3 มาตรการ สกัดโควิด ระบาด "ข้ามพรมแดน" เพื่อนบ้าน หลังเปิดประเทศ
ศบค. เผย 3 มาตรการสกัดโควิดระบาดข้ามพรมแดนเพื่อนบ้านหลังเปิดประเทศ ขณะที่ ผู้เดินทางลงทะเบียน Thailand pass แล้วกว่า 2.6 แสนราย อนุมัติแล้วกว่า 2.5 แสนราย ไทยพบผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่ 8,450 ราย เสียชีวิต 58 ราย กว่า 97% เป็นกลุ่มสูงวัย โรคเรื้อรัง

วันนี้ (7 พ.ค. 65) ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. เผยข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 3 มาตรการสกัดโควิด ระบาดข้ามพรมแดนเพื่อนบ้านหลังเปิดประเทศ โดย นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เผยว่า การเฝ้าระวังเเละคัดกรองกลุ่มผู้เดินทางระหว่างประเทศเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญที่กระทรวงสาธารณสุข โดยเฉพาะด่านควบคุมโรคช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ

ทั้งด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศที่สนามบิน ท่าเรือ และพรมแดนตามแนวชายแดน อันเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ส่งผลให้สามารถตรวจจับเเละควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะที่ผ่านมา ในปัจจุบันด่านพรมแดนมีการพัฒนาให้สามารถคัดกรองดูเเลผู้ติดเชื้อเเละให้บริการวัคซีนเพื่อเพิ่มความครอบคลุมให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผน

มาตรการรับมือโควิด 19 แบบรอบด้าน ได้แก่

1) ด้านโครงสร้างพื้นฐานด่านพรมแดน โดยการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ การพัฒนาศักยภาพบุคลากร

2) ด้านการป้องกัน ควบคุมโรค โดยการประเมินความเสี่ยงของสถานการณ์ การสื่อสารความเสี่ยง การเพิ่มความครอบคลุมของวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 เเละการติดต่อประสานงาน

3) การถอดบทเรียน บูรณาการฐานข้อมูลร่วมกัน การซ้อมแผน สัมพันธภาพความร่วมมืออันดีของเจ้าหน้าที่ระหว่างหน่วยงาน และประเทศเพื่อนบ้านเพื่อรับมือกับโควิด 19

3 มาตรการ สกัดโควิด ระบาด "ข้ามพรมแดน" เพื่อนบ้าน หลังเปิดประเทศ

 

ลงทะเบียน Thailand pass 2.6 แสนราย

ทั้งนี้ รายงานจำนวนการลงทะเบียนการเดินทางเข้าราชอาณาจักรผ่าน Thailand pass วันที่ 29 เม.ย. - 6 พ.ค. 65 พบว่า 

  • ผู้ลงทะเบียน 260,573 ราย 
  • อนุมัติแล้ว 252,788 ราย 
  • ไม่ผ่านการอนุมัติ 4,728 ราย 
  • รอพิจารณาโดย AI จำนวน 0 ราย
  • รอพิจารณาโดยผู้ตรวจ 3,057 ราย

3 มาตรการ สกัดโควิด ระบาด "ข้ามพรมแดน" เพื่อนบ้าน หลังเปิดประเทศ

ไทยติดเชื้อรายใหม่ 8,450 ราย

สำหรับ "สถานการณ์โควิด-19" ในประเทศไทย จากการรายงานของ ศบค. พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 8,450 ราย จำแนกเป็น

  • ผู้ป่วยจากในประเทศ 8,409 ราย
  • ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 4 ราย
  • ผู้ป่วยในเรือนจำ 37 ราย
  • เสียชีวิต 58 ราย

ผู้ป่วยสะสม 2,093,334 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) หายป่วยกลับบ้าน 12,224 ราย หายป่วยสะสม 2,025,401 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 93,840 ราย อยู่ใน รพ. 27,597 ราย รพ.สนามและอื่นๆ 66,243 ราย 

3 มาตรการ สกัดโควิด ระบาด "ข้ามพรมแดน" เพื่อนบ้าน หลังเปิดประเทศ

"ผู้สูงวัย-โรคเรื้อรัง" เสียชีวิตจากโควิด 97%

สำหรับผู้ป่วย โควิด-19 เสียชีวิตในประเทศจำนวน 58 ราย เป็น

  • ชาย 33 ราย
  • หญิง 25 ราย
  • ชาวไทย 56 ราย
  • เมียนมา 1 ราย
  • ออสเตรเลีย 1 ราย

ค่ากลางอายุผู้เสียชีวิต 76 ปี (25-98 ปี)

พบเชื้อ-เสียชีวิต 0-24 วัน

พบเชื้อวันเสียชีวิต 3 ราย

ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ยังเป็น

  • กลุ่มสูงวัย 60 ปีขึ้นไป 44 ราย (76%)
  • กลุ่มโรคเรื้อรัง 12 ราย (21%)

ทั้งสองกลุ่มคิดเป็นสัดส่วนกว่า 97% 

3 มาตรการ สกัดโควิด ระบาด "ข้ามพรมแดน" เพื่อนบ้าน หลังเปิดประเทศ

ฉีดวัคซีนเข็ม 3 สะสม 38.1%

จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 6 พ.ค. 2565) รวม 134,400,625 โดส ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น 

  • จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 56,371,631 ราย (81.0%)
  • จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 51,532,174 ราย (74.1%)
  • จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 26,496,820 ราย (38.1%)

ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 6 พฤษภาคม 2565

ยอดฉีดทั่วประเทศ 181,959 โดส

  • เข็มที่ 1 : 22,890 ราย
  • เข็มที่ 2 : 74,098 ราย
  • เข็มที่ 3 : 84,971 ราย

3 มาตรการ สกัดโควิด ระบาด "ข้ามพรมแดน" เพื่อนบ้าน หลังเปิดประเทศ

สูงวัย ฉีดเข็ม 3 สะสม 41.9%

ผลการให้ วัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มเป้าหมายหลัก พบว่า ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เป้าหมาย 12,704,543 ราย

ฉีดเข็ม 1 สะสม 84.2%

ฉีดเข็ม 2 สะสม 80.0%

ฉีดเข็ม 3 สะสม 41.9%

ขณะที่กลุ่มอายุ 5-11 ปี เป้าหมาย 5,150,082 ราย

เข็ม 1 สะสม 53.9%

เข็ม 2 สะสม 15.5%

3 มาตรการ สกัดโควิด ระบาด "ข้ามพรมแดน" เพื่อนบ้าน หลังเปิดประเทศ

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/social/1003066?anf=

4 กลุ่มโรคต้องรู้  "หน้าฝน" ดูแลตัวเองอย่างไร ให้ปลอดภัย ปลอดโรค
 
"หน้าฝน" สิ่งที่ต้องระวังนอกจากสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัด หรือ โรคที่มียุงลายเป็นพาหะแล้ว ยังต้องระวังเมื่อต้องเจอกับน้ำท่วมขัง และอันตรายอื่นๆ ที่จะตามมา ไม่ว่าจะเป็นสัตว์มีพิษ และเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ดังนั้น เราจะระวังตัวเองอย่างไรให้ปลอดภัยและปลอดโรค

เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ ฤดูฝน ทำให้มีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ การดูแลสุขภาพในช่วงนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญเพราะอาจเป็นหวัด ไอ เจ็บคอ ได้ง่าย อีกทั้ง น้ำท่วมขัง ในบางพื้นที่ ยังมีสิ่งที่พึงระวังโดยเฉพาะสัตว์มีพิษที่มากับน้ำ หรือเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค รวมถึงโรคอื่นๆ ที่มียุงลายเป็นพาหะ 

4 กลุ่มโรค ภัยสุขภาพ "หน้าฝน"

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แบ่งโรคและภัยสุขภาพที่มากับหน้าฝนเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 

กลุ่มที่ 1.โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ

โรคไข้หวัดใหญ่

  • ติดต่อจากการไอ จามรดกัน หรือสัมผัสสิ่งของที่มีเชื้อร่วมกัน
  • จะมีอาการไข้ ไอแห้งๆ ปวดศีรษะ เยื่อบุโพรงจมูกอักเสบและเจ็บคอ

โรคปอดอักเสบ

  • เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส จากการหายใจหรือสัมผัสละอองฝอยจากน้ำมูกเข้าไป จะมีไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย
  • พบได้ในทุกกลุ่มอายุ แต่จะมีอาการรุนแรงในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องและมีโรคประจำตัว

“โดยทั้งสองโรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น และสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกนอกบ้าน ซึ่งวิธีดังกล่าวสามารถป้องกันโรคโควิด 19 ได้อีกด้วย”

กลุ่มที่ 2 โรคติดต่อจากการสัมผัส

โรคมือ เท้า ปาก

  • พบมากในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
  • จากการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย ผื่น ตุ่มน้ำใสของผู้ป่วย
  • จะมีไข้ มีตุ่มพองใสหรือแผลในปาก ฝ่ามือ ฝ่าเท้าหรือก้น
  • ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรงและหายเองได้

ขอให้ผู้ปกครองและครูสังเกตอาการป่วยของเด็ก หากมีอาการสงสัยป่วย ให้แยกเด็กป่วยออกจากเด็กปกติและรีบไปพบแพทย์ พร้อมทั้งให้หยุดเรียนจนกว่าจะหายดี

โรคเลปโตสไปโรซิสหรือโรคไข้ฉี่หนู

  • พบบ่อยในผู้มีอาชีพเกษตรกรที่ต้องสัมผัสกับดินหรือน้ำอยู่เป็นประจำ
  • จะมีไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง หนาวสั่น ตาแดง และปวดกล้ามเนื้อน่อง
  • การป้องกัน คือ หลีกเลี่ยงการทำงานในน้ำหรือต้องลุยน้ำลุยโคลนเป็นเวลานาน หากจำเป็นควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสมทุกครั้ง

กลุ่มที่ 3 โรคติดต่อนำโดยยุงลาย

โรคไข้เลือดออก

  • มียุงลายเป็นพาหะนำโรค
  • จะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ มีจุดแดงที่ผิวหนัง
  • หากอาการรุนแรงอาจช็อกได้

โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ โรคชิคุนกุนยา

  • มียุงลายสวนและยุงลายบ้านเป็นพาหะนำโรค
  • อาการคล้ายไข้เลือดออก แต่ต่างกันที่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงขั้นช็อกและเสียชีวิต

โรคติดเชื้อไวรัสซิกา

  • มียุงลายเป็นพาหะ
  • อาการโรคจะไม่รุนแรง
  • แต่หากติดเชื้อในสตรีมีครรภ์ อาจทำให้เกิดภาวะศีรษะเล็กในเด็กแรกเกิด
  • เด็กมีพัฒนาการช้าและตัวเล็ก หรือมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์

"การป้องกัน ขอให้ประชาชนสำรวจพื้นที่ที่มีน้ำขังและร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบริเวณรอบๆ ตัวบ้านและในชุมชน โดยใช้มาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” เก็บบ้านให้สะอาด เก็บขยะที่อยู่บริเวณรอบบ้าน และเก็บน้ำ ปิดฝาภาชนะที่มีน้ำขังให้มิดชิด ป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่ ซึ่งสามารถป้องกันได้ทั้ง 3 โรค"

กลุ่มที่ 4 ภัยสุขภาพ

การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการถูกฟ้าผ่า

  • เมื่อมีฝนตกฟ้าคะนองให้หลบในที่ปลอดภัย เช่น ภายในบ้านหรืออาคาร และหลีกเลี่ยงอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่

อันตรายจากการกินเห็ดพิษ

  • หากไม่มั่นใจว่าเป็นเห็ดพิษหรือเห็ดที่รับประทานได้ ไม่ควรนำมารับประทาน
  • หรืออาจเลือกรับประทานเห็ดที่มาจากการเพาะขยายพันธุ์ เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง

อันตรายจากการถูกงูพิษกัด

  • เมื่อมีฝนตกน้ำท่วมขัง สัตว์เลื้อยคลานและงูมีพิษ อาจมาอาศัยอยู่ในมุมอับของบ้าน
  • ควรจัดบ้านให้สะอาด
  • หากถูกงูพิษกัด ต้องรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที
  • ลดการเคลื่อนไหวอวัยวะที่ถูกงูกัด
  • ควรขันชะเนาะ อาจทำให้เนื้อเยื่อขาดเลือดเกิดเนื้อตายได้
  • พร้อมทั้งจดจำลักษณะชนิดของงูที่กัด เพื่อการรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็ว

พกร่ม - หลีกเลี่ยงน้ำท่วมขัง

สำหรับในช่วงนี้ที่มีฝนตกเป็นประจำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะนำให้พกร่ม เสื้อกันฝน เพื่อป้องกันไม่ให้เปียกชื้น

หากร่างกายเปียกฝน

  • ควรเตรียมเสื้อผ้าไว้ผลัดเปลี่ยน จะช่วยให้ไม่ต้องอยู่ในสภาพเปียกชื้นนาน ๆ เพราะอาจทำให้ร่างกายหนาว สั่น เป็นตะคริว หรือเป็นหวัด ไอ จาม และมีไข้ได้

พื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง และจำเป็นต้องลุยน้ำ

  • ไม่ควรย่ำน้ำที่ท่วมขังด้วยเท้าเปล่า
  • ควรสวมรองเท้าบูทเพื่อป้องกันอันตรายจากของมีคม สัตว์มีพิษ หรือเชื้อโรคที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำนั้นได้ นำมาซึ่งอหิวาตกโรค โรคมือเท้าเปื่อย
  • อีกทั้ง ควรล้างมือและเท้าให้สะอาดทุกครั้งเมื่อเข้าบ้าน
  • หากพบว่าตนเองมีบาดแผล ให้ปิดแผลด้วยพาสเตอร์ยากันน้ำ

น้ำท่วมขังกระเด็นเข้าตาทำอย่างไร

  • อย่าขยี้ตา แต่ให้รีบล้างตา
  • ล้างมือด้วยน้ำสะอาด
  • หากสัมผัสน้ำท่วมขัง ไม่นำมือสัมผัสดวงตาโดยเด็ดขาด

ผักผลไม้เสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย

สำหรับ ผักผลไม้ สมุนไพร ที่กรมอนามัย แนะนำ เช่น พริกหวาน บรอคโคลี กะเพรา กระเทียม หอมแดง หอมใหญ่ ตะไคร้ มะนาว ขิง ขมิ้น เป็นต้น พืชผักสมุนไพรเหล่านี้มีสารอาหารมากมายที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย

ให้กินผลไม้เป็นประจำ โดยเฉพาะผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซี เช่น มะละกอ ส้มเขียวหวาน ส้มโอ สตรอว์เบอร์รี ฝรั่ง เงาะ ลิ้นจี่ เป็นต้น จะช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ

ช่วงฤดูฝนจะมีทั้งฝนและความชื้น แต่อากาศก็ยังร้อน ทำให้ร่างกายเสียเหงื่อไปไม่น้อยเช่นกัน ดังนั้น ควรดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ การดื่มน้ำเยอะ ๆ จะรักษาอุณหภูมิในร่างกายให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ และเพื่อป้องกันร่างกายสูญเสียน้ำจากการที่เหงื่อออกมากจนเกินไป

เพราะโดยปกติแล้วร่างกายของเราจะสูญเสียน้ำประมาณร้อยละ 4 ของน้ำหนักร่างกาย ทั้งจากการที่เหงื่อออกและการขับปัสสาวะ อีกทั้งร่างกายจะมีภาวะขาดน้ำต่อเมื่อร่างกายสูญเสียน้ำไปประมาณร้อยละ 1 ของน้ำหนักตัว ซึ่งหากเหงื่อออกมากและรู้สึกไม่อยากดื่มน้ำ ให้ค่อย ๆ จิบน้ำทีละนิดเพื่อช่วยลดปัญหาร่างกายขาดน้ำได้

ทั้งนี้ หากจะนำน้ำฝนไปใช้บริโภค ควรนำมากรองให้สะอาด และต้องผ่าน การต้มสุก เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่มากับความชื้นในหน้าฝน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหาร อุจจาระร่วง หรือท้องเสียอย่างรุนแรงได้

 

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/health/well-being/1025966?anf=

 

 

4 อาชีพต้องระวัง เสี่ยงติดโควิดดับ

 

4 อาชีพต้องระวัง เสี่ยงติดโควิดดับ

 

วันที่ 2 มิถุนายน 2564 ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รวม 3,440 ราย จำแนกเป็น ติดเชื้อใหม่ 2,353 ราย ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 1,087 ราย หายป่วยกลับบ้าน 2,843 ราย ผู้ป่วยสะสม 136,599 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) เสียชีวิต 38 ราย 

รายละเอียดผู้เสียชีวิตวันนี้ ชาย 24 ราย หญิง 14 ราย ค่ากลางอายุอยู่ที่ 67 ปี (10เดือน-95 ปี )

กรุงเทพฯ จำนวนผู้ป่วยเสียชีวิต 18 ราย 

สมุทรปราการ 5ราย

ชลบุรี ปทุมธานี 3ราย

ฉะเชิงเทรา นนทบุรี สุณาษฎร์ธานี  2ราย

อยุธยา ร้อยเอ็ด ราชบุรี อุดรธานี 1ราย

4 อาชีพต้องระวัง เสี่ยงติดโควิดดับ

 

4อาชีพเสี่ยง ค้าขาย ขับรถประจำทาง แท็กซี่ และ รปภ. สุดเศร้ามีผู้เสียชีวิตถึง8ท่าน ที่เสียชีวิตภายในสัปดาห์แรก คือตั้งแต่วันแรกที่ยืนยันพบเชื้อโควิด ท่านก็เสียชีวิตในวันเดียวกัน ทำให้สะท้อนว่า ผู้ป่วยเรานี้ไม่รู้ตัวว่าตัวเองเจ็บป่วย พอถึงมือแพทย์ก็มีอาการหนักรุนแรงและเสียชีวิตในวันต่อมา

 ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/regional/468915?adz=

 

 

ศาสตราจารย์นายแพทย์สุจริต ภักดีเป็นนักไวรัสวิทยาชาวเยอรมันและศาสตราจารย์ด้านจุลชีววิทยา เขาเป็นคนไทยที่เกิดในสหรัฐอเมริกาและได้รับการศึกษาที่โรงเรียนในสวิตเซอร์แลนด์อียิปต์และไทย เขาเรียนแพทย์ที่มหาวิทยาลัยบอนน์ เขาเป็นอดีตหัวหน้าสถาบันจุลชีววิทยาทางการแพทย์และสุขอนามัยในเยอรมนี
นายแพทย์สุจริต ภักดี อายุ 73 ปี บอกว่าจะไม่ยอมให้ฉีดวัคซีนป้องกัน Covid -19 อย่างเด็ดขาดและนี่คือ 4 เหตุผลของท่าน

1. วัคซีน เฉพาะตัวมันเองก็ทำให้เกิดผลข้างเคียงอยู่แล้ว : วัคซีนป้องกัน Covid - 19 นี้ไม่เคยทดสอบกับผู้สูงอายุ เกือบทั้งหมดทดลองกับคนหนุ่มสาวที่แข็งแรง เท่านั้น ราวครึ่งนึงมีไข้ หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อ มีภาวะบวมน้ำเหลือง ปวดหัว และไม่สบาย ดังนั้นถ้าฉีดวัคซีนนี้ให้กับคนสูงอายุที่มีอาการเหล่านี้อยู่ก่อนแล้ว ก็จินตนาการไม่ออกว่าหลังจากได้รับวัคซีนไปแล้วจะเป็นอย่างไร
2. วัคซีนมีส่วนประกอบหลายอย่างซึ่งสารหรือสิ่งที่ถูกห่อหุ้ม (mRNA) อาจทำให้เกิดการแพ้อย่างรุนแรง
3. วัคซีนนี้อาจทำให้เกิดปฎิกริยาเกินจริง (Overreaction) กับการติดเชื้อที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติตามมา เช่นไข้หวัดใหญ่ วัคซีนจะทำให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ทำงานเกินจริง ผลการทดลองในสัตว์ สำหรับเชื้อไวรัส ซาร์ - โควิด -1 พบว่ามันทำให้เกิดการขยาย (Amplification) ของระบบภูมิคุ้มกันเพื่อทำปฎิกริยากับโรค ส่งผลให้สัตว์ทดลองเกือบเสียชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมาก เมื่อคุณฉีดวัคซีนเข้าไป ภายในเวลาไม่กี่นาที วัคซีน (mRNA) จะกระจายไปทั่วร่างกายอย่างรวดเร็ว และมันจะเข้าไปยังเซลล์ที่ไม่ได้ติดเชื้อด้วย และมันจะผลิตไวรัสโปรตีนในเซลล์ของเรา ทำเซลล์ของเราให้เป็นโรงงานผลิตโปรตีน และจะทำให้เกิดอาการแพ้ภูมิตัวเอง รวมทั้งอาจส่งผลถึงภาวะเส้นเลือดอุดตัน ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้
4. วัคซีนนี้ไม่ควรใช้กับสตรีมีครรภ์ (BioNtechไบโอเอนเทค ถึงกับห้ามให้วัคซีนกับสตรมีครรภ์เลยทีเดียว) และหากสตรีได้รับการฉีดวัคซีนนี้แล้วก็ไม่ควรมีครรภ์ในระยะ 2 เดือนหลังจากได้รับวัคซีน
Cr. V.Chalermchai ผู้แปล

 
5 ข้อเทียบ "ฝีดาษลิง" กับ "โควิด-19" ที่โลกกำลังหวั่นถึงการระบาด
 “ฝีดาษลิง”ที่ทั่วโลกกำลังหวั่นวิตกว่าจะเกิดการระบาด กับ “โควิด-19” ที่เกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลกมากว่า 2 ปี   2 โรคนี้ หากเทียบใน 5 ข้อจะเป็นอย่างไร ทั้งตัวเชื้อ การติดต่อ อัตราการป่วยเสียชีวิต  วัคซีนและสถานการณ์การระบาด

    ท่ามกลางความกังวลของคนทั่วโลกว่า โรคฝีดาษลิง จะแพร่ระบาดใหญ่เหมือนโควิด-19หรือไม่  โดยองค์การอนามัยโลก ระบุว่า ฝีดาษลิง แพร่กระจายแตกต่างจากโควิด-19 และองค์การอนามัยโลก สนับสนุนให้ประชาชนรับทราบข้อมูลข่าวสารจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น หน่วยงานด้านสาธารณสุขแห่งชาติ

เทียบ 5 ข้อระหว่าง ฝีดาษลิง และโควิด-19 ดังนี้

  1.ตัวเชื้อ

ฝีดาษลิง  กรมควบคุมโรค ระบุว่า ไม่ใช่โรคใหม่ แต่เคยระบาดมาแล้วมากกว่า 20 ปี โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxviridae จัดอยู่ในจีนัส Orthopoxvirus เช่นเดียวกับไวรัสอีกหลายชนิด ได้แก่ ไวรัสที่ทำให้เกิดฝีดาษในคนหรือไข้ทรพิษ (variola virus) ไวรัสที่นำมาผลิตวัคซีนป้องกันฝีดาษในคน (vaccinia virus) และฝีดาษวัว (cowpox virus) 
เชื้อไวรัสฝีดาษลิง พบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า เป็นต้น รวมทั้งคนก็สามารถติดโรคได้

    “ฝีดาษลิง โรคนี้ไม่ใช่โรคอุบัติใหม่ มีมานานกว่า 10 ปี  โดยพบผู้ป่วยรายแรกที่แอฟริกา”
 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว

      โควิด-19  เป็นเชื้อที่พบและรายงานเมื่อปี 2563 โดยในช่วงปลายปี 2562 มีการรายงานพบผู้ป่วยปอดอักเสบไม่ทราบสาเหตุที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน  ก่อนที่จะมีการถอดรหัสพันธุกรรม แล้วระบุว่า เป็นเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ SARS-Cov-2 และมีการตั้งชื่อต่อมาว่า “โรคโควิด-19”

2.การติดต่อ

    ฝีดาษลิง(monkeypox)  ศ.นพ.ยง บอกว่า แตกต่างจากเชื้อฝีดาษในคน(smallpox)ที่สามารถติดต่อทางระบบทางเดินใจหาย และ สารคัดหลั่งจากการไอ จาม แต่ฝีดาษลิง จะมีการติดต่อได้จากการสัมผัสบาดแผล หรือ ฝีหนอง และเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน และการที่พบผู้ป่วยในต่างประเทศ ก็มาจากการเลี้ยงสัตว์แปลก  หรือ มีการเดินทางไปที่แอฟริกามาก่อน

     การติดต่อของฝีดาษลิง ถือว่าติดต่อได้ยากเมื่อเทียบกับฝีดาษคน เพราะต้องสัมผัสกับ บาดแผล ฝีหนอง ของคนป่วย 
       กรมควบคุมโรค ให้ข้อมูลว่า คนสามารถติดโรคจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดข่วน การประกอบอาหารจากเนื้อสัตว์ป่า หรือกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ หรืออาจติดทางอ้อมจากการสัมผัสที่นอนของสัตว์ป่วย

       การแพร่เชื้อจากคนสู่คนแม้มีโอกาสน้อย แต่อาจเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยผ่านทางสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ ผิวหนังที่เป็นตุ่ม หรืออุปกรณ์ที่มีการปนเปื้อนเชื้อ

     โควิด-19 เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ แพร่จากคนสู่คน จากการสัมผัสผู้ติดเชื้อ ผ่านทางละอองเสมหะจากการไอ จาม น้ำมูก น้ำลาย

3.อัตราป่วยเสียชีวิต

    ฝีดาษลิง  เมื่อคนรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะมีระยะฟักตัวประมาณ 7-14 วัน อาจนานถึง 21 วัน 

อาการเริ่มแรกฝีดาษลิง

  1. จะมีไข้ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต หนาวสั่น อ่อนเพลีย
  2. จากนั้นประมาณ 1-3 วัน จะมีผื่นขึ้นบริเวณแขนขา และอาจจะเกิดบนหน้าและลำตัวได้ด้วย
  3. ผื่นจะกลายเป็นตุ่มหนอง ในระยะสุดท้ายตุ่มหนองจะเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออกมา

อาการป่วยจะประมาณ 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรคเองได้ โดยอาการรุนแรงมักพบในกลุ่มเด็ก ซึ่งในประเทศแอฟริกาพบอัตราการเสียชีวิตประมาณ 10  %

องค์การอนามัยโลก ระบุ อัตราเสียชีวิตฝีดาษลิง อยู่ที่ 3-6 % ในพื้นที่ที่เป็นโรคประจำถิ่น แต่ก็อาจเป็นการประเมินที่สูงเกินไป ด้วยข้อจำกัดของพื้นที่
    โควิด-19 มีการระบาดทั่วโลกมากว่า 2 ปี  ปัจจุบัน อัตราป่วยเสียชีวิตทั่วโลก อยู่ที่ 1.20  %

    ส่วนในประเทศไทย ข้อมูลสะสมตั้งแต่ปี 2563 ผู้ป่วยยืนยันสะสม 4,406,755 ราย หายป่วยแล้ว 4,318,565 ราย เสียชีวิตสะสม 29,715 ราย  อัตราป่วยเสียชีวิตอยู่ที่ 0.18 %  (ข้อมูล ณ 21 พ.ค.2565 )

4.วัคซีน

การป้องกันการติดฝีดาษลิง 

1.หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อหรือสัตว์ป่า  

2.หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ  

3.หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์เมื่อสัมผัสกับสัตว์หรือคนที่ติดเชื้อ หรือเดินทางเข้าไปในป่า  

4. ไม่นำสัตว์ป่ามาเลี้ยงหรือนำเข้าสัตว์จากต่างประเทศโดยไม่มีการ คัดกรองโรค  

5.กรณีมีการเดินทางกลับจากประเทศที่เป็นเขตติดโรค ต้องทำการคัดกรองและเฝ้าระวังอาการจนครบ 21 วัน  หากมีอาการเจ็บป่วยให้รีบไปพบแพทย์ทันที และทำการแยกกักเพื่อมิให้ผู้ป่วยมีการแพร่กระจายเชื้อ

วัคซีนฝีดาษ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ ซึ่งสามารถป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ 85% โดยก่อนหน้าที่จะกวาดล้างไข้ทรพิษได้นั้น  มีการฉีดวัคซีนหรือที่เรียกกันว่าการปลูกฝี ซึ่งจะช่วยป้องกันทั้งสองโรคนี้ได้

     ทว่า  เด็กที่เกิดหลังปี 2523 จะไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษมาก่อน จึงเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อโรคฝีดาษลิงมากกว่าประชากรกลุ่มอื่นๆ

    โควิด-19 ยังไม่มีวัคซีนที่สามารถใช้ป้องกันโรคมาก่อน เพิ่งมีการเริ่มวิจัย พัฒนาในปี  2563 และเริ่มนำมาใช้ในช่วงที่โควิด-19ระบาด 

ปัจจุบัน วัคซีนโควิด-19 ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) อนุมัติการขึ้นทะเบียน ทั้งนี้ วัคซีนโควิด19ที่อย.ไทยอนุมัติให้ใช้ในภาวะฉุกเฉินแล้วมี 7 ตัว 4 ชนิดแพลตฟอร์ม คือ

  1. ชนิดเชื้อตาย คือ วัคซีนซิโนแวค และซิโนฟาร์ม
  2. ชนิดmRNA คือ วัคซีนไฟเซอร์และโมเดอร์นา
  3. ชนิดไวรัล แว็กเตอร์ คือ วัคซีนแอสตราเซนเนก้า และจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน
  4. ชนิดโปรตีนซับยูนิต คือ วัคซีนโคโวแวกซ์

     ข้อมูล ณ  20 พ.ค.2565 ประเทศไทยมีการฉีดวัคซีนโควิด-19แล้ว 136,265,374 โดส

เป็นเข็มที่ 1 จำนวน 22,199 ราย เข็มที่ 2 จำนวน 82,396 ราย และเข็มที่ 3 จำนวน 97,153 ราย
 

5.สถานการณ์ระบาด  

   ท่ามกลางการจับตาดูว่า ตอนนี้ ฝีดาษลิง อาจจะระบาดในหลายประเทศยุโรป และกำลังมีการเร่งสอบสวนโรคให้ทราบต้นตอ และการวางแนวทางป้องกันโรค

     สำหรับภูมิภาคอาเซียน เคยมีรายงานการพบผู้ป่วย ฝีดาษลิง  ในปี 2562 มีรายงานในประเทศสิงคโปร์ โดยพบเป็นชายสัญชาติไนจีเรีย เดินทางเข้าสิงคโปร์วันที่ 28 เม.ย.2562 ผลการตรวจหาเชื้อวันที่ 5 พ.ค.2562 ยืนยันติดฝีดาษลิง  โดยผู้ป่วยให้ข้อมูลว่า

“ก่อนที่จะเดินทางมาสิงคโปร์ ได้ไปงานเลี้ยงแต่งงานที่ไนจีเรีย และกินเนื้อสัตว์ในงาน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้อไวรัสก่อโรคนี้"  

      ประเทศไทย ปัจจุบันจัดฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ ที่เรียกว่า  smallpox  เป็นโรคติดต่ออันตราย เช่นเดียวกับ โรคโควิด-19 

      โดยมีรายงานการระบาดของฝีดาษในไทย  ตั้งแต่ครั้งพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ช่ววงปี พ.ศ. 2460 - 2504 มีไข้ทรพิษเกิดขึ้นทุกปี ช่วงปี พ.ศ. 2488 - 2489 เป็นช่วงเกิดสงคราม เกิดการระบาดครั้งใหญ่สุด เริ่มต้น จากเชลยพม่าที่ทหารญี่ปุ่นจับมาสร้างทางรถไฟสาย มรณะข้ามม่นํ้าแคว ทําให้เชลยศึกป่วยเป็นไข้ทรพิษ และลามไปยังกลุ่มกรรมกรไทยจากภาคต่างๆ ที่มารับจ้าง ทํางานในแถบนั้น และเมื่อกลับบ้านนําโรคกลับ ไปแพร่ระบาดใหญ่ทั่วประเทศ มีผู้ป่วยมากถึง 62,837 คน (เสียชีวิต 15,621 คน)

    การระบาดครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2504 - 2505 การ ระบาดที่อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย บริเวณติดต่อ รัฐเชียงตุงของพม่า มีผู้ป่วย 34 ราย ตาย 5 ราย ปี พ.ศ. 2504 กระทรวงสาธารณสุขเริ่มโครงการ กวาดล้างไข้ทรพิษในประเทศไทย

ปี 2523 องค์การอนามัยโลก ประกาศว่าไข้ทรพิษได้ถูกกวาดล้างแล้ว จึงหยุดการปลูกฝีป้องกันโรคนับแต่นั้นมา

โควิด-19 มีการระบาดครั้งแรก โดยระบาดไปทั่วโลกในปี 2563  กระทั่งถึงปัจจุบัน และเริ่มมีแนวโน้มที่สามารถควบคุมการระบาดได้ในปลายปี 2565

ข้อมูล ณ วันที่ 21 พ.ค.2565 ทั่วโลกมีรายงานผู้ติดเชื้อกว่า 500 ล้านราย และเสียชีวิตกว่า 6 ล้านราย  ในประเทศไทยมีรายงานผู้ติดเชื้อกว่า 4 ล้าน ราย และเสียชีวิต 29,715 ราย

    สำหรับประเทศไทย โควิด-19 จะเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่นได้ในช่วงกลางมิ.ย.หรือต้นก.ค.2565นี้

       “ประเทศไทย ยังไม่ต้องตื่นและกังวลกับโรคฝีดาษลิง ยังไม่ได้เกิดในไทย และเชื้อนี้ก็ไม่มีในลิงของไทย มีเชื้อเฉพาะในลิงแอฟริกา  การป้องกันตัวสำหรับโรคนี้ก็ไม่แตกต่างกัน สุขอนามัย เป็นเรื่องสำคัญและอย่าได้เลี้ยงสัตว์แปลกจากต่างประเทศ”ศ.นพ.ยง กล่าว


อ้างอิง :
     1.ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
     2.องค์การอนามัยโลก
     3.กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
     4. https://www.pidst.or.th/userfiles/f26.pdf    สืบค้น 21 พ.ค.2565

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/social/1005676?anf=

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ