กรมควบคุมโรค เปิดทุกข้อสงสัย ผู้ติดเชื้อโควิด BA.4 – BA.5 เพิ่มขึ้น ย้ำไม่ใช่ระลอกใหม่ ให้เรียกว่า “ระบาดเวฟเล็ก” ขอให้มั่นใจระบบสาธารณสุขยังรับได้

วันที่ 5 กรกฏาคม 2565 นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่พบว่ามีการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าจะเป็นการระบาดระลอกใหม่นั้น คงไม่นับว่าเป็นการระบาดระลอกใหม่ เพราะลักษณะการระบาดขณะนี้จะเกิดเป็นครั้งๆ แล้วแต่สายพันธุ์ที่เปลี่ยนไป

 

โดยเฉพาะสายพันธุ์ย่อยโอมิครอน BA.4 และ BA.5 ที่พบว่ามีการติดเชื้อได้เร็วจริง แต่ความรุนแรงค่อนข้างน้อย ประกอบกับประเทศไทยมีมาตรการผ่อนคลายมากขึ้น ทำให้ผู้คนมีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น

สอดคล้องกับหลายประเทศทั่วโลกที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น โดยระบบสาธารณสุขและเสียชีวิตของไทยยังสามารถรับมือผู้ป่วยหนักได้ และที่สำคัญคือเตียงโควิด-19 ที่เคยมีไว้รักษาผู้ป่วยโควิดได้ปรับกลับไปให้ผู้ป่วยโรคทั่วไปแล้ว ทำให้จำนวนเตียงไม่ได้มีจำนวนมากเหมือนเดิม

ส่วนที่มีข่าวว่าเตียงล้นโรงพยาบาล เท่าที่ตรวจสอบพบว่า ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยอาการไม่มาก แต่หลายคนขออยู่โรงพยาบาล เพราะมีเรื่องประกันสุขภาพด้วย

 

อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ประมาทและมีการติดตามสถานการณ์ต่อเนื่อง ซึ่งปัญหาพบมากในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ส่วนจังหวัดอื่นพบปัญหาน้อยมาก

เมื่อผู้สื่อข่าวถามต่อว่า การระบาดที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ระบบสาธารณสุขเปลี่ยนแปลงไป มีการให้ตรวจ RT-PCR ในบางกรณี และตรวจ ATK เฉพาะที่มีอาการ จะนิยามการระบาดเช่นนี้ไว้อย่างไร

นายแพทย์โอภาส กล่าวว่า เราจะเรียกว่า “เวฟเล็กๆ”  ซึ่งมีลักษณะระบาดขึ้นลงตามวงรอบ ส่วนหนึ่งมาจากเชื้อกลายพันธุ์ด้วย เชื่อว่าขณะนี้เชื้อกับคนกำลังหาจุดสมดุลกันอยู่ โดยเชื้อกลายพันธุ์อ่อนแรงลงเพื่อให้อยู่กับคนได้ ส่วนคนก็ฉีดวัคซีนแล้ว มีการติดเชื้อสร้างภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติเยอะขึ้นแล้ว เชื่อว่าจุดสมดุลระหว่างคนกับเชื้อโรคน่าจะถึงจุดสมดุลเร็วๆ นี้ แต่ยังไม่สามารถระบุชัดเจนได้ว่าเราก้าวพ้นระยะการระบาดได้

เมื่อถูกตามต่อไปว่า ผู้เชี่ยวชาญหลายๆคนได้คาดการณ์ตัวเลขติดเชื้อจริงน่าจะมากกว่า 5 หมื่นรายต่อวัน จะมีการพิจารณาและเสนอต่อที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่เพื่อพิจารณาปรับแผนรองรับหรือไม่นั้น

นายแพทย์โอภาส บอกว่า ไม่มีใครบอกได้ว่าอัตราการติดเชื้อจะมากถึงขนาดไหน อาจจะมากกว่าตัวเลขที่มี 2 เท่า 3 เท่า 5 เท่า เพราะเราไม่ได้ตรวจ RT-PCR ในทุกคน โดยจะตรวจเฉพาะผู้ที่ต้องเข้ารักษาใน รพ.

ส่วนคนทั่วไปก็ใช้ตรวจ ATK เฉพาะตอนมีอาการ ซึ่งหลายคนอาการน้อย จึงไม่ได้ตรวจเชื้อแล้ว ทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องหาจำนวนผู้ติดเชื้อกี่คน ซึ่งทั่วโลกก็ทำเหมือนๆ กัน โดยต่างประเทศก็ไม่ได้ตรวจอะไรแล้ว

ที่สำคัญขณะนี้ ประชาชนที่ติดเชื้อมีความรู้ในการดูแลตัวเอง อยู่บ้านรักษาตามอาการ ซึ่งยืนยันว่า มาตรการฉีดวัคซีนได้ผล เพราะถ้าไม่ได้รับวัคซีนจะต้องมีเหตุการณ์คนล้น รพ.เกิดขึ้นเหมือนช่วงที่สายพันธุ์เดลต้าระบาด

 

โดยสธ.จะมีการประชุมกับ ศปก.ศบค.ในข้อมูลต่างๆ นำมาสู่การวิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ก่อนที่จะนำเสนอในการประชุม ศบค.ในวันที่ 8 ก.ค.นี้

 

 ข้อมูลจาก https://www.prachachat.net/general/news-973323

กรมควบคุมโรค เตือน 5 โรค 2 ภัยสุขภาพ ต้องระวังในช่วงฤดูหนาว
 
กรมควบคุมโรค ออกประกาศเตือน 5 โรค 2 ภัยสุขภาพ ที่ประชาชนควรระมัดระวังในช่วงฤดูหนาว
 

วันนี้ (23 ตุลาคม 2563) นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในช่วงเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ของทุกปี ประเทศไทยจะเข้าสู่ฤดูหนาว ซึ่งบางพื้นที่จะมีอุณหภูมิลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศที่หนาวเย็นอาจทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน เสี่ยงเจ็บป่วยได้ง่าย ทั้งนี้ กรมควบคุมโรคมีความห่วงใยสุขภาพของประชาชนในช่วงฤดูหนาว จึงขอให้ประชาชนหมั่นดูแลร่างกายให้อบอุ่นและแข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อลดโอกาสที่จะเจ็บป่วยจากโรคและภัยสุขภาพ และได้ออกประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง การป้องกันโรคและภัยสุขภาพที่เกิดในช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย พ.ศ.2563 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ 1.โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ (โรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดอักเสบ) 2.โรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ (โรคอุจจาระร่วง) 3.โรคติดต่อที่สำคัญอื่นๆ ในช่วงฤดูหนาว (โรคหัด โรคมือ เท้า ปาก) และ 4.ภัยสุขภาพ (การเสียชีวิตที่เกี่ยวเนื่องจากภาวะอากาศหนาว และการขาดอากาศหายใจจากการสูดดมก๊าซพิษจากอุปกรณ์ที่ใช้เพิ่มความอบอุ่นร่างกาย)

 

กลุ่มที่ 1 โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ 1.โรคไข้หวัดใหญ่ พบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี พบมากในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว อัตราการเสียชีวิตมักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว 2.โรคปอดอักเสบ พบผู้ป่วยได้ทุกกลุ่มอายุ ติดต่อจากการหายใจหรือสัมผัสละอองฝอยจากน้ำมูก น้ำลายที่ปนเปื้อนเชื้อผ่านการไอ จาม แล้วนำมาสัมผัสที่จมูก ตา หรือปาก ทั้งสองโรคสามารถป้องกันได้ด้วยการรักษาสุขภาพ พักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น และสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อต้องคลุกคลีกับผู้อื่น  

กลุ่มที่ 2 โรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ ได้แก่ 1.โรคอุจจาระร่วง เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป ผู้ป่วยจะมีอาการถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำ 3ครั้งขึ้นไปต่อวัน อาจมีไข้หรืออาเจียนร่วมด้วย ป้องกันได้โดยการดูแลสุขอนามัย เลือกรับประทานอาหารที่ผ่านกระบวนการผลิตอย่างปลอดภัย ดื่มน้ำที่สะอาด รับประทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาด อาหารค้างมื้อควรเก็บในตู้เย็น และอุ่นให้ร้อนทุกครั้งก่อนรับประทาน  

 กลุ่มที่ 3.โรคติดต่อที่สำคัญอื่นๆ ในช่วงฤดูหนาว ได้แก่ 1.โรคหัด เกิดจากการหายใจเอาละอองอากาศที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสเข้าไป อาการจะคล้ายกับไข้หวัดธรรมดา และจะมีไข้สูง ตาแดงก่ำ 3-4 วัน จึงเริ่มมีผื่นขึ้นลักษณะผื่นนูนแดงติดกันเป็นปื้นๆ ป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนเข็มแรกตอนอายุ 9-12 เดือน เข็มสองตอนอายุ 2 ปีครึ่ง 2.โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก เกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับน้ำมูก น้ำลาย ผื่น ตุ่มน้ำใส หรืออุจจาระของผู้ป่วย อาการคือ จะมีแผลหรือตุ่มในช่องปาก กระพุ้งแก้ม  มีผื่นแดงหรือตุ่มบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรงและหายเองได้ ในการป้องกัน ผู้ปกครองและครูควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของบุตรหลาน สถานศึกษาตรวจคัดกรองเด็กทุกคนก่อนเข้าเรียน หากพบอาการสงสัยว่าป่วย ให้แยกเด็กป่วยออกจากเด็กปกติทันที รีบพาไปพบแพทย์ และให้หยุดเรียนจนกว่าจะหายเป็นปกติ

         

        

 

ส่วนกลุ่มที่ 4 ภัยสุขภาพ ได้แก่ 1.การเสียชีวิตที่เกี่ยวเนื่องจากภาวะอากาศหนาว นิยามคือ การเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุที่เกิดขึ้นในหรือนอกที่พักอาศัย เช่น บ้าน อาคาร สถานที่สาธารณะ โดยไม่ได้มีเครื่องนุ่งห่มหรือเครื่องห่มกันหนาวที่เพียงพอในพื้นที่อากาศหนาว และคาดว่าเกี่ยวเนื่องจากภาวะอากาศหนาว ข้อมูลจากกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ได้ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์การเสียชีวิตที่เกี่ยวเนื่องจากภาวะอากาศหนาว ในช่วงฤดูหนาวตามประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ระหว่างวันที่ 17 ตุลาคม 2562 - 29 กุมภาพันธ์ 2563 พบว่ามีผู้ป่วยเข้านิยามเฝ้าระวังฯ 37 ราย เสียชีวิตภายในบ้าน 25 ราย และนอกบ้าน 12 ราย (นอนบนเตียงไม้หน้าบ้าน นอนในเปล นอนในเรือ) โดยผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ไม่มีผ้าห่มหรือสวมใส่เครื่องนุ่งห่มที่ไม่เพียงพอ รองลงมาคือ มีโรคประจำตัว และมีประวัติการดื่มสุราเป็นประจำ ตามลำดับ  สำหรับการป้องกัน ควรเตรียมความพร้อมร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดูแลสุขภาพแก่บุคคลกลุ่มเสี่ยงเป็นพิเศษ เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว ให้สวมใส่เครื่องนุ่งห่มที่เพียงพอและอยู่อาศัยในที่อบอุ่น งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด รักษาความสะอาด ล้างมือ หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย รวมถึงไม่ห่มผ้าหรือสวมเสื้อผ้าที่เปียกชื้น

         

2.การขาดอากาศหายใจจากการสูดดมก๊าซพิษจากอุปกรณ์ที่ใช้เพิ่มความอบอุ่นร่างกาย ซึ่งฤดูหนาวจะมีประชาชนท่องเที่ยวตามภูเขาและยอดดอย และพักผ่อนในเต็นท์ โรงแรม หรือรีสอร์ต โดยเรื่องที่น่าห่วงคืออาจได้รับพิษจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) คาร์บอนมอนนอกไซด์(CO) จากการใช้อุปกรณ์เพิ่มความอบอุ่น เช่น ตะเกียง เตาอั้งโล่ และเครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊ส โดยระบบเผาไหม้เชื้อเพลิงไม่สมบูรณ์ ทำให้ก๊าซสะสมของในปริมาณมากจนอาจทำให้เกิดการเสียชีวิตได้อย่างเฉียบพลัน ข้อมูลปี 2562 กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ได้เฝ้าระวังเหตุการณ์การป่วยและเสียชีวิตขณะอาบน้ำในห้องน้ำที่ใช้เครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊ส พบว่ามีรายงาน 4 เหตุการณ์ มีผู้ป่วย 5 ราย และเสียชีวิต 1 ราย

 

ดังนั้น จึงควรระมัดระวังการใช้เครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊สและอุปกรณ์ทำความอบอุ่นต่างๆ ในการป้องกันคือ ไม่ควรจุดตะเกียงหรือเตาไฟที่ใช้น้ำมัน หลีกเลี่ยงการใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงภายในเต็นท์และภายในที่พักอาศัยที่ไม่มีการระบายอากาศเพียงพอ เจ้าของโรงแรม รีสอร์ต ควรมีการตรวจสอบคุณภาพ มาตรฐาน และการบำรุงรักษาเครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊ส มีช่องหรือพัดลมระบายอากาศที่ได้มาตรฐาน ติดป้ายเตือนอันตราย และข้อควรปฏิบัติในการใช้งานอย่างชัดเจน ควรเว้นระยะเวลาการอาบน้ำต่อกันหลายคนอย่างน้อย 15-20 นาที เพื่อให้อากาศระบายออก ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคระบบทางเดินหายใจ ควรเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ และสถานประกอบการควรมีถังออกซิเจนขนาดเล็ก เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยกรณีฉุกเฉิน ทั้งนี้ หากมีอาการผิดปกติ เช่น วิงเวียน หน้ามืด หายใจลำบาก ควรรีบปิดเครื่องทำน้ำอุ่นและรีบออกจากห้องน้ำ หรือพบเห็นคนหมดสติขณะอาบน้ำ ควรเปิดประตูเพื่อระบายอากาศ นำผู้ป่วยไปยังพื้นที่โล่ง ปฐมพยาบาลเบื้องต้น และโทรศัพท์แจ้งสายด่วน 1669 เพื่อนำส่งสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

          นายแพทย์โอภาส กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมควบคุมโรค ได้จัดทำประกาศแจ้งเตือนให้ระวังโรคและภัยสุขภาพไปยังหน่วยงานในพื้นที่ ประกอบด้วย สำนักงานป้องกันควบคุมโรคทั้ง 12 แห่ง และสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง พร้อมสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ของโรคร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่อย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด เพื่อควบคุม ป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคติดต่อและภัยสุขภาพต่างๆ รวมถึงสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อลดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของประชาชนให้ได้มากที่สุด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/904219?anf=

 
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับ ศิริราชพยาบาล ทำการศึกษาระดับภูมิคุ้มกันในซีรั่มของคนที่ได้รับวัคซีนสลับและวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 พบหาได้รับวัคซีนครบโดส 2 สัปดาห์ มีค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกันที่สามารถลบล้างฤทธิ์ไวรัสสายพันธุ์เดลตา

วันนี้ (19 ส.ค.) นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ตามที่มีการระบาดของโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019; COVID-19) ที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนา (Severe acute respiratory syndrome-related coronavirus-2; SARS-CoV-2) ซึ่งเป็นเชื้ออุบัติใหม่จัดอยู่ในกลุ่มที่มีอันตรายร้ายแรง และมีการแพร่ระบาดไปทั่วโลก ได้มีการผลิตวัคซีนและใช้เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ในขณะที่ไวรัส SARS-CoV-2 มีการปรับตัว เปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมจนเกิดการกลายพันธุ์ทำให้การติดเชื้อง่ายมีความรุนแรงมากขึ้นและสามารถหลบภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้ดีจนองค์การอนามัยโลกประกาศไวรัสที่มีการกลายพันธุ์ที่ต้องควบคุมป้องกันว่าเป็นกลุ่มสายพันธุ์ที่น่ากังวล (variants of concern, VOC) ซึ่งได้แก่ ไวรัสสายพันธุ์อัลฟา เดลตา เบตา และแกรมมา ปัจจุบันประเทศไทยพยายามเร่งฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 โดยมีวัคซีนที่ขึ้นทะเบียน และมีการนำมาใช้เป็นหลักในขณะนี้คือวัคซีน CoronaVac ผลิตโดยบริษัท Sinovac วัคซีน AstraZeneca ผลิตโดยบริษัท AstraZeneca ทำให้มีการตั้งคำถามเกิดขึ้นว่าวัคซีนเหล่านี้สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ถ้ามีการสลับการให้วัคซีน (Mix and Match) รวมถึงการฉีดกระตุ้นเข็ม 3 แบบ heterologous prime-boost กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงได้ร่วมกับศิริราชพยาบาล ทำการศึกษาระดับภูมิคุ้มกันในซีรั่มของคนที่ได้รับวัคซีน โดยใช้ไวรัสสายพันธุ์จริงที่กำลังระบาดในประเทศไทย คือ สายพันธุ์เดลตา หรือสายพันธุ์อินเดีย (B.1.617.2) ซึ่งพบในการติดเชื้อกว่า 90% ทำการทดสอบโดยวิธีมาตรฐานที่ยอมรับกันทั่วไป คือ วิธี Plaque Reduction Neutralization Test (PRNT) ซึ่งต้องปฏิบัติในห้องชีวนิรภัยระดับ 3 เพื่อความปลอดภัย

ทั้งนี้ เพื่อหาค่าที่ไวรัสสายพันธุ์เดลตาถูกทำลาย 50% (Neutralizing Titer 50%, NT50) โดยแอนติบอดีที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีน โดยทำการศึกษาในอาสาสมัคร 6 กลุ่ม ประกอบด้วย
กลุ่มที่ 1 ที่ได้รับวัคซีน CoronaVac 2 เข็ม (SV+SV)

กลุ่มที่ 2 ได้รับ วัคซีน AstraZeneca 2 เข็ม (AZ+AZ)
กลุ่มที่ 3 ได้รับ วัคซีน CoronaVac และตามด้วย AstraZeneca (SV+AZ)
กลุ่มที่ 4 ได้รับ วัคซีน AstraZeneca และตามด้วย CoronaVac (AZ+SV)
กลุ่มที่ 5 ได้รับ วัคซีน CoronaVac 2 เข็ม และตามด้วย Covilo 1 เข็ม (SV+SV+Sinopharm)
กลุ่มที่ 6 ได้รับ วัคซีน CoronaVac 2 เข็ม และตามด้วย AstraZeneca 1 เข็ม (SV+SV+AZ)

ผลการศึกษา พบว่า ระดับภูมิคุ้มกันในกลุ่มต่างๆ หลังการได้รับวัคซีนครบโดส 2 สัปดาห์ ต่อเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์เดลตา มีค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกันที่สามารถลบล้างฤทธิ์ไวรัส
 
 

 


กรมควบคุมโรคย้ำข่าวดี WHO รับรอง ‘ซิโนแวค’ แล้ว ชี้ป้องกันป่วยหนัก-เสียชีวิต 100%

จากกรณีที่ สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า องค์การอนามัยโลก (ฮู) ประกาศเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน รับรองวัคซีนโควิด-19 ที่ผลิตโดยบริษัทซิโนแวค ไบโอเทค จากประเทศจีน เข้าสู่รายชื่อวัคซีนที่สามารถใช้ในกรณีฉุกเฉินได้แล้ว นับเป็นวัคซีนจากประเทศจีนชนิดที่ 2 ที่ได้รับการอนุมัติ หลังจากวัคซีน ซิโนฟาร์ม ได้รับการรับรองไปก่อนหน้านี้

 

ล่าสุด เมื่อเวลา 07.20 น. วันที่ 2 มิถุนายน เพจ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โพสต์ถึงประเด็นดังกล่าวว่า “WHO รับรอง Sinovac แล้ว

– ประสิทธิภาพการป้องกันอยู่ที่ 51%-84% (ของอินโดนีเซีย ผลทดสอบในโลกจริงอยู่ที่ 94%)
– ป้องกันป่วยหนักและเสียชีวิตได้ 100%
– เชื่อได้ว่า สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้สูงอายุได้ และไม่ได้มีความแตกต่างเรื่องผลข้างเคียงระหว่างกลุ่มอายุน้อยกับสูงอายุ (แต่ข้อมูลส่วนนี้ยังไม่มาก เพราะคนแก่เข้าร่วมการทดลองน้อย จึงทำให้ใช้เวลาพิจารณานาน และขอให้ประเทศต่างๆที่ใช้ ช่วยส่งข้อมูลของผู้สูงอายุมาเพิ่ม)

นอกจากนี้ WHO ชมว่า ข้อดีของ Sinovac คือ เก็บง่าย (ไม่ต้องใช้ความเย็นสูง ตู้เย็นธรรมดาก็ใช้ได้ และเก็บได้ถึง 2 ปี) และยังบอกว่า รับรอง Sinovac แล้วนะ รีบไปเข้าร่วม COVAX เลย ประเทศต่างๆจะได้รับวัคซีนมากขึ้น”

 

https://www.matichon

https://worldhealthorganization.cmail19.com/t/ViewEmail/d/0104A200C64742492540EF23F30FEDED/AC076E125A0888106B5BE456C00C2519

ข้อมูลจาก https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_2754161

 

 ส

 
 เช็กที่นี่! สรุปขั้นตอนการขอหนังสือรับรองการเดินทางข้ามจังหวัด ในพื้นที่จังหวัดควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เสี่ยงโควิด-19 ระบาดหนักนั้น ต้องทำอย่างไร เอกสารรับรองออกนอกพื้นที่ กรอกอย่างไร ใครรับรองบ้าง

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 (โควิด-19) เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค
ประชาชนใน 5 จังหวัดควบคุมสูงสุดและเข้มงวดอย่างยิ่ง อันประกอบด้วย จันทบุรี ชลบุรี ตราด ระยอง และสมุทรสาคร จะเดินทางออกนอกพื้นที่ ต้องมีการแสดงเอกสารบัตรประจำตัวควบคู่กับเอกสารรับรอง ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน (ฉบับที่ 17) ที่เริ่มบังคับใช้วันนี้ (7 ม.ค.) เป็นวันแรก

ล่าสุดรายงานข่าวว่าประชาชนในทั้ง 5 จังหวัดดังกล่าวพากันออกไปที่หน่วยงานราชการในพื้นที่ เช่น ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเทศบาล ฯลฯ เพื่อติดต่อสอบถามเกี่ยวกับเอกสารรับรองการเดินทางข้ามจังหวัด ขณะที่บางส่วนก็พากันวิพากษ์วิจารณ์ถึงมาตรการที่ประกาศใช้ว่าทำให้เกิดความลำบากในการดำเนินชีวิตประจำวัน แม้ส่วนใหญ่จะทราบว่าภาครัฐดำเนินการเพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดอย่างหนักของโรคโควิด-19 ก็ตาม

ตัวอย่างแบบคำขอฯ
 
ตัวอย่างแบบคำขอฯ

จากข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน (ฉบับที่ 17) ระบุไว้ในข้อ 2 ย่อหน้าที่สอง ว่า บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางออกนอกพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดต้องแสดงเหตุผลความจำเป็นโดยแสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรแสดงตนอื่นๆ ควบคู่กับเอกสารรับรองความจำเป็นที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในพื้นที่ เว้นแต่เป็นบุคคลซึ่งได้รับยกเว้น ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 กระทรวงมหาดไทย กำหนด

ดังนั้น ผู้ที่ต้องการจะเดินทางออกนอกพื้นที่ 5 จังหวัด ประกอบด้วย จันทบุรี ชลบุรี ตราด ระยอง และสมุทรสาคร จะต้องพกบัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารประตัวที่ทางราชการออกให้ ควบคู่กับเอกสารรับรองการเดินทางข้ามจังหวัด

โดยสามารถแบ่งประเภทของกลุ่มคนที่จะเดินทางได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. บุคคลทั่วไป
2. พนักงาน/ลูกจ้าง

- กรณีเป็นบุคคลทั่วไป สามารถไปขออนุญาตที่เจ้าหน้าที่รัฐที่ดูแลพื้นที่ที่ท่านอาศัยอยู่ เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน นายอำเภอ เป็นต้น

- กรณีเป็นลูกจ้างหรือพนักงานในบริษัทห้างร้านต่างๆ สามารถยื่นเอกสารให้หัวหน้างานพิจารณาอนุญาตและเซ็นชื่อรับรอง

ตัวอย่างเอกสารรับรองฯ
 
ตัวอย่างเอกสารรับรองฯ

บุคคคลที่มีความจำเป็นในการเดินทางออกนอกพื้นที่ 5 จังหวัด จะต้องกรอกแบบฟอร์มในเอกสาร 2 ฉบับ คือ แบบคำขอเอกสารรับรองความจำเป็นในการเดินทางออกนอกพื้นที่จังหวัดควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และ เอกสารรับรองความจำเป็นในการเดินทางออกนอกพื้นที่จังหวัดควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

ทั้งนี้เอกสารทั้ง 2 ฉบับไม่ได้แตกต่างกันมาก ฉบับหนึ่งเป็นคำขอฯ ให้กรอกแล้วยื่นไว้กับเจ้าหน้าที่หรือหัวหน้าหน่วยงาน/ต้นสังกัด สำหรับเอกสารรับรองฯ นั้น หลังจากกรอกและได้รับการเซ็นชื่อรับรองแล้ว จำเป็นต้องพกติดตัวไว้เพื่อแสดงกับเจ้าหน้าที่เมื่อถูกตรวจสอบในระหว่างการเดินทาง

ข้อมูลที่กรอกออกเป็น 3 ส่วน คือ

- ข้อมูลส่วนตัว
เป็นการกรอกข้อมูลส่วนตัวของเรา ได้แก่ ชื่อ นามสกุล อายุ หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน อาชีพ หมายเลขโทรศัพท์ เป็นต้น

- เหตุผลการเดินทางออกนอกพื้นที่
ในส่วนนี้ต้องกรอกว่าต้องการเดินทางออกจากพื้นที่ใด คือ สถานที่ที่เราอยู่ปัจจุบัน ตำบล อำเภอ และจังหวัด พร้อมกับอธิบายเหตุผลความจำเป็นลงไปด้วย
 
 

- ช่วงเวลาเดินทาง
ให้เลือกทำเครื่องหมาย 2 ช่อง ระหว่าง เดินทางเที่ยวเดียว และ เดินทางไป-กลับ รวมทั้งต้องระบุยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทางลงไปด้วย

เมื่อกรอกครบหมดแล้วทั้ง 2 ฉบับ เซ็นชื่อ เพื่อเป็นการรับรองข้อมูลที่กรอกไปว่าเป็นความจริง เนื่องจากการให้ข้อมูลเท็จ และไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดฯ จะถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย

หลังจากนั้นก็รอให้เจ้าหน้าที่ (หากเป็นบุคคลทั่วไป) หรือหัวหน้างาน (หากเป็นพนักงานหรือลูกจ้าง) พิจารณา ซึ่งหากได้รับอนุญาต เจ้าหน้าที่จะต้องเซ็นชื่อและเก็บแบบคำขอฯ เอาไว้ ส่วนประชาชนที่ไปขอก็จะได้รับเอกสารรับรองฯ ที่มีการเซ็นชื่อรับรองมาติดตัวไว้ใช้แสดงกับเจ้าหน้าที่เมื่อถูกร้องขอในระหว่างเดินทาง

-
 
-

 
 

 

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ