"โอไมครอน" ละอองเชื้อแห้ง ลอยไกลอยู่ได้นาน เปิดอีก 3 ข้อ ให้อยู่รอดปลอดภัย
 
 

เปิดอีก 3 ข้อ ให้อยู่รอดปลอดภัยจากโควิด "โอไมครอน" ที่คุณสมบัติไม่ธรรมดา ละอองเชื้อแห้ง ลอยไกลอยู่ได้นาน แม้คนติดเชื้อไม่อยู่แล้ว

การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ Covid-19 ระลอก 4 ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการระบาดของสายพันธุ์ "โอไมครอน" หรือ "โอมิครอน" ที่แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว แม้อาการจะไม่รุนแรง แต่ก็ไม่ควรประมาท คำถามที่ทุกคนต้องถามตัวเองอยู่เสมอ แทบทุกวัน และบ่อย ๆ ก็คือ "ติดหรือยัง" และจะระวังป้องกันตัวเองให้มากขึ้นกว่าเดิมได้อย่างไร

นพ.อดิศักดิ์ กิตติสาเรศ ผู้เชี่ยวชาญโรคสมองและระบบประสาท เคยให้ข้อมูลไว้ตั้งแต่โควิดระบาดหนักในรอบที่ 3 ว่า สถานการณ์ตอนนี้ไม่สำคัญแล้วว่า เราจะอยู่บริเวณไหนของการระบาด จะเป็นสีแดง สีเหลือง ให้คิดไว้ก่อนเลยว่าทุกคนมีโอกาสติดเชื้อได้ โดยไม่รู้ตัว และมีโอกาสแพร่เชื้อได้ทั้งหมด

ดังนั้น ให้ทำ 3 อย่างคือ   

  1. อยู่ห่างจากผู้คน 1.5 เมตร เป็นระยะที่ปลอดภัย  
  2. มีสติ  
  3. นึกเสมอว่าต้องระวังตัว 

3 สิ่งนี้ มือ,หน้ากาก,หน้าเรา ถ้า 3 สิ่งนี้ปลอดภัย เราจะปลอดภัย ไม่ว่าคนตรงหน้าจะเป็นโควิดไหม เพราะวัน ๆ หนึ่ง เราก็ไม่รู้ว่าเราเอามือไปแตะกับอะไรบ้าง ทุกครั้งก่อนเอามือไปแตะกับหน้ากาก ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม ให้รู้ว่าความเสี่ยงมันเกิดขึ้นจากจุดนั้น เช่น เจอคนรู้จัก สวัสดี เอามือไปจับหน้ากากถอดออก หรือรู้สึกว่าหน้ากากไม่แนบ จะเอามือไปขยับลวดที่หน้ากาก ไม่ได้นะครับ

ถ้าเมื่อไรที่เราต้องแตะหน้ากาก เราต้องล้างมือ (ที่ง่ายที่สุดคือแอลกอฮอลล์) ล้างให้ครบจนถึงปลายนิ้วมือ ถ้าให้ดีก็ครบ 7 ขั้นตอนเลย อย่างน้อยตรงที่เราจับควรจะสะอาด โบกมือให้แห้งก่อนถึงจะใช้ได้ เมื่อมือเราสะอาดแล้วก็จับหน้ากากบีบลวดให้แนบหน้าได้

คุณหมอบอกว่า วิธีทดสอบหน้ากากว่าป้องกันได้ดีไหม ด้วยการเป่าลมดู ถ้าเป่าแล้ว ไม่มีลมออกข้างบน ออกข้าง ๆ หรือออกข้างหน้า แปลว่าใช้ได้ นอกจากนี้
ก็ยังมีวิธีพับ "หน้ากากอนามัย" (Surgical Mask) ให้เป็นปม เพื่อให้ปิดหน้าแนบมากขึ้นไปอีก ซึ่งมีข้อมูลเผยแพร่ไว้มากมาย

"การใส่หรือการถอดหน้ากาก ให้จับแค่ตรงสายหน้ากาก สมมติฐานว่ามันมีเชื้อ ทุกครั้งที่ต้องแตะหน้ากาก ไม่ว่ากรณีใด ๆ ให้ล้างมือ ไม่ใช่เผลอ ๆ ก็แตะจมูก แตะหน้ากาก แตะหน้า หรือจับหน้ากากให้มันแนบ ๆ ที่เลอะคือ เลอะหน้ากาก เป็นพฤติกรรมที่ไม่ควร ถ้าจะแตะเราต้องล้างมือทุกครั้ง"

นพ.อดิศักดิ์ ระบุว่า หน้ากากอนามัย (Surgical Mask) เมื่อใช้เสร็จแล้วให้ทิ้งเลย ไม่ต้องเสียดาย ไม่ควรใช้ซ้ำไปเรื่อย ๆ มันไม่ใช่หน้ากากกันฝุ่น ให้เราคิดว่ามีเชื้อโรคเข้ามาเรียบร้อยแล้ว เพราะว่าตอนนี้คนแพร่เชื้อไม่มีอาการ ไม่ไอ ไม่มีไข้ ไม่มีอะไรเลย คนมีไข้ก็อยู่โรงพยาบาลแล้ว คนที่ไอก็รู้ตัวว่าเสี่ยง ส่วนคนที่ไม่รู้ตัวก็แพร่เชื้อไปเรื่อย ๆ ถ้าเธอเป็นโควิด ฉันก็ปลอดภัย เพราะฉันมีสติ กับมือ, กับหน้ากาก, กับหน้า 

นอกจากนี้ คุณสมบัติพิเศษของโควิด "โอไมครอน" คือ ไม่ต้องกัด แค่เปิดปาก ก็แพร่เชื้อได้ แม้เชื้อไม่ค่อยลงปอด แต่ไปเกาะเซลล์ผนังคอแทน เมื่อพูดคุย ตะโกน ไอ จาม เชื้อกระจายมากกว่า และง่ายกว่า แม้เชื้อโอไมครอนจะไม่ลงปอด ทำให้ความเสี่ยงในการป่วยหนักลดลง แต่เชื้อโอไมครอนกลับไปเกาะบริเวณเซลล์ผนังลำคอจำนวนมาก เมื่อผู้ติดเชื้อพูดคุยตะโกน ไอ จาม เชื้อจึงกระจายออกมาง่าย และมากกว่า ทำให้เกิดการแพร่เชื้อได้ง่าย

แถมยิ่งอยู่ในพื้นที่ปิด ละอองเชื้อที่แห้ง ลอยไกลอยู่ได้นาน แม้ผู้ติดเชื้อไม่อยู่แล้ว เชื้อโควิดถูกห่อหุ้มด้วยน้ำมูก หรือ น้ำลาย แต่เวลาอยู่ในพื้นที่ปิด เมื่อน้ำมูก หรือน้ำลายระเหยแห้งไป เชื้อโควิดที่มีขนาดเล็กลง จะสามารถล่องลอยไปไกล และตกค้างในอากาศได้นาน ไวรัส ซึ่งคือน้ำมูกหรือน้ำลาย (เส้นผ่านศูนย์กลาง มากกว่า 5 ไมครอน) ฝอยละอองขนาดใหญ่ น้ำหนักของน้ำมูกหรือน้ำลาย ทำให้ลอยตกทันที เมื่อระเหยเป็น "ไวรัส" (เส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 5 ไมครอน) ฝอยละอองขนาดเล็ก ลอยในอากาศได้นาน


พื้นที่ปิด หรือระบายอากาศไม่ดี เสี่ยงเจอเชื้อตกค้าง การเปิดประตูหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ มีส่วนช่วยในการลดการสะสมของเชื้อโรคได้ ทั้งนี้ การเปิดช่องระบายอากาศ ควรเปิดให้ทแยงด้านกัน เพื่อทำให้อากาศเกิดการถ่ายเทได้รอบบริเวณมากที่สุด ไม่เหลือการตกค้างของเชื้อโรค

  • ควรเปิดระบายอากาศด้านทแยงกัน ช่วยระบายอากาศได้ดีกว่า
  • ไม่ควรเปิดระบายอากาศฝั่งตรงข้ามกัน อาจมีเชื้อโรคตกค้าง

** ควรเปิดระบายอากาศครั้งละ 5-10 นาที ทุก 2 ชั่วโมง ถ้ามีข้อจำกัด อาจเปิดระบายก่อนเริ่มใช้ห้อง ระหว่างพัก และก่อนเลิกใช้


ในพื้นที่ปิด เชื้อแพร่ยกกำลัง 3

นอกจากการเว้นระยะห่างแล้ว การเลี่ยงไม่อยู่ในพื้นที่ปิดก็ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิดได้ เพราะภายในพื้นที่ปิด เชื้อจะสามารถแพร่ได้ถึง 3 ทางได้แก่

  • ระยะใกล้ ติดจากฝอยละอองขนาดใหญ่
  • ระยะไกลติดจากฝอยละอองขนาดเล็ก
  • ระยะประชิดติดจากการสัมผัส

วิธีเอาตัวรอด

เมื่ออยู่ในที่อากาศไม่ถ่ายเท ใช้หน้ากากที่มีประสิทธิภาพ สวมอย่างถูกวิธี กระชับใบหน้า เว้นระยะห่าง ล้างมือ และฉีดวัคซีน
 

การเลือกสวมหน้ากากที่มีประสิทธิภาพเหมาะสูง เช่น N95 หรือ KN95 โดยเฉพาะเมื่อต้องอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เช่น พื้นที่แออัด มีคนจำนวนมาก ช่วยลดความเสี่ยง
ในการติดเชื้อได้มาก แต่ทั้งนี้ต้องสวมให้ถูกวิธี และกระชับใบหน้า เพราะการสวมหน้ากากไม่กระชับอาจเกิดช่องโหว่ให้เชื้อโรดลอดเข้ามาได้ ได้แก่ ช่องเหนือจมูก ช่องข้างแก้ม และช่องใต้คาง

  • หน้ากากผ้า ลดความเสี่ยง 56%
  • หน้ากากอนามัย ลดความเสี่ยง 66%
  • หน้ากาก N95/KN95 ลดความเสี่ยง 83%

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/505963?adz=

 
"โอไมครอน" เก่งกาจขนาดไหน ฉีด 3 เข็ม แถมติดเดลตามาแล้ว ยังเอาไม่อยู่
 
 

"หมอมนูญ" ยกเคสความเก่งกาจของ "โอไมครอน" ฉีดวัคซีน 3 เข็ม แถมติดโควิดเดลตา ได้ยาต้านอย่างดีมาแล้ว ยังเอาไม่อยู่

"หมอมนูญ" นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC ระบุว่า ต้องยอมรับเชื้อไวรัสโควิด "โอมิครอน" หรือ "โอไมครอน" เป็นสายพันธุ์ที่เก่งจริง ๆ

สามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจากเคยได้รับวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงครบ 2 เข็มแล้วตามด้วยเข็มกระตุ้น หรือเคยติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์อื่นก่อนหน้านี้ หรือเคยได้รับโมโนโคลนอลแอนติบอดี REGEN-COV มาก่อน ซึ่งสามารถจะเพิ่มภูมิต้านทานป้องกันการติดเชื้อเดลตาซ้ำอีก และอยู่ในร่างกายได้นานถึง 8 เดือน

"หมอมนูญ" ยกเคสผู้ป่วยหญิงอายุ 90 ปี เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดจังหวะ กินยาละลายลิ่มเลือด ได้รับวัคซีนแอสตราเซเนกา 2 เข็ม 
เดือนมิถุนายน และสิงหาคม 2564 ติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตาวันที่ 21 ตุลาคม 2564 มีไข้ ไอ น้ำมูกไหล ตาแดง เนื่องจากคนไข้มีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยรุนแรง ได้ให้โมโนโคลนอลแอนติบอดี REGEN-COV ทางเส้นเลือด ไม่ให้ยาฟาวิพิราเวียร์ คนไข้ดีขึ้นเร็วมาก กลับบ้านได้ภายใน 1 สัปดาห์ หลังหายแล้ว ได้แนะนำให้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์อีก 1 เข็ม เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันเดือนกุมภาพันธ์ 2565

วันที่ 24 มีนาคม 2565 มีอาการไข้ต่ำ ๆ มีน้ำมูก ไอบ้าง ไม่เจ็บคอ ไม่เหนื่อย วัดระดับออกซิเจนปกติเอ็กซเรย์ปอดปกติ ตรวจ ATK ให้ผลบวก เนื่องจาก
มีอาการน้อยกว่าครั้งที่แล้วมาก ได้แนะนำให้ผู้ป่วยรักษาตัวที่บ้าน และกินยาตามอาการ ไม่ให้ยาฟาวิพิราเวียร์ คนไข้ดีขึ้นเอง หายเป็นปกติใน 5 วัน

"หมอมนูญ" บอกว่า ผู้ป่วยรายนี้ขายของที่บ้าน มีคนมาซื้อของทุกวัน มีภูมิคุ้มกันจากการได้รับวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงครบโดสและได้เข็มกระตุ้นแล้ว เคยมีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติจากการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตาเมื่อ 5 เดือนก่อน เคยได้รับโมโนโคลนอลแอนติบอดีเมื่อ 5 เดือนก่อน ซึ่งสามารถจะอยู่ในร่างกาย มีภูมิต้านทาน และป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์เดลตาซ้ำได้นานถึง 8 เดือน ก็ยังไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอนได้ ปัจจุบันเป็นที่ทราบดีว่า ประสิทธิภาพของโมโนโคลนอลแอนติบอดีชนิดฉีด REGEN-COV ต่อเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอนลดลงมากเมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดลตา ไม่สามารถนำมาใช้ป้องกันและรักษาเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน

"โอไมครอน" เก่งกาจขนาดไหน ฉีด 3 เข็ม แถมติดเดลตามาแล้ว ยังเอาไม่อยู่

ผู้ป่วยรายนี้อายุ 90 ปี เป็นเบาหวาน ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนซ้ำอีก มีอาการน้อยมากต่างจากครั้งแรก เพราะมีภูมิคุ้มกันมากเพียงพอ แม้จะป้องกันการ
ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนไม่ได้ แต่ช่วยลดความรุนแรงของโรคลงได้

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/509854?adz=

 
"โอไมครอน" เปิด 4 เคส หายแล้วไม่เหมือนเดิม กลุ่มเสี่ยงอาการหนัก ฉีดแล้ว 2 เข็ม
 

"หมอนิธิพัฒน์" เปิด 4 เคส "โอไมครอน" หายแล้วแต่ไม่เหมือนเดิม กลุ่มเสี่ยงอาการหนัก แม้ฉีดวัคซีน 2 เข็มแล้ว ยังไม่ฉีดเข็มกระตุ้น

อัปเดตสถานการณ์โควิดสายพันธุ์ "โอไมครอน" ที่กำลังแพร่ระบาด ส่งผลให้ตัวเลข "โควิดวันนี้" พุ่งสูงขึ้นทุกวัน "หมอนิธิพัฒน์" รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์เฟซบุ๊ค นิธิพัฒน์ เจียรกุล ระบุว่า เมื่อวานตรวจเยี่ยมผู้ป่วยนอกสามราย และผู้ป่วยในหนึ่งราย จากโควิด "โอไมครอน" มาบอกกล่าวให้รับทราบถึงผลพวงการเจ็บป่วย และถ้าเป็นได้ขอเป็นเสียงเล็ก ๆ ที่ส่งผ่านข้อมูลสะท้อนไปถึงการตัดสินใจของ ศบค.ในช่วงสายวันนี้ เพื่อกำหนดชะตากรรมของประเทศต่อไป

  • ชายวัยฉกรรจ์เป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ เดิมแข็งแรงดี ร่างกายล่ำบึ้ก ป่วยจาก "โอไมครอน" แบบอาการน้อย ไม่มีปอดอักเสบ รักษาในฮอสปิเตล ผ่านมาราวหนึ่งเดือนยังรู้สึกเหนื่อยล้าอ่อนเพลียง่าย มีเสมหะบ่อย ไม่สามารถออกกำลังได้หนักเท่าเดิม
  • หญิงอายุ 80+ ปี เดิมแข็งแรงดี เว้นมีโรคความดันโลหิตสูง รักษาสม่ำเสมอ ป่วยแบบอาการไม่รุนแรงจากปอดอักเสบเล็กน้อย ออกจากโรงพยาบาลราวครึ่งเดือน ตรวจวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนปลายนิ้วปกติคือเกิน 95% แต่ยังอ่อนเพลีย ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และการรับรู้ของสมองลดลง
  • หญิงอายุ 30+ ปี เดิมแข็งแรงดี ทำงานออฟฟิศ ป่วยแบบอาการไม่รุนแรง รักษาตัวที่บ้านด้วยยารักษาตามอาการภายใต้การติดตามของโรงพยาบาล หลังหายแล้วกว่าหนึ่งเดือน ยังคงไอ มีเสมหะ และเพลียง่าย ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
  • รายสุดท้ายเป็นชายอายุ 60+ ปี น้ำหนักตัวเกือบร้อยโล หลังมีอาการได้สี่วัน (ไข้ น้ำมูก ไอมีเสมหะ และถ่ายเหลว) หอบเหนื่อยมาก เกิดปอดอักเสบรุนแรงจนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เอกซเรย์ปอด (ดังรูป)

"โอไมครอน" เปิด 4 เคส หายแล้วไม่เหมือนเดิม กลุ่มเสี่ยงอาการหนัก ฉีดแล้ว 2 เข็ม

ทุกรายได้รับวัคซีนเข็มพื้นฐานครบถ้วนและไม่เกิน 3 เดือน กำลังรอรับเข็มกระตุ้น

"หมอนิธิพัฒน์" ย้ำว่า โอไมครอนติดง่าย วัคซีนเข็มพื้นฐานทุกสูตรกันติดได้ไม่ดีนัก โดยเฉพาะถ้าเวลาเกินสามเดือนในคนปกติ หรือไม่ถึงสามเดือนในคนเปราะบาง แต่วัคซีนเข็มพื้นฐานยังช่วยกันรุนแรงจนถึงตายได้ แต่อาจไม่โชคดีทุกคน ดังเช่นความรุนแรงของรายสุดท้าย แต่การฉีดวัคซีนโควิดทั้งเข็มพื้นฐาน และเข็มกระตุ้นในทุกสูตร ยังเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง แม้จะป่วยแบบไม่มีอาการหรือมีอาการแต่ไม่รุนแรง เมื่อหายแล้วมีบางส่วนที่ร่างกายยังไม่กลับเหมือนเดิมได้เร็ว ไม่ว่าต้นทุนสุขภาพเดิมจะดีแค่ไหนก็ตาม

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/505030?adz=

"โอไมครอน" เปิด 4 ข้อหลัก ไม่แรงแต่ไม่ติดดีกว่า เชื้อกลายพันธุ์-ระบบ สธ.ล่ม
 
 

โควิด "โอไมครอน" Omicron ศบค.เปิด 4 เหตุผลหลัก ไม่แรงแต่ไม่ติดจะดีกว่า หวั่นเชื้อกลายพันธุ์-ระบบสาธารณสุขล่ม

อัปเดตโควิดสายพันธุ์ "โอไมครอน" หรือ Omicron ที่กำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วอยู่ในขณะนี้ ทำให้ยังพบตัวเลขผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นรายวัน และด้วยคุณสมบัติที่ไม่ค่อยแสดงอาการ มีระยะฟักตัวสั้น และข้อมูลอาการรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์เดลตา ทำให้หลายคนเริ่มผ่อนคลายการดูแลตัวเอง และกลับไปใช้ชีวิตตามปกติมากขึ้น 

  1. ปล่อยให้ติดเชื้อ ส่งเสริมให้เชื้อกลายพันธุ์ แพร่กระจายง่ายขึ้น
  2. Omicron เป็นสายพันธุ์กลายพันธุ์ใหม่ ทำให้เกิดภาวะ Long COVID ระยะยาวได้
  3. ยังมีคนไทยอีกหลายล้านคน ไม่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 เสี่ยงติดเชื้อและอาจเสียชีวิต
  4. ถ้าผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเร็ว อาจทำให้ระบบสาธารณสุขรองรับไม่ทัน

"โอไมครอน" เปิด 4 ข้อหลัก ไม่แรงแต่ไม่ติดดีกว่า เชื้อกลายพันธุ์-ระบบ สธ.ล่ม

โดยเฉพาะภาวะอาการ Long Covid นั้น แพทย์หลายคน ได้ให้ความเป็นห่วง เพราะ "โอไมครอน" Omicron เป็นสายพันธุ์กลายพันธุ์ใหม่ ทำให้เกิดภาวะ Long COVID ระยะยาวได้ หรือผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพ เช่น ปวดหัว มึนงง ไม่สดชื่น ความจำสั้น สมาธิสั้น แสบตา คันตา น้ำตาไหล คัดจมูก จมูกไม่ได้กลิ่น การรับรสชาติอาหารเปลี่ยนไป หรือพบอาการชาที่ลิ้นในบางราย มีอาการไอ หอบเหนื่อย หายใจไม่ทัน ใจสั่น เจ็บแน่นหน้าอก หายใจลำบาก
มีไข้ ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ปวดข้อ กล้ามเนื้อลีบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีภาวะสมองล้า นอนไม่หลับ ความดันโลหิตสูง วิตกกังวล ซึมเศร้า

10 อาการ ที่พบมากที่สุดใน Long COVID คือ 

  1. เหนื่อยล้า 
  2. หายใจไม่อิ่ม
  3. ปวดกล้ามเนื้อ
  4. ไอ
  5. ปวดหัว
  6. เจ็บข้อต่อ
  7. เจ็บหน้าอก
  8. การรับรู้กลิ่นเปลี่ยนไป
  9. อาการท้องร่วง 
  10. การรับรสเปลี่ยนไป

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/511532?adz=

"โอไมครอน" เปิด ผลวิจัย น่ากังวล ไม่เคยรู้มาก่อน เด็ก ต้องเจอ หนักถึงขั้นนี้
 

เปิด ผลวิจัย ไวรัสสายพันธุ์ "โอไมครอน" Omicron น่ากังวล เกี่ยวกับ เด็ก ที่ไม่เคยรู้มาก่อน ถึงขั้น ความจำเสื่อม

อัปเดตสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด โดยเฉพาะสายพันธุ์ "โอไมครอน" Omicron ถึงแม้จะพบแนวโน้มว่า การระบาดจะลดลง แต่ก็ยังมีสิ่งที่น่ากังวลออกมาเรื่อย ๆ โดยที่เราไม่คาดคิด ทั้งเรื่องความสามารถในการแพร่กระจายของสายพันธุ์โอไมครอน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก ๆ และปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เกี่ยวกับอาการโควิด ที่บางคนเคยเป็น ซึ่งล่าสุด งานวิจัยจากผู้เชี่ยวชาญนานาประเทศ ก็พบว่า เด็กสามารถรับเชื้อโอไมครอนทางจมูกได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้า และปัญหาการ ไม่ได้กลิ่นหลังติดเชื้อ อาจบ่งบอกถึงปัญหาทางสมอง-ความจำในอนาคต

สำนักข่าวรอยเตอร์ ได้รวบรวมบทสรุปของ ผลการศึกษาล่าสุด เกี่ยวกับโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ซึ่งรวมถึงผลการศึกษาที่น่าเชื่อถือ และน่าจะนำไปสู่การค้นคว้าเพิ่มเติม รวมทั้ง รายงานที่ยังรอการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญรายอื่น ๆ ก่อนจะมีการตีพิมพ์ ไว้ดังนี้

 
 

1. เด็ก รับเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนทางจมูกได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น

การศึกษา ระบุว่า โคโรนาไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน อาจแพร่เชื้อไปสู่เด็กผ่านทางจมูกได้ง่ายกว่าโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ โดยในช่วงต้นของการระบาดใหญ่ของโควิด-19 จมูกของเด็กรับเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโควิด-19 ได้น้อยกว่าจมูกของผู้ใหญ่ โดยการศึกษาเชื้อไวรัส ซาร์ส-โควี-ทู สายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์อื่น ๆ พบว่าเซลล์เยื่อบุจมูกของเด็ก ๆ มีภูมิคุ้มกันไวรัสเหล่านั้นได้ดีกว่าเซลล์เยื่อบุจมูกของผู้ใหญ่ และไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าวก็ไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้มากเมื่ออยู่ในจมูกของเด็ก ๆ

เด็กป่วยโควิด

เด็กป่วยโควิด

ทั้งนี้ การทดลองในหลอดทดลองเมื่อเร็ว ๆ นี้ เปิดเผยผลการทดลอง ที่ผสมไวรัสกับเซลล์จมูกจากเด็กสุขภาพดี 23 คน และผู้ใหญ่สุขภาพดี 15 คน พบว่า การต้านไวรัสในจมูกของเด็ก “เด่นชัดน้อยกว่าในกรณีของ โอไมครอน Omicron” นักวิจัยรายงานเมื่อวันจันทร์ใน PLOS Biology ระบุว่า Omicron สามารถแบ่งตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในเซลล์เยื่อบุจมูกของเด็ก เมื่อเทียบกับทั้ง Delta และไวรัสดั้งเดิม 

2.การรับรู้กลิ่นที่มีปัญหาอาจเป็นสัญญาณปัญหาสมองและความจำในอนาคต

การศึกษาอีกชิ้นจากประเทศอาร์เจนตินา ระบุว่า ระดับความรุนแรงของความผิดปกติในการรับรู้กลิ่นหลังการติดเชื้อโควิดนั้น อาจเป็นสิ่งที่ทำนายภาวะถดถอยทางสมองในระยะยาวได้ โดยนักวิจัยได้ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มจำนวน 766 คน ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี โดยประมาณ 90% ในจำนวนนี้เคยติดเชื้อโคโรนาไวรัสมาแล้ว

นักวิจัยได้ทำการการทดสอบทางกายภาพ ความรู้ความเข้าใจ และอาการทางจิตประสาทของคนกลุ่มนี้เป็นเวลา 3-6 เดือน หลังจากการติดเชื้อโควิด และพบว่า 2 ใน 3 ของผู้ที่เคยติดเชื้อมีอาการ "ความจำเสื่อม" ในระดับหนึ่ง และหลังจากพิจารณาปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ของแต่ละบุคคล เช่น การสูญเสียการรับรู้กลิ่นอย่างรุนแรง หรือ Anosmia แล้ว ก็ทำให้สามารถทำนายภาวะถดถอยทางสมองได้อย่างมีนัยสำคัญ 

กาบรีเอลา กอนซาเล-อาเลแมน นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Pontificia Universidad Catolica Argentina ในกรุงบัวโนสไอเรส เปิดเผยว่า ยิ่งมีข้อมูลเชิงลึกมากขึ้นเกี่ยวกับสาเหตุ หรืออย่างน้อยก็คาดการณ์ได้ว่า ใครจะเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะถดถอยทางสมองในระยะยาวอย่างมีนัยสำคัญจากการติดเชื้อโควิด-19 เราก็จะสามารถจะติดตามและเริ่มพัฒนาวิธีการป้องกันได้ดียิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ข้อมูลเหล่านี้ สอดคล้องกับจำนวนการติดเชื้อในเด็กที่เพิ่มขึ้นในช่วงคลื่นโอไมครอน Omicron ซึ่งนักวิจัยเขียนในขณะที่เรียกร้องให้มีการศึกษาเพิ่มเติม

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/covid-19-updated/526863?adz=

 

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ