ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไข่แดง        ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เนื้อแดง

         

 

 

 

 

 

          เป็นที่รู้กันว่าไข่แดง (Egg yolks) มีสาร Choline ปริมาณสูง เมื่อเรากินไข่แดงสาร Choline จะถูกจุลินทรีย์ในลำใส้เปลี่ยนให้เป็นสาร Trimethylamine oxide (TMAO) ซึ่งเป็นสารที่เป็นสาเหตุทำให้ผนังของเส้นเลือดแดงหนาขึ้น (arterial plaque formation) ส่งผลให้เส้นเลือดแดงแคบลงหรืออุดตัน เลือดจึงไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆโดยเฉพาะที่หัวใจและสมองน้อยลง ไข่แดงจึงถูกถือว่าเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ

          ส่วนเนื้อแดง (red meet) เช่นเนื้อวัว แพะ แกะ หมู นอกจากจะมีไขมันอิ่มตัว (saturated fat) และคอเลสเตอรอล(cholesterol) สูง ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดและหัวใจ แล้วยังมีสาร L- carnitine ซึ่งจะถูกเปลี่ยนให้เป็นสาร TMAO โดยจุลินทรีย์ในลำใส้ด้วยเช่นกัน

          ดังนั้นสรุปได้ว่าทั้งไข่แดงและเนื้อแดงมีสารที่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่ปัจจัยที่ประกอบกันคือ จำนวนจุลินทรีย์ในลำไส้ซึ่งมีผลจากการวิจัยสนับสนุนว่า อาสาสมัครที่ได้รับยาปฏิชีวนะจะทำให้จำนวนจุลินทรีย์ในลำใส้มีปริมาณน้อยลงส่งผลให้ความเข้มข้นของ TMAO ลดลงอย่างมาก และเมื่อหยุดยาปฏิชีวนะปริมาณความเข้มข้นของ TMAO จะเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนกัน ผลการวิจัยยังสรุปว่าผู้ที่กินอาหารมังสะวิรัต จะมีปริมาณจุลินทรีย์ในลำใส่น้อยกว่าผู้ที่กินอาหารทั้งเนื้อและพืช ดังนั้นผู้ที่กินอาหารมังสะวิรัตจึงน่าจะมีความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดน้อยกว่าผู้ที่กินอาหารที่ประกอบไปด้วยเนื้อแดงสูง

 

 

เปิดคำเตือนจากผู้เชี่ยวชาญโรคอุบัติใหม่ ถึงสัญญาณการระบาดระลอกสอง เมื่อ 'โควิด-19' สามารถโจมตีอวัยวะในร่างกายได้หลายระบบ พร้อมคำแนะนำถึงมาตรการตรวจคัดกรองเชิงรุกและวิธีป้องกันตัวเองที่ดีที่สุด

ในช่วงไวรัสโควิด-19 ระบาดในเมืองไทยและทั่วโลก เฟซบุ๊ก ‘ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา’ เป็นแหล่งความรู้อีกแห่งที่คนติดตามอ่าน เพราะเขียนในสิ่งที่คนอยากรู้  เนื่องจากศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัย ด้านค้นคว้าและอบรมโรคติดเชื้อไวรัสสัตว์สู่คน เป็นทั้งนักอ่าน นักค้นคว้า ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง มีผลงานวิจัยเป็นที่ยอมรับจากองค์การอนามัยโลก เรื่อง ‘การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโรค’,งานวิจัยเรื่องโรคสมองอักเสบ จากการติดเชื้อไวรัส โดยเฉพาะจากเชื้อพิษสุนัขบ้า และสมองอักเสบจากภาวะแปรปรวนทางระบบภูมิคุ้มกันโรคและเชื้อไวรัสอื่นๆ

นอกจากนี้ยังมีผลงานร่วมกับ ศ.พญ.จิรพร เหล่าธรรมทัศน์ สร้าง ‘แผนที่สมองสุนัขและแผนที่สมองคนไทย’ รวมถึงมีผลงานบทความด้านสุขภาพที่เข้าใจง่าย โดยอ้างอิงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ 

หลายเรื่องที่คุณหมอเขียนเกี่ยวกับโควิด-19 อาจทำให้คนอ่านรู้สึกหวาดกลัวและกังวล แต่รู้ไว้คงดีกว่าไม่รู้อะไรเลย และตอนนี้สิ่งที่คุณหมอห่วงมากที่สุด คือ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอก 2 แม้ปัจจุบัน(เดือนพฤษภาคม 2563) ตัวเลขผู้ติดเชื้อจะน้อยมาก

"มีคนบอกว่า หมอพูดเยอะ ทำให้คนกลัว ผมอยากบอกว่า ถ้าเราไม่รู้เขา รู้เรา เราจะไม่รู้ว่าจะตั้งรับด้วยมาตรการอะไร ตราบใดที่เราไม่รู้ว่าโรคนี้ร้ายแรงเพียงใด เราจะวางแผนรับมือไม่ถูก ถ้าเราไม่รู้จักผู้ร้าย ก็จะไม่สามารถสู้กับผู้ร้าย เป็นหน้าที่ของนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องให้ความจริง เพื่อคนจะได้ป้องกันตัวได้ร้อยเปอร์เซ็นต์" คุณหมอธีระวัฒน์ เล่า

และคุณหมอเองไม่ปฏิเสธเทคโนโลยีใหม่ๆ เมื่อไม่นานนำนวัตกรรมเจาะเลือดตรวจภูมิคุ้มกันโควิด-19 มาใช้และตอนนี้ทีมวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำลังทำงานร่วมกับทีมแพทย์จังหวัดปัตตานี เพื่อตรวจคัดกรองภูมิคุ้มกันโควิด-19 ในหมู่บ้านที่มีประชากรพันกว่าคน  

 20200521162142040

  • อยากให้ประเมินสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 (เดือนพฤษภาคม 2563) ตอนนี้สักนิด ?

ผมห่วงการแพร่ระบาดระลอก 2 ตามมาตรฐานคนติดเชื้อโควิด-19  มีไข้ เพลีย ไอ แต่ขณะนี้ผู้ติดเชื้อไวรัสโควิดจะมีอาการตั้งแต่ศรีษะจรดเท้า ผิวหนัง สมอง ตับ ไต หัวใจ ถ้าเราไม่สามารถควบคุมการติดเชื้อได้ คนป่วยก็สามารถมีอาการได้ทุกระบบที่แสดงออก  

ดังนั้นคนที่ไม่มีอาการตามมาตรฐาน ไม่ได้ป่วยวิกฤติ หรือแม้มีอาการมากเข้าโรงพยาบาลก็ไม่ทราบว่าเป็นโควิด-19 อาจแพร่เชื้อโดยไม่รู้ตัว  ผมมองว่าการตรวจคัดกรองน่าจะเป็นเชิงรุก ตรวจคนที่ไม่มีอาการใดๆ ด้วย เพราะสามารถแพร่กระจายในวงกว้าง หนึ่งคนที่ติดเชื้อหากแพร่เชื้อภายในหนึ่งเดือน จะเป็นลูกโซ่ไปได้ถึงพันๆ คน

การคัดกรองคนไม่มีอาการ น่าจะเริ่มจากคนที่มีีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อ อาจเริ่มจากกลุ่มคนขับรถสาธารณะ รถตู้ รถเมล์ รถประจำทาง คนเก็บตั๋ว โดยเฉพาะรถปรับอากาศ ชีวิตคนเหล่านี้พบปะคนมากมาย

ส่วนอีกเรื่องที่เป็นห่วง เมื่อเปิดเรียนวันที่ 1 กรกฎาคม มีตั้งแต่เด็กอนุบาลถึงมัธยม พ่อแม่พี่น้องอาจนำเชื้อมาติดเด็กๆ กลุ่มนี้ต้องระวังเป็นพิเศษ ยังรวมถึงครูและเจ้าหน้าที่สถานศึกษา ถ้าใช้วิธีการคัดกรองแบบเดิมอาจตกหล่น เพราะวิธีเดิมเป็นการหาผู้ติดเชื้อจากผู้มีอาการ

ดังนั้นก่อนเด็กๆ จะเริ่มไปโรงเรียน เป็นไปได้ไหมว่า 4 วันก่อนเข้าเรียนต้องมีการเข้มงวดไม่ให้คนในครอบครัว พ่อแม่ และเด็กนักเรียนไปรับเชื้อจากที่อื่น นอกจากนี้ยังมีวิธีตรวจคัดกรองโดยการเจาะเลือดปลายนิ้ว ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยทำ เพื่อหาหลักฐานการติดเชื้อ ที่เรียกว่าภูมิคุ้มกันระดับที่ 1 และระดับที่ 2

ถ้าตรวจพบภูมิคุ้มกันระดับที่ 1 ที่เรียกว่า IgM antibody เมื่อติดเชื้อแล้วไม่แสดงอาการจะพบเชื้อในวันที่ 4-6 หมายถึงเพิ่งติดเชื้อ มีโอกาสแพร่เชื้อสูงมาก และต้องระวังอาจเสียชีวิต จึงต้องกักตัวและเฝ้าดูอาการค่อนข้างเข้มงวด

ส่วนการพบเชื้อภูมิคุ้มกันระดับที่ 2 ที่เรียกว่า IgG antibody หมายถึงได้รับเชื้อมาระดับหนึ่ง อาจจะ 12-14 วันหรือนานกว่านั้น คนที่มีภูมิคุ้มกันกลุ่มนี้ไม่น่าจะเสียชีวิต เพราะติดเชื้อมานานแล้ว คนที่มีภูมิคุ้มกันแบบนี้ ถ้ายับยั้งไวรัสได้เท่ากับมีพาสปอร์ตผ่านทาง มีภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อตามธรรมชาติ แต่คนที่มี IgG ก็มีโอกาสแพร่เชื้อ อาจต้องกักตัวที่บ้าน ไม่จำเป็นต้องเข้มงวด มีระยะห่าง ไม่สุงสิงกับใคร ใส่หน้ากาก เข้าห้องน้ำคนสุดท้ายให้ล้างห้องน้ำด้วย  

ส่วนการคัดกรองระดับสุดท้าย คือ การประเมินสถานภาพทั้งประเทศ แท้จริงแล้วประเทศเรามีคนที่ติดเชื้อเยอะแค่ไหน ถ้ามีวัคซีนเข้ามา จะประเมินได้ว่า ต้องฉีดวัคซีนให้คนกี่ล้านคน คนที่มีภูมิคุ้มกันแล้ว การฉีดวัคซีนอาจไม่ได้ประโยชน์ 

20200516133649287 

  • การคัดกรองโดยเจาะเลือดตรวจภูมิคุ้มกันโควิด-19 สามารถนำมาใช้กับคนทั้งประเทศได้ไหม

ล่าสุดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมมือกับพื้นที่ในจังหวัดปัตตานี เตรียมตรวจคัดกรองคนพันกว่าคน ปกติพบอัตราการความชุกในการติดเชื้อ 1.7 เปอร์เซ็นต์ ถ้าตรวจเลือดหาภูมิคุ้มกัน จะมีคนติดเชื้อมากกว่าที่เห็น 2.6 เปอร์เซ็นต์ หรืออาจมากกว่านั้น

แท้จริงแล้วมีคนติดเชื้อมากกว่าที่เห็น เมื่อไม่สามารถมองเห็นด้วยตา ก็แพร่เชื้อเงียบๆ ไปเรื่อยๆ พอไปเจอคนที่ใช่ เสี่ยงที่จะเป็นโรครุนแรงและเสียชีวิตก็จะปะทุ สิ่งที่เราเห็น คือ ยอดภูเขาน้ำแข็ง ถ้าเราไม่ทราบสถานการณ์จริง ดูตามระบาดวิทยาด้วยตาอย่างเดียว เราอาจจะไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีอยู่

  • การตรวจภูมิคุ้มกันโควิด-19 มีความเป็นไปได้แค่ไหน

อยู่ที่งบประมาณ ทางศูนย์ฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  'การเจาะเลือดหาภูมิคุ้มกัน' ต่อคนใช้เงินหนึ่งพันบาท ถ้ามีการตรวจคัดกรองจำนวนมาก ไม่จำเป็นต้องทำครบสูตร ราคาจะถูกลง ถ้าพบตัว IgG ก็ดูอีกว่า ยับยั้งไวรัสตัวนั้นได้จริงไหม นอกจากนี้ยังมีชุดตรวจแบบรวดเร็วจิ้มปลายนิ้ว รู้ผลภายในสองนาที ใช้สารตรวจจับภูมิ ทำจากโปรตีนต้นใบยาในประเทศไทยและทำได้ปริมาณเยอะ ตอนนี้เปรียบเทียบกับชุดมาตรฐาน พบว่า ประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน เราอาจใช้ชุดตรวจรวดเร็วของจุฬาฯเป็นตัวหลัก ตามด้วยการตรวจยืนยันภูมิคุ้มกันระดับสองบางรายที่จำเป็น

ยกตัวอย่างหมู่บ้านพันกว่าคนในจังหวัดปัตตานี ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล ,คุณหมอวิพุธ พูลเจริญ และอีกหลายคนลงไปทำงานสำรวจวางแผนคัดกรองแต่ละหมู่บ้าน แต่ละอำเภอ เนื่องจากมีความเสี่ยงไม่เท่ากัน และการคัดกรองต้องทำโดยคนในพื้นที่ที่รู้ธรรมชาติของคนและกิจกรรม รวมถึงต้องมีความรู้ทางระบาดวิทยา

20200521162153104

  • แนวทางนี้ ตรวจแบบปูพรมทั้งประเทศได้ไหม

เป็นไปได้แน่นอน การตรวจคัดกรอง ทำเยอะราคาถูก เมื่อตรวจแล้วพบผลเลือดเป็นบวก เราสามารถแยกคนเหล่านี้ออกมา เพื่อไม่ให้มีการติดเชื้อ ถ้าทำแบบนี้ได้ เราสามารถประกาศเป็นประเทศสะอาดได้ การท่องเที่ยวจะสามารถทำได้ด้วยความสบายใจ  ส่วนคนที่มาจากต่างประเทศ ก็สามารถตรวจแบบเดียวกัน แต่อาจตรวจซ้ำหลังจาก 4 วันที่เข้ามาประเทศเราแล้ว แม้จะไม่ได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ผลที่ทำขณะนี้ 99 เปอร์เซ็นต์ นั่นคือเหตุผลว่า ต้องตรวจเด็กๆ ก่อนไปโรงเรียน 4 วัน แนวทางนี้มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์การแพทย์รองรับชัดเจน

  • ถ้าทำทั้งประเทศ ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยคนละเท่าไร

ประมาณคนละ 100-200 บาท

  • พื้นที่อื่นๆ จะทำแบบนี้ได้ไหม

ต้องมีโรงพยาบาลที่เป็นตัวกลางรับเลือด แล้วส่งมาตรวจที่โรงพยาบาลจุฬาฯแต่ไม่สามารถเบิกสปสช.ได้ เราไปก้าวล่วงเรื่องนี้ไม่ได้ โชคดีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีเข้าใจเรื่องนี้ หากคนที่กลับมาจากประกอบพิธีทางศาสนา ต้องกักตัว 14 วัน ถ้าตรวจด้วยวิธีนี้แล้วไม่พบเชื้อก็กลับบ้านได้เลย แต่ถ้ามีผลเลือดบวก ก็สามารถคัดแยกออกมา ถ้าเทียบกับกักตัวเลี้ยงดู 14 วัน วิธีนี้จะได้กำไรมากกว่าขาดทุน และตอนนี้ใช้มาตรการคลายล็อคแล้ว ชุมชนไหนมีความเสี่ยง อย่างคลองเตย ท่าเรือ คลองจั่น โดยเฉพาะพวกพ่อค้าแม่ค้าเจอคนเยอะๆ หรือสถานที่ชุมนุม สามารถตรวจคัดกรองประเมินแบบนี้ได้เลย แต่ต้องวางแผน

  • มีเรื่องใดที่เราไม่รู้เกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 บ้าง

ทีมเราทำเรื่องโรคอุบัติใหม่ เจอมาทั้งเรื่องซาร์ส เมอร์ส พิษสุนัขบ้าฯลฯ ส่วนโควิดเป็นไวรัสตัวเดียวที่รวมไวรัสทุกชนิดมาอยู่ในตัวมัน ตั้งแต่ติดต่อง่าย ติดแล้วไม่แสดงอาการทันที และยังทอดเวลาไปตั้ง 14 วันถึงจะแสดงอาการ บางคนอาจทอดเวลาไป 20 วัน และช่วงไม่แสดงอาการยังแพร่เชื้อได้อีก

เมื่อแสดงอาการออกมา อาการกลับนิดเดียว หรือแสดงอาการไขว้เขวกับโรคอื่น เหมือนเป็นโควิดแต่ไม่มีไข้ ไม่ไอ กลไกของมันไม่ได้อยู่ที่จมูก คอ อาจค่อยๆ เลื่อนไปที่ปอด บางคนไม่มีอาการไอเพราะเชื้อไปลงที่ปอด ทำให้คนๆ นั้นเดินไปเดินมาแพร่เชื้อได้ พอเริ่มเหนื่อยก็ปรากฏไวรัสเต็มไปหมดแล้ว แต่ในขณะเดียวกันไวรัสตัวนี้สามารถหาที่อยู่ของมันที่ไม่ใช่ทางเดินหายใจส่วนบนหรือส่วนล่าง บางทีไปที่ผนังเส้นเลือด เม็ดเลือดหรือลำไส้ อาการจึงแตกต่างกัน 

อีกอย่างคือ มันท้ารบกับร่างกายเรา พอส่งทหารไปทำลายไวรัสมากเกินควร ที่เราเรียกว่า มรสุมภูมิวิกฤต ไม่ใช่แค่เชื้ออย่างเดียว แต่มีการอักเสบที่รุนแรงเกินจำเป็นที่ทำให้เสียชีวิต ภูมิคุ้มกันทัพหน้า ถ้าเจอกับเชื้ออื่น การอักเสบไม่ได้มากมายเหมือนเจอโควิด-19

ส่วนภูมิคุ้มกันทัพหลังจะมีความเฉพาะเจาะจงกับโควิด-19 เชื้อตัวนี้มันจะไปหลอกลวงภูมิคุ้มกันทัพหลัง ล่อลวงให้ร่างกายเข้าใจผิดว่า เส้นประสาทหรือสมองเราเป็นโควิด-19 ก็จะเกิดลักษณะสมองอักเสบหรือเส้นประสาทอักเสบ

ทั้งหมดทั้งปวง คือ ทำให้เกิดการอักเสบมากมายของภูมิคุ้มกันทัพหน้า ทำให้เลือดข้นผิดปกติ มีลิ่มเลือดเล็กๆ ในเส้นเลือดฝอยและเส้นเลือดขนาดกลาง เกิดความผิดปกติเส้นเลือดที่ไปผิวหน้า เส้นเลือดสมองทุกจุดในร่างกาย เกิดอัมพฤกษ์ สามารถเหนี่ยวนำด้วยโควิด-19 ทำร้ายทุกระบบของร่างกาย ด้วยกลไกทุกชนิดที่ร่างกายมีอยู่

 20200521162140459

  • คนติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไม่ได้เยอะ เรื่องนี้มีคำอธิบายอย่างไร

คนติดเชื้อที่จะแสดงอาการหนักแค่ 20 เปอร์เซ็นต์ ส่วนคนติดเชื้อโดยไม่รู้ตัว แต่แพร่เชื้อ 80 เปอร์เซ็นต์ เราศึกษาเรื่องนี้ เราไม่ได้ทำแค่การช่วยชีวิต แต่ดูว่าประชาชนจะกลับมาใช้ชีวิตปกติสุขได้เมื่อไหร่ ยกตัวอย่างมีคุณพ่อรายหนึ่งมาบอลลูนหัวใจ กำลังจะกลับบ้าน ปรากฏว่ามีอาการปอดบวม หาสาเหตุไม่เจอ จนมาพบว่าติดโควิด-19 จากลูกชายที่บ้าน

  • มีคำแนะนำอื่นๆ เกี่ยวกับไวรัสโควิดไหม

ไม่ว่าจะน่ากลัวแค่ไหน ถ้าครอบตา จมูก ปาก ล้างมือให้สะอาดและบ่อยๆ ไม่ว่าจะไวรัสโควิดหรือไข้หวัดใหญ่ ป้องกันได้หมด และต่อไปจะมีไวรัสตัวอื่นๆ มาแพร่พันธุ์แน่นอน มีไวรัสตระกูลโคโรน่าที่ไม่รู้จักชื่ออีกหลายตัว ตอนนี้มีคนป่วยที่พบว่า ตรวจเชื้ออะไรก็ไม่เจอ ตรวจโควิด-19 ก็ไม่เจอ  แต่ตอนนี้เรามีเครื่องมือในการตรวจเรียบร้อยแล้ว

  • แล้วจัดการกับไวรัสไม่มีชื่ออย่างไร

ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่จะใช้เครื่องมือถอดรหัสพันธุกรรมชั้นสูง เพื่อหาเชื้อไม่มีชื่อ ค่าตรวจคงประมาณสองสามหมื่นบาท ถ้าคนกำลังจะเสียชีวิต แล้วทำให้เรารู้ว่าเป็นไวรัสไม่มีชื่อแบบไหนภายใน 24 ชั่วโมง ก็คงดีกว่าใช้ยาหมดกระเป๋า แล้วไม่รู้ว่าสู้กับอะไร และเราสามารถถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัวของโควิด-19 ได้และพบว่า โควิดที่แพร่เชื้อในประเทศไทยตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 มีทั้งชนิดนิ่มนวลและดุร้ายเหมือนที่เกิดในอเมริกา อังกฤษ สเปน สายพันธุ์เหล่านี้ฝังตัวในประเทศไทยแล้ว มันอยู่กับเรามาหลายเดือน แต่คนทำงานสาธารณสุขบ้านเรายอดเยี่ยมมาก และต้องยอมรับว่า คนไทยกลัวตายอันดับหนึ่งของโลก จึงพยายามปกป้องตัวเอง

  • ข้อดีคือระบบสาธารณสุขบ้านเราอยู่ในขั้นดีมาก ?

สาธารณสุขบ้านเราสามารถลงไปถึงพื้นที่ในหมู่บ้าน มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) กว่าหนึ่งล้านคนทั่วประเทศ สามารถช่วยคัดกรอง เพราะพวกเขาสามารถเดินไปเคาะประตูบ้านได้หมด  

  • ในอนาคตโรคอุบัติใหม่จะเป็นอย่างไร

ตอนนี้โรคพวกนี้คงไม่ได้มาทุก 4 ปี น่าจะมาเรื่อยๆ อย่างโรคติดเชื้อทางสมอง สามารถหาสาเหตุได้แค่ 50 เปอร์เซ็นต์ ยังมีโรคติดเชื้อรุนแรงหาสาเหตุไม่ได้อีก แต่คนไข้รอดชีวิตได้เพราะเราให้ยาครอบคลุมโรคที่น่าจะเป็น ประคบประหงมด้วยเครื่องช่วยชีวิต ที่ผ่านมาโรคอุบัติใหม่อาจอยู่กับเรามาระยะหนึ่ง แต่เราไม่รู้ชื่อ 

ขอบคุณข้อมูลจาก  https://judprakai.bangkokbiznews.com

เนื้อหาต้นฉบับ https://judprakai.bangkokbiznews.com/interview/2055

 

Feb 14, 2020 ด่วน! เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลายพันธุ์จากแอฟริกาใต้มาถึงประเทศไทย

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า วันนี้ 14 กุมภาพันธ์ 2664 ตรวจพบผู้ป่วยโรคระบาดโควิด-19 กลายพันธุ์เหมือนอย่างที่พบใน ประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่วนับเป็นผู้ป่วยโรคระบาดโควิด-19 กลายพันธุ์รายเเรกของประเทศไทย ผู้ป่วยคนดังกล่าวเป็นคนไทยซึ่งเดินทางมาจากประเทศเเทนซาเนีย มีอายุ 41 ปี ผู้ป่วยชายคนนี้เดินทางกลับมาจากประเทศแทนซาเนีย เมื่อ 29 มกราคม 2564 โดยมีโรคประจำตัว คือโรคหอบหืด ความดันโลหิตสูง และมีน้ำหนักตัวมากเกินไปจากการตรวจสอบเชิงลึก พบว่าผู้ป่วยชายคนไทยวัย 41 ปี คนดังกล่าวเดินทางไปรับซื้อพลอยที่ประเทศแทนซาเนีย เป็นเวลานาน 2 เดือน ระหว่างที่อยู่ในประเทศแทนซาเนีย ผู้ป่วยรายนี้ได้เข้าร่วมงานเลี้ยง โดยผู้เข้าร่วมงานเลี้ยงไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัย เนื่องจากว่าไม่มีเคสผู้ป่วยในประเทศแทนซาเนีย

สำหรับไทม์ไลน์ของผู้ป่วยมีดังนี้

29 มกราคม: ผู้ป่วยคนไทยรายนี้เดินทางจากประเทศแทนซาเนีย โดยมาต่อเครื่องบินที่ประเทศเอธิโอเปีย จากนั้นเดินทางถึงเมืองไทย ทำการคัดกรองอาการป่วย ณ ด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศ สนามบินสุวรรณภูมิ พบว่าไม่มีไข้และอาการป่วย จึงเดินทางไปกักตัวใน State Quarantine

3 กุมภาพันธ์: ทำการเก็บตัวอย่างส่งตรวจหาเชื้อโควิด-19 ครั้งที่ 1 พบผลเลือดเป็นบวก

4 กุมภาพันธ์: ถูกส่งตัวไปรับการรักษาที่ รพ.ของรัฐ โดยผู้ป่วยให้ประวัติว่ามีไข้ต่ำๆ ไอ รับไว้รักษาในห้องแยก

5 กุมภาพันธ์: ทีมสอบสวนโรคส่งตัวอย่างผลตรวจ โดยระบุสายพันธุ์ของโควิด-19 เนื่องจากผู้เดินทางมาจากทวีปแอฟริกา เพื่อเฝ้าระวังสายพันธุ์ใหม่ ณ ศูนย์วิทยศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ สภากาชาดไทย (EID-TRC)

12 กุมภาพันธ์: ผลการตรวจสายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 (Whole Genome Sequencing)โดยศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ สภากาชาดไทย (EID-TRC) พบเป็นโรคระบาดโควิด-19 กลายพันธุ์ของแอฟริกาใต้ South African Variant (98.64% coverage)

13 กุมภาพันธ์: ทีมสอบสวนโรคในพื้นที่และกรมควบคุมโรค ลงประเมินการสัมผัสผู้ป่วยของเจ้าหน้าที่ ณ State Quarantine และ โรงพยาบาล พบว่า เจ้าหน้าที่ดำเนินกิจกรรมอย่างรัดกุม ได้เก็บตัวอย่างส่งตรวจ PCR ในเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และสาธารณสุข รวมทั้งเจ้าหน้าที่ใน State Quarantine รวม 41 ราย (โรงพยาบาล 31 ราย State Quarantine 10 ราย) ให้ผลเป็นลบทั้งหมด

โรคระบาดโควิด-19 กลายพันธุ์จากประเทศแอฟริกาใต้ ได้หลายเป็นประเด็นที่น่าสนใจจากทั่วโลก โดยเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประเทศแอฟริกาใต้ นาย Zweli Mkhize เปิดเผยว่า มีคำสั่งยุติโครงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ด้วยวัคซีนที่ผลิตโดยบริษัทแอสตร้าเซเนก้าและมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ดในประเทศแอฟริกาใต้ (วัคซีนดังกล่าวนั้น ประเทศไทยสั่งซื้อเข้ามาเป็นจำนวน 2 ล้านโดสเพื่อฉีดให้กับประชาชนด้วย) สาเหตุจากผลการฉีดวัคซีนดังกล่าวให้กับอาสาสมัครที่รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลายพันธ์ุของแอฟริกาใต้ในกลุ่มที่แสดงอาการป่วยของโรคปานกลาง

รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข แอฟริกาใต้ กล่าวต่อไปว่ารัฐบาลจะรอคำแนะนำจากนักวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อตัดสินใจที่จะดำเนินการอย่างไรต่อไป โดยโรคระบาดโควิด-19 กลายพันธุ์ที่มีรหัสพันธุกรรม 501Y.V2 ซึ่งเป็นเชื้อกลายพันธุ์ที่พบในแอฟริกาใต้ และถูกพบในต่างประเทศมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา

จากการวิเคราะห์ผลการทดสอบฉีดวัคซีนที่ผลิตโดยบริษัทแอสตร้าเซเนก้าและมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด เทียบกับการฉีดวัคซีนหลอกในกลุ่มอาสาสมัครรับการทดลองในแอฟริกาใต้ พบว่าวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของที่ผลิตโดยบริษัทแอสตร้าเซเนก้าและมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด มีผลป้องกันเหลือเพียง 22% ในกลุ่มที่มีอาการป่วยปานกลางหรือป่วยเบาบาง ซึ่งถือได้ว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกัน และลดการแพร่กระจายเชื้อต่ำมาก เมื่อเทียบกับเกณฑ์การพิจารณาว่าวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ต้องมีประสิทธิภาพตั้งแต่ 50% ขึ้นไป อย่างไรก็ตาม วัคซีนดังกล่าวไม่ได้ถูกประเมินถึงความสามารถในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เนื่องจากการทดสอบอยู่ในกลุ่มวัยรุ่นซึ่งไม่ได้พิจารณาว่าเป็นกลุ่มที่มีอาการป่วยรุนแรง

ทั้งนี้ รัฐบาลแอฟริกาใต้ ประกาศว่ามีความจำเป็นต้องขายวัคซีนของแอสตร้าเซเนก้าไปให้ประเทศอื่นๆที่สนใจอยากนำไปฉีดให้กับประชาชน หากประเทศใดสนใจที่จะรับวัคซีนป้องกันโรคระบาดโควิด-19 แอสตร้าเซเนก้า จำนวน 1 ล้านโดส สามารถติดต่อกับรัฐบาลแอฟริกาใต้ได้ทันที

#ไทย #แอฟริกาใต้ #ไวรัสกลายพันธุ์ #โควิด19กลายพันธุ์ #วัคซีน #แอสตร้าเซเนก้า #โควิด19 #covid19 #BTimes

 
 
เอเจนซีส์ - รัฐบาลไทยซุ่มเงียบใช้ยาฟ้าทะลายโจรที่ปลูกเองได้ในประเทศเป็นยารักษาโควิด-19 สำหรับนักโทษในเรือนจำแบบ พบ 99% ของผู้ป่วยที่ใช้สามารถหายดีในเคสที่ไม่แสดงอาการ หรือเป็นการป่วยระยะเริ่มแรก แต่ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนยังกังขาต้องการผลวิจัยเพิ่มเติมพิสูจน์ประสิทธิภาพการรักษาที่แท้จริง รวมองค์การอนามัยโลกยังไม่รับรองให้ฟ้าทะลายโจรเป็นยาแนะนำให้สำหรับการรักษาโควิด-19

สกายนิวส์ สื่ออังกฤษ รายงานวันนี้ (11 ต.ค.) ว่า ยาฟ้าทะลายโจรซึ่งมีชื่อในภาษาวิทยาศาสตร์คือ Andrographis paniculate นั้นถือเป็นยาแผนโบราณของไทยที่แต่เดิมใช้เพื่อรักษาอาการป่วยโรคหวัด และในเวลานี้ "ยาฟ้าทะลายโจร" ถูกใช้อย่างแพร่หลายในการใช้เพื่อรักษาโรคโควิด-19 ผู้ป่วยอาการเบื้องต้นในเรือนจำโดยรัฐบาลไทยได้ให้ไฟเขียวในเรื่องนี้

หนึ่งในนักโทษชายวัย 31 ปีความผิดด้านยาเสพติดได้รับคำสั่งให้ดูแลพื้นที่การปลูกทะลายโจรสำหรับเรือนจำแสดงความเห็นกับสกายนิวส์ว่า

“ประสิทธิภาพของมันคือการช่วยลดไข้และบรรเทาอาการไอ” และเขากล่าวต่อว่า “ผมรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนช่วยดูแลสมุนไพรไทยเหล่านี้ที่ถูกใช้เพื่อรักษาผู้ป่วยคนอื่นๆ ในเรือนจำสำหรับโรคโควิด-19”

สื่ออังกฤษชี้ว่า มาจนถึงเวลานี้ทางการไทยใช้ฟ้าทะลายโจรรักษานักโทษในเรือนจำไปแล้วไม่ต่ำกว่า 69,000 ราย

เดอะสกายนิวส์ได้ตามไปตั้งแต่แหล่งปลูกไปจนถึงกรรมวิธีการผลิตจนเป็นยาแคปซูลที่สามารถถูกส่งไปตามเรือนจำต่างๆ ในพื้นที่ใกล้เคียง

คณะ ครม.ของนายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้อนุมติในเดือนกรกฎาคมให้ยาฟ้าทะลายโจรสามารถใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในไทยที่ป่วยแต่ยังไม่แสดงอาการหรือเป็นการป่วยเบื้องต้น หลังจากผลการทดลองในการใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาผู้ป่วยในเรือนจำประสบความสำเร็จด้วยดี

รัฐบาลไทยอ้างว่า จากจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมด 11,800 คนที่ใช้ยาฟ้าทะลายโจร มีจำนวน 99.02% หายป่วย

ซึ่งไม่กี่ไมล์ห่างจากถนนที่พื้นที่แหล่งปลูกฟ้าทะลายโจร เรือนจำจังหวัดชัยนาทเป็นอีกหนึ่งเรือนจำที่ใช้ยาฟ้าทะลายโจรรักษาคนไข้ในเรือนจำของตัวเอง โดยเจ้าหน้าที่เรือนจำให้ข้อมูลกับสกายนิวส์ว่า

ระหว่างการระบาดเมื่อสิงหาคม มีนักโทษไม่ต่ำกว่า 700 คนใช้ฟ้าทะลายโจร 15 แคปซูล/วัน เป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน เจ้าหน้าที่กล่าวว่า นักโทษทั้งหมดล้วนหายป่วยจากโรคโควิด-19

ซึ่งเจ้าหน้าที่แพทย์ประจำเรือนจำ Chitsanuphong Saublaongiw เชื่อว่ายาฟ้าทะลายโจรนั้นมีประสิทธิภาพในการบรรเทาสำหรับการป่วยโควิด-19 เบื้องต้น

“จากการวิจัยยาฟ้าทะลายโจรมีสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ คือ แอนโดรกราโฟไลด์ (andrographolide) มีประสิทธิภาพในการจำกัดการแพร่ของไวรัส”

และชี้ว่า “หลังจากได้รับยาฟ้าทะลายโจรไปแล้ว พบว่าผู้ต้องขังมีผลการเอกซเรย์ปอดดีขึ้นและมีอาการป่วยลดลง โรคมีความร้ายแรงลดลง และพวกเขาฟื้นตัวเร็วขึ้น”

เจ้าหน้าที่การแพทย์เรือนจำยังชี้ว่า “ในกรณีของผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการไม่มีอาการเพิ่มเติม”

 
ซึ่งภายในเรือนจำที่มักแน่นขนัดทำให้ไวรัสโควิด-19 สามารถระบาดรวดเร็วในเรือนจำ พจ (Poj) ซึ่งเป็นนามแฝงของหนึ่งในผู้ป่วยโควิด-19 ภายในเรือนจำจังหวัดชัยนาทออกความเห็นว่า “ในเรือนจำพวกเรานอนใกล้กันมาก ดังนั้น พวกเราจึงไม่สามารถใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมได้”

และเสริมต่อว่า “ผมมีไข้สูงและหลังจากได้รับยาฟ้าทะลายโจรแล้วพบว่าไข้ลดลง” โดยอธิบายว่า “อาการเจ็บคอและไข้ลดลงเมื่อผมได้รับยาฟ้าทะลายโจรมาเป็นระยะเวลา 5 วัน”

ทั้งนี้ มีเรือนจำทั่วประเทศราว 141 แห่ง มีแผนที่จะผลิตยาแคปซูลฟ้าทะลายโจรให้ได้ 38 ล้านแคปซูลภายในเดือนพฤศจิกายนซึ่งจะใช้เพื่อการรักษาผู้ต้องขังโรคโควิด-19 ภายในเรือนจำต่อไป

รัฐบาลไทยทดลองใช้ยาฟ้าทะลายโจรในการรักษาในหลายโรงพยาบาล และออกมาสนับสนุนให้หมู่บ้านจำนวนราว 24,000 แห่งให้ปลูกฟ้าทะลายโจรเพื่อที่จะได้มีซัปพลายออกมาอย่างต่อเนื่อง

“หากว่าเราใช้ยาสมัยใหม่ค่าใช้จ่ายจะสูงกว่า 20 เท่า 30 เท่า หรือ 50 เท่าตัว...และในเรือนจำมักจะแน่นขนัดมาก” รัฐมนตรียุติธรรม สมศักดิ์ เทพสุทิน แสดงความเห็นในงานฟ้าทะลายโจรงานหนึ่งในกรุงเทพฯ

“เราต้องใช้สิ่งนี้ในการรักษาผู้คนที่หากว่ามีอาการป่วยเบื้องต้น พวกเราจะใช้ยาตัวนี้เพราะมันมีประสิทธิภาพและราคาไม่แพง”

แต่ทว่ายาฟ้าทะลายโจรยังไม่ใช่กระสุนเงินสุดวิเศษเพื่อรักษาโรคโควิด-19 เพราะเจ้าหน้าที่ไทยเปิดไฟเขียวอนุญาตให้ใช้เพื่อรักษาได้ในรายที่มีอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และฟ้าทะลายโจรไม่ได้ช่วยให้ผู้รับไม่ติดไวรัสและอีกทั้งยังไม่สามารถแทนที่วัคซีนโควิด-19

องค์การอนามัยได้ระบุถึงรายชื่อยาที่ใช้ในการรักษาโควิด-19 แต่ไม่ปรากฏรวมไปถึงยาสมุนไพรแผนทางเลือก ซึ่งบรรดานักวิจารณ์ในไทยต่างกล่าวว่า จำเป็นที่ต้องมีการวิจัยและทดสอบฟ้าทะลายโจรมากขึ้นเพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพของมัน

 

ผศ.ดร.มยุรี ตั้งเกียรติกำจาย อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชกรรมคลินิก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (Dr.Mayuree Tangkiatkumjai) แสดงความเห็นในเรื่องนี้ว่า

“อย่างไรก็ตาม โรคโควิด-19 ถือเป็นโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ ดังนั้น จึงยังไม่มีงานวิจัยมากพอที่จะยืนยันได้ว่ายาฟ้าทะลายโจรสามารถป้องกันและรักษาโควิด-19 ได้” ซึ่งในขณะที่ผศ.ดร.มยุรี สนับสนุนให้ผู้ที่ป่วยโรคหวัดสามารถใช้มันที่บ้านได้เนื่องมาจากฟ้าทะลายโจรมีสารแอนโดรกราโฟไลด์ ทำให้หยุดยั้งไวรัสและการอักเสบ แต่ทว่าฟ้าทะลายโจรยังไม่สามารถแทนที่ยาต้านไวรัสโควิด-19 ในเคสป่วยหนัก

“จำนวนที่เหมาะสมในการให้สารแอนโดรกราโฟไลด์สำหรับผู้ป่วยยังอยู่ในขั้นข้อมูล และจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลสัมฤทธิ์และผลข้างเคียง”

มีการวิจัยในฟ้าทะลายโจรอีก 2 ชิ้นที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการป่วยเริ่มแรกนั้นถูกศึกษาในอาสาสมัคร จำนวน 1,400 คน และคาดว่าผลการวิจัยดังกล่าวจะสามารถเปิดเผยได้ในฤดูใบไม้ผลิปีหน้า ซึ่งสกายนิวส์ชี้ว่า ไทยที่ทำการวิจัยวัคซีนโควิด-19 และยาต้านไวรัสแต่สามารถกล่าวได้ว่าในการระบาดโควิด-19 รอบนี้ “ฟ้าทะลายโจร” ถือมีบทบาทอย่างน่าจับตาในการต่อสู้วิกฤตการระบาดสมัยใหม่ทีเดียว

 
https://www.youtube.com/watch?v=PxAGp7BDf8I

 

 

 
ข้อมูลจาก https://mgronline.com/around/detail/9640000100777

 

 
เอเจนซีส์/เอเอฟพี - บริษัท ไบโอเทคโมเดอร์นา (Moderna) ที่มีฐานอยู่ในสหรัฐฯ แถลงวันจันทร์ (16 พ.ย.) ว่า วัคซีนโมเดอร์นาประสบความสำเร็จในการรักษาได้ถึง 94.5% จากการทดลองในเฟส 3 และมีแผนที่จะยื่นขอให้องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ FDA อนุมัติให้สามารถใช้วัคซีนเพื่อรักษาฉุกเฉินในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า

CNN สื่อสหรัฐฯรายงานวันนี้ (16 พ.ย.) ว่า บริษัท โมเดอร์นา (Moderna) กลายเป็นบริษัทยาที่ 2 ในสหรัฐฯประกาศประสบความสำเร็จในการพัฒนาวัคซีนรักษาโรคโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพรักษากว่า 90%

โดยในแถลงการณ์ในการรายงานของเอเอฟพีที่ออกมาจาก สเตฟาน บานเซล (Stephane Bancel) ซีอีโอโมเดอร์นาระบุว่า

“ผลบวกนี้มาจากการวิเคราะห์เบื้องต้นของขั้นทดลองเฟส 3 ที่ยืนยันถึงการประสบความสำเร็จทางคลินิกวิทยาเป็นครั้งแรกว่าวัคซีนของเราสามารถป้องกันโรคโควิด-19 ได้รวมไปถึงโรคขั้นร้ายแรง”

สื่อสหรัฐฯรายงานว่า บริษัท ไบโอเทคโมเดอร์นา ระบุว่า วัคซีนโควิด-19 ของบริษัทประสบความสำเร็จ 94.5% ในการป้องกันโรคโควิด-19

ด้านผู้เชี่ยวชาญด้านการระบาดวิทยาสหรัฐฯและเป็นหนึ่งในสมาชิกทีมโควิด-19 ทำเนียบขาว ดร.แอนโธนี เฟาซี แสดงความเห็นในเรื่องนี้ว่า “ที่ถือเป็นผลลัพท์ที่น่าตื่นเต้นจริงๆ” และเสริมต่อว่า “มันถือเป็นสิ่งที่ดีมากๆ ระดับ 94.5% ถือเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยม”

สื่อสหรัฐฯรายงานว่า โมเดอร์นารับทราบข่าวดีจากโทรศัพท์ในบ่ายวันอาทิตย์ (15) จากสมาชิกของคณะกรรมการบอร์ดการกำกับข้อมูลปลอดภัย (Data Safety and Monitoring Board) ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระ

โดยบริษัทได้ทำการทดสอบกับอาสาสมัครจำนวน 15,000 ราย ในกลุ่มการศึกษาแรก พบว่า คนเหล่านี้ได้รับการฉีดยาหลอก (placebo) ซึ่งเป็นน้ำเกลือที่ไม่มีผลข้างเคียงทางการแพทย์ และในอีกไม่กี่เดือนพบว่ามีผู้เข้าร่วมจำนวน 90 คนจากทั้งหมดเริ่มแสดงอาการป่วยโรคโควิด-19 และจากจำนวนทั้งหมดพบว่ามี 11 รายป่วยในขั้นร้ายแรง

และกลุ่มอาสาสมัครการศึกษากลุ่มที่ 2 จำนวน 15,000 คนเท่ากัน โดยคนเหล่านี้ได้รับวัคซีนโมเดอร์นา และจากจำนวนทั้งหมดมีแค่ 5 คนเท่านั้น ที่เริ่มมีอาการป่วยโควิด-19 แต่ไม่มีใครป่วยในขั้นร้ายแรง

ทางบริษัทกล่าวว่า วัคซีนของบริษัทไม่แสดงผลกระทบข้างเคียงขั้นร้ายแรง และมีกลุ่มเล็กๆ ที่ได้รับวัคซีนแสดงอาการป่วยเป็นต้นว่า ปวดเมื่อยตามร่างกาย รวมไปถึงปวดศีรษะ
 

ทั้งนี้ เฟาซีชี้ว่า เขาคาดว่า วัคซีนโมเดอร์นาจะสามารถเริ่มถูกใช้ได้ในครึ่งหลังของเดือนธันวาคม โดยเป็นที่คาดกันว่ากลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงจะเป็นกลุ่มแรกที่จะได้รับวัคซีนก่อน ขณะที่ประชาชนสหรัฐฯที่เหลือคาดว่าจะสามารถได้รับการแจกจ่ายวัคซีนในหน้าฤดูใบไม้ผลิปีหน้าไปแล้ว
 
 

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ