2021 12 13 09 13 48

สธ. ยืนยันชุดตรวจ ATK ที่ไทยใช้สามารถตรวจพบได้ทุกสายพันธุ์ ส่วนวิธีมาตรฐานที่ใช้ตรวจพบได้แม้จะกลายพันธุ์เพิ่ม

วันนี้ (9 ธ.ค.64) ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงความคืบหน้าเกี่ยวกับโควิด 19 สายพันธุ์โอไมครอน ว่า กระทรวงสาธารณสุขโดย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับเครือข่าย ได้เฝ้าระวังตรวจสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด 19 มาโดยตลอด ตั้งแต่มีการเปิดประเทศ 1 พฤศจิกายน -8 ธันวาคม 2564 ทำการสุ่มตัวอย่างตรวจสายพันธุ์ไวรัส รวม 1,645 ราย แยกเป็น จากผู้ที่เดินทางเข้าราชอาณาจักร 99 ราย และจากผู้ติดเชื้อในประเทศ 1,546 ราย ตรวจด้วยวิธี SNP genotyping ซึ่งเป็นการตรวจเบื้องต้นเฉพาะตำแหน่งและเฉพาะยีนเพื่อหาลักษณะเฉพาะของสายพันธุ์ไวรัส

เมื่อสงสัยว่าเป็นสายพันธุ์ที่จับตามองจะส่งตรวจยืนยันด้วยวิธี Whole genome sequencing (WGS) เพื่อถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว ซึ่งเกือบทั้งหมดพบเป็นสายพันธุ์เดลตาคือ 1,641 ราย ส่วนสายพันธุ์โอมิครอนพบเพียง 4 ราย หรือไม่ถึง 1%

สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด 19 เพศหญิง 2 ราย ที่สงสัยเป็นสายพันธุ์โอไมครอน ผลตรวจยืนยันด้วยวิธี WGS พบว่า เป็นโอไมครอนจริง ทำให้ขณะนี้ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนแล้ว 3 ราย เป็นชาวอเมริกัน 1 ราย และชาวไทย 2 ราย ทุกรายเดินทางมาจากต่างประเทศ และเมื่อวันที่ 6 ธันวาคมที่ผ่านมา ได้รับตัวอย่างผู้ติดเชื้ออีก 1 ราย เป็นชายไทยอายุ 41 ปี เจ้าหน้าที่องค์การสหประชาชาติ เดินทางมาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (Democratic Republic of the Congo) ในระบบ Test & Go ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าแล้ว 2 เข็ม

ผลการตรวจเบื้องต้นสงสัยว่ามีโอกาสติดเชื้อโอมิครอน จึงนำตัวอย่างส่งตรวจหาสายพันธุ์ คาดว่าอีกประมาณ 2 วัน จะทราบผล ขณะนี้กรมควบคุมโรคได้สอบสวนโรคเพื่อหาผู้สัมผัสและอยู่ระหว่างการกักตัวเพื่อรับการรักษาตามมาตรการ

นายแพทย์ศุภกิจ กล่าวต่อว่า จากข่าวที่พบการกลายพันธุ์ของสายพันธุ์โอไมครอน ขอยืนยันว่ากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สามารถตรวจจับได้จากการตรวจเบื้องต้นด้วยวิธี SNP genotyping เมื่อพบตำแหน่งที่คล้ายกับเดลตา (S.T478K) อัลฟา (S.delHV69-70, S.N501Y) และเบต้า (S.K417N) ในตัวอย่างเดียวกันจะเข้าข่ายสงสัยเป็นโอมิครอน

 

อย่างไรก็ตาม จะติดตามสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงของสายพันธุ์อย่างใกล้ชิดและหาวิธีการตรวจที่ครอบคลุม รวมทั้งจะนำตัวอย่างเชื้อโอมิครอนมาทดสอบกับภูมิคุ้มกันของคนไทยที่ได้รับการฉีดวัคซีนชนิดต่าง ๆ เพื่อหาความสามารถในการจัดการของวัคซีนต่อโอไมครอนต่อไป

“ขอยืนยันว่าชุดตรวจ ATK ที่ใช้อยู่สามารถตรวจหาเชื้อโอมิครอนได้ แต่ต้องมีการเก็บตัวอย่างและตรวจให้ถูกวิธี รวมถึงมีการตรวจซ้ำ ขอให้ประชาชนมั่นใจ ซึ่งประเทศไทยสุ่มตรวจพบเพียง 4 ราย จากกว่า 1,600 ราย ถือว่าน้อยมาก และยังไม่มีรายงานการติดเชื้อที่รุนแรง ไม่มีคนเสียชีวิตจากสายพันธุ์นี้ อย่างไรก็ตาม การป้องกันตัวเองอย่างเคร่งครัดและวัคซีนยังเป็นเกราะป้องกันที่ดีที่สุด” นายแพทย์ศุภกิจกล่าว

 

ภาพจาก TNN Online

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชน ให้เฝ้าระวังและป้องกันโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) ซึ่งเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน และติดจากคนสู่คนได้

20 พฤษภาคม 2565 หลังจากหลายชาติในยุโรป ประกาศพบการระบาดของโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) ซึ่งเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน และติดจากคนสู่คนได้ ซึงปกติโรคนี้พบมากในประเทศแถบแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก แต่ตอนนี้พบการระบาดในประเทศในยุโรป และ อเมริกาเหนือแล้ว

 

ล่าสุด นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า จากรายงานข่าวที่ประชาชนให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก กรณีสหราชอาณาจักรพบผู้ติดเชื้อโรคฝีดาษลิงเพิ่ม 4 คน รวมเป็น 7 คนนั้น โรคฝีดาษลิงไม่ใช่โรคใหม่ แต่เคยระบาดมาแล้วมากกว่า 20 ปี โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxviridae จัดอยู่ในจีนัส Orthopoxvirus เช่นเดียวกับไวรัสอีกหลายชนิด ได้แก่ ไวรัสที่ทำให้เกิดฝีดาษในคนหรือไข้ทรพิษ (variola virus) ไวรัสที่นำมาผลิตวัคซีนป้องกันฝีดาษในคน (vaccinia virus) และฝีดาษวัว (cowpox virus) เชื้อไวรัสฝีดาษลิงพบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า เป็นต้น รวมทั้งคนก็สามารถติดโรคได้
คนสามารถติดโรคจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดข่วน การประกอบอาหารจากเนื้อสัตว์ป่า หรือกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ หรืออาจติดทางอ้อมจากการสัมผัสที่นอนของสัตว์ป่วย การแพร่เชื้อจากคนสู่คนแม้มีโอกาสน้อย แต่อาจเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยผ่านทางสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ ผิวหนังที่เป็นตุ่ม หรืออุปกรณ์ที่มีการปนเปื้อนเชื้อ เมื่อคนรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะมีระยะฟักตัวประมาณ 7-14 วัน อาจนานถึง 21 วัน

สำหรับอาการเริ่มแรกจะมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต หนาวสั่น อ่อนเพลีย จากนั้นประมาณ 1-3 วัน จะมีผื่นขึ้นบริเวณแขนขา และอาจจะเกิดบนหน้าและลำตัวได้ด้วย ผื่นจะกลายเป็นตุ่มหนอง ในระยะสุดท้ายตุ่มหนองจะเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออกมา อาการป่วยจะประมาณ 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรคเองได้ โดยอาการรุนแรงมักพบในกลุ่มเด็ก ซึ่งในประเทศแอฟริกาพบอัตราการเสียชีวิตประมาณ 10%

นายแพทย์โอภาส กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการป้องกันควบคุมโรค เริ่มต้นด้วยการป้องกันตนเอง คือ

1) หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อหรือสัตว์ป่า

2) หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ

3) หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์เมื่อสัมผัสกับสัตว์หรือคนที่ติดเชื้อ หรือเดินทางเข้าไปในป่า

4) ไม่นำสัตว์ป่ามาเลี้ยงหรือนำเข้าสัตว์จากต่างประเทศโดยไม่มีการ คัดกรองโรค

5) กรณีมีการเดินทางกลับจากประเทศที่เป็นเขตติดโรค ต้องทำการคัดกรองและเฝ้าระวังอาการจนครบ 21 วัน หากมีอาการเจ็บป่วยให้รีบไปพบแพทย์ทันที และทำการแยกกักเพื่อมิให้ผู้ป่วยมีการแพร่กระจายเชื้อ

ทั้งนี้ ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคฝีดาษลิงที่เฉพาะเจาะจง แต่สามารถควบคุมการระบาดได้ด้วย การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ ซึ่งสามารถป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ 85% โดยก่อนหน้าที่จะกวาดล้างไข้ทรพิษได้นั้น มีการฉีดวัคซีนหรือที่เรียกกันว่าการปลูกฝี ซึ่งจะช่วยป้องกันทั้งสองโรคนี้ได้ อย่างไรก็ตาม เด็กที่เกิดหลังปี 2523 จะไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษมาก่อน จึงเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อโรคฝีดาษลิงมากกว่าประชากรกลุ่มอื่นๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/general-news/145419/#

 
สธ.เปิดประสิทธิภาพ "วัคซีนโควิด" สูตรไทย สูตรไหนป้องกันป่วย-ตายมากสุด
 
 

สธ.เปิดผลทดสอบประสิทธิภาพ "วัคซีนโควิด" ฉีดสูตรไหนเอาอยู่ และสูตรไหนป้องกันการติดเชื้อ-ป่วยหนัก-เสียชีวิตได้มากสุด สรุปมาให้แล้ว

นพ. โอภาส การย์กวินพงศ์  อธิบดีกรมควบคุมโรค กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข กล่าวระหว่างการแถลง สถานการณ์โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข ว่า สำหรับสถานการณ์การฉีด "วัคซีนโควิด" ให้แก่ประชาชนขณะนี้ สธ.ดำเนินการไปแล้วกว่า 108.59 ล้านโดส ซึ่งเป็นการฉีดวัคซีนเข็ม 1-4  และในเดือนมกราคมนี้ มีการตั้งเป้าการฉีดไว้ที่ 9 ล้านโดส ซึ่งสามารถดำเนินการได้มากกว่าครึ่งแล้ว อย่างไรก็ตามภายหลังจากการฉีดวัคซีน กรมควบคุมโรคได้มีการเก็บข้อมูล ทดสอบภูมิกัน เพื่อพิจารณาประสิทธิภาพของวัคซีนแต่ละชนิด แต่ละสูตรที่ได้ดำเนินการฉีดให้ประชาชน โดยเป็นการเก็บข้อมูลในพื้นที่จริงที่เกิดการระบาดของโควิด-19 ในแต่ละสายพันธุ์ ซึ่งสามารถสรุปประสิทธิภาพ โดยได้มีการแบ่งช่วงเวลา พื้นที่การระบาดของโควิด-19 แต่ละสายพันธุ์ ได้ดังนี้ 

ประสิทธิภาพของวัคซีน ซิโนแวค 2 เข็ม 

  • ศึกษาในพื้นที่ จ.ภูเก็ต  ในเดือน สิงหาคม 2564  พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 27% ป้องกันป่วยหนัก/เสียชีวิตได้ 90% 
  • ศึกษาในพื้นที่ กรุงเทพฯ ในเดือนกันยายน-ตุลาคม 2564 พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 66 %  
  • ศึกษาในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ในเดือนธันวาคม 2564  พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 28 % ป้องกันป่วยหนัก/เสียชีวิตได้ 97 % 
  • ศึกษาในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ในเดือนธันวาคม 2564  พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 13 % 
 

ประสิทธิภาพของวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม

  • ศึกษาในพื้นที่ กรุงเทพฯ ในเดือนกันยายน-ตุลาคม 2564 พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 75%  
  • ศึกษาในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ในเดือนธันวาคม 2564  พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 93%  ป้องกันการป่วยหนัก และเสียชีวิตได้ 97%
  • ศึกษาในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ในเดือนธันวาคม 2564  พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 13 % 

ประสิทธิภาพของวัคซีน ไฟเซอร์ 2 เข็ม
 

  •  ศึกษาในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ในเดือนธันวาคม 2564  พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 92%  ป้องกันการป่วยหนัก และเสียชีวิตได้ 97%
  • ศึกษาในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ในเดือนธันวาคม 2564  พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 13 % 

ประสิทธิภาพวัคซีนสูตรไขว้ ซิโนแวค-แอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม 

  • ศึกษาในพื้นที่ กรุงเทพฯ ในเดือนกันยายน-ตุลาคม 2564 พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 75% ลดการป่วยหลักและเสียชีวิตได้  93%   
  • ศึกษาในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ในเดือนธันวาคม 2564  พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 93%  ป้องกันการป่วยหนัก และเสียชีวิตได้ 97%
  • ศึกษาในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ในเดือนธันวาคม 2564  พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 13 % 

สธ.เปิดประสิทธิภาพ "วัคซีนโควิด" สูตรไทย สูตรไหนป้องกันป่วย-ตายมากสุด

ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่า เมื่อมีการฉีด "วัคซีนโควิด" เข็ม 3 หรือเข็มกระตุ้นตามสูตรต่าง ๆ แล้ว ประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อ ป่วยหนัก และเสียชีวิตสูงมากยิ่งขึ้น โดยได้ประสิทธิภาพ ดังนี้ 

ประสิทธิภาพวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม กระตุ้นด้วย แอสตร้าเซนเนก้า 

  • ศึกษาในพื้นที่ จ.ภูเก็ต  ในเดือน สิงหาคม 2564  พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 94.2 % ป้องกันป่วยหนัก/เสียชีวิตได้ 100 % 
  • ศึกษาในพื้นที่ กรุงเทพฯ ในเดือนกันยายน-ตุลาคม 2564 พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 86 % 
  • ศึกษาในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ในเดือนธันวาคม 2564  พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 96 % ป้องกันป่วยหนัก/เสียชีวิตได้ 99 % 
  • ศึกษาในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ในเดือนธันวาคม 2564  พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 89 % 

ประสิทธิภาพวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม กระตุ้นด้วย ไฟเซอร์ 

  • ศึกษาในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ในเดือนธันวาคม 2564  พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 98 % ป้องกันป่วยหนัก/เสียชีวิตได้ 99 % 
  • ศึกษาในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ในเดือนธันวาคม 2564  พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 79 % 
  • ประสิทธิภาพวัคซีนซิโนฟาร์ม 2 เข็ม กระตุ้นด้วย ไฟเซอร์ 
  • ศึกษาในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ในเดือนธันวาคม 2564  พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 98 % ป้องกันป่วยหนัก/เสียชีวิตได้ 99 % 

สำหรับแนวทางการฉีดวัคซีนเข็ม 3 หรือเข็มกระตุ้นประชาชนที่เข้ารับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว สามารถรับวัคซีนเข็มที่ 3 ต่อ โดยทิ้งระยะ ห่างดังนี้ 

  • ฉีดวัคซีนเข็ม 2 ในเดือนสิงหาคม-กันยายน 2564  เข้ารับเข็มกระตุ้นใน เดือนธันวาคม 2564
  • ฉีดวัคซีนเข็ม 2 ในเดือนกันยายน -ตุลาคม 2564 เข้ารับเข็มกระตุ้นใน เดือนมกราคม 2565 
  • ฉีดวัคซีนเข็ม 2 ในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2564 เข้ารับเข็มกระตุ้นใน เดือนกุมภาพันธุ์ 2565
  • ฉีดวัคซีนเข็ม 2 ในเดือนพฤศจิกายน -ธันวาคม 2564 เข้ารับเข็มกระตุ้นใน เดือนมีนาคม 2565

สธ.เปิดประสิทธิภาพ "วัคซีนโควิด" สูตรไทย สูตรไหนป้องกันป่วย-ตายมากสุด

วัคซีนเข็มกระตุ้นของกระทรวงสาธารณสุข เดือนมกราคม 2565

ผ่านมติที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณี โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วันที่ 15 ธันวาคม 2564

1. ผู้ที่ถึงกำหนดรับวัคซีนเข็มกระตุ้น
- ผู้ที่ได้รับวัคซีน Sinovac-AstraZeneca ครบ ในเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2564 ให้พิจารณาฉีดเข็มกระตุ้น ด้วยวัคซีน AstraZeneca เป็นหลัก
- ผู้ที่ได้รับวัคซีน AstraZeneca ครบ 2 เข็ม ในเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2564 ให้พิจารณาฉีดเข็มกระตุ้น ด้วยวัคชีน Pfizer
- ผู้ที่ได้รับวัคซีนเชื้อตายครบ 2 เข็ม ตั้งแต่ 4 สัปดาห์ขึ้นไป ให้พิจารณาฉีดเข็มกระตุ้น ด้วยวัคซีน AstraZeneca เป็นหลัก

2. การให้วัคซีนเข็มกระตุ้นในผู้ที่มีประวัติการติดเชื้อ
- ให้ฉีดวัคซีน AstraZeneca กระตุ้น ในผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนไม่ครบเกณฑ์ หรือ ครบตามเกณฑ์ น้อยกว่า 2 สัปดาห์ก่อนการติดเชื้อ
ทั้งนี้สามารถใช้สูตรอื่นที่ผ่านการรับรองทางวิชาการได้ ภายใต้จำนวนวัคซีนที่มีในพื้นที่ 

นพ.โอภาส  กล่าวเพิ่มเติม สำหรับประสิทธิภาพของวัคซีนแต่ละชนิดนั้นขึ้นอยู่กับระยะห่างในกับระยะห่างในการฉีดวัคซีน โดยจะเห็นได้ว่าช่วง 1-2 สัปดาห์แรกที่ได้รับวัคซีนภูมิคุ้มกันจะขึ้นสูงมาก แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปภูมิคุ้มกันจะลดลงตามลำดับ ดังนั้นหากประชาชนที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วให้เข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นตามระยะเวลาที่สธ.แนะนำได้เลย ทั้งนี้ ยืนยันว่า มีวัคซีนเพียงพอรองรับ โดยในปี 2565 รัฐบาลได้อนุมัติจัดซื้อแล้ว 90 ล้านโดส แบ่งเป็นไฟเซอร์ 30 ล้านโดส จึงขอให้ประชาชนฉีดตามสูตรที่กระทรวง สธ.กำหนด

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/501130

สธ.เปิดปชช.จองรับ'วัคซีนโควิด-19'ผ่าน'หมอพร้อม'ปลายพ.ค.นี้

สธ.เผยโควิด-19ระลอก2อยู่ในระดับควบคุมได้แล้ว เจอผู้ติดเชื้อประปราย “วัคซีนซิโนแวค”ล็อตสุดท้ายอีก 1 ล้านโดสกระจายฉีดหลังสงกรานต์ บิ๊กล็อต”วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า”รุ่นผลิตในไทย 5 ล้านโดสแรก แนวโน้มส่งมอบกลางพ.ค. เปิดปชช.จองรับผ่าน “หมอพร้อม"ปลายพ.ค.นี้

 คาด“ภูเก็ต”จังหวัดแรกมีภูมิคุ้มกันระดับพื้นที่ เดินหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจ เปิดประเทศบนความปลอดภัย
       เมื่อวันที่ 1 เม.ย.2564 ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ในการแถลงสถานการณ์โควิด-19 นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)  กล่าวว่า สถานการณ์โรคโควิด-19 ระลอก 2 ในประเทศไทยขณะนี้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้แล้ว ยังมีผู้ติดเชื้อประปราย ไม่ได้มีปริมาณที่สูงหรือแพร่ระบาดรุนแรง  ในส่วนของวัคซีนโควิด-19 ที่มีการสั่งซื้อของซิโนแวค 2 ล้านโดส มีการส่งมอบเข้ามาแล้ว 2 ล็อต ล็อตแรกจำนวน 2 แสนโดสมีการกระจายและฉีดไปแล้วตามเป้าหมาย และล็อต2 จำนวน 8 แสนโดสมีการกระจายและเริ่มฉีด 1 เม.ย.2564  และล็อตสุดท้าย จำนวน 1 ล้านโดสที่จะมาถึงในราววันที่ 10 เม.ย.2564 เมื่อผ่านการตรวจสอบรับรองคุณภาพแล้วน่าจะกระจายฉีดได้ราววันที่ 16-17 เม.ย.2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมโรคและฟื้นฟูเศรษฐกิจ มุ่งเปิดประเทศบนความปลอดภัยโดยเร็ว    
 เพิ่มจุดบริการฉีดวัคซีน
          นพ.เกียรติภูมิ  กล่าวอีกว่า  สธ.ได้กำหนดการดำเนินการเรื่องวัคซีนโควิด-19โดยพิจารณาเป้าหมายในเรื่อง 1.เชิงพื้นที่ ได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายหลักที่จำเป็ฌฯจะต้องมีวัคซีนได้ในสัดส่วน 50-60%ของประชากรในพื้นที่ เพื่อให้เกิดภูมคุ้มกันระดับพื้นที่ 2.เชิงระบบ  ที่จะดูแลเรื่องการฉีด ซึ่งเดิมมีการพิจารณาการฉีดในรพ.ทั้งรัฐและเอกชนเป็นหลัด หากฉีดแห่งละ 500 คนต่อวัน เฉลี่ย 1 เดือนจะฉีดได้ราว 10 ล้านโดส แต่จากการดำเนินการฉีดที่รพ.สนามในพื้นที่กรุงเทพฯ เช่น ตลาดบางแค ก็มีความปลอดภัย หรือรถพยาบาลที่มีเครื่องมือดุแลที่เหมาะสม จะสามารถจัดสถานที่ฉีดได้  หากเพิ่มบริการฉีดที่รพ.สนามได้อีกก็จะทำให้สามารถฉีดวัคซีนได้เร็วขึ้น
           โดยขณะนี้ภาคเอกชนหลายแห่งพร้อมสนับสนุนสถานที่ให้เข้าไปจัดระบบการฉีด  เช่น เซ็นทรัล และบิ๊กซี เป็นต้น จะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนได้ ซึ่งรพ.สนามสามารถฉีดวัคซีนได้1,200คนต่อวัน เพราะฉะนั้นการฉีดได้เดือนละ 10 ล้านโดสไม่ใช่ปัญหา แต่อยู่ที่ให้มีคนเข้ามาฉีดโดยจัดระบบไม่ให้มีความแออัด     และ3.ระบบข้อมูลทั้งการนัดหมายการฉีด และการติดตามเฝ้าระวังหลังการฉีด ซึ่งระยะแรกที่มีวัคซีนจำกัด สธ.จะกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับวัคซีนเป็นบุคลากรด้านสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ด่านหน้า และประชาชนกลุ่มเสี่ยงก่อน จะมีระบบนัดหมายผ่านไลน์หมอพร้อม หรือรพ.แจ้งไปให้มารับวัคซีนหรือ อสม.ตามตัว เป็นต้น
ปชช.จองคิวรับวัคซีนปลายพ.ค.
       นพ.เกียรติภูมิ กล่าวด้วยว่า ส่วนประชาชนทั่วไปจะสามารถจองคิวเข้ารับการฉีดวัคซีน ผ่านไลน์แอลแอปพลิเคชั่นหมอพร้อมได้ในช่วงปลายพ.ค.เป็นต้น เนื่องจากวัคซีนล็อตใหญ่ที่ไทยสั่งซื้อจากแอสตร้าเซนเนก้า จำนวน 61 ล้านโดสและผลิตในประเทศไทย โดยบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์นั้น แนวโน้มว่าจะส่งมอบล็อตแรกราว 5 ล้านโดสในช่วงกลางเดือนพ.ค. ซึ่งจะเริ่มฉีดได้ตั้งแต่เดือนมิ.ย.เป็นต้นไป จากนั้นจะทยอยส่งให้เดือนละ 10 ล้านโดสอีก 5 เดือนและเดือนธ.ค.ส่งมอบล็อตสุดท้าย 5 ล้านโดส ครบตามจำนวนที่สั่งซื้อ
คาดภูเก็ตจังหวัดต้นแบบ
     นพ.เกียรติภูมิ กล่าวด้วยว่า พยายามทำให้ 1 ต.ค.นี้เปิดประเทศให้ได้ ตามนโยบายรัฐบาล อาจจะมีบางจังหวัดที่สามารถดำเนินการได้ก่อน ตามจังหวัดเป้าหมาย เช่น ภูเก็ต จะต้องฉีดประมาณ 4 แสนคนถึงจะเกิดภูมิคุ้มกันพื้นที่ได้ ซึ่งใน 2 รอบที่วัคซีนซิโนแวคเข้ามารวม 1 ล้านโดส ได้จัดสรรให้ภูเก็ตไปแล้ว 2 แสนโดส และล็อตสุดท้ายของซิโนแวคที่จะเข้ามาอีก  1 ล้านโดสก็จะจัดสรรเพิ่มเติมให้ไปอีกราว 2 แสนโดส ในเดือนพ.ค.-มิ.ย. และหากสามารถฉีดได้ตามเป้าหมาย ภูเก็ตก็จะเป็นต้นแบบและจังหวัดแรกๆที่ได้รับวัคซีนครอบคลุม   
 ออกใบรับรองวัคซีนแล้ว 3.5 หมื่นคน  
     นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี ประธานคณะทำงานด้านระบบข้อมูลการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  กล่าวว่า ในระยะที่มีวัคซีนอย่างจำกัดนั้น สธ.ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับวัคซีนไว้แล้ว ซึ่งระบบไลน์และแอปพลิเคชั่นหมอพร้อมจะปรากฎให้ผู้ที่จองรับวัคซีนได้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายที่สธ.กำหนดก่อนในระยะแรก แต่เมื่อประเทศไทยมีวัคซีนล็อตใหญ่เข้ามาและเริ่มฉีดในมิ.ย.นั้น สธ.ได้ออกแบบระบบคิวฉีดวัคซีนโดยประชาชนสามารถจองได้ผ่านช่องทาง  LINE official “หมอพร้อม” , แอปพลิเคชั่นหมอพร้อมซึ่งจะเปิดให้โหลดได้ในวันที่ 1 พ.ค.นี้ และเปิดจองคิวได้ราวปลายพ.ค. และโทรศัพท์ติดต่อโรงพยาบาลได้โดยตรง
             กรณีกลุ่มคนที่มีการใช้ไลน์หรือสมาร์ทโฟนในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว สามารถจองผ่านไลน์หรือแอปฯหมอพร้อม สามารถเลือกวันและสถานที่ฉีดได้ ซึ่งจากการสำรวจพื้นที่กทม.มีการใช้ไลน์ในชีวิตประจำวัน 80 % เมื่อได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว รพ.จะออกให้เป็นรูปกระดาษ และใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ เป็น QR Code ที่มีข้อมูลเชื่อมกับระบบสาธารณสุขที่มีอยู่ สามารถเช็คข้อมูลได้ และสามารถนำไปแสดงที่หน่วยงานไหนก็ได้ ซึ่งสามารถตรวจสอบกลับมาที่ฐานข้อมูลของสธ. ขณะนี้มีการออกไปแล้ว 35,000 คน อย่างไรก็ตาม ในต่างจังหวัด ประชากรที่อยู่ในการดูแลของรพ.อำเภอมีการใชไลน์ประมาณ 40-50 % ดังนั้น กลุ่มที่ไม่มีระบบไลน์และสมาร์ทโฟน ก็จะใช้ระบบที่หลากหลายในการให้ประชาชนได้รับวัคซีน เช่น  รพ.โทรประสานไปยังประชาชน อสม.แจ้งข่าว หรือจัดคิวเป็นรายตำบล เป็นต้น

       “สำหรับกรณีใบรับรองด้านสุขภาพในการเดินทางระหว่างประเทศ( International Travel Health certificate) เป็นข้อมูลเบื้องต้นให้กับประชาชนไทยก่อน ระหว่างรอมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกหรือฮูที่จะออกมาราวสิ้นเดือนมิ.ย.นี้ และเมื่อมีการออกมาตรฐานสากลที่จะใช้ในการเดินทางระหว่างประเทศออกมาแล้ว ประเทศไทยก็มีการเตรียมระบบรองรับที่จะเชื่อมโยงกับระบบสากลไว้แล้ว”  นพ.พงศธร กล่าว

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/main/detail/98020

 

 

วันนี้ (12 มี.ค.) เมื่อเวลา 09.00 น. กระทรวงสาธารณสุขได้ประชุมเพื่อประเมินสถานการณ์ตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมา นำโดย ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา ศ.เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภาคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมคณะรัฐมนตรี เลื่อนการฉีดวัคซีนหลังพบรายงานข่าวว่าประเทศเดนมาร์ก และ 6 ชาติอียู สั่งระงับการฉีดวัคซีนวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เนื่องจากพบว่ามีผู้รับวัคซีนเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน

สำหรับข้อมูลเบื้องต้นที่อาจารย์แพทย์ทุกท่านกล่าวในระหว่างแถลงข่าว คือ การได้รับทราบข้อมูลว่าที่ยุโรปมีผู้ที่มีอาการลิ่มเลือดอุดตันจำนวน 22 ราย จากจำนวนผู้ที่ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าทั้งหมดราว 3 ล้านราย

ดังนั้น คณะกรรมการจึงสรุปตรงกันว่า ควรชะลอการฉีดวัคซีนโควิดของแอสตร้าเซนเนก้าออกไปก่อน เพื่อทำการตรวจสอบให้แน่ชัดถึงความปลอดภัยในการนำมาฉีดให้กับประชาชนต่อไป

แถลงโดย ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา
ศ.เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร
ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

#โรคไวรัสโควิด19
#โควิด19
#COVID19​
#ไวรัสโคโรนา
#เกาะติดไวรัสโคโรนา​
#ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่
#กระทรวงสาธารณสุข
#โควิดเราต้องรอด
#วัคซีนโพสต์โดย กระทรวงสาธารณสุข เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม 2021

 

ศ.เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร กล่าวว่า เมื่อคืนมีประกาศจากเดนมาร์ก และออสเตรเลีย ไปฉีดเป็นล้านๆ โดส เจอผลข้างเคียง ทำให้เลือดแข็งตัวในหลอดเลือดดำ ทำให้มีผลไม่พึงประสงค์ ทำให้เดนมาร์กประกาศชะลอการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ทำให้ต้องมีการเร่งพิจารณาโดยเร่งด่วน วัคซีนต้องปลอดภัยที่สุดสำหรับประชาชน ไม่จำเป็นต้องรีบฉีด เพื่อดูผลการสืบค้นจากเดนมาร์กก่อน ว่า เป็นผลข้างเคียงจากวัคซีนหรือไม่

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล กล่าวว่า สืบเนื่องมาจากว่า แอสตร้าเซนเนก้า ส่งแบด 5300 ไปให้สหภาพยุโรป มีผล เดนมาร์กเสียชีวิต 1 และมีหลายคนพบเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดดำ ไอซ์แลนด์ ยังไม่มีเคส แต่ขอชะลอ เพื่อรอดู การสืบค้นของสำนักงานยาแห่งยุโรป เมื่อวาน สำนักงานยาแห่งยุโรป (EMA) ไม่ได้บอกว่าให้หยุดการใช้ เพราะยังยืนยันว่าปลอดภัย ออสเตรเลีย และอีกหลายประเทศ ที่ชะลอ ใช้แบดเดียวกับเดนมาร์ก แต่ไทยไม่ได้ใช้แบดนี้ แต่เพื่อความปลอดภัยไม่เพียงแต่วัคซีน ยาอะไรก็ตามที่มีรายงานแบบนี้ ขอหยุดก่อน เพื่อสืบค้น ในระยะสั้นๆ

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า อาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นได้ แต่ต้องสอบสวนว่าเกิดขึ้นจากวัคซีนหรือไม่ เวลาขึ้นเครื่องบิน มีคำเตือนหลายอย่าง เช่น นั่ง นอนนานๆ โอกาสที่เลือดจะแข็งตัวในหลอดเลือดดำ โอกาสที่จะอุดไปอยู่ในปอด เลือดก็จะกลับเข้าปอดไม่ได้ ถ้าก้อนใหญ่ ก็อาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิต อุบัติการณ์นี้ พบมากในคนเชื้อชาติ แอฟริกัน กับ ยุโรป มากกว่าเอเชีย โดยพบมากกว่าเอเชียถึง 3 เท่า เชื่อว่า พันธุกรรมเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้ ฉีดวัคซีนไปทั้งสิ้น 3 ล้านโดส มีผู้ป่วยที่เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ 22 คน ในจำนวนนี้เสียชีวิต 1 คน โอกาสการเกิดเท่ากับ 7 ในล้านราย ต้องสอบสวนว่า เกิดขึ้นในภาวะปกติ ที่ถึงแม้ไม่ได้ฉีดวัคซีน ก็เกิดหรือไม่ ต้องหาสาเหตุว่า วัคซีนไปทำให้เกิดอะไร ทำให้ลิ่มเลือดแข็งตัวได้ง่าย ยกตัวอย่าง ฉีดวัคซีนให้คนไข้คนหนึ่ง เดินออกจากมาจาก รพ.เดินตกท่อ ก็ต้องมาหาว่า เกิดขึ้นกับวัคซีนหรือป่าว ซึ่งอาจจะเกิดจากวัคซีนก็ได้ ไม่เกิดก็ได้ เช่น เวียนหัวแล้วเดินตกท่อ หรือ สะดุดตกท่อ

พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศูนย์เด็ก (โรคติดเชื้อ) รพ.ศิริราช กล่าวว่า เป็นปกติที่จะมีการรายงานผลที่ไม่พึงประสงค์ ยิ่งระบบดี ยิ่งมีรายงาน, เมื่อมีการฉีดวัคซีนในปริมาณ 30 กว่าล้านโดส ในเวลาที่รวดเร็ว อาจจะเป็นการไปฉีดในระหว่างที่โรคบางโรคกำลังก่อตัวขึ้นก็มาใกล้ได้ แต่แม้ว่ามีอาการใกล้เคียงกับการฉีดวัคซีน ก็ต้องมีการสืบสวนก่อน ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร, การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ไม่เคยเป็นปัญหาใดๆ ของวัคซีนที่เคยมีมาก่อนเลย อาจเป็นไปได้มากว่ามีเหตุอื่นที่เกิดใกล้กัน เลยสอบสวนไว้ก่อน ในหมู่นักวิชาการก็มองแล้ว ไม่น่าเกี่ยวกัน แต่ก็จะไม่ออกมาบอกก่อน ขอรอผลสอบสวน, ไทยมีระบบตรวจสอบเข้มแข็ง รวมทั้งไลน์ หมอพร้อม สถานพยาบาลก็มีการสังเกตอาการหลังฉีด มีคณะผู้เชี่ยวชาญ ที่จะลงไปดูละเอียดถึงสาเหตุว่า เหตุการณ์ที่รายงานมานี้ เกี่ยวกับไม่เกี่ยวกับวัคซีน , ขอให้มั่นใจว่าระบบหลังบ้านเรา ดี และเข้มแข็ง, ยุโรปก็เหมือนกัน จึงมีการรายงาน การใช้วัคซีน แล้วหยุดชั่วคราว ไทยก็ทำมาหลายครั้ง สืบสวนก่อน ถ้าไม่เกี่ยวข้องกับฉีดก่อน มีการหยุดเป็นประจำ แล้วหยุดแล้ว ไม่เคยเจอเลยว่าเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดจากวัคซีน แต่จะต้องทำการสืบสวนต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะชัดเจน

ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา กล่าวว่า ท่านคณบดีศิริราช ศึกษาเรื่องนี้อย่างมาก เห็นด้วยอย่างยิ่งที่ว่าจะให้ชะลอไว้ก่อน ปลอดภัยไว้ก่อนดีกว่าสำหรับประชาชนทั่วๆ ไป, ตัวเอง 81 ปี ถ้าท่านรัฐมนตรีจะให้เป็นหนูทดลอง ก็เต็มใจนะ แต่พอคณะแพทย์มาบอกว่า ยังไม่ชัดเจนว่าผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น มีคนโทร.มาหาหลายคน ท่านปิยสกลก็โทร.มาแต่เช้า ก็สนับสนุนความเห็นของทุกท่าน เพราะผ่านการกลั่นกรองมาแล้วอย่างดี ดีว่าที่จะชะลอไว้ก่อน แต่ไม่ได้บอกว่าเราจะเลิก

ศ.นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า ความปลอดภัยของประชาชน คือ เป้าหมายสูงสุดของกระทรวงสาธารณสุข แอสตร้าฯ ฉีดทั้งโลก ประมาณ 34 ล้านโดส มีผลข้างเคียงบ้าง เราก็รอฟัง อยากมากก็ 1-2 สัปดาห์ ก็จะสร้างความมั่นใจได้ว่า ปลอดภัย ถึงนำมาฉีดให้ประชาชนของเรา ขอให้มั่นใจว่า สาธารณสุขกับรัฐบาลจะมอบให้ เป็นสิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ การฉีดวัคซีนยังไม่หยุด เพราะยังมีของซิโนแวค ผมคิดว่าประชาชนที่มีความจำเป็นต้องได้รับวัคซีนระยะแรก ต้องรับต่อไป

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ยืนยันว่า แอสตร้าเซนเนก้ายังมีผลที่ดี และยังมีวัคซีนซิโนแวค ที่ฉีดอยู่, สธ.น้อมรับการแนะนำ ให้เลื่อนฉีดไประยะสั้น จนกว่าการสืบค้นจะมีความชัดเจน

นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า การฉีดวัคซีนที่เกี่ยวกับเกาหลีใต้ ที่มีผู้เสียชีวิต ยืนยันว่า รายงานอย่างเป็นทางการแล้ว ไม่สัมพันธ์กับการฉีดวัคซีน

 

 

 
 

ข้อมูลจาก https://mgronline.com/qol/detail/9640000023930

 

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ