ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งต่อมลูกหมากควรทำหรือไม่
โรคมะเร็งของต่อมลูกหมากเกิดขึ้นในผู้ชาย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงสูงกว่าวัยอื่น เคยมีรายงานวิจัยว่า การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก (prostate-specific antigen testing) หรือ PSA ซึ่งถูกนำออกใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี พศ. 2533 อาจมีประโยชน์น้อย เนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากมีการพัฒนาช้ามากอาจใช้เวลา 10-20 ปี ในการพัฒนาของโรคในแต่ละขั้น และการรักษาโดยการผ่าตัดอาจทำให้เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่นได้เร็วขึ้น หรือผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเสียชีวิตด้วยโรคอื่นก่อนโรคมะเร็ง จะแสดงอาการ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามมีรายงานล่าสุดจากการวิจัยพบว่า ได้ผลขัดแย้งกัน เนื่องจากข้อมูลทางสถิติพบว่า กลุ่มผู้ที่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากที่ได้รับการรักษาต่อเนื่องมีอัตราการตายลดลงถึง 22% และผลจากการวิจัยต่อมาก็พบว่า กลุ่มผู้ได้รับการตรวจคัดกรองมีอัตราการรอดชีวิตสูงถึงประมาณ 50 % (ข้อมูลจาก ASCP : Daily Diagnosis)
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากก็เช่นเดียวกับมะเร็งอื่นๆ กล่าวคือ เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม อาหารและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอาหารมีข้อมูลจากการวิจัยพบว่าอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ปิ้งย่าง หรือทอดด้วยความร้อนสูง จะทำให้โปรตีน และไขมันในเนื้อถูกเปลี่ยนเป็นสาร amines และ hydrocarbons ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง โดยสารจะเข้าไปเปลี่ยนแปลง ดีเอ็นเอ ในเซลล์ทำให้เซลล์ปกติกลายเป็นเซลล์มะเร็ง โดยเฉพาะเซลล์ของต่อมลูกหมากมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงสูงกว่าเซลล์ของอวัยวะอื่นมาก จึงทำให้เกิดเป็นโรคมะเร็งได้ง่าย
น้ำตาลเป็นสารอาหารเสพติดของมนุษย์มาช้านาน แต่ปัจจุบัน ปัญหาโรคอ้วนกำลังคุกคามมนุษย์ชาติทั่วโลก ส่วนหนึ่งมาจากแผนการตลาดที่แยบยลของผู้ผลิตและผู้ค้าที่เพิ่มอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลให้แก่ประชาชน โดยเพิ่มขนาดของอาหารให้ใหญ่ขึ้น เพื่อสร้างความเคยชิน ส่งผลให้ปัจจุบันโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ กำลังส่งผลคุกคามต่อสุขภาพของมนุษย์อย่างรุนแรงมีคำถามที่น่าสนใจว่าทำไม เมื่อช่วงปี ค.ศ. 1900 ประชากรโลกเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่ปัจจุบันมีประชากรสูงถึง 1 ใน 3 ของโลกมีปัญหานี้ หรือในปี ค.ศ. 1980 ประชากรโลกประมาณ 153 ล้านคนป่วยด้วยโรคเบาหวาน แต่ปัจจุบันมีประชากรโลกถึง 347 ล้านคนเป็นโรคนี้ เมื่อย้อนไปดูสาเหตุก็จะพบว่า การบริโภคน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นเป็นส่วนสำคัญของปัญหานี้
ผลการสำรวจผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภท 2 (type 2) ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า ช่วงปี ค.ศ.1973 มีประชากร 2% (4.2ล้านคน) เป็นโรคเบาหวาน แต่การสำรวจเมื่อปี 2010 พบว่า จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นเป็น 7% (21.1ล้านคน) ของประชากร ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลการบริโภคน้ำตาลที่นอกเหนือจากมีอยู่ในอาหารปกติ (added sugars) มีปริมาณที่เพิ่มขึ้น จาก 333 แคลอรี่ ในปี ค.ศ. 1970 เป็น 422 แคลอรี่ ในปี ค.ศ. 1999
สมาคมโรคหัวใจแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (American Heart Association) แนะนำการบริโภคน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นจากอาหารปกติ สำหรับ ชาย วันละ 150 แคลอรี่ (9 ช้อนชา หรือประมาณ 38 กรัม) และหญิง วันละ 100 แคลอรี่ (6 ช้อนชา หรือประมาณ 25 กรัม) โดยน้ำตาล 1 ช้อนชา เป็นปริมาณน้ำตาล 4.2 กรัม ปริมาณน้ำตาลในอาหารและเครื่องดื่มต่างๆมีดังนี้
คุกกี้ 3 ชิ้น มีปริมาณน้ำตาลประมาณ 10.5 กรัม โยเกิตไขมันต่ำ 1 ถ้วย (8 ออนซ์) มีปริมาณน้ำตาลประมาณ 25.9 กรัม แอปเปิลแดง 1 ผล มีประมาณน้ำตาลประมาณ 3.2 กรัม ข้าวโพด 1 ฝัก มีปริมาณน้ำตาลประมาณ 0.8 กรัม ซอสมะเขือเทศ 1 ช้อนชา มีปริมาณน้ำตาลประมาณ 2.5 กรัม ไข่ 1 ฟอง มีปริมาณน้ำตาลประมาณ 0.2 กรัม เครื่องดื่มต่างๆ 1 กระป๋อง (12 ออนซ์) มีปริมาณน้ำตาลประมาณ 33.3 กรัม
รายงานจากกระทรวงสาธารณสุขพบว่าคนไทย กินน้ำตาลโดยเฉลี่ยคนละ 30 กิโลกรัมต่อปี ซึ่งสูงเกินกว่าปริมาณที่ควรได้รับถึง 3 เท่า น้ำตาลที่เข้าสู่ระบบทางเดินอาหารจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว ทำให้เลือดมีสภาวะเป็นกรด ทำให้ร่างกายต้องดึงสารต่างๆในร่างกายมาลดความเป็นกรดของเลือดลงเพื่อให้สู่สภาวะสมดุล น้ำตาลส่วนเกินจะถูกนำไปสะสมในตับ ในรูปแบบไกลโคเจน บางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นกรดไขมัน เข้าไปสะสมในอวัยวะต่างๆ เช่นหน้าท้อง สะโพกและต้นขาเป็นต้น ถ้าร่างกายได้รับน้ำตาลระดับสูงอย่างต่อเนื่อง กรดไขมันเหล่านี้ก็จะเข้าไปสะสมในหลอดเลือด โดยเฉพาะในหัวใจและสมองส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดอื่นๆตามมา
ดังนั้นเพื่อสุขภาพที่ดีเราควรลดปริมาณน้ำตาลที่ใส่เพิ่มลงในอาหารและเครื่องดื่มปกติลง เช่นดื่มกาแฟที่ไม่ใส่น้ำตาล ดื่มน้ำเปล่าแทนเครื่องดื่มบรรจุขวดหรือกระป๋องที่มีขายตามท้องตลาด ลดการกินผลไม้และของหวานที่มีรสหวานสูง เป็นต้น
น้ำตาลทรายที่ผลิตจากอ้อยเมื่อนำมาประกอบอาหารหรือใส่ในกาแฟ จะประกอบด้วยน้ำตาล กลูโคส (glucose) 50% น้ำตาล ฟรุกโตส (fructose) 50% น้ำตาลกลูโศสจะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดนำไปใช้เป็นพลังงาน ส่วนที่เกินจะถูกเปลี่ยนในตับเป็นไขมัน และถูกส่งไปตามอวัยวะต่างๆของร่างกาย ส่วนน้ำตาลฟรุกโตสซึ่งเคยคิดกันว่าไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายจะเข้าไปในตับโดยตรงและถูกเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมอยู่ในตับ และถูกส่งเข้าสู่กระแสเลือด ดังนั้นจึงเป็นส่วนสำคัญที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดันโลหิต และเบาหวานประเภท 2 เป็นต้น
น้ำมันหมูจะกลับมา
คนไทยใช้น้ำมันหมู (lard) ในการประกอบอาหารมานานหลายชั่วอายุคน แต่เมื่อประมาณ 30-40 ปี ที่แล้วมีข้อมูลข่าวสารระบุว่าน้ำมันหมู มีความเป็นอันตรายต่อสุขภาพควรใช้น้ำมันพืช (vegetable oil) ในการประกอบอาหารแทนจนทำให้แทบทุกครัวเรือน เปลี่ยนมาใช้น้ำมันพืช แต่ปัจจุบันมีข้อมูลที่มากขึ้นว่าน้ำมันพืชก็มีอันตรายต่อสุขภาพไม่น้อยไปกว่าน้ำมันหมูเช่นกัน ดังนั้นจึงต้องมาทำความเข้าใจโครงสร้างทางโมเลกุลของน้ำมันและความแตกต่างระหว่างน้ำมันจากสัตว์และน้ำมันจากพืช โดยทั่วไปโมเลกุลของน้ำมันประกอบด้วยไขมัน 2 ชนิด ได้แก่ ไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid) และไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) ซึ่งแบ่งออกเป็น อีก 2 ชนิดคือ ไขมันไม่อิ่มตัวชนิดที่มีการจับกันของโมเลกุลไขมันหลายคู่ (polyunsaturated fatty acid) และไขมันไม่อิ่มตัวชนิดที่มีการจับกันของโมเลกุลของไขมันเพียงคู่เดียว (monounsaturated fatty acid)
เนื่องจากน้ำมันจากสัตว์ประกอบไปด้วยไขมันอิ่มตัวเป็นส่วนใหญ่ซึ่งเมื่อนำมาประกอบอาหารจะมีปริมาณกรดไขมัน (fatty acid) สูงซึ่งจะเข้าไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างโคเลสเตอร์รอล(cholesterol) ชนิดเลว หรือ LDL มากขึ้น ซึ่ง LDL นี้จะนำโคเลสเตอร์รอลเข้าไปเกาะในเส้นเลือดหัวใจทำให้เส้นเลือดหัวใจอุดตันเกิดเป็นโรคหัวใจ (coronary artery disease)
น้ำมันจากพืชประกอบด้วยไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเป็นส่วนใหญ่จึงถือได้ว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพน้อยกว่า แต่น้ำมันพืชมีความคงตัวน้อยกว่าน้ำมันจากสัตว์จึงจำเป็นต้องเติมสารบางอย่างลงไปเพื่อให้มีความคงตัวมากขึ้น สารนั้นก่อให้เกิดไขมันทรานส์ (transfat) ซึ่งไขมันทรานส์นี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพเช่นกัน เนื่องจากเมื่อนำมาประกอบอาหารจะปล่อยอนุมูลอิสระ (free radicals) ออกมาเมื่อถูกความร้อน ซึ่งอนุมูลอิสระนี้เป็นสารก่อมะเร็งโดยเฉพาะถ้าน้ำมันถูกนำมาใช้ซ้ำก็จะเกิดอนุมูลอิสระมากขึ้น ซึ่งอนุมูลอิสระนี้จัดเป็นสารก่อมะเร็งที่สำคัญ
โดยสรุปทั้งน้ำมันพืชและน้ำมันสัตว์ต่างก็มีทั้งประโยชน์และโทษเช่นเดียวกันดังนั้นข้อแนะนำในการใช้น้ำมันประกอบอาหารคือ น้ำมันพืชใช้สำหรับการผัดหรือทอดที่ใช้ความร้อนไม่สูงมากและห้ามใช้ซ้ำ ส่วนน้ำมันสัตว์เหมาะสำหรับการใช้ทอดที่ต้องการความร้อนสูง (deep frying)
ข้อมูลที่มีจากรายงานผลการวิจัยล่าสุดพบว่า ความเชื่อที่ว่าไขมันอิ่มตัวเป็นสาเหตุของโรคหัวใจนั้นไม่เป็นความจริง ไขมันอิ่มตัวธรรมชาติไม่ใช่สาเหตุของโรคหัวใจ ตรงกันข้ามไขมันทรานส์กลับมีอันตรายมากกว่าเนื่องจากนอกเหนือจากมันจะปล่อยอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งแล้ว มันยังมีส่วนสำคัญที่ไปเพิ่ม โคเลสเตอร์รอลชนิดเลว (LDL) และลดโคเลสเตอร์รอลชนิดดี (HDL) ด้วย
The Dietary Guidelines Advisory Committee (DGAC) สหรัฐอเมริกา ได้ประกาศว่า โคเลสเตอร์รอล ในน้ำมันหมูแท้จริงแล้วไม่ได้มีความสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดหัวใจแต่อย่างใด ในทางกลับกันมันมีประโยชน์ต่อร่างกายขณะที่ไขมันทรานส์ที่มีอยู่ในน้ำมันพืชเป็นอันตรายต่อสุขภาพมากกว่า นอกจากจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งแล้วยังเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดมากกว่าน้ำมันหมูซึ่งปัจจุบันไขมันทรานส์พบในอาหารมากมาย เช่น มันฝรั่งทอด โดนัท คุกกี้ เนยถั่ว เนยเทียม (margarine) ครีมเทียม เค้ก ขนมกรุปกรอบ เป็นต้น
องค์การอาหารและยาของสหรัฐได้ประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่า อีก 3 ปี ข้างหน้าจะห้ามใช้น้ำมันพืชเนื่องจากมีไขมันทรานส์สูง
น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น(coconut oil หรือ copra oil) ปัจจุบันได้ถูกนำมาประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวาง ถึงประโยชน์ด้านสุขภาพ ตั้งแต่ประสิทธิภาพในการลดคอลเลสเตอร์รอล ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยลดน้ำหนัก จนถึง ป้องกันโรค อัลไซเมอร์ และ ชะลอความแก่ ส่วนใหญ่เป็นการหวังผลทางธุรกิจโดยไม่มีข้อมูลการแพทย์ที่พิสูจน์ชัดเจนแล้วสนับสนุน ถึงขนาดแนะนำให้ใช้น้ำมันมะพร้าว กลั้วคอเช้า-เย็น เพื่อฆ่าเชื้อโรคในปาก ปัจจุบันมีการโฆษณาถึงว่า น้ำมันมะพร้าว มีคุณสมบัติต้านเชื้อ HIV และ ป้องกันมะเร็ง
น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นได้จากการสกัดโดยบีบอัดเนื้อมะพร้าวที่แก่เต็มที่ โดยไม่ใช้ความร้อน จึงเชื่อว่าคุณสมบัติของน้ำมันยังมีอยู่โดยสมบูรณ์ โดยไม่มีการถูกทำลายโดยความร้อน น้ำมันมะพร้าว มีคุณสมบัติบางอย่างคล้ายน้ำมันมะกอกเนื่องจากมีจุดเดือดต่ำ (low smoke point) จึงไม่เหมาะในการนำมาทำอาหารจำพวก ผัด และ ทอด แต่เหมาะจะใช้ในการทำน้ำสลัดมากกว่า
ในทางตรงข้าม การที่ร่างกายได้รับน้ำมันมะพร้าวเกินความจำเป็น จะส่งผลเสียต่อร่างกาย อาทิเช่น น้ำมันมะพร้าว มีกรดไขมันอิ่มตัว (saturatedfat)สูง ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า กรดไขมันอิ่มตัวเป็นสาเหตุของการมีระดับคอลเลสเตอร์รอล ซึ่งอาจนำไปสู่ โรคหัวใจ และ หลอดเลือดตามมา นอกจากนั้นการได้รับน้ำมันมะพร้าวเกินความจำเป็น จะส่งผลให้มีไขมันไปพอกตับ และ เพิ่มน้ำหนักตัวจึงไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดัน หรือ โรคไต
ตารางแสดงปริมาณไขมันในน้ำมันชนิดต่างๆ
ชนิดของน้ำมัน |
%ไขมันอิ่มตัว (Saturated Fat) |
%ไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated Fat) |
น้ำมันถั่วเหลือง |
16 |
84 |
น้ำมันถั่วลิสง |
17 |
77 |
น้ำมันรำข้าว |
18 |
82 |
น้ำมันข้าวโพด |
13 |
82 |
น้ำมันดอกทานตะวัน |
10 |
90 |
น้ำมันปาล์ม |
50 |
49 |
น้ำมันมะพร้าว |
92 |
8 |
น้ำมันมะกอก |
14 |
86 |
น้ำมันหมู น้ำมันไก่ เนยเทียม |
40 27 60 |
59 68 35 |
โควิด -19
นี่คือข้อมูล COVID ที่มีประโยชน์มากจากเอกสารข้อมูลของโรงพยาบาลจอห์นฮอปกินส์ที่เกี่ยวข้องกับ Coronavirus 19
เป็นข้อมูลที่ดีมากและดูเหมือนจะเป็นรุ่นล่าสุดของการจัดการปัญหาทางการแพทย์นี้ส่วนบุคคลและควรค่าแก่เวลาในการศึกษาข้อมูลที่ให้ไว้สำหรับการดูแลส่วนบุคคลของคุณอยู่อย่างปลอดภัยและอยู่อย่างดี
สิ่งนี้ทำให้เข้าใจวิธีการป้องกัน Covid-19 มากขึ้น:
* ไวรัสนี้ไม่ใช่สิ่งมีชีวิต เป็นโมเลกุลของโปรตีน (RNA หรือ DNA) ที่ปกคลุมด้วยชั้นป้องกันของไขมัน (ไขมัน) ซึ่งเมื่อดูดซึมโดยเซลล์ของตา (ตา) จมูก (จมูก) หรือเยื่อบุกระพุ้งแก้ม (ปาก) จะเปลี่ยนรหัสพันธุกรรม (กลายพันธุ์) และแปลงเป็นตัวรุกและเซลล์ตัวคูณ
* เนื่องจากไวรัสไม่ใช่สิ่งมีชีวิต แต่เป็นโมเลกุลของโปรตีนจึงไม่สามารถฆ่าได้
* มันต้องสลายไปเอง เวลาในการแตกตัวขึ้นอยู่กับอุณหภูมิความชื้นและประเภทของวัสดุที่อยู่
* ไวรัสมีความเปราะบางมาก สิ่งเดียวที่ปกป้องมันคือชั้นไขมันชั้นนอกบาง ๆ และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมสบู่หรือผงซักฟอกจึงเป็นอาวุธที่ดีที่สุด โฟมจะตัดไขมัน (นั่นคือเหตุผลที่คุณต้องขัดเป็นเวลา 20 วินาทีขึ้นไปเพื่อให้เกิดฟองจำนวนมาก) โดยการละลายชั้นไขมันโมเลกุลของโปรตีนจะกระจายตัวและแตกตัว
* HEAT ละลายไขมัน ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องใช้น้ำที่สูงกว่า 77 องศาในการซักมือซักผ้าและทำความสะอาดพื้นผิว นอกจากนี้น้ำร้อนทำให้เกิดฟองมากขึ้นทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
* แอลกอฮอล์หรือส่วนผสมใด ๆ ที่มีแอลกอฮอล์มากกว่า 65% ช่วยลดไขมันทั้งหมดโดยเฉพาะชั้นไขมันภายนอกของไวรัส
* สารละลายใด ๆ ที่มีสารฟอกขาว 1 ส่วนและน้ำ 5 ส่วนจะละลายโปรตีนโดยตรงโดยทำลายลงจากด้านใน
* น้ำที่เติมออกซิเจนจะเพิ่มประสิทธิภาพของสบู่แอลกอฮอล์และคลอรีนเนื่องจากเปอร์ออกไซด์จะละลายโปรตีนของไวรัส อย่างไรก็ตามเนื่องจากคุณต้องใช้มันในรูปแบบที่บริสุทธิ์จึงสามารถทำลายผิวของคุณได้
* ไม่ใช้แบคทีเรียหรือสารต้านอนุมูลอิสระใด ๆ เนื่องจากไวรัสไม่ใช่สิ่งมีชีวิตเช่นแบคทีเรีย แอนติบอดีไม่สามารถฆ่าสิ่งที่ไม่มีชีวิตได้
* โมเลกุลของไวรัสยังคงเสถียรมากที่อุณหภูมิที่เย็นกว่ารวมถึงเครื่องปรับอากาศในบ้านและในรถยนต์ พวกเขายังต้องการความชื้นและความมืดเพื่อให้คงที่ ดังนั้นสภาพแวดล้อมที่ลดความชื้นแห้งอบอุ่นและสว่างจะทำให้ไวรัสย่อยสลายได้เร็วขึ้น
* แสงยูวีบนวัตถุใด ๆ ที่อาจมีไวรัสทำลายโปรตีน ระวังคอลลาเจน (ซึ่งก็คือโปรตีน) ในผิวหนังด้วย
* ไวรัสไม่สามารถผ่านผิวหนังที่แข็งแรงได้
* น้ำส้มสายชูไม่มีประโยชน์เพราะไม่ได้สลายไขมันชั้นป้องกัน
* ไม่มีวิญญาณหรือวอดก้าให้บริการ วอดก้าที่แรงที่สุดคือแอลกอฮอล์ 40% เท่านั้นและคุณต้องมีอย่างน้อย 65%
* LISTERINE เป็นแอลกอฮอล์ 65%
* ยิ่งพื้นที่ จำกัด มากเท่าไหร่ความเข้มข้นของไวรัสก็จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น ยิ่งเปิดหรือระบายอากาศได้ตามธรรมชาติก็ยิ่งน้อยลง
* คุณต้องล้างมือก่อนและหลังสัมผัสพื้นผิวที่ใช้บ่อยเช่นเยื่อบุ (บริเวณปาก) อาหารล็อคลูกบิดสวิตช์รีโมทโทรศัพท์มือถือนาฬิกาคอมพิวเตอร์โต๊ะทำงาน ฯลฯ ... และอย่าลืมเมื่อ คุณใช้ห้องน้ำ
* คุณต้องทำความสะอาดมือของคุณเนื่องจากการซักบ่อยๆ มือที่แห้งมีรอยแตกและโมเลกุลสามารถซ่อนอยู่ในรอยแตกขนาดเล็ก มอยส์เจอร์ไรเซอร์ยิ่งหนายิ่งดี
* เก็บเล็บของคุณให้สั้นลงด้วยเพื่อไม่ให้ไวรัสซ่อนอยู่ที่นั่น
ตอนนี้สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมบางส่วน:
Bonnie Henry เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำจังหวัดบริติชโคลัมเบียซึ่งเป็นผู้หญิงคนแรกในตำแหน่งนี้ เธอยังเป็นรองศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย เธอมีพื้นฐานด้านระบาดวิทยาและเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขและเวชศาสตร์ป้องกัน เธอยังมาจาก PEI (เกาะปรินซ์เอ็ดเวิร์ด)
ภูมิปัญญาของดร. บอนนี่เฮนรี่
1. เราอาจต้องอยู่กับ COVID-19 เป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปี อย่าปฏิเสธหรือตื่นตระหนก อย่าทำให้ชีวิตของเราไร้ประโยชน์ มาเรียนรู้ที่จะอยู่กับข้อเท็จจริงนี้กันเถอะ
2. คุณไม่สามารถทำลายไวรัส COVID-19 ที่เจาะผนังเซลล์ได้โดยการดื่มน้ำร้อน 1 แกลลอนคุณจะเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น
3. การล้างมือและรักษาระยะห่างทางกายภาพสองเมตรเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการป้องกันของคุณ
4. หากคุณไม่มีผู้ป่วย COVID-19 ที่บ้านก็ไม่จำเป็นต้องฆ่าเชื้อพื้นผิวที่บ้านของคุณ
5. ตู้สินค้าปั๊มน้ำมันรถเข็นและตู้เอทีเอ็มไม่ก่อให้เกิดการติดเชื้อหากล้างมือให้ใช้ชีวิตตามปกติ
6. โควิด -19 ไม่ใช่การติดเชื้อในอาหาร มีความเกี่ยวข้องกับหยดของการติดเชื้อเช่น 'ไข้หวัดใหญ่' ไม่มีความเสี่ยงที่แสดงให้เห็นว่า COVID-19 ติดต่อทางอาหาร
7. คุณสามารถสูญเสียความรู้สึกในการดมกลิ่นด้วยอาการแพ้และการติดเชื้อไวรัสจำนวนมาก นี่เป็นเพียงอาการไม่เฉพาะเจาะจงของ COVID-19
8. เมื่ออยู่บ้านคุณไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าอย่างเร่งด่วนแล้วไปอาบน้ำ! ความบริสุทธิ์เป็นคุณธรรมความหวาดระแวงไม่ใช่!
9. ไวรัส COVID-19 ไม่ค้างอยู่ในอากาศเป็นเวลานาน นี่คือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่ต้องสัมผัสใกล้ชิด
10. อากาศสะอาด คุณสามารถเดินผ่านสวนและผ่านสวนสาธารณะ (เพียงแค่รักษาระยะป้องกันทางกายภาพของคุณ)
11. ควรใช้สบู่ธรรมดาเพื่อป้องกันไวรัสโควิด -19 ไม่ใช่สบู่ต้านเชื้อแบคทีเรีย นี่คือไวรัสไม่ใช่แบคทีเรีย
12. คุณไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการสั่งอาหารของคุณ แต่คุณสามารถอุ่นทั้งหมดในไมโครเวฟได้หากต้องการ
13. โอกาสที่จะนำ COVID-19 กลับบ้านพร้อมกับรองเท้าก็เหมือนกับการถูกฟ้าผ่า 2 ครั้งในหนึ่งวัน ฉันทำงานกับไวรัสมา 20 ปี - การติดเชื้อลดลงไม่แพร่กระจายแบบนั้น!
14. คุณไม่สามารถป้องกันไวรัสได้ด้วยน้ำส้มสายชูน้ำอ้อยและขิง! สิ่งเหล่านี้มีไว้เพื่อภูมิคุ้มกันไม่ใช่การรักษา
15. การสวมหน้ากากอนามัยเป็นเวลานานจะรบกวนการหายใจและระดับออกซิเจนของคุณ สวมใส่ในฝูงชนเท่านั้น
16. การสวมถุงมือก็เป็นความคิดที่ไม่ดีเช่นกัน ไวรัสสามารถสะสมเข้าไปในถุงมือและแพร่เชื้อได้ง่ายหากคุณสัมผัสใบหน้า ควรล้างมือเป็นประจำ
ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงโดยการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดเชื้อเสมอ แม้ว่าคุณจะกินอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน แต่โปรดออกจากบ้านไปที่สวนสาธารณะ / ชายหาดเป็นประจำ ภูมิคุ้มกันจะเพิ่มขึ้นตามการสัมผัสกับผู้ป่วยไม่ใช่โดยการนั่งอยู่บ้า
นและบริโภคอาหารทอด / เผ็ด / หวานและเครื่องดื่มเติมอากาศ
ฉลาดและรับทราบข้อมูล! ใช้ชีวิตอย่างมีเหตุผลและเต็มที่
กรุณาใจเย็นและปลอดภัย!
หน้าที่ 138 จาก 147