การสูบบุรี่ พนักงานไทย 7% สูบบุหรี่
พนักงานในอาเซี่ยน 11% สูบบุหรี่
พนักงานในประเทศออสเตรเลีย 9% สูบบุหรี่
แอลกอฮอล์ พนักงานไทย 1.2% ดื่มสุรา 14 unit/สัปดาห์
พนักงานในอาเซี่ยน 1.4% และพนักงานในประเทศออสเตรเลีย 15.9% ดื่มสุรา
1 unit = เบียร์ 3.5% 275-300 มิลลิลิตร
= ไวน์ 12.5% 100 มิลลิลิตร
= วิสกี้ 40% 25 มิลลิลิตร
สุขภาพโดยทั่วไป พนักงานไทย 7% เป็นโรคอ้วน (BMI≥30)
พนักงานในประเทศอาเซี่ยน 17.4 % เป็นโรคอ้วน
และพนักงานในประเทศออสเตรเลีย 17.6 % เป็นโรคอ้วน
การนอน พนักงานไทย 45% นอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมง
พนักงานในประเทศอาเซี่ยน 53 % นอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมง
และพนักงานในประเทศออสเตรเลีย 27 % นอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมง
สุขภาพจิตร พนักงานไทย 47% มีความเครียดจากงาน
พนักงานในประเทศอาเซี่ยน 51 % มีความเครียดจากงาน
และพนักงานในประเทศออสเตรเลีย 53 % มีความเครียดจากงาน
ข้อมูลจาก : Thailand’s Healthiest workplan by AIA vitality
ข้อมูลใหม่ เพจดัง Drama-addict ได้เผยแถลงการณ์จากทาง "แอสตร้าเซนเนก้า" ชี้โดสแรก-โดส 2 ยิ่งเว้นช่วงนาน ระดับภูมิคุ้มกันยิ่งสูงขึ้น
เพจดัง Drama-addict ได้เผยแถลงการณ์จากทาง "วัคซีน" "แอสตร้าเซนเนก้า" ซึ่งเป็นการทดลองการเว้นช่วงฉีดระหว่างโดสแรก โดสสอง ปรากฏว่า ยิ่งเว้นช่วงนานเท่าไหร่ ระดับภูมิคุ้มกันร่างกายจะต้านทานต่อ "โควิด" สูงมากขึ้น
โดยทางเพจระบุว่า " คำถามที่คนถามบ่อยมากคือ ถ้าฉีด"แอสตร้าเซนเนก้า" 2 โดสแล้ว โดส 3 เอาไง จะต้องเว้นช่วงนานแค่ไหนถึงจะฉีดบูทสเตอรโดส 3 และหลังฉีดโดส 3 แล้วเอาไงต่อ
วันนี้ทาง "แอสตร้าเซนเนก้า" ออกแถลงการณ์มาเมื่อสักครู่นี่เองอันนี้น่าสนใจมาก คืองานวิจัยที่ว่า มันเกี่ยวกับปัญหาขาดแคลนวัคซีนทั่วโลก ดังนั้นเขาเลยวิจัยว่า การเว้นช่วงระหว่างโดสแรก โดสสองนานๆ จะมีผลกับระดับภูมิคุ้มกันแค่ไหน เขาเลยทดลองด้วยการ ฉีดวัคซีนโดสนึงก่อน แล้วเว้นช่วงนานๆ ไปเลย แล้วค่อยฉีดโดสสอง และบูทสเตอร์โดสสามตามลำดับ
โดยกลุ่มที่ทดลองนี้ เว้นช่วงระหว่างโดสแรกกับโดสสอง 44-45 สัปดาห์ (เกือบ 11 เดือน) ซึ่งก็พบว่าหลังฉีดโดสแรกไปแล้วเว้นช่วงนานขนาดนี้ ภูมิในร่างกายก่อนฉีดโดสสอง ก็ยังมีอยู่ในระดับที่ป้องกันโรคได้ แล้วเขาก็ฉีดวัคซีนโดสสองแล้ววัดระดับภูมิอีกที 28 วันหลังโดสสอง
ปรากฏว่า หลังฉีดโดสสองโดยทิ้งช่วง 45 สัปดาห์ ระดับภูมิขึ้นกันขึ้นสูงถึง 18 เท่า (ตรวจ 28 วันหลังฉีดโดสสอง) และเมื่อเทียบกับระดับภูมิคุ้มกันที่ตรวจในกลุ่มที่เว้นช่วงโดส 1 กับ 2 นาน 12 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่เว้นช่วง 45 สัปดาห์ ภูมิสูงกว่ากลุ่มที่เว้นช่วง 12 สัปดาห์ 4 เท่า ดังนั้นการทิ้งช่วงระหว่างโดสแรกกับสองนานขึ้น น่าจะมีผลให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อโควิดสูงกว่าเดิมอีก
จากนั้นเขาก็วิจัยกันต่อ โดยทิ้งช่วงอีก 6 เดือน แล้วให้โดสที่สาม หลังโดสสองหกเดือน พบว่าภูมิขึ้นไปอยู่ในระดับสูง 6 เท่าและพบว่าประสิทธิภาพในการต้านทานสายพันธ์ทั้งหมดที่ระบาดตอนนี้ ไม่ว่าจะ อัลฟ่า เบต้า เดลต้า สูงขึ้นอย่างชัดเจน
โดยศาสตราจารย์แอนดรูว์ พอลลาร์ด นักวิจัยที่ออกซฟอร์ดกล่าวถึงงานวิจัยนี้ว่า เป็นสัญญาณดีมาก สำหรับประเทศที่ยังขาดแคลนวัคซีน เพราะแม้คุณจะฉีดโดสสองไม่ทันเวลาที่กำหนดตอนแรก แต่เลื่อนไปนานถึงสิบเดือนหลังจากนั้น แต่พอฉีดไปภูมิขึ้นสูง
สรุปง่ายๆ แนวทางการฉีดใหม่จากแอสตร้าเซนเนก้านี้ อาจจะฉีดโดสเดียว แบบ J&J ได้ครับ แล้วไปฉีดโดสต่อไปปีหน้าเลย ซึ่งงานวิจัยของทางออกซฟอร์ดพบว่า วิธีนี้ภูมิสูงกว่าฉีดสองโดสทิ้งช่วง 12 สัปดาห์ ตอนนี้ข้อมูลใหม่มาก เดี๋ยวรอทางออกซฟอร์ดเปิดข้อมูลมากกว่านี้ให้นักวิจัยได้ดูกัน น่าจะมีแนวทางบริหารวัคซีนสำหรับประเทศที่ขาดแคลนวัคซีนได้ดีขึ้น
เมื่อเร็วๆ นี้มีการประชุมระดมความคิดเห็นระหว่างกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ป้องกันและระบาดวิทยาที่มีประสบการณ์ปฏิบัติงานทั้งในเขตเมืองและชนบท
เป็นการระดมความเห็นเพื่อหาแนวทางควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อให้ลดลงสู่ระดับที่ระบบสาธารณสุขสามารถบริหารจัดการได้
โดยไม่ส่งผลเสียหายรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจ ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืน และสามารถดำเนินกิจกรรมด้านสังคมได้ตามสภาวะใกล้เคียงกับปกติ
ผู้เข้าร่วมการระดมความเห็นมีดังนี้
ด้านสาธารณสุขและการแพทย์
นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์, นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์, ผศ.ดร.นพ.บวรศม ลีระพันธ์, นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์, นพ.ประสิทธิ์ชัย มั่งจิตร, นพ.สุวัฒน์ วิริยะพงษ์สุกิจ, นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ
ด้านวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร, ดร.สมชัย จิตสุชน, ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง, ดร.เสาวรัจ รัตนคำฟู, นายกัมพล ปั้นตะกั่ว, น.ส.ชวัลรัตน์ บูรณะกิจ, น.ส.อุไรรัตน์ จันทรศิริ
สรุปข้อเสนอสำคัญ 4 เรื่องเพื่อการพิจารณาของสาธารณะ
1.มาตรการเร่งด่วนเพื่อจำกัดวงของการแพร่ระบาดโควิด-19 โดยเน้นการแก้ไขสถานการณ์ระบาดที่เข้าสู่ครอบครัวและชุมชนอย่างเต็มตัวใน กทม.และปริมณฑล
มีข้อเสนอ 4 ประการ ดังนี้
1.1 นวัตกรรมเสาะหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในเขตเมือง โดยเร่งดำเนินการจัดตั้งทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเสริมเพิ่มเติมอย่างน้อย 200 ทีม
เนื่องจากการระบาดรอบนี้เป็นเชื้อโควิดสายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7 ที่แพร่ระบาดได้รวดเร็วและรุนแรงต่อชีวิตมากกว่าเดิม เราจึงเห็นการระบาดที่ต่อเนื่องแม้จะปิดสถานบันเทิงหมดแล้ว เพราะเมื่อมีผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วยหนึ่งคนจะทำให้สมาชิกส่วนใหญ่หรือทุกคนในครอบครัวและเพื่อนร่วมงานติดเชื้อไปด้วย
ในขณะนี้การระบาดกว่าร้อยละ 80-90 จึงเกิดจากการแพร่เชื้อจากผู้ติดเชื้อไปยังสมาชิกในครอบครัว ญาติมิตร และผู้ร่วมงาน
สภาพการณ์ดังกล่าวเป็นการกระจายของเชื้อโรคในวงกว้าง (Wide Community Spreading) ทำให้ทีมสอบสวนโรคที่มีอยู่ไม่เพียงพอจะรับมือ
รัฐบาลจึงต้องมี “นวัตกรรมเสาะหาตัวผู้ติดเชื้อเชิงรุก (Active Case Finding Innovations)”
โดยเร่งดำเนินการจัดตั้งทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเสริมเพิ่มเติมอย่างน้อย 200 ทีม เพื่อเอกซเรย์ชุมชนและควบคุมการแพร่เชื้อด้วยหลักการสอบสวนโรค การตรวจเชื้อ และการกักแยกโรค (TTI หรือ Trace, Test, Isolation)
และมีระบบที่ชักชวนให้ผู้มีอาการหรือสงสัยตนเองให้มาตรวจได้สะดวกรวดเร็ว เพิ่มจุดการตรวจในชุมชนแออัดต่างๆ และพื้นที่เสี่ยง โดยให้ประชาชนได้รับข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับจุดบริการตรวจเหล่านั้น
เหตุผลที่ต้องมีทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเพิ่มเติม ก็เพราะการติดตามผู้มีความเสี่ยงติดเชื้อในเขตเมืองมีความยุ่งยากมากกว่าในชนบท
ในเขตเมืองไม่มีระบบสาธารณสุขมูลฐาน (Primary Health Care) ดังที่มีอยู่ในชนบท
และชุมชนเมืองหลายแห่งมีลักษณะความเป็นอยู่แบบชุมชนแออัด ทำให้ชุมชนเมืองมีโอกาสสูงที่จะเกิดการระบาดระลอกใหม่ ดังที่เกิดแล้วในอำเภอเมืองสมุทรสาครในระลอกสอง และในชุมชนคลองเตยของ กทม.ในระลอกสาม
ขณะที่พื้นที่ชนบทมีระบบสาธารณสุขมูลฐานที่เข้มแข็ง และมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) นับล้านคนที่เป็นกำลังสำคัญ
ทำให้ไทยสามารถควบคุมการระบาดของโรคต่างๆ ในอดีต รวมทั้งการระบาดของโควิดในรอบแรกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อมูลจากแพทย์ชนบทยืนยันว่า ประเทศไทยสามารถควบคุมการระบาดและลดจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในชนบทได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว ก็เนื่องจากความสามารถในจัดการเรื่อง TTI ได้อย่างมีประสิทธิภาพอันเกิดจากระบบสาธารณสุขมูลฐานและ อสม.
แต่ในทางตรงข้าม การที่ลักษณะที่อยู่อาศัยของคนเมืองแตกต่างจากชนบท ไม่ว่าจะเป็นชุมชนแออัด คอนโดมิเนียม ตลาดสด สถานบันเทิง ล้วนส่งผลให้การควบคุมการระบาดโควิด-19 ทำได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดตามตรวจสอบผู้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่กระจัดกระจายอยู่ในวงกว้างทั่วทั้งกรุงเทพฯ
ความเสี่ยงที่ตามมาคือ ผู้ติดเชื้อจำนวนมากที่ไม่แสดงอาการกลายเป็นพาหะของโควิด-19
ยิ่งกว่านั้นคนหนุ่มสาวในเมืองมีแนวโน้มการเดินทางและเคลื่อนย้ายสูง ทุกครั้งที่คนเหล่านี้เดินทางกลับภูมิลำเนาในต่างจังหวัด หรือไปเที่ยว ก็จะเป็นพาหะพาเชื้อไวรัสไปติดสมาชิกครอบครัวและญาติพี่น้องในต่างจังหวัด เหมือนกับการระบาดไวรัสที่เกิดขึ้นในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา
ดังนั้น รัฐบาลจึงจำเป็นจะต้องมี “นวัตกรรมเสาะหาตัวผู้ติดเชื้อเชิงรุก” เพื่อตัดโอกาสที่จะเกิดการระบาดโควิด-19 รอบใหม่
ประสบการณ์การทำงานด้านการเสาะหาตัวผู้ติดเชื้อเชิงรุกของแพทย์ชนบทในหลายจังหวัด อาทิ จังหวัดสงขลา จังหวัดน่าน และจังหวัดสมุทรสาคร ชี้ให้เห็นว่า ทางแก้ไขที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล คือการระดมสรรพกำลังบุคลาการทางการแพทย์จากจังหวัดหรืออำเภอที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนน้อยหรือไม่มีการระบาดของโควิด-19 มาช่วยทำงานด้านการเสาะหาตัวผู้ติดเชื้อเชิงรุกในกรุงเทพฯ หรือเมืองที่มีการระบาดใหญ่
โดยการแบ่งบุคลากรเหล่านี้ออกเป็นกลุ่มอย่างน้อย 200 กลุ่ม เพื่อสอบสวนผู้ติดเชื้อและประวัติการติดต่อสัมผัสกับผู้ใกล้ชิด จากนั้นจึงแยกย้ายกันติดตามตัวผู้มีประวัติใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อมาตรวจสอบ กักตัว รวมทั้งฉีดวัคซีน
นอกจากนั้นรัฐบาลจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่การสอบสวนโรคอย่างทันการณ์เมื่อสถานการณ์การระบาดเปลี่ยนแปลงไป
หากรัฐบาลสามารถเร่งดำเนินการดังที่เสนอ นอกจากเราจะสามารถลดจำนวนผู้ติดเชื้อได้ภายในเวลาหนึ่งถึงสองเดือนแล้ว ยังจะเป็นการป้องกันมิให้เกิดการระบาดระลอกใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ.
(พรุ่งนี้: ต้องแยกผู้ป่วยผู้ติดเชื้อออกจากครอบครัว)
27 ก.ค.63- นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC ว่าข้อมูลใหม่ ความรุนแรงของโรคไวรัสโควิด-19 ขึ้นกับปริมาณของอนุภาคเชื้อไวรัสที่หายใจเข้าไป การใส่หน้ากากอนามัยช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ถึงจะไม่ 100% ก็ยังช่วยลดปริมาณของเชื้อโรค ทำให้ความรุนแรงของโรคลดลง
ปริมาณของเชื้อไวรัสเป็นตัวกำหนด คนรับเชื้อจะป่วยน้อยหรือป่วยหนัก การใส่หน้ากากอนามัยช่วยลดการหายใจปริมาณของเชื้อไวรัสที่เกาะอยู่บนละอองฝอย จึงช่วยป้องกันการติดเชื้อ และลดความรุนแรงของโรคได้
มีการทดลองในคน โดยใช้เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่พบว่า คนที่ได้รับเชื้อปริมาณมาก จะป่วยมากกว่าคนที่รับเชื้อปริมาณน้อย
ในสัตว์ทดลองหนูแฮมสเตอร์ hamster พบว่าการใช้หน้ากากกั้นระหว่างกรงสามารถลดการป่วยของหนูจากโรคไวรัสโควิด-19 และถึงป่วยก็ไม่ป่วยรุนแรง
หน้ากาก N95 กรองเชื้อไวรัสได้ 90-95% หน้ากากผ้า/หน้ากากอนามัยกรองได้ 65-85% ถ้าทุกคนใส่ หน้ากากช่วยลดปริมาณเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เกาะบนละอองฝอย กระจายออกมาในอากาศ และหายใจเอาเชื้อเข้าไป (ดูรูป)
องค์การอนามัยโลกเพิ่งจะประกาศว่าทุกคนควรใส่หน้ากากอนามัยเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ตั้งแต่คนทั่วโลกใส่หน้ากากอนามัยมากขึ้น คนติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ไม่มีอาการ พบเพิ่มขึ้นถึงประมาณร้อยละ 40 และอัตราการเสียชีวิตลดลง ถ้าคนทั่วโลกใส่หน้ากากมากกว่าร้อยละ 80 การระบาดของโรคอาจจะเริ่มลดลงภายในเวลา 2 เดือน
คนไทยให้ความร่วมมือใส่หน้ากากตั้งแต่เดือนมีนาคม ก่อนหน้าองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ทุกคนใส่ ขอให้คนไทยทุกคนใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าต่อไป เวลาออกไปในที่สาธารณะ มีคนรวมตัวกันมาก ในที่ปิด อากาศถ่ายเทไม่ดี ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เวลาพูด ไอ จาม ร้องเพลง เราใส่หน้ากากเพื่อเขา เขาใส่เพื่อเรา ทุกคนจะปลอดภัยจากการติดเชื้อ ถึงป่วยก็จะไม่ป่วยรุนแรง.
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/
เนื้อหาต้นฉบับ https://www.thaipost.net/main/detail/72600
เมื่อเร็วๆ นี้มีการประชุมระดมความคิดเห็นระหว่างกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ป้องกันและระบาดวิทยาที่มีประสบการณ์ปฏิบัติงานทั้งในเขตเมืองและชนบท
เป็นการระดมความเห็นเพื่อหาแนวทางควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อให้ลดลงสู่ระดับที่ระบบสาธารณสุขสามารถบริหารจัดการได้
โดยไม่ส่งผลเสียหายรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจ ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืน และสามารถดำเนินกิจกรรมด้านสังคมได้ตามสภาวะใกล้เคียงกับปกติ
ผู้เข้าร่วมการระดมความเห็นมีดังนี้
ด้านสาธารณสุขและการแพทย์
นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์, นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์, ผศ.ดร.นพ.บวรศม ลีระพันธ์, นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์, นพ.ประสิทธิ์ชัย มั่งจิตร, นพ.สุวัฒน์ วิริยะพงษ์สุกิจ, นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ
ด้านวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร, ดร.สมชัย จิตสุชน, ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง, ดร.เสาวรัจ รัตนคำฟู, นายกัมพล ปั้นตะกั่ว, น.ส.ชวัลรัตน์ บูรณะกิจ, น.ส.อุไรรัตน์ จันทรศิริ
สรุปข้อเสนอสำคัญ 4 เรื่องเพื่อการพิจารณาของสาธารณะ
1.มาตรการเร่งด่วนเพื่อจำกัดวงของการแพร่ระบาดโควิด-19 โดยเน้นการแก้ไขสถานการณ์ระบาดที่เข้าสู่ครอบครัวและชุมชนอย่างเต็มตัวใน กทม.และปริมณฑล
มีข้อเสนอ 4 ประการ ดังนี้
1.1 นวัตกรรมเสาะหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในเขตเมือง โดยเร่งดำเนินการจัดตั้งทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเสริมเพิ่มเติมอย่างน้อย 200 ทีม
เนื่องจากการระบาดรอบนี้เป็นเชื้อโควิดสายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7 ที่แพร่ระบาดได้รวดเร็วและรุนแรงต่อชีวิตมากกว่าเดิม เราจึงเห็นการระบาดที่ต่อเนื่องแม้จะปิดสถานบันเทิงหมดแล้ว เพราะเมื่อมีผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วยหนึ่งคนจะทำให้สมาชิกส่วนใหญ่หรือทุกคนในครอบครัวและเพื่อนร่วมงานติดเชื้อไปด้วย
ในขณะนี้การระบาดกว่าร้อยละ 80-90 จึงเกิดจากการแพร่เชื้อจากผู้ติดเชื้อไปยังสมาชิกในครอบครัว ญาติมิตร และผู้ร่วมงาน
สภาพการณ์ดังกล่าวเป็นการกระจายของเชื้อโรคในวงกว้าง (Wide Community Spreading) ทำให้ทีมสอบสวนโรคที่มีอยู่ไม่เพียงพอจะรับมือ
รัฐบาลจึงต้องมี “นวัตกรรมเสาะหาตัวผู้ติดเชื้อเชิงรุก (Active Case Finding Innovations)”
โดยเร่งดำเนินการจัดตั้งทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเสริมเพิ่มเติมอย่างน้อย 200 ทีม เพื่อเอกซเรย์ชุมชนและควบคุมการแพร่เชื้อด้วยหลักการสอบสวนโรค การตรวจเชื้อ และการกักแยกโรค (TTI หรือ Trace, Test, Isolation)
และมีระบบที่ชักชวนให้ผู้มีอาการหรือสงสัยตนเองให้มาตรวจได้สะดวกรวดเร็ว เพิ่มจุดการตรวจในชุมชนแออัดต่างๆ และพื้นที่เสี่ยง โดยให้ประชาชนได้รับข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับจุดบริการตรวจเหล่านั้น
เหตุผลที่ต้องมีทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเพิ่มเติม ก็เพราะการติดตามผู้มีความเสี่ยงติดเชื้อในเขตเมืองมีความยุ่งยากมากกว่าในชนบท
ในเขตเมืองไม่มีระบบสาธารณสุขมูลฐาน (Primary Health Care) ดังที่มีอยู่ในชนบท
และชุมชนเมืองหลายแห่งมีลักษณะความเป็นอยู่แบบชุมชนแออัด ทำให้ชุมชนเมืองมีโอกาสสูงที่จะเกิดการระบาดระลอกใหม่ ดังที่เกิดแล้วในอำเภอเมืองสมุทรสาครในระลอกสอง และในชุมชนคลองเตยของ กทม.ในระลอกสาม
ขณะที่พื้นที่ชนบทมีระบบสาธารณสุขมูลฐานที่เข้มแข็ง และมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) นับล้านคนที่เป็นกำลังสำคัญ
ทำให้ไทยสามารถควบคุมการระบาดของโรคต่างๆ ในอดีต รวมทั้งการระบาดของโควิดในรอบแรกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อมูลจากแพทย์ชนบทยืนยันว่า ประเทศไทยสามารถควบคุมการระบาดและลดจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในชนบทได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว ก็เนื่องจากความสามารถในจัดการเรื่อง TTI ได้อย่างมีประสิทธิภาพอันเกิดจากระบบสาธารณสุขมูลฐานและ อสม.
แต่ในทางตรงข้าม การที่ลักษณะที่อยู่อาศัยของคนเมืองแตกต่างจากชนบท ไม่ว่าจะเป็นชุมชนแออัด คอนโดมิเนียม ตลาดสด สถานบันเทิง ล้วนส่งผลให้การควบคุมการระบาดโควิด-19 ทำได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดตามตรวจสอบผู้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่กระจัดกระจายอยู่ในวงกว้างทั่วทั้งกรุงเทพฯ
ความเสี่ยงที่ตามมาคือ ผู้ติดเชื้อจำนวนมากที่ไม่แสดงอาการกลายเป็นพาหะของโควิด-19
ยิ่งกว่านั้นคนหนุ่มสาวในเมืองมีแนวโน้มการเดินทางและเคลื่อนย้ายสูง ทุกครั้งที่คนเหล่านี้เดินทางกลับภูมิลำเนาในต่างจังหวัด หรือไปเที่ยว ก็จะเป็นพาหะพาเชื้อไวรัสไปติดสมาชิกครอบครัวและญาติพี่น้องในต่างจังหวัด เหมือนกับการระบาดไวรัสที่เกิดขึ้นในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา
ดังนั้น รัฐบาลจึงจำเป็นจะต้องมี “นวัตกรรมเสาะหาตัวผู้ติดเชื้อเชิงรุก” เพื่อตัดโอกาสที่จะเกิดการระบาดโควิด-19 รอบใหม่
ประสบการณ์การทำงานด้านการเสาะหาตัวผู้ติดเชื้อเชิงรุกของแพทย์ชนบทในหลายจังหวัด อาทิ จังหวัดสงขลา จังหวัดน่าน และจังหวัดสมุทรสาคร ชี้ให้เห็นว่า ทางแก้ไขที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล คือการระดมสรรพกำลังบุคลาการทางการแพทย์จากจังหวัดหรืออำเภอที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนน้อยหรือไม่มีการระบาดของโควิด-19 มาช่วยทำงานด้านการเสาะหาตัวผู้ติดเชื้อเชิงรุกในกรุงเทพฯ หรือเมืองที่มีการระบาดใหญ่
โดยการแบ่งบุคลากรเหล่านี้ออกเป็นกลุ่มอย่างน้อย 200 กลุ่ม เพื่อสอบสวนผู้ติดเชื้อและประวัติการติดต่อสัมผัสกับผู้ใกล้ชิด จากนั้นจึงแยกย้ายกันติดตามตัวผู้มีประวัติใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อมาตรวจสอบ กักตัว รวมทั้งฉีดวัคซีน
นอกจากนั้นรัฐบาลจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่การสอบสวนโรคอย่างทันการณ์เมื่อสถานการณ์การระบาดเปลี่ยนแปลงไป
หากรัฐบาลสามารถเร่งดำเนินการดังที่เสนอ นอกจากเราจะสามารถลดจำนวนผู้ติดเชื้อได้ภายในเวลาหนึ่งถึงสองเดือนแล้ว ยังจะเป็นการป้องกันมิให้เกิดการระบาดระลอกใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ.
(พรุ่งนี้: ต้องแยกผู้ป่วยผู้ติดเชื้อออกจากครอบครัว)
ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/main/detail/102438
หน้าที่ 55 จาก 147