"ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง" เช็คชัด ๆ มีข้อดี-ข้อเสีย อย่างไร สรุปมาให้แล้ว
 
 

"ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง" ทางเลือกใหม่วัคซีนต้านโควิด-19 เช็คชัด ๆ มีข้อดี-ข้อเสีย อย่างไร ประสิทธิภาพเท่าเข้ากล้ามหรือไม่ สรุปมาให้แล้ว

"ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง" ข้อดี-ข้อเสีย หลังจากที่ ที่ประชุมคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคได้มีมติเห็นชอบ การฉีดวัคซีนเข้าในชั้นผิวหนัง รวมทั้งล่าสุด ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ ได้เพิ่มทางเลือกในการฉีด "วัคซีนเข็มกระตุ้น" วัคซีนเข็ม 3 วัคซีนเข็ม 4 ด้วยการ "ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง" ด้วย "คมชัดลึกออนไลน์" ได้รวบรวมข้อดี และ ประสิทธิภาพของการฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง เพื่อประกอบการตัดสินใจ ดังนี้

"หมอดื้อ" นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้การสนับสนุนข้อมูลเรื่องการฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังมาโดยตลอด โดยระบุว่า การฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง ไม่ใช่ประหยัดอย่างเดียว แต่เพื่อความปลอดภัยสูงสุดด้วย ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ประหลาดมหัศจรรย์ ในการนำวัคซีนทุกประเภทมาใช้ในการฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ทั้งนี้ ประโยชน์ที่จะได้รับนั้น คือการที่จะสามารถประหยัดวัคซีนลงได้มหาศาล โดยเฉพาะในเรื่องของวัคซีนโควิด

ซึ่งข้อมูลในปัจจุบันยืนยันกันแล้วว่า ต้องสามารถฉีดให้ได้ 90% ของคนในพื้นที่ หรือในประเทศภายในระยะเวลาอันสั้น นั่นคือไม่เกินสามเดือน ทั้งนี้ เพื่อไม่เปิดโอกาสให้ไวรัสมีการแพร่เป็นลูกโซ่ออกไปต่อ ซึ่งในระหว่างการแพร่นั้น จะมีการพัฒนาตนเองให้เก่งกาจมากขึ้น ทั้งในการติดง่าย ซึ่งหมายถึงหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันของมนุษย์ตามธรรมชาติ และดื้อต่อภูมิที่ได้จากวัคซีน และยังรวมทั้งดื้อต่อภูมิที่ได้จากการติดเชื้อ ที่เกิดขึ้นมาก่อน และทำให้อาการหนัก ตายมากขึ้น

 

ประโยชน์ที่สำคัญคือในเรื่องของความปลอดภัยและผลแทรกซ้อน 

  1. การฉีดเข้าชั้นผิวหนังจะใช้ปริมาณน้อยมาก ดังนั้น การกระตุ้นทำให้เกิดผลแทรกซ้อน หรือผลข้างเคียงจะน้อยกว่า 
  2. ยังสามารถอธิบายได้จากการที่การฉีดเข้าชั้นผิวหนังนั้น กลไกในการกระตุ้นภูมิจะแยกออกอีกสายที่เรียกว่าเป็น Th2 ในขณะที่การฉีดเข้ากล้ามการกระตุ้นจะเป็นสาย Th1 และสาย Th1 นี้เอง ที่เป็นขั้นตอนกระบวนการของโควิด ที่ทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรง ต่อจากเม็ดเลือดขาว นิวโตรฟิล และต่อเนื่อง จนกระทั่งเกิดมีลิ่มเลือดอุดตัน หรือเนื้อเยื่อและอวัยวะอักเสบทั่วร่างกาย รวมกระทั่งถึงกล้ามเนื้อหัวใจและสมองอักเสบ ที่เราเรียกว่ามรสุมภูมิวิกฤติ (cytokine storm)
  3. ทั้งนี้เราทุกคนต้องไม่ลืมว่าวัคซีนนั้น คือร่างจำลองของไวรัสโควิดนั่นเองและส่วนที่วัคซีนทุกยี่ห้อนำมาใช้นั้นจะมีส่วนหรือชิ้นของไวรัสที่เกาะติดกับเซลล์มนุษย์ และเป็นตำแหน่งเดียวกันกับที่ทำให้เกิดการอักเสบ จาก ACE2 รวมกระทั่งถึงการทำให้มีความเบี่ยงเบน ขาดสมดุลระหว่าง Th1 และTh2 โดยออกไปทาง Th1 และ ต่อด้วยอีกหลายสายย่อย รวมทั้ง 17 เป็นตัน รวมทั้งกระตุ้นการสร้างภูมิที่กลายเป็นตัวไวรัสจำแลง anti-idiotypic antibody

ผลข้างเคียงที่พบจากการ "ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง"

  • การฉีดเข้าชั้นผิวหนังไม่ต่ำกว่า 400 ราย ได้ผลดีและมีผลข้างเคียงเป็นเฉพาะที่ตุ่มแดง หรือคัน โดยผลข้างเคียงรุนแรงไข้ปวดหัวปวดเมื่อย และอาการร้ายแรงอื่น ๆ ไม่ปรากฏ หรือน้อยมาก
  • ประสบการณ์การศึกษาของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และจากโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ก็ได้แสดงถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยในลักษณะเดียวกัน โดยผลข้างเคียงที่เกิดแก่ระบบทั่วร่างกาย ต่ำกว่าการฉีดเข้ากล้าม 10 เท่าหรือมากกว่า

สรุปประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการฉีดวัคซีนเข้าในชั้นผิวหนัง


จากผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยของค่าภูมิคุ้มกันหลังฉีด 2 สัปดาห์นั้น สูงถึง 17,662.3 AU/ml เลยทีเดียว และปฏิกิริยาทั่วร่างกายที่เกิดขึ้นก็น้อยกว่าการฉีดเข้ากล้ามเนื้ออีกด้วย

นอกจากนี้ ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ก็ได้ออกมาโพสต์เกี่ยวกับการศึกษาในอาสาสมัครจำนวน 30 คน โดยทีมนักวิจัยจากเนเธอร์แลนด์ ทดสอบการฉีด Moderna Vaccine ใหม่ โดยแทนที่จะฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular Injection: IM) 2 เข็มห่างกัน 4 สัปดาห์ เปลี่ยนเป็นฉีดเข้าในชั้นผิวหนัง 
(Intradermal Injection: ID) 2 เข็มห่างกัน 4 สัปดาห์แทน จากนั้น ได้ทำการวัดระดับแอนติบอดี้ เมื่อฉีดครบ 2 สัปดาห์แล้ว พบว่า ระดับ anti-spike และ anti-RBD สูงเทียบเท่ากับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ โดยที่ผลข้างเคียงแทบไม่ต่างกันเลย

สอดรับกับ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ก็ได้กล่าวถึงผลการวิจัยภูมิคุ้มกันและความปลอดภัย จากการได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นเข้าชั้นผิวหนัง ซึ่งเป็นการวิจัยที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยฉีด "วัคซีนเข็ม 3" หรือบูสเตอร์โดส ให้กับอาสาสมัครที่ฉีดวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็มมาแล้ว 4 – 8 สัปดาห์ และ 8 – 12 สัปดาห์ ซึ่งเปลี่ยนจากการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เป็นฉีดเข้าในชั้นผิวหนัง หลังจากนั้น 14 วัน ได้เจาะเลือดเพื่อตรวจผลข้างเคียงและการเกิดภูมิคุ้มกัน พบว่า 

  • เกิดอาการเฉพาะที่หรือจุดที่ฉีดมากกว่าการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เช่น อาการปวด บวม แดง คลำแล้วเป็นไต
  • อาการทั่วไปของร่างกายที่มีปฏิกิริยาเกิดขึ้น เช่น ไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย น้อยลง เมื่อเทียบกับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 
  • การตอบสนองภูมิคุ้มกัน สำหรับส่วนของภูมิทั่วไป พบว่า หากฉีดซิโนแวค 2 เข็ม ในภาพรวมจะมีภูมิขึ้นมาประมาณหนึ่ง แต่หากฉีดกระตุ้นไม่ว่าจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือชั้นผิวหนัง และไม่ว่าจะเป็นระยะเวลา 4 – 8 สัปดาห์ หรือหลังจากนั้นเล็กน้อย พบว่าเกิดภูมิเพิ่มขึ้นมาค่อนข้างสูงใกล้เคียงกัน

ขณะที่การยับยั้งโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา พบว่า หากฉีด 2 แบบเปรียบเทียบกัน ได้ผลไม่แตกแต่งกันมาก ดังนั้น ยืนยันว่า การฉีดเข้าในชั้นผิวหนังสามารถจัดการสายพันธุ์เดลตาได้เช่นกัน

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/503765?adz=

 

    
 

            มาพร้อมกับการแพร่ระบาดของไวรัส คงปฏิเสธไม่ได้กับข้อมูลแชร์ต่อๆกันบนโลกออนไลน์แบบ

ไม่มีแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ อาจไม่ใช่เรื่องจริงเสมอไป และสร้างความเข้าใจผิดได้ ดังนั้นเราจึงได้รวบรวม

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ COVID-19 โดยมี ศ. พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล ภาควิชาอายุรศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มาช่วยตอบคำถามไขข้อเท็จ

ให้ทุกคนได้เข้าใจอย่างถูกต้อง ดังนี้

 

              1. ฉีดแอลกอฮอล์ใส่หน้ากากอนามัยแล้วนำมาใช้ต่อได้

              ไม่จริง : การฉีดแอลกอฮอล์ใส่หน้ากากอนามัยเป็นส่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะด้านหน้า

ของหน้ากากอนามัยมีการเคลือบสารกันซึมไว้ ดังนั้นการฉีดแอลกอฮอล์ใส่หน้ากากอนามัย จะทำให้

คุณสมบัติของสารกันซึมนั้นเสื่อมประสิทธิภาพ เกิดการรั่วซึมและไม่สามารถป้องกันฝุ่นหรือเชื้อโรคได้

 

              2. การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ลดความเสี่ยงในการเป็น COVID-19

              ไม่จริง : วัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันได้เฉพาะโรคไข้หวัดใหญ่เท่านั้น ไม่สามารถป้องกัน

COVID-19 ได้ และในขณะนี้วัคซีนของ COVID-19 ยังอยู่ในขบวนการศึกษาวิจัย ต้องใช้เวลาหลายเดือน

กว่าจะสามารถนำมาใช้ได้จริงกับคน

 

 

              3. ไม่มีไข้ก็สามารถเป็น COVID-19 ได้

              จริง : ในระยะเริ่มต้นของโรคผู้ป่วยร้อยละ 50 อาจไม่มีไข้ได้ แต่หากเข้าสู่ระยะที่เป็นมากขึ้นหรือ

ต้องนอนโรงพยาบาลผู้ป่วยกว่าร้อยละ 90 จะมีไข้ชัดเจน ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับระยะของโรค ถ้าหากเป็นวันแรก ๆ

การตรวจวัดไข้อาจไม่พบได้

 

              4. ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือสามารถป้องกัน COVID-19 ได้

              ไม่จริง : การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเหมาะสำหรับคนที่เป็นภูมิแพ้ คนที่มีอาการคัดจมูกหรือเป็น

ไซนัสอักเสบ แต่ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาวิจัยที่บอกว่าการล้างจมูกจะช่วยป้องกัน COVID-19 ได้

 

              5. การกินวิตามิน หรือสมุนไพร จะช่วยป้องกัน COVID-19

              ไม่จริง : อย่างที่บอกไปเบื้องต้นว่าในขณะนี้ไม่มีวิตามินหรือสมุนไพรที่ช่วยป้องกัน COVID-19

เพราะกำลังอยู่ในกระบวนการศึกษาวิจัย ดังนั้นการกินวิตามิน หรือสมุนไพร ไม่สามารถช่วยป้องกัน COVID-19 ได้

 

              6. หากกลั้นหายใจได้เกิน 10 วินาที แสดงว่าไม่เป็น COVID-19

              ไม่จริง : การกลั้นหายใจไม่สามารถบ่งบอกได้ว่าเป็น COVID-19 หรือไม่ รวมถึงแอปพลิเคชัน

หรือวิธีเช็กลิสต์ต่าง ๆ ที่ออกมาตามโซเชียลมีเดีย ก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ ต้องดูที่อาการและความเสี่ยงที่เข้าเกณฑ์เป็นหลัก

 

              7. คนทั่วไปไม่จำเป็นต้องใช้หน้ากาก N95

              จริง : หน้ากาก N95 ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้คนทั่วไปใส่ในชีวิตประจำวันหรือใส่เป็นเวลานาน ๆ

เพราะเป็นหน้ากากที่มีคุณสมบัติป้องกันเชื้อโรคได้สูง เมื่อใส่นาน ๆ จะเกิดความอึดอัด ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับ

บุคลากรทางการแพทย์ ที่ต้องเข้าไปใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็น COVID-19 ส่วนคนทั่วไปโดยเฉพาะคนที่ไม่ป่วย

สามารถใช้หน้ากากผ้าได้ เพราะประหยัดและนำกลับมาใช้ซ้ำได้

 

              8. หากเคยเป็น COVID-19 แล้วร่างกายจะมีภูมิต้านทาน

              จริง : COVID-19 คือการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งตามหลักการทั่วไปของการติดเชื้อไวรัสนั้น

หากหายดีแล้ว ร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันหรือภูมิต้านทานต่อโรคนั้น ๆ ป้องกันการกลับเป็นโรคซ้ำ แต่ในอนาคต

ต้องการการศึกษาเพิ่มเติมเพราะหากมีการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส ก็อาจมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำได้

 

              9. ล้างมือด้วยสบู่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ดีกว่าเจลแอลกอฮอล์

              ไม่จริง : การล้างมือด้วยสบู่และเจลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้น 70% ขึ้นไปนั้นมีประสิทธิภาพการ

ฆ่าเชื้อได้เท่าเทียมกัน แต่การล้างมือด้วยสบู่มีข้อดีกว่าเล็กน้อยเพราะจะสามารถล้างได้สะอาดและหมดจดกว่า

เจลแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะถ้ามื้อเปื้อน ส่วนเจลแอลกอฮอล์จะเหมาะสำหรับการพกพาใช้ระหว่างวันเพราะสะดวกกว่า

 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.thaipost.net/main/detail/64439

 
"ดื่มกาแฟ" กี่แก้วต่อวัน เสี่ยงกระทบ 4 ระบบของ ร่างกาย ร้ายแรงถึงขั้น ไตวาย
 
 

กรมอนามัย เตือน "ดื่มกาแฟ" มากไป เกิน 4 แก้วต่อวัน เสี่ยงกระทบ 4 ระบบของ ร่างกาย ร้ายแรงถึงขั้นเกิดภาวะ ไตวาย - เสี่ยง โรคหัวใจ

หากจะพูดถึงเครื่องดื่ม ที่สร้างความสดชื่น ตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า ปลุกให้คุณตื่นยามเช้า ก่อนไปลุยงาน หรือ แม้กระทั่ง ช่วงบ่าย ของวันทำงาน "กาแฟ" เป็นทางเลือกแรก ที่มนุษย์ออฟฟิศนึกถึงก่อนเป็นอันดับแรก ถึงขั้นเรียกได้ว่า เสพติดกาแฟกันเลยทีเดียว วันไหนที่ไม่ได้ดื่มกาแฟนั้นเหมือนร่างกายขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปเลย แต่หากพูดถึง กาแฟ หากดื่มให้เป็น ดื่มให้พอดี เรียกได้ว่ามีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ถ้าหากดื่มกาแฟมากเกินไป หรือ ดื่มกาแฟแทนน้ำ จากที่เป็นคุณก็จะเป็นโทษ

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า คนวัยทำงานนิยมดื่มกาแฟ เพื่อให้ตื่นตัว สดชื่น ลดความง่วง เพิ่มความกระปรี้กระเปร่า ในช่วงเช้า หรือระหว่างวัน ทำให้มีพฤติกรรมเคยชินในการดื่มกาแฟ จึงอาจเผลอดื่มมากเกินไป นอกจากนี้ ยังมีโอกาสได้รับคาเฟอีนจากแหล่งอาหารอื่นที่ไม่ใช่กาแฟร่วมด้วย เช่น น้ำชา น้ำอัดลม โกโก้ เครื่องดื่มชูกำลัง

ผู้ใหญ่สามารถบริโภคคาเฟอีนได้ โดยควรรับในปริมาณที่เหมาะสมจากเครื่องดื่ม และอาหารต่าง ๆ แนะนำให้จำกัดปริมาณคาเฟอีนที่ได้รับในแต่ละวัน ไม่เกิน 300 - 400 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเทียบเท่ากับกาแฟ 3 - 4 แก้ว หากร่างกายได้รับคาเฟอีนในปริมาณมากเกินไป หรือเรียกว่าการบริโภคคาเฟอีนเกินขนาด (Caffeine Overdose) จะส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนี้ 

กาแฟ

  1. ระบบประสาทส่วนกลาง จะทำให้มือสั่น นอนไม่หลับ เกิดความวิตกกังวล ปวดศรีษะ บางครั้งอาจทำให้ชักได้ 
  2. ระบบทางเดินอาหาร จะเพิ่มการหลั่งของกรดและน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ทำให้ปริมาณน้ำย่อยและกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้น ผู้ที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้ จึงควรหลีกเลี่ยงกาแฟทุกชนิด รวมทั้งเครื่องดื่ม หรืออาหารที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ 
  3. ระบบการไหลเวียนโลหิต คาเฟอีนกระตุ้นหัวใจ เพิ่มการไหลเวียนโลหิต อาจเพิ่มความดันโลหิตชั่วคราว โดยเฉพาะในผู้ที่ปกติไม่บริโภคคาเฟอีน กลุ่มที่มีภาวะความดันโลหิตสูงอยู่เดิม ภาวะความดันโลหิตสูง อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ 
  4. ระบบทางเดินปัสสาวะ คาเฟอีนลดการดูดน้ำกลับ ตอนผ่านเข้าไปในไต ทำให้ไตขับน้ำออกมาเยอะขึ้น กระตุ้นให้เกิดการปัสสาวะบ่อยขึ้น แคลเซียมซึ่งเป็นสารก่อนิ่วชนิดหนึ่ง จะถูกขับออกมาพร้อมปัสสาวะ ในภาวะที่มีปริมาณผิดปกติ และสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย อาจก่อให้เกิดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ การทำงานของไตเสื่อมลง และอาจเป็นอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเกิดภาวะไตวาย

ทั้งนี้ ควรเลือกดื่มเป็นกาแฟดำไม่ใส่นมและน้ำตาล เลือกสั่งแบบหวานน้อย หรือเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ ‘ทางเลือกสุขภาพ’ ที่ปรากฏบนซองหรือบรรจุภัณฑ์สินค้า หรือหากต้องการจำกัดไขมัน หรือน้ำตาล อาจเลือกเป็นสูตรแคลอรีต่ำ หรือสูตรไม่มีน้ำตาล จะช่วยให้สมองตื่นตัว รู้สึกกระปรี้กระเปร่า หรือเมื่อดื่มกาแฟเย็นแล้ว ควรลดอาหารหวาน มัน และของทอด ในมื้ออาหารหลักลง ซึ่งผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ อาจเสี่ยงภาวะกระดูกพรุน เนื่องจากสูญเสียแคลเซียมออกจากร่างกายทางปัสสาวะ จึงควรกินอาหารที่มีแคลเซียม จากแหล่งอื่นร่วมด้วย เช่น นม ปลาเล็กปลาน้อย ผักใบเขียว เป็นต้น และกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำเปล่าสะอาด 8 - 10 แก้วต่อวัน นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อช่วยเผาผลาญพลังงานส่วนเกิน

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/health/528431?adz=

 

 "ตั๊ก มยุรา" อัปเดตอาการ หลังฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เข็มแรก

 

เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 เข็มแรกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับ นักแสดงรุ่นใหญ่ "ตั๊ก มยุรา" ที่ไปรับการฉีดวัคซีน พร้อมกับ สามีสุดเลิฟ "หนุ่ย ธาดา เศวตศิลา" ที่โรงพยาบาล บำรุงราษฎร์ เมื่อวานที่ 8 มิถุนายน ที่ผ่านมา

 

โดย “ตั๊ก มยุรา” ได้โพสต์ภาพการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 พร้อมเขียนข้อความว่า “เรียบร้อยค่ะ สำหรับการฉีดวัคซีน เข็มแรก AstraZeneca ของเราสองคนในวันนี้ ราบรื่นดีมาก ขอบคุณโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กับการดูแล และ บริหารการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพจริงๆค่า เบื้องต้นยังไงมีอาการ รอดูคืนนี้จ้า”

"ตั๊ก มยุรา" อัปเดตอาการ หลังฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เข็มแรก

"ตั๊ก มยุรา" อัปเดตอาการ หลังฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เข็มแรก

ล่าสุดวันนี้ (9 มิถุนายน 64) “ตั๊ก มยุรา” ได้โพสต์คลิป เล่าถึงอาการข้างเคียง หลังจากฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 มาได้ 1 คืน โดย “ตั๊ก มยุรา” บอกว่า “เมื่อวานฉีดตอนบ่าย 2 โมง ทุกอย่างราบรื่นเรียบร้อยดีกลับมาบ้านก็พยายามไม่ทำอะไร ขยับแขนขยับขา มันมีอาการหาวบ้างนิดหน่อย แต่สามีจะมีอาการตึงๆ ที่ศีรษะนิดหน่อย แต่ผลข้างเคียงเหล่านี้ก็ไม่ได้ถือว่ามาก

 

"ตั๊ก มยุรา" อัปเดตอาการ หลังฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เข็มแรก

แล้วหลังจากนั้นเราก็เข้านอนกันปกติ แต่ก่อนนอนทานยาพาราดักไว้เลยหนึ่งเม็ด หลังจากนั้นตื่นขึ้นมาก็โอเคคุณหนุ่ยแข็งแรงไม่เป็นอะไร ตัวพี่ตั๊กเองก็โอเค ตื่นเช้ามาก็ทานยาพาราอีกหนึ่งเม็ด ทุกอย่างปกติดี แขนข้างที่ฉีดก็ไม่ได้รู้สึกปวด อาจจะมีตุ่ยๆ เป็นเรื่องปกติของการฉีดวัคซีน แต่ว่าเราก็ขยับแขนได้เป็นปกติ แต่อยากจะบอกว่าขอให้ฉีดเถอะค่ะ

"ตั๊ก มยุรา" อัปเดตอาการ หลังฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เข็มแรก

ตอนนี้วัยนี้กำลังไล่ฉีดแอสตร้าเซนเนก้าหมดแล้ว ไม่ได้มีผลอะไรถ้าคุณเตรียมตัวอย่างดี เช่น เขาบอกว่า งดกาแฟ ชา ต้องงดจริงๆ บางคนอาจจะไม่มีวินัย แอบบ้าง และ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ

พอตื่นมาวันนั้นรับประทานน้ำลิตรถึงลิตรครึ่ง ขวดใหญ่ทานเลยเต็มที่ แล้วพร้อมที่จะไปฉีดวัคซีน ทำแค่นี้ก็น่าจะโอเคเพราะตัวเองเตรียมตัวแบบนี้แล้วทุกอย่างก็ราบรื่น ตื่นเช้ามาก็โอเคยังไม่มีอาการอะไร เดี๋ยวจะรอคืนนี้ดูอีกวันถ้ามีอาการอะไรจะมาแชร์ แต่ฉีดเถอะค่ะ อยากให้ฉีดเราจะได้ปลอดภัยไปด้วยกัน” 

"ตั๊ก มยุรา" อัปเดตอาการ หลังฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เข็มแรก

"ตั๊ก มยุรา" อัปเดตอาการ หลังฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เข็มแรก

 

 ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/ent/469844?adz=

"ติดโควิด" Omicron กักตัวกี่วัน ก่อนออกไปทำงาน ปลอดภัยสุด 

"ติดโควิด" โอไมครอน Omicron กักตัวกี่วัน ก่อนออกไปทำงาน ปลอดภัยสุด หมอธีระ เผยข้อมูล กักตัว แค่ 5 วัน โอกาสหลุด 50%

"ติดโควิด" กักตัวกี่วัน ระลอก โอไมครอน Omicron 5 วัน 10 วัน หรือ 14 วัน ถึงจะเพียงพอ ต่อระยะ ไม่แพร่เชื้อ แล้ว ล่าสุด (23 ก.ค.2565) "หมอธีระ" รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ให้คำแนะนำเกี่ยวกับมาตรการป้องกันโควิด-19 ในสถานที่ทำงาน โรงงาน และสถานประกอบการ ระบุว่า

"ติดโควิด" กักตัวกี่วัน ตามความรู้วิชาการแพทย์ปัจจุบันเกี่ยวกับ โอไมครอน Omicron หากมีคนติดเชื้อ กักตัวแค่ 5 วัน โอกาสหลุด 50% 7 วันหลุด 25% 10 วัน โอกาสหลุดราว 10% แต่หาก 14 วัน ก็ดูจะปลอดภัย อย่างไรก็ตาม มักทำได้ยาก เพราะกระทบต่อระบบงานมาก

 

ดังนั้น หากทางสถานที่ทำงานต่าง ๆ สามารถบริหารจัดการกำลังคนได้ ให้แยกกักตัวไปอย่างน้อย 10 วันย่อมดีที่สุด แต่หากไม่ไหว หรือจำเป็นมากจริง ๆ ก็ควรให้ความรู้ และ/หรือฝึกอบรมบุคลากรที่ติดเชื้อเกี่ยวกับการป้องกันตัวให้ดี และให้กักตัว 7 วัน และตรวจ ATK ซ้ำ หากได้ผลลบ ก็มาทำงานโดยป้องกัน
อย่างเคร่งครัดอีกอย่างน้อย 7 วัน

ส่วนแนวปฏิบัติในสถานที่ทำงานสำหรับทุกคนในสถานการณ์ระบาดหนักขณะนี้ การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีการถ่ายเทอากาศดี การไม่รับประทานอาหารร่วมกัน และการใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอนั้น มีความสำคัญมาก

ติดโควิดกักตัวกี่วัน

 

ติดโควิดกักตัวกี่วัน

"ติดโควิด" กักตัวกี่วัน ขณะที่ งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารทางการแพทย์ New England Journal of Medicine เมื่อ 29 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ได้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับระยะเวลาที่ยังตรวจพบเชื้อ ปริมาณเชื้อ และเพาะเชื้อขึ้น หลังจากติดเชื้อโควิด-19 จากข้อมูลวิจัยจะเห็นได้ว่า การกักตัว 5 วันหลังการติดเชื้อนั้น ไม่เพียงพออย่างแน่นอน และยังไม่ปลอดภัย เนื่องจากยังสามารถเพาะเชื้อได้ถึงอีกเกือบ 50% และยังมีปริมาณไวรัสที่ตรวจพบระดับสูง ถ้าจะปลอดภัยตามข้อมูลเรื่องปริมาณเชื้อ และอัตราการเพาะเชื้อขึ้น คือราว 2 สัปดาห์ หรืออย่างน้อย 10 วันขึ้นไป แต่ในทางปฏิบัติจะทำได้ยากด้วยความจำเป็นด้านเศรษฐกิจ แรงงาน และการใช้ชีวิตในสังคม

ดังนั้น หากผู้ที่ติดโควิด จำเป็นต้องกลับไปใช้ชีวิต หรือทำงานก่อนเวลา 7-10 วัน ก็ต้องตระหนักเสมอว่า อาจนำเชื้อไปแพร่ให้คนอื่นได้ จึงควรป้องกันตัวเข้ม ๆ ระหว่างการใช้ชีวิตประจำวันต่อจนกว่าจะครบ 2 สัปดาห์ เพื่อจะได้ลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ โดยใส่หน้ากาก N95 หรือเทียบเท่า ไม่ถอดหน้ากากเวลาพบปะ ทำงาน หรือพูดคุยกับผู้อื่น รักษาระยะห่าง และที่สำคัญมากคือ ไม่ไปร่วมวงกินข้าวในที่ทำงาน ไม่ไปร่วมวงปาร์ตี้กินดื่มสังสรรค์ หรือกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อแก่ผู้อื่น หากช่วยกันปฏิบัติดังที่กล่าวมาข้างต้น ก็จะช่วยลดโอกาสติดเชื้อแพร่เชื้อตามสถานที่ต่าง ๆ ท่ามกลางสถานการณ์ระบาดปัจจุบันได้บ้างไม่มากก็น้อย

 

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/523517?adz=

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ