ความก้าวหน้าการวิจัยด้านโรคมะเร็ง
นักวิทยาศาสตร์กำลังสงสัยว่าในโลกแห่งความเป็นจริง ปัจจุบันเราจะสามารถเอาชนะโรคมะเร็งได้หรือไม่? หรือจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลย เนื่องจากโรคมะเร็งต่างจากโรคอื่นๆ ค่อนข้างมาก โรคทั่วไปมีสาเหตุปัจจัย 1-2 อย่าง แต่โรคมะเร็งมีสาเหตุจากหลายอย่าง อาทิ ไวรัส แบคทีเรีย พันธุกรรม ฮอร์โมน สิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่นๆอีกมาก แม้การวิจัยเพื่อเอาชนะโรคมะเร็งจะเป็นไปอย่างช้าๆ แต่ปัจจุบันก็มีความก้าวหน้าเป็นลำดับ อาทิเช่น
- นักวิทยาศาสตร์กำลังพัฒนา microship ที่เมื่อหยดเลือดผู้ป่วยลงไปจะสามารถบอกได้ว่าในเลือดมีเซลล์มะเร็งอยู่หรือไม่
- นักวิทยาศาสตร์กำลังพัฒนายาที่ใช้ทำลายเฉพาะเซลล์มะเร็งโดยไม่ส่งผลกระทบต่อเซลล์ปกติ (targeted drugs) โดยปัจจุบัน มียาหลายชนิดอยู่ในขั้นการทดสอบภาคสนาม
- นักวิทยาศาสตร์กำลังพัฒนายาที่จะไปกระตุ้น gene ที่สงบอยู่ให้ฟื้นขึ้นและทำหน้าที่หยุดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งไม่ให้เพิ่มจำนวนขึ้นได้ และหมดไปในที่สุด
ข้อมูลที่น่าสนใจของคนอเมริกัน พบว่า ชายอเมริกัน 1 ใน 2 และหญิงอเมริกัน 1 ใน 3 มีโอกาศที่จะเป็นมะเร็งอย่างใดอย่างหนึ่งในช่วงชีวิต
นักวิทยาศาสตร์จีน ได้ประกาศในที่ประชุมวิชาการว่าประสพความสำเร็จในการให้กำเนิดเด็กที่ได้รับการตัดต่อยีน (gene edited babies) เป็นครั้งแรกในโลก โดยให้ชื่อเด็กที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นผู้หญิงว่า Luna และ Nana เด็กทั้ง 2 คนมี DNA ที่สามารถต้านการติดเชื้อ HIV ได้ โดยการตัดต่อยีน ทำโดยเทคนิค CRISPR technology (ดูรายละเอียดวิธีการใน web site ก่อนหน้านี้)
ขบวนการตัดต่อยีนทำโดยการตัดต่อยีนในตัวอ่อนมนุษย์ แล้วปลูกถ่ายเข้าไปในมดลูกของหญิงคนหนึ่ง ผลปรากฏว่าเด็กเกิดขึ้นมาสมบูรณ์ดี หลักการคือทำให้ยีน CCR5 ซึ่งเป็นยีนที่อยู่บนผิวของเม็ดเลือดขาวทำหน้าที่เป็นตัวรับ (receptor) เชื้อไวรัส HIV และนำไวรัสผ่านผนังเซลล์เข้าไปสู่ภานในเซลล์ ไม่สามารถเป็นตัวรับเชื้อไวรัสได้อีกต่อไป ส่งผลให้เชื้อไวรัส HIV ไม่สามารถเข้าไปเพิ่มจำนวนภายในที่สุด
อย่างไรก็ตามการวิจัยนี้ยังได้รับการวิภาควิจารณ์จากนักวิทยาศาสตร์หลายฝ่าย เนื่องจากเป็นความเสี่ยงต่อด้านของจริยธรรมเนื่องจากเด็กที่เกิดจากการได้รับการตัดต่อยีนแม้จะป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV ได้แต่อาจมีความไวต่อการติดเชื้อไวรัสชนิดอื่นๆ อาทิเช่น West nile virus และ Japanese encephalitis เป็นต้น นอกจากนั้นต่อไปอาจมีการสร้างเด็กที่มีการตัดต่อยีนตามความต้องการเช่น มีความเฉลียวฉลาดมากกว่าเด็กทั่วไป สวยงามกว่าเด็กทั่วไป รวมทั้งมีความสามารถพิเศษอื่นๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม คงจะต้องมีการติดตามการวิจัยนี้ต่อไป อาทิเช่น เด็กที่เกิดจากการตัดต่อยีนจะมีชีวิตต่อไปได้ตามปกติหรือไม่รวมทั้งจะมีผลข้างเคียงอื่นๆตามมาหรือไม่ เมื่อเด็กมีอายุมากขึ้น รวมทั้งปัญหาเรื่องจริยธรรมที่ต้องได้รับการพิจารณาอย่างจริงจัง
ปกติสตรีแต่ละคนจะผลิตไข่ประมาณ 1 – 2 ล้านใบตลอดชีวิต ไข่ของคนเป็นเซลล์เดี่ยวขนาดเล็ก เท่าปลายเข็มหมุด คุณภาพ และ ประสิทธิภาพการเจริญพันธุ์ของไข่ จะลดลงตามอายุของเจ้าของที่เพิ่มขึ้น เป็นที่รับรู้กันว่า หญิงที่มีอายุเกิน 40 ปี มีความเสี่ยงสูงต่อการมีบุตร ที่อาจมีความผิดปกติของพันธุกรรม หรือ มีปัญหาผิดปกติในการเกิดของเด็ก ปัจจุบันเทคโนโลยีการแช่แข็งไข่ที่อุณหภูมิต่ำมาก (freezing eggs) มีความก้าวหน้ามากขึ้น จนมั่นใจได้ว่าจะสามารถรักษาคุณภาพ และ ประสิทธิภาพของไข่ ให้คงสภาพได้นานเท่าที่ต้องการ ทำให้สตรีที่ยังไม่ประสงค์จะมีบุตรสามารถเลือกที่จะแช่แข็งไข่ เอาไว้เมื่ออายุยังน้อยเก็บไว้จนกว่าจะพร้อมที่จะมีบุตร จึงนำไปผสมกับสเปิร์ม ก่อนนำกลับไปในมดลูกต่อไป เทคโนโลยีนี้ทำให้สตรีที่กำลังประสบความสำเร็จขณะอายุยังน้อย สามารถเลื่อนการมีบุตรออกไปจนกว่าตัวเองจะมีความพร้อม อัตราค่าแช่แข็งไข่ ในสหรัฐอเมริกา ประมาณ US$ 10,000 – 15,000 โดยมีค่าดูแลรักษาปีละ US$ 500 – 1,000 โดยขั้นตอนโดยทั่วไปเป็นดังนี้
- ฉีดฮอร์โมน เพื่อกระตุ้นให้ไข่ตกทุกวันติดต่อกัน 2 สัปดาห์
- แพทย์จะสอดเครื่องมือเข้าไปเก็บไข่ในรังไข่จำนวนครั้งละ 5 – 25 ใบ
- ไข่จะถูกนำมาแช่แข็งอย่างเร็วตามกระบวนการ โดยจะสามารถเก็บไว้นานจนกว่าต้องการจะนำมาใช้
- เมื่อต้องการมีบุตร ไข่จะถูกนำมาทำให้น้ำแข็งละลาย ซึ่งไข่จะมีโอกาสรอดประมาณ 75 – 80%
- แพทย์จะนำสเปิร์มมาผสมกับไข่ในหลอดแก้ว ก่อนนำไปฝังตัวในมดลูกของแม่ และ ทดสอบการเจริญพันธุ์ จนกว่าจะพบว่ามีการตั้งครรภ์
- อย่างไรก็ตามข้อมูลของปี 2012 และ 2013 พบว่า โอกาสที่จะสำเร็จจนกระทั่งเกิดเด็กขึ้น มีเพียง 24%
ข้อมูลที่ต้องเข้าใจ คือ ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า ไข่ที่ถูกแช่แข็งจะคงสภาวะปกติอยู่ได้โดยไม่จำกัดระยะเวลา และ ถ้ารอจนอายุ 40 ปี ขณะที่มีความเสี่ยงสูงที่จะมีลูก ตามธรรมชาติที่มีพันธุกรรมผิดปกติแล้ว การนำที่แช่แข็งมาผสมในหลอดแก้วก็มีความเสี่ยงต่อความไม่สำเร็จสูงด้วยเช่นกัน
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง มาจากทั้งภายในร่างกาย โดยเฉพาะเรื่องของพันธุกรรม และจากภายนอกร่างกาย จากวิถีการดำเนินชีวิตและมลพิษที่อยู่รอบตัวในอากาศและในน้ำเป็นต้น
โรคมะเร็งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยมากที่สุด มีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งปีละ 8 หมื่นคน และมีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 150,000 คน ข้อมูลทางสถิติพบว่า คนไทยที่อายุถึง 75 ปี จะมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็ง 1 ใน 7 คน ถ้าแยกตามเพศจะพบว่าเพศชายมีโอกาสเป็นมะเร็ง 1 ใน 6 คน และเพศหญิงมีโอกาสเป็นมะเร็ง 1 ใน 8 คน
โรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในคนไทยตามลำดับคือ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ทวารหนัก อัตราการเสียชีวิตสูงที่สุด 92-95% ได้แก่มะเร็งตับ มะเร็งปอด 80-90% มะเร็งปากมดลูก 60% มะเร็งลำไส้ 65-60% มะเร็งเต้านม 30-35% มะเร็งเต้านมถ้ามีการรักษาที่ดีจะมีโอกาสหายขาดได้มาก ปกติทุกคนมียีนก่อมะเร็งซ่อนอยู่ในตัว การเกิดโรคมะเร็งมีสาเหตุจากการที่ยีนก่อมะเร็งถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยภายนอกให้ออกมาทำงานซึ่งปัจจัยภายนอกนั้นอาจมาจากหลายอย่าง เช่น อาหาร น้ำ อากาศ และการดำเนินชีวิตที่เพิ่มความเสี่ยงต่างๆ
การรักษาโรคมะเร็ง วิธีหลักๆในปัจจุบันที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง ได้แก่ การผ่าตัด การให้เคมีบำบัดและการฉายแสง แต่วิธีดังกล่าวนี้ให้ผลดีเฉพาะโรคมะเร็งระยะแรกเท่านั้น และนอกจากวิธีดังกล่าวไม่มีความจำเพาะในการฆ่าเซลล์มะเร็ง ทำให้เกิดผลข้างเคียงมาก แต่ในปัจจุบันความก้าวหน้าของการรักษาแบบใหม่ โดยใช้แอนติบอดี้ที่มีความจำเพาะต่อเซลล์มะเร็ง มีการพัฒนาก้าวหน้ามาอย่างต่อเนื่อง น่าจะเป็นความหวังในการรักษาโรคมะเร็งที่ได้ผลดีในอนาคตอันใกล้
ซูเปอร์บั๊ก กำลังแพร่กระจายก่อให้เกิดปัญหาทางการแพทย์ทั่วโลก ซูเปอร์บั๊ก คือ แบคทีเรียก่อโรคที่ต้านยาปฏิชีวนะเกือบทุกชนิด ทำให้ผู้ที่ติดเชื้อแบคทีเรีย ซูเปอร์บั๊ก และ ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม มีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าผู้ป่วยปกติหลายเท่า รายงานผู้ติดเชื้อซูเปอร์บั๊กในสหรัฐอเมริกา ในปี 2556 มีจำนวนสูงถึงกว่า 2 ล้านคนในจำนวนนี้ เสียชีวิตประมาณ 20,000 คน ประเทศเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาหลายพันล้านดอลล่าร์ โดยเฉพาะในประเทศจีนซึ่งมีปัญหาด้านซูเปอร์บั๊กอยู่มาก มีการประมาณการว่า ถ้าไม่มีการแก้ไขภายใน 30 ปี ข้างหน้า ประชาชนจีนอาจเสียชีวิตจาก ซูเปอร์บั๊ก ถึงประมาณ 1 ล้านคน
ต้นเหตุของการเกิด ซูเปอร์บั๊ก เริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อประมาณ กว่า 60 ปีที่แล้ว (คศ. 1950) เมื่อเริ่มมีการใช้ยาปฏิชีวนะในการเร่งให้สัตว์เลี้ยงเติบโตเร็วขึ้นกว่าปกติ โดยผสมยาปฏิชีวนะในอาหาร น้ำ และพ่นฉีดบนลำตัว ทั้งในอุตสาหกรรมเลี้ยง ปศุสัตว์ และเลี้ยงไก่ โดยเฉพาะในฟาร์มไก่เนื้อ มีข้อมูลว่า ปี 2503 ต้องใช้เวลา 63 วัน เพื่อเลี้ยงไก่ให้ได้น้ำหนัก 3.4 ปอนด์ แต่ในปี 2554 ใช้เวลาเพียง 47 วัน เพื่อเลี้ยงไก่ให้ได้น้ำหนัก 5.4 ปอนด์ ซึ่งยืนยันได้ว่ายาปฏิชีวนะ มีบทบาทสำคัญในการเร่งการเจริญเติบโต ข้อมูลในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าระหว่างปี 2544 ถึง 2554 ยาปฏิชีวนะที่ขายในประเทศนี้ทั้งหมดประมาณ 80% ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ อีกประมาณ 20% เท่านั้น ที่ถูกนำไปใช้รักษาผู้ป่วย
การเกิดขึ้นของชูเปอร์บั๊กมีสาเหตุจากยาปฏิชีวนะเข้าไปกำจัดแบคทีเรียส่วนใหญ่ที่ไม่ต้านยาให้หมดไป เปิดโอกาสให้แบคทีเรียที่ต้านยาตามธรรมชาติ เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ผลการสำรวจในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ ปี 2556 พบว่า ไก่ที่ขายในตลาดกว่า ร้อยละ 50 ปนเปื้อนด้วยแบคทีเรีย ชนิดที่เป็นซูเปอร์บั๊กแบคทีเรียต้านยาเหล่านี้เข้าสู่มนุษย์ได้หลายทาง เช่น จากเนื้อสัตว์ที่ดิบๆสุกๆ จากการที่มีปนเปื้อนอยู่ในผัก ผลไม้ รวมทั้ง ผู้ที่ทำงานในฟาร์ม ที่ใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยง เป็นต้น
ปัจจุบันประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ เริ่มตระหนักถึงปัญหานี้ จึงเริ่มมีมาตรการควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะ ในการผสมในอาหาร และ น้ำในการเลี้ยงสัตว์ สำหรับในประเทศไทย ปัจจุบันยังคงไม่มีมาตรการที่ชัดเจนในการที่จะช่วยลดปัญหานี้
หน้าที่ 137 จาก 147