มีรายงานเมื่อประมาณ 1 ปีที่แล้วมาจากองค์การอนามัยโลก โดยหน่วยงาน International Agency for Research on Cancer (TARC) แจ้งว่า เนื้อแดงปรุงแต่ง (processed meats) เช่นไส้กรอก แฮม เบคอน รวมทั้งอาหารไทยจำพวก กุนเชียงและ แหนมเป็นต้น มีความเชื่อมโยงอย่างมีนัยยะสำคัญกับ โรคมะเร็งในผู้ที่บริโภคเกินความเหมาะสม
เนื้อสัตว์ไม่เป็นเหตุโดยตรงของการกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็ง แต่สารเคมีที่ใช้ในการปรุงแต่งอาหาร ในขบวนการผลิตเป็นสาเหตุหลัก สารปรุงแต่งที่ใช้ในอาหารเหล่านี้คือสารในเตรต (nitrate) และในไตร (nitrite) ซึ่งใส่ในอาหารในรูปของโปแตสเซี่ยมในเตรต โปแตสเซี่ยมในไตร โซเดียมในเตรต และ โซเดียมในไตร ซึ่งสารเคมีเหล่านี้จะทำให้เนื้อมีสีแดงน่ากิน และกำจัดจุลินทรีย์ทำให้เนื้อไม่เน่าเสีย
องค์การอนามัยโลกกำหนดปริมาณของในเตรตและในไตร ที่เหมาะสมในปริมาณที่ร่างกายได้รับไม่เกินวันละ 3.7 มิลลิกรัม สำหรับในเตรตและ 0.07 มิลลิกรัม สำหรับในไตร ถ้าร่างกายได้รับเกินระดับความปลอดภัยก็จะมีความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ร่างกายได้รับด้วย
ผู้ได้รับสารในเตรตและในไตร เกินระดับความเหมาะสมจะก่อให้เกิดอาการเฉียบพลัน โดยสารจะเข้าไปขัดขวางเม็ดเลือดแดงไม่ให้นำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกาย มีอาการหายใจลำบาก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ และถ้าได้รับมากอาจถึงกับเสียชีวิตได้ สำหรับอาการเรื้อรังมีสาเหตุจากสารในไตร เมื่อทำปฏิกิริยากับกรดในกระเพาะอาหาร และสารเอมีน (amines) ในเนื้อสัตว์ จะเปลี่ยนสภาวะเป็นสารในไตร ซามีน (nitrosamine) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง (carcinogenic) นอกเหนือจากนี้ สารในเตรตและในไตร ในเนื้อที่ถูกความร้อนจากการประกอบอาหาร ก็จะถูกเปลี่ยนเป็นสารในไตร ซามีน อีกด้วย
ตามมาตรฐานสากลกำหนดไว้ว่าสารในเตรต ในไตร หรือสารกันบูดต้องผสมในอาหารได้ไม่เกิน 80 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม แต่สำหรับประเทศไทย ได้มีการกำหนดมาตรฐานไว้ว่า สารในเตรตต้องมีปริมาณไม่เกิน 500 มิลลิกรัม และสารในไตร ต้องมีปริมาณไม่เกิน 125 มิลลิกรัม ต่อเนื้อ 1 กิโลกรัม
รายงานของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ) ผลการสำรวจไส้กรอก 15 ยี่ห้อที่วางขายในท้องตลาด พบว่ามี 11 ตัวอย่างที่ผสมสารทั้ง 2 ชนิดในระดับไม่เกินมาตรฐานมี 3 ตัวอย่างที่ผสมเกินมาตรฐาน มีเพียง 1 ตัวอย่างที่พบว่าไม่มีการผสมสารในเตรตหรือในไตร ข้อแนะนำสำหรับผู้บริโภคคือต้องเลือกซื้ออาหารที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข หรือตรวจสอบข้อมูลบนสลากให้ชัดเจน แต่ปัญหาที่พบคือผู้ผลิตมักใส่ข้อมูลเป็นรหัสตัวเลข ทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรต้องแก้ไขให้เหมาะสมต่อไป
เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือไทยแพน (Thai-PAN : Thailand Pesticide Alert Network) รายงานผลการสุ่มสำรวจตัวอย่างผักและผลไม้ ปี 2559 พบว่าจากการสำรวจ ผัก 10 ชนิด ผลไม้ 6 ชนิด รวม 138 ตัวอย่าง จากตลาดสดและห้างสรรพสินค้า 7 แห่งในเขต กทม. และปริมณฑล เชียงใหม่ และอุบลราชธานี โดยส่งตัวอย่างไปวิเคราะห์ที่ประเทศอังกฤษ พบว่ามีผักและผลไม้ที่มีสารเคมีปนเปื้อนเกินระดับมาตรฐานดังนี้
พริกแดง กะเพรา ถั่วฝักยาว คะน้า ผักกาดขาว ผักบุ้งจีน มะเขือเทศ มะเขือเปราะ กะหล่ำปลี |
100% 66.7% 66.7% 55.6% 33.3% 22.2% 11.1% 0% 0% |
ส้มสายน้ำผึ้ง ฝรั่ง แก้วมังกร มะละกอ มะม่วงน้ำดอกไม้ แตงโม |
100% 100% 71.4% 66.7% 44.4% 0% |
รายงานโดยสรุปพบว่า
1.อัตราสารพิษตกค้างในผัก และผลไม้เกินค่ามาตรฐานสูงถึง 46.4 %
2.ผักและผลไม้ซื้อจากตลาดสด และห้างสรรพสินค้า มีอัตราส่วนสารพิษตกค้างไม่แตกต่างกันมาก คือ 48% และ 46% ตามลำดับ
3.ผักและผลไม้ที่มีตราคุณภาพ “Q” จากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตร และอาหารแห่งชาติ (มกอช.) พบสารเคมีสูงถึง 57.1%
4.แม้แต่ผักและผลไม้อินทรีย์ก็ยังมีสารเคมีตกค้างถึง 25%
ต่อมา สำนักมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ออกมาโต้แย้งว่าผลการสุ่มตัวอย่างของ ไทยแพน ไม่ได้มาตรฐานและข้อมูลที่ได้มาผิดพลาด แต่อย่างไรก็ตามเราในฐานะผู้บริโภคก็ควรตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ เพื่อหาทางดูแลสุขภาพของตัวเองไม่ว่าข้อมูลของใครจะถูกผิดหรือผิดอย่างไร
การรบกวนการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ด้วยเทคนิคทางอิมมูโนวิทยา
ปัจจุบันเทคนิคทางอิมมูโนวิทยาได้ถูกนำมาใช้ในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ เพื่อการวินิจฉัย โรคอย่างกว้างขวาง พร้อมๆกับการใช้เทคนิคที่มีความแม่นยำสูงนี้ ความผิดพลาดก็อาจเกิดขึ้นได้เสมอ ทั้งความผิดพลาดที่มีสาเหตุจากการทำของเจ้าหน้าที่ จากคุณภาพของเครื่องมือและชุดน้ำยาตรวจสอบ และความผิดพลาดที่อาจมีสาเหตุจากสิ่งที่อยู่ในเลือดของผู้ป่วยเอง ซึ่งที่รู้จักกันดีคือ กรณีของเลือดที่มี hemolysis, lipemia และ bilirubinemia เป็นต้น เนื่องจากความผิดปกติของตัวอย่างเลือดที่ใช้ในการวิเคราะห์เหล่านี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสีที่เกิดขึ้นในปฏิกิริยาทางอิมมูโนวิทยา นอกเหนือจากกรณีดังกล่าวข้างต้น ยังมีปัจจัยอื่นที่มีผลก่อให้เกิดความผิดพลาดในการตรวจวิเคราะห์ด้วยเทคนิคทางอิมมูโนวิทยา ได้แก่ แอนติบอดีอื่นๆที่มีอยู่ในเลือดของผู้ป่วย ทั้งที่มีอยู่โดยธรรมชาติและเกิดจากการถูกกระตุ้นภายหลัง (endogenous antibodies) อาทิเช่น heterophile antibody เป็นแอนติบอดีที่มีอยู่ในกระแสเลือดตามธรรมชาติและ autoantibodies เป็นแอนติบอดีที่ทำปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อของตนเอง รวมทั้ง antianimal antibodies ที่เกิดจากการกระตุ้นโดยแอนติเจนจากสัตว์ เช่นผู้ได้รับการรักษาด้วยโปรตีนจากสัตว์หรือบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดกับสัตว์ เป็นต้น ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นอาจส่งผลได้ทั้งการเกิดผลบวกปลอมและผลลบปลอมจากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น ดังนี้
ปฏิกิริยาผลบวกจริง “Ca : Ag : Da”
ปฏิกิริยาผลบวกปลอม “Ca : Eg : Da”
ปฏิกิริยาผลลบปลอม “Ca : Eg และ Eg : Da”
Ca = Capture antibody
Ag = Target antigen
Eg = Endogenous antibody
Da = Detection antibody
กลุ่มการทดสอบที่อาจได้รับผลกระทบจาก endogenous antibodies
Hormones : Cortisol, estradiol, free thyroxine, FSH, LH, progesterone, prolactin, testosterone, thyroglobulin, thyroxine, triiodothyroxine, TSH
Tumor Markers : AFP, CA125, CA15-3, CA19-9, CEA, hCG, PSA
Other : CK-MB ,ferritin, hepatitis B surface antigen, troponin
เอกสารอ้างอิง
Emerson J.F. And Lai K.K.Y. Endogenous Antibody Interferences in Immunoassays.Lab.Med.2013 ; 44(1) : 69-73.
พื้นที่ประเทศ
□ พื้นที่รวม 513,120 ตร.กม.
- พื้นดิน 510,890 ตร.กม.
- พื้นน้ำ 2,230 ตร.กม.
□ พื้นที่เพาะปลูก 30.71%
□ พื้นที่ชายฝั่งทะเล 3,219 กม.
จำนวนประชากร
□ ประชากรรวม 67,741,401 อันดับที่ 21 ของโลก
□ อายุเฉลี่ยประชากร 36.2 ปี
- ชาย 35.3 ปี
- หญิง 37.2 ปี
□ อายุเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด 74.18 ปี อันดับที่ 115 ของโลก
□ อัตราเจริญพันธ์ เด็ก 1.5 คน เกิด/หญิง 1 คน อันดับที่ 192 ของโลก
□ อัตราเกิด 11.26/1,000 (1.126%) อันดับที่ 175 ของโลก
□ อัตราการเติบโตประชากร 0.35% อันดับที่ 165 ของโลก
□ อัตราตาย 7.72/1,000 (0.772%) อันดับที่ 111 ของโลก
ข้อมูลอื่น
□ ความสามารถในการแข่งขันอันดับที่ 31 ของโลก
- คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานอันดับที่ 90/144 ประเทศ
- คุณภาพการศึกษาระดับสูง 87/144 ประเทศ
□ ดัชนี การคอรัปชั่น( 1 = น้อยที่สุด )
- ปี 2556 อันดับที่ 102/177 ประเทศ
- ปี 2557 อันดับที่ 85/175 ประเทศ
□ รายได้รวมของประเทศ ( GDP )
- เกษตรกรรม 12.1%
- อุตสาหกรรม 43.6%
- บริการ 44.2%
□ รายจ่ายรวมของประเทศ
- ด้านสุขภาพ 4.1% GDP ( อันดับที่ 163 ของโลก )
- ด้านการศึกษา 4.8% GDP ( อันดับที่ 47 ของโลก )
- ด้านการทหาร 1.47% GDP ( อันดับที่ 63 ของโลก )
ข้อมูลจาก Bangkok Post “Year-End Review”
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ากรดไขมันที่ดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะ สมองและหลอดเลือดประกอบไปด้วย docosahexaenoic acid (DHA), eicosapentaenoic acid (EPA) และ Omega-3 fatty acid ส่วนใหญ่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสารดังกล่าวนี้ มักจะได้มาจากการศึกษาวิจัยในต่างประเทศ จนมีความเชื่อว่า สารเหล่านี้พบได้มาก เฉพาะในไขมันของปลาทะเล โดยเฉพาะจะต้องเป็นปลาทะเลน้ำลึกเป็นส่วนใหญ่ โดยมีข้อมูลเกี่ยวกับปลาน้ำจืดน้อยมาก ซึ่งอาจจะมีสาเหตุจากประเทศตะวันตกส่วนใหญ่ ไม่ค่อยนิยมกินปลาน้ำจืดซึ่งแตกต่างจากประเทศในแถบเอเชีย ในธรรมชาติไขมันที่ดีต่อสุขภาพถูกสร้างขึ้นโดย สาหร่ายเซลล์เดียวในทะเล เมื่อสาหร่ายถูกกินโดยปลาขนาดเล็ก ไขมันเหล่านี้จะเข้าไปสะสมในเนื้อปลา และเพิ่มปริมาณขึ้นไปสู่ปลาใหญ่ตามห่วงโซ่อาหาร
เมื่อเร็วๆนี้ มีรายงานการวิจัย โดยนักวิจัยจากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัย มหิดล พบว่า ปลาน้ำเค็ม หรือปลาน้ำจืดที่เลี้ยงในฟาร์มที่ถูกสุขลักษณะ โดยให้อาหารสำเร็จที่ผลิตทางอุตสาหกรรม หรือให้อาหารจำพวก ปลาเล็กปลาน้อยตากแห้ง จะมีการสะสมของ Omega-3 fatty acid ในปริมาณที่ใกล้เคียงกับปลาทะเล ดังนั้นปลาน้ำจืดจึงน่าจะเป็นแหล่งของกรดไขมันที่เป็นประโยชน์เช่นกัน ดังรายละเอียดข้อมูลเปรียบเทียบในตาราง
ชนิดของปลา |
ประเภทของปลา |
ปริมาณไขมัน (กรัม) |
ปริมาณ Omega-3 (มิลลิกรัม) |
ปลาดุก |
ปลาน้ำจืด |
14.7 |
460 |
ปลาจาระเม็ดขาว |
ปลาน้ำเค็ม |
6.8 |
840 |
ปลาสำลี |
ปลาน้ำเค็ม |
9.2 |
470 |
ปลาช่อน |
ปลาน้ำจืด |
8.5 |
440 |
ปลาตะเพียน |
ปลาน้ำจืด |
7.4 |
240 |
ปลาทู |
ปลาน้ำเค็ม |
3.8 |
220 |
เนื้อปลาประกอบด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย ทั้งโปรตีน วิตามิน และไขมันที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะ DHA, EPA และ Omega-3 แต่ยังมีกรดไขมันอีกชนิดหนึ่งอยู่ในกลุ่มของ Omega-3 คือ alpha-linolenic acid (ALA) ซึ่งพบมากในเมล็ดพืชหลายชนิด เช่น ถั่วเหลือง ฟักทอง และทานตะวัน เป็นต้น
หน้าที่ 136 จาก 147