ด้วยเครื่องวัดระดับน้ำตาล ผ่านลมหายใจ! ไม่ต้องแทงนิ้ว!!
.
James Dyson Award คือรางวัลที่ก่อตั้งขึ้นโดย Jame Dyson เจ้าของพัดลม Dyson ไร้ใบพัด และเครื่องดูดฝุ่นทรงประสิทธิภาพอันเลื่องชื่อที่เราต่างคุ้นเคย เพื่อเฟ้นหานักประดิษฐ์ที่จะมาสร้างสรรค์โลกให้ดีกว่าเดิม
.
ซึ่งเมื่อปี 2020 ที่ผ่านมา รางวัลชนะเลิศในรายการ US National ก็ตกเป็นของคุณภูมิ ธิปก ชลสายพันธ์ หรือ Thipok Cholsaipant กับเครื่อง " AeroLyze" ของเขานั่นเอง
.
Glucometer คือเครื่องวัดระดับน้ำตาลจากเลือดที่ปลายนิ้ว ซึ่งเครื่องวัดระดับน้ำตาลส่วนใหญ่ต้องการให้ผู้ป่วยแทงนิ้วเพื่ออ่านค่าระดับน้ำตาลในเลือด จึงอาจเกิดอาการเจ็บบริเวณที่ถูกเข็มทิ่มลงไปที่นิ้วเนื่องจากเป็นผิวหนังที่ไวต่อความรู้สึกมาก ขณะที่เครื่องวัดกลูโคสบางตัวยอมให้ผู้ป่วยแทงเข็มลงไปยังส่วนอื่นของร่างกายแทนได้ และแน่นอนว่าการแทงนิ้วเพื่อวัดระดับน้ำตาลในทุก ๆ วันของผู้ป่วยเบาหวานย่อมไม่ใช่เรื่องสนุก
.
Aerolyze จึงถูกคิดขึ้นมาเพื่อช่วยให้การวัดระดับน้ำตาลง่ายขึ้น ด้วยการวัดผ่านลมหายใจแทนนอกจากขั้นตอนในการใช้งานจะดูเป็นมิตรกว่าแบบแทงเข็มแล้ว การออกแบบยังดูดีสามารถพกพาเท่ ๆสำหรับไช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย
.
หลักการทำงานของเครื่อง Aerolyze ก็คือการตรวจจับ Acetone ในลมหายที่เป่าเข้าไปเครื่อง Acetone ยิ่งสูงนั่นหมายถึง Glucose ในเลือดยิ่งสูงตามไปด้วย และด้วยหลักการนี้ Ai ในมือถือจะทำงานประสานกับเครื่องเพื่อรายงานผลและความเสี่ยงของโรคเบาหวานให้แก่ผู้ใช้
.
ถ้าใครมีญาติ หรือรู้จักคนที่เป็นผู้ป่วยเบาหวานจะเห็นว่า การตรวจระดับน้ำตาลนั้นต้องทำแทบทุกวัน (บางรายอาจมีความถี่ถึงวันละ 4-5 ครั้ง เมื่อรู้สึกป่วย) ดังนั้นน่าจะดีกว่าหากได้พกพาเจ้า AeroLyze ไว้คู่กาย เพราะใช้งานง่ายและเหมาะมาก ๆ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง!
.
ตัวอย่างในสหรัฐอเมริกา พบว่าผู้คนถึง 1 ใน 3 เป็นกลุ่มเสี่ยงต่ออาการเบาหวาน และนั่นทำให Aerolyze จะมีส่วนช่วยได้อย่างมากในการป้องกันการเกิดผู้ป่วยเบาหวานขึ้นในอนาคต ด้วยเหตุนี้เอง ผลงานของธิปก จึงได้รับรางวัลชนะเลิศจาก US National James Dyson Award prize ซึ่งมีมูลค่าถึง $2,500 พร้อมจดสิทธิบัตร และขยายผลไปเป็นผลงานจริงต่อไปในเร็ววัน
.
แท้จริงแล้วเบื้องหลังผลงาน Aerolyze นั้นคือการผสานเทคโนโลยีเข้ากับปัญหาในขั้นตอนการรักษาที่เป็นปัญหาเชิงพฤติกรรม ผ่านการออกแบบที่เป็นมิตรทั้งภาพลักษณ์และการใช้งาน ซึ่งจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากผู้ออกแบบไม่เห็นภาพเป็นองค์รวมระหว่าง Tech+Design และบูรณาการสิ่งเหล่านั้นเข้าด้วยกัน
.
และนี่ก็คือผลงานของคนรุ่นใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น ในอนาคตอันใกล้นั้นการผสานกันของเทคโนโลยีและการออกแบบจะนำพาเราทุกคนไปสู่โลกที่ดีกว่าได้อย่างไม่น่าเชื่อ และคนรุ่นใหม่เหล่านี้ ก็ทำได้ดีอย่างเหลือเชื่อเลยเชียวละ
.
ข้อมูล : FabCafe Bangkok
ออกแบบโดย : Thipok Cholsaipant https://thipok.ch/aerolyze
เรียบเรียง : Wuthikorn Sut

คลัสเตอร์รถขายลูกชิ้น ติดเชื้อแล้ว 23 ราย ขี่ตระเวนขายทั่ว เร่งตามหาลูกค้าตรวจเชื้อ

 

โคราชส่อวุ่น คลัสเตอร์รถขายลูกชิ้น พบติดเชื้อแล้ว 23 ราย หลังพ่อค้าติดโควิดตระเวนขายทั่วทั้ง ต.ดอนชมพู อ.โนนสูง เร่งตามหาลูกค้าตรวจเชื้อ

 

วันที่ 11 ส.ค. 64 ที่ห้องประชุมสำนักงานการกีฬาและท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา ศูนย์บัญชาเหตุการณ์ตอบโต้โรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จ.นครราชสีมา แพทย์หญิงอารีย์ เชื้อเดช รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) นครราชสีมา เปิดเผยสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่ 32 อำเภอ ของ จ.นครราชสีมา

พบผู้ป่วยรายใหม่ 562 ราย สอบสวนโรคเป็นผู้ป่วยเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง 252 ราย เป็นผู้ป่วยเดินทางมารักษา 65 ราย และการสัมผัสผู้ป่วย 245 ราย ยอดรวมผู้ป่วยสะสม 11,965 ราย รักษาหาย 5,394 ราย ยังรักษาอยู่ 6,479 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 6 ราย เสียชีวิตสะสม 92 ราย

  

ทั้งนี้ได้เฝ้าระวังคลัสเตอร์รถเร่ขายลูกชิ้น ต.ดอนชมพู อ.โนนสูง เนื่องจากผู้ป่วยขับรถตระเวนขายในหลายพื้นที่ ไทม์ไลน์ วันที่ 25 ก.ค. ลูกชายอายุ 15 ปี ภูมิลำเนาบ้านส้ม หมู่ 2 ต.ดอนชมพู อ.โนนสูง มีอาการไข้หนาวสั่น เดินทางไปรักษาที่โรงพยาบาลโนนสูง ผลตรวจติดเชื้อได้นำส่งต่อ รพ.มหาราช นครราชสีมา

จากนั้นได้ตรวจหาเชื้อกลุ่มเสี่ยงที่มีกิจกรรมทางสังคมร่วมกัน พบบุคคลในครอบและเครือญาติทั้งยาย พี่สาว น้าเขย น้าสาว ลูกพี่ลูกน้อง ฯ ติดเชื้อ 8 ราย ขยายไปวง 2 ซึ่งเป็นกลุ่มเพื่อนที่มีประวัติเกี่ยวข้องไปมาหาสู่กัน ประกอบด้วยครอบครัวรับจ้างเสียบลูกชิ้น 4 ราย ครอบครัวบ้านจอก หมู่ 11 ต.ดอนชมพู 6 ราย

ล่าสุดพบเพิ่ม 3 ราย และขยายสู่วง 3 เป็นเด็กชายอายุ 12 ปี ประวัติเล่นเกมส์และเตะฟุตบอลด้วยกัน รวมสะสม 23 ราย จากการสอบสวนโรคได้ค้นหากลุ่มเสี่ยงที่เป็นลูกค้าซื้อลูกชิ้นมาตรวจคัดกรอง ขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลยืนยัน

ข้อมูลจาก https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_6558606

 

รัฐบาลฝรั่งเศสเปิดเผยว่า คลื่นการระบาดของโควิด-19 ลูกที่ 5 ของประเทศกำลังทำให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในระดับที่น่าตกใจ โดยยอดเฉลี่ยผู้ติดเชื้อรายใหม่พุ่งเกินวันละ 17,000 รายในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

รายงานเอเอฟพีอ้างข้อมูลของหน่วยงานด้านสาธารณสุขของฝรั่งเศสเมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน 2564 ว่าจำนวนเฉลี่ยการติดเชื้อรายใหม่ในรอบ 7 วันของฝรั่งเศส อยู่ที่ 17,153 คนเมื่อวันเสาร์ เพิ่มขึ้นจากยอดเฉลี่ยวันละ 9,458 คนเมื่อ 1 สัปดาห์ก่อนหน้านี้ หรือเพิ่มขึ้นถึง 81%

กาเบรียล อัตตาล โฆษกรัฐบาลฝรั่งเศส กล่าวว่า คลื่นลูกที่ 5 เริ่มต้นด้วยความเร็วปานสายฟ้า

จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในช่วง 7 วันล่าสุด มากกว่าอัตราเฉลี่ยของ 3 สัปดาห์ก่อนหน้านั้นถึง 3 เท่า บ่งชี้ว่าการติดเชื้อเพิ่มเร็วขึ้นเป็นทวีคูณ แต่ถึงขณะนี้การติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นยังไม่ก่อภาวะที่ผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นขนานใหญ่ โดยเจ้าหน้าที่ระบุว่า น่าจะเป็นปัจจัยจากอัตราการฉีดวัคซีนของประเทศอยู่ในระดับสูง ที่ป้องกันโควิดในรูปแบบอันตรายที่สุดได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก

เมื่อวันเสาร์ โรงพยาบาลรายงานว่า มีผู้ป่วยโควิดรักษาอยู่ 7,974 ราย ในจำนวนนี้ 1,333 รายอยู่ในแผนกผู้ป่วยหนัก เพิ่มขึ้นไม่มากเมื่อเทียบกับของ 1 เดือนก่อนหน้านั้น ที่มีผู้ป่วย 6,500 ราย และป่วยหนัก 1,000 ราย

ทางการฝรั่งเศสเริ่มใช้บัตรผ่านสุขภาพก่อนประเทศอื่นๆ ตั้งแต่ฤดูร้อนที่ผ่านมา สำหรับการใช้บริการภัตตาคาร ร้านกาแฟ และสถานที่ด้านวัฒนธรรมหลายแห่ง ซึ่งโฆษกรัฐบาลกล่าวว่าช่วยในการควบคุมไวรัสได้

บัตรผ่านนี้ออกให้กับผู้ที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว, ผู้ที่เพิ่งหายจากโควิด หรือผู้ที่ผลตรวจไวรัสเป็นลบ อัตตาลกล่าวด้วยว่า รัฐบาลฝรั่งเศสยังคงยืนหยัดทางเลือกนี้ เพื่อให้ผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนต้องแบกรับข้อจำกัดเหล่านี้ แทนที่จะเป็นผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว

ถึงขณะนี้ ฝรั่งเศสมีผู้ติดเชื้อโควิดสะสมมากกว่า 7.3 ล้านคน เสียชีวิตเกิน 118,000 คน.

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/abroad-news/30085/

 

 

คลายข้อสงสัย กินอาหารเวฟบ่อยๆเสี่ยงหรือไม่

ใครสงสัย วันนี้มีคำตอบ สำหรับกินอาหารเวฟบ่อยๆเสี่ยงหรือไม่
 

หลายคนอาจสงสัยถ้าเรากินอาหารเข้าเวฟมากเกินไป จะเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ ทางด้านเพจ มูลนิธิหมอชาวบ้าน ได้ไขข้อสงสัยสำหรับเรื่องนี้ โดยระบุข้อความว่า ด้วยรูปแบบชีวิตทันสมัยของคนรุ่นใหม่ อะไรๆ ก็เร่งรีบสะดวกรวดเร็วไปเสียหมด ไม่เว้นแม้แต่การรับประทานอาหารคนส่วนใหญ่ก็ยังนิยมบริโภคเป็น “อาหารจานด่วน” ที่สะดวกเหมาะสมกับชั่วโมงเร่งรีบ ทำให้อาหารเวฟ หรืออาหารที่ต้องทำการอุ่นจากไมโครเวฟนับว่าเป็นอะไรที่ตอบโจทย์ได้ตรงความต้องการของคนที่มีเวลาน้อย แต่ทั้งนี้คำถามที่มีจึงมีอยู่ว่าเมื่อเราจะต้องบริโภคอาหารที่อุ่นจากไมโครเวฟบ่อยๆ แล้ว จะเสี่ยงอันตรายจริงหรือไม่?
 

อาหารที่อุ่นจากเตาไมโครเวฟ เป็นอาหารที่เก็บเหลือจากวันก่อน หรือมักจะเป็นอาหารจำพวกแช่แข็งที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อ และเราก็มักจะนำมาอุ่นในไมโครเวฟอีกครั้งก่อนรับประทาน ซึ่งทั้งนี้ความอันตรายนั้นเกิดจากการเก็บรักษาของอาหารชนิดนั้น เนื่องจากอาหารแช่แข็งเป็นการแช่เย็นจัดทำให้เชื้อโรคไม่เจริญเติบโตถ้าการเก็บหรือการเคลื่อนย้ายไม่ถูกวิธีอุณหภูมิไม่ถูกต้องก็จะทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตขึ้นและเป็นอันตรายได้
หากอาหารได้รับการเก็บรักษาอย่างถูกต้องแล้วการอุ่นด้วยไมโครเวฟนั้นจะทำให้อนุภาคของน้ำในอาหาร เกิดการสั่นสะเทือนขึ้น เกิดเป็นความร้อนและเดือดขึ้นมาไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอาหาร ไม่ได้มีสารพิษอะไร และตัวคลื่นไม่โครเวฟ ไม่ได้เป็นรังสีใดๆ  ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย ยกเว้นว่าไม่ควรเข้าไปมองอาหารในไมโครเวฟ หรืออยู่ในระยะใกล้ชิดเกินไปนัก 

 

ขอบคุณ มูลนิธิหมอชาวบ้าน

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/regional/455522?adz=

 

จากอาจารย์
นิธิ มหานนท์ :

ความจริง
ที่ไม่เหมือนเดิม

วันก่อนคุยกับลูกชายเรื่องโควิด 19 เขามีเพื่อนที่ทำธุรกิจถามมาว่าเมื่อไหร่ถึงจะกลับไปทำธุรกิจได้เหมือนก่อนที่จะมีโรคระบาดนี้มา

ผมค่อยๆอธิบายไป พอจบลูกชาย บอกว่าให้รีบเขียนและโพสต์ทันทีเพราะทุกคนควรเข้าใจด้วย 😬😬

😬😬 ก่อนหน้านี้ คิดจะเขียนเรื่องนี้มาสักสองสามอาทิตย์แล้ว แต่กลัวคนตื่นเต้นกันเกินเหตุเลยไม่ได้เล่าสู่กันฟังตั้งแต่ตอนนั้น
😊😊😊😊

ไวรัสชนิดนี้
เป็น RNA virus ครับ

เป็นกลุ่มที่หวังพึ่งวัคซีนไม่ได้มาก ที่เป็นข่าวกันให้ตื่นเต้นติดตามกันใกล้ชิด

ส่วนหนึ่งมาจาก
บริษัทยา
ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องการเมือง

โหมข่าวเรื่องวัคซีนกันไปเพื่อหวังผลในสิ่งที่ตัวเองจะได้ประโยชน์ 😢😢😢

ไวรัสประเภทนี้กลายพันธุ์ง่ายกว่าไวรัสประเภทอื่น
(ถ้ามนุษยชาติโชคดีมันก็จะกลายพันธุ์ไปเป็นชนิดว่านอนสอนง่าย แต่ถ้าโชคไม่ดีนักมันก็กลายพันธุ์เป็นดุขึ้นท้าทายวงการแพทย์และวิทยาศาสตร์ต่อไป) มันเป็นประเภทเดียวกับไข้หวัดธรรมดา ที่ทุกคนเคยเป็นกันอยู่ตลอดปีตลอดชาติบ่อยบ้างห่างบ้าง ลองคิดง่ายๆครับว่า ถ้าทำวัคซีนได้ง่ายๆ ทำไมเราจึงไม่เคยมีวัคซีนป้องกันหวัดธรรมดา
และที่เป็นข่าวทำๆ กันอยู่ทดลองวัคซีนสำหรับโควิด 19 ตอนนี้ ไม่ว่าจะประเทศไหนบริษัทใด อย่างเก่งแค่ตรวจดูได้หลังฉีดว่ามีภูมิคุ้มกันขึ้นไหม แต่ไม่เคยมีการออกแบบวิจัยให้เห็นผลในสัตว์ว่าวัคซีนจะป้องกันการติดเชื้อได้หรือไม่
(ยิ่งในคนไม่ต้องพูดถึงเลยถึงจะมีการลองใช้ในคนแล้วก็ตาม)

อันนี้ต้องเข้าใจว่า การมีภูมิคุ้มกันไม่ได้หมายความว่าจะป้องกันติดโรคได้ ยังยาวนานอีกหลายปี และถึงแม้จะพิสูจน์ได้ว่าป้องกันการติดเชื้อได้ แต่จะป้องกันไปได้นานแค่ไหนก็ยังไม่มีใครรู้😱😱😱😱😱
(เรากำลังเร่งขบวนการผลิตวัคซีนเพื่อป้องกันโรคที่ปกติต้องใช้เวลา 5-6 ปี ให้สั้นเหลือไม่กี่เดือน!!!มันจะเป็นไปได้อย่างไร)

และยิ่งไปกว่านั้น ลองคิดดูว่าวัคซีนจะให้ดีแค่ไหนก็ป้องกันโรคได้ไม่เกิน 90% ป้องกันได้นานแค่ไหนก็ยังไม่รู้
ถ้ามีคนจะเดินทางเข้ามาเมืองไทย 100 คนฉีดวัคซีนทุกคน จะรู้ได้อย่างไรว่าใครอยู่กลุ่ม 90 คนที่ป้องกันโรคได้แล้ว ไม่ใช่ อีก 10 คนที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน 😓😓😓😓ยังไงๆก็ต้องมีการควบคุมดูแลในที่เฉพาะ 14 วัน(ซึ่งก็ไม่ได้การันตี100%)อยู่ดี การเดินทางไปมาหาสู่กันคงยากลำบากไม่อีกพัก จนกว่าเรามีการตรวจหาเชื้อในตัวคนได้ “เร็ว” “ไว (sensitive)สูง” และได้ทันทีที่คนได้รับเชื้อก่อนที่คนๆนั้นจะแสดงอาการ ที่สำคัญการตรวจนี้ต้องราคาถูก คนทั่วไปทำได้เอง ซึ่งผมคาดว่าอีกไม่นานน่าจะมีทางเป็นไปได้ และเมื่อร่วมกับยาต้านไวรัสที่ดี......ก็ Happy ending ครับ😊😊😊😊

ดังนั้นเราต้องอยู่กันแบบนี้ไปอีกระยะหนึ่ง ผมคิดว่าน่าจะ 5-6 ปี และในช่วงจากนี้ไปสถานการณ์คงค่อยๆปรับตัวดีขึ้น แต่คนที่หวังว่าทุกอย่างธุรกิจต่างๆจะกลับไปเหมือนเดิมอีกครึ่งปีหรือหนึ่งปีเพราะจะมีวัคซีนนั้น คงต้องเปลี่ยนความคิด ทุกคนทุกภาคส่วนต้องรีบออกแบบปรับรูปแบบธุรกิจ (business model) การทำมาหากินกันใหม่ล่ะครับ ตัวอย่างเช่นธุรกิจที่ต้องพึ่งพาอาศัย”คน”ต่างชาติและการท่องเที่ยวเดินทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่เป็นสถานที่ที่มีความเสี่ยงหรือพฤติกรรมทั้งการบ้านการเมืองที่มีความเสี่ยงในการแพร่กระจายโรค ต้องปรับคิดใหม่ทำใหม่อาศัยเทคโนโลยีใหม่ๆมาช่วยจะดีกว่าที่จะเป็นจุดบาปจุดแพร่กระจายการระบาดแบบ super spreader ให้ประเทศเรา 🙏🙏🙏

ที่ผมว่าสถานการณ์อาจค่อยๆดีขึ้น เพราะความรู้ใหม่ๆเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เช่นเรื่องการดูแลรักษาพยาบาลที่เคยเล่าไปแล้ว ผมคาดว่าอีกไม่นานคงมียาต้านไวรัสเฉพาะชนิดนี้ออกมา และที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้เราอยู่กับเจ้าเชื้อโรคตัวน้อยนิด 🦠 🦠 🦠 ตัวนี้ได้อย่างสบายๆ และอย่ากล่าวข้างต้นก็คือเราต้องมีวิธีตรวจที่ง่าย รู้ผลเร็ว ราคาถูก มีแพร่หลาย และคนทั่วไปสามารถทำเองได้เหมือนเทสต์ตรวจว่าผู้หญิงตั้งครรภ์หรือไม่น่ะครับ ถ้ามีการตรวจที่ไว (sensitive)มากกว่านี้ ใกล้ๆ 100% เมื่อคนๆหนึ่งได้รับเชื้อ เชื้อมันเข้าทางทางเดินหายใจ เราตรวจพบทันทีในวันที่ได้รับเชื้อ เมื่อรู้ผล ถ้ามียาก็ใช้ยาทันทีไม่ต้องรอให้มีอาการ(หรือปล่อยให้ไม่มีอาการแต่แพร่เชื้อได้) ถ้ายังไม่มียาก็กักกันตัวเองไม่ไปแพร่ให้คนรอบตัวที่เรารัก หรือแพร่ทำกรรมให้คนอื่นๆที่ไม่รู้จัก😉😉😉

และในขณะที่สิ่งต่างๆที่จะช่วยให้เราอยู่กับเจ้าโควิดได้ กำลังค่อยทะยอยเกิดขึ้นมานั้นสิ่งที่ควรทำและพึ่งได้ดีที่สุดคือการป้องกันด้วยการ”อยู่อย่างสะอาด” และ”เลี่ยงที่อโคจร” ที่อโคจรหมายถึงที่ที่มีคนแออัด และอากาศไม่ถ่ายเท เช่นผับ บาร์ อาคารปรับอากาศ อยู่อย่างสะอาดคือการล้างมือให้บ่อย ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร ไม่ใช้มือจับอาหารเข้าปาก ใส่หน้ากากอนามัย เมื่อไปที่ชุมชนกลับเข้าบ้านก็อาบน้ำสระผมเปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนอื่น เป็นต้น 😷 😷 😷

การระบาดของโรคโรคใดโรคหนึ่งนั้นไม่ใช่แค่เรื่องทางการแพทย์เท่านั้นพฤติกรรมมนุษย์ในสังคมเป็นหลักที่สำคัญมาก การจะคุมการระบาดใดๆนั้นต้องอาศัยความร่วมมือและความพอดีของทางวิทยาศาสตร์และมนุษย์วิทยา ทั้งจากประชาชนและภาครัฐด้วย ถ้าเศรษฐกิจแย่สุขภาพคนในสังคมก็แย่ภูมิต้านทานทั้งคนและสังคมต่ำก็เกิดโรคระบาดได้เป็นวงกว้าง เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีคนเป็นโรคหลุดรั่วเข้าไปในสังคมประเทศไทย ไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม (แม้แต่ในเวียดนามขณะนี้ที่ไม่มีคนติดเชื้อในประเทศเกือบร้อยวันอยู่ๆก็มีคนติดเชื้อและยังหาไม่ได้แน่ชัดว่าคนที่ตั้งต้นแพร่ระลอกสองนั้นรับเชื้อมาจากไหน...คือโรคมันอาจจะหลบอยู่แล้วรอวันดีคืนร้ายเจอจุดอ่อนแอค่อยแสดงตัว😬😬😬😬) แต่ถ้าคนส่วนใหญ่ในสังคมยังประพฤติด้วยความเข้าใจในความจำเป็นมีวินัยในการใส่หน้ากากอนามัย ในการรักษาระยะห่าง ในการรักษาความสะอาดแล้วโอกาสแพร่กระจายกันอย่างมากและกว้างขวางก็จะไม่เกิดขึ้นครับ

นิธิ มหานนท์ 10 สิงหาคม 2563

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ