มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) รายงานผลการสำรวจคุณภาพผัก-ผลไม้ ประจำปี 2557 โดยสุ่มตรวจสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างจากห้างค้าปลีก และตลาดผักทั่วไประหว่างเดือน มีนาคม ถึงเดือน พฤษภาคม 2557 ใน 5จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพ เชียงใหม่ ขอนแก่น ยโสธร และสงขลา ครอบคลุม ผัก-ผลไม้ เช่น คะน้า ถั่วฝักยาว พริก ผักชี กะเพรา ส้ม สตรอว์เบอร์รี่ แอปเปิล ฝรั่ง และแตงโม โดยส่งตัวอย่างไปวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 17025 มีผลที่น่าสนใจดังนี้
- ผักและผลไม้ที่จำหน่วยโดยทั่วไปมีสารตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 55% เฉพาะชนิดที่ตกค้างเกินค่ามาตรฐานของไทยมีมากถึง 46.6%
- ผักและผลไม้ที่ได้รับตรารับรองมาตรฐาน Q มีการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากที่สุดโดยพบว่า ผัก Q มีการตกค้างของสารเคมีถึง 87.5% และมีจำนวนที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานถึง 62.5%
- ห้างค้าปลีก ผัก และผลไม้มีสารเคมีค้างเฉลี่ย 53.3% ตลาดทั่วไป มีสารเคมีตกค้างในอัตราที่ต่ำว่า คืออยู่ที่เฉลี่ย 40%
- รายละเอียดของผัก และผลไม้ที่มีการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเกินกว่ามาตรฐาน
- ส้มสายน้ำผึ้ง 100%
- ฝรั่ง 69.2%
- แอปเปิล 58.3%
- คะน้า 53%
- กะเพรา สตรอว์เบอร์รี่ และส้มจีน 50%
- ถั่วฝักยาว 42.5%
- ผักชี 36.4%
- แตงโม 15.4%
- พริกแดง 8.3%
มวลกระดูก : การสร้างและการสลาย
ตั้งแต่เกิดจนตายกระดูกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งด้านการเจริญเติบโตและความหนาแน่นของกระดูก เซลล์ของกระดูกมีชีวิตอยู่ประมาณ 5-6 เดือน จะตายไป แล้วก็มีเซลล์ใหม่เกิดขึ้นมาทดแทน เราเรียกกระบวนการนี้ว่า “วงจรชีวิตของกระดูก” (Bone turn over) ถ้าวงจรชีวิตของกระดูกสั้นหรือเร็วขึ้นผลที่ได้คือการสูญเสียความหนาแน่นของกระดูก หรือกระดูกบางหรือกระดูกพรุนนั่นเอง
กระดูกจะมีความหนาแน่นมากที่สุดเมื่อคนเราอายุ 30 ปี ฉะนั้นการส่งเสริมให้คนอายุต่ำกว่า 30 ปี ได้รับแคลเซียมเพียงพอจะมีผลให้ความหนาแน่นของกระดูกตอนอายุ 30 ปี มีมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการส่งเสริม
จากอายุ 30 ปี ไปแล้วจะเริ่มมีการสูญเสียมากกว่าการสร้างมวลกระดูกเล็กน้อย แต่เมื่อถึงช่วงวัยทองของผู้หญิง การสูญเสียมวลกระดูกจะรุนแรงที่สุด ทำให้มวลกระดูกลดลงอย่างรวดเร็วปีละ 3-5%
เมื่อเข้าวัยเกษียณอายุการสูญเสียของมวลกระดูกก็จะยังมีอยู่ต่อไปประมาณปีละ 0.5-1.0% และเมื่ออายุมากขึ้นเรื่อยๆ การสูญเสียมวลกระดูกก็จะลดลงไปเรื่อยๆ แต่เมื่อมวลกระดูกลดลง 30 % ขึ้นไปซึ่งทำให้เหลือมวลกระดูกน้อยกว่า 70% กระดูกจะหักได้ง่าย แม้แต่อุบัติเหตุเล็กน้อยหรือแม้แต่การกระแทกเบาๆ หรือก้มตัวเก็บของทำให้กระดูกสันหลังทรุดลงได้โดยง่าย ซึ่งระยะนี้คือระยะกระดูกพรุน ในคนไทยพบว่าผู้หญิงที่อยู่ในระยะอันตรายนี้อยู่ที่อายุ 65 ปี แต่ของผู้ชายกว่าจะถึงระยะนี้จะนานกว่าผู้หญิงเพราะฮอร์โมนเพศยังไม่หมดทันทีทันใดจะค่อยๆ หมดลง และขึ้นกับว่าชายคนนั้นมีปัจจัยเสี่ยงของเรื่องกระดูกพรุนหรือไม่ เช่นการดื่มเหล้า กาแฟ กินยาบางอย่างประจำ ไม่ได้ออกกำลังกาย มีโรคประจำตัว เป็นต้น
ฉะนั้นการรักษาโรคกระดูกพรุนจึงจำเป็นต้องเริ่มต้นตั้งแต่เด็ก-ผู้ใหญ่-วัยทอง&วัยชรา ไม่ใช่มารักษาเมื่อกระดูกพรุนแล้ว เพราะไม่สามารถรักษาให้กระดูกหายพรุนได้ เพียงแต่รักษาไม่ให้กระดูกพรุนมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งการรักษาเมื่อกระดูกพรุนแล้วจะต้องเสียเงินมากกว่ารักษาตั้งแต่กระดูกยังไม่พรุนหลายเท่า และจะให้ดีที่สุดต้องรักษาไม่ให้กระดูกพรุนเกิดขึ้นกับคนไข้จนแก่ตายได้ จึงจะนับว่าเป็นการรักษาที่ถูกต้อง
ที่ผ่านมามีการตรวจความหนาแน่นของกระดูก Bone Mass Density (BMD) ว่ามีกี่ % ถ้าอยู่ระหว่าง 90-100% ก็พอจะนับว่ามีมวลกระดูกปกติ เมื่อไรมีน้อยกว่า 90 % จึงจะเป็นกระดูกบาง และถ้าน้อยกว่า 70% จะเป็นกระดูกพรุน ฉะนั้นการวัดมวลกระดูกจึงบอกสภาพว่ากระดูกอยู่ในสภาพไหนเท่านั้น ที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะรอให้การวินิจฉัยว่ามีกระดูกพรุนก่อนจึงจะให้การรักษา นั่นคือความคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะการวัดมวลกระดูกไม่สามารถบอกได้ว่าในขณะนั้นมีการสลายเนื้อกระดูกสมดุลกับการสร้างกระดูกใหม่หรือไม่ ถ้าสลายมากว่าสร้างและปล่อยให้สภาพนี้เป็นไปเรื่อยๆ สุดท้ายจะจบด้วยกระดูกพรุน
จะทราบได้อย่างไรว่าในขณะนั้นการสูญเสียกระดูกกับการสร้างกระดูกอยู่ในสมดุลหรือไม่ต้อง ใช้วิธีตรวจสารชีวเคมีในเลือดที่เกิดจากการล่มสลายกระดูกและการสร้างกระดูกนั่นคือ Biochemical Bone Markers (BMK)
* ข้อมูลจากเอกสารเผยแพร่ “การใช้ประโยชน์ Biochemical Bone Markers (BMK)” โดย ศ.กิตติคุณ นพ. เสก อักษรานุเคราะห์ จัดพิมพ์ โดย Roche Diagnostics (Thailand) Ltd.
4 ม.ค.64 - นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเปิดเผยว่า มาตรการเยียวยาผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระลอกใหม่ โดยสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้ออก “กฎกระทรวงกําหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ.2563” กำหนดให้ลดเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่มกราคม-มีนาคมดังนี้ ผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 ลดเงินสมทบเหลือร้อยละ 3,ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ลดเงินสมทบเหลือ 278 บาทต่อเดือน ซึ่งจะช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของทุกฝ่ายได้ถึง 15,660 ล้านบาท โดยเตรียมระบบรองรับการชำระเงินสมทบตามอัตราใหม่ ผ่านช่องทางต่างๆ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.64 เช่น นายจ้างชำระเงินสมทบให้ผู้ประกันตน มาตรา 33 ผ่านเคาท์เตอร์ธนาคารหรือผ่านระบบอิเลคทรอนิกส์ของธนาคารและที่สำนักงานประกันสังคมทุกพื้นที่ ส่วนผู้ประกันตน มาตรา 39 สามารถหักบัญชีเงินฝากอัตโนมัติในรอบวันที่ 15 ก.พ.64,บริการตามเคาน์เตอร์เทสโก้โลตัสจะเริ่มให้บริการวันที่ 7 ม.ค.64,ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ให้บริการชำระได้ในวันที่ 15 ม.ค.64 และธนาคารธนชาตจะเริ่มในวันที่ 1 ก.พ.64
ทั้งนี้สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานมีมาตรการช่วยเหลือกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย (โรคระบาด) สำหรับลูกจ้างผู้ประกันตนที่มีเงินสมทบครบ 6 เดือนใน 15 เดือน แต่ไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน เนื่องจากต้องกักตัว หรือนายจ้างหยุดประกอบกิจการจนลูกจ้างไม่ได้รับค่าจ้าง จะได้รับสิทธิทดแทนในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวันตลอดระยะเวลากักตัวแล้วแต่กรณี แต่ไม่เกิน 90 วัน เช่น ผู้ที่มีฐานเงินเดือน 15,000 บาทจะได้รับเงินเยียวยา 7,500 บาท ซึ่งมาตรการนี้ครอบคลุมทั้งประเทศ ไม่ใช่เพียง 28 จังหวัดตามที่มีประกาศสั่งให้หยุดกิจการ
โดยสามารถขอรับสิทธิประโยชน์ กรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส.2-01/7 ผ่านเว็บไซต์ www.sso.go.th แล้วนำส่งนายจ้างได้ตั้งแต่วันนี้ (4 ม.ค.64 ) โดยจะต้องระบุเบอร์โทรศัพท์ติดต่อและเลขบัญชีธนาคารให้ชัดเจน สำหรับนายจ้าง ให้ยื่นขอรับสิทธิว่างงานผ่านเว็บไซต์เดียวกันและบันทึกข้อมูลในระบบอีเซอร์วิส โดยต้องบันทึกข้อมูลลูกจ้างตามแบบฟอร์มและหนังสือรับรองการหยุดงาน กรณีราชการสั่งปิดหรือกักตัว แล้วส่งทางไปรษณีย์ไปยังสำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ โดยที่ลูกจ้างผู้ประกันตนไม่ต้องเดินทางไปยังสำนักงานฯ เมื่อครบถ้วนทุกขั้นตอน หลังจากนั้นเงินจะโอนเข้าบัญชีภายใน 5 วันทำการ และรอบตัดจ่ายกำหนดทุกสิ้นเดือนถัดไป หรือจนกว่าจะครบวันที่สถานประกอบการมีกำหนดปิด
ยาแอสไพรินได้ถูกนำมาใช้สำหรับแก้ไข้ แก้ปวดมานานหลายสิบปี ก่อนที่จะมีการพบว่าเป็นสาเหตุสำคัญของ เลือดออกในระบบทางเดินอาหาร ปัจจุบันจึงมีการเลิกใช้ไปแล้ว แต่คุณประโยชน์ของ ยาแอสไพริน ก็ยังคงมีอยู่เนื่องจากมีหลักฐานว่า ยาแอสไพริน สามารถช่วยป้องกันอาการหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (heart attacks) รวมทั้งมีข้อมูลว่าแอสไพรินจะช่วยลดโอกาสเป็นโรคมะเร็งของลำไส้ (colorectal cancer) ได้ กรณีที่กินยาในขนาดต่ำกว่าปกติ หรือประมาณ 80-100 มิลลิกรัม ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า baby aspirin
อย่างไรก็ตามผู้ที่กินยาแอสไพริน ประจำก็ยังคงมีความเสี่ยงของการเลือดออกในระบบทางเดินอาหารอยู่ดี ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ต้องตัดสินใจว่า ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพปกติควรกินยาแอสไพริน เพื่อป้องกันอาการหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (heart attacks) อาการเลือดเลี้ยงสมองไม่พอ (strokes) ความจำเสื่อม (dementia) และมะเร็ง (cancer) หรือไม่ มีรายงานผลการวิจัยในประชาชนหลายเชื้อชาติเป็นระยะเวลานานกว่า 4 ปี พบว่า การกินยาแอสไพรินไม่ได้ช่วยอะไรมาก แต่อาจสร้างผลเสียมากกว่าด้วยซ้ำ จากการที่มีความเสี่ยงจากการมีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร สมอง และอวัยวะอื่นๆ
แม้ว่าจะมีข้อมูลที่เชื่อถือได้ว่าการกินยาแอสไพรินในปริมาณต่ำๆ (8-100มิลลิกรัม/วัน) จะช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคมะเร็งของลำไส้ใหญ่ในผู้สูงวัยที่มีความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าวแต่ไม่ควรกินยาแอสไพรินด้วยตัวเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ มีความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญว่าผู้สูงวัยที่สุขภาพดีไม่ควรเริ่มกินยาแอสไพริน หรืออาจกล่าวได้ว่า ไม่จำเป็นก็อย่าเริ่มกิน โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่กำลังกินยาแอสไพรินอยู่ควรหยุดกิน และปรึกษาแพทย์ก่อน
บทความล่าสุดว่าด้วย Covid-19
Bonnie Henry เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำบริติชโคลัมเบียซึ่งเป็นผู้หญิงคนแรกในตำแหน่งนี้ เธอยังเป็นรองศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย เธอมีพื้นฐานความรู้ด้านระบาดวิทยาและเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขและเวชศาสตร์ป้องกัน เธอยังมาจาก PEI (เกาะปรินซ์เอ็ดเวิร์ด)
ภูมิปัญญาของดร. บอนนี่เฮนรี่
1. เราอาจต้องอยู่กับ COVID-19 เป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปี อย่าปฏิเสธหรือตื่นตระหนก อย่าทำให้ชีวิตของเราไร้ประโยชน์ มาเรียนรู้ที่จะอยู่กับข้อเท็จจริงนี้กันเถอะ
2. คุณไม่สามารถทำลายไวรัส COVID-19 ที่เจาะผนังเซลล์ได้โดยการดื่มน้ำร้อน 1 แกลลอน คุณจะเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น
3. การล้างมือและรักษาระยะห่างทางกายภาพสองเมตรเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการป้องกันของคุณ
4. หากคุณไม่มีผู้ป่วย COVID-19 ที่บ้านก็ไม่จำเป็นต้องฆ่าเชื้อพื้นผิวที่บ้านของคุณ
5. ตู้สินค้า ปั๊มน้ำมัน รถเข็นและตู้เอทีเอ็มไม่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ หากล้างมือให้ใช้ชีวิตตามปกติ
6. โควิด -19 ไม่ใช่การติดเชื้อในอาหาร มันอยู่ในหยดน้ำลาย น้ำมูก ที่ไอ จาม ออกมา droplets จึงติดเชื้อ เช่น 'ไข้หวัดใหญ่' ไม่มีความเสี่ยงที่แสดงให้เห็นว่า COVID-19 ติดต่อทางอาหาร
7. คุณสามารถสูญเสียความรู้สึกในการดมกลิ่นด้วยอาการแพ้และการติดเชื้อไวรัสจำนวนมาก นี่เป็นเพียงอาการไม่เฉพาะเจาะจงของ COVID-19
8. เมื่ออยู่บ้านคุณไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าอย่างเร่งด่วนแล้วไปอาบน้ำ! ความบริสุทธิ์เป็นคุณธรรม ความหวาดระแวงไม่ใช่!
9. ไวรัส COVID-19 ไม่ค้างอยู่ในอากาศเป็นเวลานาน นี่คือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่ต้องสัมผัสใกล้ชิด - no airborne!!!
10. อากาศสะอาดในที่โล่ง เช่น สวนสาธารณะ (เพียงแค่รักษาระยะป้องกันทางกายภาพของคุณ)
11. ควรใช้สบู่ธรรมดาเพื่อป้องกันไวรัสโควิด -19 ไม่ใช่สบู่ต้านเชื้อแบคทีเรีย นี่คือไวรัสไม่ใช่แบคทีเรีย
12. คุณไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการสั่งอาหารของคุณ แต่คุณสามารถอุ่นทั้งหมดในไมโครเวฟได้หากต้องการ
13. โอกาสที่จะนำ COVID-19 กลับบ้านพร้อมรองเท้าก็เหมือนกับการถูกฟ้าผ่า 2 ครั้งในหนึ่งวัน ฉันทำงานกับไวรัสมา 20 ปี - การติดเชื้อไม่แพร่กระจายแบบนั้น!
14. คุณไม่สามารถป้องกันไวรัสได้ด้วยน้ำส้มสายชู น้ำอ้อย หรือน้ำขิง! สิ่งเหล่านี้มีไว้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ไม่ใช่การรักษา
15. การสวมหน้ากากอนามัยเป็นเวลานานจะรบกวนการหายใจและระดับออกซิเจนของคุณ สวมใส่ในฝูงชนเท่านั้น
16. การสวมถุงมือก็เป็นความคิดที่ไม่ดีเช่นกัน ไวรัสสามารถสะสมเข้าไปในถุงมือและแพร่เชื้อได้ง่ายหากคุณสัมผัสใบหน้า ควรล้างมือเป็นประจำให้เป็นนิสัย
ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงโดยการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดเชื้อเสมอ แม้ว่าคุณจะกินอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน แต่โปรดออกจากบ้านไปที่สวนสาธารณะ / ชายหาดเป็นประจำ ภูมิคุ้มกันจะเพิ่มขึ้นตามการสัมผัสกับผู้ป่วย ไม่ใช่จากการนั่งอยู่บ้านและบริโภคอาหารทอด / เผ็ด / หวานและเครื่องดื่มเติมอากาศ
ฉลาดและรับทราบข้อมูล!
ใช้ชีวิตอย่างมีเหตุผลและเต็มที่
อย่าตื่นตระหนก แต่ให้ตระหนัก สงบนิ่ง และรักษาตนให้ปลอดภัย!
หน้าที่ 140 จาก 147