12 มี.ค.64 - ศ.เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร พร้อมด้วย ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา และ นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวกรณีเลื่อนการฉีดวัคซีน แอสตราเซนเนก้า
ศ.นพ.ยง กล่าวว่า คณะแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุขชะลอการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของแอสตราเซนเนก้าให้กับนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี เพื่อรอการตรวจสอบหลังจากหลายประเทศในยุโรประงับการใช้วัคซีนของแอสตราเซนเนกาชั่วคราว เพราะมีผู้ป่วยที่ฉีดวัคซีนแล้วเกิดอาการแข็งตัวของเลือดในหลอดเลือดดำและพบผู้เสียชีวิต 1 รายว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกันหรือไม่ นอกจากนี้ วัคซีนแอสตราเซนเนก้าที่ไทยจะฉีดผลิตจากโรงงานในเอเซียไม่ได้ผลิตที่ยุโรป ทั้งนี้ ประเทศไทยไม่ได้เป็นประเทศเสี่ยงสูง ดังนั้นการชะลอออกไป 5-7 วัน หรือ 2 สัปดาห์ไม่ได้เกิดผลกระทบมากนัก ดังนั้นคณะผู้เชี่ยวชาญจึงมีมติให้ชะลอออกไปก่อน ต้องดูความปลอดภัยเป็นหลัก
สปสช. แนะนำ 5 วิธีเอาตัวรอดจากโควิด-19 ในสถานที่ทำงาน หากท่านตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด ใช้สิทธิแบบไหน รักษาอย่างไร
ไวรัสโควิด-19 ก่อให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และสามารถติดต่อจากคนสู่คนโดยการคลุกคลี เข้าใกล้ชิดกับผู้ป่วย โดยติดเชื้อผ่านละอองฝอยของน้ำมูก น้ำลาย ของผู้ป่วยติดเชื้อ จากการจาม ไอ หรือการสัมผัส ซึ่งวิธีการป้องกันการแพร่เชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเราเอง คือ
– อย่าเอามือปิดปากเวลาไอหรือจาม เนื่องจากทำให้เชื้อโรคติดมือ และมือของเรานี่เองที่จะไปสัมผัสสิ่งต่าง ๆ เช่น ราวบันได ปุ่มกดลิฟต์ และทำให้ผู้อื่นที่มาสัมผัสต่อเสี่ยงที่จะติดเชื้อตามไปด้วย
– ใช้ทิชชู่ปิดปาก เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคกระจาย และควรนำทิชชูนั้นไปทิ้งถังขยะที่มีฝาปิด
– หากไม่มีทิชชู ให้ใช้ต้นแขนด้านในปิดปากและจมูก ด้วยการนำแขนข้างใดข้างหนึ่งมาจับไหล่ฝั่งตรงข้ามของตัวเอง
– เมื่อไอ จาม แล้วต้องรีบล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลทันที
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นำข้อมูลจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะนำ 5 วิธี อยู่ที่ทำงานอย่างไร ให้ปลอดภัยจากโควิด-19 ดังนี้
1. สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ที่ปฏิบัติงาน และล้างมือบ่อยๆ
2. หมั่นทำความสะอาดของใช้ส่วนตัว เช่น โทรศัพท์ โต๊ะทำงาน
3. ใช้รูปแบบออนไลน์ แทนการรวมกลุ่มพูดคุยหรือการประชุม
5. แยกกันกิน และเว้นระยะห่าง ระหว่างกันกับผู้ร่วมงาน
หน่วยงานควรพิจารณาใช้มาตรการ Work From Home ให้มากที่สุด โดยเฉพระกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ เป็นต้น กรณีสงสัยว่าเป็นกลุ่ม เสี่ยงแนะนำให้เร่งตรวจ ATK เพื่อยืนยัน หากตรวจ ATK แล้วขึ้น 2 ขีด ติดเชื้อโควิด-19 ให้ดำเนินการดังนี้
1.กลุ่มที่ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย (สีเขียว) รักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ แก้ไอ แก้เจ็บคอ หรือไปรับยาที่สถานพยาบาลตามสิทธิ-สถานพยาบาลรัฐใกล้บ้าน (เจอ แจก จบ) และกักตัวอยู่ที่บ้าน 10 วัน การใช้สิทธิรักษา มีดังนี้
- สิทธิบัตรทอง 30 บาท (สปสช.) ติดต่อไปที่สถานพยาบาลประจำที่ท่านลงทะเบียนไว้ หรือไปที่หน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศ
โรงพยาบาลเอกชน ที่ทำข้อตกลงรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มสีเขียวกับ สปสช.
- สิทธิประกันสังคม ไป รพ.ที่ลงทะเบียนไว้ รวมถึงสถานพยาบาลคู่สัญญาในระบบประกันสังคมทุกแห่ง และสถานพยาบาลรัฐทุกแห่ง (สายด่วน 1506)
- สิทธิข้าราชการ ไป สถานพยาบาลรัฐทุกแห่ง และ รพ.เอกชนที่ทำข้อตกลงรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มสีเขียวกับ สปสช. (สายด่วนกรมบัญชีกลาง 02-2706400 วัน-เวลาราชการ)
2.กลุ่มที่มีอาการปานกลางถึงอาการหนัก (กลุ่มสีเหลือง-สีแดง) ทุกสิทธิการรักษาใช้สิทธิ UCEP Plus เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิเข้ารับการรักษาได้ทุกที่ สถานพยาบาลรัฐ-เอกชน ที่อยู่ใกล้ได้
3.กลุ่มเปราะบาง 608 หญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็กอายุ 0-5 ขวบ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง ที่เป็นสิทธิบัตรทอง 30 บาท (สิทธิ สปสช.) และสิทธิองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โทร. 1330 ประเมินอาการเข้าระบบรักษาที่บ้าน
สำหรับหมายเลขโทรศัพท์ ที่ควรบันทึกไว้กรณีตนเองหรือคนใกล้ชิดติดเชื้อ ได้แก่
- เจ็บป่วยฉุกเฉิน โทร. 1669
- ประกันสังคม โทร. 1506
- บัตรทอง-อปท. โทร. 1330
- ข้าราชการ โทร. 02-270-6400
- สอบถามสิทธิ UCEP Plus 028721669
ภาพจาก แฟ้มภาพ AFP
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐ (ซีดีซี) ประกาศยกระดับเตือนภัยการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิง หลังพบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกพุ่งขึ้นมากกว่า 1,000 ราย
ซีดีซี ยกระดับเตือนภัยโรคฝีดาษลิงสู่ระดับ 2 โดยเตือนให้นักเดินทางเพิ่มความระมัดระวังเพื่อสกัดการแพร่ระบาด ซึ่งรวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย
นอกจากนี้ ซีดีซี ยังเตือนให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีแผลตามผิวหนัง รวมทั้งสัตว์ป่วยหรือเสียชีวิต ส่วนผู้ที่มีอาการของโรคก็ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่น และรีบเข้าพบแพทย์
หากในอนาคต ซีดีซี ยกระดับเตือนภัยสู่ระดับ 3 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดซีดีซีจะแจ้งเตือนให้ชาวอเมริกันหลีกเลี่ยงการเดินทางที่ไม่จำเป็นไปยังประเทศที่มีการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิง
ซีดีซี เปิดเผยว่า ขณะนี้มีผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงจำนวน 1,019 รายใน 29 ประเทศทั่วโลก โดยอังกฤษมีผู้ติดเชื้อสูงสุดจำนวน 302 ราย ตามมาด้วยสเปน 198 ราย ส่วนโปรตุเกสมี 153 ราย และแคนาดามี 80 ราย ขณะที่สหรัฐมี 30 ราย
ศบค. "คลายล็อกดาวน์" นั่งทานอาหารในร้าน 50%-เปิดห้าง-เสริมสวย-นวดฝ่าเท้า-สวนสาธารณะ คงเวลา "เคอร์ฟิว" 21.00-04.00 น. คง 29 จว.เข้มงวดสูงสุดเหมือนเดิม แต่ใช้มาตรการ Universal Prevention
เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 27 ส.ค.ที่ห้อง PMOC ชั้น 2 ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พล.อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่ 13/2564 ผ่านระบบวิดิโอคอนเฟอเรนซ์ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ตามที่ ศบค.วงเล็กเสนอ โดยมีรายงานว่าที่ประชุมเห็นชอบมาตรการผ่อนคลายล็อกดาวน์ พร้อมคงจังหวัดสีแดงเข้ม 29 จังหวัด และคงเวลาเคอร์ฟิวจังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) ประกอบด้วย
1. ร้านอาหารที่มีการเปิดเครื่องปรับอากาศ หรือ เปิดแอร์อนุญาตนั่งรับประทานในร้านได้คิดเป็น 50% ของจำนวนที่นั่งในร้าน
2. ร้านอาหารที่ไม่มีการเปิดเครื่องปรับอากาศ หรือไม่เปิดแอร์ ให้นั่งได้ 75% ของจำนวนที่นั่งในร้าน
ทั้งนี้ การเปิดให้ประชาชนนั่งรับประทานอาหารในร้าน โดยจะต้องฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม หรือ ผ่านการตรวจ ATK ไม่เกิน 7 วัน
นอกจากนี้ มาตรการคลายล็อกดาวน์ ยังครอบคลุมห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมิวนิตี้มอลล์หรือสถานประกอบการอื่น ที่มีลักษณะคล้ายกัน ร้านสะดวกซื้อ ให้เปิดดำเนินการได้ตามปกติจนถึงเวลา 20.00 น. โดยผู้ให้บริการจะต้องปฏิบัติได้รับวัคซีน 2 เข็มแล้ว และจะต้องมีการตรวจคัดกรองด้วยชุด ATK เป็นระยะและมีมาตรการเข้มผู้เข้าใช้บริการ
ขณะที่ร้านเสริมสวย หรือตัดผม ร้านนวด เปิดได้ตามปกติ แต่นวดได้เฉพาะฝ่าเท้า นอกจากนี้สวนสาธารณะ ลานกีฬา สนามกีฬาหรือสถานที่ออกกำลังกาย ที่เป็นพื้นที่โล่งแจ้ง ยกเว้นฟิตเนส และอาคารในสถานศึกษา เปิดได้ตามปกติ แต่ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการสถานศึกษาพิจารณา
โดย ที่ประชุม ศปก.ศบค.ยังคงจังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) 29 จังหวัดตามเดิม พร้อมใช้มาตรการป้องกันโรคส่วนบุคคล Universal Prevention พร้อมกันนี้เห็นชอบการรวมกลุ่มทำกิจกรรมที่เดิมกำหนดไม่เกิน 5 คน ขยายเป็น 25 คน
นอกจากนี้ จะเปิดบริการรถสาธารณะ โดยต้องจำกัดจำนวนผู้โดยสารไม่เกินร้อยละ 75 และคนขับรถจะต้องได้รับวัคซีนแล้ว 2 เข็ม และเปิดให้เดินทางโดยเครื่องบิน ซึ่งผู้โดยสารจะต้องแสดงเอกสารการฉีดวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 เข็ม หรือผลตรวจโควิด-19 ด้วย
ขณะเดียวกัน ยังผ่อนคลายให้ประชาชนสามารถเดินทางข้ามจังหวัดได้ สำหรับประชาชนที่มีความจำเป็นเท่านั้น แต่ยังต้องขอความร่วมมือประชาชนงดเดินทางข้ามจังหวัดหากไม่มีความจำเป็น และยังห้ามประชาชนออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 21.00-04.00 น.ของวันรุ่งขึ้นยังคงอยู่ โดยมาตรการผ่อนคลายต่างๆ จะเริ่มมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.นี้เป็นต้นไป
ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/956936?anf=
สำนักงานสาธารณสุขแห่งรัฐแมสซาชูเซตส์ของสหรัฐฯ แถลงยืนยันพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง (monkeypox) รายแรกของปี 2022 โดยเป็นชายที่เพิ่งเดินทางกลับจากแคนาดา และมีผลตรวจยืนยันการติดเชื้อเมื่อบ่ายวันพุธ (18 พ.ค.)
สำนักงานสาธารณสุขรัฐแมสซาชูเซตส์ได้ประสานงานกับศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐฯ (CDC) และทีมสาธารณสุขท้องถิ่นเพื่อติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยรายนี้ พร้อมยืนยันว่า เคสดังกล่าว “ไม่ก่อความเสี่ยงต่อสาธารณชน” โดยผู้ป่วยได้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล และอาการไม่น่าเป็นห่วง
โรคฝีดาษลิงซึ่งพบได้บ่อยในแถบแอฟริกากลาง และตะวันตกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่คล้ายคลึงกับไข้ทรพิษ (smallpox) ทว่าอาการไม่รุนแรงเท่า โดยมีรายงานพบผู้ป่วยรายแรกที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเมื่อทศวรรษ 1970 และจำนวนผู้ป่วยในแอฟริกาตะวันตกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการไข้ ปวดหัว และมีผื่นขึ้นตามลำตัว โดยเริ่มจากบริเวณใบหน้า ก่อนจะกระจายไปทั่วทุกส่วนของร่างกาย
สำนักงานสาธารณสุขรัฐแมตซาชูเซตส์ยืนยันว่า ไวรัสชนิดนี้ไม่ติดต่อจากคนสู่คนได้โดยง่าย แต่อาจได้รับเชื้อจากการสัมผัสสารคัดหลั่ง แผลบนร่างกายผู้ป่วย เสื้อผ้าและเครื่องนอนของผู้ป่วย รวมถึงการติดเชื้อผ่านระบบทางเดินหายใจหากมีการปฏิสัมพันธ์ซึ่งหน้ากับผู้ป่วยเป็นเวลานานๆ
สหรัฐฯ เคยพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงที่รัฐเทกซัสและแมริแลนด์แห่งละ 1 ราย เมื่อปี 2021 โดยทั้ง 2 รายเป็นผู้ที่เพิ่งจะเดินทางกลับจากไนจีเรีย
CDC ยังอยู่ระหว่างติดตามคลัสเตอร์การระบาดของโรคฝีดาษลิงที่พบในโปรตุเกส สเปน และสหราชอาณาจักร ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาอย่างใกล้ชิด โปรตุเกสยืนยันพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิง จำนวน 5 ราย ขณะที่หน่วยงานสาธารณสุขสเปนอยู่ระหว่างตรวจสอบเคสต้องสงสัย 23 ราย หลังจากที่อังกฤษได้มีการแจ้งเตือนไปยังยุโรปให้เฝ้าระวังการแพร่ระบาดของไวรัสชนิดนี้
อังกฤษพบผู้ป่วยฝีดาษลิงรายแรกเมื่อวันที่ 7 พ.ค. และจนถึงขณะนี้จำนวนผู้ติดเชื้อได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 6 ราย
ที่มา : รอยเตอร์
หน้าที่ 94 จาก 147