เช็กเลย! ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 16สาขาอาชีพ เริ่มบังคับใช้ 3เดือนจากนี้ 

ราชกิจจานุเบกษา ประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 16 สาขาอาชีพ สายช่าง-สายอาชีพ บังคับใช้ 3 เดือนหลังจากนี้

เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 65 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 11)  ด้วยคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 21 ได้มีการประชุมศึกษา และพิจารณาข้อเท็จจริง เกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับตามมาตรฐานฝีมือ และมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2565 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ รวม 16 สาขา โดยใช้มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็นเกณฑ์วัดค่าทักษะฝีมือ ความรู้ ความสามารถ

จดหมายพระราชกิจนุเบกษา จดหมายพระราชกิจนุเบกษา


อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 79 (4) และมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการค่าจ้าง จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ประกาศนี้ ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

ข้อ 2 ในประกาศนี้

"มาตรฐานฝีมือ" หมายความว่า มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน

ข้อ 3 อัตราค่าจ้าง ตามมาตรฐานฝีมือในแต่ละสาขาอาชีพ และในแต่ละระดับ ให้เป็นดังนี้

 
 

1. สาขาอาชีพ ช่างก่อสร้าง สาขาช่างติดตั้งยิปซัม ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่า วันละ 450 บาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่า วันละ 595 บาท

2. สาขาอาชีพ ช่างก่อสร้าง สาขาช่างเขียนแบบก่อสร้างด้วยคอมพิวเตอร์ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่า วันละ 645 บาท

3. สาขาอาชีพ ช่างก่อสร้าง สาขาช่างปูกระเบื้องผนังและพื้น ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่า วันละ 450 บาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่า วันละ 550 บาท และระดับ 3 เป็นเงิน ไม่น้อยกว่า วันละ 650 บาท 

4. สาขาอาชีพ ช่างก่อสร้าง สาขาช่างสีอาคาร  ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่า วันละ 465 บาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่า วันละ 600 บาท 

5. สาขาอาชีพ ช่างก่อสร้าง สาขาช่างก่อและติดตั้งคอนกรีตมวลเบา ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่า วันละ 475 บาท และระดับ2 เป็นเงินไม่น้อยกว่า วันละ 575 บาท

6. สาขาอาชีพ ช่างอุตสาหกรรมศิลป์ สาขาช่างเครื่องประดับรูปพรรณ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่า วันละ 450 บาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่า วันละ 550 และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่า วันละ 650 บาท

7. สาขาอาชีพ ช่างอุตสาหกรรมศิลป์ สาขาช่างประกอบติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่า วันละ 430 บาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่า วันละ 550 บาท

8. สาขาอาชีพ ช่างอุตสาหกรรมศิลป์ สาขาช่างฝีมือเครื่องประดับแนวอนุรักษ์เทคนิคโบราณ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่า วันละ 525 บาท

9. สาขาอาชีพ ช่างอุตสาหกรรมศิลป์ สาขาช่างเครื่องถม ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่า วันละ 625 บาท

10. สาขาอาชีพ ภาคบริการ สาขานักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ไทยสัปปายะ (หัตถบำบัด) ระดับ1 เป็นเงินไม่น้อยกว่า วันละ 460 บาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่า วันละ 575 บาท

11. สาขาอาชีพ ภาคบริการ สาขาผู้ประกอบขนมอบ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่า วันละ 400 บาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่า วันละ 505 บาท

12. สาขาอาชีพ ภาคบริการ สาขาพนักงานต้อนรับส่วนหน้า ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่า วันละ 440 บาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่า วันละ 565 บาท

13. สาขาอาชีพ ภาคบริการ สาขาพนักงานแผนกบริการอาหารและเครื่องดื่มในธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร ระดับ1 เป็นเงินไม่น้อยกว่า วันละ 440 บาท

14. สาขาอาชีพ ภาคบริการ สาขาช่างแต่งผมสตรี ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่า วันละ 440 บาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่า วันละ 510 บาท และระดับ3 เป็นเงินไม่น้อยกว่า วันละ 650 บาท

15. สาขาอาชีพ ภาคบริการ สาขาช่างแต่งผมบุรุษ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่า วันละ 430 บาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่า วันละ 500 บาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่า วันละ 630 บาท

16. สาขาอาชีพ ภาคบริการ สาขาการดูแลผู้สูงอายุ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่า วันละ 500 บาท

ข้อ 4 เพื่อประโยชน์ตามข้อ 3 (1) ถึง (16) คำว่า “วัน” หมายถึง เวลาทำงานปกติของลูกจ้าง

ข้อ 5 นายจ้างที่ให้ลูกจ้างทำงานในตำแหน่งงาน หรือลักษณะงานที่ต้องใช้ทักษะฝีมือ ความรู้ ความสามารถตามมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับใด ไม่ว่าจะครอบคลุมมาตรฐานฝีมือนั้นทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดก็ตาม ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพ และระดับนั้น

ข้อ 6 ภายใต้บังคับข้อ 5 ลูกจ้างที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพ และระดับใดไม่ว่าก่อน หรือหลังประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หากประสงค์จะใช้สิทธิให้ยื่นหนังสือรับรองว่าเป็น ผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับนั้นแก่นายจ้างโดยเร็ว

เมื่อนายจ้างได้รับหนังสือรับรองตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้จ่ายค่าจ้างตามอัตราในประกาศนี้ให้แก่ลูกจ้างนับแต่วันที่ได้หนังสือรับรองเป็นต้นไป

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/518247?adz=

เช็ค ‘อาการหลังฉีดวัคซีน’ ที่พบบ่อย พร้อมการดูแลเบื้องต้น

 

สรุป "อาการหลังฉีดวัคซีน" ที่พบบ่อยที่สุด 11 อาการ พร้อมบอกสาเหตุของการแพ้วัคซีน และการดูแลเบื้องต้น

ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (ศบค.) แถลงข่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ประจำวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2564 พร้อมเปิดเผยถึงความคืบหน้าการ "ฉีดวัคซีน" ในประเทศไทย โดยสรุปสถานการณ์ฉีดวัคซีนคนไทยตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 7 มิถุนายน พ.ศ.2564 ดังนี้

  • มียอดฉีดวัคซีนสะสมที่ 4,634,941 โดส ใน 77 จังหวัด
  • จำนวนผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 3,243,913 โดส หรือคิดเป็น 4.90 เปอร์เซ็นต์
  • จำนวนผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 จำนวน 1,391,028 โดส หรือคิดเป็น 2.10 เปอร์เซ็นต์

 

 
 

162322931294

 

  • อาการหลัง "ฉีดวัคซีน" ที่พบบ่อยคืออะไรบ้าง? 

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช) ร่วมมือกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) รายงานอาการข้างเคียงหลังจากได้รับวัคซีนโควิด-19 ในคนไทย ข้อมูล ณ วันที่ 5 มิถุนายน 2564 

สรุปจากผลสำรวจผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนทั้งหมด มีผู้ไม่พบผลข้างเคียง 90.27% และ พบผลข้างเคียง 9.73% แบ่งเป็นอาการดังนี้ 

ปวดกล้ามเนื้อ 2.34% 

ปวดศีรษะ 1.73%

ปวด บวม แดง ร้อนบริเวณที่ฉีด 1.24% 

เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง 1.14% 

ไข้ 0.77% 

คลื่นไส้ 0.53%

ท้องเสีย 0.35%

ผื่น 0.28% 

ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง 0.23%

อาเจียน 0.14%

อื่นๆ 0.98% 

 

ทั้งนี้ พบผู้ที่มีอาการไม่พึงประสงค์รุนแรง ที่ได้รับการยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญแล้วทั้งหมด 18 ราย (4.3 ในล้านราย) แบ่งเป็น 

  • อาการแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) (4 ในล้าน)
  • อาการชา (polyneurophaty) (0.3 ในล้าน)

 

  • อาการไม่พึงประสงค์ หลังฉีดวัคซีนเป็นเรื่องปกติไหม? 

จากการศึกษาวิจัยวัคซีนโควิด-19 แต่ละชนิด มักพบเป็นปฏิกิริยาเฉพาะที่ เช่น อาการปวด บวม แดงบริเวณที่ฉีดวัคซีน ซึ่งส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรงและสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องใช้ยา แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าวัคซีนเหล่านี้จะได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยา ว่ามีความปลอดภัยและให้ใช้ได้แล้วก็ตาม 

แต่การฉีดวัคซีนเหล่านี้ก็ยังสามารถทำให้เกิดอาการแพ้รุนแรงได้ในอัตราที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องสังเกตอาการหลังการฉีดอย่างน้อย 30 นาที ในสถานพยาบาลหรือสถานที่ฉีดวัคซีนเสมอ และเนื่องจากวัคซีนโควิด-19 เป็นวัคซีนใหม่และยังไม่มีข้อมูลการติดตามผลในระยะยาว 

หากผู้รับวัคซีนเกิดอาการไม่พึงประสงค์รุนแรง และไม่มั่นใจว่าอาการดังกล่าวเกิดจากวัคซีนหรือไม่ แนะนำให้ผู้รับวัคซีนปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงและเกิดขึ้นในช่วง 4 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีน

  • เช็คอาการไม่พึงประสงค์ และการดูแลเบื้องต้น

รศ.พญ.พรรณพิศ สุวรรณกูล อายุรแพทย์ด้านโรคติดเชื้อ คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพ ให้ข้อมูลว่า ก่อนฉีดวัคซีน ให้ดื่มน้ำเยอะๆ อย่างไรก็ตาม หากเป็นวัคซีนที่ผ่านการรับรองและขึ้นทะเบียนแล้ว การพบผลข้างเคียงรุนแรงจะอยู่ในอัตราที่ต่ำมาก โดยอาการแพ้วัคซีนที่อาจพบได้หลังจากฉีดวัคซีนในช่วง 30 นาทีแรก คือ มีผื่นขึ้น ลมพิษ มีอาการคันบวมที่ใบหน้า ปาก หรือลำคอ หายใจติดขัด ความดันเลือดต่ำคลื่นไส้ ปวดท้อง เป็นต้น 

เมื่อได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว หากมีไข้หรือปวดศีรษะสามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ หากมีผื่นลมพิษ ไข้สูงมาก หน้ามืด เป็นลม แขนขาอ่อนแรง เจ็บหน้าอกให้พบแพทย์ทันที

ข้อปฏิบัติหลังการฉีดวัคซีน ยังแนะนำให้ทุกคนสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือให้บ่อยๆ รักษาระยะห่างทางสังคม หากไปพื้นที่เสี่ยงหรือมีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยโควิด-19 ควรกักตัวอย่างน้อย 14 วัน

นอกจากนี้ในผู้ที่เคยป่วยเป็น COVID-19 แม้ในร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้ออยู่แล้ว แต่ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนเกี่ยวกับระยะเวลาของภูมิคุ้มกันที่จะสามารถป้องกันไวรัสได้ จึงควรได้รับวัคซีนโดยเว้นระยะห่างจากการติดเชื้ออย่างน้อย 3 เดือน

---------------------------

ที่มา : โรงพยาบาลกรุงเทพ, กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.)

เช็ค 10 จุดเสี่ยง 'โควิด-19' แหล่งสะสมโรคในที่สาธารณะ

 

ป้องกัน "โควิด-19" นอกจากใส่หน้ากากอนามัย-อยู่ห่าง-ล้างมือ แล้ว อย่ามองข้ามสิ่งรอบตัว อย่าง ธนบัตร เหรียญ, โทรศัพท์มือถือ, ราวบันได ฯลฯ ที่เสี่ยงสะสมเชื้อโรคในแบบที่ทุกคนมองข้าม

การระบาด "โควิด-19" ครั้งใหม่ในประเทศไทยกลายเป็นวาระสำคัญต้อนรับ 2564 และมียอดผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้รัฐบาลจะมีมาตรการประกาศพื้นที่ควบคุมออกเป็นระดับ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่มีประกาศ “ล็อกดาวน์” เหมือนอย่างในเดือนมีนาคมในปี 2563 ที่ผ่านมา

 

หากใครยังต้องออกไปทำงาน เดินทาง และทำธุระในที่สาธารณะ นอกจากการใส่ “หน้ากากอนามัย” ตลอดเวลา อาจจะยังป้องกันเชื้อไม่พอ เพราะเชื้อไวรัสอาจยังคงแฝงตัวอยู่ตามสถานที่ หรือสิ่งของต่างๆ ที่เราคาดไม่ถึง และต้องสัมผัสอยู่บ่อยครั้ง วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือ หลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งเหล่านั้น แต่หากเลี่ยงไม่ได้ ให้รีบทำความสะอาดร่างกายหลังสัมผัสทันที เช่น ล้างมือ เป็นต้น

ผศ. นพ. ภาวิทย์ เพียรวิจิตร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลเกี่ยวกับจุดเสี่ยงของการสะสมเชื้อโรคบนสิ่งของต่างๆ คือ

160974958740

  • 1. ธนบัตร-เหรียญ

หลังจากสัมผัสหรือจับแล้ว ควรรีบทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือล้างมือด้วยสบู่ทันที หรือเปลี่ยนช่องทางการจ่ายเงินให้สะดวกมากขึ้น อย่างเช่นการโอนเงิน หรือการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แทน

160974958158

  • 2. พัสดุ

เนื่องจากขั้นตอนการจัดส่งพัสดุ ต้องใช้การส่งต่อสิ่งของ เพื่อให้ถึงจุดหมายปลายทาง ดังนั้น ก่อนจะถึงมือเรา จึงมีผู้สัมผัสมันเป็นจำนวนมาก และเราก็ไม่สามารถรู้ได้ถึงสุขภาพของคนในกระบวนการส่งต่อนั้น ดังนั้น หลังการรับพัสดุ จึงควรพ่น และ เช็ดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือแอลกอฮอล์ก่อนสัมผัส และ มีการล้างมือรวมทั้งกำจัดหีบห่อ หลังจากเปิดหีบห่อแล้ว โดยใช้สเปรย์แอลกอฮอล์ฉีดทิ้งไว้ในห้องแยกเป็นเวลา 2 วัน พัสดุที่ทิ้งไว้ไม่ได้ให้ฉีดสเปรย์แอลกอฮอล์ก่อนจับ

 

160974957932

 

  • 3. ที่จับประตู หรือลูกบิด

แนะนำให้ใช้ไหล่ดัน เพื่อเปิดประตู หรือใช้สเปรย์แอลกอฮอล์ฉีดก่อนสัมผัสลูกบิด

160974957188

  • 4. โต๊ะทำงาน

ควรทำความสะอาดโต๊ะทำงานของตนเองอย่างสม่ำเสมอด้วยแอลกอฮอล์

160974956643

  • 5.โทรศัพท์สำนักงาน และโทรศัพท์มือถือ

ควรใช้สเปรย์สำหรับทำความสะอาดโทรศัพท์ที่มีสารป้องกันเชื้อโรคได้สูงสุด เพราะโทรศัพท์เป็นสิ่งใกล้ตัวเรามากที่สุด และอยู่ติดกับตัวเราตลอดเวลา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วการทำความสะอาดมักจะหลีกเลี่ยงความเปียก และความชื้น ดังนั้นเราควรหมั่นล้างมือของเราให้สะอาดเพื่อป้องกันอีกชั้นหนึ่ง

160975001638

  • 6.ราวบันไดเลื่อน

เป็นอีกหนึ่งจุดที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก และเป็นที่ที่มีความจำเป็นต้องสัมผัสเพื่อความปลอดภัย แม้ว่าหลายๆ คนจะสามารถใช้งานบันไดเลื่อนได้โดยไม่ใช้ราวจับ แต่บ่อยครั้งเมื่อเสียหลัก การจับราวบันไดเลื่อนก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งหากมีผู้ที่มีเชื้อนี้ มาจับโดยไม่ระมัดระวัง เราก็มีโอกาสสัมผัสเชื้อไปโดยปริยาย ดังนั้น เราจึงควรงดเว้นการจับราวบันไดเลื่อน และหากจำเป้นต้องจับ ควรทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์ทันที

 

160974956413

 

  • 7. ปุ่มกดลิฟต์

เป็นอีกจุด ที่มีความเสี่ยงในการสะสมของเชื้อ เนื่องจากเป็นจุดที่มีผู้ใช้งานร่วมกันมาก หากมีการเช็ดทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเป็นประจำก็จะช่วยลดการสะสมของเชื้อได้ แต่นอกจากลดความเสี่ยงด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อลงแล้ว หากเราใช้ปากกา หรือไม้จิ้มฟันในการกดลิฟต์ ก็จะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการป้องกันตัวเองได้

160975004066

  • 8. บัตรคูปองอาหาร บัตรจอดรถตามที่สาธารณะ

เป็นอีกอย่างที่มีการเปลี่ยนมือตลอดเวลา โดยที่ไม่สามารถรู้ได้ว่าเคยผ่านมือใครมาก่อน ดังนั้น การใช้สเปรย์แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อพ่นหลังจากได้รับบัตรมา จึงเป็นตัวช่วยที่ดี ที่จะช่วยเราป้องกันเชื้อได้

160974955260

  • 9. ตู้ ATM หรือตู้อัตโนมัติต่างๆ

เนื่องจากโดยปกติแล้ว จะมีผู้มาใช้บริการทำธุรกรรมทางการเงินอย่างสม่ำเสมอ และเราก็ไม่อาจรู้ได้ว่าผู้ที่ใช้งานก่อนเราจะเป็นผู้ป่วยหรือไม่ หากผู้ให้บริการมีการเช็ดปุ่มกดของตู้ATMด้วยน้ำยาฆ่าเชื้ออย่างสม่ำเสมอ ก็จะลดความเสี่ยงให้ผู้ใช้บริการลงได้ แต่เนื่องจากสภาพการใช้งาน แป้นกดจึงมักไม่ได้รับการเช็ดบ่อยนัก  ดังนั้น หลังจับตู้ ATM หรือ ตู้กดต่างๆ จึงควรทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์หรือสบู่ทันที

160974955287

  • 10. ห้องน้ำสาธารณะ

ห้องน้ำจะเป็นจุดเสี่ยงที่เป็นแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อ ดังนั้นเราจึงอาจจะใช้ทิชชู่สัมผัสอุปกรณ์ต่างๆ แทนหลังเสร็จธุระ และควรทำความสะอาดมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์หลังการใช้งาน

 

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/915456?anf=

 
เช็ค 11 อาการด่วน "โอไมครอน" BA.4 BA.5 ติดเชื้อง่าย 5 เท่า ติดซ้ำได้ซ้ำอีก ลงปอด 

สาเหตุ "โอไมครอนแพร่ไว" BA.4 BA.5 เชื้อแรงเสี่ยงติดเชื้อง่ายขึ้น ติดซ้ำได้บ่อยแม้ฉีดวัคซีนหรือเคยติด โควิด มาแล้ว สายพันธุ์นี้อัตราระบาดไวมากขึ้นกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ

เกาะติดสถานการณ์การระบาดของ โอไมครอน BA.4 และ BA.5 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้  โดยองค์การอนามัยโลก ( WHO) ได้จัดให้ โอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 เป็นสายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวัง (VOC) และคาดว่าจะกลายเป็นสายพันธุ์หลักของการแพร่ระบาดทั่วโลก จากข้อมูลดังกล่าวทำให้กลายคนเกิดความกังวลการแพร่ระบาด และความรุนแรง และมีความกังวลว่า "โอไมครอนแพร่ไว" แค่ไหน และ อาการโอไมครอน BA.4 และ BA.5 เป็นอย่างไร สาเหตุที่ต้องเฝ้าระวัง และปัจจัยที่ โอไมครอน สายพันธุ์ย่อยทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำได้อีกเป็นอย่างไร   

ข้อมูลระบุว่า สาเหตุที่ต้องเฝ้าระวังว่า "โอไมครอนแพร่ไว" และมีความรุนแรงแค่ไหนนั้น เนื่องจาก พบว่า สายพันธุ์ BA.4  BA.5 มีการกลายพันธุ์ในตำแหน่ง L452R ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกันกับ สายพันธุ์เดลตา เและยังมีความสามารถในการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนในเซลล์ปอดได้ดี ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการปอดอักเสบในผู้ติดเชื้อ แตกต่างจากสายพันธุ์ BA.1 และ  BA.2 ที่เชื้อมีความสามารถในการแบ่งตัวได้ดีในเซลล์ของเยื่อบุระบบทางเดินหายใจส่วนบน อีกทั้งยังมีความสามารถในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน ดื้อต่อแอนติบอดี้ของมนุษย์ นั่นจึงเป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อซ้ำ (Re-infection) แม้ว่าจะเคยติดเชื้อหรือฉีดวัคซีนมาแล้วก็ตาม 

  
 

"โอไมครอนแพร่ไว" โดยเฉพาะสายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 เนื่องจาก สามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้ดีในเซลล์ปอด อาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปอดอักเสบ แพร่ระบาดได้ง่าย และรวดเร็วยิ่งขึ้นกว่าเดิม หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันเก่ง เคยติดเชื้อหรือฉีดวัคซีนแล้วก็ติดเชื้อซ้ำได้ (วัคซีนได้ผลน้อยลง)

สำหรับอัตราการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 เมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น ๆ  มีอัตราการระบาดที่แตกต่างกันดังนี้  

-สายพันธุ์ดั่งเดิม หรือ สายพันธุ์อู่ฮั่น อัตราการระบาดอยู่ที่  3.3 คน 
-สายพันธุ์เดลตา ระบาดอยู่ไว อัตราการระบาดอยู่ที่ 5 คน 
-สายพันธุ์โอไมครอน BA.1  อัตราการระบาดอยู่ที่ 9.5 คน 
-สายพันธุ์โอไมครอน BA.2  อัตราการระบาดอยู่ที่  13.3 คน 
-สายพันธู์โอไมครอน BA.4 และ BA.5 อัตราการระบาดอยู่ที่ 18.6 คน 

 "โอไมครอนแพร่ไว"  กว่าสายพันธุ์อื่น 5 เท่า โดยอาการของโควิดสายพันธุ์ BA.4  BA.5 ไม่แตกต่างอย่างชัดเจนจากสายพันธุ์โอมิครอน อาการที่เด่นชัดของสายพันธุ์นี้ได้แก่  อ่อนเพลีย เหนื่อย  ไอแห้ง  เจ็บคอ  ไข้  มีน้ำมูก  ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย และถ่ายเหลว  นอกจากนี้ ยังพบอาการของการสูญเสียการได้กลิ่นและการรับรส พบอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร กลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจ หายใจถี่ หายใจลำบาก และกลุ่มอาการนอกระบบที่ไปคล้ายกันกับสายพันธุ์เดลตาได้เช่นกัน

ที่มา :  โรงพยาบาลศิครินทร์ 

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/521537?adz=

 

เช็คอันดับ "โควิด 50 เขต" หลังผ่าน "คลายล็อก" 14 วัน บ้านใครอยู่ไหนเช็คที่นี่!

เปิดยอดผู้ป่วย "โควิด กทม." จัดอันดับ 50 เขต หลังผ่านคลายล็อกดาวน์ 14 วัน 1-14 ก.ย. บ้านใครอยู่ที่ไหน เช็คยอดติดเชื้อทุกเขตที่นี่!

วันที่ 15 ก.ย. รายงานข่าวจากกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยอันดับจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยจำแนกพื้นที่ 50 เขตในระยะ 14 วันหลังสุด ตั้งแต่วัน "คลายล็อก" 1 ก.ย.ระหว่างวันที่ 1-14 ก.ย.2564 มีรายละเอียดทั้งหมด ดังนี้

1.จอมทอง ติดเชื้อ 1,926 ราย ประชากร 148,290 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 12.99 %

2.หลักสี่ ติดเชื้อ 1,851 ราย ประชากร 102,704  คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 18.02 %

3.บางแค ติดเชื้อ 1,502 ราย ประชากร 193,303 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 7.77 %

4.ธนบุรี ติดเชื้อ 1,279 ราย ประชากร 103,377 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 12.37 %

5.ภาษีเจริญ ติดเชื้อ 1,229 ราย ประชากร 124,318 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 9.89 %

6.บางกอกน้อย ติดเชื้อ 1,197 ราย ประชากร 103,791 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 11.53 %

7.หนองแขม ติดเชื้อ 1,163 ราย 156,203 ประชากร คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 7.45 %

8.บางขุนเทียน ติดเชื้อ 1,163 ราย ประชากร 186,144 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 6.25 %

9.ห้วยขวาง ติดเชื้อ 1,125 ราย ประชากร 84,233 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 13.36 %

10.บางซื่อ ติดเชื้อ 1,093 ราย ประชากร 1226,410 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 8.93 %

เช็คอันดับ "โควิด 50 เขต" หลังผ่าน "คลายล็อก" 14 วัน บ้านใครอยู่ไหนเช็คที่นี่!

11.มีนบุรี ติดเชื้อ 1,018 ราย ประชากร 142,197 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 7.16 %

12.ลาดกระบัง ติดเชื้อ 973 ราย ประชากร 178,971 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 5.44 %

13.บางคอแหลม ติดเชื้อ 973 ราย ประชากร 82,733 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 11.76 %

14.ราษฎร์บูรณะ ติดเชื้อ 966 ราย ประชากร 78,687 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 12.28 % 

15.ประเวศ ติดเชื้อ 937 ราย ประชากร 181,821 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 5.15 % 

16.สายไหม ติดเชื้อ 920 ราย ประชากร 207,272 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 4.44 %

17.บางบอน ติดเชื้อ 1,080 ราย ประชากร คน 155,297 อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 6.95 %

18.ดอนเมือง ติดเชื้อ 1,059 ราย ประชากร 104,366 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 10.15 %

19.บางกะปิ ติดเชื้อ 844 ราย ประชากร 144,732 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 5.83 %

20.ดินแดง ติดเชื้อ 837 ราย ประชากร 115,508 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 7.25 %

เช็คอันดับ "โควิด 50 เขต" หลังผ่าน "คลายล็อก" 14 วัน บ้านใครอยู่ไหนเช็คที่นี่!

21.ยานนาวา ติดเชื้อ 824 ราย ประชากร 76,564 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 10.76 %

22.ทุ่งครุ ติดเชื้อ 820 ราย ประชากร 123,700 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 6.63 % 

23.จตุจักร ติดเชื้อ 792 ราย ประชากร 155,297 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 5.10 %

24.บางพลัด ติดเชื้อ 784 ราย ประชากร 89,417 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 8.77 %

25.ราชเทวี ติดเชื้อ 744 ราย ประชากร 69,264 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 10.74 %

26.คลองสามวา ติดเชื้อ 740 ราย ประชากร 204,900 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 3.61 %

27.หนองจอก ติดเชื้อ 723 ราย ประชากร 177,979 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 4.06 %

28.คลองสาน ติดเชื้อ 672 ราย ประชากร 69,139 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 9.72 %

29.สาทร ติดเชื้อ 670 ราย ประชากร 75,735 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 8.85 %

30.บางเขน ติดเชื้อ 662 ราย ประชากร 187,377 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 3.53 %

31.คลองเตย ติดเชื้อ 630 ราย ประชากร 93,193 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 6.76 %

32.บางกอกใหญ่ ติดเชื้อ 592 ราย ประชากร 63,861 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 9.27 %

33.ปทุมวัน ติดเชื้อ 590 ราย ประชากร 43,338 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 13.61 %

34.บางนา ติดเชื้อ 565 ราย ประชากร 88,535 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 6.38 %

35.ตลิ่งชัน ติดเชื้อ 558 ราย ประชากร 103,617 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 5.39 %

36.ดุสิต ติดเชื้อ 551 ราย ประชากร 83,897 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 6.57 %

37.สวนหลวง ติดเชื้อ 530 ราย ประชากร 123,609 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 4.29 % 

38.ป้อมปราบศัตรูพ่าย ติดเชื้อ 399 ราย ประชากร 41,524 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 12.02 %

39.คันนายาว ติดเชื้อ 458 ราย ประชากร 96,330 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 4.75 %

40.พญาไท ติดเชื้อ 455 ราย ประชากร 67,388 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 6.75 %

41.พระนคร ติดเชื้อ 442 ราย ประชากร 45,923 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 9.84 %

42.วังทองหลาง ติดเชื้อ 441 ราย ประชากร 107,458 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 4.10 %

43.บึงกุ่ม ติดเชื้อ 427 ราย ประชากร 88,535 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 3.03 %

44.ทวีวัฒนา ติดเชื้อ 377 ราย ประชากร 78,749 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 4.79 %

45.วัฒนา ติดเชื้อ 344 ราย ประชากร 81,623 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 4.21 %

46.พระโขนง ติดเชื้อ 325 ราย ประชากร 87,856 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 3.70 %

47.ลาดพร้าว ติดเชื้อ ราย 302 ประชากร 117,108 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 2.58 %

48.บางรัก ติดเชื้อ 296 ราย ประชากร 45,757 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 6.47 %

49.สะพานสูง ติดเชื้อ 281 ราย ประชากร 96,092 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 2.92 %

50.สัมพันธวงศ์ ติดเชื้อ 157 ราย ประชากร 21,324 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 7.36 %

รวมผู้ป่วยทั้งหมดจำนวน 39,034 ราย จากประชากรทั้งหมด 50 เขตอยู่ที่ 5,588,222 ราย โดยทั้ง 50 เขตมีอัตราผู้ป่วยเฉลี่ยต่อ 1 พันคนอยู่ที่ 6.99 %

ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในกรุงเทพฯ เปรียบเทียบกับอัตราผู้ป่วย 1 พันคน โดยจำแนกรายเขต 14 วันหลังสุด มี 10 เขตพบผู้ป่วยมากที่สุด ดังนี้

1.หลักสี่ ติดเชื้อ 1,851 ราย ประชากร 102,704 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 18.02 %

2.ปทุมวัน ติดเชื้อ 590 ราย ประชากร 43,338 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 13.61 %

3.ห้วยขวาง ติดเชื้อ 1,125 ราย ประชากร 84,233 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 13.36 %

4.จอมทอง ติดเชื้อ 1,926 ราย ประชากร 148,290 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 12.99 %

5.ธนบุรี ติดเชื้อ 1,279 ราย ประชากร 103,377 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 12.37 %

6.ราษฎร์บูรณะ ติดเชื้อ 966 ราย ประชากร 78,687 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 12.28 %

7.ป้อมปราบศัตรูพ่าย ติดเชื้อ 499 ราย ประชากร 41,524 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 12.02 %

8.บางคอแหลม ติดเชื้อ 973 ราย ประชากร 82,733 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 11.76 %

9.บางกอกน้อย ติดเชื้อ 1,197 ราย ประชากร 103,791 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 11.53 %

10.ยานนาวา ติดเชื้อ 824 ราย ประชากร 76,564 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 10.76 %

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/960310?anf=

 

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ