Jessada Denduangboripant
3 h ·
"อย่าเพิ่งตกใจ กับข่าว "หม้อทอดไร้น้ำมัน กับสารก่อมะเร็ง" ครับ ... ปัญหาหลักมันอยู่ที่ "มันฝรั่ง" และการให้ความร้อน ไม่ใช่ที่ตัวหม้อทอดครับ"
หลายคนเห็นคลิปข่าวตามภาพด้านล่าง (กำลังแชร์กันใหญ่เลย) ที่พูดถึงผลการสำรวจโดยองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ของฮ่องกง แล้วเข้าใจผิดว่า "หม้อทอดไร้น้ำมัน (air flyer)" เป็นสาเหตุทำให้เกิด "สารอะคริลาไมด์ (acrylamide)" ที่ก่อมะเร็ง
แต่จริงๆ ปัญหาอยู่ที่ "มันฝรั่ง" ซึ่งเมื่อนำมาให้ความร้อนสูงๆ เวลานานๆ ไม่ว่าจะไปทอดน้ำมัน หรือใช้หม้อทอดประเภทนี้ ก็เกิดสารอะคริลาไมด์ได้ง่ายทั้งนั้น (แต่ทีเฟรนช์ฟราย กินกัน ไม่เห็นกลัวเลย หึๆๆ) ซึ่งถ้าลดความร้อนลง และใข้เวลาทอดน้อยลง ก็จะมีสารนี้น้อยลง ตามไปด้วยนะครับ
1. จริงๆ ผมเคยเขียนเรื่องหม้อทอดไร้น้ำมัน ให้ความรู้เอาไว้ค่อนข้างละเอียดแล้วนะ ทั้งเรื่องข้อดีและข้อเสียของมัน รวมทั้งเรื่องสารอะคริลาไมด์นี้ด้วย ลองดูตามลิงค์รายการ ชัวร์แน่หรือแชร์มั่ว ตอนนี้ครับ (https://m.facebook.com/watch/?v=1416024501914514&_rdr)
2. ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ก็เคยอธิบายเรื่องทำนองนี้เหมือนกัน (https://workpointtoday.com/anti-face-air-fryer/) ว่าการใช้หม้อทอดไร้น้ำมัน ไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง แต่เป็นเพราะอาหารจำพวกแป้งและเนื้อสัตว์นั้น ไม่ว่าจะใช้อุปกรณ์ชนิดใดปรุงอาหาร หากใช้ความร้อนสูง เป็นเวลานาน ก็อาจส่งผลให้เกิดสารก่อมะเร็งได้
ประชาชนจึงไม่ควรตระหนกจนเกินเหตุ และควรปรุงอาหารด้วยความร้อนระดับปานกลางและใช้ระยะเวลาสั้นๆ ไม่ควรปิ้งย่างเนื้อสัตว์จนไหม้เกรียม และการลวกมันฝรั่งก่อนการทอด จะช่วยลดการเกิดสารอะคริลาไมด์ได้
3. สำหรับประเด็นเรื่องการเกิดสารอะคริลาไมด์ในหม้อทอดไร้น้ำมันนั้น ทางหน่วยงานการสาธารณสุขของฮ่องกงได้เคยแถลงถึงเรื่องนี้ไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว แล้วว่า
3.1 จากรายงานของกลุ่มคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศเกาหลี ที่ระบุว่า มันฝรั่งทอดเฟรนช์ฟรายซึ่งทำจากหม้อทอดไร้น้ำมันที่อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส นั้นทำให้เกิดสารอะคริลาไมด์ในระดับที่มีนัยสำคัญ .. ซึ่งทำให้หลายคนเป็นกังวล
3.2 สารอะคริลาไมด์นั้นเกิดขึ้นได้เอง เมื่ออาหารที่มีกรดอะมิโนชนิดแอสปาราจีน (asparagine) และน้ำตาลรีดิวซ์ส (reducing sugar) เช่น น้ำตาลกลูโคสและฟรุกโตส ถูกนำไปให้อุณหภูมิสูงมากกว่า 120 องศาเซลเซียส ... ยิ่งอุณหภูมิสูง แล้วยิ่งใช้เวลานาน ปริมาณของอะคริลาไมด์ก็ยิ่งสูงขึ้น ไม่ว่าจะใช้วิธีการใดก็ตาม
3.3 ดังนั้น ในอาหารที่อบหรือทอดหลายชนิด เช่น มันฝรั่งเฟรนช์ฟรายส์ มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ และพวกบิสกิต ก็มีสารอะคริลาไมด์อยู่ในปริมาณค่อนข้างสูงอยู่แล้ว
3.4 การที่จะลดสารอะคริลาไมด์ลงนั้น ก็ทำได้โดยไม่ทอด (ไม่ว่าจะด้วยการทอดในน้ำมัน หรือจะใช้หม้อทอดไร้น้ำมันก็ตาม) หรืออบ หรือปิ้งย่างอาหาร ด้วยอุณหภูมิที่สูงเกินไปและใช้เวลานานเกินไป .. อาหารที่ออกมา ควรจะมีแค่สีเหลืองทองจางๆ ก็พอแล้ว
4. ส่วนข่าวที่เพิ่งออกมาใหม่นั้น มาจากหน่วยงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคที่ชื่อว่า The Consumer Council ในฮ่องกง ซึ่งได้ทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยด้านไฟฟ้า ของหม้อทอดไร้น้ำมันที่จำหน่ายในฮ่องกง
4.1 ทาง Council รายงานผลว่า จาก 12 รุ่นที่นำมาทดสอบ (มีทั้งรุ่นถูกและรุ่นแพง ราคาตั้งแต่ $298 ถึง $2,080,) ตามมาตรฐานความปลอดภัยนานาชาติ international safety standard IEC 60335-1 และ 60335-2-9 รวมๆ แล้ว ทุกรุ่นก็ได้คะแนนรวมด้านความปลอดภัยพอๆ กัน คืออยู่ระหว่าง 3.5 ถึง 4.5 แต้ม
แต่ก็พบด้วยว่า มี 6 รุ่นนั้น ที่มีจุดที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน ตั้งแต่บางส่วนของเครื่องมีอุณหภูมิสูงเกินไป มีระยะห่างของฉนวนกันความร้อนไม่เพียงพอ ต่อสายดินได้ไม่เหมาะสม รอยตำหนิต่างๆ คู่มือที่ไม่ดี ฯลฯ
4.2 ในเชิงการประกอบอาหารนั้น มีการทดลองทำอาหาร 3 อย่าง คือ มันฝรั่งเฟรนช์ฟราย (ชนิดแช่แข็ง) น่องไก่ทอด และปอเปี๊ยะทอด โดยทำตามคำแนะนำที่อยู่บนคู่มือของหม้อทอดแต่ละรุ่น ซึ่งประสิทธิภาพโดยรวมของทุกรุ่นนั้นคล้ายๆ กัน โดยมี 9 รุ่นจาก 12 รุ่นที่ได้คะแนน 3.5 แต้มขึ้นไป
4.3 แต่ผลการทอดเฟรนช์ฟรายนั้น เป็นการทดลองที่มีผลแตกต่างกันระหว่างยี่ห้อต่างๆมากที่สุด คือมีหม้อทอด 3 รุ่นที่ได้คะแนนดีมาก อยู่ระหว่าง 4.5 ถึง 5 แต้ม ขณะที่อีก 2 รุ่นได้คะแนนเพียงแค่ 2 แต้มเท่านั้นเนื่องจากทำออกมาแล้วไม่สุก และอีก 2 รุ่น ทอดออกมาได้สุกบ้างไม่สุกบ้าง ไม่ทั่วกันทั้งอัน
4.4 ส่วนการทดสอบเรื่องสารอะคริลาไมด์ที่เกิดขึ้นได้เมื่อทอดที่อุณหภูมิสูง ก็พบว่าให้ผลออกมาหลากหลาย คือพบสารตั้งแต่ระดับ 102 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ไปจนถึง 7,038 ไมโครกรัม/กิโลกรัม โดยมีหม้ออยู่ 6 รุ่นที่มีค่าสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานของสหภาพยุโรปหรืออียู (500 ไมโครกรัม/กิโลกรัม).
แต่ถ้าเอาหม้อรุ่นที่ทำให้เกิดสารอะคริลาไมด์สูงสุด มาทดสอบใหม่โดยการลดช่วงเวลาในการทอดหรือลดอุณหภูมิลง พบว่าปริมาณอะคริลาไมด์ลดลงมาอยู่ในช่วงที่อียูกำหนดไว้ แสดงว่า ไม่ควรใช้ทอดอาหารที่อุณหภูมิสูง
4.5 ทาง Councilได้แนะนำโดยภาพรวมไว้ว่า เวลาเลือกซื้อเลือกใช้หม้อทอดไร้นำมันนั้น ควรทำดังต่อไปนี้
- หม้อทอดไร้น้ำมัน มักจะใช้ไฟฟ้าเป็นปริมาณมาก จึงไม่ควรใช้ปลั๊กไฟร่วมกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่นๆ เพื่อความปลอดภัยจากไฟฟ้าช็อต
- ปริมาณอาหารที่จะใช้ทอดนั้น ต้องไม่มากเกินไปกว่าค่าที่ระบุไว้ที่เครื่อง และต้องไม่จัดวางอาหารให้แน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้อาหารไม่สุกได้
- อย่าปิดช่องระบายอากาศออก ระหว่างที่ใช้เครื่อง เพื่อหลีกเลี่ยงการกีดขวางการระบายความร้อน นอกจากนี้ ยังไม่ควรจะไปแตะต้องเครื่องระหว่างที่ทำงาน และไม่ให้เด็กจับต้องหรือใช้เครื่องพวกนี้โดยลำพัง
- ถอดปลั๊กหม้อทอดออกหลังจากใช้เสร็จแล้ว และรอให้เครื่องเย็นเสียก่อน ก่อนจะทำความสะอาด และนอกจากการล้างตะกร้าที่ใช้ทอดอาหาร ให้ใช้ผ้านุ่มเช็ดที่ส่วนให้ความร้อนและผิวสัมผัสด้านในเบาๆเ พื่อกำจัดคราบน้ำมันที่เหลืออยู่
-------
สรุปสั้นๆ อีกครั้งคือ หม้อทอดไร้น้ำมัน (จริงๆ มันใส่น้ำมันไปหน่อยนึง) นั้นมีส่วนดีในการช่วยลดปริมาณการบริโภคไขมัน จากการผัดทอดอาหารตามปรกติได้ และก็ให้สารพิษออกมาน้อยกว่าด้วย ... แต่อย่าตั้งเครื่องให้ใช้อุณหภูมิสูงหรือนานเกินไปในการทอด โดยเฉพาะพวกมันฝรั่ง ซึ่งอาจยังคงให้สารอะคริลาไมด์ออกมา (เหมือนกับการทอดด้วยน้ำมันโดยตรง)
เราต้องทำใจว่าการระบาดของโควิด-19 เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา อะไรที่ว่าแน่อย่าเพิ่งแน่ใจ!
สิงคโปร์กับไต้หวันที่เคยทำท่าว่าจะ “เอาอยู่” เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา กลับต้องมายกระดับมาตรการควบคุมโควิดอีกรอบหลังพบคนติดเชื้อเพิ่มขึ้น
หมู่เกาะเซย์เชลส์ (Seychelles) ในมหาสมุทรอินเดียที่เคยประกาศฉีดวัคซีนประชากรกว่า 60% เป็นชาติแรกก็ต้องกลับมาใช้มาตรการเข้มข้นอีกรอบเพราะเจอคนติดเชื้อเพิ่มเช่นกัน
สาธารณรัฐเซย์เชลส์ประกอบด้วยเกาะเล็กเกาะน้อย 115 เกาะ มีประชากรประมาณ 1 แสนคน เคยเป็นเมืองขึ้นอังกฤษ รายได้หลักมาจากการท่องเที่ยว
ไต้หวันรายงานว่าจำนวนคนติดเชื้อใหม่กระโดดจากวันละ 29 รายเป็น 180
ทำให้ทางการเมืองไทเปและนิวไทเปซิตียกระดับเตือนภัยโควิดขึ้นเป็นเบอร์ 3 ในระดับความรุนแรง 1-4
กฎใหม่ให้คนไต้หวันรวมตัวกันไม่เกิน 5 คนในเคหสถานและไม่เกิน 10 คนนอกเคหสถาน
สิงคโปร์อาจต้องเลื่อนแผน Travel Bubble กับฮ่องกงที่เดิมกำหนดจะเริ่มวันที่ 26 พฤษภาคมนี้ เพราะพบคลัสเตอร์โควิดใหม่มากกว่า 10 แห่ง รวมถึงที่สนามบินนานาชาติชางงีและโรงพยาบาลหนึ่งแห่ง
ทางการกำลังจะตรวจเชิงรุกผู้ถูกคุมขังและเจ้าหน้าที่กว่า 5,000 คน หลังคนทำอาหารคนหนึ่งในเรือนจำชางงีติดเชื้อ
เฉพาะที่สนามบิน พบสะสมแล้ว 40 ราย
เมื่อวันศุกร์วันเดียว เกาะแห่งนี้พบคนติดเชื้อใหม่ 24 ราย
สิงคโปร์ประกาศ Circuit Breaker (มาตรการตัดวงจรการแพร่ระบาด) ครั้งใหม่จากเมื่อวานถึง 13 มิถุนายน
ห้ามคนกินอาหารในร้าน ให้ซื้อกลับบ้านได้อย่างเดียว
กฎใหม่อนุญาตให้คนรวมตัวกันได้ไม่เกิน 2 คน จากเดิมกำหนดให้ไม่เกิน 5 คน
โรงแรมที่นั่นประกาศว่าอาจจำเป็นต้องเคาะประตูห้องเพื่อตรวจดูว่าห้องไหนมีแขกอยู่เกิน 2 คน
ใครละเมิดกฎนี้อาจจะถูกปรับสูงสุดถึง 10,000 เหรียญสิงคโปร์ หรือ 235,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน
ขณะที่กรุงเทพฯ คลายล็อกให้คนกินในร้านอาหารได้ 25% แต่สิงคโปร์วิ่งสวนด้วยการประกาศห้ามการกินในร้านอีกรอบ
จนถึงเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา สิงคโปร์ฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 3.2 ล้านโดส โดยที่ประมาณ 1.9 ล้านคนได้ฉีดเข็มแรก และ 1.3 ล้านได้ครบสองเข็มแล้ว
นายกฯ หลี่เสียนหลงเขียนในเฟซบุ๊กว่า คลัสเตอร์โควิดใหม่ที่พบที่โยงกับเคสในชุมชนต่างๆ ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็น “เรื่องน่ากังวลมาก”
“เรากำลังยกระดับตรวจเชื้อเชิงรุกอย่างเข้มข้น และจะทำการล้อมรั้วการแพร่ระบาดอย่างแข็งขันที่สุด แต่เราก็ต้องประกาศใช้มาตรการที่เข้มข้นขึ้นเพราะสกัดเคสใหม่ๆ ไม่ให้ผุดขึ้นมาอีก...”
นายกฯ สิงคโปร์เรียกร้องให้ทุกคน “อยู่บ้านมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” และออกจากบ้านก็เฉพาะในกรณีที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น
หลี่เสียนหลงขอให้ทุกคนฉีดวัคซีน, ใส่หน้ากากและรักษาระยะห่างเพื่อปกป้องตัวเองและคนรอบข้าง
ก่อนหน้านี้ ธนาคารกลางของสิงคโปร์ได้คาดการณ์ว่าปีนี้เศรษฐกิจจะกลับมาบวกได้ 6% หากเศรษฐกิจโลกไม่ผิดไปจากที่พยากรณ์เอาไว้มากนัก
แต่เมื่อเส้นทางการกลับสู่ภาวะปกติกำลังออกมาในลักษณะลุ่มๆ ดอนๆ อย่างนี้คงจะต้องมีการประเมินกันใหม่อีกหลายรอบก่อนสิ้นปีนี้ค่อนข้างแน่นอน
พอเกิดการหวนกลับของไวรัสเช่นนี้สิงคโปร์กับไต้หวันก็ต้อง “รักษาระยะห่าง” ระหว่างสองเกาะกันอีกรอบ
สิงคโปร์ ประกาศมาตรการใหม่ให้พลเมืองสิงคโปร์และผู้มีถิ่นพำนักถาวรที่มีเดินทางไปไต้หวันในช่วง 21 วันก่อนหน้านั้นจะต้องปฏิบัติตามมาตรการ stay-home notice (SHN) โดยต้องอยู่บ้านเป็นเวลา 14 วัน
ใครมาจากไต้หวันจะต้องตรวจเชื้อโควิด-19 (PCR) เมื่อมาถึงสิงคโปร์ และตรวจครั้งอีกเมื่อครบ 14 วันตามมาตรการ SHN
ก่อนจะสิ้นสุดครบ 21 วันก็ต้องตรวจหาเชื้ออีกครั้ง
ส่วนผู้เดินทางระยะสั้น ถือบัตร Air Travel Pass (ATP) มีประวัติการเดินทางไปไต้หวันภายใน 21 วันยังเข้าสิงคโปร์ไม่ได้
คนที่ไม่ใช่พลเมืองสิงคโปร์ และมีประวัติการเดินทางไปไต้หวันก่อนนี้ภายใน 21 วัน จะต้องแสดงผลตรวจ PCR ภายใน 72 ชั่วโมงก่อนที่จะออกเดินทางมายังสิงคโปร์
สงครามครั้งนี้ยืดเยื้อยาวนานและหนักหนาสาหัสแน่นอน.
วันที่สถานการณ์โควิด-19 ล่าสุดในประเทศไทย เมื่อรวม ATK กลับมาพุ่งสูง การอยู่ร่วมกับโควิดอย่างไรหลังจากนี้จึงกลับมาเป็นคำถามสำคัญอีกครั้ง
สถานการณ์โควิด-19 ล่าสุดในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข รายงานยอดผู้ติดเชื้อประจำวันที่ 4 มี.ค. 2556 มีผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่ 23,688 ราย และเมื่อบวก ATK อีก 31,571 ราย ทำให้มีตัวเลขรวม 55,259 ราย
เมื่อตัวเลขการติดเชื้อยังคงเป็นขาขึ้น บวกกับการเข้าถึงการตรวจที่ง่ายกว่าเก่า เมื่อประชาชนสามารถตรวจเชื้อได้ด้วยตัวเองโดยชุดตรวจ ATK ขณะที่ความรุนแรงของโรคโควิด-19 โดยเฉพาะจากสายพันธุ์โอมิครอน ไม่หนักเท่าสายพันธุ์ก่อนหน้า เห็นได้จากจำนวนผู้ป่วยหนักที่ไม่ได้มากอย่างแต่ก่อน
ภาครัฐจึงปรับแนวทางการดูแลผู้ป่วยโควิด โดยมุ่งรักษาผู้ป่วยโควิดที่มีอาการหนัก และสนับสนุนให้ผู้ป่วยที่มีอาการน้อย หรือ ไม่มีอาการ กักตัว รักษาตัวที่บ้าน หากมีอาการเพิ่มมากขึ้นจึงค่อยมานอนโรงพยาบาล เพื่อสำรองเตียงให้กับผู้ป่วยที่จำเป็นมากกว่า
- อัพเดทมาตรการรัฐ เตรียมเปลี่ยนผ่านจากโรคระบาด สู่ โรคประจำถิ่น
สำหรับผู้ที่ตรวจ ATK แล้วผลเป็นบวก ติดเชื้อโควิด-19 นั้น มาตรการล่าสุดที่รัฐบาล และ กระทรวงสาธารณสุข กำหนดไว้ คือ จะเน้นให้ ผู้ป่วยสีเขียว ที่ไม่มีอาการ หรือ อาการน้อย ให้รักษาตัวที่บ้าน (Home Isolation) หรือหากไม่สะดวกอยู่บ้าน ก็จะให้เข้า Community Isolation / Hospitel Isolation โดยจะสำรองเตียงสำหรับผู้ป่วยสีเหลือง และ สีแดง
ล่าสุด วันที่ 1 มี.ค.65 ยังได้เริ่มประกาศใช้มาตรการ “เจอ แจก จบ” โดยสนับสนุนให้ดูแลผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรืออาการน้อย แบบ "ผู้ป่วยนอก" คือรับยาแล้วกลับบ้านได้ เพื่อเตรียมเปลี่ยนผ่านโรคโควิด-19 จาก โรคระบาดใหญ่ สู่ “โรคประจำถิ่น”
นอกจากแนวทาง “เจอ แจก จบ” แล้ว ในอนาคต กระทรวงสาธารณสุข ยังเตรียมยกเลิกข้อกำหนดเกณฑ์รักษาผู้ป่วยโควิด-19 หรือ UCEP ซึ่งปัจจุบันยึดตามประกาศที่ว่า ผู้ป่วยโควิด คือ ผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉินที่สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลใดก็ได้ โดยคาดว่าจะนำข้อเสนอเข้าที่ประชุม ครม. อีกครั้ง ในวันที่ 8 มี.ค.65 หลังจากถูกที่ประชุม ครม.ตีกลับมาให้นำไปศึกษาเพิ่มเติม เนื่องจากยอดผู้ป่วยยังมากอยู่
หากยกเลิกประกาศดังกล่าว ผู้ป่วยก็จะต้อง รักษาตามสิทธิที่มี เช่น บัตรทอง, ประกันสังคม หรือจ่ายเงินเองโดยสมัครใจ เป็นต้น
- แนวทางล่าสุด ตรวจ ATK พบติดโควิด ทำอย่างไรต่อ
1. ติดต่อเพื่อขอทำ Home Isolation
- สายด่วน โทร. 1330 (สปสช.) กด 14
- สายด่วนโควิด กทม. 50 เขต
- ลงทะเบียน http://crmsup.nhso.go.th
- เพิ่มเพื่อน Line : @bkkcovid19connect
2. สำหรับ ผู้ประกันตน ในระบบประกันสังคม สามารถ โทร. 1506 กด 6 ตั้งแต่ 08.00 - 18.00 น. ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ
3. สำหรับประชาชนในพื้นที่กทม. ที่ยังติดต่อ 1330 ไม่ได้ หรือ รอคอยนาน สธ.ได้สั่งการให้รพ. ใน 14 จังหวัดรอบ กทม. เพิ่มศักยภาพให้การดูแล แบบผู้ป่วยนอก "เจอ แจก จบ" ตั้งแต่ 4 มี.ค. เป็นต้นไป รองรับได้ราว 18,650 ราย/วัน
- ตรวจ ATK ขึ้นสองขีด จะไป “เจอ แจก จบ” ต้องทำอย่างไร
สำหรับผู้ที่มีผลตรวจ ATK เป็นบวก ที่จะไปรับบริการ เจอ แจก จบที่โรงพยาบาล ขอให้สวมหน้ากากอนามัย 2 ชั้น และปฏิบัติตนตามมาตราการป้องกันโรค รวมถึงหากเป็นไปได้ให้เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว
เมื่อไปถึงคลินิกโรคทางเดินหายใจ (ARI Clinic) ของโรงพยาบาล จะได้พบแพทย์เพื่อประเมินอาการและความเสี่ยง ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นกลุ่มสีเขียว คือ ไม่มีอาการหรืออาการน้อยมาก แพทย์จะพิจารณาจ่ายยา ซึ่งอาจเป็นฟ้าทะลายโจร ยาฟาวิพิราเวียร์ หรือยารักษาตามอาการ พร้อมทั้งให้ความรู้ในการดูแลแยกกักตัวเอง และแจกเบอร์โทรศัพท์เพื่อติดต่อกลับกรณีมีอาการมากขึ้นหรือมีข้อสงสัย
ถือว่าได้เข้าสู่ระบบบริการสุขภาพ เรียบร้อย โดยจะได้รับการดูแลติดตามประเมินอาการภายใน 48 ชั่วโมง
นอกจากนี้ จำนวนผู้เสียชีวิตที่เกิน 250,000 คนแล้ว จำนวนคนไข้โควิด-19 ที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ก็เพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 78,630 คน ในวันพุธ (18 พ.ย.) ถือเป็นตัวเลขวันเดียวสูงสุดนับตั้งแต่การแพร่ระบาดเริ่มต้นขึ้น
ช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา บรรดาผู้ว่าการรัฐต่างๆ และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ได้ใช้มาตรการต่างๆ นานาในความพยายามชะลอสถานการณ์การแพร่ระบาด โดยในคลีฟแลนด์ ร้องขอประชาชนอยู่แต่ในบ้าน คำสั่งบังคับสวมหน้ากากผ่านความเห็นชอบในหลายๆ พื้นที่ที่เคยต่อต้านก่อนหน้านี้ และระบบการศึกษาของนิวยอร์ก ซึ่งเป็นเขตการศึกษาใหญ่สุดในสหรัฐฯ ต้องระงับการเรียนในชั้นเรียนตั้งแต่วันพฤหัสบดี (19 พ.ย.) เป็นต้นไป
ในค่าเฉลี่ย 7 วันหลังสุด สหรัฐฯรายงานผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 1,176 คนต่อวัน มากกว่าค่าเฉลี่ยจำนวนผู้เสียชีวิตรายวันทั้งในอินเดียและบราซิลรวมกัน ในขณะที่ทั้งสองประเทศเป็นชาติที่รั้งอันดับ 2 และ 3 ของดินแดนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 หนักหน่วงที่สุดในโลก เป็นรองเพียงอเมริกา
สหรัฐฯรายงานพบผู้ติดเชื้อสะสมแล้วราวๆ 11.4 ล้านคน นับตั้งแต่โรคระบาดใหญ่เริ่มต้นขึ้น และยังคงเป็นประเทศเดียวที่รายงานพบผู้ติดเชื้อมากกว่า 10 ล้านคน ทั้งนี้ ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่เกือบๆ 158,000 คนต่อวัน เท่ากับว่า ทุกๆ เคสผู้ติดเชื้อ 26 คนทั่วโลก จะมีผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯรวมอยู่ด้วย 1 คน ตามข้อมูลของรอยเตอร์
ปัจจุบันแถบมิดเวสต์เป็นภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบหนักหน่วงที่สุดของสหรัฐฯ บนพื้นฐานของเคสผู้ติดเชื้อต่อจำนวนประชากร และจากพื้นฐานดังกล่าว นอร์ทดาโกตา, เซาต์ดาโกตา, วิสคอนซิน, ไอโอซา และ เนบราสกา คือ 5 รัฐที่ได้รับผลกระทบเลวร้ายที่สุด
นิวยอร์ก ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นการศูนย์กลางการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในสหรัฐฯ ระลอกแรก ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายน ยังคงเป็นรัฐที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตสะสมมากที่สุดนับต้งแต่โรคระบาดใหญ่เริ่มต้นขึ้น ด้วยจำนวนกว่า 33,000 คน
ด้วยเหตุนี้ ระบบการศึกษาภาครัฐของนิวยอร์ก ซึ่งเป็นเขตการศึกษาใหญ่สุดของประเทศ ได้สั่งระงับการเรียนการสอนในชั้นเรียนในวันพุธ(18พ.ย.) อ้างถึงจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่โควิด-19 คร่าชีวิตผู้คนทั่วประเทศไปแล้วมากกว่า 250,000 คน
ริชาร์ด เอ. คาร์รันซา อธิการบดีสำนักงานศึกษาธิการเมืองนิวยอร์ก ส่งข้อความถึงครูใหญ่ของโรงเรียนต่างๆ ในเมือง เพื่อแจ้งว่า อัตราการติดเชื้อโควิด-19 เฉลี่ยตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาในนครนิวยอร์ก สูงเกิน 3% แล้ว ทำให้สำนักงานศึกษาฯ เตรียมสั่งห้ามโรงเรียนรัฐทำการเรียนการสอนแบบพบหน้ากันชั่วคราว ตั้งแต่วันพฤหัสบดี (19 พ.ย.)
การตัดสินใจปิดโรงเรียนและหันไปเรียนทางไกลจากที่บ้าน ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่วันพฤหัสบดี (19 พ.ย.) เป็นต้นไป มีขึ้นในขณะที่เจ้าหน้าที่ระดับรัฐและท้องถิ่นทั่วประเทศ หันกลับกำหนดข้อจำกัดทางสังคมและเศรษฐกิจ เพื่อชะลอการแพร่ระบาด และลดจำนวนผู้ติดเชื้อที่เข้ารักษาตัวตามโรงพยาบาลต่างๆ ท่ามกลางฤดูหนาวที่คืบคลานเข้ามา
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าความเคลื่อนไหวของเขตการศึกษานิวยอร์ก ซึ่งประกาศผ่านทวิตเตอร์โดยนายกรัฐมนตรี บิล เดอ บลาซิโอ จะช่วยคลายความกังวลแก่คณะครูบางส่วนที่แสดงความวิตกว่าโรงเรียนอาจเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19 แต่ขณะเดียวกันมันก็กลับมาเพิ่มความยากลำบากแก่บรรดาผู้ปกครองที่ต้องทำงาน บีบให้พวกเขาต้องเตรียมการสำหรับดูแลบุตรหลานอีกรอบ
(ที่มา:รอยเตอร์)
อวสานเกาะฮ่องกง
บทเรียนสำหรับเยาวชนไทย
คิดถึงฮ่องกงใหมคะ? ถ้ายังอาลัยของอร่อย
ก็ต้องฟัง Francis Yip ร้องเพลงนี้ค่ะ
https://www.youtube.com/watch?v=l69UBDtvrXg
อวสานแล้วค่ะ เกาะฮ่องกง!
คนหนุ่มสาวฮ่องกงยากจน พากันเดินพาเหรด
กันตกงานมากเป็นประวัติการณ์
หลังจากเกิดม็อบเยาวชนชังชาติในฮ่องกงมา
นานกว่า 4 เดือน ผลกรรมที่ชังบรรพบุรุษได้
สนองตอบอย่างสาสม เกิดการกระทบต่อ
เศรษฐกิจอย่างร้ายแรงและส่งผลย้อนกลับ
สู่บรรดาม็อบและครอบครัวอย่างแสนสาหัส
โดยกลุ่มทุนธนาคารยักษ์ใหญ่ HSBC ที่อยู่กับ
ฮ่องกงมาช้านาน เคลื่อนย้ายเงินทุนมหาศาล
สุดพรรณาไปอยู่สิงคโปร์ และออสเตรเลียแล้ว
ยังไม่รวมอีกสารพัดธุรกิจชั้นดีขนาดใหญ่
จำนวนมาก ที่ต่างก็พากันถอนตัวจากฮ่องกง
ย้ายไปประเทศอื่นอีกเรื่อยๆเพราะวิเคราะห์ว่า
ฮ่องกงหมดอนาคตในระยะยาวแล้ว ส่งผลให้
คนหนุ่มสาวที่เคยมีเงินเดือนหลักแสนบาท
ตกงานไปแล้วหลายหมื่นคน .....และยังไม่
สามารถหางานทำใหม่ได้
โดยเฉพาะที่หนักสุดคือบรรดาร้านอาหารหลาย
ร้อยแห่งที่อยู่ใกล้กับกับย่านม็อบต่างถูกเผา
ทุบทำลาย และแย่งอาหารไปกินเพราะความ
หิวโซของม็อบที่หาของกินยากมากขึ้น
ความเดือดร้อนหิวอาหารและควานหาอาหาร
ประทังชีวิตจึงกระจายไปทั่ว คนฮ่องกงที่ตก
งานและไม่มีรายได้อะไรอีกแล้ว
ประจวบกับไม่มีนักท่องเที่ยวเข้าไปในฮ่องกง
เพราะขืนโผล่ออกจากโรงแรมที่พัก พวกม็อบก็
ดักรุมทุบนักท่องเที่ยวอยู่ดี จึงขยาดไปตามๆ กัน
ปกติแล้วคนฮ่องกงจะต้องซื้ออาหารกินนอกบ้าน
เพราะที่พักซึ่งเป็นตึกสูงไม่มีที่ประกอบอาหาร
อาชีพกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มจึงได้รับความทุกข์แสนสาหัส ต่างสิ้นเนื้อประดาตัว เนื่องจาก
จำนวนผู้มาเยือนในเมืองลดลง ดูเวิ้งว้างไร้
ผู้คนและนักท่องเที่ยว
ร้านอาหารหลายร้อยแห่ง จำต้องปิดตัวลงไปแล้ว
และต้องให้พนักงานเรือนหมื่นคนออกจากงานโดย
ไม่ได้รับค่าจ้างเลย และไม่ได้ว่าจ้างคนงานชั่วคราว
อีกต่อไป
ม็อบยุวชนชังชาติฮ่องกงก่อความสูญเสียทางเศรษฐกิจประมาณค่ามิได้
ผลกระทบยังเกิดโดมิโนภาคธุรกิจต่างๆ เช่น
ร้านค้าปลีก ร้านอาหารและโรงแรม รถไฟฟ้า
ผู้เชี่ยวชาญทุกค่าย ต่างก็คาดการณ์คล้ายกัน
ว่าแม้ม็อบชังชาติจะยุติลงแล้ว แต่เศรษฐกิจ
ของฮ่องกงจะเลวร้ายสุดขั้ว
นับเป็นบทเรียนที่พ่อแม่ผู้ปกครองชาวไทย
ต้องหมั่นย้ำเตือนลูกหลานว่า
#อย่าเชื่อค่ายการเมืองเลี้ยงแกะ#คนรุ่นใหม่ชังชาติ#เด็ดขาด
#อย่าไปฟัง อย่าไปดูสิ่งที่เขาหลอกลวง
#อย่าไปเกี่ยวข้องร่วมกิจกรรมใดๆ กับเขา
#หนีห่างออกมาให้ไกลที่สุด
#ชาติเราจะปลอดภัยจากสิ่งที่บรรพบุรุษ
สร้างไว้ให้คนไทยเป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้ว
#พึงจดจำใส่สมองไว้ว่า กษัตริย์ไทยทรงพระนาม
ว่า"สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช"ทรงกอบกู้
เอกราชให้แก่ไทย และ
#"สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช"
ทรงสร้างกรุงเทพมหานครเป็นราชธานีให้เรา
ได้ภาคภูมิใจและอาศัยอยู่อย่างร่มเย็น
Cr.ศุภพสก
หน้าที่ 106 จาก 147