ในข้อมูลอัปเดตเมื่อวันเสาร์ (18 ธ.ค.) องค์การอนามัยโลกระบุว่า จนถึงตอนนี้ได้รับรายงานพบเคสผู้ติดเชื้อโอมิครอนแล้วใน 89 ประเทศ และจำนวนเคสผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเท่าตัวในช่วงเวลาเพียงแค่ 1.5 ถึง 3 วัน พร้อมบอกว่ามันแพร่เชื้อได้รวดเร็วกว่าตัวกลายพันธุ์เดลตาเป็นอย่างมาก ในประเทศต่างๆ ที่พบการแพร่ระบาดในชุมชน

อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลกยอมรับว่ายังไม่ชัดเจนว่าทำไมตัวกลายพันธุ์ใหม่นี้ถึงกำลังแพร่ระบาดรวดเร็วมากในหมู่ประชากรที่มีภูมิคุ้มกันระดับสูง อาจเป็นเพราะมีการแพร่กระจายเชื้อเพิ่มขึ้น หลบหลีกภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าเดิม หรือรวมกันทั้ง 2 ปัจจัย

"ข้อมูลที่หาได้ยังคงมีอย่างจำกัด และหลักฐานต่างๆ ไม่ผ่านการตรวจสอบทบทวนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งประสิทธิภาพของวัคซีนสำหรับโอมิครอนจนถึงตอนนี้" องค์การอนามัยโลกกล่าวระหว่างแถลงสรุปทางเทคนิค

 
องค์การอนามัยโลกเตือนว่า ด้วยการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและจำนวนเคสผู้เข้ารักษาตัวตามโรงพยาบาลต่างๆ ในสหราชอาณาจักรและแอฟริกาใต้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ "มันจึงเป็นไปได้ว่าระบบสาธารณสุขอาจประสบปัญหาคนไข้ล้นโรงพยาบาลอย่างรวดเร็ว"

ถ้อยแถลงขององค์การอนามัยโลกบอกว่าจำเป็นต้องมีข้อมูลมากกว่านี้ในแง่ของความรุนแรงทางคลินิกของตัวกลายพันธุ์โอมิครอน โดยยอมรับว่าพวกเขายังคงไม่เข้าใจเกี่ยวกับ "ภาวะการณ์ความรุนแรง และมันส่งผลกระทบต่อภูมิคุ้มกันที่เกิดจากวัคซีนและเคยติดเชื้อมาแล้วหนักหนาแค่ไหน"

นับตั้งแต่ถูกพบในแอฟริกาใต้เมื่อราวๆ 5 สัปดาห์ก่อน การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของโอมิครอน โหมกระพือมาตรการแบนด้านการเดินทางรอบใหม่ เช่นเดียวกับข้อจำกัดใหม่สกัดการแพร่ระบาด ในนั้นมีหลายประเทศที่ประกาศล็อกดาวน์เต็มรูปแบบ

สหราชอาณาจักรรายงานพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่รายวันเพิ่มขึ้น 3 วันติด โดยในวันศุกร์ (17 ธ.ค.) พบผู้ติดเชื้อเพิ่มอีกกว่า 93,000 คน ในขณะที่มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ในลอนดอนกำลังพิจารณาแนวคิดที่จะล็อกดาวน์เข้มงวดรอบใหม่เป็นเวลา 2 สัปดาห์ หลังจากคริสต์มาส

(ที่มา : รัสเซียทูเดย์)
 
 
WHO หวั่นโควิดเกาหลีเหนือเพาะสายพันธุ์ใหม่
เจ้าหน้าที่ระดับสูงองค์การอนามัยโลกเตือน การติดเชื้อจำนวนมากในกลุ่มคนที่ไม่ฉีดวัคซีนอย่างในเกาหลีเหนือเสี่ยงสูงทำให้เกิดโควิดสายพันธุ์ใหม่

นายไมค์ ไรอัน ผู้อำนวยการแผนกฉุกเฉิน องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวเมื่อวันอังคาร (17 พ.ค.) ตามเวลานครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ว่า WHO มีความกังวลหากประเทศใดไม่ใช่เครื่องมือที่มีพร้อมในตอนนี้

“WHO กล่าวเสมอมาว่า ที่ไหนก็ตามที่เกิดการแพร่เชื้อตรวจสอบไม่ได้ ที่นั่นมักเสี่ยงสูงเกิดสายพันธุ์ใหม่”

นายทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการ WHO แถลงในเวทีเดียวกัน เป็นห่วงอย่างยิ่งเรื่องไวรัสแพร่ในประชาชนที่ไม่ฉีดวัคซีนและมีโรคประจำตัวอยู่ก่อนแล้ว

ก่อนหน้านี้ WHO เคยกล่าวว่า รัฐบาลเปียงยางยังไม่แจ้งให้ทราบอย่างเป็นทางการถึงการระบาดของโควิด-19 เห็นได้ชัดว่าขัดกับพันธกรณีตามกฎหมายสาธารณสุขระหว่างประเทศของประเทศสมาชิก WHO ส่วน WHO จะรับมืออย่างไรนั้น นายไรอันกล่าวว่า องค์กรพร้อมให้ความช่วยเหลือเกาหลีเหนือ แต่ไม่มีอำนาจเข้าไปแทรกแซงรัฐอธิปไตยใดๆ ได้

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/world/1004956?anf=

 
องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดการประชุมฉุกเฉินวานนี้ (20 พ.ค.) เพื่อหารือมาตรการรับมือโรคฝีดาษลิง (monkeypox) ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่พบในแถบแอฟริกากลางและตะวันตก หลังมีรายงานพบผู้ป่วยในทวีปยุโรปแล้วไม่ต่ำกว่า 100 ราย

ทางการเยอรมนีระบุว่า นี่อาจเป็น "การระบาดครั้งใหญ่ที่สุด” ของฝีดาษลิงในยุโรป โดยขณะนี้พบผู้ป่วยแล้วในอย่างน้อย 9 ประเทศ ได้แก่ เบลเยียม ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน และสหราชอาณาจักร ส่วนที่ สหรัฐฯ แคนาดา และออสเตรเลีย ก็เริ่มพบผู้ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ด้วยเช่นกัน

สเปนยืนยันพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงเพิ่มขึ้น 24 รายในวันศุกร์ (20) โดยเฉพาะในเขตกรุงมาดริด ซึ่งทางการได้สั่งปิดห้องเซาน่า (sauna) แห่งหนึ่งที่พบว่าเชื่อมโยงกับเคสผู้ป่วยหลายราย

โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในอิสราเอลแจ้งว่ากำลังให้การรักษาชายวัย 30 ปีเศษ ซึ่งเริ่มแสดงอาการคล้ายกับโรคฝีดาษลิง หลังเดินทางกลับจากยุโรปตะวันตกได้ไม่กี่วัน

การพบผู้ป่วยฝีดาษลิงในกว่า 10 ประเทศคราวนี้ถือเป็นเรื่องน่ากังวล เนื่องจากไวรัสซึ่งพบเป็นครั้งแรกในลิงมักจะแพร่เชื้อในกลุ่มผู้สัมผัสใกล้ชิด และแทบไม่เคยมีการระบาดนอกทวีปแอฟริกามาก่อน

 
อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ยังเชื่อว่าโรคนี้จะไม่ลุกลามขยายวงกว้างจนกลายเป็นโรคระบาดใหญ่ (pandemic) แบบโควิด-19 เนื่องจากไวรัสตัวนี้ไม่ได้แพร่กระจายได้ง่ายเหมือน SARS-COV-2

ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการไข้ ปวดหัว และมีผื่นขึ้นตามลำตัว โดยเริ่มจากบริเวณใบหน้า ก่อนจะกระจายไปทั่วทุกส่วนของร่างกาย ทว่าส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง

หน่วยแพทย์ทหารเยอรมนีซึ่งตรวจพบผู้ป่วยฝีดาษลิงรายแรกของประเทศเมื่อวานนี้ (20) ยอมรับว่า “นี่คือการระบาดครั้งใหญ่ที่สุดของฝีดาษลิงเท่าที่ยุโรปเคยเผชิญมา”

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษลิง แต่มีข้อมูลจาก WHO ว่าวัคซีนที่ใช้ต่อต้านโรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ (smallpox) ให้ผลในการป้องกันฝีดาษลิงได้สูงสุด 85%

ฮันส์ คลูจ ผู้อำนวยการ WHO ประจำภูมิภาคยุโรป ออกมาแถลงเตือนวานนี้ (20) ว่า จำนวนผู้ป่วยฝีดาษลิงอาจ “เพิ่มขึ้น” ในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า และไวรัสมีแนวโน้มที่จะแพร่กระจายไปทั่วยุโรป

“เรากำลังก้าวเข้าสู่ฤดูร้อน ซึ่งมักจะมีการจัดกิจกรรมรวมคน เทศกาล และงานปาร์ตี้ต่างๆ ผมจึงเกรงว่าอัตราการแพร่เชื้ออาจจะเพิ่มสูงขึ้น” คลูจ กล่าว

WHO ตั้งข้อสังเกตว่า การระบาดของฝีดาษลิงครั้งนี้มีความผิดปกติอยู่ 3 ประการคือ 1) ผู้ป่วยเกือบทุกรายไม่มีประวัติเดินทางไปยังพื้นที่ซึ่งมีการระบาดของฝีดาษลิง 2) ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม “ชายรักชาย” ซึ่งเมื่อแสดงอาการป่วยจึงไปพบหมอที่คลินิกรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และ 3) การพบผู้ติดเชื้อในกว่า 10 ประเทศแสดงให้เห็นว่าโรคมีการแพร่กระจายมาสักระยะหนึ่งแล้ว

ที่มา : รอยเตอร์
 

1651754967_20838_.jpg

กทม.เตรียม 9 โรงพยาบาลในสังกัด เปิดรักษาผู้ป่วยลองโควิด หลังป่วย 1 เดือน เริ่ม 9 พ.ค.นี้ ค่ารักษาเบิกตามสิทธิ

วันที่ 5 พ.ค. 2565 นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการแพทย์ เตรียมเปิดคลินิกรักษาผู้ป่วยลองโควิด (Long COVID) โดยดำเนินการตามแนวทางของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ที่พ้นระยะเฉียบพลันและยังคงมีอาการผิดปกติในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ครอบคลุมการให้คำปรึกษา การตรวจประเมิน การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือตรวจพิเศษ การวินิจฉัย การดูแลรักษา ติดตามอาการ และการส่งต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (กรณีจำเป็น) ในรูปแบบการให้บริการแบบผู้ป่วยนอก (Onsite และ Online Telemedicine) โดยเปิดคลินิก 1 วัน/สัปดาห์ เริ่มเปิดให้บริการในวันที่ 9 พ.ค. 65 เป็นต้นไป ในวันและเวลาราชการ

สำหรับคุณสมบัติผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในคลินิก Long COVID จะต้องเป็นผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายป่วยมากกว่า 1 เดือนขึ้นไป การให้บริการจะเน้นไปทางติดตามอาการที่เกิดหลังจากหายป่วยโควิด-19 โดยผู้ป่วยสามารถรับบริการผ่าน 2 ช่องทาง ดังนี้ 1. ผู้ป่วยมาเข้ารับบริการที่คลินิกปกติ และแพทย์วินิจฉัยอาการที่เข้าได้กับ Long COVID และส่งผู้ป่วยมาที่คลินิกดังกล่าว และ 2. ผู้ป่วยที่สงสัยอาการตนเองและเข้ามารับบริการที่คลินิก Long COVID โดยตรง รูปแบบการให้บริการแบบ One stop service จัดให้มีการบริการคัดกรอง พบแพทย์ในจุดเดียว กรณีที่ต้องมีการปรึกษาจิตแพทย์ จะให้มีการทำแบบสอบถามเพื่อประเมินความเสี่ยงทางด้านสุขภาพจิตก่อนเข้าพบแพทย์ ทั้งนี้ การรักษาพยาบาลเป็นไปตามสิทธิของผู้ป่วย สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในคลินิก Long COVID จะแบ่งเป็น

1. บุคลากรที่ปฏิบัติงานในคลินิก Long COVID ประกอบด้วย แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป พยาบาลวิชาชีพ สหวิชาชีพอื่น ๆ เช่น นักกายภาพบำบัด เป็นต้น

2. กรณีที่จำเป็นต้องได้รับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ประกอบด้วย อายุรแพทย์ระบบทางเดินหายใจ อายุรแพทย์ระบบประสาท จิตแพทย์ เป็นต้น

ทั้งนี้ ผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายป่วยมากกว่า 1 เดือนขึ้นไป สามารถรับบริการได้ที่โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ทั้ง 9 แห่ง ประกอบด้วย

1. โรงพยาบาลกลาง ณ คลินิกประกันสุขภาพ ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.00-16.00 น.
2. โรงพยาบาลตากสิน ณ ARI Clinic ทุกวันจันทร์ เวลา 13.00-16.00 น.
3. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ณ คลินิกอายุรกรรม ทุกวันพุธ เวลา 13.00-16.00 น.
4. โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธฺโร อุทิศ ณ คลินิกอายุรกรรม ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.00-16.00 น.
5. โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ ณ คลินิกอายุรกรรม ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.00-16.00 น.
6. โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร ณ คลินิกอายุรกรรม ทุกวันอังคาร เวลา 08.00-12.00 น.
7. โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ณ ARI Clinic ทุกวันพุธ เวลา 13.00-16.00 น.
8. โรงพยาบาลสิรินธร ณ คลินิกวัณโรค ทุกวันอังคาร เวลา 08.00-12.00 น. และ 9. โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน ณ คลินิกผู้ป่วยนอก ทุกวันพุธ 13.00-16.00 น.

นัดหมายรับบริการผ่าน BFC ของโรงพยาบาลทั้ง 9 แห่ง และขยายช่องทางให้บริการตรวจรักษาผ่านระบบ telemedicine ในแอปพลิเคชัน “หมอ กทม.” เพื่อรองรับการให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครผ่านการเบิกจ่ายค่ารักษาตามสิทธิ

ข้อมูลจาก https://workpointtoday.com/politics-longcovic05052565/

โฆษก กทม.ทยอยเปิดไทม์ไลน์ ติดเชื้อโควิดในกรุงเทพฯ 75 คนแล้ว ไล่สอบสวนโรค พบไปหลายห้าง ดูหนัง คาราโอเกะ

กทม.ติดโควิด 75 คน เปิดไทม์ไลน์ 10 คน 'ไทย เมียนมา จีน' ไปห้าง ดูหนัง สปอร์ตคลับ งานรับปริญญา ขับแท็กซี่

 

ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง โฆษกกรุงเทพมหานคร เปิดเผยผ่านเพจเฟซบุ๊กเอิร์ธ พงศกร ขวัญเมือง - Earth Pongsakorn Kwanmuang ถึง ไทม์ไลน์ผู้ติดเชื้อโควิด-19  ในพื้นที่กทม. ซึ่งเชื่อมโยงกับการแพร่ระบาดที่จ.สมุทรสาคร

โฆษกศบค.เผยว่า วันที่  27 ธันวาคม 63 กทม. พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่ม 17 รายเป็นคนที่อยู่ในพื้นที่ กทม. 16 ราย และอยู่ระหว่างสอบสวนโรค 1 ราย

กทม.พบผู้ติดเชื้อ ตั้งแต่วันที่ 20–27 ธ.ค. 63 รวม 75 ราย

ไทม์ไลน์ เผยไปแล้ว 21 ราย (วันที่ 20 ธ.ค.ถึง 26 ธ.ค.) และ วันนี้ มี ไทม์ไลน์ผู้ติดเชื้อที่อยู่ใน กทม. ซึ่งได้สอบสวนโรคเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพิ่มอีก 22 ราย และยังอยู่ระหว่างสอบสวนโรค อีก 18 ราย และมีคนที่ไม่ได้พักอาศัยในพื้นที่ กทม. 14 ราย

ทั้งนี้เปิดเผยไทม์ไลน์ของผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 10 ราย ดังนี้

รายแรกและรายที่ 2 ชายเมียนมา วัย 27 ปี และวัย37 ปี ช่วง 9 -22 ธันวาคม 2563 ไปตลาดแสมดำ และทำงานโรงงานผลิตรองเท้าย่านพระราม 2

รายที่ 3 ชายชาวจีนวัย 28 ปี ระหว่าง 15-18 ธ.ค.63 พักกับเพื่อนชาวจีน 2 คน  ก่อนออกมาพักโรงแรมย่านสุขุมวิท พื้นที่คลองเตย ก่อนไปพบแพทย์เพื่อขอใบรับรองแพทย์เดินทางกลับจีน แต่ผลตรวจพบเชื้อโควิด-19กทม.ติดโควิด 75 คน เปิดไทม์ไลน์ 10 คน 'ไทย เมียนมา จีน' ไปห้าง ดูหนัง สปอร์ตคลับ งานรับปริญญา ขับแท็กซี่

รายที่ 4 หญิงวัย 39 ขายอุปกรณ์ไฟฟ้าย่านเอกมัย พบว่าไปเล่นแบดมินตัน ที่สปอร์ตคลับย่านปรีดีพนมยงค์ ไปร้องคาราโอเกะย่านศรีนครินทร์ - อ่อนนุช ก่อนยืนยันพบเชื้อโควิด-19 ในวันที่ 25 ธันวาคม 2563

รายที่ 5 ชายวัย 26 เจ้าหน้าที่สวทช.ทำงานในพื้นที่ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ไปห้างโลตัสย่านบางมด ไปห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ห้างแพลตตินัม ไปตลาดอินดี้ ไปต่อใบขับขี่ที่ขนส่งบางขุนเทียน ก่อนพบเชื้อ กทม.ติดโควิด 75 คน เปิดไทม์ไลน์ 10 คน 'ไทย เมียนมา จีน' ไปห้าง ดูหนัง สปอร์ตคลับ งานรับปริญญา ขับแท็กซี่

รายที่ 6 หญิงอายุ22 ปี นักศึกษาฝึกงานในสนามบินดอนเมือง ไปรับประทานอาหารร้านหอมปลาแดก ย่านดอนเมือง 2 ครั้ง ไปงานรับปริญญาเพื่อน ม.รังสิต ไปเลือกตั้งที่ฉะเชิงเทรา กลับมาฝึกงาน รับประทานอาหารร้าน JJ ชาบู เดินตลาดโอโซนวัน ก่อนพบเชื้อโควิด-19

กทม.ติดโควิด 75 คน เปิดไทม์ไลน์ 10 คน 'ไทย เมียนมา จีน' ไปห้าง ดูหนัง สปอร์ตคลับ งานรับปริญญา ขับแท็กซี่ รายที่ 7 ชายวัย 28 อาชีพขายอาหารทะเลที่สมุทรสาคร พักย่านบางขุนเทียน  กทม.ติดโควิด 75 คน เปิดไทม์ไลน์ 10 คน 'ไทย เมียนมา จีน' ไปห้าง ดูหนัง สปอร์ตคลับ งานรับปริญญา ขับแท็กซี่ รายที่ 8 หญิงอายุ 65 ปี อาชีพขายอาหารทะเล ไปตลาดทะเลไทยสมุทรสาคร ไปวัดตึก สมุทรสาคร ไปร้านที่ตลาดอ่อนนุช ไปธนาคารกสิกรไทย สาขาบิ๊กซีอ่อนนุช เดินทางรถสาธารณะไปตรวจหาเชื้อโควิด ไปประปาพระโขนง นั่งรถสาธารณะ  กทม.ติดโควิด 75 คน เปิดไทม์ไลน์ 10 คน 'ไทย เมียนมา จีน' ไปห้าง ดูหนัง สปอร์ตคลับ งานรับปริญญา ขับแท็กซี่ รายที่ 9 ชายวัย 43 อาชีพขายกุ้งตลาดย่านบางบอน และขับรถแท็กซี่ รับผู้โดยสารย่านฝั่งธนฯแต่สวมหน้ากากอนามัยตลอดและล้างมือด้วยเจลฯประจำ กทม.ติดโควิด 75 คน เปิดไทม์ไลน์ 10 คน 'ไทย เมียนมา จีน' ไปห้าง ดูหนัง สปอร์ตคลับ งานรับปริญญา ขับแท็กซี่ รายที่ 10 ชายวัย 32 ปี อาชีพขายอาหารทะเล ไปตลาดแพกุ้ง ไปธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาโลตัสกำแพงแสน ไปร้านเคเอฟซี ขับรถมากทม.ดูหนังกับภรรยา ที่โรงภาพยนตร์เมเจอร์ ปิ่นเกล้า รอบ 11.30 น.วันที่ 19 ธันวาคม 2563 ไปเลือกตั้งอบจ.ที่ศาลากลาง ไปตรวจหาเชื้อโควิด-19 และไปเดินซื้ออาหารที่วังหลัง กทม.ติดโควิด 75 คน เปิดไทม์ไลน์ 10 คน 'ไทย เมียนมา จีน' ไปห้าง ดูหนัง สปอร์ตคลับ งานรับปริญญา ขับแท็กซี่ อย่างไรก็ตามยังมีไทม์ไลน์ของผู้ติดเชื้อที่ผ่านการสอบสวนโรคแล้วอีก 12 ราย จะรายงานให้ทราบต่อไป
 

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ