นายกรัฐมนตรี ฌอง กัสเท็กซ์ (ซ้าย) และ โอลิวิเยร์ วาราน รัฐมนตรีสาธารณสุข (ขวา) เปิดแถลงข่าวร่วมกันในวันพฤหัสบดี (18 มี.ค.) เกี่ยวกับยุทธศาสตร์รับมือโรคระบาดใหญ่โควิด-19

 
นายกรัฐมนตรี ฌอง กัสเท็กซ์ (ซ้าย) และ โอลิวิเยร์ วาราน รัฐมนตรีสาธารณสุข (ขวา) เปิดแถลงข่าวร่วมกันในวันพฤหัสบดี (18 มี.ค.) เกี่ยวกับยุทธศาสตร์รับมือโรคระบาดใหญ่โควิด-19
ฝรั่งเศสกำหนดมาตรการล็อกดาวน์ 1 เดือนในกรุงปารีส และพื้นที่ทางเหนือ ตามหลังการแจกจ่ายวัคซีนหยุดชะงัก และการแพร่ระบาดของตัวกลายพันธุ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่แพร่เชื้อได้ง่ายกว่าเดิมหลายเท่า ซึ่งมันบีบให้ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง ต้องเปลี่ยนแนวทางรับมือกับวิกฤตด้านสาธารณสุขระลอกใหม่

นับตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม ประธานาธิบดีรายนี้ ขัดขืนเสียงเรียกร้องจากเหล่านักวิทยาศาสตร์และสมาชิกบางส่วนในคณะรัฐบาล ให้ล็อกดาวน์ทั่วประเทศอีกรอบ โดยมาครงยืนกรานว่าจะทำทุกอย่างไม่ว่าจะอะไรก็ตาม เพื่อเปิดเศรษฐกิจใหญ่สุดอันดับ 2 ของยูโรโซนแห่งนี้เท่าที่จะเป็นไปได้

อย่างไรก็ตาม ในสัปดาห์นี้ดูเหมือนว่าเขาจะหมดทางเลือก เนื่องจากฝรั่งเศสและประเทศยุโรปอื่นๆ ระงับใช้วัคซีนโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าช่วงสั้นๆ

นายกรัฐมนตรี ฌอง กัสเท็กซ์ ระบุว่า ฝรั่งเศสกำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดระลอก 3 ด้วยตัวกลายพันธุ์ที่พบครั้งแรกในสหราชอาณาจักร เวลานี้คิดเป็นสัดส่วน 75% ของเคสผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั้งหมด ขณะเดียวกัน หออภิบาลผู้ป่วยหนักก็อยู่ในภาวะตึงเครียดอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปารีส ซึ่งมีอัตราอุบัติการณ์ข้ามผ่านระดับผู้ติดเชื้อ 400 คนต่อประชากรทุกๆ 100,000 คนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

“โรคระบาดใหญ่กำลังเลวร้ายลง ความรับผิดชอบของเราตอนนี้คือไม่ปล่อยให้มันเล็ดลอดจากการควบคุมของเรา” กัสเท็กซ์แถลงกับผู้สื่อข่าว

ฝรั่งเศสรายงานพบผู้ติดเชื้อใหม่ 35,000 คน ในวันพฤหัสบดี (18 มี.ค.) และมีคนไข้โควิด-19 ในห้องไอซียูในกรุงปารีส มากกว่าช่วงสูงสุดของการแพร่ระบาดระลอกสอง “ตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่ต้องยกระดับข้อจำกัดต่างๆ” กัสเท็กซ์ระบุ

“4 สัปดาห์ คือช่วงเวลาที่เรากำหนดบังคับใช้มาตรการต่างๆ เพื่อก่อผลกระทบอย่างพอเพียง มันคือเวลาที่เราจำเป็นต้องบรรลุเป้าหมายในการฉีดวัคซีนกลุ่มคนผู้อ่อนแอที่สุด”

 

มาตรการล็อกดาวน์จะเริ่มมีผลตั้งแต่เที่ยงคืนของวันศุกร์ (19 มี.ค.) เป็นต้นไป ในจังหวัดต่างๆ 16 แห่ง ที่ได้รับผลกระทบหนักหน่วงที่สุด ร้านตัดผม ห้างขายเสื้อผ้าและเฟอร์นิเจอร์จะต้องปิดให้บริการ แต่ร้านขายหนังสือและสินค้าจำเป็นอื่นๆ ยังสามารถเปิดทำการได้ตามเดิม

โรงเรียนจะยังคงเปิดการเรียนการสอนเช่นกัน และประชาชนจะได้รับอนุญาตให้ออกมาออกกำลังกายกลางแจ้งภายในรัศมีไม่เกิน 10 กิโลเมตรจากบ้านพัก อย่างไรก็ตาม จะไม่อนุญาตให้เดินทางออกนอกพื้นที่ต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบหนักหน่วง หากไม่มีเหตุผลที่จำเเป็นจริงๆ “ออกไปข้างนอกได้ แต่ไม่ใช่ไปปาร์ตี้กับเพื่อนๆ” นายกรัฐมนตรีระบุ

กัสเท็กซ์ ระบุว่า ฝรั่งเศสจะกลับมาฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าอีกรอบ หลังจากองค์การยาแห่งยุโรป (อีเอ็มเอ) ยืนยันว่า มันมีความปลอดภัย

ทั้งนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนต่อวัคซีนสัญชาติอังกฤษ-สวีเดน ซึ่งสำคัญยิ่งต่อเป้าหมายสร้างภูมิคุ้มกันของฝรั่งเศส กัสเท็กซ์บอกว่าเขาจะเข้ารับการฉีดวัคซีนในวันศุกร์ (19 มี.ค.)
 
แม้ มาครง ไม่ได้ออกคำสั่งล็อกดาวน์ทั่วประเทศ แต่มาตรการล็อกดาวน์อาจถูกขยายครอบคลุมแคว้นอื่นๆ หากมีความจำเป็น และอาจกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

ภูมิภาคปารีสมีสัดส่วนคิดเป็นเกือบ 1 ใน 5 ของจำนวนประชากร และมีสัดส่วนคิดเป็น 30% ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศ

มาตรการเคอร์ฟิวยามค่ำคืนทั่วประเทศซึ่งบังคับใช้มาตั้งแต่ช่วงกลางเดือนธัวาคม ยังคงบังคับใช้อยู่ แต่ลดกรอบเวลาลง เริ่มต้นช้ากว่าเดิม 1 ชั่วโมง ณ เวลา 19.00 น.

กัสเท็กซ์ ระบุว่า รัฐบาลไม่เสียใจที่ไม่ล็อกดาวน์ให้เร็วกว่านี้ “มันเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องในเดือนมกราคม ไม่อย่างนั้นเราจะต้องเหลืออดอยู่กับมาตรการล็อกดาวน์นาน 3 เดือน เราทำได้ดีที่ที่ไม่ทำแบบนั้น”

(ที่มา: รอยเตอร์)
 
 

 

25 ม.ค.2565 - นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงประเด็นการเฝ้าระวังการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 ว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ติดตามสถานการณ์การระบาดของสายพันธุ์ในประเทศ และ ติดตามสายพันธุ์น่ากังวลที่อาจพบจากผู้เดินทางเข้าประเทศอย่างต่อเนื่อง ด้วยเทคโนโลยีการตรวจการกลายพันธุ์ (SNP genotyping assay, Targeted sequencing, Whole genome sequencing) ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 เป็นต้นมา ซึ่งพบสายพันธุ์ที่น่ากังวลในประเทศไทย (Variant of Concerns; VOC) ได้แก่ อัลฟ่า​ (อังกฤษ)​ เบต้า​ (แอฟริกาใต้)​ เดลต้า​ (อินเดีย)​ จนกระทั่งพบสายพันธุ์โอมิครอน รายแรกเมื่อวันที่ 6 ธ.ค.2564 โดยเป็นโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1 พบการกลายพันธุ์ตำแหน่ง K417N, T478K, N501Y และ del69/70 แต่ไม่พบการกลายพันธุ์ตำแหน่ง L452R ซึ่งเป็นรูปแบบการกลายพันธุ์รูปแบบหนึ่งของสายพันธุ์โอมิครอน โดยในช่วงแรกประเทศไทยยังคงพบเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน เฉพาะในกลุ่มผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากต่างประเทศ และประมาณสามสัปดาห์ต่อมาเริ่มพบผู้ติดเชื้อในประเทศ โดยเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ที่พบในคลัสเตอร์ดังกล่าวเป็นสายพันธุ์ย่อย BA.1

นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า จากการเฝ้าระวังการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 ร่วมกับเครือข่ายทั่วประเทศ พบโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยในประเทศ ได้แก่ BA.1 และ BA.2 โดยสายพันธุ์ย่อย BA.2 ตรวจพบรายแรกตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค. 2565 และได้รายงานในระบบฐานข้อมูล GSAID ตั้งแต่วันที่ 19 ม.ค.. 2565 ส่วน BA.3 ยังไม่พบในประเทศไทย

 
 

“ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ตรวจสอบพบผู้ติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 รวมทั้งหมด 9 ราย ซึ่งลักษณะสำคัญทางพันธุกรรมของโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 คือ ไม่พบการกลายพันธุ์บน spike โปรตีน ของตำแหน่ง 69-70 ซึ่งแตกต่างจาก BA.1 และ BA.3 ทั้งนี้จากการติดตามสถานการณ์ระบาดและการกระจายของเชื้อไวรัสโควิด 19 โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 ยังไม่พบความแตกต่างจากสายพันธุ์ย่อย BA.1 ในประเด็น ความสามารถในการแพร่เชื้อที่รวดเร็ว อาการรุนแรง หรือสามารถหลบภูมิคุ้มกันได้ จากการติดเชื้อหรือการได้รับวัคซีนมาก่อน” นพ.ศุภกิจ กล่าว

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/covid-19-news/72417/

พบสายพันธุ์แอฟริกาภาคใต้ ลามจังหวัดข้างเคียง ห่วงเชื้ออินเดียระบาดหลาย จว.

 

วันที่ 21 มิ.ย.64 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงการควบคุมโรคในจังหวัดภาคใต้ หลังพบเชื้อโควิดสายพันธุ์เบตา หรือสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ว่า มีการเข้มมาตรการป้องกันแต่จะเพิ่มมากขึ้น โดยผู้ว่าราชการจังหวัด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ในฐานะคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดรับทราบนโยบาย และกำชับทางกระทรวงมหาดไทย มีการติดต่อทางส่วนกลางอย่างเข้มงวด

 

ส่วนกรณีที่เจอเชื้อในโรงเรียนแต่ไม่มีการสกัดกั้นจนนำเชื้อไปแพร่ต่อนั้น นพ.โอกาส กล่าวว่า รายละเอียดขอให้ทางจังหวัดเป็นผู้รายงาน ซึ่งก็รายงานมาส่วนกลาง และเราก็ได้กำชับเพราะประชาชนอาจเข้าใจผิดว่าเจอเคสแล้วให้ปิด ซึ่งเราบอกตลอดว่าการปิดไม่ใช่แก้ปัญหา แต่การแก้ปัญหาคือ อย่าให้เดินทางออกมา ซึ่งจะตรงกับมาตรการบับเบิ้ลแอนด์ซีล ส่วนสายพันธุ์เบต้า หรือ แอฟริกาใต้ ก็มีการกักตัวอย่างน้อย 21 วัน ส่วนจะ 1 เดือนหรือไม่ ต้องให้คณะกรรมการวิชาการพิจารณาอีกครั้ง ขณะนี้มีการเฝ้าระวังสายพันธุ์ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังเป็นสายพันธุ์อังกฤษ

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยว่า โควิด-19 ในไทยตอนนี้ส่วนใหญ่ยังเป็นสายพันธุ์อังกฤษ สายพันธุ์อินเดียรองลงมา พบในแคมป์คนงานเพิ่มขึ้นแถว จ.นนทบุรี ส่วนภาคใต้เป็นสายพันธุ์แอฟริกาใต้ จำนวนหนึ่งเจอนอกจังหวัดนราธิวาส เป็นจังหวัดภาคใต้ที่อยู่ใกล้เคียงกัน ส่วนตัวเลขอยู่ระหว่างตรวจสอบ ไม่ได้ปกปิด สายพันธุ์แอฟริกาใต้ดื้อต่อวัคซีนพอสมควร แต่แพร่โรคไม่เร็วเท่าอังกฤษและอินเดีย

ดังนั้น ที่กังวลตอนนี้คือสายพันธุ์อินเดียที่พบติดเชื้อในหลายจังหวัดแล้ว ตามหลักการได้แจ้งพื้นที่ให้ควบคุมแล้ว หากคุมได้ก็จะหยุดเร็วใน 14 วัน ไม่แพร่เชื้อในวง 2 วง 3 แต่อย่างที่ทราบว่าปัจจัยที่จะควบคุมได้หรือไม่ ไม่ได้ขึ้นกับเราคนเดียว ต้องเคร่งครัดมาตรการต่างๆ จึงรายงานต่อฝ่ายความมั่นคงให้เข้มงวด กิจกรรมใดๆ หากให้งดทำแต่ยังทำอยู่ ก็เป็นเรื่องยากที่จะลดการแพร่โรค รวมทั้งการลักลอบข้ามแดนผิดกฎหมาย อย่างเชื้อแอฟริกาใต้นั้น มีความชัดเจนว่ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน

เมื่อถามถึงกรณีโรงงานหลายแห่งไปดีลกับแล็บตรวจโควิดเอกชน ซึ่งอาจจะไม่ได้มาตรฐาน ทำให้ต้องมีการตรวจหาเชื้อใหม่ นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า มีโรงงานหลายแห่งอยากตรวจเชิงรุก ขอให้ติดต่อคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนั้นๆ ไม่อยากให้ทำโดยพลการ เพราะมีตัวอย่างหลายโรงงานไม่เข้าใจว่าวิธีตรวจ ตรวจด้วยอะไร แปลผลอะไร เช่น นำแรพิดแอนติเจนไปตรวจแล้วสรุปว่ามีคนติดจำนวนเท่านั้นเท่านี้ ซึ่งเป็นการตรวจเบื้องต้นเพื่อสุ่มเท่านั้น แต่จริงๆ ต้องตรวจด้วยวิธีการที่เป็นมาตฐานคือ RT-PCR เพราะฉะนั้นการตรวจหาเชื้อขอให้ปรึกษากัน เพราะสุดท้ายพอตรวจเจอไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร ยิ่งทำให้เรื่องยุ่งไปอีก เพราะไม่ได้จบแค่การตรวจเท่านั้น

“ปัญหาหนึ่งเวลาเจอคลัสเตอร์โรงงาน หรือแคมป์ เมื่อเกิดขึ้นมีการจัดการไม่เป็นระบบ ทำให้แรงงานจำนวนหนึ่งหนีออกนอกพื้นที่ ซีลไม่จริง เดินทางกลับภูมิลำเนา ทำให้เกิดการกระจายโรคไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้เยอะ นี่คือข้อสังเกตที่พบของการแพร่ระบาดในปัจจุบัน” นพ.ศุภกิจ กล่าวและว่า

กรณีโรงเรียนประจำ จ.ยะลา ที่พบเชื้อโควิด จากการติดตามโรงเรียนนี้ พบเบื้องต้นมีทั้งสายพันธุ์แอฟริกาใต้ และอังกฤษ กำลังอยู่ระหว่างติดตามหาต้นตอว่าติดมาจากที่ไหน และกำลังเร่งติดตามว่าเชื้อกระจายไปยังจังหวัดไหนบ้าง

ข้อมูลจาก https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6465661

พบเชื้อโควิดในแอร์! สธ.เผยคลัสเตอร์ นศ.ปาร์ตี้ในร้านอาหารกึ่งผับ ติดเชื้อ 52 ราย
S! News (Exclusive)

สนับสนุนเนื้อหา

สธ. เผยคลัสเตอร์นักศึกษามหาวิทยาลัยใน กทม. ติดเชื้อ 52 ราย ปาร์ตี้ในร้านอาหารกึ่งผับ พบเชื้อโควิด-19 ในแอร์

วันนี้ (29 ธ.ค.) นายแพทย์ โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า พบอีกคลัสเตอร์คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งใน กทม. โดยเมื่อวันที่ 24 ธ.ค.ที่ผ่านมา พบผู้ติดเชื้อ 52 ราย มีประวัติรับประทานอาหาร ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหารกึ่งผับ "ร้าน A" ช่วงวันที่ 8-14 ธ.ค.

ปัจจัยเสี่ยงในร้านเป็นห้องปรับอากาศถ่ายเทไม่ดี จากการลงพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ ตรวจพบเชื้อโควิดอยู่ในเครื่องปรับอากาศ จากการเก็บตัวอย่าง จำนวน 2 เครื่อง และช่วงเวลาทานอาหาร ดื่มเครื่องดื่ม ไม่สวมหน้ากากอนามัยเป็นเวลานาน 

ดังนั้นขอให้ใช้เวลารับประทานอาหารให้น้อยที่สุด ช่วงที่ไม่รับประทานอาหารให้สวมหน้ากาก ซึ่งหากทุกคนใส่หน้ากากจะลดเสี่ยงการติดเชื้อมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากชนิดใด สิ่งสำคัญคือต้องใส่ให้ถูกต้อง

ข้อมูลจาก https://www.sanook.com/news/8496038/

 
กรณีบุคลากรทางการแพทย์ติดโควิดจากการทำงานในสถานกักตัวของเอกชน(ASQ) ทำให้เกิดกลุ่มก้อนการติดโควิด 7 คนนั้น
ขณะนี้มีรายงานอย่างเป็นทางการว่า ตรวจพบ ไวรัสโคโรนาที่ก่อโรคโควิดที่ลูกบิดประตู ทำให้วิเคราะห์ได้ว่า
บุคลากรทางการแพทย์ดังกล่าวน่าจะมีโอกาสติดโควิดจากสองแหล่งด้วยกันคือ
1) จากลูกบิดประตู
2) ติดจากผู้ที่มารับการกักตัว และบุคลากรดังกล่าวทำการตรวจสารคัดหลั่ง(Swab)โดยไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัยหรือชุดป้องกันที่เพียงพอ
จึงเป็นที่น่าสนใจว่า ไวรัสที่อยู่บนลูกบิดประตูจะอยู่ได้นานมากน้อยเพียงใด
มีงานวิจัยของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติออสเตรเลียพบว่า ในวัสดุที่ทำลูกบิดประตู เช่น
สแตนเลส(Stainless Steel) ไวรัสจะอยู่ได้ดังนี้
ถ้าอุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส อยู่นานถึง 28 วัน อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสอยู่ได้นาน 7 วัน
อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียสจะอยู่ได้เพียงวันเดียว
โดยมีปัจจัยอื่นประกอบการอยู่ได้นานหรือไม่ดังนี้
1) ถ้าวัสดุผิวยิ่งเรียบ ไวรัสจะอยู่ได้นานกว่าวัสดุผิวขรุขระ
2) ถ้าวัสดุมีไขมันหรือโปรตีน จะทำให้ไวรัสอยู่ได้นานมากขึ้น
3) ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำหรืออากาศแห้ง ไวรัสอยู่ได้นานมากขึ้น
4) ถ้ามีแสงแดดน้อยหรือมืด ไวรัสจะอยู่ได้นานขึ้น
ดังนั้นลูกบิดประตู(วัสดุผิวเรียบ) ของห้องพักโรงแรม(ไม่ถูกแสงแดด) มีอากาศเย็น(อุณหภูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส) และมีคนที่จับลูกบิดประตูโดยไม่ใส่ถุงมือ(ทำให้มีไขมันหรือโปรตีนบนลูกบิด)
ก็จะทำให้ไวรัสอยู่บนลูกบิดนั้นได้นานยิ่งขึ้น
จากปัจจัยดังกล่าว

 

อย่างไรก็ตาม การที่จะติดไวรัสจากลูกบิดประตูได้
ต้องเกิดจากบุคลากรนำมือที่มีไวรัสนั้น มาสัมผัสกับเยื่อบุตา เยื่อบุจมูก หรือเยื่อบุในช่องปาก เพราะไวรัสจะไม่สามารถผ่านผิวหนังที่มือได้
แต่ถ้าในกรณีที่ติดจากผู้ป่วยที่หายใจ หรือไอจามสู่บุคลากรที่ไม่ใส่หน้ากาก ขณะทำการตรวจสารคัดหลั่ง ก็จะติดได้โดยตรง

 

คงจะต้องรอการพิสูจน์ว่า ไวรัสที่ลูกบิดประตูนั้น มีสารพันธุกรรมตรงกับที่กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ดังกล่าวติดโควิดหรือไม่ คงทราบผลกันในไม่ช้านี้ครับ
Reference
 

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ