1 พ.ค.63-ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว มีเนื้อหาดังนี้
ยาต้านไวรัสรักษา โควิด 19 Remdesivir
ยานี้เป็นยาใหม่ ที่ยังไม่ได้ผ่านการขึ้นทะเบียนให้ใช้ในการรักษาโรค
เคยมีการมารักษาโรคปอดบวมตะวันออกกลาง
ยาจะไปขัดขวางการเพิ่มจำนวน RNA ของไวรัส
ยานี้เป็นยาของบริษัทยักษ์ใหญ่ของ  ประเทศสหรัฐอเมริกา
ได้มีการศึกษานำมาใช้รักษาโควิด 19 ที่มีการเผยแพร่ครั้งแรกในประเทศจีน แต่การศึกษายังไม่สมบูรณ์เพราะผู้ป่วย น้อยลง
และได้มีการเผยแพร่ผลของการรักษา แบบเปรียบเทียบกับยาหลอกจำนวน 237 คน ในผู้ป่วยที่มีอาการหนัก
ผลการรักษาไม่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยยสำคัญ ระหว่าง Remdesivir กับยาหลอก
จากการศึกษาเพิ่งออกมาใหม่ ที่ทำในหลายประเทศ โดยมีผู้วิจัยหลักอยู่ในสหรัฐอเมริกา ทำการศึกษาเปรียบเทียบการให้ยา Remdesivir กับยาหลอกในผู้ที่ติดเชื้อโควิด 19 และมีอาการหนัก
ในจำนวน 1063 คน พบว่าผู้ป่วยหายเร็วขึ้น และลดอัตราการตายจาก 11.6 เปอร์เซ็นต์ ลงเหลือ 8% ผู้ป่วยที่หายสามารถกลับบ้านได้เร็วกว่า
ยานี้ต้องรอขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการ และเป็นยาที่ใช้สำหรับฉีดเข้าเส้น ไม่ใช่ยารับประทาน
ข้อมูลต่างๆ ที่ยังเป็นความหวัง สำหรับผู้ติดเชื้อและมีอาการหนัก
ยานี้ยังไม่มีใช้ในประเทศไทย
ยังคงต้องรอและจะมีข้อมูลออกมาอย่างต่อเนื่องแน่นอน ถ้าเราสามารถรักษาผู้ป่วยลดอัตราการเสียชีวิต ลดอัตราการเป็นปอดบวมได้ ความวิตกกังวลต่างๆก็จะน้อยลง

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thaipost.net

เนื้อหาต้นฉบับ http://www.thaipost.net/main/detail/64759

 

 


 
15มิ.ย.63-รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat เตือนในวันนี้ ที่คลายล็อกดาว ระยะที่ 4 เป็นวันแรกว่า 

ดีใจ...

วันนี้ว่างเปล่า

คนไทยยังมีทยอยกลับจากประเทศต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

หากทบทวนดู จะพบว่า การเดินทางกลับทางเครื่องบิน มีรายงานว่าแออัด ไม่สามารถเว้นระยะห่างระหว่างที่นั่งได้ แม้จะใส่หน้ากาก แต่สุดท้ายตอนทานอาหารและเครื่องดื่มก็ต้องถอดหน้ากาก อาจมีโอกาสติดกันได้ระหว่างอยู่บนเครื่อง ดังนั้นคงต้องวางแผนป้องกันให้ดี

จีนมีเคสใหม่ระบาดในปักกิ่ง จนต้องลุ้นระทึกกัน ปิดสถานที่ต่างๆ

ญี่ปุ่นก็เช่นกัน

และล่าสุดออสเตรเลีย หลังจากเป็น 0 มาหลายสัปดาห์ กลับมีเคสใหม่ขึ้นอีกเช่นกัน

ไทยเราไม่มีเคสใหม่มาสามสัปดาห์

เราจะเดินตามทางเราหรือเป็นแบบเค้า ขึ้นอยู่กับหมากที่เลือกเดิน

ไม่ประมาท การ์ดอย่าตก

ใส่หน้ากากเสมอ...ล้างมือบ่อยๆ...อยู่ห่างคนอื่นๆ...พูดน้อยลง...พบปะคนน้อยลงสั้นลง...

เลี่ยงที่อโคจร...หมั่นสังเกตอาการตนเอง

และอย่าบ้าจี้เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในยามที่ศึกในบ้านยังไม่เรียบร้อยและเห็นกันชัดๆ ว่ายังไม่มีที่ใดในโลกที่จะปลอดภัย 100% จากไวรัสที่ยังไม่มียารักษามาตรฐาน ไม่มีวัคซีนป้องกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก  https://www.thaipost.net/

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.thaipost.net/main/detail/68724

27 พ.ค. 2565 – รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ทะลุ 530 ล้านคนไปแล้ว เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 524,556 คน ตายเพิ่ม 1,179 คน รวมแล้วติดไปรวม 530,082,845 คน เสียชีวิตรวม 6,307,296 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีเหนือ ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก

 
 
 

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 69.42 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 62.84 การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็นร้อยละ 49.89 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 21.54

…สถานการณ์ระบาดของไทย

จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 11 ของโลก และอันดับ 5 ของเอเชีย

ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 11 ของโลก ถึงแม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.เป็นต้นมาจนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปก็ตาม ทั้งนี้จำนวนเสียชีวิตของไทยเมื่อวานคิดเป็น 14.56% ของการเสียชีวิตทั้งหมดที่รายงานของทวีปเอเชีย

…อัพเดตสถานการณ์การเสียชีวิตเฉลี่ยรายสัปดาห์ต่อประชากรล้านคน

ข้อมูลจาก Ourworldindata ชี้ให้เห็นว่าไทยเรายังมีอัตราตายสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลก และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทวีปเอเชีย

นอกจากนี้หากจำแนกตามรายได้ของแต่ละกลุ่มประเทศ จะพบว่าอัตราตายเราก็ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางระดับสูง (upper middle income countries) อีกด้วย

…ประเมินเรื่อง Long COVID

จากความรู้ล่าสุดที่ได้จากงานวิจัยในสหรัฐอเมริกาที่เผยแพร่วันก่อน ซึ่งพบภาวะ Long COVID ในประชากรวัยผู้ใหญ่ตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เฉลี่ย 1/5 หรือราว 20% และหากสูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป จะมีโอกาสเสี่ยงเป็น Long COVID มากขึ้น เป็น 1/4 (25%)

ในขณะที่งานวิจัยในกลุ่มประชากรขนาดใหญ่อีกชิ้นก็พบว่า การฉีดวัคซีนนั้นสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะ Long COVID ได้ราว 15%

นำมาประเมินสถานการณ์ในประเทศ ซึ่งเรามีจำนวนคนติดเชื้อ (รวม ATK) ไปแล้วกว่า 6.4 ล้านคน

แม้ลองหักลบจำนวนเด็กหรือเยาวชนที่ติดเชื้อไป และหวังใจว่าประสิทธิภาพของวัคซีนที่ใช้ในประเทศเราเหมือนกับประเทศพัฒนาแล้ว

จำนวนคนที่จะประสบภาวะ Long COVID อาจมีสูงถึง 1,000,000 คน

สิ่งที่ควรทำคือ

หนึ่ง ทุกภาคส่วนควรช่วยกันกระตุ้นเตือนให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ รวมถึงคนที่ติดเชื้อแล้วก็ควรป้องกันไม่ให้ติดเชื้อซ้ำ

สอง รัฐควรลงทุนสนับสนุนทรัพยากรให้เพียงพอสำหรับระบบสุขภาพ เพื่อจัดบริการให้คำปรึกษา ดูแลรักษา และฟื้นฟูสภาพสำหรับผู้ป่วยที่ประสบปัญหา Long COVID รวมถึงการศึกษาวิจัยเพื่อให้เกิดความรู้ทั้งเรื่องธรรมชาติของโรค การรักษา และการจัดทำระบบฐานข้อมูลระดับชาติ

สาม ประชาชนที่เคยติดเชื้อมาก่อน ควรหมั่นอัพเดตความรู้อย่างสม่ำเสมอ และประเมินสถานะสุขภาพของตนเอง หากมีอาการผิดปกติต่างจากอดีต ควรปรึกษาแพทย์ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อจะได้ตรวจวินิจฉัยและดูแลตั้งแต่เนิ่นๆ

โควิด…ไม่ได้จบที่หาย แต่ติดแล้วป่วยได้ ตายได้ ที่สำคัญคือเกิดภาวะผิดปกติระยะยาว Long COVID ที่บั่นทอนคุณภาพชีวิต สมรรถนะการใช้ชีวิตและการทำงาน รวมถึงเป็นภาระค่าใช้จ่ายทั้งต่อผู้ป่วย ครอบครัว และประเทศ

ไม่ติดเชื้อย่อมดีที่สุด… ยังไม่ใช่เวลาที่จะถอดหน้ากาก ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่หลงไปกับคำลวงหรือกิเลส ควรป้องกันตัวให้เป็นกิจวัตร.

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/covid-19-news/149722/

 

หลังจากที่อังกฤษได้มีการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดอย่างเป็นทางการเมื่อวานนี้

ก็พบเหตุการณ์ที่ผู้ฉีดวัคซีนจำนวน 2 ราย
พบผลข้างเคียงรุนแรงมากระดับเรียกว่าช็อค (Anaphylactoid reaction)
โดยทั้งสองรายซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เป็นผู้ที่มีประวัติอาการแพ้สิ่งอื่นแบบรุนแรงอยู่แล้ว จนต้องพกยาฉีดป้องกันแพ้แบบติดตัวไว้ตลอดเวลา( Adrenaline injection หรือ Epi-pen)
จากการทดลองในเฟสสามของไฟเซอร์ พบว่าวัคซีนที่ฉีดระดับสี่หมื่นคน มีผู้ที่แพ้แบบไม่รุนแรงเป็นจำนวนพอสมควร
และแพ้ปานกลาง 137 ราย จากอาสาสมัคร 19,000 ราย แต่แพ้ถึงขั้นช็อคนั้นยังไม่พบ
แต่เมื่อวัคซีนดังกล่าวถูกนำไปฉีดให้กับประชาชนเป็นการทั่วไปในประเทศอังกฤษเมื่อวานนี้ ในจำนวนนับพันคนต่อวัน ตามที่เป็นข่าวไปแล้วนั้น
จากการติดตามภายใน 24 ชั่วโมงแรก มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของอังกฤษที่รับวัคซีน มีอาการแพ้แบบรุนแรงถึงสองราย(Anaphylactoid reaction )
อาการแพ้รุนแรง รวมถึง ผิวหนัง เกิดอาการคันและบวม หน้าและลิ้นบวม หายใจลำบาก ความดันตก และอาจเสียชีวิตได้
โชคดีที่ผู้มีอาการแพ้ สามารถแก้ไขได้สำเร็จเรียบร้อย ไม่ถึงขั้นเสียชีวิต
จึงมีข้อแนะนำเบื้องต้นจาก MHRA (ซึ่งเป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้ฉีดวัคซีนนี้ได้ในประเทศอังกฤษ) ว่า ห้ามฉีดวัคซีนให้กับผู้ที่มีประวัติการแพ้อาหาร แพ้ยา หรือเป็นโรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรง
โดยเฉพาะผู้ที่จำเป็นจะต้องมียาฉุกเฉิน
(Adrenaline injection) ติดตัวไว้แก้ไขตลอดเวลา
ขอให้งดเว้นการฉีดวัคซีนโควิดดังกล่าวไว้ก่อน
ทางการอังกฤษเอง ทั้งผอ.NHS และผอ.MHRA ได้ให้ความเห็นว่า เป็นเรื่องที่อาจจะเกิดขึ้นได้สำหรับการให้วัคซีนจำนวนมากกับคนทั่วไป
แต่โดยทั่วไปแล้วจะเกิดน้อยมาก เช่น 1ในล้าน
กรณีนี้ฉีดไปเพียงหลักพันคนก็เกิดแล้ว จึงน่าเป็นห่วง และต้องติดตามข้อมูลเมื่อมีผู้ฉีดเพิ่มมากขึ้นว่า จะมีผลข้างเคียงทำนองนี้ เกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด
ข่าวดังกล่าวนี้ จะทำให้ส่งผลกระทบต่อความหวังเรื่องวัคซีนของไฟเซอร์ จะเกิดการชะงักไม่มากก็น้อย
ทำให้วัคซีนของบริษัทไฟเซอร์มีจุดอ่อนเพิ่มขึ้นคือ นอกจากการเก็บรักษาที่ยุ่งยากคือ
ต้องเก็บที่อุณหภูมิ -70 องศาเซลเซียส
และมีราคาที่ค่อนข้างแพง
ตลอดจนเป็นเทคโนโลยีใหม่ แบบ mRNA ซึ่งยังไม่เคยใช้ในการผลิตวัคซีนชนิดใดในโลกมาก่อน
แล้วตอนนี้มาพบจุดอ่อนเพิ่มเติมที่สำคัญคือ ผลข้างเคียงที่เป็นการแพ้แบบชนิดรุนแรง
ทำให้ความหวังของวัคซีนด้วยเทคโนโลยีเดียวกันคือ mRNA ของบริษัทโมเดิร์นนาก็อาจจะประสบปัญหาเดียวกันด้วย
ทำให้วัคซีนที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีอื่น เช่น การใช้ไวรัสเป็นพาหะ(Viral Vector) ของบริษัท AstraZeneca
และการใช้เทคโนโลยีแบบวัคซีนเชื้อตายของประเทศจีน อาจจะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ ว่าจะมีผลข้างเคียงที่น้อยกว่า เพราะเป็นเทคโนโลยีที่เคยใช้มานานหลายปีแล้ว
ต้องติดตามข่าวคราวอย่างใกล้ชิดกันต่อไปครับ
Reference
https://www.bbc.com/news/health-55244122
https://www.dailymail.co.uk/news/article-9034115/Allergy-risk-Pfizer-jab-TWO-patients-fall-ill-V-Day-rollout.html

 

 

สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส รายงานพบผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 สูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมและเมษายนตามลำดับ ส่วนอิตาลีพบผู้ติดเชื้อใหม่รายวันสูงสุดในวันอังคาร (27 ต.ค.) ในขณะที่การแพร่ระบาดของโรคระบาดใหญ่ไวรรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในยุโรป ไม่ส่งสัญญาณเบาบางลงเลยแม้แต่น้อย

จากข้อมูลของรัฐบาลพบว่า สหราชอาณาจักรพบผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 เพิ่มอีก 367 คนในวันอังคาร (27 ต.ค.) ถือเป็นตัวเลขรายวันสูงที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม ส่งผลให้ยอดผู้เสียชีวิตสะสมเพิ่มเป็น 45,365 ราย

ขณะเดียวกัน ข้อมูลในวันอังคาร (27 ต.ค.) ระบุด้วยว่า สหราชอาณาจักรพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 22,885 คน เพิ่มขึ้นจากระดับ 20,890 คนในวันจันทร์ (26 ต.ค.) ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อสะสมของประเทศ อยู่ที่ 917,575 คน

จำนวนผู้เสียชีวิตในสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในสัปดาห์นี้ และตัวเลขของวันอังคาร (27 ต.ค.) ถือว่าพอๆ กับจำนวน 374 คน ของเมื่อวันที่ 30 มีนาคม หรือราว 1 สัปดาห์ หลังจากดินแดนแห่งนี้เข้าสู่ภาวะล็อกดาวน์ทั่วประเทศ

อีวาน ดอยล์ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ของสำนักสาธารณสุขอังกฤษ กล่าวว่า หลังจากสงบนิ่งไปในช่วงฤดูร้อน แนวโน้มของการเสียชีวิตกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งและ “ดูเหมือนมันจะเป็นไปแบบนี้อีกสักพัก” เธอกล่าวในถ้อยแถลง

ในช่วงระลอกแรกของการแพร่ระบาด สหราชอาณาจักรเป็นชาติที่มีผู้เสียชีวิตสะสมมากที่สุดในยุโรป และเศรษฐกิจหดตัวรุนแรงมากกว่าชาติไหนๆ ในกลุ่มจี 7 และตอนนี้พวกเขากำลังต่อสู้กับระยะเริ่มต้นของระลอกสอง

รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้กำหนดข้อจำกัดต่างๆ นานาทั่วประเทศ ขึ้นอยู่ภับสถานการณ์การแพร่ระบาดในแต่ละพื้นที่

สถานการณ์การแพร่ระบาดในสหราชอาณาจักร สอดคล้องกับหลายชาติในยุโรป ในนั้นรวมถึงฝรั่งเศส ซึ่งรายงานในวันอังคาร (27 ต.ค.) พบผู้เสียชีวิตรายใหม่ 523 คนในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ถือเป็นตัวเลขรายวันสูงที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน

ข้อมูลของวันอังคาร (27 ต.ค.) ประกอบด้วยจำนวนผู้เสียชีวิตตามโรงพยาบาลซึ่งรายงานแบบรายวัน กับผู้เสียชีวิตตามบ้านพักคนชราในช่วง 4 วันที่ผ่านมา อีก 235 คน

นอกจากนี้แล้วทางกระทรวงสาธารณสุขของฝรั่งเศส ยังยืนยันพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีก 33,417 คนในช่วง 24 ชั่วโมงหลังสุด เพิ่มขึ้นจากระดับ 26,711 คนในวันจันทร์ (26 ต.ค.) ทว่าน้อยกว่า 52,010 คนของวันอาทิตย์ (25 ต.ค.) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดในประเทศ ส่งผลให้ยอดผู้ติดเชื้อสะสมเพิ่มเป็น 1,198,695 คน

หากเปรียบเทียบกับเมื่อวันอังคารที่แล้ว (20 ต.ค.) ซึ่งฝรั่งเศสรายงานตัวเลขรายวัน 20,468 เคส นั่นหมายความว่าเพียงแค่สัปดาห์เดียว จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มขึ้นมากกว่า 60%

อิตาลีก็เผชิญกับตัวเลขผู้ติดเชื้อที่พุ่งขึ้นเช่นกันในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา โดยทางสำนักงานป้องกันพลเรือนของประเทศรายงานพบผู้ติดเชื้อมากกว่า 17,000 รายในวันจันทร์ (26 ต.ค.) และ 21,994 คนในวันอังคาร (27 ต.ค.) สูงสุดนับตั้งแต่มีการแพร่ระบาด ทุบสถิติเดิม 21,273 คนของเมื่อวันอาทิตย์ (25 ต.ค.)

ตัวเลขดังกล่าวส่งผลให้ยอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 564,778 คน ในนั้นเสียชีวิต 37,700 ราย หลังพบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 221 คน ถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤษภาคม ที่อิตาลีมีผู้เสียชีวิตรายวันเกินกว่า 200 คน หลังจากหนึ่งวันก่อนหน้านี้พบผู้เสียชีวิต 141 คน
 
บทความต้นฉบับ https://mgronline.com/around/detail/9630000111587

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ