1.ในโอกาสที่ กำลังจะมี mRNA vaccine เข้ามาให้ใช้ ขอแจ้งว่า approved age ของ Pfizer ใช้ได้ตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไปแล้วนะคะ ส่วนของ moderna กำลังขอ EUA สำหรับช่วงอายุเดียวกันอยู่ คาดว่าผ่านแน่นอน ในเร็วๆนี้
.
2. ผลข้างเคียงที่เป็นข่าวกันในช่วงหลังและเป็นที่กังวลกันคือ peri/myocarditis หลังฉีดวัคซีน
ส่วนอื่นๆ เรื่อง minor ADR, anaphalaxis คิดว่าไม่น่าเป็นกังวล เพราะแก้ไข้ได้ไม่ยากหากมีการเตรียมพร้อม
.
3. Nothing is 100% in medicine ใช้ได้เสมอ ยาทุกอย่างก็มีภาวะแทรกซ้อนได้ แค่มากน้อยต่างกัน ปกติความถี่ของผลข้างเคียง ถ้า < 1:100,000 จึงจะเรียกว่า very rare ดังนั้นใน phase 3 ของการทดลองจึงไม่แปลกที่จะไม่สามารถจับ signal ของผลข้างเคียงที่พบในระดับ rare to very rare ไม่ได้
.
4. รายงานกลุ่มแรกของ peri/myocarditis signal มาจากที่อิสราเอล ข้อมูลครึ่งปี เริ่มตั้งแต่ปลายปี 2020 เจอ myocarditis ไป 148 รายในช่วงใกล้เคียงกับที่ได้วัคซีน อายุ 16-30 ปี (ส่วนใหญ่ 16-19 ปี) เกิดหลังได้เข็มสอง (27 เคสหลังเข็มแรก 5.4ล้านเข็ม, 121 เข็มหลังเข็มสอง 5ล้านเข็ม) และ 95% เป็นแค่ mild เคสที่ต้องนอน รพ. ก็นานเฉลี่ยแค่ 4 วัน แม้จะน่าตกใจที่จับ signal ของภาวะแทรกซ้อนใหม่ได้ แต่อิสราเอลพิจารณาแล้วก็ยังให้ฉีดต่อไป เพราะ risk of COVID-19 complications มันเหนือกว่าความเสี่ยงอันตรายจาก myocarditis ที่เขาจับสัญญาณนี้ได้มากนัก
.
5. และก็มีอีกรายงาน 4 รายในเมกา 4 รายในอิตาลี, 7 ใน 8 เป็นหลังเข็มสอง ทุกคนได้กลับบ้านไปแบบ EF ดี
.
6. ทีนี้มาดูข้อมูลฝั่งเมกา ที่เขาเก็บข้อมูลผ่านระบบรายงานผลข้างเคียง VAERS ตั้งแต่เริ่ม vaccine roll out จนถึง 11 มิย. ฉีดไป 300 ล้านเข็มของ mRNA vaccine พบรวมทั้งหมด 1226 ราย
.
7. เอาเฉพาะอันที่รู้ว่าเกิดหลังเข็มไหนมาพิจารณา ก็จะพบว่า median age อยู่ที่ 30 ปี (12-34) หลังเข็ม 1 และ 24 ปี (12-87) หลังเข็มสอง และ median time to symptoms onset อยู่ที่ 4 (0-61) และ 3 (0-98) วันตามลำดับ โดยสัดส่วน ผช. มากกว่า ผญ. ประมาณ 2-3 เท่า
.
8. แต่ไอ้ที่ว่ามาทั้งบนข้างหมดคือ จากในระบบของ VAERS ซึ่งที่จริงมันก็มีคนที่เป็น coincidental finding ของ peri/myocarditis จากสาเหตุอื่นนอกเหนือวัคซีนมาด้วย
.
9. มาดู character ของ myocarditis ในเมกา ที่มีมาก่อนหน้านี้ (background rate) เจอในเด็กประมาณ 0.8:1แสนคนต่อปี โดย 2 ใน 3 เป็นเพศชาย และอุบัติการณ์ลดลงเรื่อยๆตามอายุที่มากขึ้น
.
10. การรักษา: supportive care เป็นหลักเลย และให้ exercise restriction ช่วงที่หัวใจยังทำงานไม่เป็นปกติ, ส่วนยา anti-inflam พิจารณาเป็นรายๆไป รายที่หนักมากจริงๆอาจต้อง Heart Tx
.
11. Criteria ของเขาที่จะสงสัยว่าเกิดจากวัคซีนคือ ต้องหา traditional factor อื่นๆไม่เจอ
.
12. พอเขาเอามากรองและรีวิวแล้ว ก็พบว่า (จนถึงวันที่ 11 มิย. นี้) มีเคสที่พบในคนอายุ </= 29 ปี 484 ราย ในนี้มี 323 รายที่ fit criteria ของ peri/myocarditis ตามที่เขากำหนดไว้
-ใน 323 รายนี้มี 309 รายที่ admit (ถึงตอนที่รายงาน ยังอยู่ใน รพ. 9 ราย โดยมี 2 รายอยู่ ICU, 5 รายไม่ทราบ outcome data)
- เขาทำตารางเทียบ incidence ในแต่ละช่วงอายุ และเพศ (ดูตารางใน comment) เทียบกับ background rate แยกเป็นสองช่วงคือหลังเข็ม 1 และหลังเข็ม 2 ก็พบว่า กลุ่มที่อุบัติการณ์มันผิดปกติ คือ หลังเข็ม 1 เพศชายช่วงอายุ 12-24 ปี และ หลังเข็มสอง เป็นกลุ่มเพศชายช่วงอายุ 12-49 ปี และเพศหญิงช่วงอายุ 12-29 ปี
- แยกเป็นช่วงอายุ 12-39 ปีซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ที่พบ chart confirmed peri/myocarditis ในช่วง 21 วันหลังฉีดวัคซีนให้เรียบร้อย จะได้ rate per million doses ที่หลังเข็มแรกที่ 4.4 และหลังเข็มสองที่ 12.6 โดยถ้าดูแยกรายละเอียดยี่ห้อวัคซีนจะพบว่าของ moderna มากกว่าประมาณ 2-3 เท่า
- ในข้อ 10. ถ้าเอามาแยกตามเพศอีก จะกลายเป็นว่า เพศหญิง หลังเข็ม 1 ล้านละ 1.9 หลังเข็มสอง ล้านละ 4.7 แต่ในเพศชาย หลังเข็ม 1 ล้านละ 4.7 หลังเข็ม 2 32
.
12. ที่จริงในประชุมเขาจะมีตารางมากมายแยก subgroup นู่นนี่ ดูแล้วจะงงมาก แล้วเขายังแยกเป็นข้อมูลจาก VAERS และ VSD system ของเขาอีก เหมือน VAERS คือ pick up cluster event อะไรที่แปลกๆมาก่อนแล้วเอามาวิเคราะห์ละเอียดใน VSD อีกที
.
13. สั้นๆ คือ peri/myocarditis จากวัคซีน mRNA
1* very rare
2* ส่วนใหญ่อายุ </= 39 ปี, ชาย >หญิง
เจอหลังเข็มสองมากกว่าหลังเข็มแรก (12.6 เคสต่อ 1ล้านโดสหลังฉีดเข็มสองไม่เกิน 21 วัน)
3* มักมีอาการภายในไม่กี่วันหลังฉีด (0-5 วัน)
4* early data ค่อนข้างดีคือ เกือบทั้งหมดไม่รุนแรง หายดีในไม่กี่วันมีส่วนน้อยที่ต้องอยู่นานหรือเข้า ICU แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีเคสเสียชีวิตจาก complications นี้ของ mRNA vaccin
5* แต่ก็ยังไม่มี long-term data ในตอนนี้ว่า แม้ช่วง acute phase จะหายแล้ว แต่จะมี scar หรืออะไรที่มีผลต่อไประยะยาวในอนาคตหรือไม่
.
14. เอามาคำนวณ benefit : harm เทียบว่ามันคุ้มมั้ยที่จะใช้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงนี้สูง คือ อายุ 12-29 ปี ก็พบว่า เออ คุ้ม ถ้าฉีด 1 ล้านโดสวัคซีนเข็มที่สอง (ซึ่งพบอัตราเกิด peri/myocarditis สูงสุด) พบว่า
= ญ. 12-17 ปี โอกาสเป็น myocarditis 8-10 ราย, ลดการเป็นโควิดได้ 8500 ราย, ลดการนอน รพ. 183 ราย, ลด ICU admission 38 ราย, ลดตาย 1 ราย
ช. 12-17 ปี โอกาสเป็น myocarditis 56-69 ราย, ลดการเป็นโควิดได้ 5700 ราย, ลดการนอน รพ. 215 ราย, ลด ICU admission 71 ราย, ลดตาย 2 ราย
= ญ. 18-24 ปี โอกาสเป็น myocarditis 4-5 ราย, ลดการเป็นโควิดได้ 14K ราย, ลดการนอน รพ. 1,127 ราย, ลด ICU admission 93 ราย, ลดตาย 13 ราย
ช. 18-24 ปี โอกาสเป็น myocarditis 45-56 ราย, ลดการเป็นโควิดได้ 12K ราย, ลดการนอน รพ. 530 ราย, ลด ICU admission 127 ราย, ลดตาย 3 ราย
= ญ. 24-29 ปี โอกาสเป็น myocarditis 2 ราย, ลดการเป็นโควิดได้ 15K ราย, ลดการนอน รพ. 87 ราย, ลด ICU admission 87 ราย, ลดตาย 4 ราย
ช. 24-29 ปี โอกาสเป็น myocarditis 15-18 ราย, ลดการเป็นโควิดได้ 15K ราย, ลดการนอน รพ. 936 ราย, ลด ICU admission 215 ราย, ลดตาย 13 ราย
.
15. จะเห็นว่ากลุ่มที่ดูจะคิดหนักหน่อยคือ ช. 12-17 ปี ที่ risk/benefit ดูด้อยกว่า subgroup อื่น แต่สุดท้ายเขาก็พิจารณาให้ผ่าน ให้ใช้ต่อ เพราะการป้องกันการเป็นโควิด ลดการเกิด MIS-C ที่มี consequence รุนแรงได้, ลด prolonged symptoms (คนที่ฉีดวัคซีนแล้วถ้ามีอาการก็มักเป็นไม่รุนแรงและระยะสั้นกว่า) ในแง่ระบาดจึงลดการเกิด variants ได้ด้วย นอกจากนี้ก็ยังไม่มี alternative vaccine อื่นสำหรับ age group นี้ในตอนนี้ (เขาไม่ได้ใช้ inactivated virus vaccine เหมือนบ้านเรานะ คาดว่าเพราะคงยังไม่มี data ในกลุ่มนี้ให้พิจารณาชัดเจน) และภาพรวมก็ช่วยลด transmission ใน community มีผลต่อ herd immunity ด้วย ทำให้ชุมชนกลับสู่วิถีปกติได้เร็วขึ้น
.
16. ส่วนที่ยังไม่ final คือ คำแนะนำหากเคยมีประวัติ pericarditis / myocarditis มาก่อนและระหว่าง dosing regimen จะทำอย่างไร ภาพที่แคปมาคือ wording ที่ยังไม่ final นะคะ เขา discuss กันในวิดีโอนี่แหละ ตอนนี้คร่าวๆคือ
- ถ้ามีประวัติ pericarditis หรือ myocarditis ในอดีตมาก่อนที่ไม่ได้เกี่ยวกับวัคซีน และ recovered แล้ว ให้ฉีด mRNA vaccine ได้
- ถ้ามี pericarditis หลังฉีด mRNA vaccine เข็มแรกและอาการหายแล้ว ให้ discuss risk ก่อน ให้ฉีดเข็มสองได้
- ถ้ามี myocarditis หลังฉีด mRNA vaccine เข็มแรก แนะนำให้ defer เข็มสองไปก่อนจนกว่าจะมีข้อมูลมากขึ้น หรือ หาก recovered ดีเลย จะฉีดต่อก็ได้แต่ต้องคุย risk ดีๆ
.
17. สรุป: อายุยิ่งมากยิ่งไม่ต้องกังวล อัตราการเกิดสูงสุดในคนอายุน้อย (12-29 ปี) เริ่มมีอาการในช่วงไม่กี่วันหลังฉีด พบหลังเข็มสองมากกว่าเข็มแรก ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง supportive Rx ก็ดีขึ้นค่ะ
#resource จาก 2 วิดีโอนี้ของ CDC เป็นประชุมเมื่อ 23 มิ.ย. 2021 ค่ะ
https://www.youtube.com/watch?v=iEcbVsIo1Jk
https://www.youtube.com/watch?v=BeJcYG0dUOw&t=2851s
Cr.Benjawan Skulsujirapa
สธ.เผย “เดลตา” สายพันธุ์หลักระบาดในกทม. เจอแล้วกว่า 52% ต่างจังหวัดพบใน 47 จังหวัด แต่ส่วนใหญ่ยังเป็นอัลฟา
เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 5 ก.ค.2564 ที่กระทรวงสาธารณสุข ในการแถลงข่าวการบริหารจัดการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในสถานการณ์โควิด-19 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ข้อมูลการจำแนกตามสายพันธุ์ที่เฝ้าระวัง ณ เวลา 18.00 น. วันที่ 2 ก.ค. 2564 ภาพรวมทั้งประเทศเฝ้าระวังตั้งแต่ 1 เม.ย.-2ก.ค.2564 เป็นสายพันธ์อัลฟา(อังกฤษ) 81.98 % เดลตา(อินเดีย) 16.36 % และเบตา(แอฟริกาใต้) 1.66 %
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาตรวจสายพันธุ์ในภาพรวมประเทศพบว่า สายพันธุ์เดลตา 32.2% อัลฟา 65.1 % และเบตา 2.6%
หากพิจารณา เฉพาะพื้นที่กทม. สายพันธุ์เดลตา 52 % อัลฟา 47.8 % เบตา 0.2% ซึ่งจะเห็นว่าในพื้นที่กทม.สายพันธุ์เดลตาระบาดมากกว่าอัลฟาแล้ว ถือว่าเป็นการเข้ามาค่อนข้างเร็วกว่าที่คาดการณ์เล็กน้อย
ในขณะที่ต่างจังหวัดก็เพิ่มขึ้นค่อนข้างเร็วพบแล้วเดลตา 18 % ของจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมดในพื้นที่ต่างจังหวัด โดยพบใน 47 จังหวัด ส่วนอัลฟาพบ 77.6 % และเบตา 4.4 %
"สถานการณ์โควิดในกทม.การแพร่ระบาดในกทม.ขณะนี้เป็นสายพันธุ์เดลตา กระจายอยู่ในทุกเขต ทางตอนเหนือแชมป์หลักสี่ไปทางทิศตะวันตกตอนล่างมากพอสมควรและกระจายอยู่ทั่วกรุงเทพฯ " นพ.ศุภกิจ กล่าว
ส่วน สายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) สัปดาห์ที่ผ่านนมาเพิ่ม 50 กว่ารายแต่ยังจำกัดวงอยู่ที่จ.นราธิวาสมีกระจายไปจังหวัดใกล้เคียงอยู่พอสมควรที่ จ.สุราษฎร์ธานีมียืนยัน 1 ราย นครศรีธรรมราช 3 ราย กระบี่ 1 ราย ส่วนกรุงเทพฯเพิ่มอีก 2 รายซึ่งเป็นญาติของรายแรกที่พบการติดเชื้อ หมายความว่าพื้นที่กรุงเทพฯยังไม่ได้มีการกระจายไปไหนแต่ยังเป็นผู้ที่ติดจากรูปที่มาจากจังหวัดนราธิวาส
แต่พอวันต่อมาได้อ่านข่าวชิ้นหนึ่งในหนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทม์ก็อึ้งและรู้ทันทีว่าที่ตัวเองคาดการณ์เรื่อง โควิดจะจบปีนี้นั้นผิดไปเสียแล้ว ข่าวนั้นเป็นข่าวเล็กๆตั้งแต่วันที่ 14 พค. 64 ซึ่งหนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทม์ลงข่าวว่าพนักงานสนามบินชางอีของสิงค์โปรจำนวน 28 คน ติดเชื้อโควิดสายพันธ์อินเดีย (B.1.617) โดยที่ในจำนวนนี้ 19 คนได้รับการฉีดวัคซีนชนิด m-RNA (ของไฟเซอร์และของโมเดอร์นา) ครบถ้วนสองโด้สแล้วก่อนหน้าการติดเชื้อครั้งนี้ ส่วนอีก 9 คนยังไม่เคยได้รับวัคซีนใดๆ
ข่าวนี้เป็นข่าวเล็กๆสำหรับคนทั่วไป แต่สำหรับคนในวงการวิจัยทางการแพทย์ นี่คือผลวิจัยแบบ match case control ที่ถูกออกแบบไว้อย่างดีโดยไม่ได้ตั้งใจ คือกลุ่มคนอายุใกล้กัน (พนักงานวิสาหกิจ) อยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบเดียวกัน ทำงานแบบเดียวกันในที่เดียวกัน ได้สัมผัสโรคเท่าๆกัน กลุ่มหนึ่งได้วัคซีนครบแล้ว อีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้วัคซีนเลย แล้วมานับหัวดูว่ากลุ่มไหนจะติดโรคมากกว่ากัน ปรากฎว่าทั้งสองกลุ่มติดโรคไม่ต่างกัน พูดง่ายๆว่างานวิจัยนี้สรุปผลได้เลยว่าวัคซีน m-RNA ไม่เวอร์คกับไวรัสโควิดสายพันธ์อินเดีย ผลวิจัยชิ้นเล็กๆและเกิดเองโดยไม่ตั้งใจนี้ได้ทำลายความเชื่อเดิมของวงการแพทย์ทั่วโลกที่ว่าการออกแบบวัคซีนที่ทำมาสามารถครอบคลุมการกลายพันธ์ได้ไปเสียแล้ว เว้นเสียแต่ว่าจะมีงานวิจัยที่ใหญ่และดีกว่านี้มาหักล้าง และได้ก่อให้เกิดวิสัยทัศน์ใหม่ว่าทุกอย่างจะต้องกลับไปตั้งต้นกันที่สนามหลวงเป็นรอบๆอีกไม่รู้กี่รอบ หมายความว่าไวรัสกลายพันธ์ตัวใหม่ๆ จะดื้อวัคซีนเก่า โลกก็ต้องเริ่มผลิตวัคซีนใหม่มาสู้กันในรอบใหม่ โดยที่ระยะเวลาของแต่ละรอบนั้นสั้นมาก เพราะเราเพิ่มติดเชื้อโควิด 19 กันมาแค่สองปีเอง มีไวรัสกลายพันธ์ระดับตัวกลั่นๆที่เรียกว่า variants of concern ขึ้นมาสี่สายพันธ์แล้ว คือพันธ์อังกฤษ อัฟริกา บราซิล และอินเดีย โดยสายพันธ์อินเดียเป็นน้องใหม่สุด แต่ก็แรงที่สุด คือแพร่เร็วกว่า แถมดื้อวัคซีนอีกต่างหาก
ถ้าท่านข้องใจว่าทำไมมันกลายพันธ์กันได้อย่างไร ผมอธิบายอย่างนี้ ลองนึกถึงกุญแจระหัสล็อคจักรยาน ในกุญแจนั้นจะมีล้อหมุนเล็กๆเรียงกันอยู่สามอัน แต่ละล้อหมุนมีตัวเลข 1-9 ให้เป็นตัวเลือก หากหมุนเอาตัวเลือกที่ถูกต้องขึ้นมาเรียงกันได้พร้อมหน้ากันทั้งสามล้อ เราก็เปิดกุญแจได้ คราวนี้ลองนึกภาพกุญแจระหัสแบบใหม่ แต่ละล้อหมุนมีแค่สี่ตัวเลือก แต่ว่ามีจำนวนล้อหมุนเรียงกันอยู่ถึง 30,000 ล้อ กุญแจแบบนี้หนึ่งอันนี่แหละคือชุดรหัสพันธุกรรม (genome) ของไวรัสหนึ่งตัว เวลามันก๊อปปี้ลูกออกมาทีหนึ่ง มันก็คัดลอกกุญแจทั้งชุดนี้ไปให้ลูกมันทีหนึ่ง แต่ในการคัดลอกมันก็มีบ้างที่ตัวเลือกบางล้อหมุนผิดเพี้ยนหรือชำรุด จึงได้ลูกที่แหกคอก หากแหกคอกแล้วอ่อนแอมันก็ตายไป แต่หากแหกคอกแล้วแข็งแร็งกว่าแม่ของมัน มันก็ยิ่งขยายตัวเร็ว อย่างเช่นไวรัสโควิดสายพันธ์อินเดียนี้เป็นต้น โปรดสังเกตว่ายิ่งไวรัสมีโอกาสก๊อปปี้เอาลูกออกมามาก ยิ่งมีโอกาสได้ลูกแหกคอกมาก ดังนั้นท่านอ่านแล้วจะคิดว่างั้นไม่ต้องฉีดวัคซีนแล้วเพราะไหนๆมันก็ไม่ได้ผลแล้วก็ยิ่งเป็นการคิดผิด เพราะเราฉีดวัคซีนเพื่อกำจัดไวรัสรุ่นแม่ที่ยังไม่ใช่พันธ์แหกคอกให้หมดก่อนที่มันจะทันได้ออกลูกแหกคอก หากไม่ฉีดวัคซีน ก็เท่ากับยิ่งเร่งให้ได้ลูกแหกคอกเร็วๆ ดังนั้นยิ่งเริ่มมีลูกแหกคอกดื้อวัคซีนออกมา เรายิ่งต้องรีบฉีดวัคซีน
อนาคตจากนี้ไป วงการแพทย์ก็ต้องดิ้นรนสอบสวนควบคุมโรครอบใหม่ๆกันต่อไป เหมือนอย่างที่สิงคโปร์กลับไปล็อคดาวน์ประเทศอีกครั้ง ขณะเดียวกันวงการยาก็ต้องตั้งหน้าผลิตวัคซีนตัวใหม่ๆกันต่อไป ผมตั้งคำถามขึ้นมาในใจว่าแล้วประชาชนคนธรรมดาละ มีอะไรที่เขาจะช่วยตัวเองได้บ้าง นอกเหนือไปจากสูตรสำเร็จสี่ประการที่สอนกันมาจนเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกแล้ว คือ สวมหน้ากาก, อยู่ห่าง, ล้างมือ, ฉีดวัคซีน นอกจากนี้แล้วมีอะไรที่ประชาชนตาดำๆจะทำเพื่อปกป้องตัวเองได้อีกไหม
คำตอบก็คือ มีสิ คือการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันโรคของตัวเองไง personal immunity improvement ใช่แล้ว นี่จะเป็นทางไปทางเดียวที่เหลืออยู่อย่างแท้จริงของเผ่าพันธ์มนุษย์ขณะที่การผลิตวัคซีนไล่ตามหลังไวรัสสายพันธ์ใหม่ยังตามกันไม่จบ ซึ่งไม่รู้ว่าจะต้องตามกันไปกี่ปี สองปี ห้าปี สิบปี ผมไม่อาจรู้ได้ รู้แต่ว่าสงครามระหว่างคนกับไวรัส หากไม่เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันโรคของคนให้กลับมาทำงานได้เต็มกำลังตามที่ธรรมชาติให้มา ยังไงไวรัสก็จะชนะ เพราะไวรัสหากินโดยการตัดแต่งพันธุกรรมของคนและสัตว์เพื่อให้เซลของคนและสัตว์ปั๊มลูกของไวรัสออกมาให้มันขณะเดียวกันลูกหลานของมันก็กลายพันธ์เรื่อยไปจนวัคซีนตามไม่ทัน เมื่อสัตว์ป่าสูญพันธ์ไปหมดแล้วไวรัสก็ยังมีมนุษย์ซึ่งมีมากจนเกือบจะล้นโลกและส่วนใหญ่มีระบบภูมิคุ้มกันโรคที่อ่อนแอไว้ให้มันเป็นที่อยู่อาศัยและแพร่ลูกหลาน แล้วไวรัสจะแพ้คนได้อย่างไร
การเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันส่วนตัวเป็นสิ่งที่ทุกคนทำเองได้ด้วยหลักการง่ายๆดังนี้
1.. ถ้าจะเอาตามหลักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ก็ต้อง
1.1 ออกกำลังกายทุกวัน
1.2 กินอาหารที่มีพืชเป็นหลักที่หลากหลายในรูปแบบใกล้เคียงธรรมชาติ
1.3 นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
1.4 จัดการความเครียดให้จิตใจผ่อนคลายปลอดความเครียด
1.5 การเสริมวิตามินและเกลือแร่ที่มีผลต่อการสร้างภูมิคุ้มกัน เช่นวิตามินดี. วิตามินซี. และแร่ธาตุเช่นสังกะสี ในเรื่องนี้หากจะให้ง่ายก็คือออกแดดทุกวันร่วมกับกินวิตามินแร่ธาตุรวมสักวันละเม็ดก็โอเคแล้ว
2.. ถ้าจะเอาตามไสยศาสตร์ หิ หิ ความจริงเป็นหลักของโยคีอินเดียเพราะหมอสันต์มีครูเป็นโยคีอินเดียด้วย จึงทำตามที่โยคีสอน คือ
2.1 การสัมผัสดินสัมผัสหญ้าด้วยมือเปล่าเท้าเปล่า
2.2 การสัมผัสแดดสัมผัสลม
2.3 การสัมผัสน้ำหรือแช่น้ำ
2.4 การสัมผัสไฟ
2.5 การไม่กินเนื้อสัตว์
2.6 การกินพืชสมุนไพรบางชนิดเช่น ขมิ้นชัน สะเดา เป็นต้น
2.7 การพาตัวเองออกจากที่แออัด ไปอยู่ในธรรมชาติ ต้นไม้ ป่าเขา ลำเนาไพร
2.8 การปฏิบัติตนให้หมดความคิดเพื่อเข้าถึงความว่างข้างใน เช่น โยคะ รำมวยจีน สมาธิ
เขียนมาถึงตรงก็คิดขึ้นได้ว่ายังมีคนจำนวนหนึ่งที่ไม่มีที่ไป หมายความว่าอยู่บ้านก็แออัดหรืออึดอัด อีกจำนวนหนึ่งอยากเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคให้ตัวเองแต่ทำเองไม่ได้เพราะพลังมีไม่มากพอ น่าจะเปิดให้เวลเนสวีแคร์เป็นที่ให้คนมาเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้ตัวเองคงจะดีกว่าปิดไว้เฉยๆระหว่างรอโควิดจบ จึงเรียกประชุมน้องๆสต๊าฟแล้วแจ้งนโยบายว่าเริ่มตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ตราบใดที่ปัญหาโควิดยังไม่จบซึ่งผมคาดหมายว่ากว่าจะจบคงจะใช้เวลาอีกนาน..น เวลเนสวีแคร์จะเป็นที่สอนให้คนรู้วิธีสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้ตัวเอง ในรูปแบบของ
(1) รีทรีตสร้างภูมิคุ้มกันโรค Immunity Improvement Retreat (IIR) เป็นการปลีกหลีกเร้นจากที่อยู่เดิมที่ไม่เอื้อต่อการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคหรือเสี่ยงต่อการติดโรค มาลี้ภัยพักผ่อนขณะเดียวกันก็ได้ฝึกปฏิบัติวิธีเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้ตัวเองเอาจากวิถีชีวิตขณะอยู่ในเวลเนสวีแคร์ หมายความว่าทำเอง ในลักษณะมาแบบตัวใครตัวมัน ไม่ยุ่งกับคนอื่น จะอยู่นานกี่วันกี่คืนก็ตามสะดวกของใครของมัน โดยช่วงโควิดนี้ลดค่าบริการลงเหลือต่ำ 50% ของเวลาปกติ คือมาคนเดียว นอนหนึ่งห้องคนเดียวทั้งห้อง กินอาหารแบบเป็นเซ็ท (มังสวิรัติแบบมีไข่) ส่วนตัวไม่ยุ่งกับใครวันละสามมื้อ เสียเงินแค่วันละ 1,000 บาท
(2) แค้มป์สร้างภูมิคุ้มกันโรค Immunity Improvement Camp (IIC) เป็นแค้มป์หนึ่งวันหนึ่งคืนที่สอนโดยแพทย์ สอนเป็นกลุ่มเล็กๆคราวละ 10-15 คน มาฝึกวิธีสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้ตัวเองผ่านอาหาร การออกกำลังกาย การฝึกผ่อนคลาย วางความคิด ลดความเครียด และเรียนการใช้วิตามินและแร่ธาตุที่มีผลเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันโรค โดยมีแพทย์สอนและตอบคำถาม นอกจากนี้ก็ถือโอกาสอยู่กับธรรมชาติ เอาเท้าเปล่าสัมผัสดินและหญ้า จุ่มน้ำ แช่น้ำ เอาผิวหนังสัมผัสแดด โปรแกรมนี้มีเฉพาะช่วงโควิด ลดราคาเหลือเพียงประมาณ 30% ของแค้มป์ปกติ คือมาคนเดียว พักหนึ่งห้องคนเดียวทั้งห้อง หนึ่งวันหนึ่งคืน รวมอาหารแบบเป็นเซ็ท (มังสวิรัติแบบมีไข่) ส่วนตัววันละสามมื้อ เสียเงิน 2,000 บาท
ท้ายนี้ จะอย่างไรเสีย ก็ขอให้ท่านเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันโรคของตัวเองนอกเหนือไปจากสวมหน้ากาก อยู่ห่าง ล้างมือ ฉีดวัคซีน ท่านจะทำเอง หรือมาทำที่เวลเนสวีแคร์ก็ได้ตามสะดวก เพียงแต่ขอให้ท่านทำ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
จดหมายจากท่านผู้อ่าน
เรียนคุณหมอสันต์ที่เคารพรักนับถืออย่างสูง
หนูอ่านเนื้อหาคุณหมอสันต์ละเอียดเรื่องนี้ แต่อ่านข่าวที่ลิ้งมานี้ไม่ละเอียด แค่หัวข้อเหมือนขัดแย้งกับคุณหมอสันต์ จึงส่งมา เผื่อคุณหมอจะเพิ่มการชี้แจงให้โลกรับรู้กันกว้างขวางขึ้น กับข้อมูลอีกด้านที่คุณหมอเห็นว่าเป็นหลักฐานว่าขัดแย้งกัน เพราะส่วนตัวหนูไม่มีความรู้ความสามารถวิเคราะห์อะไรได้เลย
ช่วงที่ผ่านมา หนูไม่ได้ส่งอีเมล์มารบกวนคุณหมออีก เพราะปรุงแต่งว่าอาจจะสร้างความเดือดร้อนให้คุณหมอ ตามที่คุณหมอประเมินไว้ในบล๊อก รวมถึงไม่ได้ส่งอีเมลมาโดยตรงถึงคุณหมอเมื่อมีปัญหาสุขภาพ ได้แต่ส่งความรักความห่วงใยผ่านไลน์ letmethin 1/2 กราบขออภัย
ด้วยความเคารพรักนับถืออย่างสูง
ตอบครับ
ขอบคุณครับ
เป็นความหวังของทุกคนตั้งแต่ผลิตวัคซีนแล้วว่ามันจะครอบคลุม variants ได้หมด ซึ่งมันก็ครอบคลุมได้เป็นส่วนใหญ่ ที่แน่ๆก็คือวัคซีนป้องกันการเกิด variants ทุกตัวได้ด้วยการลดการติดเชื้อไวรัสตัวแม่ เมื่อแม่ไม่ออกลูก ก็ไม่มี variant และแม้เมื่อติดเชื้อ variants วัคซีนก็ยังลดความรุนแรงและอัตราตายลงได้ นี่เป็นความจริงที่ Dr. Fauci พูดถึงในคลิปจากข้อมูลพื้นฐานแต่ไม่ใช่จากผลวิจัยเปอร์เซ็นต์การดื้อวัคซีนของสายพันธ์อินเดียเพราะงานวิจัยผลของวัคซีนต่อสายพันธ์อินเดียในคนตรงๆยังไม่มี ส่วนงานวิจัยใน bioRxiv.org ที่นสพ.ที่คุณส่งมาอ้างถึงนั้นเป็นงานวิจัยในห้องทดลอง ซึ่งเป็นข้อมูลระดับที่ยังต้องรอฟังหลักฐานในคน ข้อมูลที่สิงค์โปร์เป็นหลักฐานในคนชิ้นแรกที่ทำให้เราทราบว่าวัคซีน m-RNA ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อ variants สายพันธ์อินเดียได้มากอย่างที่เราหวัง นั่นเป็นเหตุผลที่รัฐบาลสิงค์โปร์ lockdown ประเทศอีกครั้งทั้งๆที่ฉีดวัคซีน m-RNA ไปแล้ว 3.4 ล้านโด้สจากประชากร 5.7 ล้าน
สันต์
หมอเฉลิมชัยเผยข้อมูลคนสิงคโปร์มั่นใจวัคซีน Sinovac แห่งจองฉีดแบบเสียเงิน ทั้งที่รัฐบาลมี Pfizer และ Moderna ให้ฉีดฟรี
รายงานข่าวระบุว่า น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า
ต่างจิตต่างใจ ลางเนื้อชอบลางยา ชาวสิงคโปร์แห่ต่อคิวฉีดวัคซีน Sinovac แบบเสียเงิน ทั้งที่มีวัคซีน Pfizer และ Moderna ให้ฉีดฟรี ปัญหาเรื่องการเลือกวัคซีนว่า บริษัทไหน เทคโนโลยีอะไร จะดีกว่ากัน ยังคงเป็นปัญหาที่ถกเถียงกันไม่จบสิ้นในหมู่ประชาชนทุกประเทศทั่วโลก
สำหรับประเทศไทยเราเอง มีประชาชนส่วนหนึ่ง ที่มีความมั่นใจในวัคซีนของสหรัฐอเมริกาที่ใช้เทคโนโลยี mRNA ของบริษัท Pfizer และ Moderna และไม่มั่นใจในวัคซีนของจีน ที่ใช้เทคโนโลยีเชื้อตาย ของบริษัท Sinovac หรือ Sinopharm จนเกิดเหตุการณ์ ชะลอการฉีดวัคซีนของจีนไว้ก่อน และจะรอฉีดวัคซีนของสหรัฐฯแม้จะต้องเสียเงินก็ตาม
ขณะเดียวกันในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศในกลุ่มอาเซียนเหมือนประเทศไทย และมีระดับการศึกษาตลอดจนระดับเศรษฐกิจไม่ได้ด้อยกว่าประเทศไทย (อาจจะสูงกว่าด้วยซ้ำ) กลับมีความเชื่อเรื่องวัคซีนของประชาชนส่วนหนึ่ง ไปในทางตรงกันข้าม
โดยมีปรากฏการณ์เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีชาวสิงคโปร์จำนวนมาก ได้แห่กันไปจองคิว บางคนถึงกับไปนอนจองที่ตั้งแต่ตีสอง เพื่อจะฉีดวัคซีน Sinovac ของจีน โดยจะต้องเสียเงินเพิ่ม 7.50 -18.60 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่รัฐบาลสิงคโปร์ ได้จัดฉีดวัคซีนของ Pfizer และ Moderna ให้ฟรีอยู่แล้ว
ขณะนี้รัฐบาลสิงคโปร์ ได้อนุญาตให้ 24 สถานพยาบาลเอกชน นำเข้าวัคซีน Sinovac ของจีนจำนวน 200,000 โดส มาฉีดเป็นวัคซีนทางเลือก และสามารถเก็บเงินกับประชาชนได้ เป็นกรณีตรงกันข้ามกับประเทศไทยเลยทีเดียว
โดยเหตุผลที่ชาวสิงคโปร์ส่วนหนึ่งแย่งกันมาจองคิววัคซีน ซึ่งศูนย์บางแห่ง มีวัคซีนเพียง 200 โดส แต่คนมาจองถึง 1000 คน และเกิดการแห่เข้าคิวแบบล้นหลาม จนมีชาวสิงคโปร์คนหนึ่ง ยอมจ่ายเงินถึง 1000 เหรียญ เพื่อที่จะได้คิวการฉีดวัคซีนจีนของ Sinovac
ที่คนสิงคโปร์ แห่มาสนใจวัคซีน Sinovac นั้น มาจากเหตุผลดังนี้
1.เชื่อในเทคโนโลยีเชื้อตายของวัคซีน Sinovac ว่าจะสร้างความสบายใจปลอดภัยในระยะยาว ดีกว่าเทคโนโลยีใหม่เอี่ยมแบบ mRNA ของ Pfizer และ Moderna
2.คนที่ฉีดวัคซีนฟรีของสิงคโปร์ทั้ง Pfizer และ Moderna มีจำนวนหนึ่งที่เกิดแพ้หรือมีผลข้างเคียงมาก ก็หลบมาฉีดวัคซีนของจีน ซึ่งมีผลข้างเคียงน้อยกว่า
3.มีรายงานประสิทธิผล (Effectiveness) การป้องกันโรคในโลกแห่งความเป็นจริง (Real world) ของวัคซีนเทคโนโลยีเชื้อตาย ที่ดีขึ้นเป็นลำดับ ในขณะที่ประสิทธิผลในโลกแห่งความเป็นจริงของวัคซีนเทคโนโลยี mRNA ดูจะน้อยลงเป็นลำดับ
4.คนที่จะเดินทางไปจีน ถ้าฉีดวัคซีนของจีนครบ 2 เข็ม จะไม่ต้องกักตัว มีชาวสิงคโปร์เป็นจำนวนมากที่เป็นเชื้อสายจีน จึงตัดสินใจฉีดวัคซีนของ Sinovac เป็นกรณีตัวอย่างที่น่าสนใจ ระหว่างสิงคโปร์กับไทย ซึ่งมีความสนใจและต้องการที่จะฉีดวัคซีนแบบตรงกันข้าม จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม
ทำให้พบความจริงที่ว่า แต่ละคน ต่างมีเหตุมีผล และความคิด ตลอดจนความเชื่อของตนเอง ในการเลือกวัคซีนที่แตกต่างกัน คือ ต่างจิตต่างใจ หรือลางเนื้อชอบลางยา นั่นเอง
สำหรับประเทศไทยนั้น ปัจจุบันมียอดการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 (Covid-19) สะสมตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.-26 มิ.ย.64 จากศูนย์ข้อมูล COVID-19 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า มีการฉีดสะสมแล้ว 9,055,141 โดส แบ่งเป็นเข็มที่ 1 จำนวน 6,475,826 ราย และเข็มที่ 2 จำนวน 2,579,315 ราย
อยู่เวรเมื่อคืน โดนตามมาผ่าตัดเคสสุดท้ายตอนตี 5 จากนั้นมาราวด์คนไข้ที่วอร์ด
บรรยากาศค่อนข้างน่าหดหู่..วอร์ดที่เคยรับผู้ป่วยทั่วไป กำลังจะถูกยุบไปอีกวอร์ด เพื่อปรับเป็นวอร์ดสำหรับผู้ป่วยโควิด...วอร์ดที่ 6 ในโรงพยาบาล
เห็นเพื่อน ๆ ที่เป็นหมออายุรกรรมต้องแบ่งกันไปโรงพยาบาลสนามที่ขยายไปหลายร้อยเตียงก็ไม่มีวันพอ ต้องแบ่งกันไปราวด์คนไข้ทั้งธรรมดาที่ไม่ได้ลดลงเลย และคนไข้โควิดอีก 120 กว่าคนในโรงพยาบาล รวมถึง 2 ICU
เห็นเพื่อน ๆ หมอกแผนกอื่น ๆ ต้องหารเวรกันไปออกตรวจ ARI คลินิก หารเวรกันไปออกหน่วยวัคซีนทั้งในและนอกโรงพยาบาล
เห็นพยาบาลควงเวรกันไม่หยุดไม่หย่อน เพราะส่วนหนึ่งต้องถูกแบ่งไปโรงพยาบาลสนาม บางคนบ้านไม่ได้กลับ บางคนลูกเล็กไม่ได้เห็นหน้าลูกเป็นเดือน ๆ
พยาบาลบางคนควงเวรเช้าบ่าย เช้าบ่ายดึก ติด ๆ กัน
เห็นเพื่อน ๆ หมอผ่าตัดที่ผ่าตัดทั้งเคสปกติ เคสฉุกเฉิน และเคสโควิดกันเป็นเรื่องปกติ หมอสูติ ฯ ผ่าคลอดเคสโควิดแทบจะรายวัน บางวันมีสองเคสสามเคสก็มี
เห็นน้อง ๆ วิสัญญีที่สู้สุดใจ ต้องอยู่เวรดมยา ดมได้หมดทุกกรณีไม่เคยเกี่ยงงาน ไม่พอยังถูกตามไปช่วยใส่ท่อช่วยหายใจแทบทุกคืน ดึกดื่นแค่ไหนก็ไปทั้ง ๆ ทีเป็นแค่ผู้หญิงตัวเล็ก ๆ กัน
เห็นหมอเอ็กซ์เรย์ต้องไปอ่านฟิล์มผู้ป่วยวันละหลายร้อยราย แม้กระทั่งมี AI มาช่วย ก็ไม่สามารถแบ่งเบาภาระได้เลย เห็นเจ้าหน้าที่เอ็กซ์เรย์เข็นรถคันใหญ่ ๆ หนัก ๆ ไปตามตึกทั้งคืน
เห็นผู้บริหารมาลงพื้นที่เอง ไม่ใช่แค่สั่งการ เห็นหัวหน้าพยาบาล หัวหน้าวอร์ดลงมาปฏิบัติงานเองกับน้อง ๆ ทำงานกันไม่เว้นวันหยุด
แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะร่วมมือร่วมใจกันขนาดไหนก็มีแต่จำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น และเพิ่มขึ้น
ในท้ายที่สุด ภาพที่ไม่อยากให้เห็นคือ หลายโรงพยาบาลต้องเลือกผู้ป่วย ว่าคนไหนจะได้รับการรักษา คนไหนจะได้เข้า ICU คนไหนจะรอด คนไหนจะไม่รอด
แม้กระทั่งคนใกล้ชิดผมที่ป่วย มีเงิน มีประกันชีวิต ติดต่อโรงพยาบาลอันดับต้น ๆ ของประเทศก็ยังต้องรอ
เมื่อถืงวันนี้ การมีเงินอาจไม่สามารถซื้อชีวิตคุณได้
ดังนั้น เป็นกำลังใจให้ทุกฝ่าย ตอนนี้เราอย่าพึ่งไปหวังพึ่งใคร และโทษใครไม่ได้ แต่เราพึ่งตัวเราเองก่อน ดูแลตัวเองและครอบครัวก่อน
เหตุการณ์ทั้งหมดคงไม่มีใครอยากให้เกิด และเชื่อว่าทุกฝ่ายก็คงช่วยกันอย่างเต็มความสามารถอยุ่แล้ว
สำคัญอย่าประมาทเด็ดขาดนะครับ
ไม่ใช่ว่าฉีดวัคซีนแล้ว จะไปไหนมาไหนใช้ชีวิตได้ตามปกติ
วัคซีนกันไม่ให้เกิดภาวะที่รุนแรงได้แต่ไม่ทั้งหมด และที่สำคัญไม่ได้กันติด บางทีไม่มีอาการก็เหมือนพาหะนำเชื้อดี ๆ นี่เอง ที่อาจไปติดคนที่คุณใกล้ชิดได้
เชื่อเถอะครับ มันอันตรายและร้ายแรงกว่าที่คิดเยอะเหลือเกิน
สถานการณ์ทั่วโลกกำลังจะดีขึ้น อีกไม่นานมันก็ต้องค่อย ๆ หมดไป
ทนอีกนิดนะครับ วันหนึ่งเราต้องผ่านมันไปให้ได้
เป็นกำลังใจให้ทุกท่านนะครับ
จากหมอคนหนึ่งในดินแดนระบาด
ข้อมูลใหม่ เพจดัง Drama-addict ได้เผยแถลงการณ์จากทาง "แอสตร้าเซนเนก้า" ชี้โดสแรก-โดส 2 ยิ่งเว้นช่วงนาน ระดับภูมิคุ้มกันยิ่งสูงขึ้น
เพจดัง Drama-addict ได้เผยแถลงการณ์จากทาง "วัคซีน" "แอสตร้าเซนเนก้า" ซึ่งเป็นการทดลองการเว้นช่วงฉีดระหว่างโดสแรก โดสสอง ปรากฏว่า ยิ่งเว้นช่วงนานเท่าไหร่ ระดับภูมิคุ้มกันร่างกายจะต้านทานต่อ "โควิด" สูงมากขึ้น
โดยทางเพจระบุว่า " คำถามที่คนถามบ่อยมากคือ ถ้าฉีด"แอสตร้าเซนเนก้า" 2 โดสแล้ว โดส 3 เอาไง จะต้องเว้นช่วงนานแค่ไหนถึงจะฉีดบูทสเตอรโดส 3 และหลังฉีดโดส 3 แล้วเอาไงต่อ
วันนี้ทาง "แอสตร้าเซนเนก้า" ออกแถลงการณ์มาเมื่อสักครู่นี่เองอันนี้น่าสนใจมาก คืองานวิจัยที่ว่า มันเกี่ยวกับปัญหาขาดแคลนวัคซีนทั่วโลก ดังนั้นเขาเลยวิจัยว่า การเว้นช่วงระหว่างโดสแรก โดสสองนานๆ จะมีผลกับระดับภูมิคุ้มกันแค่ไหน เขาเลยทดลองด้วยการ ฉีดวัคซีนโดสนึงก่อน แล้วเว้นช่วงนานๆ ไปเลย แล้วค่อยฉีดโดสสอง และบูทสเตอร์โดสสามตามลำดับ
โดยกลุ่มที่ทดลองนี้ เว้นช่วงระหว่างโดสแรกกับโดสสอง 44-45 สัปดาห์ (เกือบ 11 เดือน) ซึ่งก็พบว่าหลังฉีดโดสแรกไปแล้วเว้นช่วงนานขนาดนี้ ภูมิในร่างกายก่อนฉีดโดสสอง ก็ยังมีอยู่ในระดับที่ป้องกันโรคได้ แล้วเขาก็ฉีดวัคซีนโดสสองแล้ววัดระดับภูมิอีกที 28 วันหลังโดสสอง
ปรากฏว่า หลังฉีดโดสสองโดยทิ้งช่วง 45 สัปดาห์ ระดับภูมิขึ้นกันขึ้นสูงถึง 18 เท่า (ตรวจ 28 วันหลังฉีดโดสสอง) และเมื่อเทียบกับระดับภูมิคุ้มกันที่ตรวจในกลุ่มที่เว้นช่วงโดส 1 กับ 2 นาน 12 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่เว้นช่วง 45 สัปดาห์ ภูมิสูงกว่ากลุ่มที่เว้นช่วง 12 สัปดาห์ 4 เท่า ดังนั้นการทิ้งช่วงระหว่างโดสแรกกับสองนานขึ้น น่าจะมีผลให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อโควิดสูงกว่าเดิมอีก
จากนั้นเขาก็วิจัยกันต่อ โดยทิ้งช่วงอีก 6 เดือน แล้วให้โดสที่สาม หลังโดสสองหกเดือน พบว่าภูมิขึ้นไปอยู่ในระดับสูง 6 เท่าและพบว่าประสิทธิภาพในการต้านทานสายพันธ์ทั้งหมดที่ระบาดตอนนี้ ไม่ว่าจะ อัลฟ่า เบต้า เดลต้า สูงขึ้นอย่างชัดเจน
โดยศาสตราจารย์แอนดรูว์ พอลลาร์ด นักวิจัยที่ออกซฟอร์ดกล่าวถึงงานวิจัยนี้ว่า เป็นสัญญาณดีมาก สำหรับประเทศที่ยังขาดแคลนวัคซีน เพราะแม้คุณจะฉีดโดสสองไม่ทันเวลาที่กำหนดตอนแรก แต่เลื่อนไปนานถึงสิบเดือนหลังจากนั้น แต่พอฉีดไปภูมิขึ้นสูง
สรุปง่ายๆ แนวทางการฉีดใหม่จากแอสตร้าเซนเนก้านี้ อาจจะฉีดโดสเดียว แบบ J&J ได้ครับ แล้วไปฉีดโดสต่อไปปีหน้าเลย ซึ่งงานวิจัยของทางออกซฟอร์ดพบว่า วิธีนี้ภูมิสูงกว่าฉีดสองโดสทิ้งช่วง 12 สัปดาห์ ตอนนี้ข้อมูลใหม่มาก เดี๋ยวรอทางออกซฟอร์ดเปิดข้อมูลมากกว่านี้ให้นักวิจัยได้ดูกัน น่าจะมีแนวทางบริหารวัคซีนสำหรับประเทศที่ขาดแคลนวัคซีนได้ดีขึ้น
น่ากลัวสุด! ‘หมอนิธิพัฒน์’ สายพันธุ์เดลตาแพร่กระจายในกทม. – ผู้ใช้เครื่องช่วยหายใจนิวไฮที่ 485 ราย
น่ากลัวสุด! 'หมอนิธิพัฒน์' บอกสายพันธุ์เดลต้า แพร่กระจายไปมากในกทม. วันนี้ยอดผู้ใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นนิวไฮที่ 485 ราย เตือนตรวจค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ทั้งเชิงรับและเชิงรุก ต้องระดมทำเต็ม อย่าให้เหมือนที่ผ่านมาตรวจน้อยเท่ากับติดน้อย ผู้ใหญ่จะได้ไม่กังวล
รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความระบุ ที่ทำงานหนักก็หนักกันต่อไป ยังมองไม่เห็นฝั่งแม้มีคนยื่นขอนไม้มาให้แล้ว
เมื่อคืนจนถึงเช้านี้การหาเตียงสำหรับผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจในกทม.คึกคักมาก และต้องขอความช่วยเหลือส่งไปต่างจังหวัดสักพักแล้ว ส่วนการ เพิ่มเตียงไอซียูโควิด ที่กำลังพยายามกัน (ส่วนตัวไม่เห็นด้วย) แม้จะทำพอได้มาบ้าง แต่คงไม่สามารถขุดมาใช้ได้ในเร็ววันวันนี้ยอดผู้ใช้เครื่องช่วยหายใจ ในประเทศจะเป็นนิวไฮที่ 485 ราย หรือเปล่าไม่รู้ โดยอยู่ในกทม.-สมุทรปราการ-นนทบุรี-ปทุมธานี 330 (68%) และกทม.โดด ๆ 225 (46%)
ผมคงเช่นเดียวกับคนหมู่มาก ที่อยากจะเห็นหน้าตาของมาตรการที่ขอเรียกว่า“ล็อคดาวน์แบบจำกัดขอบเขต” ฉบับเต็ม (มีแพลมมาแล้วพอควร) ว่าจะออกมาแล้วร้องว้าว หรือร้องยี้ จะโดนใจ หรือจะเสียดแทงใจ โดยส่วนตัวไม่ค่อยเชื่อน้ำมนต์ฝ่ายบริหาร และฝ่ายความมั่นคงนัก เพราะชนักมันมีอยู่ ตัวดีแสนสำคัญ ที่กำหนดคือ “สายสัมพันธ์” หรือ“การเกี้ยเซี้ย” ที่อาจทำให้ผู้มีอำนาจในการบังคับใช้และกวดขันให้เป็นไปตามมาตรการทำได้ไม่สมบูรณ์ตามที่รับปาก อย่างไรก็ตาม เมื่อให้อำนาจเขาตัดสินใจแล้ว ภาคการแพทย์และภาคประชาชน คงได้แต่ต้องช่วยกันจับตามอง
ดัชนี้ชี้วัดที่น่าจะควบคุมตัวแปรอื่นๆ ออกไปได้เกือบหมด และมองเห็นผลได้เร็ว คือ จำนวนผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจในกทม. (นับรวมหากมีการขนย้ายไปรักษาในจังหวัดใกล้เคียงตามนโนบายหน่วยงานที่ว่า เตียงใน กทม.ยังมีพอ) อีกทั้งดัชนีนี้จะเป็นเครื่องตอกย้ำความสะเทือนใจทั้งของฝั่งผู้ป่วยและญาติ และฝั่งของบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นผู้ให้การดูแลรักษา เนื่องจากดัชนีนี้จะนำไปสู่การสูญเสียชีวิตราวครึ่งหนึ่งในอีกสิบวันหลังจากนั้น
ผมเชื่อว่าขณะนี้ สายพันธุ์เดลต้า แพร่กระจายไปมากในกทม.แล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการปอดอักเสบเร็วและดูรุนแรง กว่าสายพันธุ์ที่ระบาดอยู่เดิม ขณะนี้มียอดผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจในกทม. 225 คน หากมาตรการที่กำหนดร่วมกันมานี้ใช้ได้ผล จะต้องเห็นตัวเลขนี้ลดลงให้เหลือไม่เกินครึ่งหนึ่งคือ 123 คน ใน 28 วันข้างหน้า นั่นคือต้องไม่เกินสามในสี่คือ 169 คน ในอีก 14 วันข้างหน้า การที่กำหนดตัวเลข 123 คนไว้เป็นเป้าหมายสุดท้าย เนื่องจากอยากเห็นไอซียูโควิดในกทม.กลับไปใช้งานเท่าจุดสูงสุดของระลอกแรกคือไม่เกิน 200 เตียง (ครึ่งหนึ่งจะใช้เครื่องช่วยหายใจ อีกครึ่งหนึ่งใช้ไฮโฟลว์ หรืออุปกรณ์พยุงชีวิตอื่น) เพื่อที่จะได้หวังให้ลดลงไปอีกครึ่งหนึ่งในอีกหนึ่งรอบ 28 วันถัดไป ถ้าเป็นดังนี้บุคลากรทางการแพทย์จะไม่เหนื่อยล้าจนเกินไปและทนไม่ไหว ผู้ป่วยโควิดก็จะได้รับการดูแลตามมาตรฐาน ที่สำคัญคือ ผู้ป่วยอื่นที่ไม่ใช่โควิดจะได้กลับมารับการดูแลรักษาตามมาตรฐานวิถีใหม่ที่ควรจะเป็น
ยังมีข้อแม้อีกเล็กน้อย คือ การตรวจค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ทั้งเชิงรับและเชิงรุก ต้องระดมทำเต็มความสามารถ เพื่อเร่งควบคุมโรคในภาพรวม อย่าให้เป็นแบบที่ผ่านมาในบางพื้นที่ คือตรวจน้อยเท่ากับติดน้อย ผู้ใหญ่จะได้ไม่กังวล แต่ทำแบบนั้นมันจะติดแน่นและติดนาน จนคนโรงพยาบาลจะรับไม่ไหวแล้วผู้ใหญ่ก็จะต้องกังวลไปอีกแบบหนึ่งที่อาจน่ากลัวกว่า อย่างไรก็ตามถึงจะตรวจน้อย คนที่ติดแล้วไม่ได้ตรวจ หรือรอตรวจหรือรอเตียง ถ้าอาการทรุดลงก็จะตรวจจับได้เมื่อต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ
สมกับถ่างตาหลับๆ ตื่นๆ รอดูทีมรัก เมื่อคู่แข่งจากลุ่มน้ำดานู้บดันผีเข้าเล่นดีผิดตา จึงเกือบเสียศูนย์ และก็เสียศูนย์ (clean sheet) ไปจริงด้วยจากลูกโหม่งอันสุดสวย แต่ลูกยิงของสาวกมักกะโรนีในรูปก็งามงดไม่ขี้เหล่กว่ากัน เส้นทางต่อไปในรอบควอเตอร์ไฟแนล เซมิไฟแนล และไฟแนล คงไม่ได้โรยด้วยดอกกุหลาบ เหมือนที่ทีมโควิดวิกฤตในกทม.จะต้องร่วมกันฝ่าฟัน และช่วงเวลาประเมินผลแชมป์คงใกล้เคียงกับดัชนีชี้วัดที่ 14 วันดังกล่าวไปแล้วข้างต้น
ข้อมูลจาก https://today.line.me/th/v2/article/2QGzqX?utm_source=lineshare
24 มิ.ย.64 - นพ.เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน แถลงถึงกรณีการติดตามเฝ้าระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หลังการฉีดวัคซีน ป้องกันโรคโควิด-19ของประชาชนในขณะนี้ ว่า ภาพรวมของการฉีดวัคซีน โควิด-19 มีการสรุปข้อมูลวันที่ 21 มิ.ย. เวลา 16.30 น. จำนวนผู้ฉีดวัคซีนทั้งหมด 7,906,696 โดส มีการเก็บข้อมูลทั้งหมดว่าอะไรเป็นเหตุร่วม โดยที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีน ซึ่งในภาพรวมการฉีดวัคซีนทั้งสองชนิดและสองเข็ม พบว่าผู้ป่วยที่มีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เข้าเกณฑ์ต้องสอบสวนโรคคือ ต้องเข้ารับรักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล อย่างน้อย 3 วัน มีทั้งหมด 1,945 คน คิดเป็นประมาณ 24 คนต่อการฉีด 100,000 โดส
ส่วนการเจ็บป่วยร้ายแรงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น มีอาการแพ้อย่างรุนแรงหรือเสียชีวิต คิดเป็น 1.30 รายต่อการฉีด 100,000 โดส แยกเป็น ซิโนแวค มีผู้ฉีดเข็มที่หนึ่งแล้ว 3,370,000 กว่าโดส ส่วนเข็มที่สอง 2,176,933 โดส ส่วนการเสียชีวิตถ้าดูผลสรุปสุดท้ายเป็นเหตุที่ไม่ได้เกี่ยวกับการฉีดวัคซีน โควิด-19 แต่เมื่อมีรายงานก็ต้องเก็บรวบรวมมาทั้งหมดเพื่อแยกแยะหาสาเหตุให้ชัดเจน พบว่าการเสียชีวิต 44 ราย หลังการฉีดเข็มที่หนึ่งคิดเป็น 1.3 ต่อแสน ส่วนหลังการฉีดเข็มที่สองมี 7 ราย หรือ 0.3 ต่อแสน ถือเป็นค่าที่ต่ำกว่าเหตุการณ์ปกติก่อนที่จะมีวัคซีน ส่วน แอสตราเซเนกามีการฉีดเข็มที่หนึ่งไปแล้ว 2,300,000 กว่าโดส เข็มที่สอง 50,000 โดส ส่วนการเสียชีวิตหลังเข็มที่หนึ่ง 49 ราย หรือ 2 ต่อแสน เข็มที่สอง 1 ราย คิดเป็น 1.96 ต่อแสน
นอกจากนั้นจะเป็นปฏิกิริยาจากการแพ้ หลังการฉีดวัคซีนอาจจะมีอาการผื่นภูมิแพ้ คล้ายลมพิษเกิดขึ้นได้ ซึ่งเกิดขึ้นในผู้ฉีดซิโนแวค 21 ราย ส่วนแอสตราเซเนกาไม่มีรายงาน นอกจากนั้นจะมีอาการ ที่พบมากในการฉีดซิโนแวค คือเวียนศรีษะ และคลื่นไส้ ส่วนที่พบมากในแอสตร้าเซเนกา คืออาการไข้และปวดศรีษะ อย่างไรก็ตาม อาการทั้งหมดที่เกิดขึ้นอยู่ในระดับที่มีความปลอดภัย ไม่ได้เป็นเหตุที่อันตราย นอกจากนี้ จะมีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีน คือทำให้คนเกิดอาการวิตกกังวล โดยที่ไม่รู้ตัวแต่อาจจะทำให้เกิดอาการทางร่างกาย
นพ.เฉวตสรร กล่าวว่า จากการตรวจสอบของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญที่ตรวจสอบผู้เสียชีวิตพบว่าไม่มีผู้เสียชีวิตที่เกี่ยวข้องจากวัคซีน โดยผู้เสียชีวิต 17 ราย หลังฉีดซิโนแวค พบว่าที่สามารถสรุปสาเหตุได้ชัดเจนและไม่ต้องขอข้อมูลอื่นได้เพิ่ม ส่วนหลังฉีดแอสตราเซเนกา 3 ราย มีอีกส่วนหนึ่งที่ยังต้องหาหลักฐานเอกสารโดยการส่งตรวจเพิ่มเติม 4 รายจากหลังฉีดแอสตราเซเนกา ซึ่งรายละเอียดการพิจารณากรณีเสียชีวิต 103 ราย พิจารณาแล้ว 42 ราย ไม่มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับวัคซีน แต่เป็นอาการเกิดร่วมโดยบังเอิญ เช่น โรคเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ เลือดออกในสมอง ลิ่มเลือดอุดตันในปอด เลือดออกในช่องท้อง ความผิดปกติของเกร็ดเลือด ถือเป็นเหตุการณ์ร่วมที่ทำให้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตโดยที่ไม่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีน
อย่างไรก็ตาม สำหรับส่วนที่คณะผู้เชี่ยวชาญมีการขอข้อมูลเพิ่ม 18 ราย และรอผลการผ่าชันสูตรพลิกศพ 61 ราย ขอย้ำว่าคณะผู้เชี่ยวชาญที่ติดตามข้อมูลได้ใช้ข้อมูลทุกส่วนอย่างเต็มที่และยืนยันว่าวัคซีนยังมีความปลอดภัยและขอเชิญชวนประชาชนที่อาจจะยังมีความกังวลใจโดยจะเห็นว่าสถานการณ์โรคในขณะนี้มีความรุนแรงเพิ่มสูงขึ้น หากใครยังไม่ตัดสินใจขอเชิญให้มาลงทะเบียนรับการฉีดวัคซีน
สำหรับคนที่ไม่ฉีด หรือรอวัคซีนอื่นอยู่ต้องเข้มงวดกับตัวเองสุดๆ (คนที่ฉีดแล้วก็เช่นกัน) อย่าให้ติด covid-19 เพราะอาจจะเป็นปัญหาสุขภาพระยะยาวได้ ด้านล่างเป็นข้อคิดเห็นหนึ่ง
Long Covid ปัญหาสุขภาพระยะยาว
โดย นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
Published 5/10/20
Update 24/12/20
11/06/21
16 เดือนหลังจากที่ covid-19 ระบาด มีคนป่วยแล้วทั่วโลกมากกว่า 170 ล้านคน ในบรรดาคนป่วย มีจำนวน165 ล้านคนที่รอดชีวิตจาก covid-19 คนเหล่านี้ 10% ถึง 30 % ยังต้องผจญกับปัญหาทางสุขภาพในระบบต่างๆ ของร่างกาย อันเป็นผลพวงจากความเสียหายที่ covid-19 ได้ส่งผลเสียหายระยะยาวต่ออวัยวะและระบบต่างๆ ในร่างกาย
พบว่าคนไข้ covid-19 จำนวน 8 ใน 1000 คน จะเสียชีวิตภายใน 1 ปี จากปัญหาต่างๆ รวมทั้งติดยาแก้ปวดและฆ่าตัวตาย
จากการติดตามคนไข้จำนวนมากในยุโรปและอเมริกาพบว่า มีคนป่วยส่วนหนึ่งมีอาการนานถึง 16 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น อาจเป็นปี คนป่วยเหล่านี้เรียกว่ากลุ่ม long covid
ตามปกติหลังจากป่วยเป็น covid-19 จะใช้เวลา 2-4 สัปดาห์ในการฟื้นตัว
กลุ่มอาการที่พบบ่อยในพวก long covid คือ อ่อนเพลีย chronic fatigue หายใจไม่เต็มอิ่ม ความจำระยะสั้นไม่ดี brain fog
จากการศึกษาของ King ‘s College พบว่า คนที่มีความเสี่ยงที่จะเป็น long covid คือคนแก่ ผู้หญิง คนที่นำ้หนักมาก คนที่มีหอบหืด asthma
คนป่วยที่มีอาการมากมีโอกาสที่จะเป็น long covid สูง แต่คนติดเชื้อที่ไม่มีอาการก็เป็น long covid ได้ โดยเฉพาะคนหนุ่มสาว คนที่มีอาการเมื่อป่วย covid 19 เกิน 5 อย่าง ไอ ปวดหัว ท้องเสีย สูญเสียการดมกลิ่น etc
ในอังกฤษ ที่ King's College ได้ใช้ app : Covid symtom study ศึกษาติดตามคนที่เคยติดเชื้อ covid-19 พบว่ายังมีคนไข้ที่เป็น long covid นับหลายแสนคน
ผู้เชี่ยวชาญส่วนหนึ่งเชื่อว่า คนไข้ long covid ส่วนหนึ่งจะมีอาการไปตลอดชีวิตเหมือนคนไข้ที่ติดเชื้อไวรัสบางอย่างเช่นใน myalgia encephalitis
แต่ในอเมริกาผู้เชี่ยวชาญจาก Mayo Clinic คือ Dr. Greg Vanichkachorn บอกว่าเรายังไม่รู้จำนวนคนไข้ที่แน่นอนว่ามีเท่าไหร่ที่หายป่วยแล้วเป็น long covid แต่อาจจะมีอยู่ 10-30% ของคนเคยติดเชื้อ covid-19
แต่เชื่อกันว่าคนอเมริกันนับแสนคนรวมทั้งคนหนุ่มสาวเป็น long covid และ Dr. Greenspan จาก ศูนย์ปอดใน New York บอกว่าคนไข้ long covid ในอเมริกาส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาว
ในเยอรมนี พบว่ามีคนเป็น long covid 3.5 แสนราย ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อระบบสุขภาพ
เชื้อ covid-19 เข้าไปทำร้ายอวัยวะระบบต่างๆ ในร่างกาย และทิ้งความเสียหายไว้ ถึงแม้ตัวไวรัส covid-19 จะถูกขจัดไปแล้ว
จากผลสำรวจคนไข้ที่เป็น long covid 1,500 คนในเดือน กรกฎาคม 2020 ส่วนหนึ่งจะปรากฏความเสียหายในปอดและหัวใจให้เห็นในการตรวจ แต่คนไข้อีกส่วนหนึ่งถึงแม้จะมีอาการมากแต่ตรวจเลือดหรือตรวจวิเคราะห์ต่างจะไม่พบสิ่งผิดปกติถึงแม้จะมีอาการมาก และพบว่ามีอาการต่างๆ ถึง 100 ชนิด
การศึกษาทำ MRI ของคนไข้หนุ่มสาวในอังกฤษ 4 เดือนหลังจากป่วยเป็น covid-19 พบว่ามีความเสียหายของอวัยวะหลายระบบ
พบว่า 25 %ของคนไข้จะมีความเสียหายมากกว่าสองระบบ ส่วนหนึ่งจะสัมพันธ์กับอาการที่เหลืออยู่
อีกการศึกษาหนึ่งในอังกฤษ โครงการ Coverscan program ศึกษาในคนที่ป่วยด้วย covid-19 จำนวน 58 คนแล้วต้องอยู่โรงพยาบาล หลัง 3 เดือนทำ MRI พบว่า 60% มีความเสียหายที่ปอด 28%เสียหายที่ไต 26%เสียหายที่หัวใจ และคนไข้ 10% มีความเสียหายที่ตับ
ระบบหายใจ
เป็นระบบที่พบบ่อยที่สุดในความเสียหายจาก long covid อาจเกิดจากความเสียหายโดยตรงต่อเนื้อปอด หรือเกิดจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงเนื้อปอดเกิดอุดตันอันเป็นผลสืบเนื่องจากไวรัส covid-19
คนไข้ส่วนหนึ่งหลังออกจากโรงพยาบาลแล้วยังมีปัญหา หายใจไม่เต็มอิ่ม อาจมาจากเนื้อปอดถูกทำลาย ทำให้เหนื่อยง่าย บางคนต้องใช้ออกซิเจนกระป๋องตลอดเวลา ผลการศึกษาของ Mayo clinic ทำ CT scan ในกลุ่มคนที่ไม่มีอาการ ก็พบว่าเนื้อปอดมีร่องรอยการถูกทำลาย มี scar ในเนื้อปอด
การศึกษาของ Oxford ก็สนับสนุนว่ามีความเสียหายในเนื้อปอด โดย Professor Gleeson พบว่าในคนไข้ที่มีอาการหายใจไม่เต็มอิ่ม หลังจากป่วยจาก covid-19 พบว่า 8 ใน 10 คนมีความเสียหายของเนื้อปอด จากการศึกษาด้วย xenon scan คนไข้เหล่านี้ตอนป่วยไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ventilator การตรวจ scan ธรรมดาจะไม่พบสิ่งผิดปกติ
ระบบประสาท
คนไข้ส่วนหนึ่งหลังจากออกจากโรงพยาบาล ต้องพิการจาก stroke เป็นอัมพาตจากการที่ covid ทำให้เส้นเลือดที่ไปที่สมองอุดตัน ปกติ stroke จะเกิดในคนอายุมากเฉลี่ย 70 ปีขึ้นไป แต่ covid-19 อาจทำให้เกิด stroke ในคนอายุน้อยคือระหว่าง 40-50 ปี
ในการศึกษาวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Lancet ได้ทำ MRI ของสมองของคนที่ตรวจพบว่าเคยติดเชื้อ covid-19 จำนวน 60 คน พบว่าเนื้อสมองมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับคนปกติเมื่อเวลาผ่านไป 3 เดือน ซึ่งทำให้อธิบายได้ว่าทำไมคนไข้บางคนมีความจำเสื่อม เสียสมาธิง่าย เกิด brain fog
คนไข้จำนวนหนึ่งจะสูญเสียระบบประสาทการรับรสและการดมกลิ่นอย่างถาวร
พบว่าคนไข้ส่วนหนึ่งมีอาการปวดจากปลายประสาทอักเสบเรื้อรัง burning pain
ระบบหัวใจ
ไวรัส covid-19 จะทำลายกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง ทำให้การสูบฉีดโลหิตของหัวใจสูญเสียคุณภาพไป หรืออาจเกิดจากเส้นเลือดหัวใจอุดตันจาก blood clot
การศึกษาในเยอรมนี คนไข้ 78 คน จาก 100 คน มีหัวใจที่ผิดปกติ การศึกษาที่ Wuhan ศึกษาในคนไข้ 416 คนที่เคยรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 20% มีกล้ามเนื้อหัวใจที่ผิดปกติ
ระบบการทำงานของไต
พบว่า covid-19 ทำให้คนไข้ส่วนหนึ่งมีไตวายเรื้อรัง ทำให้คนป่วยต้องมาล้างไตอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลจากเนื้อไตถูกทำลายจากไวรัส หรือไวรัสทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดเล็กๆ ที่มาเลี้ยงไต ทำให้ไตเสียหาย
ที่อังกฤษ 28% ของคนป่วยใหม่อายุระหว่าง 20-29 ปี จะอ่อนเพลียเหนื่อยง่ายกลับไปทำงานหรือออกกำลังกายไม่ได้ เป็น long covid ที่เรียกว่า chronic fatigue syndrome นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า เกิดจากการแปรปรวนของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำให้ร่างกายคิดว่ายังมีไวรัสอยู่ ทำให้รบกวนระบบประสาทและ hypothalamus
การศึกษาจาก Emory university พบว่า ผู้ป่วย covid-19 ส่วนหนึ่งจะสร้าง antibody ที่มีผลต่ออวัยวะผู้ป่วยเอง คือ autoantibodies ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของ long covid
เมื่อเชื้อ covid-19 เข้าสู่ร่างกาย ส่วนหนึ่งของ gene ของ covid จะกระตุ้นให้ B cell สร้าง antibody แต่บางครั้งระบบแปรปรวน B cell จะสร้าง antibody ที่มาต่อต้าน gene ของคนไข้เอง
ทีมนักวิทยาศาสตร์ของ Emory ตรวจเลือดของคนไข้ที่เคยป่วยหนักที่ Atlanta 52 คน พบว่า 44% มี autoantibodies ภูมิคุ้มกันต่อตัวเองต่อ gene ของผู้ป่วย
ดังนั้น คนไข้ long covid อาจจัดเป็นโรคกลุ่มเดียวกันกับ SLE และโรค Rheumatoid ซึ่งเป็น autoimmune มีภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวเอง จะไม่สามารถรักษาให้หายขาด
Dr. Greg Vanichakorn จาก Mayo Clinic เมื่อดูจากประสบการณ์ของโรค Sars ปี 2003 ซึ่งเป็น coronavirus เหมือนกัน long covid อาจใช้เวลาประมาณหนึ่งปี อาการถึงจะดีขึ้น
คำอธิบายสำหรับการเกิด long covid มี 3 ทฤษฎี
ทฤษฎืที่หนึ่ง คือระบบภูมิคุ้มกันเกิดเรรวนหลังจากการติดเชื้อ covid-19 ทำให้ร่างกายสร้างระบบภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อตัวเอง autoimmunity
ทฤษฎีที่สอง หลังติดเชื้อ covid-19 แล้วยังมีเศษชิ้นส่วนของไวรัสอยู่ในร่างกายคนไข้ ทำให้มีการอักเสบเรื้อรังเกิดขึ้นอีก
ทฤษฎีที่สาม คือไวรัสยังซ่อนตัวอยู่ในร่างกาย รอจนร่างกายอ่อนแอแล้วจึงกลับมาปรากฏตัวเป็นปัญหากับร่างกายอีกครั้ง
Dr. Fedrico Cerrone จาก New Jersey รักษาคนไข้ long covid 500 ราย นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2020 บางคนอาการดีขึ้น บางคนยังมีอาการทางระบบหายใจเรื้อรังอยู่
แต่ในระยะหลังเป็นที่น่าแปลกใจที่คนไข้ long covid ส่วนหนึ่งมีอาการดีขึ้น โดยเฉพาะหลังจากฉีดวัคซีน covid-19
ซึ่งมีคำอธิบายว่า วัคซีนอาจกระตุ้นให้ร่างกายสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ไปต่อสู้กับระบบภูมิคุ้มกันที่ทำร้ายคนไข้จากผลของไวรัส autoimmunity
ยังมีหลายๆ สิ่งที่เรายังไม่เข้าใจธุรกิจ เกี่ยวกับ long covid ซึ่งคงต้องติดตามศึกษาต่อเไป
โดย นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
เป็นความเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวกับองค์กร
หน้าที่ 39 จาก 73