เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือไทยแพน (Thai-PAN : Thailand Pesticide Alert Network) รายงานผลการสุ่มสำรวจตัวอย่างผักและผลไม้ ปี 2559 พบว่าจากการสำรวจ ผัก 10 ชนิด ผลไม้ 6 ชนิด รวม 138 ตัวอย่าง จากตลาดสดและห้างสรรพสินค้า 7 แห่งในเขต กทม. และปริมณฑล เชียงใหม่ และอุบลราชธานี โดยส่งตัวอย่างไปวิเคราะห์ที่ประเทศอังกฤษ พบว่ามีผักและผลไม้ที่มีสารเคมีปนเปื้อนเกินระดับมาตรฐานดังนี้
พริกแดง กะเพรา ถั่วฝักยาว คะน้า ผักกาดขาว ผักบุ้งจีน มะเขือเทศ มะเขือเปราะ กะหล่ำปลี |
100% 66.7% 66.7% 55.6% 33.3% 22.2% 11.1% 0% 0% |
ส้มสายน้ำผึ้ง ฝรั่ง แก้วมังกร มะละกอ มะม่วงน้ำดอกไม้ แตงโม |
100% 100% 71.4% 66.7% 44.4% 0% |
รายงานโดยสรุปพบว่า
1.อัตราสารพิษตกค้างในผัก และผลไม้เกินค่ามาตรฐานสูงถึง 46.4 %
2.ผักและผลไม้ซื้อจากตลาดสด และห้างสรรพสินค้า มีอัตราส่วนสารพิษตกค้างไม่แตกต่างกันมาก คือ 48% และ 46% ตามลำดับ
3.ผักและผลไม้ที่มีตราคุณภาพ “Q” จากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตร และอาหารแห่งชาติ (มกอช.) พบสารเคมีสูงถึง 57.1%
4.แม้แต่ผักและผลไม้อินทรีย์ก็ยังมีสารเคมีตกค้างถึง 25%
ต่อมา สำนักมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ออกมาโต้แย้งว่าผลการสุ่มตัวอย่างของ ไทยแพน ไม่ได้มาตรฐานและข้อมูลที่ได้มาผิดพลาด แต่อย่างไรก็ตามเราในฐานะผู้บริโภคก็ควรตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ เพื่อหาทางดูแลสุขภาพของตัวเองไม่ว่าข้อมูลของใครจะถูกผิดหรือผิดอย่างไร