เปิด 3 ฉากทัศน์การระบาด "โอมิครอน" 27 ธ.ค.นี้
 
สธ. เตรียมเปิดแบบจำลอง(scenario) 3 ฉากทัศน์การระบาดโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน หลังปีใหม่ในวันที่ 27 ธ.ค.นี้ พร้อมเปิดมาตรการรับมือโควิด-19

วันนี้ (26 ธ.ค.2564)นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า วันที่ 27 ธ.ค.2564 นี้ จะมีการประชุมอีโอซีกระทรวงสาธารณสุข จะมีการหารือถึงประเด็นต่างๆ รวมถึงมาตรการรับมือโควิด-19 รวมถึงจะมีอัปเดตฉากทัศน์(scenario) ของการระบาดโควิด-19 หลังปีใหม่ โดยมีการคาดการณ์ตัวเลขผู้ติดเชื้อเทียบกับการปฏิบัติตามมาตรการที่แตกต่างกันออกไป เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน

 
  • คาดเปิด 3 ฉากทัศน์โอมิครอน 27 ธ.ค.นี้

ทั้งนี้ ในการเปิดฉากทัศน์ดังกล่าว จะแบ่งออกเป็น 3 ฉากทัศน์คือ

1.สถานการณ์แย่ที่สุด (Worst Case Scenario)

2.ฉากทัศน์ที่เป็นไปได้ (Plausible Scenario)

 3.ฉากทัศน์ที่ดีที่สุด (Best Case Scenario)

เพื่อดูว่าหากจะให้สถานการณ์ดีที่สุด ต้องทำอะไรบ้าง ปานกลางต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้เราออกมาตรการออกมาเป็นแนวทางให้ประชาชน

  • กรมวิทย์ รวบรวมข้อมูลถอดรหัสพันธุกรรมโอมิครอน

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำลังรวบรวมข้อมูลการถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัสของสัปดาห์ที่ผ่านที่ 27 ธ.ค.2564 

อย่างไรก็ตาม  สถานการณ์ล่าสุดเกี่ยวกับโอมิครอนนั้น ข้อมูลจากประเทศอังกฤษที่ติดโอมิครอนเป็นแสนราย แต่อัตราเสียชีวิตไม่มาก ข้อสรุปเบื้องต้น แสดงให้เห็นว่า โอมิครอนมีการแพร่เชื้อ กระจายได้เร็ว ดังนั้น ผู้ที่เคยติดเชื้อ หรือได้รับวัคซีนสามารถป้องกันการแพร่ระบาด และช่วยลดอาการรุนแรงได้ 

 

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/social/979352?anf=

    คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงอุดมศึกษาฯ  มหิดล จับมือซูเปอร์โพลสำรวจวิถีชีวิตใหม่กับระยะห่างทางสังคม ประชาชนร้อยละ 99.5 เห็นด้วยกับมาตการป้องกันโควิด-19 ของรัฐบาล ส่วนกรุงเทพโพลล์เผยประชาชนปรับตัวเข้าสู่ยุค New Normal หน้ากากกลายเป็นปัจจัยที่ 5 
    เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทำหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับรองศาสตราจารย์ ดร.ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เปิดเผยผลการศึกษาเรื่อง วิถีชีวิตใหม่กับระยะห่างทางสังคม กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,320 ตัวอย่าง ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัดจากทั่วทุกภูมิภาค ดำเนินการในระหว่างวันที่ 10-22 พฤษภาคม พ.ศ.2563 ที่ผ่านมา   
    ถามถึงความคิดเห็นต่อมาตรการของรัฐบาลในการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 พบว่าร้อยละ 99.5 เห็นด้วยต่อมาตรการการป้องกันโรค อาทิ การใส่หน้ากาก การล้างมือ เป็นต้น ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เท่ากันกับมาตรการการเว้นระยะห่าง อาทิ การทำเครื่องหมายที่พื้น การทำงานที่บ้าน เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 98.6 เห็นด้วยต่อมาตรการการให้ข้อมูล อาทิ การแถลงข่าวรายวัน เป็นต้น, ร้อยละ 96.1 เห็นด้วยต่อมาตรการการลงโทษ, ร้อยละ 95.2 เห็นด้วยต่อมาตรการเยียวยา และร้อยละ 93.2 เห็นด้วยต่อการเสนอมาตรการผ่อนปรน ตามลำดับ        เมื่อถามถึงการออกนอกบ้านพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 36.2 ออกนอกบ้านไม่เกิน 1 ครั้งต่อวัน ในขณะที่ร้อยละ 17.4 ยังคงออกนอกบ้านตามปกติ ที่น่าสนใจคือการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 44.5 มีการลดการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ รองลงมาคือร้อยละ 32.9 ไม่ได้ลดการใช้ขนส่งสาธารณะเลย
    นอกจากนี้ เมื่อถามถึงการปฏิบัติตนเมื่ออยู่นอกบ้าน พบว่า ส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 60 มีการล้างมือด้วยน้ำหรือสบู่ ในขณะที่การเช็ดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์มากกว่า 5 ครั้งเป็นประจำทุกวัน อยู่ในระดับที่ไม่ถึงร้อยละ 50 การแยกรับประทานอาหารและการปรับที่นั่งให้ห่างจากผู้อื่น ยังไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 51.3 มีการแยกทานอาหารเดี่ยวเป็นประจำ แต่มีถึงร้อยละ 15 ที่ไม่ได้ทำเลย และมีเพียงร้อยละ 42.9 ที่ปรับที่นั่งห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตร
    ในประเด็นของการดูแลผู้สูงอายุในบ้าน ผลการศึกษายังไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ โดยพบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 38 ไม่มีการวัดไข้หรือสังเกตอาการผู้สูงอายุเลย และมีถึงร้อยละ 37.8 ที่ไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อต้องอยู่ใกล้กับผู้สูงอายุ ในประเด็นของการทำงาน พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 38.6 ไม่ได้ Work From Home และร้อยละ 45.9 ยังไม่มีมาตรการเหลื่อมเวลาทำงาน อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.7 ได้ปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างระดับมาก, ร้อยละ 29.2 ได้ปฏิบัติระดับปานกลาง และร้อยละ 1.1 ได้ปฏิบัติน้อย
    ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์กล่าวว่า สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้รับมอบหมายจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้เป็นหน่วยปฏิบัติการหลักของกระทรวง รวมทั้งเป็นศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนาภายใต้ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ของรัฐบาลในการทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสนับสนุนให้มีการศึกษาติดตามการปฏิบัติตนของประชาชนตามมาตรการเว้นระยะห่างการใช้ชีวิตในสังคม (Social Distancing) เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการกำหนดนโยบาย และสนับสนุนมาตรการต่างๆ ของรัฐบาล
    “เมื่อพิจารณาจากผลการศึกษา พบว่ายังมีหลายประเด็นที่ต้องเร่งสื่อสารและทำความเข้าใจกับประชาชนให้เกิดความตระหนักรู้ และสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง ในการป้องกันตนเองและบุคคลรอบข้างเพื่อร่วมกันยุติการแพร่ระบาดของโรค ผลการศึกษานี้จะช่วยสามารถสะท้อนในเชิงนโยบายได้ทั้งในแง่ของการสร้างการรับรู้ การเผยแพร่ข้อมูลความเข้าใจให้กับประชาชน รวมทั้งการขอความร่วมมือจากกิจการและผู้ประกอบการในการจัดหาและการกำหนดมาตรการของหน่วยงาน เพื่อร่วมกันสร้างสมดุลชีวิตวิถีใหม่ หรือ Balance in the New Normal ให้มีขึ้นในสังคมไทย” ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์กล่าว
    ในขณะที่ รศ.ดร.ชะนวนทองกล่าวว่า ประชาชนเห็นด้วยกับมาตรการของรัฐบาลและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติค่อนข้างดี แต่เมื่อพิจารณาการปฏิบัติในครอบครัวที่มีผู้สูงอายุและเด็กยังมีการปฏิบัติที่มีความเสี่ยงอยู่ถึงร้อยละ 40-50 เรื่องการจัดพื้นที่การใช้ห้องน้ำ ดังนั้นจึงควรมีการให้ข้อมูลและเยี่ยมบ้าน เพื่อสนับสนุนความเป็นไปได้ในการลดโอกาสเสี่ยงให้กับผู้สูงอายุและเด็กเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ประเด็นการป้องกัน เริ่มมีการปฏิบัติน้อยลง เรื่องการใช้ห้องน้ำ การล้างมือ จึงควรเน้นย้ำให้มากขึ้นต่อไป
    ส่วนประเด็นการเว้นระยะห่างเมื่อไปทำงาน หรือในสถานที่ทำงาน พบว่า ประชาชนมีการออกนอกบ้าน เพื่อใช้เวลานอกบ้าน เพื่อประกอบอาชีพ เพื่อซื้ออาหารและสิ่งจำเป็น ประมาณ 50% ต่อสัปดาห์ ส่วนการปฏิบัติตนเรื่องการทำงานจากบ้าน การเหลื่อมเวลา มีการปฏิบัติระหว่าง 40-50% ซึ่งปัจจุบันเมื่อมีการผ่อนปรนระยะที่ 2 จึงควรรีบสร้างการตระหนักในการปฏิบัติตัว เว้นระยะห่างทางกายภาพในที่ทำงานให้มากขึ้น สร้างความชัดเจนเรื่องการเหลื่อมเวลา และการจัดพื้นที่ให้ชัดเจนขึ้น
    วันเดียวกันนี้ กรุงเทพโพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เผยสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “New Normal ชีวิตวิถีใหม่ของคนไทย” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,201 คน พบว่า
    สืบเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 พบว่าประชาชนได้ปรับการดำเนินชีวิตเพื่อเข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) โดยพบว่าสิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 92.6 ปฏิบัติเป็นประจำคือ สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน รองลงมาร้อยละ 73.5 คือ ล้างมือ กินร้อน ช้อนตัวเอง และร้อยละ 73.3 คือ งด/ปรับรูปแบบการจัดกิจกรรม งานเลี้ยงสังสรรค์แบบหมู่คณะให้มีระยะห่าง
    ส่วนสิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 70.0 ไม่ได้ปฏิบัติเลย คือ เรียนออนไลน์ ควบคู่ไปกับการไปเรียนที่โรงเรียน/มหาวิทยาลัย รองลงมาร้อยละ 47.4 คือการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านออนไลน์ จ่ายเงินแบบไร้เงินสด (Cashless) และร้อยละ 44.7 คือการสั่งซื้อสินค้าผ่านออนไลน์แทนการออกไปที่ร้าน
    ส่วนมาตรการที่ควรออกมารองรับ/สนับสนุนชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ของประชาชนนั้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 74.8 ระบุว่าควรจัดอบรม ฝึกอาชีพ จัดหางาน สำหรับพนักงานที่ถูกเลิกจ้างจากการปรับรูปแบบการทำงาน รองลงมาร้อยละ 67.2 ระบุว่าควรขยายโอกาสให้เด็กที่มีฐานะยากจนมีสิทธิเข้าถึงการเรียนแบบออนไลน์ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และร้อยละ 62.1 ระบุว่าหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือ ต้องหาซื้อง่าย ราคาถูก.

ขอบคุณข้อมูลจาก  https://www.thaipost.net/

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.thaipost.net/main/detail/66739

 

 

เมื่อวันที่ 19 มี.ค. นพ.มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ แถลงการใช้ยารักษาโควิด-19 ว่า การรักษาโควิดเรามีการติดตามข้อมูล และปรับแนวทางการรักษาเป็นระยะ สำหรับยาฟาวิพิราเวียร์มีการใช้มาแล้ว 2 ปี โดยช่วงแรกศึกษาข้อมูลจากต่างประเทศที่มีการนำยานี้มาใช้ ซึ่งกลไกออกฤทธิ์ คือ การยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส ทำให้เชื้อไวรัสเปลี่ยนแปลงไป จากการทบทวนอย่างเป็นระบบ ข้อมูลล่าสุดพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์มีอาการดีขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับ โดยเฉพาะในช่วง 14 วัน สัดส่วนอาการดีขึ้น 86.9%

ส่วนการติดตามอาการจากการใช้ยาอื่น เรามี ยาเรมดิซิเวียร์ ซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์ตำแหน่งเดียวกับยาฟาวิพิราเวียร์ ซึ่งช่วงเริ่มต้นองค์การอนามัยโลก (WHO) ยังไม่ได้แนะนำหรือรับรอง แต่เมื่อใช้ยามาสักระยะก็ได้รับการรับรองจาก อย.สหรัฐฯให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน โดยให้ทางหลอดเลือดดำ ซึ่งมีประโยชน์ในกลุ่มคนที่รับประทานไม่ได้ มีปัญหาการดูดซึม สามารถใช้ได้ในหญิงตั้งครรภ์ จากการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้ป่วยมีอาการลดลง นอน รพ.ลดลง เมื่อเทียบกับกลุ่มที่รับยาหลอก โดยกลุ่มรับยาเรมดิซิเวียร์พบนอน รพ. 10 วัน กล่มที่รับยาหลอกนอน รพ. 15 วัน

ยาตัวที่ 3 คือ โมลนูพิราเวียร์ อยู่ในกระบวนการเตรียมพร้อมกระจายหลังอนุมัติจากอีโอซี สธ. และ ศบค.แล้ว กลไกออกฤทธิ์จุดเดียวกันกับฟาวิพิราเวียร์ ช่วยให้ผู้ป่วยลดความเสี่ยงการเกิดอาการรุนแรง โดยขนาดยาคือ 800 มิลลิกรัม (มก.) แบ่งเป็น 200 มก. จำนวน 4 แคปซูล รับประทานทุก 12 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 5 วัน รวม 40 แคปซูลต่อคน

และยาตัวที่ 4 แพกซ์โลวิด ที่กำลังดำเนินการจัดหาเข้ามา กลไกการออกฤทธิ์ต่างกัน โดยออกฤทธิ์ที่เอนไซม์ทำให้เชื้อลดจำนวนลง ไม่สามารถเกิดผลกับโรคได้ โดยยานี้ประกอบด้วยยา 2 ตัว คือ Nirmatrelvir 150 มก. และ Ritonavir 100 มก. รับประทาน Nirmatrelvir 2 เม็ด และ Ritonavir 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน ช่วยลดความเสี่ยงการนอน รพ.ลง 88% กรณีให้ยาภายใน 5 วันหลังมีอาการ ถือว่ามีประสิทธิภาพสูงสุด จึงมีการสำรองสำหรับประชาชน โดยกลางเดือนหน้าน่าจะนำเข้ามาและกระจายต่อไป

“จากการติดตามการใช้ยามาสักระยะหนึ่ง ยาแต่ละตัวมีข้อดีเสียต่างกัน เช่น เรมดิซิเวียร์ช่วยกลุ่มอาการปานกลาง ให้ได้ในหญิงตั้งครรภ์ หรือมีปัญหาการรับประทานหรือการดูดซึม, ยาฟาวิพิราเวียร์ ติดตามแล้วยังมีประโยชน์ และให้ได้คนตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาส 2 และ 3 ส่วนยา 2 ตัวที่เหลือยังเป็นข้อห้ามสำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร อย่างไรก็ตาม นอกจากประสิทธิภาพและความปลอดภัยแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความพร้อมในการใช้ยา การจัดหายา และราคายา ซึ่งมีคณะกรรรมการพิจารณาแนวทางการรักษา โดยมีการติดตามค่าใช้จ่ายแต่ละราย เช่น ยาฟาวิพิราเวียร์ทั้งกระบวนการรักษา 1 คอร์ส อยู่ที่ 800 บาท เรมดิซิเวียร์ 1,512 บาท ส่วนยาใหม่ทั้งโมลนูพิราเวียร์และแพกซ์โลวิดอยู่ที่คอร์สละ 1 หมื่นบาท” นพ.มานัส กล่าว
 
นพ.มานัส กล่าวว่า จากการติดตามทั้งของกรมการแพทย์ หรือสำนักการแพทย์ กทม. ยืนยันว่า ยังพบประสิทธิภาพประสิทธิผลและความปลอดภัยของฟาวิพิราเวียร์ หลายประเทศก็ใช้รักษาโควิด ทั้งนี้ การได้มาของแนวทางการรักษาจะมีการปรับเปลี่ยนตามหลักฐานเชิงประจักษ์ และมีการประชุมของผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งล่าสุดมีการปรับปรุงแนวทางไปเมื่อวันที่ 1 มี.ค. และสัปดาห์หน้าอาจจะมีการปรับอีก ซึ่งมีการจำแนกตามรุนแรงของโรค ยาตัวเลือกที่มีให้ใช้ ยารักษาตามอาการ และฟ้าทะลายโจร นอกจากนี้ จากการรักษาแบบ “เจอ แจก จบ” พบว่า กลุ่มรักษาด้วยยาตามอาการมี 52% ยาฟ้าทะลายโจร 24% และฟาวิพิราเวียร์ 26% ขอย้ำว่า สธ.เราทำงานเป็นทีม อัตราการป่วยต่อประชากร การติดเชื้อของไทย อัตราการเสียชีวิตเมื่อเทียบกับหลายประเทศยังอยู่ในระดับควบคุม ถือว่าดำเนินการได้ดี และก่อนได้แนวทางการรักษาหรือยาที่ใช้ในปัจจุบัน มีการพิจารณาจากคณะกรรมการอย่างรอบด้านและเหมาะสมกับในประเทศไทย

 

ข้อมูลจาก https://mgronline.com/qol/detail/9650000027074

 
เปิดข้อมูลหาเชื้อ "โควิด" จากอุจจาระพบใน 1 วีกหลังติดเชื้อ อยู่ได้นาน 7 เดือน
 
 

"ดร.อนันต์" เปิดเผยผลวิจัย สามารถหาเชื้อ "โควิด" จากอุจจาระได้ภายใน 1 สัปดาห์ หลังตรวจพบว่าติดเชื้อ มักเจอในกลุ่มที่มีอาการเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร บางรายพบได้นานถึง 7 เดือน

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา โพสต์เฟซบุ๊ค Anan Jongkaewwattana เปิดเผยว่า ข้อมูลแทบทั้งหมดตอนนี้เกี่ยวกับการแพร่กระจายไวรัส "โควิด" จากผู้ป่วยจะมาจากการตรวจตัวอย่างจากระบบทางเดินหายใจ เช่น จากตัวอย่างโพรงจมูก หรือ จากน้ำลาย

แต่ความเป็นจริงแล้วมีข้อมูลมาตั้งแต่การเริ่มต้นของการระบาดแล้วว่า ไวรัสอาจจะแพร่ออกสู่สิ่งแวดล้อมผ่านช่องทางของระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะทางอุจจาระของผู้ป่วย แต่เนื่องจากโอกาสการแพร่กระจายจากช่องทางนี้น้อยกว่าจากช่องทางน้ำมูก น้ำลาย ทำให้ข้อมูลการศึกษาว่าตกลงไวรัสจะอยู่ในตัวผู้ป่วยนานมากน้อยขนาดไหนจึงมีไม่มาก และไม่ค่อยชัดเจน

งานวิจัยชิ้นล่าสุดจากทีมวิจัยของมหาวิทยาลัย Stanford ในสหรัฐอเมริกา เก็บข้อมูลโดยหาปริมาณสารพันธุกรรมของไวรัสจากตัวอย่างอุจจาระของผู้ป่วย "โควิด" ในระยะเวลาต่างๆ พบว่า ประมาณ 50% ของผู้ป่วยสามารถตรวจพบ RNA ของไวรัสได้ภายใน 1 สัปดาห์ หลังตรวจพบว่าติดเชื้อ ที่น่าสนใจคือ ผู้ป่วยเหล่านี้เมื่อทำการตรวจ RT-PCR จากตัวอย่างที่เก็บจากโพรงจมูก หรือ ลำคอ จะเป็นลบหมดที่ 4 เดือน แต่ยังพบว่า 12.7% ของผู้ป่วยยังตรวจพบ RNA ของไวรัสในตัวอย่างอุจจาระ บางคนสามารถตรวจพบได้ยาวนานถึง 7 เดือน

ทีมวิจัยยังพบว่าผู้ป่วยที่ตรวจพบ RNA ของไวรัสในตัวอย่างอุจจาระ มักจะเป็นกลุ่มที่มีอาการเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน คำถามต่อมาคือตกลง RNA ที่ตรวจได้เป็นไวรัสที่ยังแพร่ต่อได้ หรือ แค่ซากเชื้อ หรือ สารพันธุกรรมไวรัสที่หลงเหลืออยู่ แต่น่าเสียดายที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้เนื่องจากผู้ป่วยต้องทำการเก็บตัวอย่างด้วยตัวเองก่อนส่งให้ทางทีมวิจัยไปตรวจสอบต่อ ซึ่งจำเป็นต้องทำการฆ่าเชื้อก่อนส่งตัวอย่างออก แต่จากงานวิจัยที่เคยตีพิมพ์ไปก่อนหน้านี้ที่สามารถแยกเชื้อไวรัสได้จากตัวอย่างอุจจาระ และข้อมูลที่ออกมาว่าไวรัสสามารถเพิ่มจำนวนในเซลล์ลำไส้ได้ดี ทำให้ทีมวิจัยคาดว่า มีโอกาสที่ไวรัสจะแพร่ออกจากตัวผู้ป่วยได้นานกว่าช่วงเวลากักตัว

ข้อมูลนี้มีประโยชน์ครับ เพราะจะทำให้เราระมัดระะวังช่องทางการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อเพิ่มขึ้น การทำความสะอาดห้องน้ำในช่วงกักตัว หรือ หลังกักตัว หรือ การปิดฝาก่อนกดชักโครก น่าจะช่วยลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายเชื้อได้มากขึ้นครับ

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/511329?adz=

เปิดความพร้อมบริหารจัดการ 'โควิดเชียงใหม่' -76จังหวัด

 
เปิดผลสำรวจประเมินความพร้อมศักยภาพบริหารจัดการ'โควิดเชียงใหม่' พบได้ 9 คะแนน ขณะที่มีถึง 45 จังหวัดไม่พร้อมเรื่องสถานกักกันมากที่สุด


     จากกรณีที่มีการตรวจพบ 'โควิดเชียงใหม่' โดยเป็นหญิงไทย อายุ 29 ปึเดินทางจากประเทศเมียนมาร์เข้าประเทศไทยจากเชียงรายมายังเชียงใหม่ ซึ่งมีอาการป่วยและมีประวัติไปสถานที่หลายแห่งในเชียงใหม่ มีผู้สัมผัสใกล้ชิดกว่า 300 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงกว่า 100 คน เมื่อ'โควิดเชียงใหม่'เกิดขึ้น จังหวัดมีความพร้อมในการบริหารจัดการอย่างไร รวมถึงจังหวัดอื่นๆด้วย ทั้งนี้ เมื่อเร็วๆนี้ มีการปิดเผยถึงความพร้อมในการบริหารจัดการโรคโควิด-19 ทั้ง 77 จังหวัด รวมถึง ความพร้อมโควิดเชียงใหม่ด้วย

 

     นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ปาฐกถาเรื่อง “ความสำเร็จของการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณสุขสถานการณ์การระบาดโรคโควิด-19 ในการประชุมวิชาการ แนวโน้มการพัฒนายา วัคซีน  และเทคโนโลยีห้องปฏิบัติการในสถานการณ์การระบาดของโควิด19" ว่า จากการสำรวจตามการประเมินความพร้อมในการบริหารจัดการโรคโควิด-19 ทั้ง 77 จังหวัด ใน 3 ด้าน คือ 1. ด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค   เช่น การเฝ้าระวังตามเกณฑ์ผู้ต้องสงสัยสอบสวนโรค เฝ้าระวังกลุ่มประชากรเสี่ยง มีห้องแลปตรวจได้เพียงพอและประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสม่ำเสมอ 2.ด้านรักษาพยาบาล เช่น มีคลินิกทางเดินโรคหายใจ มีห้องแยกโรค   และ3.ด้านเศรษฐกิจ สังคมและการมีส่วนร่วมของเครือข่าย เช่น ช่องทางแสดงความคิดเห็น มีสถานที่กับกันตามมาตรฐานและมีแผนเผชิญเหตุและซ้อมแผน

ภาพรวมผลสำรวจ พบว่า ด้านการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคมี 41 จังหวัดไม่พร้อมเรื่องเฝ้าระวังตามเกณฑ์ผู้ต้องสงสัยสอบสวนโรคมากที่สุดด้านรักษาพยาบาล 100% พร้อมเรื่องคลินิกโรคทางเดินหายใจ และ ด้านเศรษฐกิจ สังคมและการมีส่วนร่วมของเครือข่ายมี 45 จังหวัดไม่พร้อมเรื่องสถานกักกันมากที่สุด


หากพิจารณาภาพรวมรายจังหวัด แบ่งได้เป็น 7 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.ได้คะแนนเต็ม 10 มี 10 จังหวัดได้แก่ เชียงราย ปราจีนบุรี สมุทรปราการ  นครพนม บุรีรัมย์ อำนาจเจริญ กระบี่ ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และพัทลุง

2.ได้9 คะแนน มี 18 จังหวัด ได้แก่ โควิดเชียงใหม่ น่านลำพู นเพชรบูรณ์ นครนายก สระบุรี สิงห์บุรี ลพบุรีประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม ระยอง มหาสารคาม อุดรธานี บึงกาฬ สุรินทร์นครราชสีมา พังงา และสงขลา


3.ได้ 8 คะแนนมี 15 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง แพร่ พิษณุโลก ชัยนาทนครปฐม สุพรรณบุรี จันทบุรี ชลบุรี กาฬสินธุ์ร้อยเอ็ด หนองบัวลำภู ศรีสะเกษ นครศรีธรรมราช ชุมพร และนราธิวาส


4. ได้ 7 คะแนนมี 13 จังหวัด ได้แก่ ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ นนทบุรี อยุธยาฉะเชิงเทรา ขอนแก่น เลย สกลนคร อุบลราชธานียโสธร ระนองและปัตตานี


5.ได้ 6 คะแนนมี 13 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน นครสวรรค์ พิจิตรอุทัยธานี ปทุมธานี อ่างทอง สมุทรสาค รกาญจนบุรี สระแก้ว ชัยภูมิ มุกดาหาร สตูลและยะลา


6. ได้ 5 คะแนนมี 3 จังหวัด ได้แก่ พะเยา ราชบุรีและตราด
และ 7.ได้ 4 คะแนนมี 4 จังหวัด ได้แก่กำแพงเพชร เพชรบุรี หนองคายและตรัง

"จังหวัดอื่นๆที่ยังไม่ผ่านประเมินทั้งหมด  ก็จะมีการกำหนดนโยบายสู่การปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดเพื่อให้ผ่านประเมินต่อไป อาทิ  เสริมความเข้มแข็งของระบบเฝ้าระวังโรคในสถานพยาบาล เพิ่มหน่ววยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อจาก 1 ทีมเป็น 3ทีมต่ออำเภอ  เตรียมสถานที่กักกันตามมาตรฐาน และเตรียมเวชภัณฑ์ ยา และวัสดุอุปกรณ์สำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วย เป็นต้น"นพ.เกียรติภูมิกล่าว

 

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/910140?anf=

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ