"หมอยง"เผยแค่ฉีดวัคซีน "แอสตราเซเนกา" เข็มแรก มีภูมิต้านทานร้อยละ96.7

 
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่องของภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีน แอสตราเซเนกาเพียง 1 เข็ม ก็ต้านทานเชื้อไวรัสโควิด19 ได้แล้วถึงร้อยละ96.7
 

ยังคงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่สำคัญในการลดการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้นก็คือการให้ประชาชนคนไทยได้ฉีดวัคซีนโควิดจำนวนมากที่สุดและรวดเร็วเพื่อลดการระบาดและลดจำนวนผู้ป่วยหนักและเสียชีวิต
 

จากการายงานข้อมูลประจำวันที่ 3 พฤษภาคม 2564 พบประชาชน พบประชาชนฉีดวัคซีนโควิดสะสมอยู่ที่ 285,735ขณะที่  ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่องของภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีน แอสตราเซเนกาเพียง 1  เข็ม 

โควิด-19 ภูมิต้านทานหลังฉีดวัคซีน AstraZeneca 1 เข็ม ยง ภู่วรวรรณ ทางศูนย์ได้ศึกษาภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีน AstraZeneca ในคนไทย หลังเข็มแรกเป็นระยะเวลา 1 เดือน จำนวน 61 คน เป็นการรายงานเบื้องต้น

ภูมิต้านทานที่ตรวจพบ มีการตอบสนอง ตรวจวัดภูมิต้านทานได้ถึงร้อยละ  96.7  เมื่อเปรียบเทียบกับการตรวจวัดภูมิต้านทานในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อ เป็นระยะเวลา 4- 8 สัปดาห์ตรวจพบได้ร้อยละ 92.4 ดังแสดงในรูป 

ระดับภูมิต้านทานที่ตรวจวัดได้ มีค่าตัวกลางเรขาคณิตเท่ากับ 40.61 u/ml เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อ มีค่าเท่ากับ 60.86 u/ml ดังแสดงในรูปพบว่าระดับภูมิต้านทานที่พบเพศหญิงจะให้ระดับภูมิต้านทานที่สูงกว่าเพศชายอายุที่น้อยกว่า 60 ปีจะมีระดับภูมิต้านทานที่สูงกว่าผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี

ขณะนี้กำลังรอวิเคราะห์ข้อมูลที่มีจำนวนมากขึ้นกว่านี้และจะมีการตรวจเลือดหาภูมิต้านทานก่อนฉีดเข็มที่ 2 อีก 1 ครั้ง และหลังเข็ม 2 แล้ว 1 เดือนภูมิต้านทานน่าจะมีระดับสูงมาก และอยู่นานจากข้อมูลดังกล่าวพอสรุปได้ว่าแม้จะฉีดวัคซีน AstraZeneca เพียงเข็มเดียว ระดับภูมิต้านทานที่ตรวจวัดได้ก็เป็นที่น่าพอใจ

มีอยู่ 1 ราย ที่ฉีดวัคซีน Sinovac เข็มแรกแล้วเกิดอาการแพ้ เลยฉีดเข็มที่ 2 ใน 3 อาทิตย์ต่อมา ด้วยวัคซีน AstraZeneca และตรวจเลือดเมื่อ 1 เดือนหลังฉีดวัคซีน AZ พบระดับภูมิต้านทานสูงมากสูงถึง 241 u/ml  

อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาการฉีดวัคซีนเปลี่ยนชนิดกัน ในกรณี ที่เกิดเหตุการฉีดวัคซีนต่างชนิดกัน ขอความกรุณาติดต่อผมขอตรวจภูมิต้านทานด้วย เพื่อเก็บเป็นข้อมูลและรวมถึงอาการข้างเคียงที่อยากทราบมาก และการเปลี่ยนชนิดของวัคซีนเป็นเรื่องที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง 
 

การปูพรมฉีดเข็มเดียวไปก่อนให้ได้ประชากรมากที่สุด ด้วยวัคซีน AstraZeneca จะได้ประโยชน์สูงสุดแล้วตามด้วยกระตุ้นอีก 10 ถึง 12 สัปดาห์ต่อมา หรือนานกว่านั้น หมายความว่าในช่วง 3 เดือนแรก น่าจะปูพรมการฉีดวัคซีนไปเลย ถ้าฉีดได้เดือนละ 10 ล้านคน ก็สามารถปูพรมไปได้ถึง 30 ล้านคนทีเดียว แล้วหลังจากนั้นก็ตามกระตุ้นรวมทั้งฉีดรายใหม่เพิ่มขึ้นด้วย ก็จะได้เป้าหมายอย่างรวดเร็ว และถ้ามีวัคซีนชนิดอื่นมาเสริมด้วยแล้ว จะทำให้การให้วัคซีนกับประชาชนหมู่มากประสบผลสำเร็จเร็วยิ่งขึ้น  #หมอยง

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/regional/465648?adz=

 

คุณหมอท่านนี้เคยอยู่อเมริกา
กลับมาเมืองไทยเพราะมารับหน้าที่ผอ.รพ.กรุงเทพสมัยที่เจ้าของรพ.จะเปิดกิจการให้ go inter
ขอเกษียณอายุตัวเองมาได้ 3-4 ปีแล้ว
ตอนนี้อายุ 70 ปลายๆแล้ว แต่ยังคล่องมากๆ
เคยรับการผ่าตัดหัวใจมาแล้วด้วย
คิดว่าเป็นอีกมุมมองนึงจากหมอคนนึงก็แล้วกันนะครับ

ผมกับภริยาเพิ่งไปฉีด AstraZeneca เมื่อ 2 วันก่อนนี้เองเช่นเดียวกัน ผมแนะนำให้พวกเราไปฉีดอย่างยิ่งครับ ด้วยเหตุผลดังนี้
1. โอกาสติดโรคน้อยลง
2. เมื่อติดแล้วโอกาสตายเกือบเป็นศูนย์
3. ตัดวงจรการแพร่โรคลง ประเทศเราต้องการคนที่มีภูมิคุ้มกันประมาณ 60% (Herd Immunity)
4. พวกเราชอบเที่ยว ต้องมี Vaccine Passport จึงจะเที่ยวได้ใน New Normal ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
5. โดยสรุป ความเห็นส่วนตัวของผมเราผู้สูงอายุควรฉีด AstraZeneca เพราะวิธีการผลิตและ effect ระยะยาวก็เป็นที่ทราบกันดีในวงการแพทย์ (คล้ายวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่พวกเราฉีดกันทุกปี) ส่วนตัวอื่นเช่น Pfizer & Moderna (messenger RNA) วงการแพทย์ไม่รู้ ผลข้างเคียงระยะยาวเลยเพราะเป็นวัคซีนที่ผลิตมาวิธีใหม่
6. โดยส่วนตัวผมทาน Baby Aspirin วันละ 1 เม็ดหนึ่งอาทิตย์ก่อนฉีด และ 2 อาทิตย์หลังฉีดเพื่อป้องกัน Blood clots จากการฉีดวัคซีน

เป็นความเห็นส่วนตัวครับและขอให้เพื่อนทุกท่านปลอดภัยนะครับ

นพ.ชาตรี ดวงเนตร PRC รุ่น 05

ได้มีโอกาสซักถามกับ อาจารย์ทวีในประเด็นนี้อย่างละเอียด จึงได้รับทราบของที่มาที่ไปของการเปลี่ยนจำนวนวันในการกักตัวดังต่อไปนี้นะคะ

จากหลักฐานงานวิจัย ดังรูป ที่เปรียบเทียบ ระยะเวลาของการพบเชื้อจะเห็นว่าเส้นสีแดงพบว่าเชื้อ b117 สามารถแพร่กระจายได้ตั้งแต่วันก่อนมามีอาการ ได้นานกว่าสายพันธุ์เดิม และแพร่กระจายได้หลังวันที่มีอาการได้นานกว่าเกินกว่า 10 วัน

นอกจากนั้นยังมีผลการศึกษาด้านการเพาะเชื้อของอาจารย์โอภาสที่ศูนย์โรคอุบัติใหม่คลินิกของจุฬาลงกรณ์ พบว่าสายพันธุ์ B 117 ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญถึงประมาณ 90% ของคนในกรุงเทพฯและประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ของทั่วประเทศ ยังสามารถเพาะเชื้อขึ้นได้ที่วันที่ 10

ดังนั้นจึงไม่สามารถให้อยู่โรงพยาบาลแค่ 10 วัน เหมือนใน CPG เดิมก่อน 17 เมษายน (ที่มีงานวิจัยพบว่าเพาะเชื้อขึ้นอยู่ได้ถึงแค่ 8 วัน) จึงเป็นเหตุให้ต้องขยายมาเป็น 14 วัน ตอนนี้อาจารย์กำลังเก็บข้อมูลดูว่าหลังวันที่ 10 ไปแล้วจะยังเพราะเชื่อขึ้นได้อยู่อีกถึงวันที่เท่าไหร่ และกำลังอยู่ในช่วงที่รอดูข้อมูลอยู่ จึงเป็นที่มาของการปรับเปลี่ยนแนวทางที่ เคยให้อยู่โรงพยาบาลแค่ 10 วันต้องกลับมาเป็น 14 วัน

แต่ต่อมาสถานการณ์พบว่า ปัญหาว่าเตียงไม่พอ โรงพยาบาลเองก็ไม่สามารถที่จะให้ผู้ป่วยอยู่นานจนถึง 14-28 วัน ก็เลยจำเป็นต้องขอลดไป 10 วันใหม่ ไม่งั้นจะไม่สามารถให้การดูแลคนไข้ที่ติดค้างอยู่ได้ และเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดเคสใหม่จากการที่แพร่กระจายได้ง่ายขึ้นเรื่อยๆ จึงแนะนำให้ผู้ป่วยกลับไปพักฟื้น แต่ความจริงหมายความว่าให้กักตัวในบ้านต่ออีกประมาณ 14 วัน

แต่ในเอกสารที่ท่านอธิบดีเปลี่ยนมาใช้คำว่าพักฟื้น เพราะเสียงต่อประเด็นปัญหาทางสังคมเพราะถ้าใช้คำว่ากักตัวที่บ้านอาจจะถูก discriminate ที่รุนแรงจากในชุมชนได้

จึงเป็นที่มาที่ไปของการปรับเปลี่ยน guideline ที่ทำให้เราสับสนกันคะ

สืบเนื่องจากประกาศของหอการค้าไทย ที่ทำให้เกิดกระแสที่หลายๆคนเข้าใจว่า "รัฐสั่งเบรก" ไม่ให้เอกชนดำเนินการหาวัคซีนมาช่วยเสริม ผมจะขอลองอธิบายที่มาที่ไป และเหตุผลตามที่ผมเข้าใจและมีข้อมูลดังนี้ (ถ้าอยากรู้ต้องอ่านให้จบครับ)
1. เมื่อสักช่วงต้นปี ภาครัฐมีการประกาศแผนการจัดหาวัคซีนของรัฐ โดยมีเป้าหมาย 100 ล้านโดส แต่ยังขาดอยู่ประมาณ 37 ล้านโดส เมื่อภาคเอกชนจึงประชุมปรึกษากันและอาสาที่จะช่วยอีกแรง เพราะคิดว่าอาจจะมีช่องทางในการเจรจาทางธุรกิจที่คล่องตัวกว่า และจะได้วัคซีนยี่ห้ออื่นมาเร็วกว่า
2. เมื่อเอกชนได้ลองติดต่อไปกับผู้ผลิตวัคซีนหลายๆบริษัท ก็พบว่าการซื้อวัคซีนไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนซื้อของทั่วไป เพราะทุกประเทศทั่วโลกต่างแย่งกัน และวัคซีนผลิตได้ไม่พอกับประชากรโลก หากจะได้ ก็คงไปถึงไตรมาสที่ 4 ปลายปีแล้ว ซึ่งคุณสนั่น ประธานหอการค้าเรียกว่า "Too Late" (ดูในคลิปสัมภาษณ์)
3. ถ้าคนที่ติดตามข่าวเรื่องวัคซีน จะรู้ว่าคอขวดมันอยู่ที่เดือน พ.ค. ที่เราพยายามจะหามาให้ได้ เพราะตั้งแต่เดือน มิย. เราก็จะมีวัคซีนของแอสต้าเซเนก้า ที่จะผลิตโดยบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ เดือนแรก 6 ล้าน เดือนต่อๆไปเดือนละ 10 ล้าน จะไม่มีปัญหาเรื่องขาดแคลนวัคซีน จะมีปัญหาเรื่องการฉีดมากกว่า เพราะฉะนั้น การจะได้มาในไตรมาสที่ 3 หรือ 4 ก็สายเกินไป และเป็นการซ้ำซ้อน มาก็ไม่ได้ฉีด
ซึ่งอันนี้พูดถึงแค่เรื่องการซื้อนะครับ ยังไม่ถึงขั้นตอนการขออนุมัติ การขึ้นทะเบียนอะไรต่างๆนาๆ ที่มีคนชอบมโนไปด่ารัฐว่า รัฐถ่วงเวลาวัคซีนของเอกชน แกล้งขึ้นทะเบียนช้า อันนี้คืองงจริงอะไรจริง คือเค้ายังซื้อไม่ได้เลยครับ!
4. ดังนั้น เมื่อภาคเอกชนได้เข้าประชุมกับนายก ในวันที่ 28 เมย. และได้พูดคุยถึงสถานการณ์ดังกล่าว นายกในฐานะตัวแทนฝ่ายรัฐ จึงได้บอกว่าไม่เป็นไร ไม่ต้องกังวล ขอให้มั่นใจว่าทางรัฐได้พยายามหาซื้อวัคซีนทางเลือกอื่นๆเพิ่มเติม และประสบผลสำเร็จกับหลายแห่ง เช่นได้ของ Sinovac, Sputnik, Johnson & Johnson, Pfizer และมีโอกาสจะได้จากที่อื่นอีก เช่น Moderna, Sinopharm, Bharat และอื่นๆ ที่เชื่อว่าน่าจะได้มากจนครบ 37 ล้านโดสที่เหลือ (และต่อๆไป ก็มีแนวโน้มว่าจะซื้อได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม)
ซึ่งความได้เปรียบของรัฐในการเจรจาก็คือ การเป็นตัวแทนของประเทศ แต่สำหรับภาคเอกชน ผู้ขายต้องพิจารณารอบคอบ และไม่ค่อยอยากขายให้ เพราะกลัวถูกฟ้องร้องกรณีเกิดผลข้างเคียง ซึ่งรัฐต้องรับผิดชอบเรื่องนี้ เพราะอย่าลืมว่า นี่เป็นการขายใน "กรณีฉุกเฉิน" นะครับ ไม่ใช่การซื้อขายทั่วไปตามปกติ
5. เมื่อฝ่ายเอกชน ทั้งหอการค้าไทย (ประชุมช่วงเช้า) และ กกร. (ประชุมช่วงบ่าย) ได้ฟังคำสัญญาและคำอธิบายจากฝ่ายรัฐ ก็เกิดความมั่นใจว่ารัฐจะหาวัคซีนมาได้เพียงพอตามแผน ประกอบกับที่ตัวเองก็หาซื้อไม่ได้ จึง "ยินดี" ให้รัฐเป็นหลักในการดำเนินการจัดหาวัคซีน และฝ่ายเอกชนจะช่วยเสริมในส่วนที่ทำได้ และเสนอตัวที่จะช่วยรัฐในด้านอื่นๆด้วย โดยเฉพาะด้านการจัดสถานที่ฉีดวัคซีน และการช่วยประชาสัมพันธ์
6. แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ภาคเอกชนจะหยุดการจัดหาวัคซีน หอการค้าไทยก็ไม่ได้หยุดการเจรจาที่ดำเนินการไปแล้ว และมีบางสมาคม เช่นสมาคมโรงพยายาลเอกชน ก็ยังดำเนินการต่อ และเชื่อว่าต่อไปหากสถานการณ์เริ่มมีวัคซีนเหลือ ภาคเอกชนก็สามารถเจรจาได้ง่ายขึ้น ก็อาจดำเนินการช่วยรัฐจัดหาวัคซีนเพิ่มก็ได้ (แต่ก็ต้องผ่านการอนุมัติ ลงทะเบียนกับรัฐ)
7. ในเย็นวันที่ 28 เมย. หอการค้าออกประกาศ โดยมีข้อความว่า “รัฐบาลแจ้งว่าปริมาณวัคซีนที่ภาครัฐจัดหามานั้น มีจำนวนเพียงพอต่อความต้องการของประชาชนทุกคน พร้อมเร่งดำเนินการในการนำเข้าวัคซีน ซึ่งกำลังทยอยมาเป็นลำดับ ดังนั้น ภาคเอกชนจึงไม่จำเป็นต้องมีการจัดหามาเพิ่มเติม และจะได้ไม่เป็นภาระในเรื่องค่าใช้จ่าย” (รูปที่ 1)
ซึ่งคนที่ไม่เข้าใจ ไม่มีข้อมูลเรื่องการจัดหาวัคซีน คิดว่ามีเงินก็ซื้อได้ หรือเชื่ออยู่เดิมว่ารัฐกีดกัน เมื่อได้อ่านประกาศนี้ จึงเหมาเอาว่า “รัฐสั่งเบรกเอกชน” ไม่ให้สั่งซื้อวัคซีนเอง (โดยเหตุผลที่ยกมาคงจะเป็นข้ออ้าง) และพาลไปพูดว่าไม่โปร่งใส มีเงินทอน ต่างๆนาๆ
8. คนที่ติดตามข่าวและฟังการแถลงผลการประชุมกับหอการค้าและกกร. ต่างรู้สึกประหลาดใจกับประกาศนี้ เพราะไม่ได้เป็นเนื้อหาในการประชุม ที่เน้นไปที่การสร้างความร่วมมือ และการสร้างความมั่นใจในการจัดหาวัคซีน และผลการเจรจาออกมาเป็นอย่างดี ต่างฝ่ายต่างเข้าใจ มีการจะตั้งทีมขั้นมาร่วมทำงานด้านวัคซีนด้วยกัน และตัวแทนภาคเอกชนก็แสดงความมั่นใจในแผนของรัฐว่าจะได้ครบ 100 ล้านโดส และในข่าวทั้งที่แถลงและข่าวของเพจหอการค้าไทย ก็ไม่มีการพูดถึงเรื่องนี้ ซึ่งต่อมา ประกาศนี้ถูกลบออกไปจากเพจของหอการค้าไทย (แต่ยังอยู่ในเว็บไซต์)
ส่วนตัวผมเข้าใจว่า การออกประกาศนี้ น่าจะเป็นการตอบคำถามต่อผู้ที่ทวงถามทางหอการค้าว่า ตกลงที่ประกาศว่าจะหาวัคซีนเพิ่ม และให้บริษัทต่างๆแจ้งความประสงค์เข้ามา ผลเป็นอย่างไรบ้าง มีความคืบหน้าอย่างไร เมื่อไหร่จะได้ เลยต้องประกาศแจ้งให้ทราบ โดยตัดเหตุผลที่ว่ายังหาซื้อไม่ได้ออกไป ซึ่งหอการค้าก็มีสิทธิที่จะแจ้ง เพียงแต่ Timing ที่ออกมาหลังการเจรจากับนายก โดยพูดเรื่องนี้เรื่องเดียว แต่ไม่พูดเรื่องความร่วมมืออื่นๆ มันไม่น่าจะเหมาะสม และ wording ที่ใช้ก็ทำให้คนเกิดความสับสน
9. ในวันต่อมา คือวันที่ 29 เมย. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ก็ได้ออกสารเพื่อแจ้งว่า รัฐบาลจะจัดหาวัคซีนให้ครบ 100 ล้านโดสได้ และจะมีวัคซีนเพิ่มในเดือน พ.ค. และย้ำว่า “รัฐบาลเปิดกว้างให้เอกชนนำเข้าวัคซีนมาได้ภายใต้กฎเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข”
10. ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ภาครัฐไม่มีการ "สั่งเบรก" และไม่เคย "สั่งเบรก" ไม่ได้ปฏิเสธ ไม่ได้ปิดกั้น (ไม่รู้จะย้ำอีกซักอีกครั้งดี) ภาคเอกชนใดๆทั้งสิ้น ใครดำเนินการก็ดำเนินการไป แต่รัฐบาลก็มีแผนที่แน่นอนและมั่นใจในการจัดหาวัคซีนให้ครบ 100 ล้านโดส คุณสนั่น ประธานหอการค้าไทย ยังให้สัมภาษณ์ว่า เรื่องนี้ “ต้องยุติธรรมกับรัฐบาล” ที่มีความ “ตั้งใจดี” และ “กระตือรือร้น” ในการจัดหาวัคซีน (ดูในคลิปสัมภาษณ์)
แม้แต่ YouTube ของ The Standard ที่คุณเคนที่เป็นผู้สัมภาษณ์เอง และสรุปเองจากคำสัมภาษณ์ว่า รัฐไม่ได้สั่งเบรก หอการค้าถอยออกมาเอง ก็ยังพาดหัวว่า "รัฐสั่งเบรก" แต่ในเว็บข่าวของ The Standard ในข่าวเดียวกัน กลับพาดหัวไปคนละทาง แบบนี้ประชาชนจะไม่สับสนได้ยังไงครับ
ขอบคุณที่อ่านจบ (และก็จบเหอะนะ เรื่องนี้) และหากให้ดีก็ช่วยกรุณาแชร์หรืออธิบายให้กับผู้ที่เข้าใจผิดด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
คลิปสัมภาษณ์คุณสนั่น
ข่าวการประชุมกับนายกจากเพจหอการค้า
สรุปเนื้อหาการสัมภาษณ์
การแถลงข่าวหลังคณะกรรมการหอการค้าไทย เข้าพบนายกรัฐมนตรี เพื่อหารือและนำเสนอแนวทางการทำงานของหอการค้าไทยในการขับเคลื่อนการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทย ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล 28 เมษายน 2564
แถลงผลการประชุมหารือแนวทางความร่วมมือการจัดหาวัคซีนระหว่างภาครัฐและเอกชน ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล วันที่ 28 เมษายน 2564
 

สารจากเพื่อนอดีตอาจารย์ AIMST (สถาบันการแพทย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเอเชีย) ที่ขึ้นเครื่องคณะจิตอาสาจะไปช่วยอินเดีย แต่เครื่องต้องวกลงปีนัง เพราะน่านฟ้าอินเดียปิดสนิทจากวิกฤตภาคพื้นดิน

ระวัง:โควิด19
เชื้อกลายพันธุ์ใหม่จะแสดงผลเท็จเป็นลบเมื่อแยงจมูกตรวจ รุ่นนี้ไวรัสจะตรงเข้าปอด ไม่แสดงอาการไข้ขึ้นหรือไอ แค่ปวดเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
คนไข้จากอาการไม่น่าวิตกจะทรุดลงสุดถึงเป็นตายเท่ากันใน 8 – 10 ชั่วโมง
คนไข้ที่เพิ่งหายจากโควิด19 ราวปีที่แล้วยิ่งเสี่ยงนัก เพราะระบบทางเดินหายใจยังฟื้นไม่สนิท เมื่อเจอเชื้อกลายพันธุ์ใหม่เข้า อัตราเสียชีวิตจะยิ่งสูง
ข้อมูลที่ได้จากทั่วประเทศอินเดีย ไม่ใช่แค่ขั้นน่าวิตก มันคือกาฬวิบัติแห่งประวัติศาสตร์
เราประหวั่นว่าปากีสถาน อัฟกานิสถาน และบังคลาเทศ กำลังได้รับเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ใหม่และเผชิญวิบากกรรมเช่นที่อินเดีย
เพื่อนเราตามเมืองเล็ก ๆ ทั่วอินเดีย โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า มันคือสงครามที่เราแพ้ราบคาบแล้ว เหลือแค่คุมที่ทรงให้รอดและรักษาชีวิตให้มากเท่าที่จะทำได้เท่านั้น
เราได้เห็นเด็กกว่า 400 คนบ้านเราที่ถูกคร่าชีวิตในชั่ว 10 -12 ชั่วโมง ระยะแรกๆ ไม่มีใครแสดงอาการ แต่ชั่วโมงเศษๆ ระดับออกซิเยนลดฮวบฮาบ แล้วก็สิ้นลม
เราได้ดูแลคนไข้หลายคนจากต่างประเทศที่มามุมไบ ฉีดวัคซีนก็แล้ว ผลปรากฏ 17 ใน 28 คนไม่รอด
บริการสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชนล่ม เศรษฐี คนชั้นกลางและคนจนต่างรับผลเท่าถ้วนเสมอหน้ากัน และมันแพร่ระบาดปานไฟลามทุ่ง เร็วมาก
ถ้าขืนมีการกลายพันธุ์หรือแปรรูปไปอีก ก็น่าจะถึงการณ์สิ้นโลก
นี้จึงเป็นการเตือนภัยขั้นวิกฤต มายังทุกคนในบ้านท่าน
ไม่ว่าเด็กเล็ก ผู้สูงวัย ในอินเดีย เชื้อไวรัสนี้คุมไม่อยู่ ภาครัฐและระบบต่าง ๆ ล่มสลาย เกินกว่าที่ใครจะคาดได้
สำหรับบรรดาประเทศพัฒนาอื่นๆ แต่ระบบสาธารณสุขอ่อนเปลี้ย พึงสังสรณ์ว่าเราช่วยอะไรคุณไม่ได้
เพียงขอให้เราช่วยกันหยุดการแพร่ระบาด แม้จะต้องใช้มาตรการกฎเหล็กปิดพื้นที่ หาไม่ก็จะเหลือแต่สถิติยอดศพที่จะกลบไข้หวัดใหญ่สเปนจากปูมไปเลย
สารจาก Dr Pradeep Senha
Sassoon General Hospital, Maharashtra
โรงพยาบาลขนาด 1,296 เตียงในเมืองปูเณ รัฐมหาราษฎระ ทางตะวันตกของประเทศอินเดีย
(ดนัย ฮันตระกูล แปล 29 เมษ 2564)

ที่ สปป.ลาว

ถามว่า ทำไม สปป.ลาว
โรค โควิด ถึง ไม่ระบาดมากเหมือนบ้านเรา....
ตอบง่ายๆ นั่น คือ ลาว

ส่วน นี่ คือ ไทย
สปป.ลาว. กฎหมาย
คือ กฎหมาย ผิดเป็นผิด ถูก เป็น ถูก
ลาวไม่มี ศรีธนนชัย
ลาวไม่มี คนที่อวดว่าตัวเองเก่ง
มีแค่คำว่า ท่านทำผิด กฎหมาย ข้อไหนเท่านั้น....
สปป.ลาว. กฎหมาย
เข้มข้น..
คนลาวเขากลัวติดคุก กลัวมาก..
คุก ใน สปป.ลาว ไม่
มีอาหาร เลี้ยงสามมื้อ
แบบ คุก วีไอพี เมืองไทย ติดคุก คือ ขังกันจริงๆ พี่น้อง ญาติมิตร
ต้องส่งข้าวกันเลยทีเดียว.
ท่านลองคิดดูเอาว่า ถ้าไม่มีใครส่งข้าวให้กิน เเล้วจะทำอย่างไร..
คนลาว เขาถึงกลัวมาก
ยก ตัวอย่าง โรคโควิด 19
ใครที่รู้ตัวว่าตัวเอง ติดโรคแล้ว แอบเข้าประเทศ ผิดกฎหมายเตรียมรับโทษแบบจัดหนัก จัดเต็มกันเลยทีเดียว
เช่น
คน ลาว ที่ ติดเชื้อและจะเข้าประเทศตัวเอง จะต้อง ประสานญาติพี่น้องตัวเองก่อน
แจ้งว่าจะกลับประเทศ
ญาติ จะต้องไปแจ้ง
หัวหน้าบ้าน ( ผญบ.)
ทราบก่อน
หัวหน้าบ้าน
จะต้องรีบแจ้งให้ จนท.
ในแขวงทราบทันที
หลังจากที่ ทาง
หน่วยเหนืออนุญาตแล้ว
หัวหน้าบ้านจะไปกำหนดให้ ญาติคนป่วยที่จะเข้ามา กำหนด
สถานที่ พักตัว (กักตัว)
ในเขตเถียงนาของตัวเอง
ให้ห่างจากหมู่บ้าน
ห้าม แอบเข้ามาในหมู่บ้านอย่างเด็ดขาดภายใน 14 วัน
ถ้าแอบเข้ามาในหมู่บ้าน มี
โทษ...ถึงติดคุกทั้งครอบครัว..
อาหาร ยา
ญาติพี่น้อง รับผิดชอบ
ในการจัดส่งให้จนเสร็จสิ้น...
หลัง จากครบ 14 วัน
ญาติ จะต้องรีบแจ้งให้ หัวหน้าบ้าน เพื่อที่จะนำจนท.ไปตรวจสอบ และ ออกใบ
อนุญาตออกจาก เถียงนา
ไปใช้ชีวิต ตามปกติ

แต่..ถ้า คนที่กักตัวที่
เถียงนา มีอาการป่วยชนิดรุนแรง จนทานยา
เอาไม่อยู่แล้ว
ญาติจะต้องไปแจ้ง ให้ หัวหน้าบ้าน นำ จนท.มารับตัวไปรักษาใน ร.พ.ต่อไป...

ทีนี้..ลองมาดูกฏหมายลงโทษ คนที่แอบ นำเชื้อ มาปล่อยให้ระบาด ดูบ้าง...

..คนที่แอบ นำเชื้อ เข้า
ประเทศโดยที่ รู้ว่าตัวเองป่วย หรือ รู้ว่าตัวเองเป็นกลุ่มเสี่ยงมาจะต้องรับผิดชอบ ต่อกฎหมาย2 บท คือ...

กฏหมาย บทที่ 1.
นำเชื้อ เข้ามาปล่อย
ให้ประชาชนชาวลาว..
คนที่ป่วย..จะต้องออกค่าใช้จ่ายในการรักษา ตัวเองทุก กีบ.
ผลการสืบค้น ทางเดิน
ระบาดของโรค ที่ติดตัวมา
ไปแพร่ถึงใคร..จะ ป่วย กี่คนก็ตาม..คน ที่นำเชื้อมา
จะต้อง ออก ค่ารักษา
ค่าพยาบาล ให้คนที่ต้องป่วยตาม ทุกคน ทุกกีบ

การรับโทษ ทางกฎหมาย..รับโทษตามกฏหมายที่ 1..
ติดคุก.ตามกฏหมาย
โรคติดต่อ ตาม ความ
ตัดสิน การแพร่ระบาด
ของการนำแพร่เชื้อโรค....
ผู้ร่วม รับผิดชอบต่อ
กฎหมายเดียวกัน
ถ้าสืบค้นพบว่า ร่วมทำความผิด ในครอบครัวเดียวกัน แอบช่วยเหลือ ปิดบัง
คนป่วยต่อ จนท.บ้านเมือง
ติดคุก ตามกฎหมาย โรคติดต่อด้วย..
หลังจาก..รับผิดชอบ
ต่อความผิด ติดคุกโรค
ติดต่อ ครบ ตามกฎหมายแล้ว...
..ต้องถูกรับพิจารณา โทษทางกฏหมาย ความมั่นคง
แห่งรัฐอีก...( เข้าคุกต่อ )....
นี่ คือ กฎหมาย สปป.ลาว ที่เข้มข้น จนคนลาว กลัวกันมาก..
และ ที่ ได้เรียนมาแต่ต้นว่า คุก ลาว ไม่เลี้ยงข้าว จะติดคุกกี่ปี่ พี่น้องจะต้อง ส่งข้าวส่งน้ำตลอดจนออกคุก..
ถ้าคนไหน ไม่มีพี่น้องส่งข้าวให้กิน ท่านจะต้อง เสีย เงินค่าใช้จ่ายในการ ดำรงค์ชีพในคุก
เมื่อ ออกจากคุก จะมีหนี้ สิน ค่ากินติดออกมาอีก เรียกได้ว่า ถ้าเอ่ย คำว่า ติดคุก พี่น้องลาว ได้ยินแทบกลั้นใจตาย....

ให้..สังเกตุ ว่าบ้านพัก ของพี่น้องลาว เวลา ญาติมิตรมาเยี่ยม
จะมาตั้งวง ถองสุราเหมือนบ้านเรา ไม่ได้เด็ดขาด ทำเช่นนี้เจ้าของบ้าน มีสิทธิ์ไปนอนคุก เขาจะต้องพาไปนั้งดื่มกิน สถานที่ม่วนชื่นที่ร้านเท่านั้น..
และ ร้านม่วนชื่นจะต้องปิดตามเวลา
ร้านไหนแอบเปิดเลยเวลา ตำรวจบ้านมา..งานเข้าอีก
นี่คือ กฎหมาย..
กฎหมายจริงๆ..กฎหมายที่ศักดิ์สิทธิ์...


แล้ว..ลองมาดู กฎหมาย ประเทศ ที่อยู่ติดกับ สปป.ลาวว่าเป็นเช่นไร....
เขามีกฎหมายไว้สำหรับตีความ

มีศรีธนนท์ชัยมาเกิดเต็มประเทศไปหมด
ทำอะไร..สบายๆ พลิกไป
เต้นมา..
ที่ โรคเต็มบ้านเต็มเมือง เพราะอะไร
เพราะใคร..ยิ่งคิด ยิ่งดู
ได้แต่ ตาดู. หูฟัง.มีปากให้เอาไว้ กินข้าวอย่างเดียวพอ..
นอกจากกินข้าว อิ่มแล้ว ปิดปาก..ให้เงียบเข้าไว้..แล้วจะ
สบายด้วยประการ ทั้งพวง...

พ.เวียงพิงค์....
รายงาน....
ขอบคุณ.ข้อมูลดีๆจาก
ท้าว คำริด ศรีมาพัน

#สืบเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโควิดระลอกที่ ๓ ในประเทศไทย
กำลังเลวร้ายมาก หลายฝ่ายต่างต้องการกำลังใจ
พระเมธีวชิโรดม หรือ ท่านว.วชิรเมธี
จึงเขียนบทความเพื่อให้กำลังใจ
แก่บุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล สาธารณสุข
และแก่คนไทยทั้งประเทศ ดังต่อไปนี้
(กรุณาช่วยส่งต่อกันและกันเพื่อสร้างพลังบวกให้แก่คนไทย
ให้เยอะที่สุดและกว้างขวางที่สุด)
.
“วิชา เห็นอกเห็นใจคนอื่น”
.
โดยพระเมธีวชิโรดม (ว.วชิรเมธี)
.
การเผชิญกับภัยคุกคามอย่างโควิด-19
นับว่า เป็นเรื่องแย่มากพออยู่แล้วสำหรับสังคมไทย
แต่เรายังมีเรื่องแย่มากกว่านั้นซ้ำเติมเข้ามาอีก
นั่นคือ
การที่เราเอาแต่ด่าทอ
และด่วนตัดสินกันและกันหนักข้อมากขึ้นทุกวัน
เสียงด่าทอนั้น
เกิดขึ้นจากความไม่พอใจรัฐบาลบ้าง
ไม่พอใจตำรวจที่หละหลวมในการรักษากฏหมายบ้าง
ไม่พอใจคนที่ไม่รักษามาตรการทางสาธารณสุขอย่างเข้มข้นบ้าง
ไม่พอใจดาราหรือศิลปินบางคน
ที่ติดเชื้อโควิดแล้วไม่ดูแลตัวเองให้เป็นตัวอย่างแก่คนอื่นบ้าง
ไม่พอใจเหล่าอภิสิทธิ์ชนที่ทำตัวเหนือมนุษย์ทั่วไปจนกลายเป็นที่มาของระลอกที่ ๓ บ้าง
ไม่พอใจวัคซีนที่ไม่แน่ใจว่า ปลอดภัยจริงๆ หรือเปล่าบ้าง
.
และที่แย่ที่สุดก็คือ ไม่พอใจประเทศไทยไปเสียทุกเรื่อง
ที่อะไรๆ ก็ไม่ได้ดั่งใจไปเสียทั้งหมด
แม้แต่เตียงสนามก็สู้สิงคโปร์ อังกฤษ ออสเตรเลีย อเมริกา ไม่ได้
โดยหลงลืมความจริงไปว่า
เราเป็นเพียงประเทศที่กำลังพัฒนา
เมื่อเทียบกับประเทศที่กล่าวมาเหล่านั้น
.
ถ้าเราจะหาเรื่องด่าทอกัน ตัดสินกัน
ต่อให้มีพันปาก ด่ากันพันวัน ก็คงไม่จบไม่สิ้น
.
ในสังคมที่เต็มไปด้วยเสียงด่าทออย่างนี้
ยังจะมีใครกี่คนที่มีความสุขกันล่ะ
ผู้นำรัฐบาล คณะรัฐมนตรี ข้าราชการ
เจ้าหน้าที่ของรัฐ
แพทย์ พยาบาล จิตอาสา สักกี่คนกัน
ที่จะมีกำลังใจปฏิบัติงานด้วยความทุ่มเท เสียสละ
.
ผู้คนทุกวันนี้ทำตัวเหมือนเม่นเข้าไปทุกที
เจอกันทีต้องสลัดขนพิษใส่หน้ากันจนปวดแสบปวดร้อนไปหมด
น้อยคนนักที่จะทำตัวเป็นแม่ไก่
ที่เจอกันเมื่อไหร่ก็โอบปีกปกป้องลูกด้วยความรัก
.
วิกฤติโควิดก็หนักหนาแล้ว
แต่วิกฤติความโกรธและเกลียดชังที่เริ่มก่อขึ้นมาในใจคน
ซึ่งหากเราไม่ระวังและไม่สำเหนียก
ก็จะเป็นการซ้ำเติมให้สถานการณ์เลวร้ายหนักลงไปอีก

ถ้าในสังคมมีแต่คนก่นด่าความมืด
แต่ไม่มีคนจุดตะเกียงให้แสงสว่างกันเลย
เราจะหาความสุขกันได้จากที่ไหน
เราจะมีกำลังใจไขว่คว้าหาทางออกร่วมกันได้อย่างไร
.
เติมพลังบวกเข้าไปในใจคน
ดีกว่าหยดยาพิษใส่แก้วน้ำให้คนอื่นกันดีไหม ?
.
ผู้เขียนเข้าใจดีว่า
ในสังคมไทยที่เต็มไปด้วยผู้คนร้อยพ่อพันแม่
และมีความซับซ้อนเสียยิ่งกว่ากรุงสุโขทัยเมื่อหลายร้อยปีที่แล้ว
มักจะเต็มไปด้วยเสียงตะเบ็งเซ็งแซ่
ของคนที่อยากให้ความต้องการของตนได้รับการตอบสนอง
อย่างทันท่วงที
แต่เราก็ต้องไม่ลืมว่า
คนที่ปฏิบัติงานทั้งหลาย
เพื่อให้ความต้องการของเราถูกมองเห็น
และได้รับการตอบสนองนั้น
เขาก็เป็นคนเหมือนกันกับเรานั่นเอง
เขาก็มีครอบครัว มีพ่อมีแม่ มีลูกมีหลาน
เขาก็อยากมีคุณภาพชีวิตเช่นเดียวกันกับเรา
และแน่นอน เขาก็อ่อนไหว เสียอกเสียใจเป็นพอๆ กับเราด้วย
.
หากเราไม่เห็นอกเห็นใจกัน
ไม่พยายามเข้าอกเข้าใจกัน
ไม่ส่งเสริมกำลังใจให้แก่กันและกัน
สถานการณ์เลวร้ายทั้งหลายจะดีขึ้นง่ายๆ ได้อย่างไรกัน
ด่าทอกันมามากพอแล้ว
เราลองมาส่งพลังบวกให้กันบ้างดีไหม ?
.
วันก่อนผู้เขียนได้อ่านพบบทความธรรมดาๆ เรื่องหนึ่ง
ที่เขียนโดยใครก็ไม่รู้ที่ส่งต่อๆ กันมาทางไลน์
แต่เนื้อหานั้นไม่ธรรมดาเลย
เพราะสารที่บทความนี้ต้องการจะสื่อ
คือสิ่งที่สังคมไทยและสังคมโลก
กำลังขาดแคลนอยู่ในตอนนี้
และเราก็ต้องการมัน
พอๆ กับวัคซีนป้องกันโควิดเลยทีเดียว
.
ลองมาอ่านกันดู
.
"แม่ของผมเป็นคนทำอาหารที่บ้านเป็นประจำทุกวัน
คืนหนึ่ง หลังจากที่แม่ทำงานหนักมาตลอดทั้งวัน
แม่กลับบ้านมาด้วยความเหนื่อยล้า
และทำอาหารเย็นให้เราตามปกติ
ที่โต๊ะอาหาร
แม่วางจาน ที่มีปลาทูไหม้เกรียมบนโต๊ะต่อหน้าพ่อและทุกๆคน
ผมรอว่า แต่ละคนจะว่าอย่างไร
แต่... พ่อไม่พูดอะไร
และตั้งหน้าตั้งตากินปลาทูไหม้ตัวนั้น
และหันมาถามผมว่า ที่โรงเรียนเป็นอย่างไรบ้าง
.
คืนนั้น หลังอาหารเย็น
ผมจำได้ว่า ได้ยินแม่ขอโทษพ่อ ที่ทอดปลาทูไหม้
และผมไม่เคยลืมที่พ่อพูดกับแม่เลย
"โอย... ผมชอบ ปลาทูทอด เกรียมๆ อร่อยมาก นะแม่"
.
คืนต่อมา ผมเก็บคำถามไว้ในใจก่อนนอน
และถามพ่อว่า "พ่อชอบปลาทูทอด เกรียมๆ จริงๆ เหรอ"
พ่อลูบหัวผม และตอบว่า
"แม่ของลูก ทำงานหนัก มาทั้งวัน...
ปลาทูไหม้ 1 ตัว ไม่เคยทำร้ายใคร
แต่คำพูด ที่ต่อว่า กันนั้นต่างหาก ที่จะทำร้ายกัน"
.
"ชีวิตคนเรา
เต็มไปด้วย ความไม่สมบูรณ์แบบ
และแต่ละคน ก็ ไม่ได้เกิดมา สมบูรณ์แบบ ตัวเราเอง
ก็ไม่ได้มีอะไร ดีกว่าใครๆ"
.
แต่สิ่งที่พ่อเรียนรู้มาในช่วงชีวิต ก็คือ...
การเรียนรู้ ที่จะยอมรับ
ความผิดพลาดของคนอื่น และ ของตัวเอง
.
การเลือกที่จะยินดีกับความคิดต่างกันของแต่ละบุคคล
เป็นสิ่งสำคัญในการรักษาชีวิตครอบครัว ที่มีความสุข และยืนยาว
.
“ชีวิตเรานั้น
สั้นเกินกว่าที่จะตื่นขึ้นมาพร้อมกับ
ความเสียใจที่ว่า เราทำผิดกับคนที่เรารักและรักเรา
ให้ดูแล และทะนุถนอม คนที่รักเรา
และพยายามเข้าใจ และให้อภัย จะดีกว่า"
.
“ถ้าเรารู้ เราจะ ทำไหม”
.
• เราจะบีบแตร
ใส่คนที่ ยืนยึกยัก ริมถนน ตรงแยกที่ผ่านมาไม๊– ถ้าเรารู้ว่า เค้าใส่ขาเทียม
.
• เราจะเบียดชน คนข้างหน้า ที่เดินช้ามากไม๊ – ถ้าเรารู้ว่า เค้าเพิ่งตกงาน

• เราจะขำ คนที่ แต่งตัวเชยไม๊ – ถ้าเรารู้ว่า เค้ามีชุดเก่ง แค่ชุดเดียว

• เราจะรำคาญ สาวโรงงาน ที่มาเดิน พารากอนไม๊ – ถ้าเรารู้ว่า นั่นคือ
การฉลองวันเกิดของเธอ

• เราจะหมั่นไส้ ลุงที่หัวเราะ
เสียงดังลั่น คนนั้นไม๊ – ถ้ารู้ว่า แกเป็นมะเร็ง ขั้นสุดท้าย

• เรารู้แจ่มชัดเสมอ…
ว่าชีวิตเรา กำลังเจออะไร
แต่เรา ไม่มีวันรู้ว่า
"คนที่เราเจอ – กำลังเจอ กับอะไร"
.
โลก กว้างกว่าเงาของเรา และโลก ก็ไม่ได้หมุนรอบตัวเรา
.
มองข้าม เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไปบ้าง
ให้โอกาส และให้อภัย มีความเข้าใจ ซึ่งกันและกัน
จะได้รัก และอยู่ด้วยกัน อย่างยั่งยืนยาวนาน”
.
จากเรื่องราวที่กล่าวมาข้างต้นนั้น
ผู้เขียนสรุปออกมาเป็น “กฎทองของชีวิต”
ซึ่งเมื่อใครนำไปปฏิบัติแล้ว
จะทำให้เป็นคนที่กลายเป็น “แหล่งพลังงงานทางบวก”
สำหรับคนที่อยู่ข้างหน้าเสมอ
นั่นก็คือ
.
๑.หัดมองข้ามเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เสียบ้าง
อย่าจริงจังกับทุกเรื่อง
จนความสัมพันธ์กับคนรอบข้างตึงเครียดไปหมด

๒.ไม่มีใครที่ทำอะไรได้สมบูรณ์แบบไปเสียทั้งหมด
จงให้อภัยในความผิดพลาดของคนอื่น
เหมือนกับที่เราชอบให้อภัยแก่ตัวเอง
.
๓.สิ่งใดที่เราไม่ชอบ ก็จงอย่ามอบสิ่งนั้นแก่คนอื่น
สิ่งใดที่เราชอบ ก็จงมอบสิ่งนั้นแก่คนอื่น
.
๔.อย่ารำคาญความปรารถนาดีเล็กๆ น้อยๆ ของคนอื่น
ที่พยายามแสดงออกต่อเราด้วยความจริงใจ
.
๕.เรารักสุขเกลียดทุกข์และกลัวความตาย ฉันใด
คนอื่น ก็รักสุข เกลียดทุกข์ และกลัวความตาย ฉันนั้น
เอาใจเขามาใส่ใจเรา (อตฺตานํ อุปมํ กเร)
อย่างนี้แล้ว
จึงไม่ควรฆ่าใคร
ไม่ควรสั่งใครให้ไปฆ่า
.
(ว.วชิรเมธี)
๒๖ เมษายน ๒๕๖๔
.

ผมติดโควิดเมื่อ ผลตรวจยืนยัน 17 เมษายน 63 นะครับ

ตอนนี้อยู่ศิริราชมา 7 วันแล้ว ขอแชร์เรื่องราวไว้ให้ทุกท่านนะครับ

- ผมไม่ได้ไปที่เสี่ยงที่ไหนมาเลย ผับ บาร์ เลาจ์ ร้านเหล้า คอนเสิร์ต ตั้งแต่ 1 เมษายน ผมคิดว่าผมไม่มีความเสี่ยง ทำให้พอมีอาการน้อยๆ เช่น ไอ เจ็บคอ ไข้ต่ำๆ ผมรีรอที่จะไปตรวจ ตอนนั้นคิดว่า ถ้าไปตรวจเจอมันต้องยุ่งมากแน่ๆ ขอรอให้แน่ใจอีกซักนิด
อย่ารอครับ ยิ่งรอยิ่งหนัก ไปตรวจเลยครับ

- อาการเร็วมาก 15 เมษายน ตัวรุมๆ ครั้่นเนื้อครั่นตัวตอนบ่ายๆ ไอแห้งๆนิดเดียว , 16 เมษายน ไข้เริ่มสูงขึ้นตอนบ่ายๆ ตอนกลางคืนไข้ขึ้นสูง วัดไข้เอง สูงถึง 39 ไอแห้งมาก เริ่มมีเสมหะ เจ็บหน้าอก

- กลัวตายครับ วันที่ 17 พอทราบผล ตอนนั้นมีไข้สูง ไอมาก เจ็บหน้าอก เริ่มได้ข้อมูลว่ารอบนี้ผู้ชาย อายุน้อย อาการหนัก ลงปอดเยอะ ตอนนั้นคือ คิดว่าเราน่าจะมี pneumonia แล้วถึงมีไข้สูง
รพ.จะมารับเข้าไป admit วันนั้นเลย ความกลัวเกิดขึ้นจริงๆว่า เข้าไปแล้วจะได้กลับออกมาไหม กลัวจริงๆครับ ผล CXR ก็มี RLL infiltration จริงๆครับ

- เสียใจ depress ทำเพื่อนๆ พยาบาล เจ้าหน้าที่ ต้องโดน swab โดนกักตัว เยอะมาก วุ่นวายไปทั้งรพ. เนื่องจากผมไม่มีประวัติ contact confirm patient ที่ชัดเจน (ผมคิดว่าผมติดช่วงวันที่ 12 เมษายน เนื่องจากไปกินข้าวที่ street food เยาวราช มีช่วงที่ร้านคนแน่น และไม่ใส่ mask (แต่ ID คิดว่ามันไม่ชัดเจน ขอกวาดเอาคนที่ contact กับผมทั้งหมด 14 วันย้อนหลัง ต้องขอโทษทุกๆคนด้วยครับ)

- โรงพยาบาล ไม่ใช่ที่ที่น่าอยู่เลยครับ มาอยู่ศิริราช วอร์ดพิเศษ (มว2) แต่ด้วยความที่ทุกอย่างจำกัด ห้องพิเศษ ต้องนอนสองคน ยังดีที่ได้นอนเตียงผู้ป่วย เพื่อนร่วมห้องอีกคน ต้องนอนที่นอนญาติ ลำบากกว่ามาก
การอยู่ในห้องเดิม ไปไหนไม่ได้ตลอด 7 วัน ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลยครับ ไม่ป่วย อยู่ที่บ้านเราดีที่สุด

- 5 วันแรก อาการค่อนข้างมาก ต้องได้ dexa + Favi ตลอด ขนาดได้ dexa ยังมีไข้ 37-38 อยู่ ไอตลอด แต่อาการก็ค่อยๆดีขึ้นโดยลำดับ CXR ดีขึ้นเรื่อยๆ

- วันนี้ 24 เมษายน 2564 วันนี้อาการดีแล้วครับ ไม่มีไข้มา 3 วัน ไม่มีอาการไอแล้ว CXR clear แล้ว กำลังจะย้ายไป Hospitel อีก 7 วัน และ กักตัวที่บ้าน 7 วัน ตรวจซ้ำที่วันที่ 21 ถ้า ct > 30 จึงจะสามารถกลับไปทำงานได้ ยาววววเลย

- ผมฉีดวัคซีน sinovac 7 เมษายน วัคซีนไม่ช่วยอะไรร


ขอให้พี่ๆ น้องๆ ทุกท่านระวังรักษาสุขภาพครับ ก่อนนี้ผมเคยคิดว่า ติดๆโควิดก็ดีเหมือนกัน จะได้ไม่ต้องห่วง คอยระแวงอะไรมากมาก แต่ติดแล้วมันแย่มากครับ ไม่ติดดีที่สุดครับผม

ขอให้ทุกท่านปลอดภัย สุขภาพแข็งแรง ครับ
ณพล สินธุวนิช
24 เมษายน 2564

 

ขอเรียนแก้ไขข้อมูล จากที่ได้มีการบอกเล่าประสบการณ์ของผมไปเมื่อวาน
มีเรื่องที่ผมเข้าใจคลาดเคลื่อน และ ต้องการแก้ไขดังนี้ครับ

1 ปกติไม่จำเป็นต้อง reswab ก่อนกลับมาทำงานนะครับ กระทรวงก็ไม่ได้แนะนำ อันนี้แล้วแต่นโยบายของ HR และเพื่อการเก็บข้อมูลบุคลากรแต่ละรพ. ครับ

2 วัคซีน sinovac ที่ไม่ช่วยอะไร เนื่องจากผมพึ่งฉีดได้เข็มเดียว ยังไม่ถึง 7 วัน ภูมิยังไม่ทันขึ้นนะครับ วัคซีนยังจำเป็นอยู่ ฉีดได้ฉีดเลยนะครับ

หลายท่านกังวลว่า
คนจะเข้าใจว่า ฉีดวัคซีนแล้วไม่ช่วย ทำให้คนไม่ไปฉีดครับ
ผมไม่ได้มีเจตนาเขียนดังนั้นครับ

ขอบคุณครับ และ ขออภัยต่อผู้เกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดความสับสน วุ่นวายครับ
นายแพทย์ณพล สินธุวนิช
25 เมษายน 2564

 

เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2564 ศาสตราจารย์ นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ โพสต์เฟซบุ๊ก Nithi Mahanonda โดยมีข้อความว่า ด้วยความห่วงใยจาก นพ.นิธิ มหานนท์....

 

หลายๆคนเห็นตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด19 รายวันค่อยๆเพิ่มขึ้นๆ คงตกใจหวาดกลัวกัน อยากจะช่วยให้แนวคิดเพื่อให้สบายใจกันขค้นครับว่า ตัวเลขแบบนี้ถ้าใครติดตามผมคงพอเห็นว่าไม่ได้เกินความคาดหมาย แต่ที่สำคัญระบบสาธารณสุขเรายังรับได้สบายๆครับ ไม่ต้องจิตตกกังวลกันนัก เดี๋ยวผมจะบอกก่อนจบว่าจริงๆทักคนควรทำอย่างไรที่ดีกว่าการวิตกกังวลและบ่นกันไปโดยไม่ได้ผลอะไร ทุกอย่างที่เห็นตอนนี้มีเหตุและผลอธิบายได้ทั้งสิ้นไม่มีใครผิด ไม่มีใครพลาด ทำใจสบายๆ 

ย้ำอีกหนว่าระบบสาธารณสุขเรารับมือได้สบายๆ ยิ่งตอนนี้ได้ข่าวว่าจะมีภาคเอกชน และอาสาสมัครเข้ามาช่วยกันอย่างพร้อมเพรียง  หน่วยราชการที่สำคัญโดยตรงไม่ว่า กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ที่มีมหาวิทยาลัยโรงเรียนแพทย์ระดับโลกอยู่หลายแห่ง ร่วมมือกันขนาดนี้ โควิดก็โควิดเถอะครับ ผมว่ารวมกับน้ำใจคนไทยแล้ว เราผ่านไปได้สบายมาก รัฐบาลก็เข้าใจให้การจัดหาวัคซีนมาเพิ่มทำได้ค่อนข้างไม่ยากนักแล้ว การให้ความจริงข้อมูลต่างๆก็เริ่มดีขึ้น ไม่มีนักวิชาการแปลกๆมาให้ข่าวให้คนสับสน ถึงมีก็มีคนออกมาแก้ได้ทันที เหลืออีกนิดหน่อยคือแผนการกระจายและให้วัคซีน กับยาต้านไวรัสที่ยังไม่ชัดนักแต่ก็พอรู้ว่ากำลังปรับกันอยู่

ผมคาดว่าภายในสิ้นเดือนนี้หากตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ไม่ลดลง(แนะนำทุกๆคนอย่าดูตัวเลขรายวันครับ ดูเฉลี่ยเจ็ดวันจะดีสุด เพราะการรายงานทักวันมีปัจจัยมากที่ทำให้มันแกว่งได้) รัฐบาลคงมีมาตรการมาเพิ่มเติมในพื้นที่ ที่คุมไม่ได้ เพื่อรอผลวัคซีน(ซึ่งก็ไม่เห็นผลทันทีนะครับ เป็นเดือนกว่าจะเห็นผล😓😓😓) และมาตรการเพิ่มนั้นเมื่อทำก็ไม่เห็นผลทันที ดังนั้นขณะนี้นะครับทุกคนควร 

1)ป้องกันตัวเองเต็มสุดความสามารด้วยการใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา รักษาระยะห่าง (2 เมตรอย่างน้อยนะครับ) และอยู่ในที่อากาศถ่ายเทเท่านั้น ถ้ามีความจำเป็น เข้าไปในที่อากาศไม่ถ่ายเทไม่อยู่เกิน 20 นาที และล้างมือ รักษาความสะอาด เข้าห้องน้ำชักโครกปิดฝาโถส้วมทุกครั้ง

2)ไม่พบใครที่ไม่ทราบประวัติว่าคนนั้นได้ไปไหนมาเจอใครบ้างย้อนหลังไปสิบห้าวัน (ต้องย้ำว่าโดยเฉพาะคนอายุน้อยกว่า 40 ที่มักไม่มีอาการและเคลื่อนย้ายที่อยู่ไปมาและพบคนต่างๆได้มาก) 

3)คนที่อายุน้อยกว่า 40 ไม่ควรไปพบญาติผู้ใหญ่ผู้สูงอายุเป็นอันขาด ถ้าจำเป็นอย่าใกล้กันกว่า 2 เมตร อย่านั่งรับประทานอาหารด้วยกัน และต้องใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา

4)เมื่อมีวัคซีนมาก็รีบไปฉีดครับ ไม่ว่ายี่ห้ออะไรใช้ได้ทั้งนั้น อาการข้างเคียงชั่วครั้งชั่วคราวพอๆกัน ให้หมอท่านเลือกให้เหมาะสม อย่าไปฟังพวกตื่นตูมเท้าราน้ำ ให้ข้อมูลจริง(บางส่วน)บ้าเท็จบ้าง 

และสำคัญที่สุด 5)ทุกครั้งที่จะออกจากบ้าน(ถ้าจำเป็น) หรือบ่นโทษใคร ถามตัวเองก่อนว่า วันนั้นขณะนั้นเราได้ทำอะไรเพื่อช่วยลดการแพร่ระบาดดีครบถ้วนหรือยัง นึกถึงคำพูดนี้ครับ , 

"ask not what your country can do for you, ask what you can do for your country." แต่ในสถานการณ์โควิดคือ
 “ASK NOT WHAT YOUR COUNTRY DO FOR YOU, ASK WHAT YOU DO FOR YOURSELF (AND OTHERS)” ครับ 
นิธิ มหานนท์ 24 เมษายน 2564

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/main/detail/100629