พยาบาลรายหนึ่งเข้าร่วมการประท้วงต่อต้านมาตรการบังคับฉีดวัคซีนที่โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยและภาคธุรกิจหลายแห่ง ทั่วรัฐมิชิแกน ยังคับใช้ ท่ามกลางเคสผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

 
พยาบาลรายหนึ่งเข้าร่วมการประท้วงต่อต้านมาตรการบังคับฉีดวัคซีนที่โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยและภาคธุรกิจหลายแห่ง ทั่วรัฐมิชิแกน ยังคับใช้ ท่ามกลางเคสผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

เวลานี้สหรัฐฯ มีค่าเฉลี่ยผู้ติดเชื้อใหม่โควิด-19 ที่ 100,000 คนต่อวัน หวนคืนสู่จุดที่พบเห็นครั้งสุดท้ายต้องย้อนกลับไปในการแพร่ระบาดหนักหน่วงช่วงฤดูหนาวปีก่อน ถือเป็นเครื่องเตือนใจว่าตัวกลายพันธุ์เดลตาแพร่ระบาดรวดเร็วแค่ไหน

เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเกรงว่าเคสผู้ติดเชื้อ ผู้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และเสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หากว่าชาวอเมริกันไม่ยอมเข้าฉีดวัคซีน โดยจนถึงตอนนี้ทั่วประเทศมีประชาชนเข้ารับวัคซีนครบแล้วเพียง 50% และมีประชากรวัยผู้ใหญ่ฉีดวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 เข็ม มากกว่า 70%

"แบบจำลองของเราพบว่าถ้าผู้คนไม่ฉีดวัคซีน เราอาจทะลุไปถึงหลายแสนเคสต่อวัน แบบเดียวกับที่เราเผชิญระลอกการแพร่ระบาดในเดือนมกราคม" โรเชลล์ ราเวนสกี ผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ (ซีดีซี) ให้สัมภาษณ์กับซีเอ็นเอ็นเมื่อช่วงกลางสัปดาห์

จากข้อมูลพบว่า ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ใช้เวลา 9 เดือน ในการแพร่เชื้อสู่ผู้คนในสหรัฐฯ เฉลี่ย 100,000 คนต่อวันในเดือนพฤศจิกายนปีก่อน ก่อนเข้าสุ่จุดพีกสุด 250,000 คนต่อวันในช่วงต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา จนกระทั่งเคสผู้ติดเชื้อลดลงต่ำสุดในเดือนมิถุนายน เหลือแค่ 11,000 คนต่อวัน ทว่าอีก 6 สัปดาห์ต่อมา เคสผู้ติดเชื้อได้คืนชีพอีกครั้ง อยู่ที่ระดับ 107,143 ราย

จำนวนผู้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน แม้ยังคงต่ำกว่าจุดพีกสุดเมื่อช่วงต้นปี ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่ผู้คนจะเข้าถึงวัคซีนได้อย่างกว้างขวาง จากข้อมูลของซีดีซีพบว่า เวลานี้มีชาวอเมริกันผู้ติดเชื้อโควิด-19 เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล 44,000 คน เพิ่มขึ้น 30% ในสัปดาห์เดียว และเพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่าจากเดือนมกราคม ทั้งนี้ในช่วงพีกสุดเดือนมกราคม เคยมีคนไข้โควิด-19 เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลมากกว่า 120,000 คน

ตามข้อมูลของมหาวิทยาลัยจอห์นส ฮ็อปกินส์ พบว่าค่าเฉลี่ยผู้เสียชีวิตรอบ 7 วันก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน มันเพิ่มขึ้นจากราว 270 คนต่อวันเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน เป็นเกือบ 500 คนต่อวันในช่วง 7 วันจนถึงวันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม ทั้งนี้ ยอดผู้เสียชีวิตเคยพุ่งสูงสุดที่ 3,500 คนต่อวันในเดือนมกราคม อย่างไรก็ตาม เป็นปกติที่ตัวเลขผู้เสียชีวิตมักมาตามหลังจำนวนผู้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล เนื่องจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการปลิดชีพผู้ป่วย

สถานการณ์น่ากังวลอย่างยิ่งในทางภาคใต้ ซึ่งบางพื้นที่มีอัตราการฉีดวัคซีนต่ำที่สุดในสหรัฐฯ และเริ่มพบเห็นโรงพยาบาลขนาดเล็กหลายแห่งแบกรับคนไข้ไม่ไหว

 
ในแถบตะวันออกเฉียงใต้ พบจำนวนคนไข้โควิด-19 เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% ค่าเฉลี่ยรายวันในสัปดาห์ที่แล้ว อยู่ที่ 17,600 ราย จากระดับ 11,600 รายของหนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้านั้น ขณะที่ซีดีซีระบุว่ารัฐฟลอริดา จอร์เจีย แอละแบมา มิสซิสซิปปี นอร์ทแคโรไลนา เซาท์แคโรไลนา เทนเนสซีและเคนทักกี มีคนไข้รายใหม่ที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลคิดเป็นสัดส่วน 41% จากทั้งหมดทั่วประเทศ

แอละแบมา และมิสซิสซิปปี มีอัตราการฉีดวัคซีนต่ำที่สุดในสหรัฐฯ มีประชาชนไม่ถึง 35% ที่ฉีดวัคซีนครบแล้ว ส่วนจอร์เจีย เทนเนสซี นอร์ทแคโรไลนา และเซาท์แคโรไลนา ล้วนติดอันดับ 1 ใน 15 รัฐที่มีอัตราการฉีดวัคซีนต่ำที่สุด

ฟลอริดามีเคสผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบล คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 20% จากทั่วประเทศ ในพื้นที่แถบชนบทจำนวนมากมีอัตราการฉีดวัคซีนต่ำกว่า 40% และทั่วทั้งรัฐมีอัตราประชาชนเข้าฉีดวัคซีน 49%
 

โรงพยาบาลต่างๆ ในบางพื้นที่ของสหรัฐฯ กำลังขาดแคลนเตียงรองรับคนไข้โควิด-19 ในนั้นรวมถึงในเมืองฮิวสตัน ซึ่งเจ้าหน้าที่เผยว่าต้องลำเลียงผู้ป่วยบางส่วนออกนอกเมือง เพื่อไปรักษาที่เมืองอื่นๆ ไกลที่สุดเลยก็คือรัฐนอร์ทดาโกตา

นายแพทย์เดวิด เพอร์สเซ หัวหน้าเจ้าหน้าที่แพทย์ฮิวสตัน ระบุว่า รถฉุกเฉินบางคันต้องจอดรอนานหลายชั่วโมงสำหรับนำส่งคนไข้ตามโรงพยาบาลต่างๆ ในพื้นที่ฮิวสตัน เนื่องจากโรงพยาบาลหาเตียงไม่ได้ ทั้งนี้ เพอร์สเซ แสดงความกังวลว่าสถานการณ์แจ้งนี้อาจทำให้การตอบสนองของเจ้าหน้าที่ต่อสายด่วนการแพทย์ 911 อาจล่าช้าอย่างมาก

"ระบบสาธารณสุขเวลานี้ใกล้ถึงจุดแตกหัก สำหรับช่วง 3 สัปดาห์ข้างหน้าหรือนานกว่านั้น ผมมองไม่เห็นสถานการณ์ที่ผ่อนคลายในแผนกฉุกเฉินเลย" เพอร์สเซกล่าวในวันพฤหัสบดี (5 ส.ค.)

(ที่มา : เอพี)
 

ถึงเดือนนี้การระบาดของโควิดทั่วโลกก็ดำเนินมากว่าปีครึ่งแล้ว และไม่มีท่าทีว่าจะสงบหรือยุติลงง่าย ๆ เห็นได้จากในหลายประเทศ เช่น อินเดีย บราซิล สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมันนี การระบาดยังมีมากแม้มีการระดมฉีดวัคซีนเต็มที่ในหลายประเทศ ที่สำคัญ การระบาดรอบใหม่ได้ย้ายจุดศูนย์กลางจากประเทศอุตสาหกรรม เช่น สหรัฐ เข้าสู่ประเทศกำลังพัฒนาอย่าง อินเดีย และบราซิลที่ระบบสาธารณสุขในประเทศเหล่านี้เข้มแข็งน้อยกว่าประเทศอุตสาหกรรม ทำให้ประเมินได้ว่าการแพร่ระบาดคงมีอยู่ต่อไป และจะใช้เวลาอีกเป็นปีกว่าที่สถานการณ์การระบาดทั่วโลกจะสามารถควบคุมได้ คำถามคือ เราจะอยู่อย่างไรที่ภาวะที่การระบาดของโควิดจะเป็นภัยสาธารณสุขประจำวันอย่างน้อยอีกระยะหนึ่ง และรัฐควรให้ความสำคัญกับอะไรในแง่นโยบาย นี่คือ ประเด็นที่จะเขียนวันนี้

 

ผมคิดว่ามีอย่างน้อยสามปัจจัย หรือสาเหตุที่ทำให้การระบาดของโควิด-19 จะอยู่กับเราต่อไปอีกอย่างน้อยหนึ่งถึงสองปี

หนึ่ง การระบาดเกิดขึ้นเป็นรอบ ๆ และในแต่ละรอบเชื้อไวรัสก็มีการกลายพันธุ์ ทำให้การป้องกันรวมถึงประสิทธิภาพของวัคซีนที่จะปกป้องคนจากการระบาดต้องปรับตัวตาม เห็นได้จากที่เรามีสายพันธุ์ดั้งเดิมจากอู่ฮั่นประเทศจีน สายพันธุ์อังกฤษ อัฟริกาใต้ และล่าสุดอินเดีย การกลายพันธุ์เหล่านี้ทำให้วิธีการรักษาและวัคซีนป้องกันต้องปรับตาม และยังไม่สามารถดักทางการกลายพันธุ์ของไวรัสได้ ทำให้การระบาดจะมีต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศที่มีสมรรถภาพทางสาธารณสุขต่ำ ที่จะเป็นจุดหรือพื้นที่เสี่ยงทำให้การระบาดจะปะทุขึ้นอีก จนกว่าทุกจุดจะสามารถควบคุมได้ซึ่งจะใช้เวลามาก

สอง วัคซีนขณะนี้เป็นแนวป้องกันเดียวที่โลกมีที่จะช่วยหยุดการระบาด และนำเศรษฐกิจและการใช้ชีวิตของผู้คนกลับสู่ภาวะปรกติ จึงได้มีการระดมฉีดวัคซีนมาก ปัญหาคือ ความสามารถในการเข้าถึงวัคซีนที่แตกต่างกันระหว่างประเทศอุตสาหกรรมที่เจริญแล้ว กับประเทศยากจน คือ ประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีพลังทางการเงินที่จะระดมฉีดวัคซีนให้กับคนในประเทศ ความเหลื่อมล้ำนี้ทำให้การระบาดจะไม่จบตราบใดที่ประเทศยากจนยังไม่สามารถควบคุมการระบาดได้ กลายเป็นจุดเสี่ยงของโลกเพราะยังมีการระบาดและเป็นความเสี่ยงที่การระบาดอาจจะปะทุขึ้นทั่วโลกได้ จากจำนวนประชากรในประเทศกำลังพัฒนามีมาก

สาม คือเหตุผลทางเศรษฐกิจและการเมืองที่ต้องการเร่งให้มีการเปิดประเทศ หยุดข้อจำกัดเรื่องการเดินทางข้ามพรมแดน และข้อจำกัดที่ลดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อให้เศรษฐกิจสามารถสร้างรายได้เหมือนเดิม เห็นได้ว่าในทุกครั้งที่การระบาดรอบใหม่เกิดขึ้นจะเป็นเพราะมีการผ่อนปรนมาตรการควบคุมต่าง ๆ เร็วเกินไป ล่าสุดที่อินเดียจนทำให้เกิดการระบาดใหญ่ นอกจากนี้ความสะดวกของการเดินทางระหว่างประเทศก็เป็นแรงส่งให้การระบาดสามารถกระจายตัวได้เร็วและหยุดยาก เพราะการเดินทางมีอยู่ตลอดเวลาด้วยความจำเป็นทางเศรษฐกิจและครอบครัว

ทั้งสามปัจจัยนี้โดยเฉพาะปัจจัยที่สองเรื่องความเหลื่อมล้ำจะทำให้สถานการณ์การระบาดจะไม่จบง่าย ๆ เพราะการป้องกันการระบาดทำกันในระดับประเทศ ซึ่งประเทศยากจนเสียเปรียบไม่มีทรัพยากร ขณะที่โรคระบาดเป็นปัญหาระดับโลก ส่งผลกระทบต่อทุกประเทศ ดังนั้นถ้าจะหยุดการระบาดให้ได้เร็ว หรือรับมือกับการระบาดของไวรัสตัวใหม่ ๆ ในอนาคตได้จริงจัง การหยุดการระบาดต้องเป็นมาตรการหรือความพยายามระดับโลก ที่มาจากความร่วมมือของประเทศทั่วโลกไม่ใช่ต่างคนต่างทำอย่างในปัจจุบัน

ในประเด็นนี้ น่าสนใจว่ารายงานขององค์การอนามัยโลกล่าสุด ที่ศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญอิสระที่ทำงานให้องค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นให้ข้อสรุปว่า การระบาดใหญ่ของโควิด-19 เป็นเรื่องที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่ที่การระบาดใหญ่เกิดขึ้นก็เพราะมีจุดอ่อนในทุกจุดที่เกี่ยวกับการเตรียมการ (Preparedness) และการตอบโต้ (Response) นอกจากนี้ระบบเตือนภัยขององค์การอนามัยโลกก็ทำงานช้าเกินไป และเบาเกินไป คือ ไม่หนักแน่น รวมถึงขาดภาวะผู้นำระดับโลกที่จะสนองตอบกับปัญหา ทำให้การแก้ไขเกิดขึ้นช้า จนไม่สามารถหยุดการระบาดที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว

รายงานได้เสนอให้มีการปฏิรูปหล่ายอย่างเพื่อการเตรียมตัวที่ดีขึ้นในระดับโลกที่จะตั้งรับสถานการณ์การระบาดในอนาคต เช่น จัดตั้งสภาสาธารณสุขโลกเป็นผู้นำความร่วมมือและความรับผิดรับชอบทางการเมืองในการป้องกันปัญหา มีระบบเฝ้าระวังที่โปร่งใสและให้อำนาจองค์การอนามัยโลกที่จะเปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการระบาด รวมถึงส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าตรวจสอบสถานการณ์ ผลักดันความร่วมมือเพื่อส่งเสริมความพร้อมด้านสาธารณสุขระดับประเทศ รวมถึงสรรหาบุคคลากรและเงินทุนช่วยเหลือเมื่อเกิดการระบาด เป็นต้น

คำถามต่อมาคือ ประเทศเราต้องเตรียมการอะไรหรือไม่ ถ้าโควิดจะอยู่กับเราอีกนาน คือ ประชาชนต้องระวังภัยทางสาธารณสุขขณะเดียวกันก็ต้องทำมาหากิน ผมว่าภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนต้องเตรียมตัวรับกับสถานการณ์ดังกล่าวอย่างเป็นระบบ เพราะคงเกิดขึ้นแน่ ๆ และรัฐไม่ควรทำนโยบายแบบตามสถานการณ์อย่างที่เกิดขึ้น เพราะทำให้เสียเวลาและสูญเสียมาก ผมว่ามีสามเรื่องที่ต้องคิด

หนึ่ง ความเข้มแข็งของระบบสาธารสุขสำคัญที่สุด เพราะต้องดูแลคนทั้งประเทศให้อยู่รอดปลอดภัย ซึ่งรัฐต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ โดยเตรียมตัวในเรื่องอุปกรณ์ ยา บุคคลากร จำนวนเตียงคนไข้ และระบบงานต่าง ๆ ให้พร้อม ที่ผ่านมาคนไทยมีความภูมิใจมากกับความสามารถของบุคคลากรการแพทย์ และระบบสาธารณสุขของเรา สร้างความสบายใจให้กับประชาชนและประชาชนไว้วางใจ ความเข้มแข็งเหล่านี้เหล่าต้องรักษาไว้ โดยมาตรการของภาครัฐที่จะเสริมสร้างความพร้อม โยกย้ายทรัพยากรต่าง ๆ เข้ามาช่วยเหลือ ภายใต้หลักการว่าทำมากดีกว่าทำน้อย เพราะความไม่แน่นอนมีมาก ความเข้มแข็งนี้บวกกับการช่วยเหลือแบ่งปันระหว่างประชาชนด้วยกันและโดยภาคธุรกิจจะเสริมให้สังคมมีความพร้อมและเข้มแข็งที่จะอยู่กับปัญหาจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย ดังนั้นรัฐต้องให้ความสำคัญสูงสุดในเรื่องนี้

สอง ภาคธุรกิจและประชาชนต้องปรับตัวและยอมรับความจริงว่า โลกต่อไปอย่างน้อย 1-2 ปีข้างหน้าจะไม่เหมือนเดิม ทำให้การใช้ชีวิตต้องเปลี่ยน ต้องระมัดระวังมากขึ้นในแง่สาธารณสุข ต้องช่วยเหลือกันมากขึ้น มองความอยู่รอดของสังคมเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน ซึ่งความคิดหนึ่งที่คนไทยยอมรับมากจากเหตุการณ์โควิดระบาดครั้งนี้ คือ ชีวิตจากนี้ไปโดยเฉพาะหลังโควิดจะกลับไปเหมือนเดิมไม่ได้ เราต้องใช้ชีวิตให้ดีขึ้น มีคุณภาพมากขึ้น ให้ความสำคัญกับการมีความสุขกับสิ่งที่เรามีในชีวิตมากกว่าการแสวงหาอย่างไม่สิ้นสุด ปรับปรุงชีวิตของเราให้มีคุณค่ากับตัวเองและสังคม ศรัทธาในตัวเองและสร้างความภูมิใจกับชีวิตเราเอง 

สาม บทบาทภาครัฐก็ต้องเปลี่ยนเช่นกัน การระบาดครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าความอ่อนแอในสังคมของเรามีมาก ที่คนจำนวนมากคือมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรของประเทศไม่สามารถดูแลตัวเองได้เมื่อมีวิกฤติหรือตกงาน ขณะที่ความยุ่งยากและความสลับซับซ้อนของปัญหาก็เลยความสามารถ (Capacity) ของภาครัฐ โดยเฉพาะนักการเมือง และระบบราชการที่จะบริหารจัดการ ในหลายกรณี ช่องว่างระหว่างภาครัฐและปัญหามีมาก ทำให้การแก้ไขออกมาครึ่ง ๆ กลาง ๆ ไม่ทันการและไม่ตรงจุด เหมือนอยู่กันคนละโลก คือ โลกของภาครัฐที่เน้นการประชุมสั่งการ การปฏิบัติตามขั้นตอนตามระเบียบและพิธีกรรมต่าง ๆ ซึ่งต่างกับภาคเอกชนและประชาชนที่อยากเห็นการทำนโยบายที่มองไปข้างหน้าเพื่อบริหารความเสี่ยง ลดโอกาสของการเกิดปัญหาต่าง ๆ ไม่ใช่ตัดสินใจตามสถานการณ์ และขาดสำนึกหรือ sense ของความเร่งด่วน เช่น กรณีสิ่งผิดกฎหมายที่เปิดพื้นที่ให้เชื้อเข้ามาระบาดในประเทศจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งส่วนหนึ่งก็เพราะการทำหน้าที่ที่หละหลวมหรือถูกแทรกแซงด้วยเป้าหมายทางธุรกิจหรือการเมือง ทำให้การแก้ไขปัญหาอย่างที่ควรต้องทำไม่เกิดขึ้น 

จากวิกฤติคราวนี้ เราเห็นชัดว่า ภาครัฐ โดยเฉพาะรัฐบาลมีอำนาจมากและอาจมีอำนาจมากเกินไป ส่วนดีในเรื่องนี้ก็คือ ถ้าอำนาจถูกนำมาใช้อย่างถูกต้องเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมทุกปัญหาก็จะแก้ไขได้ เราจะได้การตัดสินใจที่ดีที่ประชาชนเห็นด้วยและพร้อมสนับสนุน แต่ถ้าการใช้อำนาจถูกบิดเบือนด้วยเหตุผลอื่น เช่น เหตุผลทางการเมือง หรือผลประโยชน์ส่วนตัว สิ่งที่ภาครัฐทำก็จะไม่ตรงจุดและแก้ปัญหาไม่ได้ เป็นการเผาผลาญทรัพยากรของประเทศโดยประชาชนไม่ได้ประโยชน์

ดังนั้นในโลกใหม่จากนี้ไป ภาครัฐเองก็ต้องไม่กลับไปเหมือนเดิมเช่นกัน ต้องเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงานและการใช้อำนาจเพื่อสนับสนุนให้สังคมปรับตัวไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น มีคุณค่าขึ้น เพื่อให้ประเทศและคนในสังคมมีที่ยืนในสังคมเศรษฐกิจโลก และสามารถก้าวต่อไปได้ด้วยศักดิ์ศรีและความภูมิใจตามศักยภาพที่ประเทศมี

ท้ายสุด ในระดับปัจเจกบุคคล เราเองก็ต้องเปลี่ยนวิธีคิดและปรับตัวมาก เพื่อความอยู่รอดของตนเองและครอบครัว สำคัญที่สุดคือ หนึ่ง พยายามทำงานหรือมีงานทำเพราะการมีรายได้สำคัญมาก ต้องพร้อมปรับตัวเพื่อให้มีรายได้ และรักษางานไว้ สอง ดูแลรักษาสุขภาพ เพราะร่างกายที่แข็งแรงจะเป็นภูมิต้านทานที่ดีสุดในโลกที่การระบาดยังมีอยู่ ทำให้เราจะสามารถทำงานได้ สาม ประหยัดมากขึ้นเพราะโลกจะมีแต่ความไม่แน่นอน ถ้าเราฟุ่มเฟือยเราก็จะหมดเงินเร็วหรือไม่มีเงินออม และถ้าพลาดพลั้งไม่มีงานทำเราก็จะไม่มีเงินใช้จ่าย ทำให้ชีวิตจะลำบากมาก การประหยัดก็คือ การปรับตัวที่จะหาความสุขจากสิ่งที่เรามี โดยไม่สร้างปัญหาให้กับตนเองครอบครัวและคนอื่น ๆ เพราะถ้าทำให้ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนไม่ได้ ชีวิตก็จะมีปัญหามาก

นี่คือประเด็นที่อยากฝากไว้

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/main/detail/105032

 

 

20 ก.พ. 2565 – ดร. อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ค Anan Jongkaewwattana ระบุว่า นักวิจัยญี่ปุ่นสรุปว่า BA.2 ดุพอๆกับเดลต้า มาจากผลวิจัยติดไวรัสในหนูที่ไม่เคยได้วัคซีน..จะใช้อธิบายกับคนได้หรือไม่? เป็นคำถามสำคัญ

ขณะที่อีกโพสต์ ดร. อนันต์ ระบุว่าเนื่องจากการกลายพันธุ์บนโปรตีนหนามสไปค์ของไวรัส โอมิครอน ทั้ง BA.1 และ BA.2 แอนติบอดีที่ไปแยกมาจากผู้ป่วยที่ติดไวรัสสายพันธุ์ก่อนหน้านี้มาจะมีแนวโน้มสูงมากที่จะไม่สามารถจับและยับยั้งไวรัสกลุ่มนี้ได้

 
 
 

ล่าสุดมีผลการศึกษาว่า BA.2 มีแนวโน้มจะดื้อกับแอนติบอดีรักษาที่กำลังพัฒนาอยู่แทบทุกตัว สาเหตุคือการกลายพันธุ์ที่กระจัดกระจายบนส่วนโปรตีนหนามที่ยากจะหาแอนติบอดีที่จะหนีส่วนกลายพันธุ์ตรงนั้นเข้าไปจับได้…แต่ร่างกายเราสร้างแอนติบอดีได้หลากหลายมาก และ ผลการศึกษาจากการติดเชื้อจากธรรมชาติ หรือ จากการฉีดวัคซีนทำให้เราเชื่อว่ายังต้องมีแอนติบอดีเหล่านั้นที่จับโอมิครอนได้ผสมๆอยู่ในร่างกายของเรา เพียงแต่ว่าการหาและแยกแอนติบอดีเหล่านั้นออกมาจาก pool ที่มีแอนติบอดีอื่นๆอยู่มากมายทำได้ยากมาก และ ต้องอาศัยโชคช่วยจริงๆ

ข่าวดีวันนี้คือความพยายามของนักวิจัยที่แข่งกันหาแอนติบอดีที่สามารถจับและยับยั้งไวรัสโรคโควิดได้ทุกสายพันธุ์เหมือนจะเป็นจริง โดยงานวิจัยล่าสุดของทีมวิจัยจากเนเธอแลนด์ (ซึ่งเป็นกลุ่มนักวิจัยด้านไวรัสโคโรนามายาวนานและเข้มแข็งมาก) พบว่า แอนติบอดีที่ทีมวิจัยไปแยกได้มา 1 โคลน ชื่อว่า 87G7 สามารถผ่านด่านหินของโอมิครอนทั้ง BA.1 และ BA.2 ไปจับโปรตีนหนามสไปค์และยับยั้งการเข้าสู่เซลล์ของไวรัสได้ ผลการทดลองใช้แอนติบอดีตัวนี้ในสัตว์ทดลองที่รับเชื้อไวรัสพบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ดีมาก

ทีมวิจัยทำการศึกษาเชิงลึกพบว่า แอนติบอดี 87G7 นี้ไปจับโปรตีนหนามสไปค์ตรงจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่ใช้เข้าเซลล์ ( เรียกว่า RBD) ที่กรดอะมิโน 6 ตำแหน่ง (สีเขียวในภาพ) ที่เป็นตำแหน่งที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในไวรัสทุกสายพันธุ์ในตอนนี้ ซึ่งกลุ่มโอมิครอนที่พบเปลี่ยนแปลงจะเป็นส่วนสีแดงจะไม่ได้ตรงกับที่ 87G7 เข้าไปจับ ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า ตำแหน่งกรดอะมิโนที่เป็นสีเขียวนี้จะเปลี่ยนได้ยาก เพราะถ้าเปลี่ยนจะทำให้หน้าที่ของโปรตีนหนามสไปค์ทำงานไม่ได้ หรือ ไม่ดี ไวรัสจึงจำเป็นต้องเก็บตำแหน่งนี้ไว้โดยไม่เปลี่ยนแปลง ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงๆ 87G7 ก็จะเป็นแอนติบอดีที่จะสามารถยับยั้งไวรัสได้ทุกสายพันธุ์ถ้าไวรัสไม่กลายพันธุ์เพิ่มในกรดอะมิโน 6 ตำแหน่งนี้
งานวิจัยที่แข่งกันตอนนี้น่าทึ่งมากครับ และ เชื่อว่า 87G7 คงจะไม่ใช่แค่โคลนเดียวที่เราจะหาเจอ ต่อไปคงมีตามมาอีกครับ

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/covid-19-news/89184/

1).สถานะการณ์จะเลวร้ายอีกใน2อาทิตย์ข้างหน้า
2). ทุกรพ.ในกทม. ไม่รับคนไข้แล้ว...มันเต็มจนล้น
3). แต่คนป่วยใช้วิธีการให้
Taxi ขับไปทิ้งตนเองที่หน้า
ER..รพ. ไม่รู้จะทำอย่างไร
กลายเป็นคนป่วยเพ่นพ่าน
4). ทุกรพ.ในกทม. ไม่รับตรวจเด็ดขาด เพราะกลัวว่าเมื่อตรวจเป็นบวกแล้วต้องรับผู้ป่วย...มันเกิดขึ้นแล้วครับ....
5).รพ. สนามเต็มหมดแล้ว
6). เดือนสิงหาจะมีผู้ป่วยนอนข้างถนน
7) ตลาด ชุมชน โรงงาน แคมป์ และติดเชื้อในบ้าน ยังเป็นเป้า + โรคเรื้อรัง 6 โรค
8) ไม่ควรไปไหนเด็ดขาด
ขออยู่บ้านและอยู่บ้านๆๆๆๆ
9) วัคซีนสองเข็มอาจเอาdelta ไม่อยู่ ดังนั้นต้องล๊อกดาวน์ ตัวเองและทุกคน..อย่างเดียว

เตือน! หนาวนี้ระวังโรค RSV ในเด็ก รุนแรงกว่าโควิด-19 (คลิป)

 

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อในเด็ก เผย ปลายฝนต้นหนาว เริ่มเข้าสู่ช่วงที่เด็กเล็กเป็นโรคไวรัส rsv โดยพบมากขึ้น อาการจะคล้ายกับโควิด-19 ซึ่งเป็นโรคที่เกิดในระบบทางเดินหายใจ แนะผู้ปกครองหากบุตรหลานมีอาการคล้ายไข้หวัด และหายใจหอบเหนื่อย ให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที

 

 

บความจาก https://www.tnnthailand.com/content/60050

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ