค์ หลังฉีดวัคซีนเป็นเรื่องปกติไหม?
จากการศึกษาวิจัยวัคซีนโควิด-19 แต่ละชนิด มักพบเป็นปฏิกิริยาเฉพาะที่ เช่น อาการปวด บวม แดงบริเวณที่ฉีดวัคซีน ซึ่งส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรงและสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องใช้ยา แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าวัคซีนเหล่านี้จะได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยา ว่ามีความปลอดภัยและให้ใช้ได้แล้วก็ตาม
แต่การฉีดวัคซีนเหล่านี้ก็ยังสามารถทำให้เกิดอาการแพ้รุนแรงได้ในอัตราที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องสังเกตอาการหลังการฉีดอย่างน้อย 30 นาที ในสถานพยาบาลหรือสถานที่ฉีดวัคซีนเสมอ และเนื่องจากวัคซีนโควิด-19 เป็นวัคซีนใหม่และยังไม่มีข้อมูลการติดตามผลในระยะยาว
หากผู้รับวัคซีนเกิดอาการไม่พึงประสงค์รุนแรง และไม่มั่นใจว่าอาการดังกล่าวเกิดจากวัคซีนหรือไม่ แนะนำให้ผู้รับวัคซีนปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงและเกิดขึ้นในช่วง 4 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีน
- เช็คอาการไม่พึงประสงค์ และการดูแลเบื้องต้น
รศ.พญ.พรรณพิศ สุวรรณกูล อายุรแพทย์ด้านโรคติดเชื้อ คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพ ให้ข้อมูลว่า ก่อนฉีดวัคซีน ให้ดื่มน้ำเยอะๆ อย่างไรก็ตาม หากเป็นวัคซีนที่ผ่านการรับรองและขึ้นทะเบียนแล้ว การพบผลข้างเคียงรุนแรงจะอยู่ในอัตราที่ต่ำมาก โดยอาการแพ้วัคซีนที่อาจพบได้หลังจากฉีดวัคซีนในช่วง 30 นาทีแรก คือ มีผื่นขึ้น ลมพิษ มีอาการคันบวมที่ใบหน้า ปาก หรือลำคอ หายใจติดขัด ความดันเลือดต่ำคลื่นไส้ ปวดท้อง เป็นต้น
เมื่อได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว หากมีไข้หรือปวดศีรษะสามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ หากมีผื่นลมพิษ ไข้สูงมาก หน้ามืด เป็นลม แขนขาอ่อนแรง เจ็บหน้าอกให้พบแพทย์ทันที
ข้อปฏิบัติหลังการฉีดวัคซีน ยังแนะนำให้ทุกคนสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือให้บ่อยๆ รักษาระยะห่างทางสังคม หากไปพื้นที่เสี่ยงหรือมีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยโควิด-19 ควรกักตัวอย่างน้อย 14 วัน
นอกจากนี้ในผู้ที่เคยป่วยเป็น COVID-19 แม้ในร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้ออยู่แล้ว แต่ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนเกี่ยวกับระยะเวลาของภูมิคุ้มกันที่จะสามารถป้องกันไวรัสได้ จึงควรได้รับวัคซีนโดยเว้นระยะห่างจากการติดเชื้ออย่างน้อย 3 เดือน
---------------------------
ที่มา : โรงพยาบาลกรุงเทพ, กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.)
อาเจกมาขอเตือนเรื่อง COVID นะครับ อาเจกยังเห็น ผปค หลายท่านออกไปเที่ยวกันอยู่ ที่บ้านพ่ออาเจกติดกันหมดแล้ว ชอบออกไปเที่ยวข้างนอก อยู่บ้านกันไม่เป็น เวลาไปเที่ยว มันต้องเข้าห้องน้ำ กินข้าวก็ต้องเปิดจมูกออก อาเจกเตือนก็แล้ว นี่ต้องว่ากันหมด สรุปติดกันหมด พ่อ แม่ พี่ พี่สะใภ้ หลาน คนใช้ที่บ้านติดกันหมด ทุกคนมีอาการปวดตัว ไข้ขึ้น อาเจียน มีนหัว หมดแรง กินข้าวไม่ลง พ่ออายุมากแล้ว มันลงปอดเร็วมาก เดินๆ อยู่ ล้มเลย ไปตรวจศิริราช เขาบอกว่าพ่ออาการหนักสุดเลย โรคประจำตัวก็เยอะอยู่แล้ว ทุก case เขาไม่รับ admit ที่ศิริราช เตียงเต็มหมดแล้ว อาเจกเลยขอให้ศิริราชหา รพ เอกชนให้ สรุปมันเต็มไปหมดแล้ว หายากมาก สุดท้ายไปได้ MED PARK แพงมาก เขาขอเก็บก่อนเลย 6 แสน เก็บก่อนด้วย พ่ออาเจกถึงได้ย้ายไปได้ วันนี้แม่อาเจกจะย้ายไปอีก ส่วนพี่ๆ คนอืีนๆ ต้องกระจายไปตาม รพ สนาม อาการยังไม่หนักมาก เวลามันติด มันไม่ไ่ด้ติดคนเดียว มันติดคนอื่นๆ ด้วย พ่อ แม่ ลูกของเรา คนในครอบครัว ไปกันหมดเลย อาเจกเตือนแล้วนะครับ อยู่บ้านเถอะครับ ผู้ใหญ่อย่างเรา เหลือกันไม่กี่ปีก็ตายกันแล้ว แต่อนาคตเด็กๆ ยังอีกไกลครับ อาเจกฝากไว้นะครับ
FB: Kanomkeng Kingngern
4 อาชีพต้องระวัง เสี่ยงติดโควิดดับ
วันที่ 2 มิถุนายน 2564 ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รวม 3,440 ราย จำแนกเป็น ติดเชื้อใหม่ 2,353 ราย ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 1,087 ราย หายป่วยกลับบ้าน 2,843 ราย ผู้ป่วยสะสม 136,599 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) เสียชีวิต 38 ราย
รายละเอียดผู้เสียชีวิตวันนี้ ชาย 24 ราย หญิง 14 ราย ค่ากลางอายุอยู่ที่ 67 ปี (10เดือน-95 ปี )
กรุงเทพฯ จำนวนผู้ป่วยเสียชีวิต 18 ราย
สมุทรปราการ 5ราย
ชลบุรี ปทุมธานี 3ราย
ฉะเชิงเทรา นนทบุรี สุณาษฎร์ธานี 2ราย
อยุธยา ร้อยเอ็ด ราชบุรี อุดรธานี 1ราย
4อาชีพเสี่ยง ค้าขาย ขับรถประจำทาง แท็กซี่ และ รปภ. สุดเศร้ามีผู้เสียชีวิตถึง8ท่าน ที่เสียชีวิตภายในสัปดาห์แรก คือตั้งแต่วันแรกที่ยืนยันพบเชื้อโควิด ท่านก็เสียชีวิตในวันเดียวกัน ทำให้สะท้อนว่า ผู้ป่วยเรานี้ไม่รู้ตัวว่าตัวเองเจ็บป่วย พอถึงมือแพทย์ก็มีอาการหนักรุนแรงและเสียชีวิตในวันต่อมา
ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/regional/468915?adz=
ถึงเดือนนี้การระบาดของโควิดทั่วโลกก็ดำเนินมากว่าปีครึ่งแล้ว และไม่มีท่าทีว่าจะสงบหรือยุติลงง่าย ๆ เห็นได้จากในหลายประเทศ เช่น อินเดีย บราซิล สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมันนี การระบาดยังมีมากแม้มีการระดมฉีดวัคซีนเต็มที่ในหลายประเทศ ที่สำคัญ การระบาดรอบใหม่ได้ย้ายจุดศูนย์กลางจากประเทศอุตสาหกรรม เช่น สหรัฐ เข้าสู่ประเทศกำลังพัฒนาอย่าง อินเดีย และบราซิลที่ระบบสาธารณสุขในประเทศเหล่านี้เข้มแข็งน้อยกว่าประเทศอุตสาหกรรม ทำให้ประเมินได้ว่าการแพร่ระบาดคงมีอยู่ต่อไป และจะใช้เวลาอีกเป็นปีกว่าที่สถานการณ์การระบาดทั่วโลกจะสามารถควบคุมได้ คำถามคือ เราจะอยู่อย่างไรที่ภาวะที่การระบาดของโควิดจะเป็นภัยสาธารณสุขประจำวันอย่างน้อยอีกระยะหนึ่ง และรัฐควรให้ความสำคัญกับอะไรในแง่นโยบาย นี่คือ ประเด็นที่จะเขียนวันนี้
ผมคิดว่ามีอย่างน้อยสามปัจจัย หรือสาเหตุที่ทำให้การระบาดของโควิด-19 จะอยู่กับเราต่อไปอีกอย่างน้อยหนึ่งถึงสองปี
หนึ่ง การระบาดเกิดขึ้นเป็นรอบ ๆ และในแต่ละรอบเชื้อไวรัสก็มีการกลายพันธุ์ ทำให้การป้องกันรวมถึงประสิทธิภาพของวัคซีนที่จะปกป้องคนจากการระบาดต้องปรับตัวตาม เห็นได้จากที่เรามีสายพันธุ์ดั้งเดิมจากอู่ฮั่นประเทศจีน สายพันธุ์อังกฤษ อัฟริกาใต้ และล่าสุดอินเดีย การกลายพันธุ์เหล่านี้ทำให้วิธีการรักษาและวัคซีนป้องกันต้องปรับตาม และยังไม่สามารถดักทางการกลายพันธุ์ของไวรัสได้ ทำให้การระบาดจะมีต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศที่มีสมรรถภาพทางสาธารณสุขต่ำ ที่จะเป็นจุดหรือพื้นที่เสี่ยงทำให้การระบาดจะปะทุขึ้นอีก จนกว่าทุกจุดจะสามารถควบคุมได้ซึ่งจะใช้เวลามาก
สอง วัคซีนขณะนี้เป็นแนวป้องกันเดียวที่โลกมีที่จะช่วยหยุดการระบาด และนำเศรษฐกิจและการใช้ชีวิตของผู้คนกลับสู่ภาวะปรกติ จึงได้มีการระดมฉีดวัคซีนมาก ปัญหาคือ ความสามารถในการเข้าถึงวัคซีนที่แตกต่างกันระหว่างประเทศอุตสาหกรรมที่เจริญแล้ว กับประเทศยากจน คือ ประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีพลังทางการเงินที่จะระดมฉีดวัคซีนให้กับคนในประเทศ ความเหลื่อมล้ำนี้ทำให้การระบาดจะไม่จบตราบใดที่ประเทศยากจนยังไม่สามารถควบคุมการระบาดได้ กลายเป็นจุดเสี่ยงของโลกเพราะยังมีการระบาดและเป็นความเสี่ยงที่การระบาดอาจจะปะทุขึ้นทั่วโลกได้ จากจำนวนประชากรในประเทศกำลังพัฒนามีมาก
สาม คือเหตุผลทางเศรษฐกิจและการเมืองที่ต้องการเร่งให้มีการเปิดประเทศ หยุดข้อจำกัดเรื่องการเดินทางข้ามพรมแดน และข้อจำกัดที่ลดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อให้เศรษฐกิจสามารถสร้างรายได้เหมือนเดิม เห็นได้ว่าในทุกครั้งที่การระบาดรอบใหม่เกิดขึ้นจะเป็นเพราะมีการผ่อนปรนมาตรการควบคุมต่าง ๆ เร็วเกินไป ล่าสุดที่อินเดียจนทำให้เกิดการระบาดใหญ่ นอกจากนี้ความสะดวกของการเดินทางระหว่างประเทศก็เป็นแรงส่งให้การระบาดสามารถกระจายตัวได้เร็วและหยุดยาก เพราะการเดินทางมีอยู่ตลอดเวลาด้วยความจำเป็นทางเศรษฐกิจและครอบครัว
ทั้งสามปัจจัยนี้โดยเฉพาะปัจจัยที่สองเรื่องความเหลื่อมล้ำจะทำให้สถานการณ์การระบาดจะไม่จบง่าย ๆ เพราะการป้องกันการระบาดทำกันในระดับประเทศ ซึ่งประเทศยากจนเสียเปรียบไม่มีทรัพยากร ขณะที่โรคระบาดเป็นปัญหาระดับโลก ส่งผลกระทบต่อทุกประเทศ ดังนั้นถ้าจะหยุดการระบาดให้ได้เร็ว หรือรับมือกับการระบาดของไวรัสตัวใหม่ ๆ ในอนาคตได้จริงจัง การหยุดการระบาดต้องเป็นมาตรการหรือความพยายามระดับโลก ที่มาจากความร่วมมือของประเทศทั่วโลกไม่ใช่ต่างคนต่างทำอย่างในปัจจุบัน
ในประเด็นนี้ น่าสนใจว่ารายงานขององค์การอนามัยโลกล่าสุด ที่ศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญอิสระที่ทำงานให้องค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นให้ข้อสรุปว่า การระบาดใหญ่ของโควิด-19 เป็นเรื่องที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่ที่การระบาดใหญ่เกิดขึ้นก็เพราะมีจุดอ่อนในทุกจุดที่เกี่ยวกับการเตรียมการ (Preparedness) และการตอบโต้ (Response) นอกจากนี้ระบบเตือนภัยขององค์การอนามัยโลกก็ทำงานช้าเกินไป และเบาเกินไป คือ ไม่หนักแน่น รวมถึงขาดภาวะผู้นำระดับโลกที่จะสนองตอบกับปัญหา ทำให้การแก้ไขเกิดขึ้นช้า จนไม่สามารถหยุดการระบาดที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว
รายงานได้เสนอให้มีการปฏิรูปหล่ายอย่างเพื่อการเตรียมตัวที่ดีขึ้นในระดับโลกที่จะตั้งรับสถานการณ์การระบาดในอนาคต เช่น จัดตั้งสภาสาธารณสุขโลกเป็นผู้นำความร่วมมือและความรับผิดรับชอบทางการเมืองในการป้องกันปัญหา มีระบบเฝ้าระวังที่โปร่งใสและให้อำนาจองค์การอนามัยโลกที่จะเปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการระบาด รวมถึงส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าตรวจสอบสถานการณ์ ผลักดันความร่วมมือเพื่อส่งเสริมความพร้อมด้านสาธารณสุขระดับประเทศ รวมถึงสรรหาบุคคลากรและเงินทุนช่วยเหลือเมื่อเกิดการระบาด เป็นต้น
คำถามต่อมาคือ ประเทศเราต้องเตรียมการอะไรหรือไม่ ถ้าโควิดจะอยู่กับเราอีกนาน คือ ประชาชนต้องระวังภัยทางสาธารณสุขขณะเดียวกันก็ต้องทำมาหากิน ผมว่าภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนต้องเตรียมตัวรับกับสถานการณ์ดังกล่าวอย่างเป็นระบบ เพราะคงเกิดขึ้นแน่ ๆ และรัฐไม่ควรทำนโยบายแบบตามสถานการณ์อย่างที่เกิดขึ้น เพราะทำให้เสียเวลาและสูญเสียมาก ผมว่ามีสามเรื่องที่ต้องคิด
หนึ่ง ความเข้มแข็งของระบบสาธารสุขสำคัญที่สุด เพราะต้องดูแลคนทั้งประเทศให้อยู่รอดปลอดภัย ซึ่งรัฐต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ โดยเตรียมตัวในเรื่องอุปกรณ์ ยา บุคคลากร จำนวนเตียงคนไข้ และระบบงานต่าง ๆ ให้พร้อม ที่ผ่านมาคนไทยมีความภูมิใจมากกับความสามารถของบุคคลากรการแพทย์ และระบบสาธารณสุขของเรา สร้างความสบายใจให้กับประชาชนและประชาชนไว้วางใจ ความเข้มแข็งเหล่านี้เหล่าต้องรักษาไว้ โดยมาตรการของภาครัฐที่จะเสริมสร้างความพร้อม โยกย้ายทรัพยากรต่าง ๆ เข้ามาช่วยเหลือ ภายใต้หลักการว่าทำมากดีกว่าทำน้อย เพราะความไม่แน่นอนมีมาก ความเข้มแข็งนี้บวกกับการช่วยเหลือแบ่งปันระหว่างประชาชนด้วยกันและโดยภาคธุรกิจจะเสริมให้สังคมมีความพร้อมและเข้มแข็งที่จะอยู่กับปัญหาจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย ดังนั้นรัฐต้องให้ความสำคัญสูงสุดในเรื่องนี้
สอง ภาคธุรกิจและประชาชนต้องปรับตัวและยอมรับความจริงว่า โลกต่อไปอย่างน้อย 1-2 ปีข้างหน้าจะไม่เหมือนเดิม ทำให้การใช้ชีวิตต้องเปลี่ยน ต้องระมัดระวังมากขึ้นในแง่สาธารณสุข ต้องช่วยเหลือกันมากขึ้น มองความอยู่รอดของสังคมเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน ซึ่งความคิดหนึ่งที่คนไทยยอมรับมากจากเหตุการณ์โควิดระบาดครั้งนี้ คือ ชีวิตจากนี้ไปโดยเฉพาะหลังโควิดจะกลับไปเหมือนเดิมไม่ได้ เราต้องใช้ชีวิตให้ดีขึ้น มีคุณภาพมากขึ้น ให้ความสำคัญกับการมีความสุขกับสิ่งที่เรามีในชีวิตมากกว่าการแสวงหาอย่างไม่สิ้นสุด ปรับปรุงชีวิตของเราให้มีคุณค่ากับตัวเองและสังคม ศรัทธาในตัวเองและสร้างความภูมิใจกับชีวิตเราเอง
สาม บทบาทภาครัฐก็ต้องเปลี่ยนเช่นกัน การระบาดครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าความอ่อนแอในสังคมของเรามีมาก ที่คนจำนวนมากคือมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรของประเทศไม่สามารถดูแลตัวเองได้เมื่อมีวิกฤติหรือตกงาน ขณะที่ความยุ่งยากและความสลับซับซ้อนของปัญหาก็เลยความสามารถ (Capacity) ของภาครัฐ โดยเฉพาะนักการเมือง และระบบราชการที่จะบริหารจัดการ ในหลายกรณี ช่องว่างระหว่างภาครัฐและปัญหามีมาก ทำให้การแก้ไขออกมาครึ่ง ๆ กลาง ๆ ไม่ทันการและไม่ตรงจุด เหมือนอยู่กันคนละโลก คือ โลกของภาครัฐที่เน้นการประชุมสั่งการ การปฏิบัติตามขั้นตอนตามระเบียบและพิธีกรรมต่าง ๆ ซึ่งต่างกับภาคเอกชนและประชาชนที่อยากเห็นการทำนโยบายที่มองไปข้างหน้าเพื่อบริหารความเสี่ยง ลดโอกาสของการเกิดปัญหาต่าง ๆ ไม่ใช่ตัดสินใจตามสถานการณ์ และขาดสำนึกหรือ sense ของความเร่งด่วน เช่น กรณีสิ่งผิดกฎหมายที่เปิดพื้นที่ให้เชื้อเข้ามาระบาดในประเทศจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งส่วนหนึ่งก็เพราะการทำหน้าที่ที่หละหลวมหรือถูกแทรกแซงด้วยเป้าหมายทางธุรกิจหรือการเมือง ทำให้การแก้ไขปัญหาอย่างที่ควรต้องทำไม่เกิดขึ้น
จากวิกฤติคราวนี้ เราเห็นชัดว่า ภาครัฐ โดยเฉพาะรัฐบาลมีอำนาจมากและอาจมีอำนาจมากเกินไป ส่วนดีในเรื่องนี้ก็คือ ถ้าอำนาจถูกนำมาใช้อย่างถูกต้องเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมทุกปัญหาก็จะแก้ไขได้ เราจะได้การตัดสินใจที่ดีที่ประชาชนเห็นด้วยและพร้อมสนับสนุน แต่ถ้าการใช้อำนาจถูกบิดเบือนด้วยเหตุผลอื่น เช่น เหตุผลทางการเมือง หรือผลประโยชน์ส่วนตัว สิ่งที่ภาครัฐทำก็จะไม่ตรงจุดและแก้ปัญหาไม่ได้ เป็นการเผาผลาญทรัพยากรของประเทศโดยประชาชนไม่ได้ประโยชน์
ดังนั้นในโลกใหม่จากนี้ไป ภาครัฐเองก็ต้องไม่กลับไปเหมือนเดิมเช่นกัน ต้องเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงานและการใช้อำนาจเพื่อสนับสนุนให้สังคมปรับตัวไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น มีคุณค่าขึ้น เพื่อให้ประเทศและคนในสังคมมีที่ยืนในสังคมเศรษฐกิจโลก และสามารถก้าวต่อไปได้ด้วยศักดิ์ศรีและความภูมิใจตามศักยภาพที่ประเทศมี
ท้ายสุด ในระดับปัจเจกบุคคล เราเองก็ต้องเปลี่ยนวิธีคิดและปรับตัวมาก เพื่อความอยู่รอดของตนเองและครอบครัว สำคัญที่สุดคือ หนึ่ง พยายามทำงานหรือมีงานทำเพราะการมีรายได้สำคัญมาก ต้องพร้อมปรับตัวเพื่อให้มีรายได้ และรักษางานไว้ สอง ดูแลรักษาสุขภาพ เพราะร่างกายที่แข็งแรงจะเป็นภูมิต้านทานที่ดีสุดในโลกที่การระบาดยังมีอยู่ ทำให้เราจะสามารถทำงานได้ สาม ประหยัดมากขึ้นเพราะโลกจะมีแต่ความไม่แน่นอน ถ้าเราฟุ่มเฟือยเราก็จะหมดเงินเร็วหรือไม่มีเงินออม และถ้าพลาดพลั้งไม่มีงานทำเราก็จะไม่มีเงินใช้จ่าย ทำให้ชีวิตจะลำบากมาก การประหยัดก็คือ การปรับตัวที่จะหาความสุขจากสิ่งที่เรามี โดยไม่สร้างปัญหาให้กับตนเองครอบครัวและคนอื่น ๆ เพราะถ้าทำให้ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนไม่ได้ ชีวิตก็จะมีปัญหามาก
นี่คือประเด็นที่อยากฝากไว้
ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/main/detail/105032
กรมควบคุมโรคย้ำข่าวดี WHO รับรอง ‘ซิโนแวค’ แล้ว ชี้ป้องกันป่วยหนัก-เสียชีวิต 100%
จากกรณีที่ สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า องค์การอนามัยโลก (ฮู) ประกาศเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน รับรองวัคซีนโควิด-19 ที่ผลิตโดยบริษัทซิโนแวค ไบโอเทค จากประเทศจีน เข้าสู่รายชื่อวัคซีนที่สามารถใช้ในกรณีฉุกเฉินได้แล้ว นับเป็นวัคซีนจากประเทศจีนชนิดที่ 2 ที่ได้รับการอนุมัติ หลังจากวัคซีน ซิโนฟาร์ม ได้รับการรับรองไปก่อนหน้านี้
ล่าสุด เมื่อเวลา 07.20 น. วันที่ 2 มิถุนายน เพจ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โพสต์ถึงประเด็นดังกล่าวว่า “WHO รับรอง Sinovac แล้ว
– ประสิทธิภาพการป้องกันอยู่ที่ 51%-84% (ของอินโดนีเซีย ผลทดสอบในโลกจริงอยู่ที่ 94%)
– ป้องกันป่วยหนักและเสียชีวิตได้ 100%
– เชื่อได้ว่า สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้สูงอายุได้ และไม่ได้มีความแตกต่างเรื่องผลข้างเคียงระหว่างกลุ่มอายุน้อยกับสูงอายุ (แต่ข้อมูลส่วนนี้ยังไม่มาก เพราะคนแก่เข้าร่วมการทดลองน้อย จึงทำให้ใช้เวลาพิจารณานาน และขอให้ประเทศต่างๆที่ใช้ ช่วยส่งข้อมูลของผู้สูงอายุมาเพิ่ม)
นอกจากนี้ WHO ชมว่า ข้อดีของ Sinovac คือ เก็บง่าย (ไม่ต้องใช้ความเย็นสูง ตู้เย็นธรรมดาก็ใช้ได้ และเก็บได้ถึง 2 ปี) และยังบอกว่า รับรอง Sinovac แล้วนะ รีบไปเข้าร่วม COVAX เลย ประเทศต่างๆจะได้รับวัคซีนมากขึ้น”
https://www.matichon
https://worldhealthorganization.cmail19.com/t/ViewEmail/d/0104A200C64742492540EF23F30FEDED/AC076E125A0888106B5BE456C00C2519
ข้อมูลจาก https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_2754161
https://www.nytimes.com/2021/02/05/opinion/covid-vaccines-china-russia.html
=====================================
-อันดับความปลอดภัยของวัคซีนที่ฉีดในไทยตอนนี้
Sinovac กับ AZ อยู่อันดับ 2 และ 5 ในขณะที่ Pfizer ที่เรียกร้องอยากฉีดอยู่อันดับ 6 Report by The New York Times on Feb 5, 2021.
In the safety ranking, the top four are all Chinese vaccines:
1. Sinopharm (China)
2. Sinovac (China)
3. Kexing (China)
4. Can Sino (China)
5. AstraZeneca (UK)
6. Pfizer (United States and Germany)
7. Modena (United States)
8. Johnson & Johnson (United States)
9. Novavax (United States)
10. Satellite 5 (Russia)
Sinopharm has two vaccines, ranking first and second respectively.
China has exported more than 500 million doses of vaccines to more than 50 countries around the world, and it is estimated that hundreds of millions of people have been vaccinated. And China's vaccine accident rate is lower and safer.
As reported by Western media, many wealthy people in Britain fly to the UAE to vaccinate Chinese national medicine.
วัคซีนที่ดีที่สุด คือวัคซีน ที่ฉีดเข้าตัวเราเพื่อป้องกันโรค ได้ก่อน
ในอนาคต อาจมีข้อมูลเพิ่มเติมในรายละเอียดว่า วัคซีนแต่ละตัว มีข้อด้อย อะไร บ้าง วันนั้นถึงค่อยมาเลือก ตอนนี้ ไอ้ที่เลือกๆ และเกี่ยงกัน ล้วนมาจาก มายาคติ ด้วยข้อมูลน้อยนิด
ผมไม่ใช่เภสัช ไม่ใช่หมอ แถมมีความรู้ด้านชีวะฯ ไม่มาก แม้ว่าเรียนมาทางด้านสิ่งแวดล้อม ต้องเรียนวิชาชีวะ และศึกษาในเกี่ยวกับ microorganisms มาบ้าง แต่ก็ผ่านมาแบบงูๆปลาๆ ดังนั้นผมไม่บังอาจ วิจารณ์และลงในรายละเอียด ไม่บังอาจวิจารณ์วัคซีนแต่ละตัว
แต่ผมเชื่อในวิทยาศาสตร์ และข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งหลักฐานบ่งชัดว่า วัคซีนมีข้อดีกว่าข้อเสียมายมาก กว่าที่วัคซีนแต่ละตัวจะถูกนำออกมาใช้กับคนได้ เขาทดลองกันมาพอสมควรแล้ว
จริงๆ แล้ววัคซีนของจีน ที่ใช้เซลส์ตายแล้ว เป็นเทคโนโลยี่ที่ใช้มาดั้งเดิม จนนักวิชาการมั่นใจ ส่วน Pfizer และ Moderna ที่สหรัฐผลิตขึ้นมาใช้ ล้วนเป็นการใช้เทคโนโลยี่ตัดต่อทางพันธุ์กรรม เป็นเทคโนโลยี่ใหม่ ที่เพิ่งนำมาใช้ในการผลิตวัคซีนเป็นครั้งแรก ถ้าเป็นสถานการณ์ปกติ ผมคิดว่า วัคซีนทั้งสองตัว คงยังไม่ได้รับการรับรองให้นำมากับคนแน่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอามาใช้งานเลย ป่านนี้ยังคงอยู่แค่ เฟสการทดลองในระยะต้นๆ แต่เพราะว่านี่คือวิกฤติ ก่อนหน้า Pfizer และ Moderna ยังไม่มีวัคซีนตัวไหน ที่ได้รับการรับรอง การเร่งรับรอง วัคซีน Pfizer และ Moderna ของสหรัฐ เป็นการรักษาหน้า และภาพพจน์ของประเทศ และเพื่อแก้วิกฤติาี่กำลังเกิดขึ้น ทั้งๆที่ยังไม่มีผลการศึกษาของผลกระทบในระยะยาว ต่อคนกับวัคซีนที่ตัดแต่งพันธุ์กรรมนี้ ออกมาเลย
อย่าลืมว่า เทคโนโลยี่ GMO ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมเกษตร ยังถูกต่อต้าน จากทั่วโลก และถูกตราหน้าว่า ไม่ปลอดภัย ทำไมอยู่ดีๆ เราดันรับได้ กับ วัคซีนที่เกิดจากการตัดต่อทางพันธุ์กรรม
ผมจะแปลกใจมาก ถ้าไอ้พวกที่ต่อต้าน GMO ตอนนี้กระแดะอยากฉีดวัคซีนที่ผลิตโดยใช้เทคโนโลยี่การตัดต่อทางพันธุกรรม ซึ่งต้องฉีดเข้าไปในเส้นเลือด เสียด้วย
โดยส่วนตัว ผมมองว่า GMO คืออนาคตของโลก ไม่ต่างไปจาก วัคซีนที่มาจากการตัดต่อทางพันธุ์กรรม ดังนั้น ผมจึงไม่ขอ ดีสเครดิต วัคซีน Pfizer และ Moderna ด้วยการ คาดเดามั่วๆ โดยไม่มีข้อมูล
ถ้าเราตามข่าว ด้วยใจเป็นธรรม ไม่มีอคติ ผมเห็นว่า ไทยเดินมาถูกทาง แม้ว่าเราไม่เอาเงินไปเสี่ยงทุ่มเพื่อให้เขาทำวิจัย และไม่ร่วมเข้าโครงการของ WHO ในตอนแรกๆ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร แต่เมื่อถึงคราวฉุกเฉิน ในตอนนี้ เราก็ยังหาวัคซีนได้เพียงพอ และถึงแม้เราเข้าร่วมอะไรพวกนั้นในตอนแรก ก็คงไม่ต่างจากตอนนี้ มีกี่ประเทศบ้าง เอาเฉพาะในเอเชีย ไม่นับประเทศที่ยากจน และอยู่ในระดับเดียวกับเรา ที่ได้วัคซีน และฉีดให้ประชาชนเกิน 10% ของจำนวนประชากร
แม้ไม่ชอบรัฐบาล ไม่อยากให้เครดิตรัฐบาล ผมว่าเราต้องให้เครดิตทีมงานสาธารณสุขของไทย รัฐบาลทำงานไม่ได้ และคงตัดสินใจผิด ถ้าทีมงานสาธารณสุขของเราห่วย แต่ที่ผ่านมา จนถึงวันนี้ ผมว่า ทีมไทยทำงานรับมือกับ การระบาดโควิด ได้ดีพอสมควร อย่าลืมว่า ประเทศที่มีโควิด ระบาดมากมาย จนแทบคุมไม่อยู่ ตอนนี้ ไม่ไกลจากไทย เราเท่าใดนัก และอยู่ติดกับพม่า ทุกคนคงรู้สถานการณ์ในอินเดีย และพม่าดี ข้อมูลการระบาดของโควิด ในพม่า เชื่อถือไม่ได้ ไทยเราจึงเป็นเสมือนหน้าด้าน ของประเทศในอาเชียน ขนาดมาเลเซีย ไม่ได้ติดกับพม่า ประชากรน้อยกว่าไทย ตอนนี้ยังอาการหนักกว่าไทย
รอบบ้านเราตอนนี้หนักมาก Malaysia เพิ่งประกาศทำ National Lockdown เวียดนามยังไม่จบ เขมรยังหนักมาก เมียนมาที่ตัวเลขสับสน ไต้หวันครั้งนี้ก็โดนหนักแต่น่าจะจบ มีความน่ากังวลบางอย่างใน UK และที่ US แนวโน้มค่อนข้างดีครับ
ผมทำสรุปตัวเลขและกราฟต่างๆมาให้ดูครับ มีประเด็นที่น่าสนใจหลายอย่างครับ
Malaysia:
อยู่ใน Wave#3 ที่หนักหน่วงซึ่งต่อเนื่องมากจาก Wave#2 แบบไม่ได้พักมายาวนานกว่า 7 เดือนแล้ว Local Lockdown ไปหลายรอบมาก แต่ที่สุดแล้ว ก็ควบคุมไม่ได้ ตัวเลขติดเชื้อ New High วันนี้ที่ 9,020 ก็ต้องตัดสินใจ Lockdown ทั่วประเทศตั้งแต่ 1 มิ.ย. แนวโน้มจากนี้ไปยังไม่ชัดต้องติดตามครับ แต่โอกาสแตะหลักล้านสูงมากครับ และสาธารณสุขของมาเลย์ก็เอาไม่อยู่แล้ว ตอน Wave#2 ตัวเลขผู้เสียชีวิตรายวันสูงสุด 25 คน แต่วันนี้ผู้เสียชีวิตรายวันก็สูงสุดเป็นสถิติกว่า 98 ราย และไม่น่าจะหยุดแค่นี้ครับ
มาเลย์เซียเป็นตัวอย่างของแชมป์เก่า ที่ไม่เด็ดขาด ก็เลยเจ็บนาน และเจ็บหนักมากครับ
Cambodia:
จบ Wave#1 เล็กๆที่ 470 กว่า จนกระทั่งโดน Wave#2 ขนาดใหญ่กว่าระดับ 100 เท่า เริ่มเมื่อกลางก.พ.ผ่านไป 3 เดือนแล้วก็ยังปิดไม่ลง วันนี้ 29,404 แนวโน้มกราฟ %Increase แม้จะค่อยๆลดลง แต่ปัญหาคือ มี Time Constant ที่ยาวนานถึง 27.5 วัน และสวิงมาก บ่งบอกขัดเจนว่า 1. ตรวจเชื้อน้อยเกินไป 2. การ์ดตกกันทั้งประเทศ ดูไม่ยากครับคนไทยที่กลับเข้ามาติดเชื้อเยอะมากผิดปกติ
ระบบสาธารณสุขที่นี่ไม่เพียงพอ ไม่น่าจะจบง่ายๆ แรงงานต่างด้าวและการลักลอบชายแดนจะเป็นปัญหาให้ไทยและเวียดนามไปอีกยาวนาน น่าจะจนกว่าจะเกิด Herd Immunity ในปีหน้าเลยครับ
Myanmar:
ตั้งแต่เกิดการรัฐประหารเป็นต้นมา กราฟและตัวเลขต่างๆไม่มีทรงที่ชัดเจน ผมเชื่อว่าระบบสาธารณสุขของเขา ไม่อยู่ในสภาวะปกติแล้ว ตัวเลขที่ดูน้อยเหล่านี้คือปัญหาใหญ่ เพราะทำให้ผู้ประกอบการไทยประมาทและนำแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายเข้ามาใช้งานจำนวนมาก เราพบ Cluster แรงงานเมียนมาในจังหวัดชายแดนและใกล้เคียงอยู่ตลอด และตอนนี้ก็ระเบิดออกมาเป็น Cluster โรงงาน ไซต์ก่อสร้าง ในที่ต่างๆร่วมกับแรงงานเขมร
ที่เมียนมา ผมคิดว่าไม่มีวันจบแน่นอน ปัญหาการลักลอบผ่านชายแดนจะทำให้เราและมาเลเซียเจ็บไปอีกนาน
Vietnam:
โดน Wave#1, #2, #3 ก็เอาอยู่ทั้งหมดจบรวมกันที่ 2,550 แต่ตั้งแต่ 29 เม.ย. ก็โดนจู่โจมโดยสายพันธุ์อังกฤษและอินเดียและเกิดลูกผสม British-India ระเบิดเป็น Wave#4 ซึ่งมาแบบ Surprise หนักมาก เปิดมาแค่ 7 วันกระโดดไป 200 ผ่านมาไม่ถึงเดือนตัวเลขไปที่ 4,000 และเพิ่งเกิด Cluster โรงงานขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่กราฟของ %Increase บอกเราว่า เวียดนามยังเอาอยู่ครับ Time Constant ยังดีมากที่ 9.1 ซึ่งถ้าถ้าไม่การ์ดตกใน 1.5 เดือนข้างหน้า น่าจะจบได้ที่ 7,000
Taiwan:
จบ Wave#1 ที่ระดับแค่ 400 จากนั้นก็มีติดเชื้อน้อยมาก มีแต่ Import Case จนกระทั่งโดนจู่โจมด้วย British Variant เกิด Wave#2 ขนาดใหญ่แบบรวดเร็วและรุนแรง เมื่อ 27 เม.ย. ที่ผ่านมา ไต้หวันพยายามคุมแบบเบาๆและ Hitech ที่เคยทำสำเร็จ แต่ครั้งนี้เอาไม่อยู่ต้องประกาศใช้วิธีเข้มงวดตั้งแต่เมื่อ 19 พ.ค. ซึ่งตอนนี้แนวโน้มเอาอยู่ กราฟ %Increase วิ่งตาม Time Constant ที่ 9.1 น่าจะไปจบที่ประมาณ 14,000 ช่วงกลางเดือนก.ค. ไต้หวันคงพยายามลง Zero New Case แน่นอน และน่าจะทำได้ถ้าไม่พลาดท่าเสียที
ความน่ากังวลจากสถานการณ์รอบบ้าน:
สถานการณ์ที่ เวียดนาม ไต้หวัน กัมพูชา รวมทั้งไทยด้วย บอกเราค่อนข้างชัดเจนถึงความรุนแรงของไวรัสกลายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์อังกฤษครับ
และอยากจะเตือนว่า มองโกเลียที่แทบไม่โดนอะไรเลยตลอดปี 2020 จนถึง Q1 2021 ก็แตกแล้วนะครับ วันนี้ไป 57,000 แล้ว ถ้าไต้หวันแตกได้ มองโกเลียแตกได้ จีนก็ประมาทไม่ได้เลยนะครับ ถ้าจีนแตกอีกรอบเศรษฐกิจกระทบเราหนักแน่ครับ
ความน่ากังวลที่ UK:
กราฟ %Increase ของ UK กำลังส่งสัญญาณการเข้า Wave#4 ชัดเจนมากครับ 1 เดือนแล้วที่กราฟไม่ลงต่อ และกำลังเชิดขึ้น น่ากังวลมากเพราะที่นี่ฉีดวัคซีนไปแล้วมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และสายพันธุ์ที่กำลังจู่โจมคือสายพันธุ์อินเดีย B.1.617.2 ตอนนี้รัฐบาลอังกฤษตื่นตัวแล้ว และคงต้องจับตามองอย่างยิ่งครับ สถานการณ์ที่อังกฤษจะสร้างบทสรุปให้เรารู้ว่า เราต้องฉีดวัคซีน AZ มากแค่ไหนในประชากรจึงจะเกิด Herd Immunity กับสายพันธุ์อินเดียได้
ความหวังที่ US:
วันนี้เป็นวันแรกที่มีเพียง State เดียวใน US คือ New York ที่รายงานตัวเลขเกิน 1,000 และเกินนิดเดียว แนวโน้ม US กราฟเป็นขาลงต่อเนื่อง ไม่มีติด Trap ที่ใดเลย น่าจะลงถึงระดับ 0.01% ในอีก 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า และด้วยความที่ฉีดวัคซีนไปเยอะมากแล้ว ผมคิดว่าสงครามที่นี่น่าจะยุติแล้วครับ ยกเว้นว่า ไวรัสกลายพันธุ์จะดุกว่าที่เราคิดอย่างมาก
...................
กราฟประเทศไทย:
ต้องบอกว่าข่าวร้ายจริงๆครับ กราฟ %Increase ยังไม่ลงไปไหนเลย หลังจากโดนสารพัด Cluster จากสงกรานต์ มาต่อชุมชนเมืองและออฟฟิศ บวกด้วยเรือนจำ ตอนนี้ก็วนกลับมาที่แรงงานต่างด้าวอีกครั้ง เราติดอยู่ที่กับดัก %Increase แถวๆ 3-5% โดยมีกราฟลดลงบ้างแต่ค่า Time Constant ยาวนานถึง 59 วัน ซึ่งแย่มากๆ ตัวเลขนี้คือช้าและยาวนานเกินกว่าจะจบครับ โดยทั่วไปจะเกิด Wave ถัดไปก่อนแน่นอน ไม่มีประเทศใดในโลกยกการ์ดสูงได้นานระดับ 3-4 เดือน เรายกมา 2 เดือนจนเมื่อยกันมากแล้ว เดือนหน้าเดือนถัดไป ผมว่า ความเสี่ยงสูงมากครับ วัคซีนดูแล้วคงทันและช่วยได้แค่บางพื้นที่เท่านั้น
สิ้นเดือนก.ค. ตอนนี้ตัวเลขประเทศไทยแนวโน้มอยู่ที่ Total 240,000 แล้วยังไปต่อครับ
กราฟกทม.:
กทม.ตัวเลขและกราฟทรงตัว ยังไม่ไปไหนไกล ยังไม่ดีขึ้นเพียงพอ กราฟหลุดจากกับดัก %Increase ที่ 5% มาได้แค่นิดเดียว ตัวเลขยังคงอยู่ที่ราวๆ 2% ซึ่งยังน่ากังวลมาก เพราะสูงพอที่พร้อมจะระเบิด Cluster ใหม่เรื่อยๆครับ แนวโน้มตัวเลขตอนนี้ถ้ายังพอยันได้ สิ้นก.ค.น่าจะเพิ่มอีก 20,000 กว่าคนไปอยู่แถวๆ Total 60,000 ไม่รวมปริมณฑล ซึ่งก็ยังมีอีกมากให้น่าหนักใจครับ
เราไม่มีทางเปิดเทอมที่กทม.และปริมณฑลได้ภายในเร็วๆนี้ สิ้นก.ค. ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันในกทม.อย่างดีก็น่าจะแถวๆ 400 คนครับ
ความหวังเดียวคือฉีดวัคซีนในกทม.ให้ได้ 4-5 ล้านคนในเดือนหน้า ซึ่งผมว่าน่าจะเป็นเรื่องที่ยากมากครับ
คำแนะนำสำหรับ 1 เดือนข้างหน้า:
1. ไปฉีดวัคซีนให้ได้ ตัวไหนก็ได้ครับ แล้วท่านจะมีภูมิในเดือนก.ค. ส.ค. ซึ่งอาจเกิด Wave#4
2. รัฐบาลต้องหาวัคซีนมาให้ได้มากกว่านี้อีกมาก
3. กทม. WFH กันต่อไปสำหรับคนที่ยังไหว และธุรกิจที่ยังพอไหวก็ขอให้ WFH ครับ เลี่ยงสถานที่ติดแอร์กันต่อไป
4. โรงงาน และไซต์ก่อสร้าง ขอให้หยุดใช้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายทันที ตรวจเชื้อคนงานทุกคน พม่า เขมรไม่จบง่ายๆหรอกครับ ถ้าต้องปิดโรงงานท่านจะเสียหายยิ่งกว่าค่าตรวจค่าดูแลคนงานเยอะครับ วัคซีนเดือนหน้าไม่ทันหรอกครับ
5. จังหวัดสีขาว จังหวัดสีเขียวเลขตัวเดียว ขอให้เปิดเทอมอย่างระมัดระวัง
6. จังหวัดที่ตัวเลข 0 หรือตัวเลขน้อย กักตัว 14 วันทุกคนที่มาจาก กทม.ปริมณฑล และจังหวัดที่มีโรงงานที่ใช้แรงงานต่างด้าว ไปอีก 2-3 เดือน
7. ฝ่ายความมั่นคง ชายแดนจะเป็นจุดชี้เป็นชี้ตายไปจนถึงสิ้นปี จนกว่าเราจะเกิด Herd Immunity จากการฉีดวัคซีนมากพอครับ
8. ผู้สูงอายุ ขอให้เพิ่มความระมัดระวัง ผมคิดว่าเดือนหน้า คนหนุ่มสาวน่าจะเริ่มการ์ดตกกันหนักมากขึ้นครับ
ในช่วง 1 เดือนข้างหน้า สถานการณ์ยังคงเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ทั้งในประเทศและนอกประเทศ และมีโอกาสที่อะไรจะแย่ลงไปได้อีกทุกเมื่อ และน่าจะต้องสู้กันยาวถึงสิ้นปี ณ จุดนี้คงไม่มีอะไรสำคัญไปกว่า วัคซีน นี่คืออาวุธเดียวที่จะทำให้เราจบสงครามนี้ได้ครับ ส่วนระหว่างที่อาวุธหนักยังไม่มา พวกเราแต่ละคนก็ต้องใช้อาวุธเบาคือ Social Distancing, Stay Home, WFH คนละไม้คนละมือตามสภาพ ทุกคนต้องช่วยกันซื้อเวลาให้ได้ยาวนานที่สุดครับ ขออย่างเพิ่งถอดใจ อย่าเพิ่งยอมแพ้ครับ อีกไม่กี่เดือนมันก็จะจบแล้วครับ แม้ว่าช่วงใกล้จบมันอาจจะ Peak หน่อย แต่มันจบแน่ๆครับ
ขอให้ทุกท่าน ครอบครัวและคนที่ท่านรักสุขภาพแข็งแรงครับ
วันนี้ (27 พ.ค.) เฟซบุ๊ก เจริญขวัญ แพรกทอง บลาฮาสสกี้ ของนางเจริญขวัญ แพรกทอง บลาฮาสสกี้ นักเขียน และคนไทยในอเมริกา โพสต์ข้อความหัวข้อ “ถามมา ตอบไป การฉีดวัคซีนในอเมริกา” ระบุว่า
1. เลือกวัคซีนได้จริงหรือ
ในช่วงแรกของการฉีดวัคซีนในอเมริกา มีให้เลือกแค่ 2 ยี่ห้อ คือไฟเซอร์ และโมเดอร์นา ซึ่งเป็นวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ชนิด mRNA แตกต่างไปจากแอสตร้าเซนเนก้าและซิโนแวค เรื่องนี้ทุกคนคงรู้อยู่แล้ว ต่อมามีจอห์นสันแอนด์จอห์นสันเพิ่มมาอีกตัว รวมทั้งหมดเป็น 3 ยี่ห้อ หากจะบอกว่าพลเมืองอเมริกันเลือกวัคซีนได้อย่างเสรี นี่เป็นแค่ความจริงครึ่งเดียว คือเราสามารถเลือกได้จาก 1 ใน 3 ถ้าอยากเลือกวัคซีนจากจีนหรือรัสเซียก็ไม่สามารถทำได้ เพราะไม่มีให้เลือก
ประเด็นคือ ตอนที่เริ่มฉีดให้พลเมืองอเมริกันในช่วงแรก องค์การอนามัยโลกยังไม่ได้อนุมัติไฟเซอร์กับโมเดอร์นา แต่เพิ่งมาอนุมัติภายหลังการฉีดไปแล้วทั้งสองตัวนับหลายล้านโดส รวมทั้งจอห์นสันแอนด์จอห์นสันด้วย ที่เพิ่งมาอนุมัติเมื่อไม่นานมานี้ เรียกว่าฉีดก่อน อนุมัติทีหลังทั้งสามยี่ห้อ
2. การกระจายวัคซีนถึงประชาชน
รัฐบาลโจ ไบเดน ตั้งเป้าฉีดให้ได้ 100 ล้านโดสใน 100 วันแรก ช่วงแรกจะจำกัดสถานที่ฉีดแค่ไม่กี่แห่ง เช่น โบสถ์ มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล ต่อมาขยายวงเป็นร้านขายยา ซูเปอร์มาร์เกต มีแบบบริการในรถก็มี (แล้วแต่รัฐ)
ในตอนแรกใช้รูปแบบการลงทะเบียนจองฉีดแบบเดียวกับที่ใช้ในไทย กำหนดให้คนอายุ 60 ปี และคนที่มีโรคประจำตัวฉีดก่อน แต่เมื่อลงทะเบียนแล้วต้องรออีกนาน บางทีก็ไม่มีคำตอบจากเลขหมายที่ท่านเรียก จนต้องย้ายไปลงทะเบียนที่อื่น (เจอมากับตัวเอง)
ถามว่าเลือกวัคซีนได้ไหมตอนลงทะเบียน ขึ้นอยู่กับการจัดการแต่ละรัฐแต่ละเมือง กรณีเมืองที่อยู่ ด้วยความอยากรู้ เลยตรวจสอบว่าห้างไหนให้บริการยี่ห้ออะไร แล้วไปลงทะเบียนกับร้านนั้น บางรัฐไม่ให้เลือก ลงทะเบียนแล้วมีอะไรก็ฉีดไปตามที่ได้โควตามาบริการ กว่าจะเรียกฉีดก็รอประมาณหนึ่งอาทิตย์ การลงทะเบียนจะต้องกรอกที่อยู่ในอเมริกา และรายละเอียดส่วนตัว จากนั้นก็ประกาศให้อายุ 50 ปีไปลงทะเบียน ไล่ไปเรื่อยจนถึงอายุ 12 ที่ฉีดไฟเซอร์ ส่วนพวกอายุ 18-60 ปีก็เลือกเอาจากสามยี่ห้อนั่นแหละ
3. จริงไหม..ที่ฉีดวัคซีนฟรีในอเมริกา
คนไทยหลายคนบินไปฉีดวัคซีน “ฟรี” ที่อเมริกา แต่วัคซีนที่ว่าฟรีนั้นเป็น “ฟรีทิพย์” เพราะไม่ได้ฟรีจริง เพราะวัคซีนทุกขวดมาจากภาษีพลเมืองอเมริกัน ค่าวัคซีนแต่ละเข็มมีราคาที่พลเมืองอเมริกันต้องจ่าย หากใครมีประกัน (ที่ต้องจ่ายเงินซื้อประกันแพงมาก ในกรณีที่ทำงานส่วนตัว) ร้านหรือห้างที่ฉีดวัคซีนจะไปเบิกกับบริษัทประกันที่เราซื้อประกัน ตอนฉีดพนักงานฉีดขอดูบัตรประกันรัวๆ ขนาดกรอกฟอร์มออนไลน์ไปแล้วยังขอดูถึงสองหน หากไม่มีประกัน ซึ่งคนอเมริกันมากมายมหาศาลไม่มีประกันสุขภาพ เพราะไม่สามารถจ่ายได้ด้วยความแพงสาหัส
กรณีไม่มีประกัน ใบเสร็จค่าวัคซีนจะถูกส่งไปเรียกเก็บเงินกับรัฐบาลและ Medicare ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคนทำงานมีรายได้อย่างพวกทำงานบริษัทจะต้องถูกหักรายเดือนเพื่อสมทบ Medicare ส่วนพวกที่ทำธุรกิจส่วนตัวก็ต้องควักเงินซื้อประกันอันแพงนรกแตกเอง โดยจ่ายรายเดือน ดังนั้นวัคซีนฟรีที่ชื่นชมกันนั้นจึงไม่ได้ฟรีจริง ที่โหดกว่านั้น นับจากนี้ไปพลเมืองอเมริกันจะต้องควักเงินจ่ายภาษีมากกว่าเดิมเพื่อแบกรับภาระส่วนนี้ในอนาคต
4. ไปอเมริกาแล้วฉีดได้เสร็จในห้านาทีจริงเหรอ
การจะไปอเมริกาได้จะต้องมีวีซ่าอเมริกาในมือ ซึ่งขั้นตอนในการขอยุ่งยากมาก คนที่เคยขอคงรู้ มีค่าธรรมเนียมที่จ่ายแล้วไม่ได้คืนหากไม่ได้วีซ่า คนที่บินมาอเมริกาจะต้องมีวีซ่าอเมริกันในมืออยู่แล้ว ก่อนจะได้ฉีดวัคซีนจะต้องมีการลงทะเบียนจองก่อนไปฉีด ส่วนมากจะให้เพื่อนที่อยู่อเมริกาจัดการให้ นั่นคือระยะแรก แต่ระยะหลัง บางแห่ง บางรัฐ เริ่มมีการเปิดให้เดินไปขอฉีดได้เพราะยอดฉีดเริ่มไม่พุ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจัดการแต่รัฐ บางรัฐไม่อนุญาตคนที่ไม่ใช่พลเมืองฉีด แต่บางรัฐก็เปิดเสรี การฉีดนั้นไม่นาน หากไม่ต้องรอคิว ช่วงนี้จะว่างเพราะคนฉีดกันไปเยอะแล้ว ทำให้ภาพที่ออกมาตามสื่อดูชีวิตดี๊..ดี แต่หากรวมขั้นตอนการลงทะเบียน คงบอกไม่ได้ว่าจบในห้านาที
5. หลายคนอ้างว่าอเมริกันฉีดครบหมดทุกคนทุกรัฐแล้วจริงหรือ
มาดูข้อมูลวันนี้ 26 พ.ค. 2021 พลเมือง 50 เปอร์เซ็นต์ฉีดหนึ่งเข็ม ส่วนพลเมือง 39 เปอร์เซ็นต์ฉีดครบสองเข็ม เน็ตไอดอลบางคนบอกว่าคนอเมริกันฉีดครบหมดแล้วทุกคนทุกรัฐ ทางการอเมริกันถึงประกาศให้ชาติอื่นๆ เข้ามาฉีดวัคซีนในอเมริกา เรื่องนี้ไม่มีการประกาศจากทางการแต่อย่างใด พวกที่มาคือจงใจจะเข้ามาฉวยประโยชน์จากอเมริกา อาศัยช่องโหว่ตรงนี้มาเอาประโยชน์
6. บางคนบอกว่าต้องกล่าวโทษรัฐบาลไทยที่ทำคนตายเยอะมาก งั้นลองเทียบกับอเมริกาดูก็แล้วกัน แบบนี้ทรัมป์กับไบเดนต้องลาออกไหม
ยอดป่วยสะสมและยอดตายในอเมริกา วันที่ 26 พ.ค. 2021 ป่วยสะสม 33,967,669 ราย ตาย 606,126 ราย ยอดตายต่อพลเมืองหนึ่งล้านคือ 1,831 ราย ในขณะที่เมืองไทยยอดตาย 12 รายต่อพลเมืองหนึ่งล้าน รัฐที่ป่วย/ตายสูงสุดคือ แคลิฟอร์เนีย เทกซัส ฟลอริดา นิวยอร์ก และอิลลินอยส์
มาดูข้อมูลบางรัฐที่เปิดให้คนที่ไม่ใช่พลเมืองมาฉีดได้ อย่างรัฐแคลิฟอร์เนีย จัดเป็นรัฐที่มีการระบาดอันดับหนึ่งในอเมริกา ยอดตายต่อพลเมืองหนึ่งล้านคือ ตาย 1,595 ราย ยอดป่วยสะสม 3,780,845 ราย หลายคนเลือกบินมาฉีดวัคซีนที่รัฐนี้ บางคนบินมานิวยอร์ก มาดูยอดป่วยในนิวยอร์กกันว่าเท่าไหร่ ป่วยสะสม 2,148,986 ราย อัตราการตายต่อพลเมืองหนึ่งล้านคือ 2,750 ราย
7. ยอดการฉีดวัคซีนในรัฐที่ฮิตไปฉีดกันคือนิวยอร์กกับแคลิฟอร์เนีย
รัฐแคลิฟอร์เนีย - พลเมืองที่ฉีดครบสองโดสคิดเป็น 41 เปอร์เซ็นต์
รัฐนิวยอร์ก - พลเมืองที่ฉีดครบสองโดสคือ 45 เปอร์เซ็นต์ สรุปว่ายังไม่ถึงครึ่งทั้งสองรัฐ
เห็นเน็ตไอดอลสายบิวตี้ที่บินไปฉีดบอกว่า ดูสิ ผู้คนในแคลิฟอร์เนียถอดหน้ากากใช้ชีวิตปกติกันแล้ว ที่พูดแบบนี้เพราะไม่รู้ว่าอเมริกันแทบจะไม่ยอมใส่หน้ากากกันเลย จนต้องออกกฎบังคับ ถึงมีกฎแล้วก็ยังไม่ค่อยยอมใส่นัก ไม่ต้องดูอื่นดูไกล ในเมืองที่ดิฉันอยู่นี่แหละ ช่วงระบาดแบบพีกๆ นายกเทศมนตรีออกกฎให้ใส่หน้ากากเข้าร้าน พอพนักงานเตือน ลูกค้าควักปืนออกมายิงพนักงานตาย
8. มาแล้วไป...ทิ้งผลกระทบไว้ให้คนไทยในอเมริกา
การที่คนไทยบินมาฉีดวัคซีนที่คิดว่า "ฟรี" ส่งผลกระทบต่อคนไทยในอเมริกา ขณะนี้กระแสเกลียดเอเชียน่ากลัวมากถึงมากที่สุด พวกคุณมาฉีดแล้วจากไป แต่คนที่ต้องอยู่อย่างหวาดกลัวคือคนไทยที่นี่ คิดหรือว่าอเมริกันจะแฮปปี้ใจกว้างทุกคนที่รับรู้ว่ามีคนที่ไม่ใช่พลเมืองประเทศตนเข้ามาหาประโยชน์จากตรงนี้ คนไทยถูกทำร้ายในอเมริกาในหลายรัฐ จนกงสุลไทยออกมาประกาศเตือน ล่าสุดกงสุลชิคาโกออกประกาศว่ามีคนอเมริกันทำร้ายคนไทยในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม
อย่าบอกว่าเน็ตไอดอลพวกนี้รวยจัด ค่าที่นั่งชั้นประหยัดตอนนี้แพงมาก แพงกว่าปกติแบบโขกสับ แต่คนเหล่านี้บินบิสคลาสที่แพงกว่าเก่า เอาเงินมาจากไหน
ทำไมเน็ตไอดอลเหล่านี้เจาะจง “ไฟเซอร์” ทำไมไม่เลือกฉีดโมเดอร์นา ทั้งที่หากเทียบผลข้างเคียงคนฉีดโมเดอร์นามีผลข้างเคียงน้อยกว่าไฟเซอร์
มีการว่าจ้างคนเหล่านี้หรือเปล่า แน่นอนว่าพวกนี้พูดความจริงครึ่งเดียว และต้องมีวีซ่าอเมริกาอยู่ในมือก่อนแล้ว เน็ตไอดอลที่บินไปเป็นไอดอลกลุ่มวัยรุ่น หนุ่มสาววัยทำงานเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นวัยที่ยึดครองโลกโซเชียล ที่สำคัญคือเน็ตไอดอลเหล่านี้สนับสนุนม็อบทุกราย ทั้งเปิดเผยและแอบแฝง
จากนั้นก็รับลูกต่อด้วยการนำไปเผยแพร่ ในสื่อในเพจฝั่งสนับสนุนม็อบทุกสื่อ ทั้งสื่อหลักและสื่อออนไลน์"
หน้าที่ 41 จาก 73